วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Indian government under fire over Assam fighting



.......

(courtesy of AlJazeeraEnglish in youtube)

พระตื่นประชาคมอาเซียนบุกม.สงฆ์ตั้งรับ

ทันทีที่รัฐบาลมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 (ASEAN Economic Community : AEC) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2555 แล้วมอบหมายให้แต่ละกระทรวงนำแนวทางไปปฏิบัติการทำเวิร์คช็อปเพื่อบูรณาการ 3 เสาหลักของอาเซียน คือ ด้านประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม แต่ก็มีคำถามว่าไทยพร้อมมากน้อยเพียงใด

ไม่ใช่แต่เฉพาะญาติโยมเท่านั้นที่จะต้องเตรียมความพร้อม แม้นแต่พระสงฆ์เองก็ต้องเตรียมความพร้อมเช่นเดียวกัน โดยวันที่ 27 ก.ค.2555 ได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์ประชุมสัมมนาโครงการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนานานาชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง การเตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่ประชาคมอาเซียนในมิติทางพระพุทธศาสนา จัดโดยสถำบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมกรการอุดมศึกษา และสถาบันพัฒนานักวิจัยแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร ก็ได้รับคำตอบว่าไทยมีความพร้อมน้อยกล่าวลาวและเวียดนามจะดีกว่าพม่าเท่านั้น ส่วนประเทศทางใต้ไม่ต้องพูดถึง

เสาแรกเศรษฐกิจไม่ต้องพูดถึงตอนนี้การส่งข้าวออกก็แพ้เวียดนามไปแล้ว เสาที่สองการเมืองความมั่นคงก็มีการแบ่งสีแบ่งฝ่ายทะเลาะกันทุกวัน ลามเข้าไปในวัดโรงเรียนสถานการศึกษา และเสาสุดท้ายวัฒนธรรมก็ยังมองไม่ออกว่าจะยึดหลักอะไรเพราะเขมรจ่องประกาศอ้างเป็นสมบัติตัวทุกเมื่อ ภาษาอังกฤษหรือก็งูๆปลาๆ ภาษาเพื่อนบ้านภาษาท้องถิ่นหรือก็ไม่เคยเข้าหู ไม่รู้ว่าเขาพูดอย่างไรกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของสถานการศึกษาที่ต้องให้ความรู้กับบุคลากรของประเทศเป็นการเร่งด่วน รวมถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่งด้วย

ไม่ใช่แต่เฉพาะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเท่านั้นที่มีการเตรียมความพร้อมมหาวิทยาลัยสงห์อีกแห่งหนึ่งคือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็มีการเตรียมความพร้อมบ้างแล้วเช่นกันโดยได้มีการตั้งสถาบันการศึกษาศึกษาขึ้นร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดโครงการอบรมร่วมกัน พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน จัดปาฐกถาราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประชาคมอาเซียน” ในวันพฤหัสบดี ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลา 09.00น. ณ ห้องประชุมอาคารเรียนรวมโซน C มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยการปาฐกถาพิเศษโดย พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ

เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาคมอาเซียนและร่วมมือกับองค์กรทางศาสนาและทางการศึกษา ปลูกฝังความรู้ความเข้าใจทางศาสนาและปรัชญาแก่ประชาคมอาเซียน เกิดความรักความสามัคคีอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพื่อให้ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการประเภทวิชาปรัชญาของราชบัณฑิตยสถานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ องค์กรทางศาสนาและองค์กรทางการศึกษาในประชาคมอาเซียนทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในการแก้ปัญหาของประชาคมนี้

เมื่อมหาวิทยาลัยสงฆ์มีความพร้อมแล้วก็สามารถเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปในประเทศในประชาคมอาเซียนได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพราะประเทศเหล่านี้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่ ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความเข้าใจ ขจัดความขัดแย้งในทุกมิติลงได้

"เหมอัศววาราม"วัฒนาสร้างวัดไทยแห่งแรกในจีน

ประกอบพิธีฝังลูกนิมิตเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับวัดเหมอัศววาราม วัดไทยแห่งแรกในประเทศจีน ที่สร้างขึ้นที่เมืองลั่วหยางทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน ด้วยเงินส่วนตัวประมาณ 200 ล้านบาท เมื่อ 2 ปีก่อน เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2555 ที่ผ่านมา

ที่สร้างความฮือฮาเป็นอย่างยิ่งก็คือได้ปรากฏกายนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรมช.มหาดไทย นักโทษหนีคดีทุจริตคลองด่านเมื่อ 4 ปีก่อน ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีพระธรรมสิทธินายก ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ร่วมประกอบพิธีกับพระจีน พร้อมกันมีพระสงฆ์จากประเทศไทยเกือบ 100 รูป และแขกรับเชิญอีก 500 คน จากประเทศไทยและจีนเข้าร่วมในพิธี ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่เข้าร่วมงานได้แก่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล บุคคลผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคนโตของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมสุรินทร์หาแนวทางอนุรักษ์เจรียง

นายอุทัย พลพวก วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์กล่าวว่า เจรียงหรือจำเรียง เป็นวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านโบราณของจังหวัดสุรินทร์ เป็นเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเขมร มีบทร้องและทำนองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ปัจจุบันการแสดงประเภทนี้นับวันจะหาชมยาก และมีผู้สืบทอดน้อยลงทุกวัน จึงมีแนวคิดที่จะร่วมกันกับผู้มีความรู้ นักวิชาการและผู้ที่อยู่ในสายวัฒนธรรม หาแนวทางที่จะสืบทอดการแสดงพื้นบ้านนี้ให้เยาวชนและคนทั่วไปได้รู้จัก ในขั้นต้นอาจจะมีการบรรจุการแสดงเจรียง เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

The Biggest Myanmar Classic Music Concert



The Myanmar Classic Music Concert, titled " A Thee Ta Yar Ma, A Nyar Ta Khu Thot Tan Chin", will be held on July 22, 2012 at National Theatre, in Yangon. The Presser of Concert Organizers was held on July 11, 2012 and this Classic Music Concert was held as a memorial to Myanmar famous classic singer Ton Tay Thein Tan who passed away a few years ago. Myanmar Classic Singers; Than Myat Soe, Yar Zar Win Tint, Hla Myint Win, Yan Paing Soe, Banyar Han, Phoe Thaw Kyar, Cho Phone, Yi Yi Thant, Hnin Yi Thant, Shwe Yi Thein Tan, and other classic singers will perform for this concert.

courtesy of MyanmarCelebrity

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การนับเลขวันเดือนปีภาษาพม่า-เวียดนาม-ลาว-เขมร-อาเซียน

พม่าคือ ติท = 1 หนิท = 2 โตง = 3 เล = 4 งา = 5 ชัก = 6 คูนิ = 7 ชิท = 8 โก = 9 ติทเซ = 10 11 = ติทเซ ติท ก็คือ 10 บวกไปเรื่อยๆ 20 = หนิทเซ 21 = หนิทเซติท แต่นิยมอ่านว่า นะ แซ ติท ติทยาร์ = 100 ติทท็อง = 1000 การนับจะออกเสียงเรียงตามคำพูด เช่น 150 ตะยา-งาแซ 2,075 นะเทา-คุนนะแซะงา 32,345 โตงเต้า-นะเทา-โตงยา-เลแซงา 467,984 เลเตง-เช่าเต้า-คุนนะเทา-โกยา-ชิ่ดแซะเล 7,865,679 คุนนะตาน-ชิ่ดเตง-เช่าเต้า-งาเทา-เช่ายา-คุนนะแซโก

วัน = เนะ เดือน = ละ ปี = นิด โดนจะมีคำขยายวันเดือนปีอยู่ด้านหน้า

วันอาทิตย์ ตะนิน-กะนวยเนะ วันจันทร์ ตะนิน-ลาเนะ วันอังคาร อิ่งกาเนะ วันพุธ โป้ป-ตะฮูเนะ
วันพฤหัสบดี จาตา-ปาเตเนะ วันศุกร์ เต๊าจาเนะ วันเสาร์ สะเหน่เนะ วันหยุด อะโล๊ะ-เป้กแยส

เดือนมกราคม เปียโต-ละ เดือนกุมภาพันธ์ ตะโบ๊ะตอย-ละ เดือนมีนาคม ตะเปาว์-ละ เดือนเมษายน ตะกู-ละ เดือนพฤษภาคม กะโซง-ละ เดือนมิถุนายน นะโย่ง-ละ เดือนกรกฎาคม วาโซ-ละ เดือนสิงหาคม วาคาว-ละ เดือนกันยายน ตอตะลิน-ละ เดือนตุลาคม ตะตินจูด-ละ เดือนพฤศจิกายน ตะเสามง-ละ
เดือนธันวาคม นะดอ-ละ เดือนที่แล้ว ปีแคะแต้-ละ เดือนต่อไป/เดือนหน้า เน่า-ละ

ดีเนะ : วันนี้ มาเนะก้ะ : เมื่อวานนี้ มาเนะเผี่ยน : พรุ่งนี้ ซ้อซ้อ : เช้าๆ มาเนะ : ตอนเช้า นิเหล่ : ตอนกลางวัน เงียะเหน่ : ตอนเย็น เงียะ : กลางคืน

เวลา อะ-เชง วินาที ซะ-ก้าน นาที มิ -นิท ชั่วโมง นายี หนึ่งวินาที ตะ-ซะ-ก้าน สองนาที นะ-มิ-นิท
สามชั่วโมง โต๊ง - นา-ยี กี่โมง แป-นานายี- แล นานเท่าไร แปเลา-จาบี-แล เช้า นันแนต 10.00 นันแนต-แซ-นา ยี 11.00 นันแนต-เซะ-ตะนายี เที่ยงวัน มุน-แตะ

บ่าย มุนลอย 13.00 มุนลอย-ตะนายี 14.00 มุนลอย-นิดนายี 15.00 มุนลอย-โต้งนายี
16.00 หย่ะเน- เลนายี เย็น หย่ะ-เน 17.00 หย่ะเน - งานายี 18.00 หย่ะเน - เช่านายี
ค่ำ หย่ะ-อู้-ยัน กลางคืน หย่ะ เที่ยงคืน หย่ะตะเกา 19.00 หย่ะ-คน-นะนายี 20.00 หย่ะ-ชิ่ดนายี
21.00 หย่ะ-โกนายี 22.00 หย่ะ-แซนายี 23.00 หย่ะ-แซะ-ตะนายี


.......................

เขมรคือ 0 โซม 1 มวย 2 ปี 3 เบ็ย 4 บวย 5 ปรำ 6 ปรำมวย 7 ปรำปี 8 ปรำเบ็ย 9 ปรำบวน 10 ด็อบ 15 ด็อบปรำ 20 มวยไพ 30 สามซับ 40 ซายซับ 50 ห้าซับ 60 หกซับ 70 เจ็ดซับ 80 แปดซับ 90 เก้าซับ 100 มวยร้อย 1,000 มวยปอน 10,000 มวยมื่น 100,000 มวยแสน

การนับเลขในภาษาเขมรนั้นเรียกว่าการนับแบบฐาน 5 คือ นับตามนิ้วมือที่มนุษย์มีอยู่ โดยจะมีคำนับเลขทั้งแต่เลขศูนย์ถึง 5 หลังจากนั้นก็จะนำเอาคำเลข 5 ไปบวกกับเลข 1 ก็จะได้เป็นเลข 6 เอา 5 ไปบวกกับเลข 2 ก็จะได้เป็นเลข 7 และการนับ 2 ถึง 5 คำก็จะเสียงเป็นตัว บ.ใบไม้ ซึ่งการนับเลขของภาษาเขมรแบบฐาน 5 แตกต่างจากการนับเลขของชาติต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นฐานสิบ

ส่วนเลข 11 ขึ้นไปก็จะนำคำว่า ด็อบ ไปต่อกับเลขหลักหน่วย เช่น 11 ก็จะเป็น ด็อบมวย 12-ด็อบปี และตั้งแต่ 30 ถึง 90 ใช้คำว่า "ซับ" หมายถึง "สิบ" ต่อท้ายเลขหลักหน่วย และดูเหมือนตั้งแต่ 50-90 หรือแม้นแต่หลักร้อยถึงแสนคำจะเหมือนไทย ก็ทำให้สงสัยว่าใครลอกใคร

การนับวัน คำว่า "วัน" ภาษาเขมรคือ "งัย" นับได้ดังนี้ วันอาทิตย์-งัยอะตึด วันจันทร์-งัยจัน วันอังคาร-อังเกียร์ วันพุธ-งัยพุธ วันพฤหัสบดี-งัยปะเฮอ วันศุกร์-งัยซอก วันเสาร์-งัยเซา

การนับเดือน คำว่า "เดือน" ภาษาเขมรคือ "แค" โดยเริ่มจากเดือน 5 เหมือนไทย โดยคำเขมรดัดแปลงมาจากภาษาสันสกฤต คือ เดือน 5-แคแจด เดือน 6 -แค พซาก (อะเลียงยาว) เดือน 7-แค จีฮ เดือน 8-แค อาซาด เดือน 9-แคซราพ เดือน 10-แคพ็อต ระบ็อด เดือน 11- แค อาโสจ เดือน 12 -แคกระเดอะ (กระเดิก็) เดือนอ้าย (1)แคเมียะ(ก)หรืออะเสียงยาว เดือนยี่ (2)- แค บ็อฮ เดือน 3 -แคเมียก (ทม)อะเสียงยาว เดือน 4 -แค ปะกุน



........

เวียดนาม คือ 0 คง (Kh?ng) 1 โมต (Mot) 2 ไฮ (Hai) 3 บา (Ba) : • 4 โบน (Bon) 5 นาม (Nam) 6 เสา (Sau) 7 ไบ่(Bay) 8 ตาม (Tam) 9 จิ๋น (Chin) 10 เหมื่อย (Muoi) 11 เหมื่อย โมต (Muoi Mot) บวกไปเรื่อยๆ แต่ 15 เหมื่อย ลาม (Muoi Lam) 20 ไฮ เหมื่อย (Hai Muoi) 25 ไฮ เหมื่อย ลาม (Hai Muoi Lam) : 25

30 บา เหมื่อย (Ba Muoi) 50 นาม เหมื่อย (Nam Muoi) 100 โมต ตรัม (Mot Tram) 200 ไห่ ตรัม (Hai Tram) 1,000 โมต งัน (Mot Nghin) 10,000 เหมื่อย งัน (Muoi Nghin) 100,000 ตรัม งัน (Tram Nghin) 1,000,000 โมต เตรียว (Mot Trieu)


การนับวัน จู่ ยัต (Chu Nhat) : อาทิตย์ ถือ ไห่ (Thu Hai) : จันทร์ ถือ บา (Thu Ba) : อังคาร ถือ ตือ (Thu Tu) : พุธ ถือ นาม (Thu Nam) : พฤหัสบดี ถือ เสา (Thu Sau) : ศุกร์ ถือ ไบ่ (Thu Bay) : เสาร์
วันนี้ โฮม ไน (hôm nay) เมื่อวานนี้ โฮม กวา (hôm qua)พรุ่งนี้ ไหง่ มาย (ngày kia) มะรืนนี้ ไหง่ เกีย (ngày mai) กลางวัน บาน ไหง่ (ban ngày) กลางคืน บาน เดม (ban đêm) ตอนเช้า บ่วย สา (buổi sang)ตอนเที่ยง บ่วย เจือ (buổi trưa)ตอนบ่าย บ่วย เจี่ยว (buổi chiều) ตอนเย็น บ่วย โต๊ย (buổi tối) วันที่ ไหง่ (tháng) เดือน ถาง (tháng) ปี นัม (năm)วันหยุด ไหง่ หงี่ (ngày nghỉ) วันทำงาน ไหง่ หล่าม เวียก (ngày làm việc)

มกราคม ถาง เซียง (tháng giêng) กุมภาพันธ์ ถาง ฮาย (tháng hai) มีนาคม ถาง บา (tháng ba)เมษายน ถาง ตือ (tháng tư) พฤษภาคม ถาง นัม (tháng năm) มิถุนายน ถาง เสา (tháng sáu) กรกฎาคม ถาง เบ่ย (tháng bảy)สิงหาคม ถาง ต๋าม (tháng tám)กันยายน ถาง จี๋น (tháng chín) ตุลาคม ถาง เหมื่อย (tháng mười) พฤศจิกายน ถาง เหมื่อย หมด (tháng mười một)ธันวาคม ถาง เหมื่อย ฮาย (tháng mười hai) 8.00 น. ต๋าม เส่อ (Tám giờ ) 15.00 น. เหมื่อย ลัม เส่อ (Mười lăm giờ)

คำทักทายภาษาพม่า-เวียดนาม-ลาว-เขมร-อาเซียน

คำทักทายภาษาพม่า-เวียดนาม-ลาว-เขมร-อาเซียน






พม่า - มิงกลาบา คัมยา ผู้ชาย หากผู้หญิงว่า มิงคลาบา ชิน แต่ชาวพม่าแท้ๆจะทักทายด้วยคำว่า เหน่ เกา ลา มากกว่า แปลว่า สบายดีหรือเปล่าครับ ถ้าจะสบายดีก็ตอบว่า เน เกา แด ถ้าไม่สบายก็ตอบว่า เน มะ เกา บู ซึ่ง มะ บู แปลว่าไม่ ส่วนจะทักทายใครก็ต่อท้าย เช่น มิงกลาบา สะหย่า สวัสดีครับครู แต่ถ้าเป็นครูผู้หญิงก็ เติมคำว่า "มะ"ด้วย

เจซูติน บาแด : ขอบคุณมาก

เจซูติน บาแด : ขอบคุณมาก

ควินโละ บ่าหน่อ : ขอโทษ

อู (U) : กระเด๊าะ : ขอโทษ ใช้เรียกผู้ใหญ่หรือผู้อาวโสชาย

ตาตา : ลาก่อน





เวียดนาม - มีการทักท่ายหรือสวัสดีละเอียดมาก

• ซิน จ่าว (Xin Chao) : สวัสดี (ใช้ได้ทุกเวลา)
• เจา อง (Chao Ong) : สวัสดี สำหรับชายสูงอายุ
• เจา แองห์ (Chao Anh) : สวัสดี ชายหนุ่ม
• เจา บั๊ก (Chao Bac) : สวัสดี ชายอายุมากกว่า
• เจา แอม (Chao Em) : สวัสดี ชายอายุน้อยกว่า
• เจา บา (Chao Ba) : สวัสดี สำหรับหญิงสูงอายุ
• เจา โก (Chao Co) : สวัสดี หญิงสาว
• เจา จิ (Chao Chi) : สวัสดี หญิงอายุมากกว่า
• เจา แอม (Chao Em) : สวัสดี หญิงอายุน้อยกว่า
• จุ๊บ หงู งอน (Chuc Ngu Ngon) : ราตรีสวัสดิ์
• บั๊ก โก แคว คง (Bac Co Khoc Khong) : สบายดีหรือ
• กาม เอิน บิงห์ เทือง (Cam On Binh Thuong) : สบายดี ขอบคุณ




ลาว - สำบายดี

ขอบใจ : ขอบคุณ
ขอบใจหลายๆ : ขอบคุณมาก
บ่เปนหยัง : ไม่เป็นไร
ขอโทด : ขอโทษ
ขอให้เข้มแข็ง : ขอให้มีสุขภาพดี
ขอให้มั่นยืน : ขอให้อายุยืน
บ่ดี : ไม่ดี


เขมร-สวัสดี :ซัวซไดย, จุมเรี้ยบซัว

สวัสดี(ตอนเช้า): อรุณซัวซไดย

ขออีก/เอาอีก : ซมเตี๊ยบ

สบายดีหรือ : ซกสะบายดี (ถาม)

สบายดีค่ะ(ครับ) : จ๊ะ (บาด) ซกสะบายดี

ขอให้มีสุขภาพดี : สุขะเพียบละออ

ขอลา : โซ้มเรีย, โซ้มจุมเรี้ยบเรีย

ลาก่อน : เรียนซันเฮย

ขอบคุณ : ออกุน, ออกุนเจริญ

ฉันขอโทษ :ขยมโซ้มโต๊ก

มาเลเซีย - สวัสดี (ซาลามัต ดาตัง) Salamat Datang
ขอบคุณ (เตริมา กะชิ) Terima kasih
ขอโทษ (มาอาฟ) maaf
กรุณา (ซิลา) Sila
สบายดีไหม ? (อาปา กา บา) Apa kha bar?
กี่โมงแล้ว ? (ปูกูล เบอรปา) Pukul berepa?
อยู่ใหน? (ดี มานา) Di mana...?
ลาก่อน (ซาลามัต จาลัน) Salamat jalan




อินโดนีเซีย - ซาลามัต เซียง หรือ Halo (ฮาโหล) = สวัสดี

Selamat pagi (เซอลามัต ปากี) = สวัสดีตอนเช้า

Selamat siang(เซอลามัตเซียง) = สวัสดีตอนกลางวัน

Selamat malam (เซอลามัตมาลาม) = สวัสดีตอนหัวค่ำ

Selamat tidur (เซอลามัตติดูร์) = ราตรีสวัสดิ์

ขณะที่ บรูไนว่า ซาลามัต ดาตัง

ฟิลิปปินส์ว่า กูมุสตา

สิงคโปร์ว่า หนีห่าว

นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวสวัสดีในกลุ่มคนเครือไท ไทดำ แดง ขาว อยู่เวียดนามว่า หาวคั้นหล่อกั้ว ไทลือสิบสองปันนาเมืองจีนว่า อยู่หลีกินหวานพี่น้อง ไทใหญ่รัฐฉานพม่า พี่ไทคำตี ไทอาหม รัฐอัสสัม อินเดียว่า ใหม่สูงครับ

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

'ตัน'แจงธุรกิจซื้อมาขายไปยันไม่เล่น-อิงแอบการเมือง


ตามที่สำนักข่าวอิศราได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์ของนายตัน ภาสกรนที โดยมีการเกี่ยวพันกับนายพานทองแท้ ชินวัตร รวมถึงคนในตระกูล และนายสรยุทธ สุทัศนจินดา นักเล่าข่าว ล่าสุดนายตัน ภาสกรนทีได้แสดงความเห็นผ่านทางเฟซบุ๊คของตัวเองความว่า


"วันนี้มีเรื่องยุ่งๆ ที่ผมกับอิงไม่สบายใจ...ผมไม่เคยมีความคิดเล่นการเมืองและไม่อยากเกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองไม่ว่าจะเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง

ผมจะชอบใจใคร พรรคไหน ขอใช้ดุลยพินิจตัดสินใจด้วยตนเองตอนไปเลือกตั้งเมื่อถึงเวลา ตามหน้าที่ของประชาชนชาวไทยอย่างแน่นอน

กรณีทำธุรกิจอสังหาฯ เรียกง่ายๆ ก็คือการซื้อมาขายไป ที่ดินเพลินจิต 1.5 ไร่ พร้อมสัญญาการเช่าปั๊มน้ำมันให้กับอีกบริษัทหนึ่งในราคาที่ผมพอใจตามปกติแค่นั้น ส่วนกรณีการซื้อที่ที่หัวหิน ก็เป็นการลงทุนกับเพื่อนแทนการฝากเงินที่แบงก์

ผมยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใคร พรรคการเมืองไหน ปล่อยผมไปตามทางธุรกิจเล็กๆ ของผมเถอะครับ

ยืนยันหนักแน่นอีกครั้งครับ ตัน อิง และครอบครัว ภาสกรนที"

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาส...