วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
คุมเข้ม"กมธ."ห้ามเชิญคนนอกมั่ว! "ชวน"ออกกฎเหล็กต้องรายงานให้รู้ก่อน
"ชวน" ออกกฎเหล็ก คุมเข้ม กมธ.ห้ามเชิญมั่ว ให้ปธ.กมธ.รายงาน ปธ.สภาฯ ทุกวันศุกร์ พิจารณาเรื่องไหน ประเด็นอะไร เชิญใคร กันทำงานซ้ำซ้อน ให้อำนาจปธ.สภาฯ ชี้ขาดใครดำเนินการ หากทำมากกว่าหนึ่งคณะแล้วตกลงกันไม่ได้
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ออกประกาศระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดที่มีความเกี่ยวข้องกันของคณะกรรมาธิการหลายคณะ พ.ศ. 2562 มีเนื้อหาว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดที่มีความเกี่ยวข้องกันของคณะกรรมาธิการหลายคณะอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 และข้อ 90 วรรคหก แห่งข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พศ. 2562 ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดที่มีความเกี่ยวข้องกันของคณะกรรมาธิการหลายคณะ พ.ศ. 2562
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นตันไป
ข้อ 3 ในระเบียบนี้
"ประธานสภา" หมายความว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร
"คณะกรรมาธิการ" หมายความว่า คณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎร
"ที่ประชุม" หมายความว่า ที่ประชุมร่วมกันระหว่างประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการ
ที่เกี่ยวข้องทุกคณะ
ข้อ 4 เมื่อคณะกรรมาธิการจะกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ให้ประธานคณะกรมาธิการทุกคณะรายงานต่อประธานสภาทราบภายในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ ว่าจะมีการพิจารณา
เรื่องใด ประเด็นใด และเชิญผู้ใด หรือหน่วยงานใดเข้าร่วมการพิจารณาในสัปดาห์ถัดไป
ข้อ 5 ให้ประธานสภาตรวจสอบรายงานตามข้อ 9 หากพบว่ามีคณะกรรมาธิการมากกว่าหนึ่งคณะ
จะกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดที่มีความเกี่ยวข้องกัน ให้ประธานสภาแจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องทราบโดยไม่ชักข้า และจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างประธานสภาและประธานคณะกรรฆาธิการที่เกี่ยวข้องทุกคณะ พื่อร่มกันดำเนินการ ทั้งนี้ ให้คณะกรมาธิการที่เกี่ยวข้องยุติการกระทำกิจการ
พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องนั้นไว้เป็นการชั่วคราว ในกรณีที่ไม่อาจยุติการดำเนินการดังกล่าวได้ ให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจไปพลางก่อนได้ แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานสภาแจ้งให้ทราบ
ข้อ 6 การร่วมกันดำเนินการตามข้อ 5 อาจพิจารณาดำเนินการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องทุกคณะร่วมกันกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง
หรือศึกษาเรื่องนั้น โดยตกลงร่วมกันให้ประธานคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องคณะใดคณะหนึ่งเป็นประธานในการดำเนินการดังกล่าว หากไม่อาจตกลงกันได้ ให้ประธานสภาเป็นผู้กำหนด
(2) ให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องทุกคณะร่วมกันกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง
หรือศึกษาเรื่องนั้น โดยให้คณะกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งเป็นหลักในการดำเนินการ และให้คณะกรรมาธิการคณะอื่นที่เกี่ยวข้องส่งกรรมาธิการตามจำนวนที่ที่ประขุมกำหนดเข้าร่วมการดำเนินการนั้นด้วย
(3) แนวทางอื่นที่ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ เมื่อที่ประชุมเห็นขอบให้ร่วมกันดำเนินการตาม (1)(2) หรือ (3) แล้ว ให้ประธานสภาแจ้งคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องทุกคณะทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ 7 ในกรณีที่มีญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ประธานสภาเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของประธานสภาให้ถือเป็นเด็ดขาด
ข้อ 8 ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศณวันที่ 31ตุลาคม พ.ศ.2562 ลงชื่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ระเบียบดังกล่าวออกมาภายหลัง เกิดปัญหากรรมาธิการปปช ออกหนังสือเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาชี้แจงกรณีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 โดยไม่ถูกต้องเนื่องจากยังถวายสัจไม่ครบถ้วนถึง 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดมีการอ้างถึงการใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาด้วย ซึ่งในขณะนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มาตรา 5 มาตรา 8 และมาตรา 13 เกี่ยวกับการใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกรวมถึงบทลงโทษทางอาญาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 129 หรือไม่ตามคำร้องของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น