วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เฟซบุ๊ก 2020 สร้าง ‘มูลค่า’​ สูงสุดจากแพลตฟอร์ม

https://businesstoday.co/technology/information-technology/28/02/2020/เฟซบุ๊ก-2020-สร้าง-มูลค่า%E2%80%8B/

การประยุกต์ใช้งาน Facebook เพื่อการเรียนการสอน https://sites.google.com/site/socialonilne5722040005/kar-prayukt-chi-ngan-facebook-pheux-kar-reiyn-kar-sxn


เฟซบุ๊ก นำโครงการ ‘We Think Digital’ เสริมทักษะดิจิทัลคนไทย https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000113444


7 เทคนิค เพิ่มการมีส่วนร่วมในหน้าแฟนเพจ Facebook สำหรับธุรกิจ
https://stepstraining.co/social/7-techniques-create-engagement-on-facebook-page

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
ยุคดิจิทัล
เล่าว่าเลคเชอร์
เน้นทันสมัย
เตรียมลำโพง Bose
ช่องเสียบ IPhoneXs Max
ใช้คลื่น 4G True
ใช้YouTube Edoc PDF Facebook สอน
มาตรฐานเดียวกันกับบรรยายนานาชาติ
ไม่เคยลดคุณค่าและคุณภาพ
เน้น “ไฮเทค” “ไฮทัช”
ใครเคยเรียนด้วยจะรู้
เลคเชอร์ยาวกว่านี้
บางเรื่องเป็นการภายใน
ถวายคำแนะนำ
อย่าประมาท!

นเสวนา “สื่อ ไม่ เสื่อม แนวทางปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต”

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
3 ชม.
ในภาวะการแข่งขันด้านสื่อสารมวลชน การทำหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารข้อเท็จจริง
ตามหลักสิทธิ เสรีภาพ บนความรับผิดชอบตามหลักจริยธรรมจรรยาวิชาชีพสื่อสารมวลชนถูกวิจารย์อย่างหนัก ทางออกและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไร
เชิญร่วมงานเสวนา “สื่อ ไม่ เสื่อม แนวทางปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต”
ในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้อง Studio 1 สถาบันการประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์ (พหลโยธิน ๗) เขตพญาไท กรุงเทพฯ
พบกับหลากหลายมุมมองจาก
นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
นายโกศล สงเนียม ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินการเสวนาโดย
นางสาวปิยะฉัตร กรุณานนท์ ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS
จัดโดยกรมประชาสัมพันธ์ และผู้เข้ารับการฝึอบรมหลักสูตร "นักบริหารงานประชาสัมพันธ์" รุ่นที่ 60
https://www.facebook.com/prdtraining/posts/2922477394461811

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ท้าวเวสสุวรรณ "กันภัยรุ่นแรก" วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.



เนื่องด้วยทาง  กลุ่มชมรมพระเครื่องทั่วไทย มีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคล "ท้าวเวสสุวรรณ กันภัยรุ่นแรก " เพื่อนำรายได้จากการเช่าบูชาวัตถุมงคลในชุดนี้ มาสมทบทุน ในการก่อสร้างโบสถ์  วัดเขาพระ  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี  และสาธารณประโยชน์ต่างๆ จึงได้รับอนุญาตการสร้างวัตถุมงคลนี้จาก ท่านเจ้าอาวาส วัดเขาพระ อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี   



ในการจัดสร้าง ท้าวเวสสุวรรณกันภัยรุ่นแรกนี้ พระพิมลภาวนาพิธาน วิ. (เจ้าคุณสวง ยุตฺตธมฺโม) รองเจ้าอาวาส  วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ก.ท.ม ได้เมตตาอธิษฐานจิตเสกเดี่ยว ฌ. วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.

ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เรียกง่าย ๆ ว่า " นายผี " เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์  สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักขะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศ โดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ 


ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบมีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4) กว่าท้าวมหาราชองค์   ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพแห่งขุมทรัพย์ เป็นมหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูติผีปีศาจทั้งปวง  ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ) 

นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเธอมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครอง พระพุทธศาสนา  ปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นต้น จำนวนการจัดสร้างทั้งหมดมีดังนี้ 




 1. ท้าวเวสสุวรรณ เนื้อทองคำ จำนวน 19 องค์ 

 2 . ท้าวเวสสุวรรณเนื้อนาค  จำนวนการจัดสร้าง  19 องค์  

3 . ท้าวเวสสุวรรณเนื้อเงิน  จำนวนการจัดสร้าง  109 องค์ 

4. ท้าวเวสสุวรรณเนื้อ 3k จำนวนการจัดสร้าง 999 องค์ 

5. ท้าวเวสสุวรรณเนื้อ 2K  จำนวนการจัดสร้าง  999  องค์ 

6. ท้าวเวสสุวรรณเนื้อกะไหล่ทอง จำนวนการสร้าง  1599 องค์ 

7 . ท้าวเวสสุวรรณเนื้อกะไหล่เงิน จำนวนการสร้าง 1599  องค์  

8 . ท้าวเวสสุวรรณ ทองแดงรมมันปู จำนวนการสร้าง  1999 องค์ และ

 9. ท้าวเวสสุวรรณขนาด 5.ซม จำนวนการสร้าง  200 องค์  

ในการจัดสร้าง ครั้งนี้ได้สร้างเทพอินทร์แปลงสี่หูห้าตา จำนวนการจัดสร้าง  1999 องค์ด้วย




คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร(บูชาประจำวัน) ตั้ง นะโม 3 จบ "อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ 

ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ    ผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา เสริมโชคเสริมลาภ ขจัดอุปสรรค กันภูตผี  ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร ป้องคุ้มครอง แคล้วคลาด  ปลอดภัย   สนใจเช่าวัตถุมงคล ท้าวเวสสุวรรณ กันภัยรุ่นแรกนี้ ติดต่อสอบถามได้ที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กทม หรือ https://www.facebook.com/profile.php?id=100031681534742

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

อธิบดี พช.ตอกย้ำเศรษฐกิจพอเพียง ทางรอด Digital Disruption


เมื่อวันที่ 17 ก.พ.นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) กระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “Digital Disruption : ความท้าทายของการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นไทยในทศวรรษ 2020” เพื่อให้ผู้นำและนักพัฒนารุ่นใหม่สามารถรับมืออย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม โดยมี นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย สำนักวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสหวิทยาการบริหารท้องถิ่น และ ผู้นำท้องถิ่นจากอำเภอต่าง ๆ ของจ.เชียงราย จำนวน 80 คน ร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุมศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา (ศูนย์อาเซียน) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

ทั้งนี้ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย อดีตรมช.มหาดไทย นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย นายมนัส โสกันธิกา อดีตรองผวจ.เชียงราย และนายอุทัย หอมนาน พัฒนาการจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมรับฟังด้วย โดยมี ผศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงนคร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์



นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ในยุคดิจิทัลหากจะกล่าวจริง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยบริหารจัดการในชีวิตประจำวันตั้งแต่ระดับตนเอง ไปจนถึงระดับชาติ เช่น การโทรศัพท์ หรือใช้ Internet สั่งอาหารให้มาส่งที่บ้าน ทำให้อาชีพการค้าขายแบบเดิม ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ทัน ดังนั้น ยุค Digital Disruption เป็นการเปลี่ยนเครื่องมือที่ทันสมัยขึ้น มาใช้ในการดำรงชีวิต แต่ไม่ใช่ทำลายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อตัวตนยังคงอยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด และจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ที่รู้จักใช้เครื่องมือเหล่านี้ ปรับตัวให้ทัน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีมาศึกษาหาความรู้ต่อยอดและการติดต่อสื่อสารต่างๆ

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสถานการณ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ก้าวตามไม่ทันก็คว้าโอกาสไม่ทัน หรือหากช้าอาจถูก Disruption ทำให้หายไป การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและไม่ใช่สิ่งที่ดี คือ เปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมที่ลืมรากเหง้า ละทิ้งภูมิปัญญา ทำให้สิ่งดีดี เหมาะแก่สภาพแวดล้อมของตนเองหายไป ต้องผสมผสานนำสิ่งที่ดีของแต่ละยุคมาปรับใช้

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเน้นย้ำถึงการพึ่งพาตนเองให้ได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ปฏิบัติได้ตามอย่างง่าย ๆ คือ ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ข้างบ้าน หรือการทำโคก หนอง นา โมเดล ที่สามารถทำให้พออยู่ พอกิน ไม่ว่าโลกจะเกิดวิกฤตอย่างไร ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤตกาณ์ต่าง ๆได้

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ขับเคลื่อนโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ควบคู่กับภารกิจด้านอื่น ๆ อาทิ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP, ปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย, การบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงาน องค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จับมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ นำนักศึกษามาขายสินค้า OTOP ออนไลน์ เป็นต้น

อธิบดี พช. กล่าวว่า ขอฝากถึงหนังสือ "นวโกวาท" ที่จะช่วยให้ทุกคนมีหลักในการครองชีวิต เป็นหลักธรรมชาติในทุกด้าน นำชีวิตสู่ความสำเร็จและทำให้สังคมเป็นสุข เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ ยุค Disruption ไม่สามารถทำลายชีวิตของเราได้ เนื่องจากยังมีหลักธรรมค้ำจุนสังคมอยู่ เพราะไม่ว่าโลกจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ หรือทางเทคโนโลยีขนาดไหน จะเป็นยุค 4G 5G หรือ 6G ถ้าคนเรายังคงยึดในเรื่องของจิตใจ รู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ภายใต้หลักการที่ทุกคนสามารถพึ่งพาช่วยเหลือตนเองให้ได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของร.9 ยุคDigital Disruption ก็จะไม่ส่งผลร้ายต่อพวกเรา

"สิ่งสำคัญที่จะประสบความสำเร็จ (success) ทั้งในชีวิต ครอบครัว และสังคม คือ “คน” ต้องมีทัศนคติที่ดี (Attitude) มองโลกในแง่ดี มีเป้าหมายให้สังคมมีความสุข ต้องมีความรู้ (Knowledge) ทั้งเทคโนโลยี สภาพภูมิสังคม การทำงานร่วมกัน การพัฒนาอย่างยั่งยืน และต้องรู้ในวิธีการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ และสุดท้ายต้องมีทักษะความสามารถ (Ability)  ในการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อนำไปขับเคลื่อนจนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้" นายสุทธิพงษ์กล่าว

นอกจากนั้น ยังทรงเคยเตือนภัย เรื่องเสือตัวที่5 หรือการที่ไทยจะพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และต่อมาก็เกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง ทรงสอนเรื่องการพึ่งพาตนเองให้ได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้คนที่ไม่ตระหนักก็มีจำนวนมาก ที่ต้องตกอยู่ในสภาพช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มีหนี้สินล้นพ้นตัว รัฐบาลก็เห็นถึงสภาพข้อเท็จจริงนั้น จึงได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการจะสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทุกคนในสังคมต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นให้ได้ และเมื่อถึงเวลานั้น จะทำให้มั่นใจได้ว่า ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปขนาดไหน คนไทยก็จะมีความสุข ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนเอง ก็จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนร่วมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่ให้เป็น "โคกหนองนาโมเดล" ตามศาสตร์พระราชาอย่างสมบูรณ์
https://www.banmuang.co.th/news/politic/180667

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

‘สื่อหิวข่าว’ จากเหตุกราดยิงโคราช ในทัศนะของนักวิชาการสื่อ ‘วิไลวรรณ จงวิไลเกษม’


ปกติสื่อทำหน้าที่ในการรายงานข่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้สื่อข่าว ผู้รายงานข่าว หรืออะไรก็ตาม คุณก็คือคนทำข่าว แล้ว

ข่าวคือ ข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ควรมีความน่าสนใจ มีความสำคัญ มีคุณค่าของความเป็นข่าว

หน้าที่ของสื่อคือต้องคิดว่าสิ่งไหนควรจะเป็นข่าว ไม่เช่นนั้นจะมีการนำสิ่งที่ไม่ใช่ข่าวมาเป็นข่าว

เหตุการณ์โคราชเป็นข่าว แต่อยู่ที่ว่าจะเสนออย่างไรถึงจะเกิดประโยชน์ เพียงใดมติใด ถือเป็นข่าวภาวะวิกฤติ สื่อมีหน้าที่ในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริง เตือนภัย ลดช่องว่างของข้อมูลข่าวสาร

ไม่ควรรายงานเป็นการแจ้งข้อมูลแก่ผู้ก่อเหตุ  ไม่ใช่รายงานว่า who what where when why  แต่ไม่มีใครบอกเลยว่าผู้เคราะห์ร้ายต้องทำตัวยังไงกับเหตุการณ์แบบนี้ คือ how  ควรจะรู้ว่าจำเป็นเพียงใดที่จะต้องรายงานเรื่องนั้นๆ แค่ไหนที่มันจะไม่ทำให้เราบกพร่องในหน้าที่ของตัวเอง และขณะเดียวกันคุณก็ต้องไม่ก้าวล่วงการละเมิดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้เคราะห์ร้าย การรายงานข่าวแบบนี้เรียกว่าการรายงานข่าวเชิงข้อมูล

สื่อไทยมีปัญหามากกับการรายงานข่าวเชิงข้อมูล มีปัญหามากกับการให้ข้อมูลกับคนดู ไม่เป็น gatekeeper (นายประตูที่คอยคัดกรองข่าวสาร) คัดเลือกประเด็นที่ควรนำเสนอ  ควรทำงานเป็นทีม สิ่งที่สำคัญก็คือคนที่อยู่เบื้องหลัง ก็คือกองบรรณาธิการที่ควรป้อนข้อมูลให้ผู้สื่อข่าวภาคสนาม

ควรศึกษาจากนักข่าวต่างประเทศ บริหารข้อมูลอย่างไร  มี database เก็บไว้ไหม data analytics, data journalism

นักข่าวมีปัญหามากเรื่องความรู้ในการรายงานข่าวแต่ละประเภท นักข่าวส่วนมากให้ความสำคัญกับเรื่องทักษะในการรายงานข่าว ต้องการคนที่จะมายืนเปิดหน้ากล้อง ยืนรายงานได้ แต่ไม่ได้ดูว่าคนคนนั้นมีความรู้พอไหม แล้วพอเกิดวิกฤติเขาก็เอาทักษะในสถานการณ์ปกติของเขามาใช้ในสถานการณ์วิกฤติ กลายเป็นสื่อทำให้คนรู้สึกไม่ปลอดภัยเสียเอง

ทัศนคติ ปัญหาคือนักข่าวภาคสนามส่วนใหญ่เป็นเด็กรุ่นใหม่ ถ้าคุณดูพวกสำนักข่าวต่างประเทศเขาจะเอาพวกมืออาชีพ ระดับมือโปรลงไปในสนาม ยิ่งถ้าคุณบอกว่าต้อง real time วินาทีต่อวินาทีแข่งกับช่องอื่น ดังนั้นมันต้องใช้สติ ใช้ปัญญาอย่างสูงมากๆ ในการตัดสินใจ เพราะทุกอย่างมันจะถูก gatekeeper รอบแรกจากผู้สื่อข่าวภาคสนาม ระบบนิเวศสื่อเปลี่ยน media ecology เปลี่ยน ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสื่อมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นอีก ทุกสื่อเป็นคู่แข่งหมด
ระบบนิเวศสื่อมันซับซ้อนมากมายเลย แล้วสื่อใหม่พวกนั้นมันไม่ต้องใช้งบประมาณที่เยอะหรือพลังงานมหาศาล ระบบธุรกิจสื่อ ที่ใช้เรื่องของสปอนเซอร์ แล้วสปอนเซอร์นั้นมันใช้มาตรวัดด้วยเรตติ้ง ดังนั้น เขาอยากให้สปอนเซอร์เข้า เขาก็ต้องทำเรตติ้งให้ได้ คือทุกอย่างมันบิดเบี้ยว โครงสร้างสื่อประเทศไทยมันบิดเบี้ยว แล้วยิ่งมาแข่งกับเพจต่างๆ ที่อยู่บนออนไลน์ ที่ กสทช. ก็ยังเข้าไปไม่ถึง เข้าไปควบคุมไม่ได้อีก และคนดูก็รู้เท่าทัน ก็อยากที่จะดูเรื่องความถูกต้อง อยากจะเห็นสื่อที่เป็นสื่อที่ดี ซึ่งสิ่งนี้ไงที่พิสูจน์ว่าคนอยากเห็นสื่อที่มีคุณภาพ พอเกิดเหตุการณ์วิกฤติแบบนี้ลองสังเกตนะ ดูอย่าง ThaiPBS ที่เรตติ้งจากต่ำในวันแรกแต่ขยับขึ้นตามลำดับ
ต้องเหมือน ทันเท่าเขา ตกข่าวไม่ได้  เพราะงั้นไม่ใช่ว่านักข่าวหิวข่าวหรอก บก. นั่นแหละหิวข่าว หิวขยะเน่าด้วย (หัวเราะ)

ละเลยว่าผลกระทบจากการรายงานของคุณกำลังให้ข้อมูลกับผู้ก่อเหตุด้วย

ทีม กองบรรณาธิการข้างในควรจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการวางตำแหน่งการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานมากขึ้น ยืนยันเลยว่านักข่าวไม่ได้ใช้โสตประสาทแค่ตาเห็นแล้วหูได้ยิน นักข่าวจะต้องใช้ปัญญาสติที่ไตร่ตรองอย่างมาก แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องอาศัยประสบการณ์ด้วย แต่ว่าลองไปดูสินักข่าวภาคสนามหลายคน ก็เป็นนักข่าวที่ประสบการณ์น้อย เคยผ่านเหตุการณ์วิกฤติมากันบ้างไหม ดังนั้นเรามองว่าการทำงานต้องทำงานเป็นทีม เพราะบางทีกองหนุนข้างในก็ใจร้าย ผลักนักข่าวตัวเองลงสนามเพื่อลงไปเจอกับวิกฤติ

สื่อต้องให้ความรู้ ให้ข้อเท็จจริง ให้คนรู้เท่าทันสถานการณ์ ไว้เป็นข้อมูลสำหรับช่วยในเวลาเกิดวิกฤติ ในการอุดช่องโหว่
 กสทช. ถามว่า กสทช. จริงจังและชัดเจนกับการกำกับขนาดไหน ปัญหาคือไม่เคยชัดเจน กสทช. ไม่มีความพร้อม แล้วโทรทัศน์ดิจิตอลเราพร้อมหรือยัง และนอกจากนั้นไม่ใช่แค่การกำกับอย่างเดียว แต่ควรส่งเสริมและสนับสนุนด้วย การกำกับก็ไม่ชัดเจน แล้วก็ไม่เคยส่งเสริม ไม่เคยสนับสนุน สทช. เป็นฝ่ายสนับสนุนให้ความรู้ ควรที่จะจัดอบรมเรื่องนี้ไหม กสทช. มีเงินอยู่ในมือ เอาเงินเขาไปตั้งเยอะแล้ว ระบบความปลอดภัย ระบบการป้องกันอาวุธที่เป็นอาวุธร้ายแรง อาวุธสงคราม มีปัญหา แล้วนักข่าวแทบไม่ไปตามเลย

ข่าวเชิงข้อมูล ข่าว investigative หรือข่าวสืบสวน(โยนิโส)





 หลักสูตรทางด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ที่จะผลิตคนทำสื่อออกไปก็ต้องมีการปรับตัว


ดังนั้น ณ ตอนนี้เขาพูดกันถึงเรื่องนี้แล้วนะว่า จริงๆ หลักสูตรที่เราเรียนกันตั้งเยอะมันไม่จำเป็นแล้วนะ จะเรียนทำไมกันนานขนาดนั้น 4 ปีนี่เหมือนหลอกเด็กนะ จบออกมาความรู้ที่เรียนเอามาใช้ไม่ได้แล้ว มัน out แล้ว แต่ท้ายที่สุดก็ให้ know how บางอย่างนะ ไม่ใช่ว่าเรียนแล้วไม่มีประโยชน์ อย่างน้อยคุณมีแบคกราวด์แล้ว คุณก็จะรู้จักการปรับใช้ ในการเรียนรู้เพิ่ม ยังไงนิเทศ วารสาร สื่อสารมวลชน ก็ต้องเรียนอยู่ อาจารย์ว่ามันก็ยังเป็นประโยชน์อยู่ แต่ขณะเดียวกัน พวกเราก็ควรที่จะเติมความรู้จากศาสตร์อื่นเข้ามาด้วย ไม่งั้นเขาก็จะบอกว่า พวกคุณมีแต่ทักษะ แต่ไม่มี knowledge ไม่มี content (หัวเราะ) กลวงอย่างเดียว มีแต่ function พูดเป็นอย่างเดียว พูดแล้วทำร้ายสังคมด้วย

https://waymagazine.org/crisis-journalism-in-case-korat-mass-shooting/

แนวทางการสื่อสารพุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/387-25600830171031.pdf 

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การสื่อสารทางการเมืองเพื่อสันติเชิงพุทธบูรณาการ

http://loei.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=2275
 กระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสั
http://buddhism.mcu.ac.th/userfiles/file/วิทยานิพนธ์/ปริญญาเอก/สันติศึกษา/2562/MCU62011602.pdf
 การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสาร การใช้ประโยชน์แล
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/3375/RMUTT%20159674.pdf?sequence=1
จังหวัดนราธิวาสพร้อมภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชนผนึกกำลัง ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติฯ สืบสาน รณรงค์ใส่ผ้าถิ่นไทย  สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
ดาวน์โหลด อ่านงาน สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ นิสิตหลักสูตรสันติศึกษา ตามลิงค์ นะครับ

ระดับ ป.โท
1.ป.โท สันติศึกษา รุ่นที่ 1 ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1Oexpa9UzRxJmjCOHe34EzEx6FC73gger?usp=sharing

2.ป.โท สันติศึกษา รุ่นที่ 2 ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1zQryNcLM_8zBAl7KM4iSshskxl-ndPf2?usp=sharing

3.ป.โท สันติศึกษา รุ่นที่ 3 ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1SFne7entbud2FKzaak-KOW6EEfmg5DyU?usp=sharing

4.ป.โท สันติศึกษา รุ่นที่ 4 ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1gddByclLHaIPD6BWihQKid2uOTGRrGiS?usp=sharing

5.ป.โท สันติศึกษา รุ่นที่ 5 ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1nM0EiK9kpm2p3AqjQq5ZjN3yW0CS6t5I?usp=sharing

ระดับ ป.เอก
1.ป.เอก สันติศึกษา รุ่นที่ 1 ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1-dmYzN576LAidnTmZNUNfQMozej2ag9P?usp=sharing

รูปแบบการสื่อสารอย่างสันติเชิงพุทธจิตวิทยา
พุทธจิตวิทยาการสื่อสารเพื่อสันติภาพ
''การุณยสาร : หนทางสู่สันติภาพ''
http://202.28.52.4/site/articlecontent_desc.php?article_id=2048&articlegroup_id=330

 แนวทางการสื่อสารเพื่อสันติภาพของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการสื่อสารเพื่อสันติภาพ 2) เพื่อศึกษาแนวคิด รูปแบบและวิธีการสื่อสารของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสื่อสารเพื่อสันติภาพของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารคำสอนของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้ทำงานใกล้ชิดหรือผู้ได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) จานวน 8 ท่าน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารเพื่อสันติภาพ คือ การสื่อสารที่มีจุดหมายในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความสงบและสามารถรับฟังความเห็นต่างทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาที่ใช้แสดงออกถึงความเมตตากรุณา เข้าใจเพื่อนมนุษย์และมองเห็นความจริงของชีวิต สื่อสารบนพื้นฐานของความรักและเข้าใจไม่ใช่บนความเห็นที่มีอคติ มุ่งนาประโยชนแของส่วนร่วมเป็นที่ตั้งมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และการสื่อสารเพื่อสันติภาพจะเกิดขึ้นได้เมื่อการรับสารหรือส่งสารของผู้บุคคลนั้นเป็นไปเพื่อความสงบ ปราศจากการเบียดเบียน ตั้งอยู่บนความเห็นถูกหรือมีสัมมาทิฏฐิ 2) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ใช้หลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพที่เป็นวิถีแห่งชีวิตที่มุ่งให้สังคมตื่นรู้ มีสัมมาทิฏฐิ ท่านมีวิธีการสื่อสารเพื่อสันติภาพผ่านการ “สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัส” โดยการใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านทางวัจนภาษา และอวัจนภาษา และมีอัจฉริยภาพในการสื่อสารให้สังคมได้เห็นความสำคัญในการเรียนรู้แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีจิตวิญญาณแห่งสันติภาพที่เข้มแข็ง มุ่งสานประโยชน์คือการให้ความรู้แก่ผู้ที่มีความสนใจในคำสอนของพระพุทธศาสนา ท่านเป็นดั่งเพชรน้าเอกแห่งพระพุทธศาสนา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณและถือว่าเป็นต้นแบบของการสื่อสารแก่ นักสันติภาพอย่างแท้จริง 3) แนวทางการสื่อสารเพื่อสันติภาพของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สามารถนามาสรุปเป็นโมเดลต้นแบบของการสื่อสารเพื่อสันติภาพ ด้วยหลัก ‘5l’ อันประกอบด้วย Intelligence คือ ความฉลาดในการใช้วิธีการสื่อสาร, Inner-peace คือ การมีสันติเป็นคุณสมบัติประจาตน, Information คือ ผู้รู้จริงรู้แจ้งในสิ่งที่สื่อสาร, Internationalism คือ สื่อสารให้เข้าใจง่ายและเป็นที่ยอมรับของสากล, Inspiration คือ การเป็นกัลยาณมิตรที่สร้างแรงบันดาลใจให้สังคม คุณสมบัติทั้งหมดจึงรวมเป็น Idol ของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในการมุ่งสร้างสันติภาพภายใน (Inner-peace) ในระดับปัจเจกชนซึ่งจะมีผลต่อสันติภาพ (Outer-peace) ในชุมชน สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลกสืบต่อไป
https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=203574
การเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระมหวุฒิชัย http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/145873.pdf

กสทช. -องค์กรวิชาชีพสื่อ ยกระดับแนวทางการกำกับดูแลสื่อร่วมกัน นำเสนอเกินมาตรฐานจริยธรรมสื่อเป็นหน้าที่ กสทช. ลงโทษตามกฎหมาย


(วันที่ 13 ก.พ.63) ตัวแทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ประชุมร่วมกับ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
โดยที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันว่า ทั้งสองฝ่าย คือ กสทช. และ องค์กรวิชาชีพสื่อ “จะส่งเสริมยกระดับแนวทางการกำกับดูแลร่วม เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างในการกำกับดูแลสื่อในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน โดยจะมีการวางกรอบแนวทางการปฏิบัติของสื่อมวลชน และในระหว่างที่กรอบแนวทางการปฏิบัติยังไม่แล้วเสร็จ จะวิธีการสื่อสารประสานงานร่วมกันระหว่าง กสทช. และ องค์กรวิชาชีพสื่อในกรณีที่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเกินกว่าการควบคุมส่งเสริมด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ ก็ต้องเป็นบทบาทหน้าที่ของ กสทช.ในการดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับประกาศต่างๆ ของ กสทช. จากเบาไปหาหนัก”
ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กล่าวว่า “ที่ประชุมเห็นตรงกันในการยกระดับแนวทางการกำกับดูแลร่วม เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างในการกำกับดูแลในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน”
นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายก สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะตัวแทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ กล่าวสรุปภายหลังการประชุมหารือร่วมกันว่า “ผลการประชุมวันนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะมีการการกำกับดูแลร่วมกัน ระหว่าง องค์กรวิชาชีพสื่อ และ กสทช. โดยทั้ง 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ จะทำงานร่วมกันในเชิงมาตรฐานด้านจริยธรรมการกำกับดูแลกันเอง ในสถานการณ์วิกฤติฉุกเฉินและสื่อเข้าไปทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าว ต่อไปองค์กรวิชาชีพสื่อจะต้องมีการสื่อสารด้วยกันเพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกันถึงบทบาทหน้าที่การทำข่าวและการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ถ้าสถานการณ์ยกระดับความเสี่ยงในเหตุการณ์และการนำเสนอข่าวและภาพข่าวที่ละเมิดจริยธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพสื่อจะติดต่อประสานไปตามช่องทางต่างๆ เพื่อส่งข้อความถึงสมาชิกทั้งหมด รวมทั้ง ผู้ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ โปรดิวเซอร์ข่าวและรายการข่าว ว่าให้ระมัดระวังในการนำเสนอข่าวไม่ละเมิดจริยธรรม จะต้องควบคุมอย่างเคร่งครัดระมัดระวัง ต่อจากนั้นองค์กรวิชาชีพสื่อจะส่งเรื่องต่อให้ทาง กสทช ว่า องค์กรวิชาชีพสื่อได้ทำอะไรไปแล้วกับกรณีนั้น ณ เวลานั้น ซึ่งต่อไปเป็นหน้าที่ของ กสทช. ตามกฎหมายในฐานะองค์กรกำกับดูแล ที่จะมีมาตรการกลไกขั้นตอนต่างๆ ตามกฎหมายที่จะนำมาใช้กับกับเหตุการณ์นั้น”

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

#มายาคติจริยธรรมสื่อ ซับซ้อน และซ่อนเงื่อน

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563    จักร์กฤษ เพิ่มพูล
4 ชม. ·
#มายาคติจริยธรรมสื่อ
ซับซ้อน และซ่อนเงื่อน

ปรากฎการณ์การรายงานข่าวในสถานการณ์อ่อนไหว ที่จังหวัดนครราชสีมา เสนอคำถามว่าด้วยจริยธรรมสื่อที่แหลมคมยิ่ง ขณะเดียวกัน ก็มีข้อเสนอที่หลากหลายจากสังคม ทั้งนักจิตวิทยา นักอาชญาวิทยา สื่อมวลชน นักวิชาการ ทั้งข้อเสนอในแง่ทฤษฎี แนวปฎิบัติ รวมทั้งกฎหมายที่มี “สภาพบังคับ” และเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนปฎิเสธมาโดยตลอด

ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการกำกับการทำงานของสื่อ ก็มีข้อเสนอให้ใช้สถานะคู่สัญญาระหว่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กับสถานีโทรทัศน์ดิจิตอล ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ จัดการสื่อที่ละเมิด

โดยเฉพาะมาตรการเข้มให้สั่งพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต หรือระงับการออกอากาศชั่วคราว

ตามกฎหมายมีเพียงกรณีเดียวที่จะใช้อำนาจตามมาตรการนี้ คือเนื้อหาที่เกี่ยวกับความมั่นคง และต้องเป็นกรณีที่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แต่หากเป็นกรณีที่คาบเกี่ยวกับจริยธรรม ไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายโดยตรง เช่น การรายงานข่าวที่เป็นปัญหาในการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจ การซ้ำเติมชะตากรรมของผู้สูญเสีย การเสนอภาพข่าวที่สยดสยอง หรือการเสนอข่าวที่เป็นการลดทอนเกียรติยศ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น กฎหมาย กสทช.ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการองค์กรวิชาชีพพิจารณา

แปลว่า ถ้าเป็นเรื่องผิดจริยธรรม ก็ยังต้องกลับมาที่องค์กรวิชาชีพ ที่เป็นองค์กรออกคำเตือนไม่ให้สื่อละเมิดจริยธรรมในตอนต้น และเป็นองค์กรเดียวกับที่กรรมการเป็นผู้ปฎิบัติงานในองค์กรสื่อที่ละเมิดจริยธรรมนั้นเอง

ดังนั้น จึงไม่ควรคาดหวัง กสทช.ว่าจะเป็นยาวิเศษแก้โรคร้ายเรื่องการละเมิดจริยธรรมของสื่อได้

คำถามจึงมีว่า เช่นนั้น ควรมีกฎหมายมากำกับ ดูแลจริยธรรมสื่อโดยตรงหรือไม่

โดยหลักการกำกับ ดูเรื่องเรื่องจริยธรรมสื่อ ไม่มีประเทศไหนในโลกใช้กฎหมายกำกับสื่อ นอกจากประเทศสังคมนิยม แต่สำหรับประเทศไทย บทเรียนการละเมิดจริยธรรมของสื่อที่ผ่านมา โดยเฉพาะในยุคที่ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไป มีสื่อที่หลากหลายมากขึ้น คนๆเดียวที่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือก็อ้างความเป็นสื่อได้ เป็นเจ้าของเพจที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องหลักการที่มีความรับผิดชอบก็เป็นสื่อได้ อาจมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายกำกับสื่อ แต่เป็นกฎหมายที่เป็นเพียง “กลไกเสริม”มิใช่ “กลไกหลัก” ในการกำกับสื่อ

การกำกับดูแลโดยมาตรการทางสังคม ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องจริยธรรม และการกำกับโดยองค์กรวิชาชีพ หรือการกำกับกันเอง ก็ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในบริบทของสังคมไทย การส่งเสริมการรวมกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นมาดูแลกันเอง ผลักให้ผู้ที่แอบแฝงมาใช้สถานะความเป็นสื่อ ออกไปอยู่นอกวง และใช้กฎหมายกำกับโดยตรงอย่างเข้มงวด คือวิธีการที่อาจเป็นความหวังในการกำราบสื่อนอกคอกได้

หาไม่แล้ว เราก็จะวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกันไม่รู้จบ ในเรื่องที่ต่างคน ต่างมอง ต่างคน ต่างคิด ตามความรู้และพื้นฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่มีใครผิด ใครถูก

ผมขอเสนอให้ ทบทวนร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ...ซึ่งได้เสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณา และผ่านความเห็นชอบแล้ว มาทบทวน และเสนอเป็นทางออกอีกทางหนึ่งให้กับสังคมไทย ในยามที่เรามองว่าสถาบันสื่อคือจำเลยของสังคมวันนี้

มีสื่ออีกจำนวนมาก ที่เป็นสื่อน้ำดี และทำงานตามวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ไม่ต้องชื่นชมยินดีก็ได้ แต่ขอให้เข้าใจเขาและใช้ความเมตตาหาทางออกสำหรับสื่อที่ละเมิด มากกว่าจะเพ่งโทษคนอื่นแต่ฝ่ายเดียว

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เลขาธิการ กสทช. เผยแนวทางการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนอเมริกา

เลขาธิการ กสทช. เผยแนวทางการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนอเมริกาและหลักการนำเสนอข่าวขององค์การอนามัยโลก กรณีเหตุการณ์กราดยิง และเหตุการณ์สะเทือนขวัญ พร้อมเสนอบอร์ด กสทช. พิจารณา เพื่อใช้เป็นแนวทางการนำเสนอข่าวในลักษณะนี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า

จากกรณีที่มีสื่อมวลชนบางรายนำเสนอรายงานสดเหตุการณ์ที่คนร้ายกราดยิง รวมถึงการรายงานแผนปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติการจับกุมคนร้ายที่ จ.นครราชสีมา สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความเสียหายจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ในลักษณะดังกล่าว

เมื่อได้ศึกษาข้อมูลที่มีการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะเดียวกันของสื่อมวลชนในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา กรณีเหตุการณ์ยิงกราด เหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ และหลักการนำเสนอข่าวสารลักษณะนี้ของสื่อมวลชนที่องค์การอนามัยโลกได้เคยให้ไว้ พบว่า

หลายประเทศมีการเลิกนำเสนอรูปคนร้ายในสื่อ เลิกการรายงานสดเหตุการณ์ ยกเลิกการนำเสนอคลิปเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ แล้ว

เพราะในต่างประเทศมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา และอาชญาวิทยา ออกมาเตือนถึงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบนี้ว่านำไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบ ซึ่งจากผลการศึกษาจำนวนมากพบว่า ข้อสันนิษฐาน ข้อสังเกตที่ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา และอาชญาวิทยาเหล่านั้น ออกมาเตือนนั้นเป็นความจริง

นายฐากร กล่าวว่า ผมเห็นด้วยกับแนวทางการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ยิงกราด เหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลกข้างต้น ที่การนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ควรมีการนำเสนอภาพคนร้าย รายละเอียด แผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คลิปเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ เพราะการนำเสนอข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จะทำให้คนร้ายทราบข้อมูลในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ส่งผลกระทบให้เจ้าหน้าปฏิบัติงานได้ยากขึ้น ทำเหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

และไม่ควรนำเสนอข่าวถี่จนเกินไป ไม่ควรลงข่าวโดยใช้พาดหัวตัวโตๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่นำเสนอข่าวดัดแปลงให้มีลักษณะน่าตื่นเต้น เร้าใจ ไม่ชี้แจงรายละเอียด ลงลึกในรายละเอียดทุกขั้นตอนว่าฆ่าตัวตายยังไง ไม่ลงรูป หรือลงคลิปมาก โดยเฉพาะกรณีการนำเสนอข่าวบุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข่าวมากเป็นพิเศษ

นอกจากนั้นยังไม่ควรลงชื่อคนร้ายในสื่อ หรือลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าให้พื้นที่สื่อกับคนร้าย อย่าขุดคุ้ยเรื่องราวของคนร้ายมานำเสนอ ให้คนสนใจ ตื่นเต้น จนเกินเหตุ เพื่อให้ขายข่าวได้ และอย่าลงการแถลงคำพูด คำสารภาพผิดของคนร้าย ต้องไม่ให้ความสำคัญกับคนร้าย จนคนร้ายกลายเป็นฮีโร่ และจะนำแนวทางดังกล่าว เสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการทำข่าวลักษณะนี้ต่อไป

นายฐากร กล่าวว่า จากเหตุการณ์การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนบ้านเราบางช่อง โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์บางสถานี ตั้งแต่ครั้งนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายของ อาจารย์สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง จนกระทั่งการรายงานสดเหตุการณ์กราดยิงที่ จ.นครราชสีมาในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ กระทบต่อจิตใจของประชาชนผู้รับชมข้อมูลข่าวสาร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ รวมถึงอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ โดยมองแบบผิดๆ ว่าเป็นฮีโร่ การกระทำดังกล่าวทำให้ตัวเองโด่งดังได้ ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมไทยได้ ผมเห็นว่า เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก และสังคมไทยไม่ควรเกิดเหตุการณ์การสูญเสียเช่นนี้อีกแล้ว การนำเสนอข่าวสารต่างๆ ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ เปลี่ยนมุมมองใหม่ ไม่ใช่นำเสนอในแนวที่เสมือนให้ผู้ชมอยู่ในเหตุการณ์อย่างเดียว แต่ต้องคิดถึงผลจากการนำเสนอข่าวสารในรูปแบบนั้นๆ ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างด้วย

ดังเช่นกลยุทธ์การนำเสนอข่าวของสหรัฐอเมริกา อย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าสื่อมวลชนบ้านเราควรนำมาปรับใช้ คือ การกระทำของคนร้ายในแง่ลบเสมอ และเน้นย้ำถึงความน่าอับอายและขี้ขลาดของการกระทำของคนร้าย อย่าลงข่าวถึงเหตุผล หรือตรรกะ จนละเอียดยิบว่าทำไมคนร้ายลงมือก่อเหตุ เพราะคนร้ายคนต่อๆ ไป มันจะรู้สึกว่าเรื่องราวที่ดู หรืออ่านจากการนำเสนอข่าวคล้ายกับตัวเอง และอย่านำเสนอข่าวเหตุการณ์เช่นนี้นานไป อย่ามีการนำเสนอคลิปเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ควรนำเสนอข่าวสั้นๆ กระชับ และอย่านำเสนอข่าวในรูปแบบอนิเมชั่น หรือนำเสนอเป็นรายงานข่าว จำลองเหตุการณ์ให้ดูซ้ำแล้วซ้ำอีก จนอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

วิทยากรต้นแบบสันติภาพ

ทัศนคติผู้รับสารยุคดิจิทัล ต้องการความ #ง่าย #น่าสนใจ #แปลกใหม่ #ได้ลงมือทำ  ซึ่งสมองที่มีคุณภาพและคุณธรรมคอยกำกับดูแล สมองมีส่วนสำคัญต่อการส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ Jim Fallon ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยา กล่าวว่าปัจจัยที่เป็นต้นกำเนิดของอาชญากรมี ๓ ประการ คือ
๑) #พันธุกรรม นักวิทยาศาสตร์ได้พบยีนชื่อว่า "Monoamine oxidase A"หรือเรียกย่อๆ ว่า MAOA ยีนตัวนี้จะส่งผลให้เราชื่นชอบความเสี่ยง ชอบการท้าทาย ชอบลองของ ชอบตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยความรุนแรง มีพฤติกรรมก้าวร้าวกว่าคนทั่วไป นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเรียกว่า "The Warrior Gene"หรือ"ยีนนักรบ"ซึ่งผู้ชายมียีนตัวนี้มากกว่าผู้หญิง เราจึงเห็นการแสดงความก้าวร้าวของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เพราะยีนนักรบส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ชาย

๒) #สมอง สมองส่วนหน้าเป็นสมองในการตัดสินใจ การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมอารมณ์ การใช้เหตุผล ซึ่งมนุษย์มีมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น งานวิจัยจากสถาบันทางสมองทั่วโลก ชี้ว่า สมองส่วนหน้าของอาชญากรมีขนาดเล็กกว่าคนทั่วไป นักประสาทวิทยาพบว่า สมองส่วนที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ "สมองส่วนหน้าเหนือเบ้าตา:Orbitofrontal cortex หรือ OFC" ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประมวลผลของเหตุการณ์และชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และโทษของการกระทำ คนที่สมองส่วน OFC มีประสิทธิภาพต่ำจะยับยั้งชั่งใจไม่เป็น ตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์ นึกถึงความสุขชั่วครู่มากกว่าความสุขในระยะยาวหรือพูดง่ายๆ คนเหล่านี้ไม่มี " สติ " ที่จะช่วยยับยั้งชั่งใจ สมองส่วนหน้าจึงมีความเกี่ยวข้องกับสติมากที่สุด ซึ่งนักจิตวิทยาพบว่าบรรดาโยคี พระจากทิเบต ผู้ฝึกสมาธิเป็นเวลานานๆจะมีเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนี้มากกว่าคนปกติ เราจึงสามารถฝึกสมองส่วนหน้าให้มีพลัง ด้วย"การฝึกสมาธิ เจริญสติ วิปัสสนากรรมฐาน"

๓) #ประสบการณ์ที่เจ็บปวดในอดีต ฐานข้อมูลจากองค์กรระดับโลกอย่างเอฟบีไอ (FBI) พบว่า อาชญากรและฆาตกรทุกคนมีประวัติแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาทุกคนมีเหมือนกันคือ "ประสบการณ์ในวัยเด็กที่เจ็บปวดรวดร้าว" เช่น ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ถูกพี่เลี้ยงกระทำชำเรา ถูกคนใกล้ชิดข่มขืน ถูกเพื่อนรุมแกล้งอย่างรุนแรง หรือขาดความรัก ส่งผลให้เป็นบุคคลเก็บกดบีบคั้น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงตามมาเพื่อเป็นระบายหรือให้ใครสักคนหรือกลุ่มคนชดใช้กับสิ่งที่เขาได้รับมาในอดีต เป็นการปลดปล่อยในทางลบ มีคำกล่าวว่า"ในโลกนี้ไม่มีคนเลว มีแต่คนที่ตัดสินใจทำความเลว"
ดังนั้น สมองส่วนหน้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับสติตามแนวทางพระพุทธศาสนา สามารถพัฒนาสมองส่วนหน้าได้ด้วยการ"ฝึกจิต เจริญสติ วิปัสสนากรรมฐาน" เพื่อการรู้จักยับยั้งชั่งใจในการดำเนินชีวิต การออกแบบกิจกรรมในการสอนจะต้องมีสติเป็นฐาน
ทฤษฎี เนื้อหาสิ่งที่ดึงดูดใจคนยุคใหม่ได้  เนื้อหาต้องว้าว  คือ ๑ #ชื่อหลักสูตร จะต้องปังและร่วมสมัย ๒ #เนื้อหา มีความน่าสนใจ ๓ #วิทยากร วิธีการสอนต้องโดนใจ
ทักษะฝึกอบรมต้อง #พูด #ลอง #มอง #แชร์ #ชม  วิทยากรกระบวนการต้องฟิน
ทีม ผู้ฟังต้องกดไลค์ใช่เลย จงตระหนักว่า #ผู้ฟังจะเรียนรู้เมื่อมีความรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนรู้นั้นสามารถตอบโจทย์ชีวิตและการทำงานได้จริง

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ถอดบทเรียนภาวะผู้นำยามวิกฤติเชิงพุทธสันติวิธี ของนายกฯหญิงนิวซีแลนด์


คุณสมบัติของผู้นำในภาวะวิกฤติที่สำคัญอันดับแรกคือทัศนคติที่เปี่ยมด้วยสติ  จะเป็นตัวควบคุมทักษะการสื่อสารทางกายด้วยสีหน้าและอากัปกิริยาที่นิ่ง สุขุม  และใช้คำพูดที่เหมาะสมเปี่ยมด้วยหลักวาจาสุภาษิตและแนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติ 

อย่างเช่นคำพูดของจาร์ซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิงนิวซีแลนด์ ต่อเหตุกราดยิงในเมืองไครสต์เชิร์ช เมื่อปีที่แล้วว่า "เขาเป็นผู้ก่อการร้าย อาชญากร และสุดโต่ง แต่เมื่อฉันพูดถึงเขา ฉันจะไม่เอ่ยชื่อของเขาออกมา ฉันวิงวอนทุกคนให้กล่าวถึงชื่อของผู้เสียชีวิตมากกว่าผู้ที่คร่าชีวิตคนอื่น เขาต้องการเป็นที่สนใจ แต่นิวซีแลนด์จะไม่ให้สิ่งนั้นกับเขา ไม่ให้แม้กระทั่งชื่อของเขา"

จะเห็นได้ว่าเธอกล่าวถึงข้อเท็จจริงของผู้ก่อเหตุแต่ไม่ได้ตัดสินหรือระบุชื่อของผู้ก่อเหตุ พร้อมกันนี้จะมีคำว่า วิงวอน และความต้องการ ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารเพื่อสันติ นั่นแสดงว่า "จาร์ซินดา อาร์เดิร์น" มีทักษะการสื่อสารเพื่อสันติชั้นเยี่ยม ทั้งนี้เพราะเธอมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารเป็นอย่างดี ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักวาจาสุภาษิตในพระพุทธศาสนา และนั่นก็แสดงว่า "จาร์ซินดา อาร์เดิร์น" ทีมที่ปรึกษาชั้นเยี่ยมเช่นกัน

Cr.https://thestandard.co/good-leadership-duties-when-faced-losses/?fbclid=IwAR3uFQd6ol7KGQejZ7o8HBYRQjCQnUJFeeQlwXOPrZN_LFXoq6v_t3jzBCw

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

พระศักดาไลฟ์สด! เตือนสติเหตุกราดยิงโคราช



เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์​  พ.ศ. 2563  จาเหตุการณ์ กราดยิงคนในห้างเทอร์มินอล 21 จังหวัดนครราชสีมา พระศักดา สุนฺทโร ได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กพระศักดา สุนฺทโร เตือนสติ

แนวปฏิบัติของสื่อมวลชนในสถานการณ์วิกฤต เน้นเฉพาะการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในสถานการณ์ก่อวินาศกรรมหรือก่อการร้าย
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวต้องไม่นำเสนอข่าวหรือภาพข่าวที่เป็นการเปิดเผย ข้อมูล รายละเอียดทางยุทธศาสตร์ หรือยุทธวิธีที่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างทางการเมือง ศาสนา สังคม วัฒนธรรม และภาษาถิ่น ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงระมัดระวังการนำเสนอประเด็น ข้อเท็จจริงหรือภาษาที่กระตุ้นให้สถานการณ์ขยายความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงหลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับต้นเหตุ แรงจูงใจ องค์ประกอบในการก่อวินาศกรรมหรือการก่อการร้าย รวมถึงการขยายขอบเขตในการก่อวินาศกรรมหรือการก่อการร้ายโดยปราศจากข้อมูลหรือการยืนยันจากฝ่ายความมั่นคงของรัฐ อันอาจกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นเหตุให้เกิดความตื่นตระหนกของประชาชน หรือกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
บทเรียนจากสหรัฐ: พฤติกรรมเลียนแบบก่อเหตุรุนแรงผ่านสื่อ?
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12:46 น.เขียนโดยลดา ตรีศักดิ์ศรีสกุล แปลหมวดหมู่เวทีทัศน์Tagsพฤติกรรมเลียนแบบ | บทเรียน | สื่อ | เหตุรุนแรง | สหรัฐอเมริกา
 Share Tweet
"...องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้เคยเผยแพร่เทคนิคการลดอัตราการเลียนแบบทั่วไปซึ่งได้ผลมาแล้วกับอัตราการฆ่าตัวตายคือ ลดระดับความเข้มข้นของพาดหัวข่าว การลดรายละเอียดที่นำเสนอในข่าวหรือการรายงานข่าวซ้ำไปซ้ำมา ยุติการนำเสนอขั้นตอนการก่อเหตุ และควบคุมจำนวนภาพหรือวิดีโอที่เผยแพร่ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ก่อเหตุเป็นผู้มีชื่อเสียง..."

 isratical0902631

เมื่อพูดถึงเหตุการณ์กราดยิงสิ่งแรกที่เข้ามาในความคิดของใครหลายคนก็คงจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ปรากฏข้อมูลจาก Gun Violence Archive (GVA) ว่าในปี 2562 ประเทศสหรัฐอเมริกามีเหตุการณ์กราดยิงเกิดขึ้น 417 ครั้ง ซึ่ง 31 ครั้งเป็นการสังหารหมู่ โดยตัวเลขดังกล่าวนับได้ว่าสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปี 2557

GVA รวมทั้งสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกาหรือ FBI นิยามการกราดยิงอย่างไม่เป็นทางการคือ เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงอย่างน้อย 4 คนยกเว้นผู้ก่อเหตุ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการหยิบยกขึ้นเพื่ออธิบายเหตุผลของตัวเลขที่สูงขึ้นคือเรื่องของพฤติกรรมเลียนแบบ (copycat) โดยพฤติกรรมทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นจากการเลียนแบบทั่วไปหรือ Generalized Imitaion หรือความสามารถในการแสดงพฤติกรรมที่เหมือนกับพฤติกรรมที่ถูกสังเกตหรืออธิบายไว้ ซึ่งเป็นทักษะที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กและค่อย ๆ พัฒนาทักษะจากประสบการณ์ชีวิตของผู้เลียนแบบ นอกจากนี้ ยังเปรียบเทียบพฤติกรรมกับโรคติดต่อ (contagion) ถึงแม้ว่าการกราดยิงจะไม่ใช่เชื้อโรคที่ติดต่อได้จากการสัมผัส แต่ผลลัพธ์คือการคาดการณ์ได้ว่าเมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ ได้มีการวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมที่ถูกเลียนแบบนั้น โดยทั่วไปมักจะไม่ได้มาจากการสังเกตการณ์ในชีวิตจริงของผู้ก่อเหตุเอง แต่มักจะเป็นข้อมูลที่ได้รับผ่านรายงานข่าวของสื่อไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวหรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ 

วิธีการรายงานข่าวของสื่อยังอาจเป็นอีกปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเลียนแบบเนื่องจากปริมาณการนำเสนอข่าวของสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งภาพ ข้อมูลส่วนตัวของผู้ก่อเหตุ รวมถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ ซึ่งส่งผลโดยตรงให้เกิดการเลียนแบบ

เหตุการณ์แต่ละครั้งยิ่งเกิดความอื้อฉาวมากเท่าไหร่ก็อาจยิ่งแปลความได้ถึงความสำคัญของผู้ก่อเหตุมากขึ้นเท่านั้น การเผยแพร่ภาพผู้ก่อเหตุถือปืนแสดงให้เห็นถึงความแกร่งและอันตราย จำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับการรายงานยิ่งแสดงถึงความสำเร็จของการก่อเหตุ การรายงานลำดับเหตุการณ์สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติการของผู้ก่อเหตุ ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบรวมกันเป็นแรงผลักดันให้เกิดบุคคลอื่นทำการเลียนแบบพฤติกรรม

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้เคยเผยแพร่เทคนิคการลดอัตราการเลียนแบบทั่วไปซึ่งได้ผลมาแล้วกับอัตราการฆ่าตัวตายคือ ลดระดับความเข้มข้นของพาดหัวข่าว การลดรายละเอียดที่นำเสนอในข่าวหรือการรายงานข่าวซ้ำไปซ้ำมา ยุติการนำเสนอขั้นตอนการก่อเหตุ และควบคุมจำนวนภาพหรือวิดีโอที่เผยแพร่ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ก่อเหตุเป็นผู้มีชื่อเสียง นอกจากนี้ในกรณีของผู้ก่อเหตุกราดยิงนั้น FBI ยังได้มีการเพิ่มนโยบายไม่เผยแพร่ชื่อ หรือ "Don’t Name Them" เพื่อลดการให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ และรวมไปถึงการปฏิเสธการเผยแพร่ข้อความหรือวิดีโอใด ๆ ของผู้ก่อเหตุ
ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีข้อเสนอแนะให้รายงานพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุในแง่ลบ เผยแพร่การกระทำของผู้ก่อเหตุในลักษณะที่เป็นเรื่องน่าอายหรือขี้ขลาด รวมทั้งให้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษอีกด้วย ซึ่งโดยความน่าอายทั้งหลายนั้นมักจะส่งผลแง่ลบต่อความพยายามเลียนแบบพฤติกรรมด้วย

การลดการให้ข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับสาเหตุของการก่อเหตุก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง เพื่อลดความเชื่อมโยงทางอารมณ์ความรู้สึกระหว่างผู้ก่อเหตุและผู้สังเกตการณ์ลง

การรายงานข่าวของสื่อเองจะต้องลดจำนวนลงทั้งในการนำเสนอข่าวสดหรือการติดตามข้อมูลต่อเนื่องซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลาหลายสัปดาห์ รวมไปถึงการนำเสนอข่าวแต่เพียงข้อเท็จจริงโดยไม่เพิ่มสีสัน รายละเอียดเชิงลึก "ดราม่า" หรือสิ่งกระตุ้นความน่าสนใจอื่น ๆ ลงในเหตุการณ์ที่นำเสนอ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการลดความ "กระหายข้อมูล" ของบุคคลทั่วไปรวมไปถึงผู้ใช้โซเชียลมีเดียทุกคนด้วย

ทั้งนี้ เมื่อปี 2558 ยังได้มีกลุ่มนักวิจัยทำการพิสูจน์ในเชิงคณิตศาสตร์ถึงสภาวะติดต่อของการสังหารหมู่และการกราดยิงในโรงเรียนอีกด้วย โดยผลวิจัยได้ข้อสรุปว่า การกราดยิงครั้งหนึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นไปได้ที่เกิดเหตุการณ์ครั้งต่อไปภายในระยะเวลา 13 วันและการกราดยิงในโรงเรียนหนึ่งครั้งอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ครั้งต่อไปเฉลี่ยอยู่ที่ 0.22 เหตุการณ์ ซึ่งการรายงานข่าวอย่างหนักของสื่อมีผลต่อตัวเลขด้วย (ที่มา: https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0117259)

ในท้ายที่สุด ถึงแม้สื่อจะไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวในเหตุการณ์กราดยิงและมีอีกหลายแนวทางที่ต้องนำมาปฏิบัติเพื่อป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน แต่ก็ได้มีการค้นพบว่าสื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลอันนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรายงานข่าวของสื่อและการวางหลักเกณฑ์วิธีการนำเสนอข่าว การสร้างความตระหนักรู้ให้กับโลกออนไลน์ รวมถึงกระแสสังคมที่ช่วยกันสร้างความเข้าใจร่วมกันย่อมเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้



เรียบเรียงจาก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5296697/ 
https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0117259 
https://www.latimes.com/california/story/2019-08-11/mass-shooters-seek-notoriety-in-media 



ทางเลือกและทางรอดหลังกรณีสังหารหมู่
Surviving the Mass Shootings
“การก่อเหตุร้ายเป็นวงกว้าง” หรือ “การสังหารหมู่” หรือ การสังหารผู้คนเป็นจำนวนมาก ๆ ในครั้งเดียวกัน นอกจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวผู้ที่สูญเสียแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและความเชื่อมั่นของประชาชนโดยทั่วไปด้วย อีกทั้งยังอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศในระยะยาว จึงจำเป็นจะต้องมีมาตราการที่เหมาะสมมาป้องกันหรือรองรับ
ในสหรัฐอเมริกา การสังหารหมู่โดยการใช้อาวุธปืน ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเกิดขึ้นทุก ๆ 12-13 วันจากการศึกษาของ Lankford ที่ไปศึกษาเหตุการณ์ใน 171 ประเทศ เมื่อปี 2016 ซึ่งของอเมริกานับเป็นสัดส่วนกว่า 30% เมื่อเทียบกับของทั้งโลก
ในประเทศไทย ยังไม่มีการรวบรวมสถิติแบบเดียวกัน และเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่โคราช ก็ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย แต่เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องถอดบทเรียนของเราเองและนำเอาบทเรียนของประเทศอื่น ๆ ที่คล้ายกับเรามาปรับใช้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายแบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันขึ้นอีก
มาตรการของหลาย ๆ ประเทศที่น่าสนใจ ก็คือ
1. เร่งรัดยกระดับมาตรการการรักษาความปลอดภัย การควบคุมอาวุธปืน ทั้งในเมือง ในศูนย์การค้า และในชุมชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย หรือเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ
2. เยียวยาผู้ที่สูญเสียและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างรวดเร็ว
3. บรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยาของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
4. เริ่มดำเนินการระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ รวมทั้งการปรับแนวทางการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน และการสื่อสารสมัยใหม่ของบุคคล
สิ่งที่พูดกันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในเวลานี้ ก็คือการสื่อสารในยามวิกฤต ซึ่ง James Meindl และ Jonathan Ivy (ในวารสาร American Journal of Public Health เมื่อสามปีก่อน) ได้ชี้ให้เห็นว่าองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ได้ศึกษาเรื่องนี้มากว่า 50 ปีแล้ว และก็มีข้อแนะนำที่น่าสนใจว่า
1. ไม่ควรใส่อารมณ์ความรู้สึกเข้าไปในการรายงานข่าว
2. ไม่ควรพาดหัวข่าวใหญ่โตเกินไป
3. ไม่ควรด่วนสรุปว่าเป็นเพราะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เพราะในความเป็นจริง จะมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน
4. ไม่ควรจะรายงานซ้ำ ๆ หรือย้ำบ่อย ๆ
5. ไม่ควรจะนำเสนอขั้นตอนการสังหารโดยละเอียด อันจะนำไปสู่การลอกเลียนแบบ หรือการเรียนรู้ได้ง่าย
6. จำกัดการนำเสนอของรูปภาพและคลิปวีดิโอให้น้อย เพื่อลดผลกระทบลง
7. ระมัดระวังในการนำเสนอ ไม่ให้ผู้กระทำผิดถูกยกย่องชื่นชมหรือเป็นแบบอย่าง รวมทั้งเรื่องการสังหารตัวเอง
ซึ่งข้อแนะนำดังกล่าว ทางรัฐบาลอเมริกัน โดย FBI ได้นำไปเป็นนโยบายในการสื่อสารชื่อว่า “อย่าไปเอ่ยชื่อเขา” (Don’t Name Them) และได้นำไปใช้ในกรณีที่อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของเรือนจำชาวอเมริกันที่มีพ่อแม่อพยพมาจากอัฟกานิสถานได้สังหารคนที่มาเที่ยวไนต์คลับไป 49 คนและบาดเจ็บอีก 53 คน ที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา เมื่อหลายปีก่อน
นอกจากนี้ James Meindl และ Jonathan Ivy ยังได้มีข้อเสนอที่น่าสนใจในการสื่อสารอีก 5 ประการ คือ
1. สื่อสารให้เห็นถึงความน่าละอาย การละเมิดศีลธรรม จรรยาบรรณ ความขลาดกลัวของมือสังหาร ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ผู้ทำผิดถูกชื่นชมหรือยกย่อง
2. หลีกเลี่ยงการอธิบายเหตุผลของมือสังหาร เพราะซับซ้อน และจะทำให้คนอื่นที่มีปัญหาคล้าย ๆ กัน อาจเลือกแนวทางรุนแรงเป็นทางออกได้
3. ลดเวลาออกอากาศให้สั้นหรือให้พื้นที่การสื่อสารให้น้อย เพราะการให้เวลาหรือให้พื้นที่สื่อมาก ๆ จะเป็นการให้รางวัลและเพิ่มสถานะทางสังคมของผู้ทำผิด
4. ควบคุมการให้ข่าวและการแถลงข่าวสดหลังเหตุการณ์ ถึงแม้ว่าอาจจะมีความต้องการบริโภคข้อมูลเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เกิดความน่าสนใจหรือ “ความตื่นเต้น” เกินความจำเป็น
5. นำเสนอแต่ข้อเท็จจริงสั้น ๆ อย่าผลิตหรือทำซ้ำอะไรที่เป็น “ดราม่า” โดยเฉพาะไม่ควรพาดหัวว่า “Breaking News” เพื่อสร้างความเร้าใจเพิ่มขึ้น
6. ไม่ควรลำดับเหตุการณ์โดยละเอียดทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการสังหาร เพราะรายละเอียดเหล่านี้จะถูกนำไปลอกเลียนแบบได้ง่าย
ทั้งหมดนี้ สังคมไทยก็คงจะต้องพิจารณากันว่า อะไรจะเป็นทางเลือก อะไรจะเป็นทางรอดของเรา จากความรุนแรงที่น่ารังเกียจและสมควรได้รับการประณามเช่นนี้

อันมาก
ดังนั้นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวในรูปแบบต่างๆ ของเหตุการณ์ควรต้องมีความระมัดระวัง และยึดหลักการนำเสนอข่าวในภาวะวิกฤติทั้งในขณะที่กำลังเกิดเหตุ และหลังการเกิดเหตุ ที่การนำเสนอข่าวนั้นจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนยืนยันในสิ่งที่ที่เกิดขึ้น ไม่ซ้ำเติมสถานการณ์ หรือเสนอข่าวที่จะก่อให้เกิดอันตรายตัวต่อประกัน และจะต้องไม่ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ประสบเหตุ
ทางสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการนำเสนอข่าวในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นองค์กรสมาชิกของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาชิกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย รวมถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อทุกภาคส่วน คงจะตระหนักและยึดมั่นต่อจริยธรรมทางวิชาชีพและไม่ก้าวล่วงสู่การระทำผิดทางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ และให้ความเคารพต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัว รวมถึงผู้บาดเจ็บและคนที่ถูกควบคุมเป็นตัวประกัน
ทั้งนี้ทางสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จะเร่งประสานองค์กรวิชาชีพสื่อและผู้ประกอบการสื่อรวมไปจนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกับดูแลสื่อต่างเข้าร่วมประชุมเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการกำกับดูแลการนำเสนอข่าวต่อไป
ด้วยความเคารพต่อจริยธรรมทางวิชาชีพของสื่อมวลชน
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
8 กุมภาพันธ์ 2563
ในสถานการณ์ข่าวอ่อนไหว ข่าวที่สุ่มเสี่ยงต่อความเป็นความตายของเพื่อนมนุษย์ ย่อมมีหลัก มีวิธีคิดในการรายงานข่าวแตกต่างจากข่าวทั่วไป ไม่เพียงรายงานปรากฎการณ์ หรือเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น คนทำข่าวยังต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบที่จะไม่ช้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงอีกด้วย
โดยเฉพาะเมื่อเกิดการสูญเสีย คนข่าวต้องตระหนักว่า ไม่ควรไปซ้ำเติมชะตากรรมผู้ที่สูญเสีย ด้วยการตั้งคำถามที่กระทบจิตใจผู้ที่เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นญาติพี่น้องของเขา ว่ารู้สึกอย่างไร อีกทั้งไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชนที่จะต้องไปแจ้งข่าวความตายของเขา แทนที่เขาจะได้รับรู้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ปรากฎการณ์ข่าวอ่อนไหวที่โคราช เสนอคำถามในวิธีคิด วิธีทำงานของสื่อมวลชนหนักหน่วงยิ่ง พวกเขาต้องการเพียงขายข่าว ตอบสนองสัญชาติญาณความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ สร้างเรทติ้ง หรือนับว่าตนเองก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบสังคมนี้ เช่นเดียวกับคนไทยคนอื่นๆ
แน่นอนว่า ในการรายงานข่าวไม่ว่าจะเป็นข่าวประเภทใด นักข่าวยังต้องรายงานข้อเท็จจริง อย่างครบถ้วน และรอบด้าน ต้องเคารพ “สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร” ของประชาชน แต่ขณะเดียวกัน ในปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจมีข้อมูล ข้อเท็จจริง บางเรื่องที่ไม่สมควรรายงานขณะนั้น เพราะอาจเป็นปัญหาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ จึงต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ
ต้องชั่งน้ำหนัก และให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบ มากกว่าการขายข่าว
ปฏิบัติการทหารกราดยิงผู้คนที่โคราช เป็นข่าวอ่อนไหว ที่มีความละเอียดอ่อนยิ่ง สำคัญยิ่งคือการไม่ไปซ้ำเติมชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ด้วยจิตสำนึกความเป็นมนุษย์เท่านั้น ที่จะคิดเช่นนี้ได้

                                                      จอกอ

นายกฯกระตุกจิตสำนึกสื่อ ติงออกอากาศหมดทุกอย่าง คนร้ายรู้ตัวหมด-จนท.ทำงานยาก
Source - มติชนออนไลน์
Sunday, February 09, 2020 15:25
          นายกฯ สั่งจิตแพทย์เข้าประเมินทหารในค่าย พร้อมกำชับผู้บังคับบัญชาเอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ลูกน้อง ยืนยันเยียวยาจนท.-ปชช.ที่ได้รับผลกระทบ ขอสังคมสื่อ-โซเชียลลดแรงกดดันหวั่นเป็นแรงส่งซ้ำเติมสุขภาพจิต ติงสื่อ ออกอากาศหมด ทำคนร้ายรู้ จนท.แก้ปัญหายาก
          เวลา? 13.35 น.? ที่? พล.ม.2? พล.อ.ประยุทธ์? จันทร์โอชา? นายกรัฐมนตรี? และรมว.กลาโหม? แถลงข่าวภายหลังเดินทางกลับจาก? จ.นครราชสีมา? ทันที? ว่า?
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายและการดูแลต่างๆ ในขั้นต้นทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้าไปดูแลและสำรวจ ซึ่งมีงบประมาณส่วนหนึ่งอยู่แล้วในการใช้ฉุกเฉิน รวมถึงกระทรวงต่างๆที่จะเข้าไปดูแล ดังนั้นประชาชน ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลจะไม่ต้องเสียเงิน เพราะรัฐบาลจะดูแลทั้งหมดไม่ว่าจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน ในส่วนผู้เสียชีวิตก็จะมีเงินช่วยเหลือในการจัดงานศพและต้องดูแลเป็นพิเศษ ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตก็เป็นไปตามกฎระเบียบมีการเลื่อนขั้นชั้นยศตามระเบียบที่มีอยู่แล้วเดิม ซึ่งครอบครัวก็เสียใจแต่ก็คงภูมิใจในการทำหน้าที่ อีกทั้งสิ่งเหล่านี้ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่ามีอะไรอยู่แล้วบ้าง โดยรัฐบาลต้องดูแลและทำตามมาตรฐานที่มีอยู่แล้วเดิม หากจะไปปรับปรุงก็ต้องไปดูวงเงินงบประมาณว่าพอเพียงหรือไม่
เมื่อถามว่าจะมีการส่งจิตแพทย์เข้าไปพูดคุยในค่ายทหารหรือไม่ เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เป็นภาพลบกับทหาร นายกฯ กล่าวว่า ตนได้สั่งไปแล้วและกรมสุขภาพจิตได้เข้าไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานไปดูแลประชาชน ดูแลผู้บาดเจ็บ และเข้าไปประเมินในค่ายทหาร รวมถึงได้สั่งการให้ผู้บังคับบัญชาดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากขึ้น ให้สอบถามถึงครอบครัวเพราะทุกคนต่างมีภาระทั้งหมด ไม่ว่าจะหนี้สิน ความกดกัน ไม่ว่าทหารหรือพลเรือนก็มีเหมือนกัน ตนเองก็มี แต่ถ้าเรามีเพื่อนหรือผู้บังคับบัญชาที่เอาใจใส่ เข้าไปพูดคุยก็ดี เช่นในกรณีนี้เพื่อนผู้ก่อเหตุก็ไม่รู้ว่าผู้ก่อเหตุ มีปัญหาอะไรมาก่อน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดมา 2-3 วันแล้ว แต่เขาก็ไม่พูดคุยกับใครนั่นคือแรงกดดันที่เกิดขึ้น ทั้งนี้สุขภาพจิตของคนเราจะมากหรือน้อยอยู่ที่แรงกดดันและแรงส่งจากภายนอก ทั้งจากการใช้สื่อและการเสพโซเชียลที่ทำให้แรงขึ้น เราจึงต้องช่วยกันลดจะไปโทษใครไม่ได้
นายกฯ กล่าวว่า สิ่งที่คนเป็นห่วงอีกอย่างคือ ประชาชนโพสต์เข้ามาขอให้มีการปฏิรูปสื่อ ซึ่งตนคงไปแตะต้องท่านไม่ได้มากนักหรอก เป็นเรื่องของสื่อเองที่จะทำจิตสำนึกได้อย่างไร หลายอย่างจะเห็นได้ว่าทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่ทำออกสื่อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาพ ข่าว หรือการเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ ขณะนั้นการใช้โทรศัพท์ เฟสบุ๊คของผู้ก่อเหตุยังปิดไม่ได้ เห็นหรือไม่ เขาจึงรู้หมดเจ้าหน้าที่กำลังทำอะไร นี่คืออันตรายที่มันจะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ขอให้ฟังเจ้าหน้าที่ และสอบถามเป็นขั้นเป็นตอน เพราะการไปสอบถามคนนั้นคนนี่ไปออกอากาศบางทีมันพัลวันพัลเกกันไปหมด ส่งผลให้แก้ปัญหายากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราควรร่วมมือกันใช่หรือไม่
“ทุกอย่างต้องมีบทเรียน ผมก็มีบทเรียนของผม สื่อก็มีบทเรียนของสื่อ เข้าใจหรือไม่ ประชาชนก็มีบทเรียนว่าต้องทำอย่างไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ มันเรียกกลับมาไม่ได้ สิ่งที่เราต้องทำต่อคือแก้ปัญหาเหล่านี้ต่อไปอย่างไรด้วยความรัก ความสามัคคี ความห่วงใย หยุดสร้างความเกลียดชังเหล่านี้สำคัญสุดในวาระนี้ และวาระต่อไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_1958679

"วรัชญ์" นักวิชาการชื่อดังแนะ "6สิ่ง"ที่ "สื่อ" ควรทำหลังวิสามัญคนร้าย
วันนี้ (9 ก.พ.63) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุคระบุถึงสิ่งที่สื่อมวลชนควรปฏิบัติ ดังนี้


"สิ่งที่สื่อควรทำต่อจากนี้ หลังจากวิสามัญคนร้ายแล้ว
1. หลีกเลี่ยงการพูดชื่อคนร้ายให้มีเอ่ยถึงน้อยที่สุด และไม่ควรนำเสนอภาพของคนร้ายประกอบข่าว ไม่ว่าจะภาพเป็นหรือภาพตาย โดยเฉพาะภาพจาก Facebook ของคนร้าย เพราะภาพใน Facebook ของคนร้าย คือภาพที่คนร้ายต้องการจะโชว์ อย่าทำความต้องการของคนร้าย ถ้าลงไปแล้วควรจะลบ ถ้าจะใช้ อาจใช้เพียงภาพบัตรประชาชน และไม่ควรใช้บ่อย อย่าสร้างคนร้ายให้เป็นซูเปอร์สตาร์ แต่ให้กลายเป็นเพียงคนเลวคนหนึ่งที่จะไม่มีใครจดจำได้อีก
2. ให้เกียรติผู้เสียชีวิต อย่านำเสนอภาพผู้เสียชีวิต ไม่ว่าจะเบลอหรือไม่เบลอ หากจะนำเสนอ ให้นำเสนอภาพที่ดี ที่ได้จากญาติ หรือได้รับอนุญาตในการใช้แล้ว

3. อย่าคาดเดา หรือเอาไมค์ไปจ่อปากเพื่อน แม่ หรือญาติคนร้าย ให้พูดแก้ตัวแทนคนร้ายถึงเหตุผลในการฆ่าคน รายงานเฉพาะข้อมูลที่ทางการแถลงแล้วเท่านั้น

4. อย่าอธิบายรายละเอียดในการก่อเหตุอย่างละเอียด เพราะมันจะกลายเป็นการก่อให้เกิดการเลียนแบบ และอาจมีข้อมูลผิดพลาด โดยเฉพาะลักษณะของการวางแผนและการต่อสู้

5. อย่าละเมิดสิทธิผู้อื่นในการทำข่าว โดยเฉพาะญาติผู้เสียชีวิต อย่าทำอะไรที่จะเป็นการซ้ำเติมความโศกเศร้า อย่ามองเห็นพวกเขาเป็นเพียงแค่แหล่งข่าว แต่แสดงความเห็นอกเห็นใจในฐานะเพื่อนมนุษย์ผู้กำลังประสบความทุกข์อย่างยิ่ง

6. อย่าวนเวียนเอาแต่นำเสนอข่าวความสูญเสีย หรือดรามาต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากช่วงเวลาที่ก่อเหตุ ที่ก่อให้เกิดความโศกเศร้า จิตตก หวาดกลัว แต่ควรคิดและสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ให้กำลังใจ และช่วยกันสร้างสังคมเราให้ดีขึ้น ป้องกันและเฝ้าระวัง นำเสนอเรื่องดีๆ น่าประทับใจที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนกล้า คนเสียสละ คนทำดี คนเหล่านี้ต่างหากที่เราทุกคนต้องจดจำ ไม่ใช่คนร้าย
เราทุกคนก็เช่นกันครับ ช่วยกันให้กำลังใจผู้ประสบเหตุ เจ้าหน้าที่ ช่วยกันคิดว่าจะสร้างสังคมเราให้ดีขึ้นได้

อย่างไร ถ้าพบเห็นการทำผิดข้อใดข้อหนึ่ง ช่วยกันเข้าไปทักท้วง ใครส่งภาพโหดเหี้ยมสยดสยองมาต้องบอกว่าอย่าทำแบบนี้

แต่ก็เชื่อได้เลยว่า พูดยังไง สื่อก็จะทำข้อใดข้อหนึ่งอย่างแน่นอน แต่ขอให้สื่อรู้ไว้ว่า ต่อจากนี้เค้าจะไม่ด่าคนร้ายแล้ว เค้าจะด่าสื่อ"

https://siamrath.co.th/n/131728?fbclid=IwAR06Q4Z-EShKemIUdMwfMhq7ekIEsetuowoBXhRVFrDWkD66xLjdAoNlJlw

ติพี่น้องของผู้เสียชีวิตหรือไม่ – ไม่มีกฎหมายใดระบุไว้ว่าทำไม่ได้ แต่จริยธรรมวิชาชีพสื่อสากล ระบุว่าไม่ใช่หน้าที่ของสื่อ เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหว ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเป็นผู้แจ้งข่าว
.
ประเด็นมีต่อไปว่า ที่ผ่านมา สื่อก็รายงานชี่อผู้เสียชีวิตกันเป็นเรื่องปกติ ต่างกันตรงไหน กรณีนี้มีข้อถกเถียงได้ว่า เพราะเจ้าหน้าที่เป็นผู้เปิดเผยรายชื่อให้สื่อไปรายงาน เพื่อให้ญาติผู้เสียชีวิตได้ทราบ - จึงไม่มีข้อยุติในทางจริยธรรมที่ชัดเจนของสื่อบ้านเรา
.
อย่างไรก็ตาม หากดูผลจากวิธีที่สื่อโทรทัศน์ติดต่อสองต่อสอง ผลที่ได้รับคือเสียงร้องออกอากาศ กับวิธีรายงานชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมดไปพร้อมกัน อันเป็นการสื่อสารทางเดียว เมื่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้ทราบจากข่าวที่ประกาศ ผู้ชมอื่น ๆ ก็ไม่รู้สึกสะเทือนใจไปกับเสียงร้อง – จากความแตกต่างนี้ น่าจะทำให้มีข้อพิจารณาในการกำหนดแนวปฏิบัติในโอกาสต่อไป
.
หมายุเหต: มีข้อสังเกตว่า ผู้จัดรายการโทรทัศน์ช่องนี้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝงที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วหรือไม่ เช่นนั้น ก็เป็นเรื่องที่สังคมผู้รับสารควรร่วมกันพิจารณาแล้ว
สื่อ “แหกคอก” ใครบอกก็ไม่ฟัง
https://www.thansettakij.com/content/normal_news/421197?fbclid=IwAR1gxxOA0GbStxwAjvhb29xP6FhcfwopKsBJ9Pcvqp4TUVGWWutN-Jo9YBs#.XkDYSUOhFJI.facebook
Anjira Assavanonda
4 ชม. · 

จากเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช เห็นเพื่อนสื่อหลายคน พยายามหาสาหตุ และตั้งคำถามกับระบบโน้นนี้มากมาย แต่กลับไม่เคยย้อนมองดูตัวเอง อยากให้สละเวลาอ่านข้อเขียนนี้กันสักนิด ปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุรุนแรงครั้งนี้ขึ้น คงไม่ใช่เพียงแค่ความไม่เป็นธรรมในระบบทหาร แต่มีอีกมากมายหลายสิ่งประกอบกัน และสื่อก็เป็นสาเหตุหลักหนึ่งในนั้น นอกจากมีส่วนกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ การนำเสนอข่าวแบบไร้มโนสำนึก ยังทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานลำบาก นำไปสู่เหตุการณ์ที่ยืดเยื้อและความสูญเสียที่มากขึ้นโดยไม่จำเป็น ทุกสิ่งและทุกฝ่ายที่แวดล้อมล้วนมีส่วนผลักดันและต้องรับผิดชอบร่วมกัน ก่อนที่จะเรียกร้องให้กวาดล้างระบบที่อื่น สื่อควรกวาดบ้านตัวเองก่อนไหม เปิดหูเปิดตา ฟังเสียงก่นด่าของสังคมกันบ้าง แต่ละเสียงไม่ใช่เบาๆ นะจ๊ะ
เห็นด้วยอย่างยิ่งคะ สื่อสมัยนี้ เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ไม่ต้องอะไรอื่นไกล การโฆษณาสินค้า ความสวยงาม ทำเกินพอดี อนาคตต่อไป เราจะเห็นแต่คนสวยหล่อ แบบเกาหลี บล็อคเดียวกันหมดเลย 55555

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
19 นาที · 
#มายาคติว่าด้วยสื่อละเมิดจริยธรรม

เหตุใดคำเตือนถึงสื่อที่ละเมิดจริยธรรม จึงคล้ายย่ำรอยเท้าลงไปบนผืนทราย สื่อที่ละเมิดก็ยังคงละเมิดต่อไป วนเวียนเช่นนี้ไม่รู้จบสิ้น

มีความจริงบางด้านที่เราอาจมองข้ามไป มีความจริงอีกบางด้านที่เราอาจไม่แฟร์ สำหรับคนทำงานสื่อ ที่มีความตั้งใจจริง เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อให้ได้ภาพ ได้ข่าวที่ดีที่สุด เพื่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน แม้ความเป็นจริง หากพวกเขาที่อยู่แนวหน้า ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ก็แทบไม่มีหลักประกันใดๆเลยสำหรับคนที่อยู่ข้างหลัง

เพราะการแข่งขันสูง เพราะเรทติ้งเป็นตัววัดความสำเร็จ คนตายได้ แต่เรทติ้งต้องไม่ตาย ผู้บริหารข่าว หรือนักข่าวภาคสนาม ที่เปรียบเสมือนคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมข่าว จึงต้องผลิตข่าวจำนวนมาก เพื่อช่วงชิงพื้นที่หน้าจอ และคิดถึงข่าวที่ขายได้ มากกว่าข่าวที่ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบ

ไม่ใช่เรื่องยาก ที่เราจะด่าสถานีข่าวสัก 2-3 ช่อง ที่นักวิชาการ องค์กรวิชาชีพสื่อที่มีกรรมการสังกัดอยู่ในสถานีที่ละเมิดจริยธรรมนั้นเอง ต่างวิพากษ์ ต่างมีคำเตือนถึงเพื่อนสื่อให้ระมัดระวังในการทำงาน แต่เสียงเหล่านั้นแผ่วเบาอย่างยิ่ง เพราะถึงสิ้นเดือน เขาต้องรับเงินเดือนจากสถานี ไม่ใช่นักวิชาการ หรือองค์กรวิชาชีพสื่อ

สังคมโทษสื่อ สื่อก็อาจบอกว่า ก็เพราะสังคมนิยมบริโภคข่าวสารเช่นนี้เอง เขาถึงต้องผลิตข่าวเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ และสำคัญที่สุดคือเรทติ้ง ที่จะมีผลต่อโบนัส และการปรับเงินเดือนประจำปี

เราอาจคาดหวังในสังคมอุดมคติสูงเกินไป เราอาจคาดหวังสถาบันสื่อ ซึ่งต้องนับว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่มีกำไร ขาดทุนเป็นตัววัดความสำเร็จ มากเกินไป แต่เราอาจลืมที่จะบอกตัวเอง บอกสังคมว่า หากพฤติกรรมการรับสารของคุณเปลี่ยนแปลง ลงโทษพวกเขา ด้วยมาตรการทางสังคม ไม่ดู ไม่ฟัง ต่อไป สื่อก็จะกลับมาตอบโจทย์ ความเป็นสื่อคุณภาพ สื่อน้ำดีได้


เข้าใจสังคม แต่สังคมก็ควรเข้าใจสื่อบ้าง เป็นกำลังใจให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ต่อไป ใช้เมตตาธรรมช่วยให้พวกเขาได้เปลี่ยนแปลง แทนที่จะเอาแต่ก่นด่า ซึ่งไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย

กสทช.เสนอแนวทางรายงานข่าวตามสื่อ USA “ไม่เสนอภาพ-ไม่ให้พื้นที่สื่อคนร้าย-ไม่รายงานสด”

https://positioningmag.com/1263786?fbclid=IwAR3G6unOw2lfHv37YTveVuvejwk_0OqAtXXBhZwQU0jipSh2BJky5_wqbks


คู่มือ “จรรยาบรรณสื่อ” ขั้นพื้นฐาน จ.บ.ส. 101 แชร์ไปให้ถึงนักข่าว https://www.mangozero.com/ethics-of-news-reporter/?fbclid=IwAR2kXs124c8p_3CT1qTDtHjhvbeS7QqOLRbQUCVBefbjV6SvquY_Ez_Zf_U

เพลง: อักษรไทยใจดี

ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   (Verse 1) กอไก่ เริ่มต้นนำทาง ขอไข่ เคียงข้างเรียงราย คอควาย ยืนตระหง่านท้าทาย งองูเลื้อยไปตา...