วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาธิตนำกล่องใส่ผ้าพลาสติกผูกเป็นแพสู้น้ำท่วม



ชีวิตของการเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วมหน้าบ้านสูง 1 เมตรกว่าผ่านไป 3 วันแล้ว ต้องอาศรัยอยู่ภายในบ้านบนชั้นสองซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านวิรากร ซอนกันตนา ต.บางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค. 2554 เป็นต้นมา ก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ได้ทบทวนการเตรียมการป้องกันที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ได้รู้ว่าส้วมกระดาษเป็นอย่างไร น้ำไม่ไหล ท้องเสียเป็นอย่างไร ไม่รวมถึงแผลที่เกิดจากการลุยน้ำขนของ

ส่วนการเป็นอยู่ก็ไม่ถือลำบากเพราะได้เตรียมตัวได้บ้างแล้วแบบไม่ถึงขั้นกักตุน โดยได้รับถุงยังชีพจากผู้ใจบุญ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติแม้นว่าจะไม่ถึงร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม โดยได้รายงานการวิดน้ำออกจากหมู่บ้านตัวเองและรายงานการวิดน้ำออกจากประเทศด้วยไปในตัว

หากไม่มีการตัดน้ำตัดไฟก็คงจะอยู่ที่บ้านยังไม่กลายเป็นผู้อพยพให้เป็นภาระของคนอื่น แม้นว่าที่ผ่านมาจะมีญาติเพื่อนขอให้อพยพออกไปก็ตาม



ทั้งนี้หลังจากวันที่ 22 ต.ค.ได้ทำหน้าที่เป็นชาวบ้านธรรมดาป้องกันหมู่บ้านตัวเองในซอยกันตนา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ พอตื่นมาตอนเช้าของวันที่ 23 ต.ค.น้ำเริ่มไหลเข้าหมู่บ้าน พอถึงตอนยืนน้ำหน้าบ้านก็เกือบถึงสะเอว และซึมเข้าตัวบ้านที่ป้องกันด้วยอิฐบล็อกแล้วฉากไม่เป็นผล แต่ก็ยังดีมีผู้ใจบุญนำข้าวกลองมาจากทำให้มือเย็นผ่านไปด้วยดี แต่กำลังใจยังดีครับ ทำหน้รายงานการวิดหน้าออกจากประเทศไทยต่อไปได้ปกติแม้นแต่ช้าหน่อยก็คือว่าดีกว่าทำไม่ได้

พอผ่านไปสองคืนกับภาวะของการเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม ก็เพิ่งได้รับข่าวดีคือน้ำประชาในบ้านซอยกันตนาน้ำไม่ไหลบนชั้นสอง แต่ชั้นหนึ่งยังไหลอยู่แต่ไม่แรง ก็คิดว่าคงตกอยู่ในภาวะของผู้อพยพแล้วหรือ เมื่อต้องลงไปใช้ห้องน้ำชั้นล่าง จะต้องยืนบนเก้าอี้เพื่อไม่ได้เปรียกน้ำท่วม นอกจากนี้ได้ลองนำกล่องผ้าพลาสติกมาต่อเป็นแพ แต่มีจำนวนน้อยจึงใช้งานได้ไม่ดีนัก นอกจากนี้ได้มีคนบ้านข้างๆได้นำย้างรถยนต์ผูกกับโต๊ะก็สามารถทำเป็นแพสามารถถ่อไปมาได้ดี และทำให้รู้สึกว่าเรือนั้นมีความจำเป็นจริงๆยามน้ำท่วมเช่นนี้

และช่วงตอนกลางวันเพื่อนที่ชื่อ"มงคล"เคยบวชอยู่วัดชลประทานฯ และเรียนที่มหาจุฬาฯมาด้วยกันได้นำข้าวห่อมาแจกชาวซอยกันตนาพร้อมกับอบจ.นนทบุรีก็ได้นำถุงยังชีพมาแจกด้วย ก็ต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

‎จึงนับได้ว่า 3วันที่ผ่านไปได้กับรสชาติการเป็นผู้ประสบอุทกภัยอย่างแจ่มชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...