วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บทที่ ๒-๒.๑.๗ จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์

 บทที่ ๒-๒.๑.๗ จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ 

-จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ethics 

-สถานการณ์สื่อออนไลน์ในสังคมไทยยุึคดิจิทัล 

-ข้อมูลสื่อออนไลน์ 

-ข้อมูลสื่อเอไอ (๒.๑.๒.๑ ประเภทของสื่อออนไลน์(ลักษณ์ที่เป็นช่องทาง) 
(๒.๑.๒.๒ ประเภทของสื่อออนไลน์(ลักษณะที่เป็นตัวช่วยเทคโนโลยี)  

๒.๑.๗ จริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ จากการประมวลประโยชน์และคุณค่าของสื่อออนไลน์ที่มีต่อสังคมดังกล่าวเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนอยู่บนกรอบจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงได้ออกแนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ. ๒๕๕๓ ความว่า เนื่องด้วยในสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และเว็บไซต์ข่าวสารต่าง ๆ ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่การทำงานขององค์กรข่าว ซึ่งมีทั้งการใช้ประโยชน์ในระดับองค์กร ตัวบุคคล และผสมผสาน เป็นจำนวนมาก จึงควรมีแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนให้เป็นไปในทาง สร้างสรรค์ องค์กร วิชาชีพสื่อมวลชนจึงได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ประสานการยกร่างแนวปฏิบัติ โดยมีตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ได้แก่ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกันยกร่างและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง จึงกำหนดเป็นแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๑ ในแนวปฏิบัตินี้ ‘สื่อสังคมออนไลน์’ (Social Media) หมายถึง ช่องทางการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้สามารถสื่อสารเนื้อหา อาทิ twitter.com, facebook.com, youtube.com, weblog ต่าง ๆ ‘องค์กรสื่อมวลชน’ หมายถึง องค์กรสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และองค์กรสมาชิกสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ‘ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน’ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ตามธรรมนูญสภาการหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้ประกอบวิชาชีพข่าว ผู้ปฏิบัติงานข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตามธรรมนูญสภาวิชาชีพ ข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนอื่นที่ยอมรับแนวปฏิบัตินี้ หมวด ๒ แนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ขององค์กรสื่อมวลชน ข้อ ๒ การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ขององค์กรสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็น พึงยึดมั่นกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยอย่างเคร่งครัด ข้อ ๓ การนำเสนอข่าวโดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ขององค์กรสื่อมวลชน ควรมีหลักในการอ้างอิงถึงองค์กรสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อองค์กรสื่อมวลชนที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร (๒) รายละเอียด สัญลักษณ์ หรือชื่อย่อ ที่แสดงถึงองค์กรสื่อมวลชน (๓) มาตรการทางเทคนิคที่ยืนยันถึงสถานะและความมีตัวตนขององค์กรสื่อมวลชน รวมถึงการประกาศต่อสาธารณชนตามช่องทางที่องค์กรมีอยู่ ข้อ ๔ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารขององค์กรสื่อมวลชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ควรเป็นไปตามข้อบังคับจริยธรรม หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติขององค์กรที่กำกับดูแลตามที่ระบุไว้ในหมวดหนึ่ง และต้องไม่เป็นการสร้างความเกลียดชังระหว่างคนในสังคม ไม่ยุยงให้เกิดความรุนแรงจนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งและเสียหายรุนแรงขึ้นใน ชาติ ข้อ ๕ องค์กรสื่อมวลชนต้องให้ความเคารพและยอมรับข้อมูล ข่าวสาร หรือภาพ ที่ผลิตโดยบุคคลอื่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การคัดลอก เลียน ข้อความใด ๆ จากสื่อสังคมออนไลน์ พึงได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อความนั้น ๆ ตามแต่กรณี กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการเผย แพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือรายงานข่าวในฐานะสื่อมวลชน ต้องอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อความและข่าวสารนั้นโดยรับรู้ถึงสิทธิ หรือลิขสิทธิ์ขององค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลดังกล่าว หมวด ๓ แนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ข้อ ๖ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน อาจแบ่งได้ดังนี้ (๑) กรณีใช้ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน (user account) ที่ระบุถึงต้นสังกัด ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติตามข้อบังคับ จริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะความถูกต้อง (accuracy) สมดุล (balance) และการใช้ภาษาที่เหมาะสม (๒) กรณีใช้ชื่อบัญชีผู้ใช้งานที่ระบุถึงตัวตนอันอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ผู้ใช้งานพึงระมัดระวังการนำเสนอข้อมูลข่าวและการแสดงความคิดเห็นที่อาจนำไป สู่การละเมิดจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเช่นเดียวกัน ข้อ ๗ การรายงานข้อมูลข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงแยก ‘ข่าว’ กับ ‘ความเห็น’ ออกจากกันอย่างชัดเจน พึงระวังการย่อความที่ทำให้ข้อความนั้นบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และพึงระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวซ้ำ ข้อ ๘ ในกรณีที่เวลาเป็นสาระสำคัญของการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร พึงตระหนักถึงมิติของเวลาในการนำเสนอข่าวนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงตระหนักว่าพื้นที่บนสื่อสังคมออนไลน์เป็น พื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งข้อมูลที่มีการรายงานจะถูกบันทึกไว้และอาจมีผลทางกฎหมายได้ ข้อ ๑๐ ในการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็น ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงระวังการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเด็กและสตรี ภาพอุจาด ลามก อนาจาร หวาดเสียว และรุนแรง ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พึงระมัดระวังกระบวนการหาข่าวหรือภาพจากสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน รอบด้าน และควรอ้างอิงแหล่งที่มาเมื่อนำเสนอ เว้นแต่สามารถตรวจสอบและอ้างอิงจากแหล่งข่าวได้โดยตรง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าการรายงานสดผ่านอุปกรณ์ปลายทางต่าง ๆ (devices) หรือการสร้างข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์จากการประชุม ‘ปิด’ ต้องได้รับอนุญาตจากที่ประชุมก่อน ข้อ ๑๒ หากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเกิดความผิดพลาด จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรอื่น ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องดำเนินการแก้ไขข้อความที่มีปัญหาโดยทันที พร้อมทั้งแสดงถ้อยคำขอโทษต่อบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ต้องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีโอกาสชี้แจงข้อมูลข่าวสารในด้านของตนด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สื่อออนไลน์ เป็นสื่อที่ผู้ส่งสารแบ่งปันสารซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆไปยังผู้รับสารผ่านเครือข่ายออนไลน์ประเภทต่าง โดยสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารหรือผู้รับสารด้วยกันเองได้อย่างรวดเร็วทันที ไร้ข้อจำกัดด้านกาลเวลา พรมแดน ขนาดและรูปแบบของสาร ทำให้สามารถค้นหาคำตอบในบางเรื่องได้ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วถึง ทำให้มีอิทธิพลเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคน และส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งแง่บวกใช้สร้างสันติสุขปรองดองได้ ทางกลับกันส่งผลลบเฮดสปีดเต็มจอสร้างความขัดแย้ง ความรุนแรง และใช้เป็นเครื่องมือในการก่อการร้ายสงคราม พิสูจน์ได้ยากข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จ ดังนั้น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงได้ออกแนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นกรอปปฏิบัติของสื่อมวลชนไทยที่ใช้สื่อออนไลน์ให้ยึดข้อบังคับจริยธรรม ไม่สร้างความเกลียดชังในสังคม คำนึงมติของเวลา สุภาพ ไม่ลามกอนาจาร โดยยึดผลประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ ขีดเส้น!ถ่ายภาพ"บิ๊กตู่"สันติบาลออกกฎคุมเข้มช่างภาพ http://www.banmuang.co.th/news/politic/120394 ช่วงหลังมีข่าวไร้สาระ ไม่เหมาะสม มอมเมาผู้บริโภค เกิดจากการกับดูแลจริยธรรมวิชาชีพสื่อที่ยังไม่รวดเร็วพอ ตัวนักข่าวทุกคนจะต้องไม่ละเมิดกติกากรอบแห่งจริยธรรมเสียเอง-นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นักข่าวอาชีพต้องคำนึงถึงจริยธรรม ตรวจสอบข้อเท็จจริงถูกต้องครบถ้วน นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ https://drive.google.com/file/d/1szQyl2y2RPo42drtmn_BOtzRcBjCT0CU/view?fbclid=IwAR1b91ylK-JPkFL4rGJLp0C2H4H6KsluW-eTecvK2KCqJnfSapM4mTg7uYg วันที่ 3 ส.ค.2561 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ว่า เมื่อเวลา 09.30 น. นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดงาน Thailand Social Expo 2018 ที่ฮอลล์ 5 - 7 อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ทั้งนี้ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาถึง เจ้าหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัยทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอิมแพค เมืองทองธานี ได้ทำการตรวจ(สกรีน)บุคคลที่จะเข้าร่วมงานอย่างละเอียดเข้มงวด โดยทุกคนจะต้องเดินผ่านเครื่องสแกนวัตถุต้องสงสัย รวมทั้งต้องลงทะเบียนติดบัตรและติดสติ๊กเกอร์เพื่อแสดงว่าผ่านการตรวจเรียบร้อยแล้วทุกคน กระเป๋าและวัตถุแปลกปลอมจะต้องแสดงกับเจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ได้มีความเข้มงวดกับสื่อมวลชนและช่างภาพที่จะเข้าปฎิบัติหน้าที่ภายในบริเวณงาน และเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่จากกองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 จัดทำใบลงทะเบียนสำหรับช่างภาพสื่อมวลชน โดยให้มีการลงชื่อ สังกัด และเบอร์โทรศัพท์อย่างชัดเจน มีการจดเลขที่ไอดีการ์ดบัตรประชาชน ซึ่งข้อกำหนดมีเนื้อหาดังนี้ มารยาทในการถ่ายภาพของช่างภาพสื่อมวลชน 1.ต้องอยู่ในลักษณะเคารพต่อนายกรัฐมนตรีและแสดงความเคารพทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพ 2. การแต่งกายที่สุภาพบุรุษชุดสูทสากล สุภาพสตรีชุดกระโปรง รองเท้าหุ้มส้น 3.กล้องที่จะนำมาบันทึกภาพต้องผ่านการตรวจและติดแท็กที่ได้รับอนุญาตจากตำรวจสันติบาล 4. จะอนุญาตให้เฉพาะช่างภาพที่ลงทะเบียนและติดต่อแผนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น 5.ไม่แสดงจริยาวาจาหรือมารยาทอันไม่สมควร 6.ในการถ่ายภาพควรอยู่ห่างจากนายกรัฐมนตรี 5 เมตรเป็นอย่างน้อย 7. ไม่ควรเบียดเสียดกันถ่ายภาพหรือถ่ายภาพลักษณะยืนค้ำศีรษะผู้อื่นหรือยื่นกล้องถ่ายภาพในลักษณะถ่ายภาพข้ามท่าน สำหรับข้อควรปฎิบัติในการบันทึกภาพ 1.ต้องไม่ถ่ายภาพตรงหน้า ขณะที่นายกรัฐมนตรีอยู่ในห้องรับรอง 2.ห้ามถ่ายภาพขณะเดินขึ้นหรือลงจากที่สูง เช่นบันได ฯลฯ 3.ห้ามถ่ายภาพขณะรับประทานอาหาร 4.ห้ามออกนอกสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ วิ่งตัดหน้า วิ่งลุกลนหรือห้อมล้อมกีดขวางทางเดิน 5.ให้บันทึกได้ในจุดหรือสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ได้จัดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม 6.การใช้ไฟฉายใช้ได้ในทุกโอกาส แต่การถ่ายไฟไม่ควรเกิน 1,500 วัตต์และควรอยู่ห่างจากห้องรับรอง 7.หากฝ่าฝืนมารยาทข้อควรปฏิบัติหรือไม่เชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ จะถูกลิบปลอกแขนและห้ามบันทึกภาพ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีการวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์ ทั้งในและต่างประเทศ โดยล่าสุด JAKARTA POST สื่อหลักอินโดนีเซียตีพิมพ์บทความแนะ อย่าให้ผู้นำเผด็จการทหารไทยนั่งเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า โดยมีเนื้อหาของบทความระบุว่า “การรัฐประหาร (junta)ของไทยไม่คู่ควรกับตำแหน่งท่ามกลางคลื่นที่แข็งแกร่งของความเป็นประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ ( democratization) ประเทศไทยสมควรได้รับสิทธิ์ในการรับเก้าอี้อาเซียน แต่ต้องไม่ได้อยู่ภายใต้การรัฐประหาร( junta)ที่มีอย่างต่อเนื่อง เพื่อยึดติดกับพลังที่ปล้นจากประชาชนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และก่อนที่จะนั่งเก้าอี้อาเซียนในปีหน้า พล.อ.ประยุทธ์ควรเติมเต็มความมุ่งมั่นของเขาในการถือเลือกตั้งฟรีและประชาธิปไตย ถ้าเขาไม่ทำอย่างนั้น เขาไม่ควรเก้าอี้การค้าในปีหน้า” น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ประกาศที่จะไม่ตอบโต้และพูดประเด็นการเมืองในช่วงนี้ และคาดว่า จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เจ้าหน้าที่เข้มงวดกับการทำงานของช่างภาพและสื่อมวลชน โลกปัจจุบันนี้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบไร้พรมแดนสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาด้วยเครือข่ายอินเตอเน็ต ดังนั้นคนยุคใหม่จะต้องมี ๑๐ ทักษะคือ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การพัฒนาอารมณ์ การคิดยืดหยุ่น การบริการ สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงชุมชน พฤติกรรมของคนกับสื่อสังคมออนไลน์ พฤติกรรมของคนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีต ก่อนที่สื่อสังคมออนไลน์ จะแพร่หลายเช่นในปัจจุบัน นักวิชาการต่างๆ ได้เริ่มศึกษาวิจัย ทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ และได้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การสื่อสาร ที่คนจะพูดคุยกันน้อยลง แต่สื่อสารผ่านทางแอพลิเคชั่นบนมือถือหรือผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ผลการวิจัยค้นพบว่าสาเหตุที่คนชอบสื่อสาร ผ่านเทคโนโลยีมากกว่าเจอหน้าคุยกันนั้น เนื่องจากการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีนั้นง่ายกว่าและเหนื่อยน้อยกว่าการพูดคุยแบบเห็นหน้า เมื่อเราสื่อสารแบบเห็นหน้าหรือที่ เรียกว่า face to face นั้นสมองจะทำงานหนักขึ้น เนื่องจากการสนทนาที่ดีจะต้องมีอารมณ์ร่วมไปกับคู่สนทนาด้วย นอกจากนี้เมื่อสื่อสารแบบเจอหน้านั้น นอกจากสื่อสารกันผ่านทางภาษาพูดแล้ว ยังมีการสื่อสารผ่านทางอวัจนะภาษา หรือ ภาษากายด้วย ซึ่งภาษากายนั้นก็เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทำให้คู่สนทนาเข้าใจกัน และกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยี จะไม่มีการส่งอารมณ์กันไปมาหรือการมีอารมณ์ร่วมเหมือนเจอหน้ากัน ทำให้การเข้าไปมีส่วนร่วมทางอารมณ์ในระหว่างการสื่อ สารนั้นน้อยลง พร้อมกันนี้เนื่องจากไม่เห็นหน้า กิริยา ไม่ได้ยินเสียงของคู่สนทนา ก็ทำให้สมองส่วนที่ต้องไปรับรู้หรือแปลภาษากายนั้น ไม่ต้องทำงานหนักด้วย สรุป คือการสนทนา หรือ สื่อสาร ผ่านทางเทคโนโลยีนั้น ทำให้การทำงานของทั้งสมองและอารมณ์นั้น น้อยกว่าการสื่อสารแบบ face to face ทำให้เราไม่รู้สึก เหนื่อยเท่า และนำไปสู่การเลือกที่จะสื่อสารผ่านเทคโนโลยีมากกว่าแบบเห็นหน้ากัน นอกจากเรื่องการสื่อสารแล้ว สังคมออนไลน์อย่างเช่น Facebook หรือ Instagram ก็ยังนำไปสู่การศึกษาใหม่ๆ ทางด้านจิตวิทยา ถึงขั้นที่เรียกกันว่า Psychology of Social Media ซึ่งจากที่ค้นพบนั้นยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในด้านประโยชน์และโทษของสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ แต่ส่วนใหญ่ แล้วจะเห็นตรงกันว่าคนส่วนใหญ่เข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้เพื่อเชื่อมต่อกับผู้อื่น และทำให้รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อย่างไรก็ดีมีคนกลุ่มหนึ่งใช้สื่อ สังคมออนไลน์เพื่อเข้าไปเปรียบเทียบทางสังคมกับผู้อื่น (แบบไม่รู้ตัว) ซึ่งการเปรียบเทียบทางสังคมนั้นอาจจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีมากกว่าหรือ มีน้อยกว่า มีการวิจัยที่พบว่าการเข้าไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีมากกว่า (เช่น ได้ท่องเที่ยว ได้รับการยกย่อง ได้กินอาหารอร่อย ได้ประสบการณ์ดีๆ ฯลฯ) มักจะนำไปสู่การสูญเสีย ความมั่นใจในตนเองและอาจจะนำไปสู่อาการหดหู่ได้ แถมยังอาจจะนำไปสู่การคิดว่าชีวิตของผู้อื่นนั้นดีกว่าตัวเอง อย่างไรก็ดีผลสรุปดังกล่าวใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานแต่ละคนเข้าไปดูสื่อสังคมออนไลน์เพื่ออะไร นอกเหนือจากการเข้าไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นแล้ว ยังมีบางคนเพียงแค่เข้าไปดูข่าวคราวต่างๆ หรือ เข้ารู้เห็นเรื่องชาวบ้าน ล่าสุดมีงานวิจัยเกี่ยวกับการได้รับการกด “ไลค์” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่าจะส่งผลต่อการทำงานของสมองของเด็กวัยรุ่นอย่างไร (ผู้วิจัยคงอยากจะทราบทำไมวัยรุ่น เมื่อโพสต์แล้วถึงต้องการ “ไลค์” เยอะๆ) โดยการทดลองนี้จะมีการสแกนสมองของวัยรุ่นในขณะที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ผลสรุปก็คือเมื่อรูปหรือข้อความที่ตนโพสต์ได้รับไลค์เยอะๆ สมองของวัยรุ่นในบางส่วนจะมีการทำงานที่มากขึ้น ซึ่งส่วนที่ทำงานมากขึ้นนั้น จะเป็นส่วนเดียวกับที่ทำงาน เมื่อได้รับประทานช็อกโกแลต หรือ เมื่อได้เงินมาแบบลาภลอย การได้รับการกดไลค์เยอะๆ จะทำให้วัยรุ่น (จริงๆ เชื่อว่ามีวัยไม่รุ่นด้วย) มีความสุขนั้นเอง สรุปคือสื่อสังคมออนไลน์ทำให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและแนวคิดจริงๆ เพียงแต่จะมากน้อยเพียงใดคงจะต้องขึ้นอยู่กับแต่ละคนด้วยนะครับ http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641565 เม็ดเงินโฆษณาฟื้น สื่อมุ่งออฟไลน์-ออนไลน์ Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (Th)Wednesday, February 28, 2018 12:05 434 XTHAI XECON BUS V%WIREL P%KTO อุตสาหกรรมโฆษณาอยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2559 ที่ติดลบ 10% มูลค่า 1.2 แสนล้าน และปี 2560 ลดลง 4% มูลค่า 1.16 แสนล้านบาท สำหรับสถานการณ์ปีนี้เห็น“สัญญาณบวก”มากขึ้น ไตรลุจน์ นวะมะรัตนนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวว่าอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปีนี้ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จาก สภาพเศรษฐกิจขยายตัว ทั้งการส่งออกและท่องเที่ยว คาดการณ์จีดีพีปีนี้เติบโต 4% สมาคมมีเดียฯ ประเมินการใช้สื่อปี 2561 ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจมีความมั่นใจมากขึ้น ประกอบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ในปีนี้ จะกระตุ้นสินค้าและแบรนด์จัดกิจกรรมพิเศษและใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น คาดว่าอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้ จะมีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เติบโต 4% ถือเป็นการฟื้นตัวที่ มูลค่ากลับไปเท่ากับปี 2559 อย่างไรก็ตามท่ามกลางการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ ส่งผลให้ธุรกิจสื่อ สินค้าและแบรนด์มีการปรับตัวบูรณาการการสื่อสารทุกรูป แบบและอินเตอร์แอคทีฟกับผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภค เพื่อสร้างNew Ecosystem for Success ร่วมกัน โฆษณาออนไลน์ยังแรง รัฐกร สืบสุขอุปนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสมาคมฯ ประเมินงบประมาณการใช้สื่อในปี 2561 ส่วนใหญ่เริ่มเห็นการเติบโต โดยสื่อทีวีดิจิทัล มีมูลค่า 66,017 ล้านบาท เติบโต 5% ยังเป็นสื่อที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดที่ 55% เนื่องจากยังเป็นสื่อที่เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ โดยสื่อที่มีแนวโน้มเติบโตในปีนี้ คือ สื่อโรงภาพยนตร์ มูลค่า 8,671 ล้านบาท เติบโต 25%, กลุ่มสื่อนอกบ้าน ยังมีแนวโน้มเติบโต 10% ประกอบด้วยป้าย โฆษณา มูลค่า 7,030 ล้านบาท เติบโต 10% , สื่อในระบบขนส่ง (transit) มูลค่า 6,760 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% และสื่อที่ยังคงการขยายตัวต่อเนื่องตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือสื่ออินเทอร์เน็ต หรือ ออนไลน์ โดยพิจารณาจากข้อมูลของสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ประเมินปีนี้ มีมูลค่า 14,722 ล้านบาท เติบโต 25% ปีนี้โฆษณาสื่อออนไลน์ จะมีส่วนแบ่งการตลาด 12% ขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับสอง รองจากสื่อทีวี แซงหน้าสื่อหนังสือพิมพ์ ที่ส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรม โฆษณาลดลงจาก 12% ในปี 2559 คาดการณ์ปีนี้อยู่ที่ 7% สำหรับสื่อโฆษณาที่ยังอยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่องปีนี้ คือ เคเบิลและทีวีดาวเทียม มูลค่า 2,476 ล้านบาท ติดลบ 15% ,วิทยุ มูลค่า 4,290 ล้านบาท ติดลบ 15% ,หนังสือพิมพ์ มูลค่า 8,502 ล้านบาท ติดลบ 25% และนิตยสาร มูลค่า 1,499 ล้านบาท ติดลบ 30% ‘สื่อ’รุกออฟไลน์-ออนไลน์ ถกลเกียรติ วีรวรรณประธานกรรมการฝ่ายบริหาร สถานีโทรทัศน์ ช่องวัน กล่าวว่าท่ามกลางการขยายตัวของสื่อออนไลน์ แต่เชื่อว่า“สื่อทีวีไม่ตาย” เพราะ สื่อทีวีเป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่นำเสนอคอนเทนท์หลากหลาย ตอบโจทย์พฤิตกรรมการเสพคอนเทนท์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้สื่อทีวียังปรับตัวนำเสนอคอนเทนท์ ผ่านทุกดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เข้าถึงผู้ชม มองว่าการนำเสนอทั้ง “ออนแอร์และออนไลน์” เป็นช่องทางที่สนับสนุน ให้สื่อทีวียังเติบโตได้ สายทิพย์มนตรีกุล ณ อยุธยาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจสื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากประสบการณ์ในธุรกิจสื่อวิทยุกว่า 26 ปี เริ่มตั้งแต่โฆษณาสปอตละ 50 บาท กระทั่งสร้างรายได้สูงสุด 700 ล้านบาทต่อปี พบว่าสื่อวิทยุมีการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตลอดเวลา และเชื่อ ว่า“สื่อวิทยุไม่ตาย”แน่นอน นอกจากนี้สื่อออนไลน์ยังเข้ามาสนับสนุนให้สื่อวิทยุสามารถเข้าถึงผู้ฟังผ่านดีไวซ์ต่างๆ ได้ทั่วประเทศและทั่วโลก กลยุทธ์การบริหารสื่อ ของเอ-ไทม์ จึงมุ่งเข้าหาผู้ฟัง ทั้ง“ออนแอร์ ออนไลน์ และออนกราวด์” ที่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจและการเติบโต สรายุทธ มหวลีรัตน์กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคทจำกัด (มหาชน) กล่าวว่าต้องยอมรับว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ เป็นสื่อหลักของคนที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงวัยเกษียณ ที่ยังชื่นชอบการอ่านสื่อแบบรูปเล่ม ขณะที่กลุ่มอายุ 25-50 ปี จะเสพสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งรูปเล่มและแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่วนกลุ่มอายุต่ำกว่า 25 ปี ไม่หยิบจับหนังสือพิมพ์และเสพคอนเทนท์ผ่านออนไลน์เป็นหลัก การปรับตัวของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผ่านมาจึง ขยายช่องทางออนไลน์ไปพร้อมกับสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเข้าถึงผู้อ่านทุกกลุ่มและสร้างรายได้จากทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ที่มา: www.bangkokbiznews.com มติชนโชว์ผลประกอบการ-กำไร89ล. Source - มติชน (Th)Wednesday, February 28, 2018 07:01 15620 XTHAI XECON MIDD DAS V%PAPERL P%MTCD เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ นายฐากูร บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงผลประกอบการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ว่ามียอดรายได้จากการขายและการให้บริการรวม 918.29 ล้านบาท ลดลงจาก งวดเดียวกันของปีก่อน 13.36 ล้านบาท คิดเป็น 1.43% และมียอดต้นทุนการขายและการให้บริการรวม 633.94 ล้านบาท ลดลง 52.21 ล้านบาท คิดเป็น 7.61% นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการขายและบริการ และต้นทุนขายและการให้บริการต่างลดลงเช่นกัน โดยต้นทุนขายและการให้บริการลดลงในสัดส่วนที่มากกว่า จึงทำให้ผล ประกอบการ รวมสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ของบริษัทมีกำไรรวมของปี 89.78 ล้านบาท ซึ่งเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนนั้น บริษัทมีผล ประกอบการขาดทุนรวม 63.67 ล้านบาท เหตุที่ทำให้มีผลประกอบการกลับมาเป็นกำไร เนื่องจากบริษัทพยายามเร่งหาโอกาสในการทำธุรกิจช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำข่าวสารดิจิทัลอย่างครบ วงจร ข่าวออนไลน์อันดับหนึ่งของประเทศ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยยุบแผนกการพิมพ์และแผนกขนส่ง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการแข่งขันใน อุตสาหกรรม บวกกับในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 บริษัทมีการนำเงินสดไปลงทุนในตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า ซึ่งในไตรมาสดังกล่าว บริษัทรับรู้กำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนตามราคายุติธรรม รวมเป็นจำนวนเงิน 79 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงยึดมั่นหลักความมั่นคง ปลอดภัย ขยายงาน ตามแขนงงานที่มีความถนัด คำนึงถึงผลตอบแทนผู้มีส่วนได้เสียทุกๆ ฝ่าย นอกจากนี้ บริษัทมติชนฯยังแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯถึงการจ่ายเงินปันผล โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ มีมติให้เสนอที่ประชุมใหญ่ สามัญผู้ถือหุ้น พิจารณาอนุมัติจ่ายเงินปันผล สำหรับผลดำเนินงานตั้งแต่ 1 มกราคม 2560-31 ธันวาคม 2560 ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท กำหนดจ่ายเงินปันผล 24 พฤษภาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน ราคาหุ้นมติชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.10 บาท จากราคาปิดวันก่อนที่ 8.05 บาท เป็น 8.15 บาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.24%--จบ-- --มติชน ฉบับวันที่ 1 มี.ค. 2561 (กรอบบ่าย)-- สฤณี อาชวานันทกุล, “คน” ต้องมาก่อน “เทคโนโลยี” (5) อคติของคะแนนเครดิต “ทางเลือก” (alternative credit scoring),https://thaipublica.org/2018/08/alternative-credit-scoring-bias/ "ยุคอินเทอร์เน็ตที่ข้อมูลมหาศาลหรือ “บิ๊กดาต้า” (big data) ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) โดยเฉพาะการให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้จากข้อมูล (machine learning) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทเทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทค (FinTech) จำนวนมากก็กำลังใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเหล่านี้ผลิต “คะแนนเครดิตทางเลือก” (alternative credit score) ซึ่งแตกต่างจากการสร้างคะแนนเครดิตแบบเดิมๆ" 

๒.๓ พระสงฆ์ต้นแบบการใช้สื่อออนไลน์เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยยุคปัจจุบัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

​"รัดเกล้า" ชี้ราคายางสูงขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากปราบปรามการลักลอบนำยางเถื่อนข้ามพรมแดนของรัฐบาล

​"รัดเกล้า" ชี้ ราคายางในประเทศสูงขึ้นส่วนหนึ่ง เป็นผลจากมาตรการ ปราบปรามการลักลอบนำยางเถื่อนข้ามพรมแดนของรัฐบาล วอนโลกโซเชียล อย่...