ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เจ้าคุณประสารเผย 13 ก.ย.นี้ "มจร"จัดงาน "136 ปีมหาจุฬาฯ : คุณค่าต่อสังคมไทย" บนกระแสคนรุ่นใหม่และปัญญาประดิษฐ์



เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566  พระราชวัชรสารบัณฑิต (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เปิดเผยว่า วันพุธที่ 13 กันยายน นี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กำหนดจัดงานครบ 136 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย นับจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2430 โดยปรากฎตามพระราชหัตถเลขาของพระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุ สามเณรฝ่ายมหานิกายและคฤหัสถ์ทั่วไป ให้ตั้งที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร แต่ภายหลังการสวรรคตของพระองค์ทำให้พระราชประสงค์ที่จะจัดการศึกษาถวายพระภิกษุ สามเณรในส่วนนี้ชะงักไปนาน ตราบจนมาถึง ปี พ.ศ. 2490 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ได้ประชุมพระเถระฝ่ายมหานิกายที่ตำหนักสมเด็จพระสังฆราชที่ประชุมได้มีมติสงฆ์ร่วมกันในเปิดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การเปิดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาครั้งแรกของมหาวิทยาลัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากไม่มีไม่มีกฎหมายรับรอง ผู้เรียนก็เรียนโดยไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและโดยเฉพาะชาววัดมหาธาตุ ต่างก็ทุ่มเท เสียสละเพื่อประคับประคองสนองพระราชปณิธานของพระองค์ผู้ทรงสถาปนาเพื่อให้เกิดความมั่นคง เป็นที่ยอมรับและขับเคลื่อนไปให้ได้ ในการจัดการศึกษาในยุคเริ่มแรกนั้นจึงเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยสงฆ์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี เน้นการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาผสมผสานกับศาสตร์อื่นๆที่เรียกกันว่าวิชาการทางโลก

คณะแรกที่เปิดคือคณะพุทธศาสตร์ วิชาเอกศาสนา การจัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ในสังคมยุคนั้นจึงมีข้อจำกัดในหลายเรื่อง หลายประการ ทั้งเรื่องสถานะของมหาวิทยาลัย อาจารย์ผู้สอน นิสิตผู้เรียน และงบประมาณในการดำเนินการ แต่ถึงอย่างไรก็ตามด้วยความวิริยะอุตสาหะ การดิ้นรนต่อสู้โดยไม่ย่อท้อของบูรพาจารย์ทั้งหลายเพื่อที่จะดำรงความเป็นมหาวิทยาลัยในพระพุทธศาสนาไว้ให้จงได้ และในทุกภาคส่วนของทุกความร่วมมือจึงปรากฎผลเมื่อปี พ.ศ. 2540


@siampongnews ชุดจี้พร้อมแหนบกลัด #3พระอรหันต์ร้านต้นฉบับ ♬ Ready - Official Sound Studio

รัฐบาลโดยความยินยอมของรัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติรับรองให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในนามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และบุคคลที่ควรจะกล่าวถึงในลำดับต้นๆในการตรากฎหมายฉบับประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ฉบับนี้คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้น นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ศิษย์เก่ารุ่นแรกในฐานะผู้แทนฝ่ายคฤัสถ์ของมหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยอีกสองท่าน คือ นายดุสิต โสภิตชา และ ร.ท.ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง สำหรับพระสงฆ์นั้นประกอบด้วย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิเถร) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ และนายกสภามหาวิทยาลัย พระราชรัตนโมลี ( นคร เขมปาลี) อดีตอธิการบดีและประธานที่ปรึกษาอธิการบดี พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อดีตอธิการบดี พร้อมด้วยองคาพยพทั้งหลายทั้งปวงที่ไม่สามารถจะเอ่ยนามได้ทั้งหมด

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีพระธรรมวัชรบัณฑิต ,ศ.ดร. ดำรงตำแหน่งอธิการบดี พระพรหมวชิราธิบดี ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย พระพรหมบัณฑิต ,ศ.ดร.ดำรงตำแหน่งอุปนายกสภามหาวิทยาลัย จัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 คณะ ประกอบด้วย บัณฑิตวิทยาลัย คณะพุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ มีวิทยาเขตในสังกัด 11 แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ 28 แห่ง หน่วยวิทยบริการ 3 แห่ง สถาบันสบทบในต่างประเทศ 5 แห่ง มีนิสิตในแต่ละปีการศึกษาประมาณ 25,000 รูป/คน มีนิสิตนานาชาติทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์มาศึกษาเล่าเรียนที่พักอาศัยในวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศและหอพักนิสิตนานาชาติมีจำนวนมากเป็นอันดับสองของประเทศ

โดยจัดการศึกษาทั้งสิ้น 219 สาขาวิชา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ศึกษาทั้งด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม เถรวาทศึกษา มหายานศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละปีการศึกษาจะมีนิสิตเข้ารับประทานปริญญาบัตรไม่น้อยกว่า 4,000-5,000 รูป/คน

ในด้านคุณภาพการศึกษานั้นมหาวิทยาลัยถูกจัดอันดับคุณภาพการศึกษาในระดับต้นๆของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ 100 กว่าแห่งทั่วประเทศ ในการจัดอันดับในระบบการบริหารที่มีธรรมาภิบาลนั้นมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า A ในทุกๆ ปี ส่วนในระดับโลกนั้นถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 2 ของมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่จัดการศึกษาด้านศาสนาและปรัชญา

สำหรับสถานภาพของมหาวิทยลัยในวันนี้นั้นด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ มีอายุยาวนานสถาปนามากว่า 136 ปีนั้นสถานการณ์หลายอย่างของสังคมไทยและสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เฉพาะสังคมไทยนั้นเด็กและเยาวชนในใน Generation ต่างๆโดยเฉพาะที่เรียกว่า Gen x และ Gen y นั้นกำลังเข้ามามีบทบาทและชี้นำสังคม และรวมทั้ง Information Architecture หรือ IA และ Artificial Intelligence หรือ AI และอาจหมายรวมถึงทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม เศรษฐกิจ ฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา ศาสนา ความเชื่อและศรัทธาในพระสงฆ์ของคนในสังคม เป็นต้น

ทั้งหลายทั้งปวงนี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายบริหารทุกท่านที่กำลังจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ในปัจจุบัน และหากมองย้อนกลับเข้าไปภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยเฉพาะแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะที่ 13 พ.ศ. 2566-2570(แผนฯ 13) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า "มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม The University provides Buddhist Studies integrated with modern sciences and creates Buddhist Innovation for the Development of Mentality and Society" โดยมีพันธกิจ 4 ด้าน คือ ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ วิจัยและพัฒนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม นั่นคือวิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่เป็นเหมือนสัญญาประชาคมที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆผ่านระบบ Key Performance Indicator (KPI)


@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

ในขณะเดียวกันถ้าหันไปมองด้านกายภาพในวันนี้นั้นเมื่อมหาวิทยาลัยขยายเติบใหญ่ขึ้น ผู้คนมากขึ้นก็ยิ่งท้าทายการบริหารและการจัดการในทุกมิติ เช่นมิติด้านบุคลากรนั้นเมื่อจะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนายุคใหม่ให้เดินไปข้างหน้านั้น คำถามต่อมาว่าแล้วจะทำอย่างไร และจะทำอย่างไรให้บุคลากรในทุกภาคส่วนได้มองเห็นเป้าหมายตรงกัน การเคลื่อนย้ายและการอพยพจะทำอย่างไรจะได้เห็นภาพที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ ในเป้าประสงค์ของแผนฯ 13 และในขณะเดียวกันในทุกภาคส่วนนั้นทำอย่างไรทุกคนจะได้ตระหนักและรับรู้ได้ว่าในทุกระยะขององคาพยพนี้ทุกคนกำลังอยู่ในยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ตามแผนงานอะไร อย่างไรและเป้าหมายที่จะไปให้ถึงวิสัยทัศน์ได้นั้นจะอีกยาวไกลแค่ใหนและอะไรคือปัจจัยที่จะไปให้ถึงและเมื่อถึงปลายทางแล้วอะไรคือความสำเร็จที่เป็นตัวชี้วัดและอะไรคือบทเรียนหรือประสบการณ์ที่ได้เก็บเกี่ยวสั่งสมมาได้

และปัจจัยนั้นจะส่งให้มหาวิทยาลัยเดินหน้าต่อไปอย่างสง่างาม มีคุณค่า หรือเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้นทั้งในสังคมสงฆ์และประชาคมโลก และในสิ่งที่ควรคำนึงอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งคือการหันมามองในกระบวนการการจัดการศึกษาทั้งระบบ มองให้เห็นถึงคุณภาพมองให้ลึกถึงแก่น สำหรับคุณภาพของการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนานั้นควรจะมีก้าวล้ำในทุกมิติโดยยึดหลักพุทธนวัตกรรมเพื่อจะได้ปรับระบบให้เหมาะกับผู้คนในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการปลูกฝังคุณธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถจับต้องมองเห็นได้ การสร้างพุทธนวัตกรรมที่เป็นที่ยอมรับในทุกระดับ การสร้างศาสนทายาทพร้อมทั้งปลูกฝังให้มีใจรักงานด้านการเผยแผ่พระศาสนาและท้ายสุดการปรับตัวขององค์กร เพื่อการพัฒนาให้ทันยุคทันสมัย (Organization Development) เพื่อให้องค์กรกระทัดรัด ไม่อุ้ยอ้าย ไม่เป็นภาระทั้งในแง่งบประมาณหรือภาระอื่นใดในทางสังคม

โปรดอย่าเดินหลงทางหรือหลงทิศเพราะถ้าเกิดพลัดหลงแล้วอาจจะได้รับผลตอบแทนที่แสนจะแพงจนยากที่จะกลับมาได้และผลนั้นอาจจะทำให้มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาตกขบวนรถไฟความเร็วสูงไปในที่สุดและเมื่อหันกลับมามองอีกทีชาวบ้านได้เดินทางไปไกลเกินกว่าที่มหาวิทยาลัยจะก้าวตามได้ทัน


@siampongnews มุ้งคอกเลี้ยง#ตั๊กแตน ♬ Tere Baad Nazar Nhi Aati Koi Manjil - Deepak Kurai

136 ปีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงสถาปนาให้กับคณะสงฆ์ไทยฝ่ายมหานิกายเดินทางมายาวไกลจนถึงวันนี้ได้สร้างคุณค่ายิ่งต่อสังคมไทยและชาวโลกแต่ในสังคมยุคใหม่จากนี้ไปในทุกองค์กร ทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาจะต้อง Strengths , Weaknesses , Opportunities , Threats (SWOT) คือ สำรวจตัวเองทั้งภายในและภายนอก สำรวจให้มองเห็นตัวตนที่แท้จริงตามหลักโยนิโสมนสิการและเมื่อมองเห็นแล้วก็ต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง ตอบโจทย์ของสังคมและประเทศชาติโดยต้องตอบให้ถูกที่ถูกทาง ถูกกาลเวลา

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเป้าหมายที่ตั้งไว้คือวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในแผนพัฒนาที่ 13 ของมหาวิทยาลัยจึงจะบรรลุเป้าหมายและสร้างคุณค่าในสังคมไทยและหมายรวมถึงสังคมโลกอย่างแท้จริง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รากและเถาตำลึงตากแห้งสรรพคุณเพียบ

วันนี้ 17 กรกฏาคม 2562 สำหรับประโยชน์ของตำลึงด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบตำลึง ลำต้นตำลึง และ รากตำลึง รายละเอียด ดังนี้ ใบตำลึง สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมความเซลล์ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงหัวใจ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงน้ำนมแม่ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยดับพิษร้อน ลดความร้อนในร่างกาย  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับพิษในลำไส้ แก้ท้องผูก ช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ ป้องกันตะคริว รากตำลึง สรรพคุณช่วยลดไข้  แก้อาเจียน บำรุงสายตา เป็นยาระบาย แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ ลำต้นตำลึง สรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการตาแดง ลดอาการตาช้ำ ดอกตำลึง สรรพคุณแก้ผดผื่นคัน เมล็ดตำลึง สรรพคุณแก้หิด โทษของตำลึง ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเม

พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม เนื้อทองคำ จากรังของ นายกฯกิตติ "เจ้ากรมพระหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่"

พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ ๑๙ องค์ เนื้อเงิน ๒๙๕ องค์ เนื้อนวโลหะ ๒๕๑๘ องค์ โดยสร้างตามจำนว พ.ศ. หรือปีที่สร้าง คือ ๒๕๑๘ เนื้อนวโลหะกะไหล่ทอง ไม่ระบุจำนวนสร้าง เนื้อตะกั่ว ๑๐,๐๐๐๐ องค์...... พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่ทิม ท่านปลุกเสกนานมากถึง ๗ เดือน เหตุในการสร้างพระปิดตารุ่นนี้คุณชินพร สุขสถิตย์ได้จัดสร้างพระปิดตามหาอุตตโมขึ้น มาก็เพื่อนำรายได้มาสร้างหอฉันเพื่อให้พระเณรในวัดละหารไร่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา โดยพระชุดนี้ได้นายช่างเกษม เป็นผู้ออกแบบ การสร้างพิมพ์พระปิดตายันต์ยุ่งสมัยนั้นต้องเอาเทียนมาคลึงเป็นเส้นๆ แบบเส้นขนมจีน แล้วจึงเอาขดกัน เป็นองค์พระปิดตาและอักขระเลขยันต์กว่าจะสร้างได้หรือหล่อ ได้แต่ละองค์ต้องใช้เวลามากและพระที่ได้มักไม่งดงาม ดังนั้นพระปิดตาอุตโมรุ่นนี้นี้นายช่างเกษมจึงแกะจากหินอ่อนเป็นแม่แบบ ทำให้หล่อได้ปริมาณมาก โดยครั้งแรกจัดสร้างเป็นเนื้อนวะโลหะเมื่อเปิดจองแล้วปรากฎว่าหมดอย่างรวดเร็วจนได้เ

ฮือฮา! "ครม.ฮุน มาเนต" ตั้งอดีตสมเด็จพระราชาคณะเพิ่งสึกเป็นเลขาฯก.ต่างประเทศ

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างแถลงการณ์ของนายเฮง สัมริน อดีตประธานสมัชชาแห่งชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา ในการประชุมรัฐสภาชุดใหม่ของกัมพูชา ซึ่งมีขึ้นในวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ที่ระบุว่า พลเอก ฮุน มาเนต ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของ สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แห่งประเทศกัมพูชา อย่างเป็นเอกฉันท์ โดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต กล่าวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา หลังการลงมติว่า วันนี้ ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของกัมพูชา @siampongnews ฮือฮา! ครม. #ฮุนมาเนต ตั้ง อดีตสมเด็จพระราชาคณะเพิ่งสึก ดำรงตำแหน่งเลขาฯ ก.ต่างประเทศ #ข่าวtiktok #tiktokshopครีเอเตอร์ ♬ เสียงต้นฉบับ - ดร.สำราญสมพงษ์นักข่าวป.ธ.5 ทั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา หรือ ซีพีพี ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย เนื่องจากพรรคฝ่ายค้าน ถูกตัดสิทธิลงเลือกตั้งในครั้งนี้  พร้อมกันนี้นางควน สุดารี ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติ วาระใหม่ 5 ปี และเป็นนักการเมืองหญิง