วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้



วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วมมือกันรักษาคุ้มครองโลก ในส่วนของพระพุทธศาสนานั้นองค์กรยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ยพสล.) มีมติให้วันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น “วันธรรมะคุ้มครองโลก” ภายใต้คำขวัญ “Clean The World, Clean The Mind” เพราะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ทรงคุณค่าที่สุด คือ ใจของมนุษย์ ควรได้รับการคุ้มครองรักษาให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้ วัดพระธรรมกายจึงได้จัดงาน “วันธรรมะคุ้มครองโลก” เพื่อให้พุทธบริษัท 4 จากทั่วโลก ได้มาร่วมกันปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือ ละชั่ว ทำดี ทำใจ ให้ผ่องใส ด้วยการประกอบบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา เพื่อกลั่นกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์     มีเมตตา ไม่เบียดเบียนใคร  เพื่อให้โลกพบกับสันติภาพและความสุขสงบที่แท้จริง 

พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า ในวันคุ้มครองโลกปีนี้ วัดพระธรรมกาย จัดให้มีการนั่งสมาธิ เจริญสมาธิภาวนา, พิธีเจริญพุทธมนต์, พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัดทั่วประเทศ ภายในพิธีได้รับความเมตตาจากพระพรหมวชิรปัญญาจารย์ เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง, ราชบัณฑิต, หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 เมตตาเป็นประธานสงฆ์ และในโอกาสครบ 20 ปี พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้นิมนต์คณะสงฆ์จาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) มารับถวายไทยธรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 168 พร้อมกับมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ปีที่ 17 ครั้งที่ 133 โดยมีผู้แทนคุณครู 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมพิธี

“ในโอกาสวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน 2567 วัดพระธรรมกายได้จัดให้มีพิธีถวายมหาสังฆทาน 10,000 วัด แด่พระสังฆาธิการทั่วประเทศ วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกายจึงได้จัดพิมพ์หนังสือ "20 ปี 323 วัด รวมใจพุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดินดับไฟใต้" อันเป็นการสนองพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และเพื่อประกาศคุณงามความดีของพุทธบุตร 4 จังหวัดภาคใต้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล และชาวพุทธทั่วโลกว่าทุกรูป คือ "วีรบุรุษแห่งกองทัพธรรม" ที่ยอมสละชีวิตเป็นเดิมพัน รักษาพระพุทธศาสนา ให้ธรรมะอยู่คู่ปลายด้ามขวานไทยตลอดไป“ พระครูสมุห์สนิทวงศ์กล่าว

หมายเหตุ

มหาสังฆทาน วันคุ้มครองโลก 22 เมษายน

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2545 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 12,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 24,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

พิธีถวายมหาสังฆทาน วัดพระธรรมกาย

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2544 พิธีถวายทุนการศึกษาแด่พระภิกษุสามเณร 30,000 กว่าวัด 100,000 รูป ทั่วประเทศ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 พิธีสลายร่างคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด 100,000 รูป ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547 พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 12,000 รูป และพิธีหล่อพระธรรมกายเพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 60 ปีฯ

วันที่22 เมษายน พ.ศ. 2549 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพิธีกลั่นมหารัตนวิหารคด

วันที่ 6  สิงหาคม พ.ศ. 2549  พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,300 วัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พิธีทอดผ้าป่าช่วยเหลือวัดประสบภัยน้ำท่วม 1,000 กว่าวัด 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 2,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพิธีถวายองค์พระประธานเพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดต่าง ๆ ในประเทศศรีลังกา จำนวน 222 องค์

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์  3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 286 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 3,000 วัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 วัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 24,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พิธีถวายไทยธรรมคณะสงฆ์กว่า 3,000 วัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พิธีถวายมหาสังฆทาน 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 3,000 วัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 1,000 วัดทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561  พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 1,000 วัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พิธีถวายมหาสังฆทานคณะสงฆ์ 2,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พระรับโล่รางวัล 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”ปี66



 "เสริมศักดิ์"ชูเป็นหมุดหมายท่องเที่ยวของคนไทยและต่างชาติ สร้างงานสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน  ปี67เฟ้นเพิ่มอีก 10 ชุมชนคาดประกาศผลเดือนก.ค.นี้

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2566 โดยมีโดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำชุมชน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วม ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) มีนโยบายขับเคลื่อน Soft Power  อุตสาหกรรมสร้างสรรค์  11 ด้าน รวมถึงด้านท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาลเพื่อสร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น วธ.ได้ดำเนินโครงการยกระดับชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรกว่า 27,000 แห่งทั่วประเทศสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ซึ่งเป็นชุมชนคุณธรรมฯ

ที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 วธ.คัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี”พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติไปแล้ว 20 ชุมชน เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชนและผู้ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันในปีงบประมาณพ.ศ.2566 วธ.ได้ดำเนินโครงการคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี”อย่างต่อเนื่อง โดยคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในระดับจังหวัดจาก 76 ชุมชนทั่วประเทศและมีชุมชนคุณธรรมฯที่ได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” 10 ชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านปากน้ำชุมพร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 3.ชุมชนคุณธรรมฯวัดพระธาตุผาเงา ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 4.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 5.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร 6.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 7.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่ามะขาม ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 8.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 9.ชุมชนคุณธรรม ฯ บ้านท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และ10.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโนนกอก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

“ปัจจุบันวธ.ได้คัดเลือกและประกาศสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ไปแล้วทั้งหมด 30 ชุมชน  แต่ละชุมชนที่ได้รับคัดเลือกมีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ เป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ ความงดงามของวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมและธรรมชาติ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย มีการนำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยความอบอุ่นและมิตรไมตรี  ก่อให้เกิดการปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชนสร้างงานสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จะเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติและเป็นต้นแบบให้ชุมชนทั่วประเทศได้ศึกษาเรียนรู้และเกิดการขยายผลต่อไป โดยปีงบประมาณพ.ศ.2567 วธ.ได้คัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบฯอีก 10 ชุมชน คาดว่าจะประกาศผลคัดเลือกในเดือนกรกฎาคมนี้ ” นายเสริมศักดิ์ กล่าว


วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

วธ.ประเดิมงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดสารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน”



กระทรวงวัฒนธรรมเปิด “งานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน” ณ วัดประยุรวงศาวาส  ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 

เมื่อวันที่ 19 เมษายน เวลา 18.00 น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กล่าวสัมโมทนียกถา และมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม  ผู้นำศาสนาต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชน เครือข่ายทางวัฒนธรรม ข้าราชการ ประชาชนและสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ภายในพิธีเปิดงานมีการแสดงชุด “มิตรไมตรี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” หลังพิธีเปิดงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมด้วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและผู้บริหารเยี่ยมชมซุ้มสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนและซุ้มอาหารของชุมชน 

สำหรับงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดขึ้นวันที่ 19-23 เมษายน 2567  ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ มีกิจกรรม การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การแสดงวงออร์เคสตร้า วงดนตรีสากล  วงดุริยางค์กรุงเทพมหานครและนักร้องศิลปินแห่งชาติ วงโยธวาทิต ลิเกรวมดาว  การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง การแสดงหุ่นกระบอกไทย การประกวดอาหารสามศาสน์ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ปั่นจักรยานเที่ยววัดยามค่ำคืน” การสาธิตภูมิปัญญาด้านอาหารและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม

ขณะเดียวกันงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นวันที่ ๒๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในงานมีกิจกรรม เช่น ซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จบูรพกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ การแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในยามค่ำคืน (Night Museum) นิทรรศการและการเสวนาวิชาการ การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ตลาดย้อนยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ตลาดอาหารไทย อาหารถิ่น เป็นต้น 

นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ๕ แห่ง ที่เข้าร่วมจัดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ ๑.พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม ๒.พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ๓.พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ ๔.พิพิธบางลำพู และ ๕.มิวเซียมสยาม

ทั้งนี้ งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งที่ได้ทรงนำพาประเทศชาติให้เจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคง ทรงทำนุบำรุงศาสนา สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองสืบมาจนปัจจุบัน และเพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวจากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้สู่ประชาชนและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า  “วัดรั้วเหล็ก” ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งธนบุรี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา จึงได้อุทิศสวนกาแฟ ณ ตำบลกุฎีจีน ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามสำหรับพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรม เริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๗๑ ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า ๘ ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๓๗๙  

ต่อมาปีพ.ศ.๒๓๙๓ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า  “วัดประยุรวงศาวาส” ซึ่งคล้องกันกับพระราชทินนามที่ได้รับในเวลาต่อมา โดยชื่อของวัดนั้นมีความหมายว่า  “อารามแห่งวงศ์พระประยูรญาติ”  ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างสูงแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์และเหล่า “ราชินิกุลบุนนาค”


วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

“หมอชลน่าน” เปิดหอสงฆ์อาพาธดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย รพ.หนองคาย



หมอชลน่าน เปิดศูนย์หัวใจชายแดน ระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพสู่อินโดจีน รพ.หนองคาย เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งชาวไทย นักท่องเที่ยวและประเทศเพื่อนบ้าน ให้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ ทันเวลาพร้อมเปิดหอสงฆ์อาพาธดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567  นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดศูนย์หัวใจ และหอสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลหนองคาย โดยมี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ท่านคำพัน อั่นลาวัน เอกอัครรัฐทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย นายสมภพ สมิตะสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เข้าร่วมงาน และกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมุ่งให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปเพิ่มศักยภาพเป็นศูนย์เชี่ยวชาญโรคเฉพาะทางสาขาต่างๆ ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและทันเวลา ลดการส่งต่อและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งจังหวัดหนองคายมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาวตามลำน้ำโขงไปจนถึง จังหวัดบึงกาฬ ทำให้การส่งต่อผู้ป่วยต้องใช้เวลามาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่จำเป็นต้องสวนหัวใจให้การรักษาแบบเร่งด่วน และยังเป็นจังหวัดชายแดนที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขงรองรับการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน และ สปป.ลาว ที่จะมีทั้งนักท่องเที่ยวและประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในทุกด้าน 

“ศูนย์โรคหัวใจชายแดน ระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพสู่อินโดจีน โรงพยาบาลหนองคาย เป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมือที่ทันสมัย มีห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (CATH LAB) พร้อมระบบปรับอากาศปลอดเชื้อ หออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจปลอดเชื้อ (CCU) ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งชาวหนองคายและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งชาว สปป.ลาว ได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว ลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” นายแพทย์ชลน่านกล่าว 

นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า สำหรับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลหนองคายได้มีการจัดตั้งหอสงฆ์อาพาธขึ้นมาให้บริการโดยเฉพาะ โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพวชิรคุณ รศ.ดร. (พิศิษฐ์ ธรรมโรจน์) เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยพระอารามหลวง บริจาคเงินจำนวน 10,000,000 บาท ปรับปรุงหอสงฆ์อาพาธ ณ อาคารพระสิริปุณโณเมตตา ชั้น 9 ประกอบด้วย ห้องพิเศษ ห้องพิเศษรวม และห้องแยก รวม 28 เตียง และยังมีห้องสำหรับทำกิจสงฆ์ ซึ่งการบริการและดูแลรักษาทั้งหมดเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย 


รัฐบาลขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส ดัน "นวดไทย-อาหารไทย-สมุนไพรไทย" เป็น Soft Power



วันที่ 20 เมษายน 2567 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีนโยบายการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างงาน ให้กับประชาชน รวมถึงสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์หรือ Soft Power ของประเทศ ที่จะเป็นการยกระดับความสามารถของคนไทย ทั้งการอนุรักษ์ พื้นฟูและพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรให้กับเกษตรกร เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส นวดไทย และสมุนไพร เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล

น.ส.เกณิกา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดประชุมขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส นวดไทย และสมุนไพร โดยการประชุมดังกล่าวได้มีการนำเสนอ (ร่าง)การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนสและสมุนไพร คู่มือยาสมุนไพรที่ผลิตในประเทศไทย การดำเนินงาน Wellness และ Healthy City กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรับยาสมุนไพรแห่งชาติ 324 ตำรับ สมุนไพรประจำจังหวัด Advanced therapy medicinal products (ATMPs) รวมทั้งมีการพิจารณารายการผลิตสมุนไพรในโรงงาน WHO GMP ของกระทรวงสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับสมุนไพรประจำจังหวัด การผลิตผู้ประกอบอาชีพด้านการนวดไทย การวิจัยเรื่อง Mesenchymal Stem Cells (MSCs) 

“แพทย์แผนไทยฯได้สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพ โดยเฉพาะอาชีพนวดแผนไทย ที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของไทย เป็นที่รู้จักของนานาประเทศ ซึ่งต่างประเทศมีความต้องการแรงงานกลุ่มนี้จำนวนมาก และยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ, อาหารไทย ,ผลิตภัณฑ์สมุนไพร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft power) ของประเทศ“


"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ



วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า จากที่เป็นคนเชียงรายแท้ๆ วันนี้ไม่ได้ข้ามมายังแผ่นดินลาวบริเวณสามเหลี่ยมทองคำมานาน ผมเคยมาที่นี่น่าจะเกิน 30 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เปลี่ยนไปมาก กลางคืนเป็นเมืองไม่หลับใหลแบบฮ่องกง กลางวันเป็นแหล่งท่องเที่ยวในหลายรูปแบบ จากที่ทราบคือ ประเทศลาวให้ นักลงทุนชาวจีนมาลงทุนระยะยาว จึงเกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และ"เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์" รวมทั้งกาสิโน ต้องบอกว่ามีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ถ้ามองในสายตาของผมแล้ว หากปล่อยให้เจริญขึ้นเอง ก็คงจะใช้เวลาอีกพันปี แต่พอให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติ ผมเห็นคนลาวที่ไม่มีงานทำ ก็มีอาชีพลืมตาอ้าปากได้ ไม่เพียงชาวลาว คนพม่าก็มาทำงานจำนวนมาก ด้วยแผ่นดินตรงนี้เชื่อม 3 ประเทศ โดยคั่นด้วยแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า โดยมียักษ์ใหญ่คือจีน เชื่อมโดยการเดินทางอยู่ไม่เกิน 6 ชม. ในการเดินรถไฟความเร็วสูงการเดินทางโดยเครื่องบินก็ง่ายเพราะอยู่ตรงกลาง และเชียงรายมีสนามบิน นานาชาติ น่าสนใจเข้าไปอีกมีทางเชื่อมออกทะเลทางเวียดนามและพม่า หมายความว่า สามารถจะเชื่อมทางธุรกิจขนาดใหญ่อย่างน้อย 5 ประเทศ ที่อยู่ใกล้กัน



การลงทุนฝั่งลาว มีการลงทุนสัมปทานพื้นที่จากกลุ่มทุนจีนชื่อ กลุ่มดอกงิ้วคำ เป็นบริษัทจดทะเบียนในฮ่องกงที่มีจ้าวเหว่ย กลุ่ม คิงส์โรมัน บริหาร ด้วยเม็ดเงินมหาศาล ในสายตาของผมเราไม่ต้องอิจฉาเขาหรือไม่ต้องไปแข่งกับเขาเลยครับ ถ้าประเทศไทยเราใช้ยุทธศาสตร์ในฐานะ อยู่กึ่งกลางของทุกประเทศข้างต้น ออกกฎหมายที่เหมาะสม เชียงรายจะกลายเป็นเมืองการค้าการลงทุนที่ใหญ่มาก ในภูมิภาคนี้ ไม่แน่อาจกลายเป็นศูนย์กลางทาง Finance แบบสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยภูมิประเทศโอบล้อมด้วยแผ่นดินรอบล้อมด้วยประเทศต่างๆ ไม่ติดทะเล ปลอดภัยจากสงครามจากทางทะเล อาจนำไปสู่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ผนวกกับ เชียงราย โดยเฉพาะเชียงแสน เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีศิลปะและวัฒนธรรม ที่ยาวนาน เราจะสามารถขายการท่องเที่ยวขายเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นให้ต่างชาติ มาเยี่ยมชมเราได้อีกมาก

พอเดินทางกลับจากประเทศลาว ผมจึงถือโอกาสไปรดน้ำดำหัวท่านศุลกากรเชียงของ และได้ถือโอกาสหารือกับนายด่านเชียงของ ถึงแนวคิดการ ผลักดันการค้าชายแดน ที่เชียงของที่เชื่อมกับถนน R3A ของลาวเชื่อมทางรถไฟความเร็วสูงสู่จีน นายด่านให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ตรงนี้ผมเริ่มเห็น โอกาสภูมิประเทศของเชียงราย ที่คล้ายกับสวิสเซอร์แลน การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจทั้งการเงินการธนาคาร ธุรกิจการค้าขาย แน่นอนหากมีการหมุนเม็ดเงินลงทุนมาสู่เชียงราย อาจนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินการธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งของโลก เบื้องต้นต้องผลักดันเชียงราย-เชียงใหม่ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเสียก่อน โดยออกกฎหมายเฉพาะ และเชิญชวนองค์กรสันติภาพระหว่างประเทศมาตั้งสำนักงานที่นี่ ดึงการค้าการเงินการธนาคาร เพื่อผลักดันการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประเทศไทยมีความมั่นคงอยู่แล้ว อีกทั้งเชื่อมโยงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ให้สะดวกขึ้น และดึงเม็ดเงินมาลงในพื้นที่ ก็อาจจะทำให้เชียงราย-เชียงใหม่ กลายเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย อย่างไรผมจะลองเอาโมเดลนี้ไปเสนอต่อรัฐบาลต่อไปครับ


วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

"ดร.มหานิยม" พาไปไหว้ พระวัดงามตามรอยพระอริยะ วัดป่าโสมพนัสสกลนคร



เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา อดีต สส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย  หรือ "ดร.มหานิยม" ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฯพณฯภูมิธรรม เวชยชัย พาไปวัดป่าโสมพนัสบ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร   วัดป่าแห่งนี้ ขึ้นชื่อด้านการเผยแผ่พุทธธรรมด้วยการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว โดยมี "พระอาจารย์สุริยา มหาปญฺโญ" เป็นประธานสงฆ์ ตามแนว "หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ" มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 โดยมีผู้ที่เข้ามารับการฝึกปฏิบัติในแต่ละปีเป็นจํานวนมาก

 การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว คือ ให้ระลึกรู้อยู่กับอิริยาบถปัจจุบัน รู้เท่าทันความคิด ไม่ปรุงแต่งจิต ไม่ยึดติดรูปนาม รู้จักตนเอง รู้จักความทุกข์ รู้สาเหตุและทางออกจากทุกข์ สอนให้เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ไม่ยึดติดประเพณีพิธีกรรม โดยพระอาจารย์สุริยา จะดูแลทําการสอนอย่างจริงจัง แต่เรียบง่าย และให้ความเอาใจใส่ผู้ปฏิบัติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้รู้ได้เห็น ได้เป็นได้สัมผัสในหลักธรรมคําสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่การดับทุกข์อย่างแท้จริง

 วัดป่าโสมพนัส มีความเป็นมา ว่า พ.ศ. 2492 - 2494 เป็นช่วงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำภูเพ็ก โดยใช้แรงงานคนในการก่อสร้าง มีการจ้างแรงงานชาวบ้านรอบๆ พื้นที่ โดยเฉพาะ บ้านนาหัวบ่อ บ้านหนองดินดํา การเดินทางมาทํางานมีคนงานบางคนก็เดินทางไปเช้าเย็นกลับ โดยจักรยานบ้าง เดินเท้าเปล่าบ้าง และมีบางส่วนก็สร้างที่พักรอบๆอ่างเก็บน้ำเพื่อไม่ต้องเดินทางกลับ โดยพักอยู่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ จึงเริ่มเกิดชุมชนขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

แต่คนในชุมชนบ้านอ่างจะเดินทางไปประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาในวันสําคัญๆ เช่นการทําบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ที่วัดโพธิ์คํา บ้านนาหัวบ่อ ซึ่งต้องเดินทางไกลและยากลําบากระยะทาง 6-7 กิโลเมตร ในสมัยนั้นถนนหนทางไปมาไม่สะดวก และแต่ก่อนวัดพระธาตุภูเพ็กก็ยังไม่เกิดขึ้น มีเพียงโบราณสถานบนภูเขากลางป่าเท่านั้น ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัยไม่ค่อยมีชาวบ้านขึ้นไปเพราะการเดินทางยากลําบาก แต่บางครั้งก็มีพระธุดงค์ปลีกวิเวกขึ้นไปจําพรรษาบ้าง เพราะเป็นสถานที่สงบวิเวก

เมื่อ พ.ศ.2494 หลวงปู่โสม โสภิโต ซึ่งเป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดสุรินทร์ ได้เดินธุดงค์เพื่อไปจําพรรษาที่พระธาตุภูเพ็ก และเดินมาถึงบริเวณที่กําลังมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในคืนนั้น รุ่งเช้าเมื่อชาวบ้านพบเห็นจึงนําอาหารมาถวายและชาวบ้านก็ได้นิมนต์ท่านอยู่ที่หมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านภูเพ็กไม่มีวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเวลาทําบุญต้องเดินทางไปที่วัดโพธิ์คํา บ้านนาหัวบ่อ

จากนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิ ศาลา ห้องน้ำ เป็นที่พักสงฆ์ขึ้น บริเวณลานหิน ใกล้กับต้นไฮใหญ่ติดกับห้วยวังกอไผ่ ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน โดยไม่มีชื่อวัด แต่ชาวบ้านเรียกที่พักสงฆ์นั้นว่า วัดหลวงพ่อเซ็น ซึ่งเป็นผู้มาริเริมก่อตั้ง

ต่อมา พ.ศ. 2503 พระมหาสม สุมโณ เลขานุการวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ท่านเป็นผู้มีความรู้ และชอบค้นคว้าวิชาโบราณคดีประวัติศาสตร์ได้ติดตามคณะเจ้าคณะพระมหาเถระระดับภาคที่ต้องการเยี่ยมชมพระธาตุภูเพ็ก พร้อมด้วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมและพระมหาเถระระดับภาคอีกจํานวนหนึ่งทุกครั้งที่ท่านมาจะพักที่วัดหลวงพ่อเซ็น พระมหาสมจึงได้ตั้งชื่อให้ว่า วัดโสมพนัส 

 ตลอดระยะเวลาพ.ศ.2494- 2538 วัดโสมพนัสได้เป็นที่พักของพระสงฆ์ มีพระจําพรรษาในบางปีและหลายปีก็เป็นวัดร้างไม่มีพระจําพรรษา

จากการที่มีกลุ่มพระมหาเถระมาศึกษาพระธาตุภูเพ็กครั้งนั้น ทําให้เกิดการสร้างถนนขึ้นและต่อมาพระธาตุภูเพ็ก จึงเป็นโบราณสถานที่รู้จักทั่วไป โดยพระมหาสมได้ร่วมกับคณะสงฆ์อําเภอพรรณานิคมและร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาก่อสร้างถนนหนทางขึ้นวัดพระธาตุภูเพ็ก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การเปลี่ยนแปลงชื่อวัด ระยะแรกชาวบ้านเรียกชื่อเป็นวัดหลวงพ่อเซ็น ต่อมา วัดโสมพนัส  วัดป่าโสมพนัสสามัคคีธรรม ถูกตั้งชื่อในสมัยที่หลวงพ่อสนใจ จําพรรษาอยู่ระหว่างพ.ศ.2531- พ.ศ.2534 และ “วัดป่าโสมพนัส” ถูกตั้งชื่อในสมัยที่พระอาจารย์สุริยา มหาปญฺโญ มาจําพรรษาที่วัดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 ถึง ปัจจุบัน

 วัดป่าโสมพนัสได้มีการย้ายจุดที่ตั้งวัดตามลําดับอยู่ 2-3 ครั้ง เนื่องจาก การขยายตัวของหมู่บ้านและการก่อสร้างโรงเรียนบ้านภูเพ็ก จาก พ.ศ.2494 จน พ.ศ.2543 มีการขยายบริเวณวัดออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยญาติธรรมจากกรุงเทพฯได้ซื้อที่ดินทํากินจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณรอบๆ ทําให้ปัจจุบันวัดป่าโสมพนัสมีพื้นที่โดยประมาณ 60 ไร่


22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วม...