วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"โอ๊ค"โพสต์ภาพปริศนาคนคู่ลุยหิมะคาดเป็น"ปู"





เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2560 ตามที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางออกนอกประเทศก่อนจะถึงวันติดสินคดีจำนำข้าว แต่มีกระแสข่าวออกมาเป็นระยะว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ขอลี้ภัยทางการเมืองเพื่อเข้าพักอาศัยที่ประเทศอังกฤษ  ล่าสุดสำนักข่าวนิว18 หรือ NEW18TV ได้รายงานว่า ได้มีคนเห็น น.ส.ยิ่งลักษณ์อยู่ที่ประเทศอังกฤษ โดยออกมาช้อปปิ้งเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2560 ที่ Westfield สาขา Sheperp Bus และวันที่  28 ธ.ค.2560 ที่ Bicester Outlet เมือง Oxford ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายจากข้างหลัง โดยภาพดังกล่าวกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น



ล่าสุด นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และหลานชายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โพสต์ภาพ เป็นชายหญิงคู่หนึ่งจากด้านหลัง กำลังเดินฝ่าหิมะผ่านทางอินสตาแกรม oak_ptt ความว่า



“เอ่อ…ส่งรูปมาทั้งที ขอแบบหันหน้ามองกล้องนิดนึงนะฮ้าาา แต่ที่แน่ๆ นั่นมันคนโดนธงรุ่นก่อนผมนิ #คนโดนธง”



โดยชาวเน็ตจำนวนมาก พากันแสดงความเห็นและหลายคนยังคาดว่าอาจเป็นภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับบุตรชาย



ก่อนหน้านี้นายพานทองแท้ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก "Oak Panthongtae Shinawatra" ระบุถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอแจ้งข้อกล่าวหาในข้อหาฟอกเงินว่า เป็นการปฏิบัติตาม “ธง” อย่างก็ตามเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2560 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก Ing Shinawatra ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊กระบุนายทักษิณกำลังทำอาหาร ณ ที่พัก เมืองนิเซโกะ กลางบรรยากาศหิมะตก ที่ประทศญี่ปุ่น  แต่ในคลิปดังกล่าวไม่พบ น.ส.ยิ่งลักษณ์แต่อย่างใด และ น.ส.แพทองธาร  ได้มีการโพสต์รูปคู่กับนายทักษิณและครอบครัวในบรรยากาศลุยหิมะด้วย


วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"มจร"เศร้ารับปีใหม่!จนท.ประสบอุบัติเหตุมรณภาพ



"มจร"เศร้ารับปีใหม่! พระมหาเจริญทรัพย์ ธนวุฑฺฒเมธี ผอ.ส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา ประสบอุบัติเหตุมรณภาพ ขณะเดินทางกลับบ้านเกิดสกลนคร เหตุคนขับหลับใน





วันที่ 30 ธ.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ต.ท. ประมาณ จุลผักแว่น ร้อยเวรประจำวัน สภ.นองบุญมาก จ.นครราชสีมา เจ้า ได้รับแจ้งว่า เมื่อเวลา  05.27 น.ของวันที่  30 ธ.ค.2560 รถยนต์เก๋ง HONDA CITY สีเทา ทะเบียน 6กฎ6878 กทม ตกร่องกลางถนน บริเวณหน้าไปรษณีย์ หนองบุญมาก ถนนโชคชัย-เดชอุดม ต.แหลมทอง อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา เนื่องจากชนเสาไฟในที่เกิดเหตุ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย คือ นายจิระศักดิ์ สีหาขันธ์ อายุ 22 ปี แผลแตกใบหน้า พระฐิติพงษ์ ดาทอง อายุ 22 ปี ปวดขาและไหล่ พระธีรวัฒน์ โรจนะมงคล อายุ 22 ปี แผลแตกที่เท้า และพระแสงสุรี ทองมาก อายุ 30 ปี  ปวดหลัง  และมีผู้่เสียชีวิต 1 ราย ทราบชื่อคือพระมหาเจริญทรัพย์ ธนวุฑฺฒเมธี (ชีแพง)  อายุ 34 ปี  ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) 



โดยรถกู้ชีพโรงพยาบาลหนองบุญมาก รถกู้ชีพเทศบาลแหลมทอง ลูกข่ายสว่างเมตตาฯจุดหนองบุญมาก และเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สภ.หนองบุญมาก อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ นำส่งรักษา ที่รพ.หนองบุญมาก



พระมหาราชัน จิตฺตปาโล ผอ.ส่วนบริหารงานและแผน สถาบันภาษา มจร ได้เปิดเผยผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว "PmRachan Cittapalo" ว่า ได้รับแจ้งข่าวช็อกว่า มีบุคลากรมหาวิทยาลัยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต 1 รูป เมื่อทราบว่าเป็นบุคคลใกล้ชิด  ทั้งนี้พระมหาเจริญทรัพย์และคณะได้ออกเดินทางจาก มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเดินทางกลับบ้านเกิดที่ จ.สกลนคร ตั้งแต่เวลา 22.00น.ของวันที่ 29 ธ.ค.2560 เนื่องจากการจราจรติดขัดทำให้ถึง จ.นครราชสีมา และคนขับหลับในรถชนกับเสาไฟฟ้าข้างทางในเวลาดังกล่าว  ขณะนี้อยู่ระหว่างติดต่อญาติและประสานงานโดยมี พระวิศิษฐกุล (ชัย) ซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่เดินทางไปประสานงาน รายละเอียดอื่นๆ จะได้แจ้งให้ญาติธรรมกัลยาณมิตรทราบต่อไป




วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"ทักษิณ"โผล่ญี่ปุ่น!ไร้เงา"ยิ่งลักษณ์"




วันที่ 28 ธ.ค.2560 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก Ing Shinawatra ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊ก นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะกำลังทำอาหาร ณ ที่พัก เมืองนิเซโกะ กลางบรรยากาศหิมะตก ที่ประทศญี่ปุ่น โดยได้ทำเมนูแกงกระหรี่เนื้อ โดย นายทักษิณ ได้ทำอาหารไปพร้อมกับบรรยายไปด้วยว่า "อร่อย ทำไมมันอร่อยอย่างนี้ ภูมิใจมากเลย" พร้อมหอมแก้มอุ้งอิ้ง ก่อนเรียกทุกคนมากิน โดยมีผู้ใช้เฟสบุ๊กจำนวนมาก เข้าไปแสดงความเห็นอวยพร แต่ในคลิปดังกล่าวไม่พบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดีอีออกโรงเตือนโฆษณาออนไลน์เกินจริงมีโทษทั้งจำทั้งปรับ


          น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)ในฐานะโฆษกประจำกระทรวงดีอี เปิดเผยว่า จากรายงานของ“ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค” ที่มีการเปิดเผยตัวเลขการร้องเรียนปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภคในช่วงเดือนมกราคม- พฤศจิกายน2560มีจำนวน1,153ราย
          โดยปัญหาอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุด คือ ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป โดยเฉพาะการโฆษณาเกินจริงที่ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและซื้อสินค้า อันดับสอง คือ การถูกเอาเปรียบ ซึ่งมีสาเหตุจากพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ครบถ้วน รวมถึงข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และหน่วยงานรัฐไม่มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการใช้ช่องทางการโฆษณาขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ที่หลากหลาย และ
          อันดับสาม คือ เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่ดูแลผู้บริโภค ดำเนินการเชิงรุกในการแก้ปัญหาเชิงนโยบายไม่ใช่รายกรณี โดยออกกฎระเบียบหรือกฎหมายบังคับเกี่ยวกับการอนุญาตโฆษณาขายสินค้าที่กระทบกับสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งให้มีตรวจสอบและเฝ้าระวังการโฆษณาขายสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ
          สำหรับกรณีของการโฆษณาขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อและเข้าใจผิดในคุณสมบัติ หรือบรรยายสรรพคุณเกินจริงนั้น ในส่วนของกระทรวงดีอี ได้มีการติดตามเฝ้าระวังการกระทำที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์มาโดยตลอด
          หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความผิดจริงอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา14 (1)“อันเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน5ปี หรือ ปรับไม่เกิน100,000บาท” และศาลอาจสั่งให้ระงับการเข้าถึง หรือ ลบข้อมูลหลอกลวงนั้นออกจากระบบ หรือ ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรได้
          อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงดีอีได้ประสานการทำงานกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และหน่วยเกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่มาโดยตลอด และได้มีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลโฆษณาขายสินค้าที่มีลักษณะหลอกลวงมาอย่างต่อเนื่อง ตามที่ตรวจพบหรือที่ได้รับแจ้ง
          นอกจากนั้นกระทรวงดีอียังได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดฯ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการสื่อสารให้ความรู้ ประชาชนเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงแนะนำวิธีการรู้เท่าทันกลโกงของผู้ไม่หวังดีหรือกลุ่มมิจฉาชีพผ่านช่องทางสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการย้ำเตือนประชาชนหรือผู้บริโภคให้ระวังปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการทำงานทั้งเชิงรุกและรับ อีกทั้งเพื่อปกป้องประชาชนผู้ บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ประกอบการที่หวังเพียงแต่ได้โดยไม่สนใจผลเสียที่อาจเกิดขึ้น
          ทั้งนี้ ในส่วนของประชาชนเองยังสามารถร่วมกันสอดส่องและแจ้งเบาะแสให้หน่วยงานรัฐผ่านเบอร์สายด่วนร้องเรียนออนไลน์ 1212 หรือผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ต่างๆ ดำเนินการตรวจสอบได้อีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยกันดูแลสิทธิของผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการอีกต่อไป

แนะนำวิปัสสนาเสริมครูพระสอนธรรมศึกษาทั่วไทย







พระศรีธรรมภาณี แนะนำวิปัสสนาเสริมครูพระสอนศีลธรรม"มจร" สอนธรรมศึกษาทั่วประเทศ สนองนโยบายรัฐกับคณะสงฆ์ มุ่งพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชาพระพุทธศาสนาสร้างตระหนักรู้ เครือข่าย ขยายความรู้ สร้างครูผู้เชี่ยวชาญ บริหารอย่างมืออาชีพ



วันที่ 27 ธ.ค.2560 พระศรีธรรมภาณี ดร. ผู้อำนวยการสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นประธานปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาผู้อำนวยการเรียนรู้วิถีพุทธ (Learning Facilitator) ตามโครงการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมระดับเชี่ยวชาญระหว่างวันที่ 24-27 ธ.ค.2560 ที่ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ และโรงเรียนรุ่งอรุณ  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งจัดการเรียนรู้มากกว่าการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย "ครูยุคใหม่ไม่เน้นการสอน แต่เน้นจัดการเรียนรู้" ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเข้าอบรมในครั้งนี้




ในโอกาสนี้พระศรีธรรมภาณี ได้กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้บริหารพระสอนศีลธรรมแสดงความยินดีกับทุกรูป  ในการผ่านการพัฒนาตนในหลักสูตรผู้อำนวยการเรียนรู้วิถีพุทธ เรามีหลักสูตรแรกรับพระสอนศีลธรรมคือ 1) มีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้(Active learning-AL) 2) มีหลักสูตรประกาศนียบัตรพระสอนศีลธรรม 3) มีหลักสูตรพัฒนาในอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาพระให้ออกไปทำงาน อดีตเรารู้เฉพาะแผนการสอน นำเสนอบุคคลที่สอนเกิดความสำเร็จ มาถึงปัจจุบันเรามีการพัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตร ALโดยมีพระมหานพดล  ธัมมานันโท นักวิชาการการศึกษา สำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร เป็นผู้ประสานงาน ดำเนินการ ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์มากในการสอนมารับงานนี้



หลักสูตรนี้จะใช้พัฒนาครูพระทั่วประเทศ มีการทดลองหลักสูตรที่วัดพุน้อย จังหวัดลพบุรี เมื่อผ่านการทดลองจึงนำมาพัฒนาในปัจจุบันนี้ เราจะต้องไปพัฒนาพระสอนศีลธรรม 4 ภูมิภาค และออกประเมินผลพระศีลธรรม 4 ภูมิภาค ประเมินโรงเรียนวิถีพุทธทั่วประเทศ โครงการนี้มีเป้าหมายชัดเจนมีพันธกิจ 4 ประการ คือ " สร้างเครือข่าย ขยายองค์ความรู้ สร้างครูผู้เชี่ยวชาญ บริหารอย่างมืออาชีพ " เราทำงานเผยแผ่ธรรมต้องมีเครือข่ายจึงจะสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีพลัง ช่วยกันขยายความรู้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้



ภารกิจสำคัญของสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม คือ " สอนสาระการเรียนพระพุทธศาสนา อบรมศีลธรรมจรรยา สอนธรรมศึกษา ร่วมกันพัฒนาวิถีพุทธ " ครูพระสอนพระพุทธศาสนาจะต้องสอนแบบ AL การสอนธรรมศึกษาเป็นประเด็นร้อนว่า " สอบธรรมศึกษาเพื่ออะไร "ธรรมศึกษาเป็นของดีแต่กระบวนการเรียนรู้เรายังไม่ชัด ปัจจุบันมีการทำหลักสูตรแบบบูรณาการธรรมศึกษาตรี พันธกรณียกิจซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ สะท้อนให้เด็กมีศีลธรรมต้องมีการสะท้อน เหมือนการสร้างอาคารสิ่งสะท้อนมาคือได้วัตถุ ใช้ประโยชน์



รัฐลงทุนให้เราสอนศีลธรรมคนในประเทศ ถามว่าทำอย่างไรเราจะทำให้คุ้มค่าที่สุด สิ่งสะท้อนอะไรจากการลงทุนของการสอนศีลธรรม ตัวผู้เรียนคือ สิ่งสะท้อนด้านพฤติกรรม สิ่งสะท้อนจากการรับประทานอาหารผ่านกระบวนการต่าง รัฐบาลหวังว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่ดี ถือว่าเป็นสิ่งสะท้อน รัฐนิมนต์ให้เราไปพัฒนาด้านจิตใจของเด็กเยาวชน



พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี มจร เคยกล่าวไว้ว่า การสอนจะสำเร็จจะต้อง K-A-P ประกอบด้วย K หมายถึง ความรู้ผ่านกระดานดำ ความรู้ที่ไม่ใช่ทำข้อสอบได้ รู้บาปบุณคุณโทษ คือ สัมมาทิฐิ ในอริยมรรคมีองค์ 8  เน้นเรื่องกรรมการกระทำ เป็นกระบวนการการเรียนการสอนของบาปบุญคุณโทษ คิดให้เป็นเห็นให้ทะลุ กิน อยู่ ดู ฟัง เป็นอย่างมีสติ A หมายถึง สอนให้เข้าถึงจิตใจ มีความศรัทธา สอนให้เข้าถึงว่าพ่อแม่มีพระคุณ ปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง และ P คือ อยากจะทำ อยากจะปฏิบัติ น้อมนำไปปฏิบัติ



"ดังนั้น ให้เรานึกถึงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พระวิปัสสนาเป็นเพียงผู้อำนวยการเรียนรู้ แต่ให้ผู้ปฏิบัติฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชากรรมฐานที่ติดในใจของนิสิต โดยมีเกรด A ติดภายในใจของเรา เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอด เราโดนฝึกมาให้เรียนเพื่อสอบ เรียนแบบขนมชั้น เราจะต้องเอาความเก่งของทุกรูปมาช่วยกันทำงานขับเคลื่อนอย่างมีพลัง งานของเราในการขับเคลื่อนเป็นที่ท้าทายที่สุด เราทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาไม่มีคำว่าอดตาย แต่ขอให้จริงใจกับพระพุทธศาสนาเท่านั้น ด้วยการมาช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงขออนุโมทนากับ รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์และผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ  และทีมงานในการสร้างกระบวนพัฒนาในการสอนแบบ AL เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้าเป็นกระบวนการที่ดีที่สุด" พระศรีธรรมภาณี กล่าว


................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat  พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี)   

เป็นหนี้! ไป "ธ.ก.ส." แก้หนี้นอกระบบให้เป็นศูนย์





วันที่ 27 ธ.ค.2560 นายอภิศักดิ์  ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายชาติชายพยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เข้าร่วม “โครงการนำร่องเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบสำหรับ
ผู้มีรายได้น้อยในจังหวัดพิษณุโลก”



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในพิธีได้กล่าวมอบนโยบายเรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบสำหรับผู้มีรายได้น้อย” ซึ่งรัฐบาลมีความมุ่งมั่น ที่จะดำเนินการ อย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อย หลุดพ้นจากความยากจน อย่างยั่งยืน จากนั้นได้มอบใบอนุญาตประกอบกิจการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์แก่ผู้ประกอบการในจังหวัดพิษณุโลกและใกล้เคียง จำนวน 4 ราย และมอบสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินให้แก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.จำนวน 10 ราย และตัวแทนลูกค้าธนาคารออมสิน จำนวน 10 ราย โดยมีผู้บริหารของกระทรวงการคลัง ผู้บริหาร ธ.ก.ส. และผู้บริหารธนาคารออมสินร่วมเป็นสักขีพยาน




นายอภิรมย์ กล่าวว่า ธ.ก.ส. ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะนโยบาย “การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้เป็นศูนย์” เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งจากข้อมูลการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 พบว่ามีเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยมาลงทะเบียนจำนวน 3,959,030 ราย และมีหนี้นอกระบบ  448,496 ราย มูลหนี้เฉลี่ยต่อรายจำนวน 59,520 บาท  โดยในจังหวัดพิษณุโลก มีเกษตรกรที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ 65,774 ราย เป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้นอกระบบ 4,982 ราย มูลหนี้ 358 ล้านบาท เฉลี่ยหนี้ต่อราย 71,858 บาท



ธ.ก.ส.ได้เข้าไปช่วยเหลือลดภาระหนี้สินให้กับเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกแล้ว  2,045 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 855.02 ล้านบาท ด้วยการให้สินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และสินเชื่ออาชีพเสริมเพิ่มรายได้  ซึ่งนอกจากจะทำให้หนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบแล้ว ธ.ก.ส.ยังมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ในการดำเนินชีวิตของเกษตรกรด้วย การให้ความรู้ การทำบัญชีครัวเรือน การประหยัดอดออม การสร้างรายได้จากอาชีพเสริม อย่างเช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไก่ดำ  การผลิตผักสลัด และการเพาะเห็ด ที่นำมาจัดแสดงในงานนี้  รวมทั้งการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ยามจำเป็น ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และป้องกันไม่ให้เกษตรกร กลับไปก่อหนี้นอกระบบอีก

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มุมมองผู้หญิงเข้าไปในพระอุโบสถเงินเชียงใหม่ แนะไม่ควรละเมิดจุดห้ามหรือความเข้าใจที่อ่อนแอ




จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปสตรี  3 คนเข้าไปในพระอุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงความไม่เหมาะสม และที่สำคัญคล้ายเป็นการลบหลู่จารีตประเพณีล้านนาที่ประพฤติต่อกันมาอย่างยาวนานกว่า 500 ปี ทั้งที่มีป้ายห้ามสตรีเข้าอย่างเด่นชัดพร้อมกับมีการติดป้ายเตือนอย่างชัดเจน เรื่องนี้  ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ นักศาสนวิทยา ศาสนศาสตร์ และปรัชญา ให้ความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat ความโดยสรุปว่า 



"อุโบสถ เดิมเป็นสถานที่ที่พระภิกษุใช้ทำสังฆกรรม ซึ่งแต่เดิมจะใช้เพียงพื้นที่โล่งๆ ที่กำหนดเขตโดยใช้สีมาเท่านั้น แต่ต่อมาก็มีการสร้างเป็นอาคารถาวรและมักมีการประดับตกแต่ง ปกติอุบาสกอุบาสิกา (ชายหญิง) ก็จะเข้าไปได้เพื่อรักษาอุโบสถศีลหรือทำบุญ แต่วัดนี้เชื่อว่าเขาคงมีของขลังอะไรบางอย่างอยู่ ที่เขาเชื่อว่าหากสตรีเข้าจะทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสื่อม ตามคติที่มักมองสตรีว่าเป็นมารหรือเป็นศัตรูต่อการเข้าถึงธรรมะของบุรุษ และบุรุษเข้าถึงธรรมะชั้นสูงได้มากกว่า ก็เลยเป็นเช่นนี้แล



แต่ที่สำคัญคือ คนไทยทั่วไปก็เชื่อและรับคติเช่นนี้มาตลอดโดยสนิทใจ ไม่เคยถามไม่เคย(กล้า)แย้ง ด้วยความนอบน้อม ซึ่งก็เป็นไปตามค่านิยมเอเชียที่ว่าคนดีคือคนหัวอ่อน คออ่อน หลังอ่อน และมืออ่อน ขอเสนออย่างสร้างสรรค์ว่าน่าจะมีการทำป้ายชี้แจงว่า การที่ห้ามอย่างนี้ต่างจากที่อื่นอย่างไร เพราะอะไร ก็น่าจะลดความรู้สึกได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าทางคณะที่เป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลสถานที่เขามีกฎว่าห้ามสตรีขึ้น ก็ไม่ควรไปละเมิดนะ แค่ถ่ายรูปแล้วเอามาเผยแพร่วิจารณ์ว่าไม่เห็นด้วยก่อนดีกว่าไปฝ่าฝืนก่อนแสดงความไม่เห็นด้วย ทำตามขั้นตอนได้ก็ควรทำ" 



ด้านพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนักเทศน์ชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า “แค่มองอะไร ด้วยความรู้สึกของคนในพื้นที่ กับคนนอกนี่ บางทีมันก็ต่างกันแล้วนะ บางทีเราเป็นคนนอก เป็นนักท่องเที่ยว เราเรียกร้องอยากให้สถานที่ที่เราเข้าไปเที่ยวเข้าไปดู อำนวยความสะดวก อำนวยอะไรต่างๆ ให้กับเรา ทำตามใจเรา อยากให้นุ่งสั้นได้ ใส่รองเท้าเข้าไปได้ ไม่ต้องคลุมศีรษะเข้าไปได้ เพราะเราแค่อยากได้ความสบาย แค่อยากแค่ไปเที่ยว อยากไปถ่ายรูป อยากไปดู โดยที่อีกมุมหนึ่งเราลืมไปว่า ที่ท่องเที่ยวบางแห่ง ในทางกลับกัน มันถูกมองหรือให้คุณค่าด้วยความรู้สึกของคนในพื้นที่อีกแบบหนึ่งนะ เขาเคารพของเขานะ เขานับถือของเขานะ เขามีธรรมเนียมปฏิบัติร่วมกันของพวกเขานะ ซึ่งเรื่องอะไรแบบนี้บางทีเราลืม




อย่างไรก็ตามมีความเห็นของพระไพศาล วิสาโล แห่งวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ เผยแพร่ผ่านทางสื่อออนไลน์ แม้นว่าจะไม่เกี่ยวข้อกับเหตุการณ์ข้างต้น แต่พอจะอนุโลมเป็นข้อคิดได้จึงนำมาเสนอประกอบ โดยมีข้อความดังนี้



"มีเหตุการณ์หนึ่งน่าสนใจ มีสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งในอเมริกา สมาชิกเป็นฆราวาสทั้งนั้น  กรรมการสถานปฏิบัติธรรมนี้มีความเห็นว่า ควรจัดให้มีการจัดอบรมสันติวิธีแก่สมาชิก  เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการคลี่คลายความขัดแย้ง ไม่ว่าในครอบครัว ในที่ทำงาน ในสังคม จึงเชิญวิทยากรคนหนึ่งมาฝึกอบรมสันติวิธีเป็นเวลาสองวัน  โดยใช้ห้องสวดมนต์เป็นสถานที่จัดอบรม



วันแรกผ่านไปด้วยดี  วันที่สองวิทยากรอยากจะฝึกให้ยากขึ้น จึงสร้างเหตุการณ์สมมุติขึ้นมาว่า  มีผู้ก่อการร้ายจับตัวประกันสองคน ให้สมาชิกสองคนรับบทเป็น “ตัวประกัน” คนที่เหลือสวมบทบาทเป็นผู้เจรจาเพื่อให้สองคนนั้นได้รับอิสรภาพ  ส่วนวิทยากรรับบทเป็นผู้ก่อการร้าย  เมื่อชี้แจงบทเรียบร้อยแล้ว เขาก็ควักบุหรี่ออกมาสูบ



ผู้เข้าฝึกอบรมคนหนึ่งประท้วงขึ้นมาทันทีว่า “ที่นี่ห้ามสูบบุหรี่ เพราะนี้เป็นห้องสวดมนต์” ผู้ก่อการร้ายตอบว่า  “ผมไม่สนใจหรอก  คุณอยากเจรจาเรื่องสูบบุหรี่ หรืออยากให้เพื่อนของคุณได้อิสรภาพ?” ผู้เข้าอบรมก็บอกว่า “ถ้าคุณสูบบุหรี่ในนี้ เราก็ไม่เจรจากับคุณ” ผู้ก่อการร้ายจึงพูดว่า “ก็ได้ หยุดสูบก็ได้” ว่าแล้วก็เดินไปที่แท่นบูชา แล้วขยี้ก้นบุหรี่บนตักพระพุทธรูป”


ทุกคนในห้องไม่พอใจมาก มีคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า “คุณรู้ไหมว่าทำอะไรลงไป นี่พระพุทธรูปนะ”


ผู้ก่อการร้ายตอบว่า “ผมไม่สนใจ นี่ไม่ใช่พระพุทธรูปของผม  และนี่ก็ไม่ใช่ห้องสวดมนต์ของผม  ตอนนี้ผมหยุดสูบบุหรี่แล้ว  พวกคุณอยากเจรจาเรื่องเพื่อนของคุณหรือเปล่า ไม่งั้นผมก็จะออกจากห้องนี้ไป”


ตอนนี้ทุกคนโมโหจนลืมไปว่าตนกำลังสวมบทบาทสมมุติ  มีคนหนึ่งบอกเขาว่า “เราเชิญคุณมาที่นี่เพื่อจัดอบรม  เรารู้ว่าคุณไม่ใช่ชาวพุทธ แต่นี่คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเรา คุณควรเคารพสถานที่แห่งนี้ด้วย”


วิทยากรซึ่งยังสวมบทผู้ก่อการร้ายอยู่จึงพูดว่า “คุณอยากรู้ว่าผมเคารพสถานที่นี้แค่ไหนหรือ?” ว่าแล้วเขาก็เดินไปมุมห้องแล้วฉี่ใส่พื้น


เท่านั้นแหละทุกคนอดใจไม่อยู่ ต่างวิ่งไปทำร้ายเขา  เตะต่อยสารพัด จนเขาล้มลง แต่ก็หนีออกมาได้ พร้อมกับบอกให้ “ตัวประกัน” เป็นอิสระ แล้วเขาก็ไม่กลับมาอีกเลย


คำถามคือ ทำไมผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งตั้งใจฝึกสันติวิธี จึงลงเอยด้วยการเตะต่อยวิทยากร ทั้งที่หลายคนไม่เคยทำร้ายใคร ยุงก็ไม่ตบ บางคนกินมังสวิรัติด้วย คำตอบก็คือ เพราะคนเหล่านั้นเห็นว่า วิทยากรทำไม่ถูกต้อง แต่เขาลืมไปว่า นี่เป็นการแสดง ไม่ใช่ของจริง และเป็นความตั้งใจของวิทยากรที่อยากให้โจทย์ยากๆ ว่าจะใช้สันติวิธีได้อย่างไรหากถูกยั่วยุหรือเจอเรื่องกระทบใจ แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเหล่านั้นกลับลืมตัวเมื่อถูกยั่วยุ หันไปใช้ความรุนแรงกับวิทยากร   


ทำไมเขาเหล่านั้นลืมตัว  ก็เพราะเขาเห็นความไม่ถูกต้อง และเนื่องจากยึดมั่นในความถูกต้องมาก พอเห็นคนอื่นทำสิ่งไม่ถูกต้อง ก็เลยลืมตัว ลืมไปว่า นี่คือเรื่องสมมุติ เป็นแบบฝึกหัดเพื่อใช้สันติวิธีแก้ปัญหา ผลก็คือ ทุกคนสอบตกหมดเลย ทั้งๆ ที่เป็นแค่การซ้อมหรือเป็นสถานการณ์จำลองเท่านั้น


นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การมีสำนึกเรื่องความถูกต้อง แม้เป็นเรื่องดี แต่ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นมันมาก เราอาจจะลงเอยด้วยการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องขึ้นมาได้


ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยกล่าวว่า "ความดี ถ้าไปยึดมั่นถือมั่นมาก มันก็กัดเจ้าของได้" ผู้คนจำนวนไม่น้อยทุกข์เพราะความดี ไม่เพียงเท่านั้น ยังอาจทำให้คนอื่นทุกข์ เพราะยึดมั่นในความดีแบบของตนด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ  บินลาดิน หรือ ไอเอส คนเหล่านี้เชื่อมั่นว่าเขาทำความดี  เขากำลังอุทิศตนเพื่อพระเจ้า เมื่อมีความไม่ดีหรือความไม่ถูกต้องเกิดขึ้น เขาก็ต้องจัดการโค่นล้มหรือทำลาย ซึ่งรวมถึงสังหารคนที่คิดหรือทำไม่เหมือนเขา


กลุ่มไอเอสเกลียดคนยุโรปมาก เพราะว่าเป็นพวกวัตถุนิยม บูชาเนื้อหนัง  กระทำสิ่งที่เหยียดหยามพระเจ้า เพราะฉะนั้นจึงต้องทำลาย  เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เข้าไปก่อการร้ายในปารีส ฆ่าผู้คนนับร้อย กลายเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก คนเหล่านี้ทำในนามของความถูกต้อง ในนามของสิ่งสูงส่ง คือพระเจ้า แต่ความยึดมั่นถือมั่นนั้น กลับทำให้เขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ชั่วร้ายได้



นี้เป็นสิ่งที่เราต้องระวังมาก โดยเฉพาะผู้ใฝ่ธรรม เมื่อใดก็ตามที่เราคิดว่าเราเป็นคนดี มีความเชื่อที่ดีงาม หากยึดมั่นในความเชื่อของเรา  เราก็อยากให้คนอื่นเป็นเหมือนเรา เชื่อเหมือนเรา แต่ถ้าเขาเชื่อไม่เหมือนเรา เห็นแย้งเรา เราก็เห็นเขาเป็นศัตรู แล้วความโกรธความเกลียดก็ตามมา"

"มจร"ติวเข็มพระวิทยากรยุค4.0แนะเน้นกิจกรรมมากกว่าสอน





"มจร"ติวเข็มพระวิทยากรยุค4.0 แนะยึดพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ เน้นกิจกรรมมากกว่าการสอน เปลี่ยนจากสอนหนังสือเป็นสอนชีวิต




ระหว่างวันที่ 24-27 ธ.ค.2560 มีการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาผู้อำนวยการเรียนรู้วิถีพุทธ (Learning Facilitator) ตามโครงการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมระดับเชี่ยวชาญ ซึ่งจัดโดยสำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ และโรงเรียนรุ่งอรุณ  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งจัดการเรียนรู้มากกว่าการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย "ครูยุคใหม่ไม่เน้นการสอน แต่เน้นจัดการเรียนรู้" ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเข้าอบรมในครั้งนี้




โดยวันที่ 26 ธ.ค.นี้ พระศรีธรรมภาณี ดร. ผู้อำนวยการสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร  ได้ร่วมแบ่งปัน "การร่วมเรียนรู้กับเด็ก" ความว่า เราจะต้องเรียนรู้กับเด็กจากสภาพจริง เด็กเขามีการเรียนรู้อย่างเร็วในยุคปัจจุบัน ครูต้องต้องปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน 



จากนั้นพระมหานพดล  ธัมมานันโท นักวิชาการการศึกษา สำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร ได้ชวนแบ่งปันประเด็น "จุดพลิกของเราในการสอน" คืออะไร  ซึ่งพระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี ได้ระบุว่า จุดของธรรมะโอดี คือ "พลิกเพราะครู พลิกเพราะสถานการณ์ และพลิกเพราะองค์ความรู้ใหม่" การมีครูเป็นแรงบันดาลใจจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการสอนให้มีส่วนร่วมในการเกิดการเรียนรู้ ผู้สอนต้อง "ลงจากบัลลังก์" มาร่วมเรียนรู้กับผู้เรียน ให้เขาเปลี่ยนชีวิตด้วยตัวเขาเอง อย่าเน้นบังคับให้เปลี่ยนแปลง



เรียนรู้ด้านการอภิวัฒน์การสอนพระพุทธศาสนาของครูพระสอนศีลธรรม เปลี่ยนวิธีการจากสอนหนังสือเป็นสอนคนให้เป็น ในฐานะครูพระสอนศีลธรรมระดับเชี่ยวชาญ ต้องยึดคำกล่าวว่า " จิตวิญญาณความเป็นพระสูงกว่าจิตวิญญาณของความเป็นครู " เมื่อจิตวิญญาณของความเป็นพระไม่มี จะทำให้จิตวิญญาณความเป็นครูหายไป อย่ามีแต่จิตวิญญาณความเป็นครู เราต้องฝึกถอดบทเรียนบ่อยๆ เราจะเห็นความบกพร่องของตนเอง และจุดเด่นของตนเองมากขึ้น สถานที่ถอดบทเรียนต้องสัปปายะผ่อนคลาย เราต้องฝึกข้อความที่ส่งผลให่เกิดการพัฒนา



ทำไมเราต้องอภิวัฒน์การสอนของพระสอนศีลธรรม เป็นการแลกเปลี่ยนเป็นการสอนแบบ  Active learning ซึ่งการสอนจากบุคคลภายนอกมอง คือ " ธรรมะสะอาด ฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ ตลกคาเฟ่ " พระสอนศีลธรรมเชี่ยวชาญจึงควรใช้ "ฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ" เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางพัฒนาไปถึงคุณค่าแท้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ทุกวันนี้ท่านจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไร? เน้นสาระวิชาเป็นตัวตั้ง และเน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เราต้องไม่เป็น " เผด็จการในการสอน " สั่งให้เด็กทำนั่นนี่ ใช้อำนาจให้ห้องเรียน คำถามเราจะสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรให้มีความสุข เราต้องออกแบบการสอนให้ผู้เรียนมีความสุข นโยบายการสอน " เราอย่าทอดทิ้งเด็กไว้ข้างหลัง " ถ้าเราเน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เราต้องเป็นนักจินตนาการออกแบบการสอนสร้างความคิดสร้างสรรค์



ครูยุคใหม่ไม่เน้นการสอนแต่เน้นจัดการเรียนรู้ ต้นแบบของนักสอน Active learning คือ พระพุทธเจ้าสอนผ่านประสบการณ์ตรง เช่น กรณีนางกีสาโคตมีถือว่าเป็นการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ครูยุคใหม่ต้องมี Mindset หรือ วิธีคิด ด้วยการไม่เน้นสอนแต่เน้นจัดการเรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จำเป็นActive learning ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ใช้เทคนิคการสอนแบบบรรยายเพราะนางกีสาโคตมียังมีความทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงออกแบบการสอนด้วยการเป็นโค้ชนางกีสาโคตมี ถามว่าเวลาเราไปสอนเราจึงต้องออกแบบ กระบวนการโครงงานคุณธรรมถือว่าเป็น Active learning เน้นลงมือการปฏิบัติ บทบาทของพระพุทธเจ้าในการสอนนางกีสาโคตมี พระพุทธเจ้ามีบทบาท 20% ส่วนนางกีสาโคตมีเรียนรู้ 810% ผู้สอนต้อง " พูดให้น้อย เรียนรู้ให้มาก " พระพุทธเจ้าสอนไตรลักษณ์นางกีสาโคตมี จึงมีการบูรณาการเป็นหลักปฏิบัติ 5 ประการ คือ " ปฏิเสธความจริง ประวิงเวลา โทษเทวดาฟ้าดิน ถวิลหาร่ำไห้ ทำใจยอมรับ "


"ดังนั้น ทำอย่างไรให้เด็กไทยหัวใจพุทธ เราจะต้องสอน 1) ให้ความรู้ คือ สุตมยปัญญา 2) ให้ความเข้าใจพัฒนาควมมคิด คือ จินตามยปัญญา 3)ให้ถึงคุณค่าแก่นแท้ คือ ภาวนามยปัญญญา ด้วยการลงมือปฏิบัติ ถือว่าเป็น Active learning หรือ AL จึงต้องออกแบบการสอนให้เด็กไทยหัวใจพุทธ ผู้สอนจะต้องมีการออกแบบการสอนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นเจ้าของการเรียนรู้" วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี ระบุ






วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"โรคสะเก็ดเงิน"ไม่ใช่โรคติดต่อแนะวิธีไม่ให้กำเริบ




วันที่ 26 ธ.ค.2560 นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์กล่าวว่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมพบได้ทุกเพศ ทุกวัย เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของผิวหนังจึงไม่สมบูรณ์  แต่อาการจะกำเริบในช่วงฤดูหนาวซึ่งอากาศแห้ง ได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ เครียด การติดเชื้อในร่างกายเช่น เป็นไข้หวัด การระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น การแพ้ยาทาต่างๆ สบู่ ผงซักฟอก
         


พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์กล่าวว่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด การรักษาต้องวางแผนระยะยาวและรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค ถ้าเป็นผื่นไม่มากรักษาโดยใช้ยาทา หากไม่ดีขึ้นอาจใช้ร่วมกับการฉายแสงอัลตราไวโอเลต ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ อย่าเกาหรือพยายามแกะสะเก็ดออกจากผื่น เพราะจะทำให้เลือดออกและผื่นกำเริบได้ นอกจากนี้ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงไม่เครียด จะสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

...........

หากต้องการอาหารเสริมในบริษัทบีฮิบ แก้บำรุงสุขภาพ สามารถสอบถามข้อมูลปรึกษาฟรี ติดต่อ0815583865 คุณสำราญ

วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มส.ตรวจเยี่ยมนิสิต"มจร"ปฏิบัติธรรมประจำปี2560



มส.ตรวจเยี่ยมนิสิต"มจร"ปฏิบัติธรรมประจำปี 2560 ชี้การศึกษามหาจุฬาฯเพื่อรักษาคำสอนพระพุทธศาสนาให้โอกาสการพัฒนาปริยัติและปฏิบัติ  เตือนอย่าแสวงหาเป้าหมายชีวิตผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าจิตตกรีบยกจิต 



วันที่ 24 ธ.ค.2560 พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ตรวจเยี่ยมโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานประจำปีการศึกษา 2560  ของนิสิตระดับปริญญาตรีในส่วนกลางที่อาคารหอประชุม มวก.48  พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ตามระเบียบมหาวิทยาลัยทุกปีการศึกษานิสิตทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยจะต้องเข้ารับการฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนดในพิธีเปิด  โดยปีการศึกษานี้มีนิสิตทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 17,694 รูป/คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561




ในโอกาศนี้พระพรหมบัณฑิต ได้ให้โอวาทความว่า  ขอแสดงความชื่นชมยินดีที่มีโอกาสปฏิบัติธรรมเป็นบุญพิเศษสำหรับนิสิตและคณาจารย์ ซึ่งศึกษาปริยัติแล้วมาปฏิบัติ เป็นการพัฒนาตนพัฒนาจิตใจของนิสิต สมกับปรัชญามหาจุฬา ที่ว่า "จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม " การพัฒนาจิตใจเราได้จากการมาปฏิบัติ เมื่อพัฒนาตนเองแล้วก็ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพีฒนาสังคมต่อไป ปฏิบัติจนสามารถแนะนำคนอื่นได้ การพัฒนาชาติเริ่มประชาชน พัฒนาคนเริ่มที่จิตใจ พัฒนาอะไรต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน การปฏิบัติกรรมฐานกับการพัฒนาตนเป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งปริยัติและปฏิบัติเป็นเกื้อกูลกัน ปริยัติเป็นลายแทงไปหาขุมทรัพย์



การเดินทางตามลายแทงคือ การปฏิบัติ ได้พบขุมทรัพย์คือปฏิเวธ ถ้าลายแทงผิดเราก็เดินทางหาขุมทรัพย์ผิดที่ ไม่พบขุมทรัพย์ ปริยัติเป็นสิ่งสำคัญเพื่อไปหาขุมทรัพย์ ซึ่งปริยัติเป็นการศึกษาพระไตรปิฏกเป็นฐานของการปฏิบัติ ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจะอยู่รอดที่เพราะการมีปริยัติปฏิบัติและนำไปสู่ปฏิเวธ ปริยัติบริบูรณ์สามารถทำให้ปฏิบัติและปฏิเวธบริบูรณ์ได้ หมายถึง เวลาการจัดสอนกรรมฐาน ผู้สอนคือพระวิปัสสนาจารย์ใช้ปริยัติมาสอนนิสิต จะต้องศึกษาปริยัติมาอย่างถ่องแท้ให้เกิดความเข้าใจ มาสอนถูกต้อง ผู้ปฏิบัติจะได้ปฏิบัติถูก แต่ถ้าศึกษาปริยัติมาผิดก็สอนผิด ปฏิบัติผิด ทำให้เดินทางไปในทางที่ผิด ส่งผลให้ขึ้นท่าเรือผิด หรือไปสู่เป้าหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่พระนิพพาน ผิดไปจากคำสอนทางพระพุทธศาสนา เราเรียกว่าเดียรถีย์ หมายถึง ผู้แสวงหาเป้าหมายชีวิตผิดไปจากคำสอนทางพระพุทธศาสนา เพราะปริยัติผิดปฏิบัติจึงผิด ปฏิเวธก็ไม่เกิดผล



ดังนั้น ปริยัติเป็นหลักในการดำรงพระพุทธศาสนา การศึกษาในมหาจุฬาเพื่อศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่การศึกษาเพียงทฤษฏีไม่มีการปฏิบัติ ย่อมไม่ส่งผลต่อการพัฒนาชีวิตจิตใจ จึงต้องปฏิบัติ พัฒนาชีวิตในฐานะเป็นคนดีของสังคม เรามีคุณธรรมจริยธรรมเป็นพื้นฐาน คุณธรรมของผู้เรียนต้องมีฉันทะ มีใจรักในการเรียนรู้ ชอบวิชาที่เรารัก จึงทำให้เราประสบความสำเร็จ เมื่อเราไม่มีฉันทะ ก็ขาดสมาธิ เรียกว่า ฉันทะสมาธิ ถ้าเราขาดฉันทสมาธิทำให้การเรียนไม่สำเร็จ การปฏิบัติเป็นการฝึกจิตเอาไปช่วยปริยัติในการเรียนการการสอนการทำงาน ทำอย่างไรไม่ให้จิตตก เราต้องฝึกการยกจิตให้สูงขึ้น " ถ้าจิตตกให้ยกจิต " กำลังเรียนอยู่จิตตก เราต้องรีบยกจิตให้มาอยู่กับอารมณ์ในปัจจุบัน การฝึกกรรมฐานจะช่วยให้เรามีจิตอยู่ในปัจจุบัน เรานำไปใช้ในการเรียน เพราะถ้าจิตตกจิตวุ่นวาย กรรมฐานจะช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบัน



ฉะนั้น หัวใจสำคัญ คือ "จิตตกให้ยกจิต" เมื่อเราเรียนหรือมีอคติกับผู้สอน เราไม่อยากเรียนเราไม่อยากทำงาน ท้อแท้ เหนื่อย ให้เรารีบยกจิตของเรา ดั่งสิทธัตถะนั่งอยู่กลางป่าอันมืดสนิท มีความกลัว แต่ท่านมีโยนิโสมนสิการ คิดตรวจสอบความกลัว โดยบอกกับตนเองว่า ถ้านั่งอยู่เกิดความกลัว จะนั่งจนหายกลัว คิดไม่ยอมแพ้ คิดไม่หนีเข้าวัง " โยนิโสมนสิการเป็นอาหารของสติ " เห็นคุณค่าในวิชานั้นๆ ที่เราเรียน มองเห็นคุณค่าของวิชาที่เราเรียนเราศึกษา จิตจะเบิกบานในสิ่งที่เรียน ปริยัติรักษาพระพุทธศาสนา ปฏิบัติทำให้เราเรียนปริยัติได้ดีขึ้น เรียนเก่ง เพราะมีฉันทะและโยนิโสมนสิการ เมื่อเราเห็นคุณค่าการปฏิบัติเราจึงออกไปเผยแผ่ได้อย่างมั่นใจ ปฏิบัติเกื้อต่อการปริยัติและการทำงาน มหาจุฬาให้โอกาสทุกคนที่เข้ามาเรียนพัฒนาตนเอง


.........

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กPramote OD Pantapat  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาจาสันติศึกษา มจร)

วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"กิ๊กภัย"ภัยของครอบครัวยุค ๔.๐ คิดจะรักต้องรักให้เป็นรักด้วยปัญญา

     

ในยุค ๔.๐ เราเห็นเหตุการณ์ของความรักที่สามารถทำลายหรือฆ่ากันได้ ด้วยประโยคที่ว่า " หมดรัก " อะไรเป็นสาเหตุที่นำไปคำว่าหมดรัก เพราะพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนแล้ว " มนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ต้องการความรักมากกว่าความเจ็บปวด " ซึ่งความจริงความรักเป็นสิ่งสวยงามฆ่าใครไม่ได้แต่ตัวโทสะที่ฝังรากลึกใต้ภูเขาน้ำแข็งระเบิดออกมานั่นเองที่ฆ่าคนอื่นได้และหัวใจที่ขาดความรักมนุษย์จึงโหยหาในรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันมนุษย์มีความเจ็บปวดเพราะความรักอยู่บ่อยครั้ง เพราะจริงๆ แล้วมนุษย์เอง หนีไม่พ้นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า " นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ หมายถึง  ความรักอื่นเสมอด้วยตนไม่มี "  มนุษย์ทุกคนรักตนเองเสมอในความเป็นจริงเนื้อแท้แล้ว เพราะความรักตนนี้เอง จึงสามารถทำลายหรือฆ่าคนอื่นได้ เพื่อให้ตนสามารถอยู่รอดและปลอดภัย จึงมีคำถามว่า ทำไมมนุษย์จึงย่อมตัดสินใจฆ่าคนอื่นได้  คำตอบคือ เพราะมนุษย์รักตนเอง ซึ่งไม่มีความรักใดเสมอตน พระอาจารย์ ว.วชิรเมธีเคยกล่าวว่า " เหตุผลสำคัญที่มนุษย์ทุกคนต้องการความรักนั้นก็เพราะว่า เราแต่ละคนไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง อะไรก็ตามที่ยังไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ก็มักต้องแสวงหาบางสิ่งบางอย่างจากภายนอกเข้ามาเสริม เข้ามาเติม เข้ามาเพิ่มพูน เพื่อให้เรารู้สึกอิ่ม รู้สึกเต็ม รู้สึกสมบูรณ์"
         



โดยบ่อเกิดของความรักในพระพุทธศาสนาดังพุทธภาษิตว่า " ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปนฺนหิเตน วา  เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํ ว ยโถทเก" แปลว่า ความรัก ย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการคือ เพราะอยู่ร่วมกันในปางก่อนเป็นบุพเพสันนิวาส และเพราะเกื้อกูลกันในปัจจุบันช่วยเหลือซึ่งกัน ส่งผลให้เป็นเนื้อคู่กันในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาแห่งความรัก พระพุทธเจ้ามิได้ทรงนิยามความรักด้วยคำบาลีคำใดคำหนึ่ง แต่พระองค์ได้ทรงให้คำนิยามเกี่ยวกับความรักไว้มากมาย คือ ๑)ความรักคือความใคร่ (กามะ) ๒)ความรักคือความกำหนัดยินดี (ราคะ) ๓)ความรักคือความทะยานอยาก(ตัณหา) ๔)ความรักคือความรักใคร่เยื่อใย (สิเนหะ) ๕)ความรักคือความเพลิดเพลิน (นันทิ) ๖)ความรักคือความอยาก (อิจฉา) ๗)ความรักคือความผูกพัน (ปฏิพัทธา) ๘)ความรักคือความปรารถนา (ปัตถนา) ๙)ความรักคือความอยากได้ (โลภะ) ๑๐)ความรักคือความพอใจ (ฉันทะ) ๑๑)ความรักคืออารมณ์ที่น่ารักน่าใคร่(เปมะ) ๑๒)ความรักคือความรักปรารถนาให้คนอื่นสัตว์อื่นมีความสุข (เมตตา) ๑๓)ความรักคือความสงสาร ต้องการให้พ้นจากความทุกข์ (กรุณา) จึงพอสรุปว่าความรักจึงมี ๔ ระดับ คือ " รักตัวกลัวตาย รักใคร่ปรารถนา รักเมตตาอารี  รักมีแต่ให้ " ความรักระดับสูงสุดคือ ความรักที่ประกอบด้วยเมตตาและกรุณา เป็นความรักของพระพุทธเจ้า 
         


ความรักของพระพุทธเจ้าเป็นความรักสรรพสัตว์ทั้งโลก เป็นความเมตตาอันบริสุทธิ์ อันประกอบด้วยสติปัญญายิ่งใหญ่และเมตตากรุณาบริสุทธิ์ โดยเรียกความรักนี้ว่า"มหากรุณาธิคุณ" พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "เรารักราหุลฉันใด เราก็รักเทวทัตฉันนั้น" พระองค์รักขนาดบุคคลที่คิดจะฆ่าและพยายามลงมือฆ่าพระองค์ ถือว่าเป็นการทำได้ยากสำหรับบุคคลทั่วไป  หลายคนตั้งคำถามในโลกออนไลน์ว่า ทำไมคนที่เคยรักกันมากที่สุด จึงสามารถฆ่ากันได้แบบไร้เยื้อใย ด้วยความโหดเหี้ยม อาจจะมีคำตอบมากมายหลายมุมมองของสาเหตุแล้วแต่จะใช้ฐานอะไรมอง  แต่มีผู้กล่าวไว้ว่า " ในสภาวะจิตหนึ่งทุกคนสามารถฆ่าคนอื่นและฆ่าตนเองได้ " ถือว่าเป็นการมองในแง่มุมพระพุทธศาสนา เมื่อจิตนั้นไม่ได้รับการพัฒนาหรือฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เมื่อเจอสิ่งที่มากระทบทางตา หู  จมูก ลิ้น  กาย ใจ  หรือ โลกธรรมฝ่ายลบ คือ ทุกข์ นินทา  เสื่อมลาภ   เสื่อมยศ จึงตัดสินใจอะไรบางอย่างเพื่อแก้ปัญหาเพียงระยะสั้นแต่ขาดการแก้ปัญหาระยะยาว แก้ปัญหาระยะสั้นเป็นการใช้ความรุนแรงอะไรบางอย่างอันขาดสติ  คำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงเน้นย้ำให้เราฝึกจิต เจริญภาวนาเพื่อกำหนดให้เท่าทันสิ่งที่มากระทบ จะได้ไม่เกิดปรากกฎการณ์ " โดน  ดิ้น  ดัน  ดับ " ในชีวิตของเรา 
         


ในยุคปัจจุบันชีวิตคู่บริหารจัดการไปไม่รอด ล้มเหลวเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะมีการศึกษาระดับใดก็ตาม ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ จากการวิจัย " เพศชายกับเพศหญิงมักมีเหตุผลที่ต่างกันในการนอกใจแฟนหรือคู่สมรส " สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์จึงกล่าวว่า " ความสุขของครอบครัว คือ สันติสุขของสังคม " เมื่อครอบครัวมีความสุขย่อมทำให้สังคมมีความสุขเหมือนกัน การริหารชีวิตคู่ในทางพระพุทธศาสนามีเครื่องมือในการบริหารครอบครัวให้รอดและปลอดภัย คือ ฆราวาสธรรม อันประกอบด้วย " สัจจะ  ทมะ  ขันติ  จาคะ " ถือว่าเป็นเครื่องมือป้องกันอันสุดยอดของบุคคลจะมีชีวิตคู่และครอบครัวที่มีความสุขถ้านำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะภัยของชีวิตครอบครัว คือ "กิ๊กภัยภัยจากการมีกิ๊ก" ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกันนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจและความทุกข์ในที่สุด รวมถึงจบลงด้วยการฆ่ากัน เพราะเมื่อรักก็เกิดความผูกพัน ยึดถือมั่นว่าเป็นของเรา ใครจะมาเอาไปเป็นเจ้าของไม่ได้ ซึ่งแท้จริงแล้วสักวันเราต้องลาจากกันด้วยความตายในที่สุด เเต่เราไม่ได้ฝึกการพลัดพราก เมื่อรักก็มีการครอบครองพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า " ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยํ  ปิยโต วิปฺปมุตตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ  แปลว่า  โศกเกิดจากสิ่งที่รัก ภัยเกิดจากสิ่งที่รัก ผู้พ้นจากความรัก โศก ภัย ก็ไม่มี "
         


ถ้ามนุษย์ทุกคนตระหนักรู้ในศีล อันเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข คำว่า ศีล ในมุมมองนั้นมองว่าเป็น  "การเคารพไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น " ด้วยการเคารพชีวิตทุกชีวิต ไม่ใช้ความรุนแรง  เคารพในสิทธิสิ่งของคนอื่น  เคารพในชีวิตคู่ที่สัญญาต่อกัน เคารพในครอบตนเองและครอบครัวคนอื่น  เคารพในความจริง   และเคารพในสุขภาพของตนเอง  เมื่อมนุษย์เคารพในตนเองและผู้อื่นถือว่าเป็นหลักประกันสังคม หลักประกันชีวิต หลักประกันครอบครัว หลักประกันสุขภาพ ให้มีแต่ความสุขและพยายามพัฒนาตนเองให้มีความรักระดับเมตตาและกรุณา สามารถรักคนได้ทุกคนในโลกใบนี้ รักแม้บุคคลที่เป็นศัตรูของเรา ดังคำกล่าวว่า " จงรักศัตรูเพราะเขาคือครูของเรา " ครูที่ทดสอบสติปัญญา ทดสอบธรรมะที่อยู่ภายในจิตใจของเรา
         

ฉะนั้น ชีวิตคู่ต้องมีธรรมะกำกับเป็นเครื่องนำทาง ถ้าชีวิตไม่มีธรรมะกำกับเป็นชีวิตที่พิกลพิการ  ชีวิตคู่ชีวิตสมรสก็เช่นกัน คำว่า สะมะ แปลว่า เสมอ สมดุล ทางสายกลาง ชีวิตคู่ต้องเสมอกันคือ" ศรัทธาเสมอกัน  ศีลเสมอกัน   จาคะเสมอกัน  ปัญญาเสมอกัน" มงคลสมรส จึงหมายถึง การมีอุดมการณ์ รสนิยม ความพึงพอใจ และธรรมะเสมอกัน  นำไปสู่การครองเรือนเลิศล้ำ ครองธรรมเลิศลอย  มีสติในการดำเนินชีวิตคู่ หรือพูดง่ายๆ คือ ๑บวก๑ ต้องเป็นหนึ่งเท่านั้น


...........

(หมายเหตุ : สาราณียธรรม พระอาจารย์ปราโมทย์   วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก   สาขาสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเผยแพร่ทางเฟซบุ๊กpramote od pantapat)


"แซม-ยุรนันท์"พร้อมคณะบวชใต้ต้นโพธิพุทธคยาฉายา"ยุตฺตมนฺติโพธิ"



วันที่ 21 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล  ได้ทำพิธีขลิบผมให้ คณะนายยุรนันท์ ภมรมนตรี  หรือแซม ประธานกรรมการบริษัทพานาซัมดิคัลเซนเตอร์ จำกัด อดีตดารานักร้องชื่อดัง จำนวน 3 คน ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พุทธคยา ประเทศอินเดีย  โดยมี ดร.ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส หลังจากนั้นได้ทำการเวียนประทักษิณ รอบองค์พระเจดีย์ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระพุทธเมตตา ถือเป็นการฉลองนาค ก่อนเดินทางกลับวัดไทยพุทธคยา เพื่อซ้อมขั้นตอนพิธีบรรพชา-อุปสมบท ในวันที่  22 ธันวาคม 2560 นี้ โดยได้รับฉายานามทางพระพุทธศาสนาว่า "ยุตฺตมนฺติโพธิ แปลว่า นักปราชญ์ผู้มีปัญญาอันประกอบพร้อมแล้ว"


.............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Narong Junior)

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"เหลือเฟือ มกจ๊ก"โพสต์รูปประทับใจพระป้อนข้าวแม่ป่วย



วันที่ 22 ธ.ค.2560 ที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก เหลือเฟือ มกจ๊ก  หรือ เจมศักดิ์ แจ้งทิพย์นาง ดาราตลกชื่อดัง ได้โพสต์เรื่องราวสุดประทับใจระหว่างรอตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลว่า "น้ำตามันไหล วันนี้ผมไปเจาะเลือดตรวจสุขภาพ ในระหว่างที่ผมยืนอยู่รอคิวพบหมอ ในระหว่างผมหันไปเห็นพระคุณเจ้าท่านกำลังยืนป้อนข้าวป้อนน้ำคุณแม่ คอยเช็ดปากคอยปลอบพูดคุยกำแม่ว่ารอเดี๋ยวนะโยมแม่ เดี๋ยวคุณหมอก็จะเรียกเราแล้วเดี๋ยวก็หาย


ผมก้มหน้ายืนน้ำตาไหลกลัวคนเห็นจนคุณลุงท่านนึงแกเดินมาทักผมว่าใช่เหลือเฟือมั๊ย อ้าวเป็นอะไรมากมั๊ย(แกคงนึกว่าผมกำลังเจ็บหรือปวดรอพบหมอ)ผมเลยบอกแกไปว่าป่าวครับผมไม่เป็นอะไร ผมกำลังประทับใจพระคุณเจ้ายืนป้อนข้าวคุณแม่ แล้วอยู่ดีๆน้ำตาผมมันก็ไหลออกมา คุณลุงแกก็เลยยืนมองกับผมแล้วก็ยืนยิ้มไปด้วยกัน สาธุพระคุณเจ้าขอให้คุณแม่หายเร็วๆสาธุๆๆ"


แชมป์โลกมวยไทยชาวรัสเชียฝึกสมาธิกับพระธรรมทูต




วันที่ 23 ธ.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Chatree Hemapandha ของพระมหาชาตรี เหมพันธ์ เจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญาศิษย์เอกของหลวงพ่อปัญญานันทะ พระธรรมทูตไทยในประเทศรัสเซีย ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า



"วัดไทยในรัสเซีย


Yuri Bukvalov แชมป์โลกมวยไทยที่ข้าพเจ้าเคยสอนเรื่องสมาธิและวัฒนธรรมไทยให้ เป็นศิษย์ไม่ลืมครู พาภรรยาคนรัสเซียเชื้อสายเกาหลี และลูกชายลูกสาวทั้งสามคนมาถวายภัตตาหารและมาเยี่ยมอาจารย์ของเขา ลูกชายคนโต Igor ส่วน คนเล็ก Roman ทั้งสองคนอยากบวชเณร บอกว่าถ้าหนูโตกว่านี้หนูอยากบวช จะพาหนูไปบวชที่ไทยไหม ทั้งสองคนอยากเป็นแชมป์โลกมวยไทยเหมือนพ่อ



ข้าพเจ้าเห็นว่าทั้งครอบครัวอยากศึกษาธรรม แสนชื่นใจ จิตใจเข้มแข็ง ร่างกายเข้มแข็ง ครอบครัวมีคุณธรรม พ่อแม่เป็นตัวอย่าง เยาวชนไทยปัจจุบันจำนวนมากขาดโอกาสเพราะเจอผู้ปกครองที่อ่อนแอ ส่วนบางคนพ่อแม่ดีแต่ลูกไม่ดีอย่างพ่อแม่ ยาเสพติดเต็มเมือง การศึกษาอ่อนแอ คุณธรรมหย่อนยาน ส่วนผู้นำประเทศก็สุดยอด พ่อแม่สั่งสอนมาดีเกิ้น เจริญแน่ประเทศไทย"

คำอวยพรปีใหม่"สมเด็จช่วง"แนะทำความดี3เวลา




วันที่ 22 ธ.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Watpaknam.bkk วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. ได้เผยแพร่คำอวยพรพรปีใหม่ 2561 ของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (สมเด็จช่วง)  กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาส ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความว่า



พรปีใหม่ ๒๕๖๑
ความดี ๓ เวลา
๑.ทำความดี ในเวลาเช้า คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ ชื่อว่าเวลาเช้าดี
๒.ทำความดี ในเวลากลางวัน คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ ชื่อว่าเวลากลางวันดี
๓.ทำความดี ในเวลาเย็น คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ ชื่อว่าเวลาเย็นดี

ขอท่านทั้งหลาย จงตั้งใจทำความดี ทั้งกลางวันกลางคืน จะได้ประสพสุขและความเจริญ ตลอดปี ๒๕๖๑ และตลอดไปเทอญ.

เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
(ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙)
วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร


Happy New Year 2018
Goodness in 3 times
1.Good action in the morning:right behavior by body speech and mind is called "Good Morning".
2.Good action in the mid-day: right behavior by body speech and mind is called "Good Afternoon".
3. Good action in the evening: right behavior by body speech and mind is called "Good Evening".

May you all attend to do good things in both day time and night time and may you get happiness and progress for whole year 2018 and forever.

Somdetphramaharatchamangkalacarn.
(Chuang Varapunya mahathera)
Wat Parknam,Phasicharoen,Bongkok.

วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"แซม-ยุรนันท์"พร้อมคณะบวชใต้ต้นโพธิพุทธคยา




วันที่ 21 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล  ได้ทำพิธีขลิบผมให้ คณะนายยุรนันท์ ภมรมนตรี  หรือแซม ประธานกรรมการบริษัทพานาซัมดิคัลเซนเตอร์ จำกัด อดีตดารานักร้องชื่อดัง จำนวน 3 คน ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พุทธคยา ประเทศอินเดีย  โดยมี ดร.ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส หลังจากนั้นได้ทำการเวียนประทักษิณ รอบองค์พระเจดีย์ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระพุทธเมตตา ถือเป็นการฉลองนาค ก่อนเดินทางกลับวัดไทยพุทธคยา เพื่อซ้อมขั้นตอนพิธีบรรพชา-อุปสมบท ในวันที่  22 ธันวาคม 2560 นี้





.............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Narong Junior)

วิจัย"มจร"พบวิธีปลูกฝังยั้งคิดแก้ทะเลาะวิวาท





วิจัย"มจร"พบวิธีปลูกฝังยั้งคิดแก้ทะเลาะวิวาท สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวพุทธ


วันที่ 21 ธ.ค.2560 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ได้ร่วมสัมมนาประชาวิจารณ์ดุษฏีนิพนธ์ สาขาพระพุทธศาสนาภาคพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มจร   ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยการวิจัย  โดมีผศ.ดร.ประพันธ์ ศุภษร ผู้อำนวยการหลักสูตรพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มจร กล่าวเปิด  มีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกคือ ผศ.ดร.วุฒินันท์ กันทะเตียน จากมหาวิทยาลัยมหิดล และผศ.ดร.อุทัย สติมั่น จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นผู้วิจารณ์ และดร.ตวงเพชร สมศรี เป็นผู้ดำเนินรายการ 





การสัมมนาประชาวิจารณ์ดุษฏีนิพนธ์มีประเด็นเรื่องน่าสนใจ 2 เรื่อง คือ 1)เรื่อง "กระบวนการปลูกฝังการยั้งคิดเพื่อแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวพุทธ" โดยพระภิญโญ ตสฺสนาโม นิสิตปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา นำเสนอว่า รูปแบบในการแก้ปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาท ด้วยการใช้หลักโยนิโสมนสิการในแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา ผลการวิจัยพบรูปแบบในการแก้ปัญหา 4 ประการ คือ 1)รูปแบบโยนิโสมนสิการ 2)รูปแบบภูมิปัญญาสากลภูมิปัญญาท้องถิ่น 3)รูปแบบการปลูกฝังนักคิดแก้ปัญหา 4)รูปแบบการเรียนรู้ โดยมีการทดลองจริงในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ประเด็นนี้จะมีวิธีการยั้งคิดอย่างไร?โดยใช้กระบวนการของโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ออกมาจากภายในของนักศึกษาอาชีวศึกษา



2) เรื่อง "การปฏิบัติธรรมของสตรีในสังคมไทย:การพิจารณาขันธ์ 4" โดย พันตำรวจโทหญิงสุชาดา พระเขียนทอง นิสิตปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา นำเสนอว่า เป็นการศึกษาปฏิบัติธรรมของสตรีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และการปฏิบัติธรรมโดยการพิจารณาขันธ์ 5  ของสตรีในสังคมไทย ตามหลักสติปัฏฐาน 4  คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยการศึกษาการปฏิบัติธรรมของสตรีในสมัยพุทธกาลซึ่งฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง จำนวน 7 คน  เช่น นางสุชาดา เป็นต้น และสตรีในปัจจุบันปฏิบัติหลักสติปัฏฐาน 4  ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติบัติ 3  ประการ คือ มีความเพียร มีความรู้ตัวทั่วพร้อม และมีสติตลอดเวลา มีกระบวนการในการพิจารณาขันธ์ 5  สำหรับสตรีอย่างไร ?



"จากการเข้าร่วมสัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะดุษฏีนิพนธ์ (Public Hearing) ทำให้มิติการทำดุษฏีนิพนธ์ เน้นกระบวนการตามหลักของ PDCA จนทำให้งานวิจัยบรรลุเป้าหมายของนิสิต เห็นความเข้มข้นทางวิชาการของนิสิตมหาจุฬา มุ่งสู่ความสำเร็จต้องมีหลักอิทธิบาทธรรม 4  เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จ คือ " ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา " สิ่งสำคัญคือ ความเพียรอันต่อเนื่อง อย่างเสมอต้นและเสมอปลายในการพัฒนางานวิจัย ต้องอาศัยปรโตโฆสะ เสียงจากครูอาจารย์ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำชี้แนะแนวทางการทำงานวิจัย ให้สมบูรณ์แบบที่สุด" พระปราโมทย์ ระบุ


วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ก.คลังประชุมเชิงปฏิบัติการแก้หนี้นอกระบบบูรณาการ




วันที่ 21 ธ.ค.2560  นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 9.00 น. ณ โรงแรมภูเก็ต รอยัล ชิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อซักซ้อมแนวทางการบริหารงานเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน  โดยมีผู้บริหารระดับจังหวัด กรมบัญชีกลาง ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดภูเก็ต คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้ นอกระบบประจำจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนผู้แทนตำรวจภูธรภาค 8 และกองทัพภาค 4 ทั้งนี้ ในการประชุม ปลัดกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำและขอความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินการให้ครอบคลุม 5 มิติ ได้แก่
         


1. ดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบ โดยขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงาน
ด้านความมั่นคงในพื้นที่ดำเนินการติดตามจับกุมเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจังต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เจ้าหนี้นอกระบบปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้ให้สินเชื่อในระบบต่อไป
         


2. เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ขอให้เร่งรัดประชาสัมพันธ์แหล่งสินเชื่อในระบบที่สำคัญ ได้แก่ (1) สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) โดยนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง สามารถให้สินเชื่อกับประชาชนในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวงเงินไม่เกินรายละ 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย รวมค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี (Effective Rate) และ (2) สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ของธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ซึ่งออกแบบสำหรับช่วยเหลือประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายฉุกเฉิน ในวงเงินไม่เกินรายละ 50,000 บาท โดยสินเชื่อดังกล่าวเป็นสินเชื่อที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนที่สามารถช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้
         


3. ลดภาระหนี้นอกระบบโดยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ขอให้สร้างการรับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับกลไกที่คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัด ซึ่งมีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ จะทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบเพื่อลดมูลหนี้ที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยหรือเงื่อนไขที่เอารัดเอาเปรียบ โดยยึดหลักของความเป็นธรรมในการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้พึงพอใจ



4. เพิ่มศักยภาพของลูกหนี้นอกระบบ ขอความร่วมมือให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบประจำจังหวัด ซึ่งมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้านการเพิ่มรายได้ของตัวเอง การให้ความรู้ทางการเงิน รวมถึงการพิจารณาการให้สวัสดิการแก่ประชาชนที่มีปัญหาหนี้นอกระบบที่อาจไม่มีศักยภาพในการพึ่งพาตัวเองได้
         


5. สนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรการเงินชุมชนที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างจัดทำฐานข้อมูลหนี้นอกระบบ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และเผยแพร่ความรู้และทักษะทางการเงินแก่ประชาชน
         


ในการประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืนสำหรับผู้มีรายได้น้อย (ผู้มีสิทธิ์ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560) ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3,738 ราย มูลหนี้นอกระบบ รวมเป็นเงิน 185.21 ล้านบาท (เฉลี่ย 49,548 บาทต่อราย) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้สั่งการให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนการทำงานตามกลไกของกระทรวงการคลัง โดยเร่งติดต่อลูกหนี้แต่ละรายเพื่อให้การช่วยเหลือไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบ พิจารณาช่วยเหลือด้านสินเชื่อ และดูแลฟื้นฟูศักยภาพการหารายได้ซึ่งรวมถึงการพัฒนาอาชีพให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
         


สำหรับในช่วงบ่าย กระทรวงการคลังได้จัดการสัมมนา ในหัวข้อ "การประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ" (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจและขั้นตอนในการยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์กับกระทรวงการคลังให้กับธุรกิจ ห้างร้าน ประชาชนผู้สนใจ และหน่วยราชการส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งเริ่มให้บริการแก่ประชาชนแล้ว 125 ราย ใน 44 จังหวัด 



แหล่งข่าวเสริมว่า การที่จะแก้จน ลดหนี้เกษตรกรให้ได้ผลนั้นอันดับแรกจะต้องแก้ที่ต้นเหตุคือหนี้นอกระบบที่สูบเลือดเนื้อคนไทยด้วยกันมาเป็นเวลานาน ประกอบกับกฎหมายดำเนินการก็มีโทษน้อย ทำให้นายทุนพวกนี้ได้ใจ บวกให้เจ้าหน้าที่เป็นใจด้วย ด้วยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้ฒนาสถานธนานุบาลเคลื่อนที่ไปตามตลาดนัดแต่หมู่บ้านและชุมชน หรืออาจจะเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารใต้ดิน" เหมือนกับ "ธนาคารน้ำใต้ดิน" เพื่อสร้างแรงจูงใจ เชื่อแน่ว่าจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้

อธิการบดี"มจร"แนะนิสิตตั้งใจปฏิบัติธรรมประจำปี60




ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ประจำปีการศึกษา 2560  สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งสิ้น 17,694 รูป/คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561  ตามระเบียบมหาวิทยาลัย สำหรับส่วนกลางนั้นได้กำหนดให้นิสิตปริญญาตรี ทุกคณะ ทุกชั้นปีจำนวนทั้งสิ้น  1782  รูป/คนเข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระหว่างวันที่  16-27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ดังนี้ 


(1) นิสิตคณะพุทธศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สวนเวฬุวัน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมจำนวน  339 รูป/คน (2) คณะครุศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน ตำบลแคมป์สนอำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย จำนวน  414  รูป/คน



(3) คณะมนุษยศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน จำนวน 613  รูป/คน (4) คณะสังคมศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ณ มหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา  จำนวน ๔๘๒ รูป/คน และมีแยกปฏิบัติตามสาขาวิชา คือ ( 1) สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ  เข้าฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ วัดพุน้อย ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี(2) สาขาวิชานิติศาสตร์ณ พุทธอุทยานนครสวรรค์ วัดภัทรสิทธาราม  ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์



ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ครั้งนี้ มีตารางการปฏิบัติประจำวันที่นิสิต จะต้องปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้ ภาคเช้า เวลา 04.00-12.00  น. ทำวัตรเช้า /ปฏิบัติ/ฉันภัตตาหารเช้า/ปฏิบัติ/ฉันภัตตาหารเพล  ภาคบ่าย เวลา 13.00-17.00 น. แยกกลุ่มปฏิบัติ และสอบอารมณ์กัมมัฏฐาน ภาคเย็นเวลา 18.00-21.00 น. ทำวัตรเย็น/ปฏิบัติ/ฟังบรรยายจากพระวิปัสสนาจารย์/ปฏิบัติ  ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเดินทางไปร่วมทำบุญกับพระนิสิตทั้งการถวายภัตราหารและน้ำปานะตามสถานที่ดังกล่าว



โดยวันที่ 20​ ธันวาคม​ 2560นี้  พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดี มจร  ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและให้โอวาทแก่นิสิตคณะพุทธศาสตร์ มจร  จำนวน 415 รูป/คน ซึ่งปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระหว่างวันที่ 16-27 ธันวาคม 2560  ที่ศาลา 8 เหลี่ยม สวนเวฬุวัน (สวนไผ่) พุทธมณฑล อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม โดยมีคณะผู้บริหารคณาจารย์ เจ้าหน้าทึ่และพระวิปัสสนาจารย์ ถวายการต้อนรับ



อธิการบดี มจร กล่าวว่า “บทบาทหน้าที่ของพระนิสิตที่ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ สิ่งสำคัญนอกจากการศึกษาวิชาสามัญ ทั่วไปแล้ว จุดเด่นคือหลักสูตรการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ทำให้นิสิตมีโอกาสในการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ขอใหนิสิตลงมือปฏิบัติด้วยใจและใส่ใจอย่างจริงจัง จึงจะได้ผลและต้องมีสติสัมปชัญญะ ซึ่งมีโยนิโสมนะสิการ เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ คิดถูกต้อง ใจจึงจะยึดมั่นตามครรลองและถูกต้อง นอกจากนี้ คณาจารย์ที่มาร่วมปฏิบัติด้วยก็ได้ประโยชน์ คือการได้มีโอกาสชาร์ตแบตเตอร์รี่ แก่ตนเองอีกด้วย”



นอกจากนี้  พระพรหมบัณฑิต ยังย้ำว่า ทุกท่านควรลดความปลิโพธิ หรือความกังวัลต่อสิ่งภายนอก ตัวอยู่ที่นี่แต่ใจอยู่วัด ต้องอยู่กับปัจจุบัน คือคิดเป็น ทำใจให้สอดคล้องกับการปฏิบัติ มีโยนิโสมนสิการต่อการปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังให้คุ้มกับการที่มหาวิทยาลัย หยุดพักการเรียนการสอนเพื่อให้ทุกท่านได้มีโอกาสพักและผ่อนคลายจากความวุ่นวายในการเรียนการสอน และสิ่งสำคัญคือท่านจะได้นำความรู้นึ้ไปสอนญาติโยมต่อไป




ขณะเดียวกันที่ มหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร.รองอธิการบดีฝ่านวิชาการ​ มจร ได้ตรวจเยี่ยมกิจกรรมโครงการปฏิบัติธรรมของคณะสังคมศาสตร์​  โดยมีพระครู​ปริยัติ​กิตติ​ธำรง, รศ.ดร. คณบดีคณะสังคมศาสตร์​ พระ​มหา​บุญ​เลิศ​  อินฺทปญฺโญ, รศ.รองคณบดี​ฝ่าย​วิชาการ, ผศ.ดร. โกนิฏฐ์  ศรี​ทอง​ รองคณบดี​ฝ่าย​บริหาร​ และคณะให้การต้อนรับ สำหรับโครงการปฏิบัติธรรมของคณะสังคมศาสตร์​นี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโพธิวัณณา และแม่ชีทศพร​ วชิระบำเพ็ญ เป็นเจ้าภาพตลอดโครงการ



แม่ชีทองสุขผู้เบิกบานกับการให้ทาน จากทรัพย์ภายนอกพัฒนาสู่ทรัพย์ภายใน



แม้จะเสร็จสิ้นลงแล้ว สำหรับโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานาชาติถวายเป็นพระราชกุศล  ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมีนิสิตทั้งพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณรี แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประมาณ 130 รูป/คน ได้รับความเมตตาจาก ดร.สยาดอภัททันตะวิโรจนะ มหาคันถวาจกบัณฑิต มหากัมมัฏฐานาจริยะ สำนักวิปัสสนาวัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์  เป็นประธานนำฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและแสดงธรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 



เป็นโครงการที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติร่วมกับหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ภายใต้การนำของพระหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มจร ระหว่างวันที่ 1-15 ธ.ค. 2560  ซึ่งมีผู้สนใจร่วมสนับสนุนอาหาร-น้ำปานะผู้ปฏิบัติธรรมตลอดเวลาในจำนวนนี้มีแม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี จากประเทศฮ่องกง รวมอยู่ด้วย




พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา  มจร ได้ร่วมโครงการด้วย กล่าวถึงบรรยากาศที่แม่ชีทองสุขเดินทางไปถวายภัตราหารและสนับสนุนอาหาร-น้ำปานะผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ซึ่งเป็นวันปิดโครงการพอเพียง ได้ปรารภธรรมผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramote OD Pantapat ความว่า 



 จาคะเป็นการเสียสละ เป็นการแบ่งปันการให้ การแบ่งปัน หรือการให้เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่สมานหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี ไมตรี และสันติสุข เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ททมาโน ปิโย โหติ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก” การให้เป็นทั้งมรรคและผลโดยตัวของมันเอง การให้เป็นมรรค เมื่อเป็นกุศโลบายให้คนรู้จักแบ่งปันเป็นผล เมื่อก่อให้เกิดความสำราญบานใจ ขณะกำลังให้หรือครั้งให้ไปแล้ว เมื่อยามอนุสรณ์ถึงก็ก่อให้เกิดความสดชื่นรื่นเย็นในหัวใจที่ตนได้ทำกรรมดีไว้แก่เพื่อมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ที่ใดก็ตามที่การให้ยังเป็นสารถที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ ณ สถานที่นั้น สวรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงส่วนที่ใด ที่ปราศจากการให้ที่นั้นไซร์ คือนรกบนดิน อารยธรรมของมนุษย์รุ่งเรืองเฟื่องฟูมาถึงทุกวันนี้ เพราะเรายังมีบุคคลผู้เบิกบานกับการให้กระจายกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง



การให้เป็นปัจจัยแห่งการฝึกตนและฝึกคนเป็นต้นว่าการให้เพื่อสงเคราะห์ในยามยากทำให้เราได้บำเพ็ญเมตตาธรรม ต่อเพื่อมนุษย์ การให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทำให้เราได้ถมช่องว่างทางสังคมให้เต็ม การให้แก่คนรู้จักมักคุ้นทำให้เราได้เชื่อมสัมพันธไมตรีการให้คืนแก่สังคมของนักธุรกิจทำให้เขาได้มีส่วนร่วม ในการรับผิดชอบต่อสังคมการให้ของนักบวชเป็นการป้องกันการสะสมเกินจำเป็น การให้ของปัจเจกบุคคลเป็นการฝึกกำจัดความละโมบโลภมากแต่หัวใจสำคัญที่สุดของการให้ก็คือ การกำจัด ความยึดติดถือมั่นใน “อัตตา” หรือตัวฉันของฉันกล่าวสั้นที่สุดการให้อย่างไม่มีตัวฉัน คือ สาระสำคัญของการให้เมื่อมนุษย์เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้โลกจะกลายเป็นดินแดนสุขาวดีทรัพยากรจะยังพอมีสำหรับอนุชนที่กำลังจะตามมาในวันพรุ่งนี้



จึงขออนุโมทนาบุญกับคุณแม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี จากฮ่องกง ทราบข่าวการปฏิบัติธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดโดยวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม จึงเกิดศรัทธา น้อมบริจาคปัจจัยจำนวน 20,000 บาท เพื่อการสนับสนุนโครงการเป็นค่าอาหาร น้ำปานะ ค่าน้ำ ค่าไฟ ขอบุญกุศลอันเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของคณะผู้ปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันแรกจนถึงสิ้นสุดโครงการ ขอบุญรักษา เทวดาคุ้มครองตลอดไป สาธุ...





กองทัพอากาศใฝ่ธรรม!วิทยากรธรรมะโอดีเสริมพลังอนุศาสนาจารย์




กองทัพอากาศใฝ่ธรรม!วิทยากรธรรมะโอดีเสริมพลังอนุศาสนาจารย์ หวังพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากร พร้อมเยียวยาจิตใจคนในกองทัพ



วันที่ 20 ธ.ค.2560 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า เป็นพระวิทยากรบรรยายธรรมะเพื่อชีวิตสำหรับข้าราชการกองทัพอากาศ ที่กองทัพอากาศดอนเมือง  ซึ่งเป็นการบรรยายธรรมะประจำวันพุธ เพื่อเสริมสร้างพลังชีวิตด้านธรรมะ "งานในสำราญ งานนอกสำเร็จ " โดยได้รับการนิมนต์จากท่านอนุศาสนาจารย์ หรือ Chaplain ซึ่งหมายถึง อาจารย์ผู้อบรมศีลธรรมของหน่วยราชการในกองทัพไทย



งานของอนุศาสนาจารย์นั้น เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณทางศาสนาของตน ผู้นำประกอบพิธีทางศาสนาของตนให้คำแนะนำและคำปรึกษาพื้นฐานตามจริยธรรมและศาสนศาสตร์ของตนสอนศาสนธรรมให้แก่ศาสนิกชนของศาสนาตนให้คำปรึกษาแก่ทุกคนที่ต้องการคำปรึกษาไม่จำกัดเฉพาะศาสนิกของตนเท่านั้น และจัดหาทรัพยากรทางด้านศาสนาให้กับผู้ที่ต้องการ สรุปง่าย ๆ อนุสาสนาจารย์ คือ บุคคลผู้ทำหน้าที่ให้กำลังใจ ให้ธรรมะข้อคิดในการทำงานและการใช้ชีวิตข้าราชการไม่ให้ออกนอกเส้นทาง ซึ่งชีวิตข้าราชการทหารภายนอกต้องเข้มแข็งส่วนภายในต้องอ่อนโยน เรียกว่า " นุ่มนวลกับคน แต่จริงจังกับงาน "



คำถามทำไมกองทัพไทยจึงต้องมีอนุสาสนาจารย์ประจำ ซึ่งบุคคลที่จะมาเป็นต้องผ่านการบวชเรียนจนจบเปรียญธรรม หรือ พุทธศาสตร์บัณฑิต รู้ปริยัติเข้าใจปฏิบัติอย่างถ่องแท้ ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา คำตอบคือ อนุศาสนาจารย์ต้องมาทำหน้าที่ดูแลจิตใจคนในกองทัพ เพราะจิตใจเป็นวาระแห่งชาติ จิตใจสำคัญมาก บทบาทของอนุศาสนาจารย์จึงมีความโดดเด่นในกองทัพ รวมถึงศาสนพิธีต่างๆ เพื่อความถูกต้องในการปฏิบัติ กองทัพไทยจึงมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามายาวนาว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระองค์ทรงให้กำเนิดอนุสาสนาจารย์ในยุคแห่งสงคราม อนุศาสนาจารย์จึงเป็นบุคคลของอาณาจักรและศาสนจักร ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อคุณภาพชีวิตของคนในกองทัพไทย



"ดังนั้น จึงขออนุโมทนาอนุศาสนาจารย์กองทัพอากาศ ฐานทัพอากาศดอนเมืองในการมีกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการในกองทัพ โดยเน้นความสุขในการทำงานและการบริหารชีวิต โดยนิมนต์ธรรมะโอดีมาแบ่งปันเพื่อเรียนรู้วิชาชีวิต" พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี กล่าว





วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มุมมองศาสนิกต่อโทษประหารแนะฆ่ากิเลสดีกว่าฆ่าชีวิต



พระองค์ภาฯเสด็จเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "มุมมองจากศาสนิกต่อโทษประหารชีวิต" ที่ กสม.ร่วมกับภาคเครือข่ายจัดขึ้น ผู้แทนจากศาสนาเสนอมุมมองมุ่งฆ่ากิเลสในใจดีกว่าฆ่าชีวิต





วันที่ 19 ธ.ค.2560 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2560 ที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา  เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "มุมมองจากศาสนิกต่อโทษประหารชีวิต" ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)  ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายร่วมจัดทั้งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กระทรวงยุติธรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา จัดขึ้น





"ต่อจากนั้นเป็นการอภิปรายในหัวข้อดังกล่าว  ซึ่งมีวิทยากรประกอบด้วยอาตมา มงซินญอร์ วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย นายสันติ เสือสมิง ผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี โดยมีนายสุรพศ ทวีศักดิ์  นักวิชาการด้านศาสนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต  เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ซึ่งนายสุรพศเปิดฉากการเข้าสู่การอภิปรายด้วยการตั้งข้อสังเกตเอาไว้น่าสนใจว่า แม้ศาสนาทั้งหลายจะมีมุมมองต่อการประหารชีวิตในเชิงลบ แต่ศาสนาทั้งหลายกลับมีท่าทีที่เมินเฉยต่อการที่รัฐได้ออกมาตรการลงโทษประการชีวิตผู้กระทำผิดกฏหมาย แท้จริงแล้ว ศาสนาเมินเฉยดังที่ได้ข้อสังเกตหรือไม่?!? การนำหลักการของศาสนาต่างๆ มาอธิบายและขยายความ น่าจะเป็นช่องทางในการสนองตอบต่อข้อสังเกตของผู้ดำเนินรายการได้ แม้สุดท้ายแล้ว ผู้นำรัฐอาจจะเมินเฉยต่อหลักการของศาสนา แต่ศาสนาก็ได้แสดงจุดยืนของตัวเองเอาไว้เป็นหลักให้สังคมได้ร่วมเลือกหนทางที่เหมาะกับตัวเอง การเลือกหรือไม่เลือก จึงขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของสังคมนั้นๆ เอง" พระมหาหรรษา กล่าวและว่า



หากจะกล่าวถึงเนื้อแท้หรือแก่นแกนของหลักคำสอนของแต่ละศาสนานั้น จะพบว่า ศาดาของแต่ละศาสนาได้ออกแบบคำสอนที่สะท้อนตัวตนของตัวเองอย่างชัดแจ้ง ในฐานะที่ศาสนาคริสต์และอิสลามนั้น เป็นศาสนาแบบเทวนิยม ที่มองว่า พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในจักรวาล หนึ่งในสิ่งที่ถูกสร้าง คือ "มนุษย์" พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ มนุษย์จึงมิใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นฉายาของพระผู้สร้าง ฉะนั้น การทำลายชีวิตมนุษย์ จึงเป็นการทำลายสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างสรรปันแต่งมาจากลมหายใจของพระองค์



อย่างไรก็ตาม ศาสนาคริสต์ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ไม่เห็นด้วยกับบทลงโทษประหารชีวิต และถือเป็นแนวทางที่ศาสนาคริสต์ยืนยันมาตลอด และสนับสนุนให้ยกเลิกโทษการประหารชีวิต ในขณะที่ศาสนาอิสลามแม้จะเห็นด้วยว่า ชีวิตมนุษย์มาจากพระเจ้า การทำลายชีวิตจึงเป็นการผิดต่อสิ่งที่พระเจ้าสร้างมา แต่สิ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือ อาจารย์สันติยืนยันอย่างหนักแน่นอนว่า ในคัมภีร์ของศาสนาอิสลามนั้น มีข้อยกเว้นให้มนุษย์สามารถฆ่าผู้ทำผิดได้ เพื่อหยุดยั้งมิให้เกิดการฆ่าในโอกาสต่อไปอีก การฆ่าจึงเป็นการหยุดการทำชั่วของใครบางคนที่มิอาจจะเยียวยาได้ ฉะนั้น ในขั้นสุดท้ายแล้ว โทษประหารจำเป็นต้องมีเพื่อมนุษย์ย่ำเกรง และป้องกันมิให้มนุษย์ทำลายกันและกัน



พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาแบบ "อเทวนิยม" ที่มีจุดยืนว่า สรรพสิ่งมิได้เกิดจากผู้สร้าง หากแต่สรรพสิ่งพึ่งพิงอิงอาศัยอย่างเป็นเหตุเป็นปัจจัยตามกฏธรรมชาติ มนุษย์จึงเป็นสมบัติของธรรมชาติที่ถูกหล่อหลอมมาจากกรรม ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ถึงกระนั้น การเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ได้มาอย่างยากลำบาก (กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ) เพราะความยากนี่เองจึงทำให้ชีวิตของมนุษย์มีคุณค่า ในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชีวิตจนเข้าถึงความจริงสูงสุดคือ "นิพพาน" ชีวิตที่ประกอบด้วยรูปกับนาม จึงเป็นเครื่องมือที่จะนำพามนุษย์เข้าถึงความจริงดังกล่าวได้



ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสย้ำถึงจุดยืนที่สะท้อนถึงตัวตนของพระพุทธศาสนาในวันการประกาศโอวาทปาติโมกข์ ที่สัมพันธ์กับหลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 กล่าวคือ (1) หลักการ เตือนมิให้ทำบาปทั้งปวง อันมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตตามศีลข้อที่ 1 (2) อุดมการณ์ ตรัสเตือนว่า ผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นบรรพชิต หรือผู้งดเว้นจากบาปได้ ต้องไม่ฆ่าผู้อื่น (3) วิธีการ ตรัสเตือนมิให้ฆ่าหรือนิยมชมชื่นกับการฆ่าตามหลักอนูปฆาโต



จะเห็นว่า ทั้งหมดคือจุดยืนของพระพุทธศาสนาที่ถูกประกาศให้ศาสนิกของศาสนา และเจ้าลัทธิต่างๆ ได้เห็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาว่ามีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากแนวคิดและแนวปฏิบัติอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในชมพูทวีปในสมัยนั้น จะเห็นว่า พระพุทธศาสนามิได้เน้นให้ฆ่าทางเนื้อหนัง หากแต่เน้นให้ "ฆ่ากิเลส" การฆ่าทางเนื้อหนังหรือฆ่าชีวิตจึงเป็นการฆ่าที่ผิดฝาผิดตัว เพราะตัวที่ชักนำให้มนุษย์ไปกระทำผิดพลาดบกพร่อง คือ "กิเลส" ที่เกิดขึ้นและเกาะกุมจิตใจให้มนุษย์ไปกระทำการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง



บทสนทนาธรรมระหว่างพระพุทธเจ้ากับนายเกสีผู้ฝึกม้า คือ คำตอบที่เห็นได้ชัดว่า ในขณะที่นายเกสีตัดสินใจฆ่าชีวิตของม้าที่ฝึกไม่ได้ แม้จะพูดดีแล้วก็ตาม หรือเฆียนตีแล้วก็ตาม แต่พระพุทธเจ้ามิได้มองไปที่การฆ่าชีวิต หากแต่เน้นไปที่การฆ่ากิเลสโดยการใช้หลักอริยวินัยด้วยวิธีการลงพรหมทัณฑ์ ซึ่งตัวแบบที่พระพุทธเจ้าให้วิธีการนี้หลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน คือ "พระฉันนะ" จนในที่สุดพระฉันนะได้เกิดการตระหนักรู้ถึงความผิดพลาดบกพร่องจนนำไปสู่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด



กรณีขององคุลีมาลก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพยายามจะนำกองทัพไปปราบและฆ่าชีวิตของจอมโจรองคุลีมาล ที่ฆ่าคนจำนวน 999 คน เพื่อให้หยุดยั้งการกระทำดังกล่าวตามแนวทางฆ่าองคุลีมาลเพื่อหยุดยั้งมิให้จอมโจรองคุลีมาลไปฆ่าคนอื่นๆ อีก แต่ในทางกลับกัน พระพุทธเจ้าทรงเลือกที่จะเสด็จไปหาองคุลีมาลเพื่อใช้โอกาสดังกล่าวฆ่ากิเลสที่มีอยู่ในตัวขององคุลีมาล และผลจากการใช้วิธีการดังกล่าว จึงทำให้องคุลีมาลบรรลุธรรมและบวชเป็นพระภิกษุออกไปช่วยเหลือหมู่ชนจำนวนมาก ปัญหาคือ ถ้าพระพุทธเจ้าปล่อยให้พระเจ้าปเสนาิโกศลฆ่าชีวิตของจอมโจรองคุลีมาลเสียแล้ว องคุลีมาลจะมีโอกาสเข้าถึงความจริงหรือไม่ และจะมีโอกาสได้สร้างคุณประโยชน์ต่อไปหรือไม่



การฆ่า หรือประหารชีวิตเพื่อให้ตายตกไปตามกันแบบตาต่อตาฟันต่อฟันนั้น อาจจะทำให้มองว่า เกิดความยุติธรรม และสาสมต่อการทำผิดแล้ว อีกทั้งสามารถเยียวยาจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำได้อย่างลงตัวแล้ว แต่ถึงกระนั้น วิธีการเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า คนที่ใช้ความรุนแรงเพื่อดับความรุนแรง หรือคนที่เอาการฆ่ามาจัดการคนที่ฆ่าคนอื่น จะมีภูมิธรรมที่ต่างกันตรงไหน สุดท้ายใครมีมโนธรรมสูงกว่ากัน



"การฆ่ากิเลสจึงเป็นวิถีที่ท้าทายต่อจิตวิญญาณของมนุษยชาติ โดยร่วมกันออกแบบเครื่องมือ หรือสร้างกระบวนการในการกล่อมเกลา เพื่อคืนคนที่เคยทำผิดพลาดบกพร่องกลับไปสู่สังคม พร้อมทั้งให้โอกาสในฝึกฝนพัฒนาตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข และสังคมก็ควรต้องดีใจเพราะสามารถพัฒนาคนไม่ดี คนมีภูมิคุ้มกันกิเลสบกพร่องให้กลับมาเป็นคนดี และสร้างสรรค์สิ่งดีงามแก่สังคมต่อไป"  ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ระบุ

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ชายกทม."อ้วน"สูงสุดมุ่งคนกรุงปลอด5โรคเรื้อรัง



วันที่ 19 ธ.ค.2560 ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพพื้นที่กรุงเทพมหานคร จัดโดยคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตพื้นที่ 13 ว่า  อนาคตอันใกล้นี้จะมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) อีก 50 เขต เพื่อทำงานเชื่อมโยงกัน โดย กทม.ได้ตั้งเป้าหมายปลอดโรคยอดฮิตของคนเมือง ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ปัญหาสุขภาพจิต ทั้งการฆ่าตัวตาย ความเครียด โรคซึมเศร้า รวมถึงโรคติดต่อจากไข้เลือดออกและวัณโรค และโรคในผู้สูงอายุ มีอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค และมีความปลอดภัยทางถนน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับมหานครแห่งอื่นๆทั่วโลก
         


นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. ในฐานะคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 13 กล่าวว่า คนกรุงเทพฯ ออกกำลังกายน้อยกว่าคนภาคอื่นๆ มีสัดส่วนคนไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราค่อนข้างสูง  และผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ระหว่างปี 2557-2558 พบว่า ผู้ชายใน กทม.มีภาวะอ้วนสูงสุด ขณะที่ผู้หญิงมีสัดส่วนไม่ต่างกับผู้หญิงในภูมิภาคอื่นๆ คน กทม.บริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอต่อวันเพียง 22% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดรองจากภาคเหนือ 13% ส่วนความชุกของโรคความดันโลหิตสูงอยู่ที่ 23% และโรคเบาหวาน อยู่ที่ 8%

..............................

(หมายเหตุ หากสนใจลดความอ้วนติดต่อ 0815583865)

ตั้งพระศักดา สุนฺทโรพระนักเทศน์ชื่อดังเป็นพระครู



เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ตั้งพระศักดา สุนฺทโร พระนักเทศน์ชื่อดังผ่านทางสื่อออนไลน์ เป็นพระครูสังฆรักษ์ศักดา ในฐานานุกรมของ พระราชกิจจาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส


วันที่ 18 ธ.ค.2560 ผู้สื่อข่ีาวรายงานว่า เฟซบุ๊ก พระศักดา สุนฺทโร พระนักเทศน์ชื่อดังผ่านทางสื่อออนไลน์ วัดไร่ป่าธรรมภิมุก จ.ตราด ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า 



"วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นอันสำคัญ
ที่จะรับภาระธุระพระศาสนา
เพื่อสร้างงานอันยิ่งใหญ่



ตามปณิธานของพระพุทธเจ้าและครูคำสอนของครูบาอาจารย์



- พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร  ถวายเกียรติ แด่พระศักดา สุนฺทโร เป็นพระครูสังฆรักษ์ศักดา ฉายาสุนทฺโร ในฐานานุกรมของ พระราชกิจจาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในวันนี้


- ขอบคุณกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม ที่มอบบทความนี้ให้ด้วยใจแห่งมิตรภาพทางธรรม


พระครู ผู้หน่อเนื้อ.........พุทธศาสน์
สังฆรักษ์ ประกาศ.........เทอดให้
ศักดา เด่นเป็นปราชญ์...ฉลาด แสดงธรรม
สุนฺทโร จึ่งได้...............พรั่งพร้อม ดีงาม


- น้อมถวายมุทิตาจิต โดยพระวิทยากรกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม"


พระสังฆราชประทานพรสุขปีใหม่"ให้เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ"



สมเด็จพระสังฆราช ประทานพรสำหรับความสุขปีใหม่ พุทธศักราช 2561 "คนผู้มีสติมีความเจริญทุกเมื่อ"



วันที่ 18 ธ.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชได้เผยแพร่ พระคติธรรมใน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นการประทานพรสำหรับความสุขปีใหม่ พุทธศักราช 2561 ความว่า



"เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2560  เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานพระรูป ฉายเบื้องหน้าพระพุทธอังคีรส ประธานพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แวดล้อมด้วยพัดพระยศสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงได้รับพระราชทานถวายในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช 12  กุมภาพันธ์ 2560 และพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย ที่ทรงได้รับพระราชทานถวายในการพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 60 พรรษา 26 มิถุนายน 2560



พร้อมกันนี้ ได้มีลายพระหัตถ์เชิญพระพุทธภาษิต เป็นพระคติธรรม ประทานพรสำหรับความสุขปีใหม่ พุทธศักราช 2561"  ซึ่งมีข้อความว่า "สติมโต สทา ภทฺทํ" คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ"


ขณะเดียวกันสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประทานพรปีใหม่เช่นเดียวกัน



วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก"ขอนแก่นได้ละสังขารแล้ว



"หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก"ขอนแก่นได้ละสังขารแล้ว  สรงน้ำสรีระหลวงปู่ เวลา 15.00 น.ของวันที่ 18 ธันวาคม 2560



เมื่อเวลา 15.39 น.ของวันที่ 17 ธันวาคม 2560  หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก  แห่งวัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้ละสังขารแล้ว โดยกำหนดการสรงน้ำสรีระหลวงปู่บุญเพ็ง ในเวลา  เวลา 15.00 น.ของวันที่ 18 ธันวาคม 2560

.........

(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊กต้นโพธิ์)

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

นิสิตป.ตรี"มจร"เกือบ2หมื่นปฏิบัตธรรมหวังรู้เท่าทันสื่อ







"มจร"จัดนิสิตป.ตรีเกือบ 2 หมื่นปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานประจำปีการศึกษา 2560 หวังมีคุณสมบัติ  9 นวลักษณ์ "วิชายอด จรณะเยี่ยม" รู้เท่าทันสังคม-สื่อออนไลน์




เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560  ที่อาคารหอประชุม มวก.48  พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระราชวรมุนี,ดร. (พล อาภากโร ป.ธ.๙) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต  มจร ประธานคณะกรรมการโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ได้เป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าวประจำปีการศึกษา 2560  ของนิสิตระดับปริญญาตรีในส่วนกลาง  ตามระเบียบมหาวิทยาลัยทุกปีการศึกษานิสิตทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยจะต้องเข้ารับการฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนดในพิธีเปิด  โดยปีการศึกษานี้มีนิสิตทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 17,694 รูป/คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561 



พระราชวรมุนี ได้ให้โอวาทว่า จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานดังกล่าว  เพื่อพัฒนานิสิตให้รู้วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ถูกต้อง และนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน นำไปใช้และเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งส่งเสริมและพัฒนานิสิตให้เป็นไปตามอัตลักษณ์บัณฑิต และคุณลักษณ์นิสิตอันพึงประสงค์ หรือ นวลักษณ์ 9  ประการของมหาวิทยาลัย  จึงขอให้นิสิตตั้งใจสมกับที่ทุกท่านรอคอยโอกาสนี้มานาน เพื่อให้โอกาสตนเองได้ปฏิบัติสร้างความดี สร้างบารมีพัฒนาจิตใจตนเอง ขอให้ตั้งใจปฏิบัติเพื่อผลให้มีสมาธิ และสติมากยิ่งขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาเล่าเรียน และหากมีบุญกว่านั้นก็เป็นบุญบารมีของแต่ละท่านการเข้ากรรมฐานขอให้ตัดปลิโพธเครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเหตุกังวล หรือข้อติดข้องเพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี



การปฏิบัติธรรมติดต่อกัน 10 วัน ทำให้เรามีสติและสัมปชัญญะมากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเจริญเท่าไร สติสัมปชัญญะต้องคอยไปกำกับดูแล เช่น  ไม้ขีดไฟ ปรมาณู โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษอยู่ที่การนำไปใช้ ต้องมีธรรมะคอยกำกับทำดีย่อมได้ดี กรรม เหมือนแรงโน้มถ่วง คนกระโดดตึกก็ต้องตกตึก ทำดีย่อมได้ดี ทุกอย่างมีสองด้าน วิทยาศาสตร์กับศาสนา ต่างมีความสำคัญเหมือนที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า "วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาคือคนขาพิการศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์คือคนตาบอด" จะเห็นได้ว่าต้องอิงอาศัยกันและกันหากวิทยาศาสตร์ ไม่มีศาสนาก็จะกู่ไม่กลับ ต้องมีศีลธรรมกำกับไม่ให้นำไปใช้ในการทำร้ายมนุษย์ด้วยกันหากศาสนาไม่มีวิทยาศาสตร์มาเป็นพิสูจน์ จะมีความงมงายมากขึ้น




"มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการศึกษาโดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต ให้เป็นไปตามคุณลักษณ์บัณฑิตที่พึงประสงค์ และอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัย เรียกว่าจบแล้ว สำเร็จแล้วผลผลิตของมหาวิทยาลัย ต้อง “วิชายอด จรณะเยี่ยม”โดยเฉพาะนวลักษณ์ 9  ประการของมหาวิทยาลัย คือ (1) ปฏิปทาน่าเลื่อมใส (2) ใฝ่รู้ใฝ่คิด (3) ผู้นำด้านจิตและปัญญา (4) มีทักษะด้านภาษา (5) มีศรัทธาอุทิศตน (6) รู้จักเสียสละ (7) รู้เท่าทันสังคม (8) สั่งสมโลกทัศน์ (9) พัฒนานวัตกรรมเชิงพุทธอยากให้นิสิตจำให้ได้นำไปปฏิบัติ นำไปตรวจสอบว่าเราท่านทั้งหลายมีคุณลักษณ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดหรือเปล่าจะได้นำมาตรวจสอบตัวเอง" พระราชวรมุนี กล่าวและว่า



การเข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน 10  วันติดต่อกัน แม้จะเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่ทุกท่านจะได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ทำบุญสร้างบารมีด้วยตนเองงานกรรมฐานคืองานของท่าน ขอให้ทุกท่าน จงตั้งใจปฏิบัติเพื่อเป็นบุญและเป็นกุศลสำหรับตัวท่านเอง และออกไปเผยแผ่สร้างความมั่นคงให้พระพุทธศาสนาออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ ขอฝากทุกท่านเป็นลูกศิษย์ของพระวิปัสสนาจารย์ขอให้ทุกท่าน เคารพ เชื่อฟัง ตั้งใจ และปฏิบัติตามคำสั่งสอน แนะนำของท่าน ขอให้ทุกท่านจงเป็นผู้มีส่วนในบุญกุศลที่ร่วมกันปฏิบัติกันดีแล้ว จงเป็นปัจจัยเกื้อกูลสนับสนุนให้ทุกท่านได้มีโอกาสเข้าถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกัน




ขณะที่พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร  อภิฉนฺโท, ผศ.ดร. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้กล่าวรายงานว่า ปีการศึกษา 2560 นี้ มหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้ทุกวิทยาเขต วิทยาลัย โครงการขยายห้องเรียน  และหน่วยวิทยบริการ  จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานพร้อมกันทั่วประเทศตามประกาศของมหาวิทยาลัย (โดยอนุโลม) เฉพาะส่วนกลางกำหนดให้นิสิตปริญญาตรี ทุกคณะ ทุกชั้นปีจำนวนทั้งสิ้น  1782  รูป/คนเข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระหว่างวันที่  16-27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ดังนี้ 



(1) นิสิตคณะพุทธศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สวนเวฬุวัน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมจำนวน  339 รูป/คน (2) คณะครุศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน ตำบลแคมป์สนอำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย จำนวน  414  รูป/คน


(3) คณะมนุษยศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน จำนวน 613  รูป/คน (4) คณะสังคมศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ณ มหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา  จำนวน ๔๘๒ รูป/คน และมีแยกปฏิบัติตามสาขาวิชา คือ ( 1) สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ  เข้าฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ วัดพุน้อย ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี(๒) สาขาวิชานิติศาสตร์ณ พุทธอุทยานนครสวรรค์ วัดภัทรสิทธาราม  ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์



ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ครั้งนี้ มีตารางการปฏิบัติประจำวันที่นิสิต จะต้องปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้ ภาคเช้า เวลา 04.00-12.00  น. ทำวัตรเช้า /ปฏิบัติ/ฉันภัตตาหารเช้า/ปฏิบัติ/ฉันภัตตาหารเพล  ภาคบ่าย เวลา 13.00-17.00 น. แยกกลุ่มปฏิบัติ และสอบอารมณ์กัมมัฏฐาน ภาคเย็นเวลา 18.00-21.00 น. ทำวัตรเย็น/ปฏิบัติ/ฟังบรรยายจากพระวิปัสสนาจารย์/ปฏิบัติ  ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเดินทางไปร่วมทำบุญกับพระนิสิตทั้งการถวายภัตราหารและน้ำปานะตามสถานที่ดังกล่าว


กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...