วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

"เทวัญ"ถวายหน้ากากอนามัยถวายเจ้าคณะนราธิวาส ตามพระประสงค์สมเด็จพระสังฆราช



วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.30 น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และคณะ เดินทางลงพื้นที่วัดประชุมชลธารา บ้านควน ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เพื่อนำหน้ากากอนามัยตามพระประสงค์ของ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มาถวายแด่พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส และเจ้าอาวาสวัดประชุมชลธารา  เพื่อแจกจ่ายให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนในชุมชนใกล้เคียงวัด ผู้ประสบความยากลำบากจากสถานการณณืแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563ที่ผ่านมา เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงห่วงใยสุขภาพอนามัยของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ตลอดจนประชาชนทั่วไป ทรงประทานพระวโรกาสให้นายเทวัญ ผู้กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เฝ้าในโอกาสที่เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช โปรดให้ไวยาวัจกรจัดกัปปิยกัณฑ์เท่าจำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) เป็นทุนประเดิมสำหรับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดหาหน้ากากอนามัย ประทานแก่พระภิกษุสามเณรทั่วประเทศ

สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ถวายหน้ากากอนามัย 2,000 ชิ้น เป็นเงินมูลค่า 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ทั้งนี้ ทางเจ้าคณะจังหวัดจะจัดสรรแจกจ่ายไปยังวัด จำนวน 79 แห่ง และที่พักสงฆ์ จำนวน 21 แห่งในพื้นที่ จ.นราธิวาส รวมถึงประชาชนใกล้เคียงต่อไป

"ผอ.ทรัพย์สินปปง.-นาคหลวง"สมัครเรียนวิชาพระพุทธศาสนา"มจร"


วันที่ 30 เม.ย. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กำลังเปิดรับสมัคร สาขาวิชาพระพุทธศาสนารุ่นที่ 33 ภาคเสาร์-อาทิตย์ ได้มีบุคคลจากหลายสาขาอาชีพยื่นใบสมัครในจำนวนนั้นมีนายสุนทรา พลไตร ผู้อำนวยการส่วนบริหารทรัพย์สินสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) รวมอยู่ด้วย





พร้อมกันนี้เป็นที่น่าสังเกตก็คือว่าพระภิกษุและสามเณรที่สอบเปรียญธรรมเก้าประโยค(ป.ธ.9) ได้ยื่นสมัครอาทิ สามเณรสุรัตน์ บุตรเกื้อ สามเณรสุรัตน์ บุตรเกื้อ (ป.ธ.9)วัดโมลีโลกยาราม พระมหาวีรยุทธ วรวีโร (ป.ธ.9)วัดโมลีโลกยาราม "วีณา โดมพนานดร" ผู้จัดการสำนักงานสถาบันอิสรามูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย 





Cr.เพจ Kritsanawadee Raksachom

ธนาคารน้ำพระธรรม! ตามศาสตร์พระราชา



วันที่ 30 เม.ย. 2563  เพจ"พระเมธีธรรมาจารย์ - เจ้าคุณประสาร" ได้โพสต์ข้อความว่า ธนาคารน้ำ ตามศาสตร์พระราชา

พระเดชพระคุณพระโสภณพัฒนคุณ หลวงพ่อเศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ได้ศึกษา เรียนรู้และปฎิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ในล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 9

ในชั้นนี้พระเดชพระคุณได้ลงมือทำพร้อมกับพระภิกษุสามเณรภายในวัด คณะศิษยานุศิษย์ดำเนินการจัดทำธนาคารน้ำตามหลักทฤษฎีของพระองค์ท่าน โดยการขุดบ่อกว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 4.20 เมตร และใส่หินก้อนลงไปให้เต็มบ่อ เพื่อดักรอน้ำจากธรรมชาติ เมื่อธนาคารนำ้รับน้ำที่ไหลมาจากที่ต่างๆได้เต็มที่แล้วก็จะกักน้ำไว้ในบ่อขนาดใหญ่นี้และตามธรรมชาติแล้วบ่อน้ำนี้ก็จะกระจายให้ความชุ่มชื่นแก่หน้าดินในรัศมีโดยรอบประมาณ 800 เมตร
นี่คือการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรที่ได้ผล มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามหลักศาสตร์พระราชา

คำถามที่ว่า ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ มีแต่แล้ง กับท่วม นี่ถ้ามีการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับเล็กไปจนถึงระดับประเทศ รู้จักกักเก็บนำ้ในหลากหลายวิธี เกษตรกรทั้งหลายคงไม่ลำบากขนาดนี้

วันที่ 30 เมษายน 2563
#เจ้าคุณประสาร

ก่อนหน้านี้ได้โพสต์ว่า อีสานวันนี้ วันนี้ชนบทอีสานยังคงแห้งแล้ง กันดาร ชาวบ้านในภาคอีสานยังคงลำบาก ปากกัดตีนถีบ ดิ้นรนแสวงหา ตามหมู่บ้านมีแต่คนแก่ และเด็กๆเฝ้าบ้าน คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ก็หนีเข้าไปใช้แรงงานในกรุงเทพและเมืองใหญ่ๆ

คนแก่นั่งเฝ้าเลี้ยงหลานเล็กงกๆเงิ่นๆป้อนข้าวป้อนน้ำในวัยที่ตัวเองก็ชรา ไร้เรี่ยวแรงเป็นไม้ใกล้ฝั่ง และในแต่ละวันก็ต้องรอเงินจากลูกๆที่ไปใช้แรงงานที่จะส่งมาให้เพื่อเลี้ยงชีพพอประทังชีวิตของคนในครอบครัว

วันนี้ความยากจนยังคงเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษมาสู่ลูกหลานอีสาน

ชาวอีสานส่วนใหญ่จะทำนาและทำปีละครั้ง น่าเศร้าที่การทำนาก็เพียงพึ่งพาฟ้าฝนเพียงอย่างเดียวไม่มีระบบกักเก็บน้ำ ระบบชลประทานหรือระบบอื่นๆมาช่วยในการทำนาเลย และถ้าปีไหนฟ้าฝนเป็นใจก็ถือว่าเป็นโชคของชาวนาอีสาน แต่ส่วนใหญ่ก็จะมี 2 อย่างคือแล้งกับท่วม น่าเศร้า แล้งคือไม่มีน้ำทำนา ท่วมก็คือน้ำมากเกิน ข้าวในนาเสียหายหมด แปลกไหม วันนี้การบริหารการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ยังคงต้องถามหาระบบและประสิทธิภาพกันต่อไป ถามกันต่อไป ทั้งที่โลกใบนี้เจริญไปไกลมากแล้ว เทคโนโลยีต่างๆก็ล้ำหน้าไปมากแล้ว แต่การทำนาก็ยังคงพึ่งพาฟ้าฝนเหมือนเช่นในอดีตกาลหลายร้อยปีที่ผ่านมา
วันนี้เย็นๆยังคงเห็นชาวอีสานต้อนวัวต้อนควายเข้าคอกนี่คือวัฏจักรในวิถีชีวิตของคนชนบท

หวังว่าสักวันหนึ่งอีสานเราคงจะดีขึ้น สลัดความยากจนให้พ้นไปเสียที มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพื่ออนาคตของลูกหลานเรา

จำไว้นะ! "เฉลิมชัย" ย้ำชัดไม่เลื่อนแบน 2 สารพิษเกษตร



จำไว้นะ! "เฉลิมชัย" ย้ำชัดไม่เลื่อนแบน 2 สารพิษเกษตร  ชี้พูดวันแรกกับวันนี้ชัดเจนที่สุด เดินหน้านโยบายเกษตรปลอดภัย ขณะที่ "ภาคเอกชน"  เชื่อ "สุริยะ" ไม่กลับมติแบน หากกระทรวงเกษตรฯมีแผนรองรับชัดเจน ชี้แบนคลอร์ไพริฟอส ยังมีสารอื่นทดแทน แต่ พาราควอต ยังไม่มีที่ให้ผลวัชพืชตายเฉียบพลัน ร้องกรมวิชาการเกษตร อนุญาตนำเข้าสารไกลโฟรเซตเพิ่ม3หมื่นตัน 

เมื่อวันที่ 30 เม.ย.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกรณีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุสาหกรรม เป็นประธานการประชุมในวันนี้อาจจะพิจารณาเลื่อนการแบนสารเคมี พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ขยายจากบังคับใช้ให้เป็นวัตถุอันตรายประเภท 4 ห้ามนำเข้า ผลิต จำหน่าย นำผ่าน มีผลวันที่1 มิ.ย.ไปปลายปีให้มีผลวันที่1 ม.ค.64 ตามข้อเสนอของประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่จะส่งผลกระทบนำเข้าวัตถุดิบผลิตอาหารคนและสัตว์ นั้น ว่า เพิ่งทราบว่ามีวาระการประชุมเมื่อวานนี้ และตนไม่ได้เป็นกรรมการ แต่ว่ากระทรวงเกษตรฯ มีจุดยืนเป้าหมายชัดเจน ผลิตอาหารปลอดภัย เกษตรปลอดภัย รองรับด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ ในอนาคตทุกคนทั่วโลก ต้องการบริโภคอาหารปลอดภัย

“ สารเคมีทุกตัวมีอันตราย ไม่ใช่3สารเท่านั้น ควรมีมาตราจำกัดการใช้ทั้งหมด ผมยืนยันแนวคิดเดิมตั้งแต่ต้น ขอให้ไปฟังได้พูดไว้ในรัฐสภาชัดเจน ทุกวันนี้ยังเดินหน้านโยบายให้เกษตรกรทำเกษตรปลอดภัย ผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน และการแบนสารไม่ควรเลื่อนไปปลายปี ถ้าผมเป็นกรรมการ แต่มติออกมาอย่างไรต้องปฏิบัติตามนั้น”นายเฉลิมชัย กล่าว


"ภาคเอกชน"  เชื่อ "สุริยะ" ไม่กลับมติแบนหากกระทรวงเกษตรฯมีแผนรองรับชัดเจน  

นายวีรวุฒิ กตัญญูกุล นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร  เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายวันนี้ อาจมีความเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการวัตถุอันตราย อาจคงมติเดิมแต่ยืดเวลาการแบนสาร พาราควอตและคลอไพริฟอสออกไปจนถึงสิ้นปี หรืออาจแบนทันทีในเดือนมิถุนายน หากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีมาตรการรองรับชัดเจนเชื่อว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการจะไม่กลับมติ และเสียงที่สนับสนุน ทั้งฝั่งกระทรวงเกษตรฯ 4 คน กระทรวงสาธารณสุข 4 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิที่สนับสนุนจะไม่ยอม

ซึ่งในส่วนของสมาคมไม่ได้เรียกร้องอะไรเพิ่มเติมเนื่องจากที่ผ่านมารัฐได้ขยายเวลาในการระบายสินค้า พาราควอตและคลอไพริฟอส ออกมาแล้ว 6 เดือนทำให้สารที่มีในตลาดเหลือน้อย และหากแบนคลอไพริฟอสก็ยังมีสารอื่นทดแทนหลายชนิดแต่ต้นทุนอาจจะเพิ่มขึ้น 

ส่วนพาราควอต จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสารใดที่มาทดแทนฉีดแล้วให้ผลทันที ซึ่งชาวไร่นิยมใช้แต่หากใช้ไกลโฟเซตสามารถทดแทนได้ร้อยละ 60-70 และใช้เวลากว่าวัชพืชจะเหี่ยวตาย

ซึ่งไกลโฟเซต ขณะนี้ยังสามารถใช้ได้ โดยรัฐมีมาตรการจำกัดการใช้ แต่ขณะนี้ปริมาณสารดังกล่าวเหลือไม่ถึง 10,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้ที่ 50,000 ตัน โดยเดือนที่ผ่านมาผู้นำเข้าสารดังกล่าวกว่า 20 ราย ได้ประชุมร่วมกับกรมวิชาการเกษตรเพื่อขออนุญาตนำเข้า 30,000 ตัน เพื่อรองรับฤดูกาลผลิตใหม่ซึ่งการนำเข้าจะต้องใช้เวลา 2-3 เดือน ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบว่าจะอนุญาตนำเข้าหรือไม่

ปริมาณสารที่ลดลง ส่งผลให้ ราคาสารไกลโฟเซตมีราคาสูงขึ้น ขณะนี้ราคาปรับขึ้นแกลอนละ 100 บาท จากเดิมแกลอน ละ 320 เป็น 420 บาท ซึ่งหากยังไม่มีการอนุญาตนำเข้าจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรแน่นอน

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

"อนุทิน"เยี่ยมศูนย์กักกันพระสงฆ์กลับจากปฏิบัติศาสนกิจอินเดีย



วันที่ 29  เมษายน 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของกระทรวง อาทิ นายสาธิต ปิตุเดชะ รัฐมนตรีช่วยฯ และนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ตรวจเยี่ยมการดำเนินการงาน State Quarantine การบริการจัดการพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ สำหรับพระสงฆ์ ซึ่งเพิ่งกลับมาจากการปฏิบัติศาสนกิจ ที่ประเทศอินเดีย โดยเบื้องต้น ไม่มีพระสงฆ์ติดเชื้อโควิด 19 และทุกรูปสุขภาพดี ทางการจัดห้องไว้รองรับ พระสงฆ์ทุกรูปต้องจำวัดแยกห้อง และมีเจ้าหน้าที่ทหารคอยดูแลความปลอดภัย 

นายอนุทิน กล่าวว่า ของคุณนายสาธิต และทางกรมการแพทย์ ที่จัดการเรื่องฮอสพิเทล ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี จากนี้ ทางพระสงฆ์ต้องได้รับการดูแลที่นี่เป็นระยะเวลา 14 วัน หากตรวจแล้ว ไม่พบการติดเชื้อ จึงจะให้กลับวัด ประเทศไทย ต้อนรับเฉพาะคนที่จำเป็นต้องเดินทางเข้าประเทศเท่านั้น เพราะเรื่องการบิน ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก หากใครเดินทาง ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เข้ามาต้องถูกคุมโรคเป็นระยะเวลา 14 วัน 

เมื่อถามว่า มีข่าวเรื่องนักท่องเที่ยวจีนประสงค์ท่องเที่ยวในประเทศไทย นายอนุทิน กล่าวว่า ตอนนี้ ไม่ใช่เวลาที่จะมาพูดเรื่องการท่องเที่ยว ขอบคุณที่ท่านยังรักบ้านเมืองของเรา แต่เราขอเวลาเพื่อจัดการประเทศไทย สำหรับกิจกรรมในประเทศ ทางการต้องผ่อนคลายแน่ แต่จะเป็นไปได้แค่ไหน ต้องขอหารือก่อน ทั้งนี้ ในแต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ ทางนั้นสามารถตัดสินใจในบางเรื่อยได้ ก็หวังว่าจะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนลงบ้า

เกษตรฯชูเกษตรทฤษฎีใหม่-เกษตรอินทร์ รับ New normalจากวิกฤตโควิด



เกษตรฯเดินเกมรุก รับ New normal จากวิกฤตโควิด พัฒนาปฏิทินสินค้าเกษตรระดับจังหวัด สร้างความเชื่อมั่น แหล่งอาหารเกษตรของประเทศ 

วันที่ 29  เมษายน 2563  นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านอาหารของแต่ละจังหวัด เพราะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมปกติ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร (New normal) ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงอาหารของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงแหล่งอาหาร ทั้งจากสถานการณ์ปิดเมืองและรายได้ที่ลดลงของประชาชน และอาจทวีความ รุนแรงมากขึ้น

ทั้งนี้ที่ผ่านมานายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย สศก. พัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการความ มั่นคงด้านอาหาร นาเทคโนโลยี ดิจิทัล ของ Big Data มาใช้ในการพัฒนาระบบการจัดทาปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรราย เดือนระดับจังหวัด (Provincial Crop Calendar) เพื่อเป็นเครื่อง มือสำคัญในการวางแผนพัฒนาการผลิตให้สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดที่ปรับเปลี่ยนทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่วิกฤต สำหรับข้อมูลปฏิทินฯ จังหวัด จะช่วยให้ทราบถึงผลผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญ ว่าอยู่พื้นที่อำเภอ ใด ตำบลใด พร้อมจะออกสู่ตลาดปริมาณเท่าใด โดย สศก. จะพัฒนาระบบสู่ข้อมูลมีความแม่นยำ และมีการคาดการณ์ ล่วงหน้าทั้งในฤดูการเพาะปลูกปัจจุบัน และคาดการณ์ผลิตในฤดูการเพาะปลูกถัดไปได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในแง่ของการค้าขายและการกำหนดมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลความ ต้องการของตลาด เช่น จุดรับชื้อ โรงงาน ตลาดค้าส่งค้าปลีก สหกรณ์การเกษตร Modern Trade จะทาให้เกิดระบบการ กระจายสินค้าเกษตรทั้งภายในจังหวัดและข้ามจังหวัดด้วยต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลง และส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนและ ท้องถิ่นได้

 นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงข้อมูลเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร ข้อมูลการรับรอง มาตรฐาน GAP เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร ข้อมูลพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ และ Zoning by Agri - Map เพื่อสร้างความยั่งยืน ในการผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Information Center: AIC) ของจังหวัด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้า เกษตรให้เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการตลาดร่วมกัน 

เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการความ มั่นคงด้านอาหาร สู่การจัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สภาหอการค้าไทย สภา อุตสาหกรรม รวมถึงองค์กรเกษตร เช่น สภาเกษตรกร ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมตั้งแต่ระดับตาบล อำเภอ และจังหวัด ทั้งนี้ เมื่อ สศก. พัฒนาระบบสมบูรณ์ ทางศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ National Agricultural Big Data Center : NABC) จะเผยแพร่เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ครอบคลุมถึงระดับพื้นที่ในการ บริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศว่าจะสามารถเข้าถึงอาหาร ได้อย่างเพียงพอตลอดเวลา

"ม.สงฆ์ มมร"จัดมอบถุงยังชีพบรรเทาทุกขภัยโควิด-19


วันที่ 27 เมษายน 2563 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) เป็นประธานในพิธีมอบเครื่องอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์ป้องกันทางสาธารณสุข เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานภารกิจจัดมอบเครื่องอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์ป้องกัน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019  ตามพระดำริสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่อาคารธรรมสถาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 



โดยมีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน เดินทางมารับสิ่งของยังชีพ 300 ราย ต่างน้อมสำนึกในพระเมตตาของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงห่วงใยประชาชน ในยามที่ยากลำบาก และกล่าวขอบคุณผู้มีจิตอันเป็นกุศล บริจาคสิ่งของช่วยเหลือ ในการนี้เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชประทานถุงยังชีพและอุปกรณ์อนามัย แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่



ทั้งนี้มหาวิทยาลัยร่วมกับภาครัฐและเอกชนจะดำเนินการมอบสิ่งของบริจาค ที่บริเวณอาคารธรรมสถาน ในทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 16.00-17.30 น. เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 เป็นต้นไป  หากต้องการร่วมสมทบ "ทุนบรรเทาโควิด-19"  สามารถบริจาคได้ทางบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลายา ชื่อบัญชี "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทุนบรรเทาโควิด-19"   ในส่วนของเครื่องอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ นั้น บริจาคได้ที่ อาคารธรรมสถาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยติดต่อสอบถามข้อมูลและนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ นายสัมฤทธิ์ เพชรแก้ว ผู้ช่วยอธิการบดี โทรศัพท์ 081-808-6148 


วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

ธรรมกายเอาด้วย! แปลงทุ่งสวรรค์ตะวันใส เป็นแปลงผักเกษตรอินทรีย์สู้ภัยโควิด



วันที่ 28 เม.ย.2563  เพจลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก ได้โพสต์คลิปและข้อความว่า จากทุ่งสวรรค์ตะวันใส มาเป็นแปลงผักเกษตรอินทรีย์
มาชมกันเลย 

วิถีชีวิตพอเพียงในช่วงวิกฤตโควิด พลิกผืนดินทุ่งดอกไม้มาปลูกผักถวายพระทั้งวัด เลี้ยงญาติโยมผู้มาเอาบุญเป็นโรงทาน เมื่อทำด้วยใจที่ใฝ่บุญนำหน้า โอกาสสร้างความดีย่อมมีมาเสมอ

กราบขอบพระคุณพระครูวินัยธรวิเชียร วชิรนาโท ผู้ดูแลโครงการปลูกผักเกษตรอินทรีย์


"อนุทิน"ย้ำจุดยืน สธ.ไม่ขยายแบน 3 สารเคมีเกษตร



วันที่ 28 เม.ย.2563 รายงานข่าวแจ้งว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการเป็นนโยบายให้ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย แสดงท่าทีและจุดยืนของกระทรวงสาธารณสุขในการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ในวันที่ 30 เมย. โดยกระทรวงสาธารณสุขไม่รับรองมติการประชุม วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 และขอให้บันทึกมติของผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ว่าไม่เห็นด้วยกับมติการประชุมที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธาน เคยแถลงว่ามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้มีการขยายเวลาการใช้ และการประกาศวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 เป็น 1 มิถุนายน 2563  เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข แถลงในที่ประชุมชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้สารทั้งสามชนิด คือ พาราควอต ไกลโฟเซต คลอร์ไพรีฟอส และ ไม่เห็นด้วยกับการขยายเวลา ทุกกรณี

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังคงยืนยันการแบนสามสาร โดยไม่มีการขยายเวลา ทั้ง พาราควอต คลอร์ไพรีฟอส  ตามที่นายกลินท์ สารสิน ประธานหอการค้าไทยเสนอ ให้ขยายเวลาไปจนถึง 31 ธันวาคม 2563 โดนอ้างสถานการณ์โควิด19 จำเป็นต้องใช้สารทั้ง 2 ตัว ต่อไป เพื่อลดต้นทุนเกษตรกร แต่กระทรวงสาธารณสุข ไม่เห็นด้วยเนื่องจากจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร และประชาชนผู้บริโภค มากขึ้น และการอ้างโควิด19 ไม่มีเหตุผล

นายอนุทิน ย้ำด้วยว่าผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ต้องเสนอให้การลงมติทุกๆ กรณี ในการประชุมวันที่ 30 เมษายน 2563 เป็นการลงมติโดยเปิดเผย เพื่อจะได้มีความชัดเจน ไม่เกิดปัญหาต้องตีความ และมีการโต้แย้งกันอีก

"ดร.กนก"แนะ"รัฐบาล"เตรียมนโยบายรับแรงงานคืนถิ่นหลังโควิด-19



วันที่ 28 เม.ย.2563  ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงถึงแรงงานเมืองที่กลับคืนสู่ท้องถิ่นในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ว่ารัฐบาลควรต้องเตรียมความพร้อมทางนโยบายเพื่อรองรับแรงงานเหล่านี้ในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต ด้วยการเปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสของเกษตรชนบท ในการร่วมพลิกฟื้นระบบเกษตรไทย

"ผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโควิด 19 ต่อเศรษฐกิจไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือการเคลื่อนตัวออกจากเมืองของแรงงาน หลังไม่มีงานให้พวกเขาทำ ซึ่งคาดกันว่ามีจำนวนประมาณ 3-5 ล้านคน นั่นเพราะแรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วมีภูมิลำเนาอยู่ตามต่างจังหวัด มาอาศัยอยู่ที่เมืองใหญ่ด้วยการเช่าที่พักอาศัย เพื่อแลกกับจำนวนรายได้ที่สร้างความพึงพอใจในแต่ละบุคคลล ดังนั้น เมื่อไม่มีงาน ขาดรายได้ การหยุดหรือลดรายจ่ายที่ง่ายที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นการกลับบ้าน เพื่อตัดค่าเช่าบ้าน และลดค่าครองชีพที่สูงลงมา

แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ เมื่อแรงงานเหล่านี้คืนสู่ท้องถิ่นแล้ว การดำเนินชีวิตต่อไปของพวกเขาควรเป็นไปในแนวทางใด ซึ่งคำตอบที่ผมพอจะมองเห็นตอนนี้ เป็นการเข้าไปประสานกับภาคการเกษตรของชนบท ในการยกระดับระบบเกษตรไทยให้สามารถสร้างมูลค่าทั้งด้านรายได้และผลผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ" 

อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ยังได้แนะนำให้รัฐบาลบริหารจัดการกับเงื่อนไข 2 ประการเพื่อยกระดับ "เกษตรชนบท"  ให้กลายเป็น "เกษตรมูลค่าสูง"  ดังนี้

1. จัดหาแหล่งน้ำและที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรในชนบท เพราะน้ำคือชีวิตของเกษตรกร ถ้าไม่มีน้ำทุกอย่างก็จะผูกไว้กับน้ำฝนตามธรรมชาติที่ไม่มีความแน่นอน ส่วนที่ดินเพื่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เป็นปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรไม่มีไม่ได้

2. ระบบขนส่ง (logistic) และเครือข่ายโทรคมนาคมที่มีศักยภาพสูง (5G) เพราะการทำเกษตรมูลค่าสูงนั้นต้องใช้เทคโนโลยีกำกับตลอดกระบวนการผลิตจนไปถึงมือผู้บริโภค ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีต้องมีเสถียรภาพ และค่าใช้จ่ายต้องไม่เป็นภาระต่อเกษตรกร
 ​
"นี่คือส่วนประกอบสำคัญของการเกษตรไทยรูปแบบใหม่ที่ "ทำน้อย ได้มาก"  ด้วยเทคโนโลยี และระบบการจัดการที่ทันสมัย กับความหลากหลายทางชีวภาพ และทักษะอันเฉพาะตัวของชนบท ซึ่งก็คงต้องไปสู่คำถามต่อมาว่า แล้วจะทำอย่างไรให้  "แรงงานในเมือง"  กับ  "เกษตรกรชนบท"  ทำงานร่วมกันได้ เพราะนี่คือต้นทางของการเพิ่มผลผลิต (Productivity) และการสร้างมูลค่าใหม่ (Value Creation) ทางการเกษตร ทั้งในแง่กระบวนการและผลลัพธ์ ที่อาจบอกได้ว่าเป็นการ "พลิกฟื้นระบบเกษตรไทย"  ในสายตาของผม" 

เพื่อไทยขอร่วมขบวนค้าน! นำ CPTPP เข้าครม. 28 เม.ย.นี้



วันที่ 27 เม.ย. 2563  น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรค กรณีที่มีรายงานข่าวว่า จะมีการเสนอให้รัฐบาลพิจารณาการไปเจรจาเพื่อพิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งหลายฝ่ายได้แสดงความกังวลว่ามีหลายเรื่องที่ไทยอาจเสียประโยชน์ นั้น

พรรคเพื่อไทยมีความกังวลในเรื่องนี้ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลไตร่ตรองให้รอบคอบและต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและภาคส่วนต่างๆให้กว้างขวางกว่านี้ ก่อนตัดสินใจไปเจรจา เนื่องจากในขณะนี้ภูมิทัศน์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป ภายหลังการระบาดทั่วโลกของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) และการระบาดก็ยังไม่ยุติลง ดังนั้น รัฐบาลควรพิจารณาสภาพการณ์ด้านเศรษฐกิจของโลกหลังการระบาดให้ถ่องแท้เสียก่อน รวมทั้งใช้โอกาสนี้เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากข้อตกลงด้านธุรกิจบริการ ยา และการเกษตร ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรหากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก

นอกจากนั้น พรรคเพื่อไทยเห็นว่ารัฐบาลควรใช้เวทีสภาผู้แทนราษฎรในการรับฟังผู้แทนของประชาชนที่จะสะท้อนข้อห่วงใย ความกังวล เพื่อประกอบการพิจารณาว่าสมควรจะไปเจรจาหรือไม่ หรือหากจะไปเจรจาก็จะได้มีแนวทางที่ประชาชนได้สะท้อนผ่านตัวแทนในสภาผู้แทนราษฎร

"พรรคก้าวไกล"ค้าน CPTPP "อุ้มทุนหนา ฆ่าทุนน้อย"



วันที่ 27 เม.ย. 2563 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่กำลังจะหารืออนุมัติให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก) ว่า จะทำให้มีผลกระทบหลายอย่าง โดยภาพรวมเห็นได้ชัดว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย และเรื่องนี้ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน รัฐควรต้องฟังเสียงประชาชนมากกว่านี้ ใช้เวลาพิจารณาให้รอบคอบ

โดยประการแรกที่ไม่มีความจำเป็นต้องรีบเร่ง คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกไปแล้ว หากไทยเข้า CPTPP ตลาดที่ไทยจะได้เพิ่มหากเป็นสมาชิก คือประเทศเม็กซิโกและแคนาดาเท่านั้น ขณะที่อีก 9 ประเทศสมาชิกที่เหลือนั้น ไทยมีข้อตกลงการการค้าเสรี FTA แล้วทั้งหมด ผมอยากให้พิจารณาว่าเพราะเหตุุใดไทยถึงต้องเข้าร่วมในลักษณะนี้ ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าจะดีกว่าหรือไม่ ถ้าทำ bilateral agreement กับเม็กซิโกและแคนาดา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องขี่ช้างจับตั๊กแตน

ประกอบกับที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แจงว่า หากไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP คาดว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้น 0.12% ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าถือว่าน้อยมากและเมื่อเปรียบเทียบการเข้าเป็นสมาชิกครั้งอื่นๆ ผมคิดว่าครั้งนี้จะได้ไม่คุ้มเสีย การดึงจีดีพีขึ้นมีหลายวิธี ตกลงกันได้หลายแบบ ไม่ควรจะต้องยอมให้ประเทศไทยเสียอํานาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจถึงขั้นนี้ และหากเข้าไปดูในรายละเอียดแล้ว มีข้อน่ากังวลเกี่ยวกับการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ต้นทุนของเกษตรกร ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางยา รวมถึงว่าการที่นักลงทุนต่างชาติจะสามารถฟ้องรัฐบาลไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และอื่นๆ อีกมากมาย

ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ไม่มีข้อบังคับให้รัฐบาลต้องการขออนุมัติกรอบเจรจาจากรัฐสภาเพื่อไปเจรจาทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ขาดการตรวจสอบจากนิติบัญญัติ ตัดการมีส่วนร่วมของประชาชน มีเพียงกลไกให้รัฐสภาเห็นชอบเมื่อเจรจาแล้วเสร็จ เพื่อลงนามรอการอนุมัติตามเท่านั้น ทำให้เรื่องที่ใหญ่ขนาดนี้ จะได้รับการอนุมัติไปง่ายๆ นี่คือหนึ่งในปัญหาที่เป็นรูปธรรม แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้มีปัญหาอย่างไร

นายพิธากล่าวว่า ทั้งนี้ตนและพรรคก้าวไกล ขอย้ำว่า รัฐควรต้องมารับฟังเสียงจากภาคประชาชนให้มาก และเปิดให้สภาได้ถกเถียงกันในรายละเอียด ในสถานการณ์ชุลมุนเช่นนี้ รัฐอย่าฉวยโอกาสเพื่อที่จะได้ "อุ้มทุนหนา ฆ่าทุนน้อย"  

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

"อลงกรณ์"ร่วมค้าน CPTPP ด้วย ฝาก 6 ข้อคิดอย่าเดินหลงทาง



"อลงกรณ์"ร่วมค้าน CPTPP ด้วย ฝาก 6 ข้อคิดอย่าเดินหลงทางผิดทิศผิดเวลา  ขณะที่ "จิราพร" ส.ส.เพื่อไทยค้านด้วย

วันที่ 27 เม.ย. 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เขียนความเห็นเกี่ยวกับCPTPPในเฟสบุ้คส่วนตัววันนี้ ในฐานะที่เคยทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับเอฟทีเอ.(FTA)เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และเคยทำงานด้านการปฏิรูปประเทศสมัยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)และรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.)ขอแลกเปลี่ยนมุมมองของผมด้วยร้อนใจเกรงว่าจะเกิดการเดินหลงทางผิดทิศและผิดเวลา 
     
สำหรับผมคิดว่า ประเทศไทยยังไม่ควรพิจารณาการเข้าร่วมกลุ่ม “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก”หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (CPTPP)  ซึ่งมีผลกระทบในวงกว้างหลายภาคส่วนและขณะนี้วิกฤติโควิด19ลามไปทั่วโลกจึงไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะพิจารณาในเรื่องนี้
  
จึงฝากข้อคิดอย่างน้อย 6 ประการให้พิจารณา

1.วิกฤติโควิด19เปลี่ยนโลก  ประเทศไทยยังไม่ควรทำความตกลงFTAใดๆเพิ่มเติมรวมทั้งCPTPPเพราะระบบการค้า การบริการและการลงทุนของโลกจะมีการปรับตัวครั้งใหญ่ภายหลังวิกฤติโควิด19 จึงไม่ควรเร่งรีบพิจารณาในขณะที่สถานการณ์ยังไม่นิ่ง 

2. ปฏิรูประบบเศรษฐกิจประเทศประเทศไทยในวันข้างหน้าต้องลดการพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนจากต่างชาติยืนบนขาตัวเองมากขึ้นโดยปรับลดสัดส่วนการพึ่งพารายได้จากการส่งออกจาก70%เป็น50% ของGDPซึ่งเป็นเป้าหมายการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การคิดใช้ซูเปอร์FTAในการขยายการส่งออกและการลงทุนโดยพึ่งพาต่างประเทศมากขึ้นจึงเป็นการเดินหลงทางผิดทิศหรือไม่ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงต้องยึดเป้าหมายยึดหลักให้มั่นคงการปฏิรูปจึงจะเกิดขึ้นจริง

3.ศึกษารอบด้านหรือยัง    CPTPPเป็นรูปแบบซูเปอร์FTAที่ต้องเปิดเสรีเพิ่มขึ้นกว่าทุกFTAที่ประเทศของเราเคยทำทั้งภาคการค้า การบริการและการลงทุน การศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านในระดับประเทศเป็นเรื่องที่ต้องทำก่อนการตัดสินใจสุดท้าย

4. ผลกระทบเมล็ดพันธุ์และยา.    ข้อกังวลประเด็นยาและเมล็ดพันธุ์ใหม่รวมทั้งGMOเป็นประเด็นกระทบคนยากจนและเกษตรกรรวมทั้งผู้บริโภคจึงควรให้น้ำหนักในการเปิดกว้างรับฟังและวิเคราะห์ผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวตลอดจนการป้องกันการผูกขาดของบริษัทขายเมล็ดพันธุ์ทั้งบริษัทในประเทศไทยและในต่างประเทศ

5.ศึกษาUPOVตกผลึกแล้วหรือ? การวิเคราะห์เชิงโอกาสและปัญหากรณีUPOVยังไม่สมบูรณ์และเป็นประเด็นสำคัญต่ออนาคตของไทยในฐานะประเทศผู้เป็นแหล่งผลิตเกษตรและอาหารของโลก (UPOV-The International Union for the Protection of New Varieties of Plants อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่)

6.CPTPPเป็นทางเลือกสุดท้ายหรือ? การประเมินความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้จากการเข้าร่วมCPTPPหลังจากอเมริกาถอนตัวCPTPP มีสมาชิก11ประเทศได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ในจำนวนนี้ 9 ประเทศทำFTAกับประเทศไทยอยู่แล้ว เราสามารถเจรจาขยับขยายความร่วมมือภาคการค้า การบริการและการลงทุนใน FTA เดิมจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่


"จิราพร"ส.ส.เพื่อไทยค้านด้วย

ขณะที่นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด เขต 5 พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ คณะรัฐมนตรีเตรียมพิจารณาให้ความเห็นชอบการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค หรือ CPTPP ในวันที่ 28 เม.ย. 2563 ว่า หากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบก็ไม่ต่างอะไรกับการผลักไทยให้ทำการค้าแบบเก่าท่ามกลางบริบทโลกที่เปลี่ยนไป ซ้ำยังจะสร้างผลกระทบต่อการบริหารจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ และความมั่นคงทางอาหารของไทยในอนาคต ที่ผ่านมา หลายฝ่ายได้เตือนรัฐบาลว่าการเข้าร่วม “ความตกลง CPTPP” จะทำให้ไทยเสียเปรียบและส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ แต่รัฐบาลก็นิ่งเฉยไม่สนใจคำตักเตือนดังกล่าว และยิ่งในปัจจุบัน วิกฤตโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจและการค้าโลกเปลี่ยนไปอย่างมาก การที่รัฐบาลทำเพื่อผลประโยชน์สำหรับบางกลุ่มและธุรกิจต่างชาติ และให้ข้อมูลด้านเดียวโดยอ้างผลการศึกษาเก่าที่เริ่มต้นศึกษามาหลายปี ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 แสดงถึงความไม่จริงใจต่อประชาชน
          
ทั้งนี้ วิกฤตโควิด-19 ได้เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจโลกไปแล้วโดยสิ้นเชิง การทำความตกลงทางการค้าจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยสอดรับกับสภาวะปัจจุบันและรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต หากรัฐบาลดึงดันจะเข้าร่วม CPTPP ทั้งๆ ที่ไทยอยู่ในฐานะเสียเปรียบหลายอย่าง นอกจากจะสะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้มองไปข้างหน้าแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเลยแม้แต่น้อย


"อนุทิน"เอาด้วย! ลั่นไม่สนับสนุนไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ขณะที่พาณิชย์ยืดอกรับคนชง
https://www.banmuang.co.th/news/politic/190005


เผย"อนุทิน"ลั่น กระทรวงสาธารณสุข ไม่สนับสนุนไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ชี้ทำลายระบบสุขภาพประชาชน ไม่คุ้มแลกผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ พร้อมทำหนังสือชี้แจงครม.28 เมย.นี้

"อนุทิน"เอาด้วย! ลั่นไม่สนับสนุนไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ขณะที่พาณิชย์ยืดอกรับคนชง



"อนุทิน"เอาด้วย! ลั่นไม่สนับสนุนไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ขณะที่พาณิชย์ยืดอกรับคนชง ผลศึกษา CPTPP เข้าครม.เคาะไทยเข้าร่วมหวังได้แต้มต่อทางการค้าหนุน  GDP โตห่วงช้าเสียโอกาส

          
วันที่ 27 เม.ย. 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข และ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เพื่อพิจารณาผลกระทบกรณีประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค หรือ CPTPP เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการนำเสนอข้อมูล และพิจารณากันหลายประเด็นที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาในประเทศ และการคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสมุนไพรในประเทศ
          
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม นายอนุทิน ได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ทำหนังสือชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากประเทศไทย ตัดสินใจเป็นสมาชิกของ CPTPP โดยให้มีการระบุให้ชัดว่า กระทรวงสาธารณสุข ไม่สนับสนุนให้ประเทศไทย เข้าเป็นสมาชิก CPTPP
          
พร้อมระบุว่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และจะนำเสนอข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีข้อห่วงใยและความกังวล ที่จะมีผลกระทบต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ซึ่งจะต้องนำมาใช้ดูแลรักษาชีวิต และสุขภาพของคนไทย ทั้งเรื่องผลกระทบต่อการผลิตยา ซึ่งเป็นความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทย น่าจะเป็นข้อมูลสำคัญ สำหรับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยจะนำข้อห่วงใยและข้อกังวล ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 28 เม.ย. ทราบ แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าคณะรัฐมนตรี จะพิจารณาตัดสินใจอย่างไร
          
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายอนุทิน กล่าวในที่ประชุมด้วยว่าการจะแลกมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวทางการค้า การส่งออก กับ ความมั่นคงของระบบสาธารณสุขไทย เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า และไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่า การเข้าร่วมในข้อตกลง CPTPP ประเทศไทย จะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ อีกทั้งขณะนี้มีเพียง 11 ประเทศ เท่านั้นที่เป็นสมาชิก และส่วนใหญ่ ไม่ใช่เป็นประเทศที่เป็นตลาดส่งออก ที่สำคัญของเรา ประกอบกับ มิติการค้าระหว่างประเทศ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 และหลังการระบาดจบลง ยังไม่มีข้อมูลว่าเหตุใดจึงต้องรีบเร่งพิจารณาในช่วงนี้
          
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ได้มีการนำข้อเสนอขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่จะมีผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน ได้ยากขึ้น และทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์ 3 ด้านได้แก่ 1.ด้านสิทธิบัตรและยา  ด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เกิดการผูกขาดสายพันธุ์พืชเป็น 20-25 ปี และด้านจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ไทยไม่สามารถกำหนดมูลค่าและจะผ่อนผันได้

พาณิชย์ชงผลศึกษา CPTPP เข้าครม.เคาะไทยเข้าร่วมหวังได้แต้มต่อทางการค้าหนุน  GDP โตห่วงช้าเสียโอกาส

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์เสนอผลศึกษาและระดมความเห็นในงการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของไทย ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว
          
ทั้งนี้ ผลการศึกษาตามแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์สรุปว่า การเข้าร่วม CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว โดย GDP จะขยายตัว 0.12% (คิดเป็นมูลค่า 13.32 พันล้านบาท) การลงทุนขยายตัว 5.14% (คิดเป็นมูลค่า 148.24 พันล้านบาท)
          
แต่หากไม่เข้าร่วม CPTPP จะส่งผลกระทบ GDP ไทยลดลง 0.25% (คิดเป็นมูลค่า 26.6 พันล้านบาท) และกระทบการลงทุน 0.49% (คิดเป็นมูลค่า 14,270 ล้านบาท) รวมทั้งจะทำให้ไทยเสียโอกาสขยายการค้าการลงทุนและการเชื่อมโยงห่วงโซ่หรือกระบวนการผลิตในภูมิภาค โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน อาเซียน เช่น เวียดนาม และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิก CPTPP แล้ว
          
นางอรมน กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ความตกลง CPTPP หาข้อสรุปได้ในปี 58-62 การส่งออกของเวียดนามไปประเทศสมาชิก CPTPP เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.85% และของสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.92% ขณะที่การส่งออกของไทยไป CPTPP เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 3.23% ส่วนเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้า (FDI Inflow) ของเวียดนาม และสิงคโปร์ ในปี 62 มีมูลค่า 16,940 และ 63,939 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ขณะที่ของไทยมีมูลค่าเพียง 9,010 ล้านเหรียญสหรัฐ
          
เมื่อพิจารณาการค้ารวมระหว่างไทยกับสมาชิก CPTPP ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าสมาชิก CPTPP มาโดยตลอด ในปี 62 ไทยได้เปรียบดุลการค้ ที่ 9,605.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และไตรมาสแรกปี 2563 ได้เปรียบดุลการค้า 3,934 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงถือว่า CPTPP เป็นตลาดที่ไทยมีความพร้อมในการแข่งขัน
          
ผลการศึกษายังชี้ว่า กลุ่มสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ตลาดสมาชิก CPTPP เช่น ญี่ปุ่น (เนื้อไก่แปรรูป เนื้อสุกรแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง ข้าว น้ ตาล) แคนาดา (อาหารทะเลปรุงแต่ง ข้าว ผลไม้ปรุงแต่ง ยางพารา ยางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องทำความร้อน) เม็กซิโก/เปรู/ชิลี (ข้าว น้ำตาล เนื้อไก่สด ตู้เย็น รถยนต์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรศัพท์ เครื่องซักผ้า ยางรถยนต์ เครื่องแต่งกาย เครื่องปรับอากาศ) เป็นต้น
          
สำหรับสาขาบริการและการลงทุน กลุ่มธุรกิจที่คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์ เช่น สาธารณสุข ก่อสร้าง ท่องเที่ยว เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไทยต้องเตรียมปรับตัว จะเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตน้อยกว่าประเทศสมาชิก CPTPP เช่น สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สินค้าต้นทุนต่ำ แต่ก็จะมีเวลาในการปรับตัวเช่นเดียวกับสมาชิกอื่นๆ ที่ขอเวลาปรับตัวสูงถึง 21 ปี ซึ่งเป็นโอกาสของไทยที่จะต้องเร่งพัฒนาปรับโครงสร้างการผลิตและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม และอาจนำเข้าวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่จะเป็นประโยชน์ต่อต้นทุนการผลิตของไทยมากขึ้น
          
นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะเป็นปัจจัยเร่งให้ระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบทุกภาคส่วน ตั้งแต่เกษตรกร แรงงาน เจ้าของกิจการ โดยเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมาเติบโตเพราะไทย เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตโลก ไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้า ที่มีก ลังการผลิตเพียงพอเกินความต้องการในประเทศ และสามารถเติบโตจนเป็นผู้ส่งออกที่ติดอันดับท๊อปเทนของโลกในสินค้าต่างๆ และมีการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้มาก เช่น อาหาร รถยนต์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น
          
ภายหลังโควิด-19 รูปแบบการค้า กฎระเบียบการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานของสินค้าที่สูงขึ้น การให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของอาหาร สิ่งแวดล้อม แรงงาน ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล การให้แต้มต่อทางการค้า และเปิดตลาดให้กับกลุ่มพันธมิตรทางการค้าหรือประเทศที่มีมาตรฐานเดียวกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ไทยต้องหาพันธมิตรใหม่ๆ หรือเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าสมัยใหม่ อาทิ CPTPP เพื่อช่วยให้ไทยได้แต้มต่อทางการค้า และเป็นประเทศที่น่าสนใจในสายตาของนักลงทุน รวมทั้งไม่ตกขบวนรถไฟของกระบวนการหรือห่วงโซ่การผลิตโลก และเป็นฐานการผลิตและการลงทุนในภูมิภาค ที่จะก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
           
ในส่วนระเด็นที่มีผู้กังวลว่าความตกลง CPTPP จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา การคุ้มครองพันธุ์พืช และการเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของไทย นางอรมน กล่าวว่า ผลการศึกษาข้อในบทความตกลง CPTPP และข้อผูกพันของประเทศสมาชิก CPTPP พบว่า
          
(1) ความตกลงฯ ได้ถอดเรื่องการขยายขอบเขตและอายุคุ้มครองสิทธิบัตรยา ตลอดจนการผูกขาดข้อมูลผลการทดสอบยาออกไปแล้วตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากการเจรจาความตกลง CPTPP จึงไม่มีข้อบทนี้ และสมาชิก CPTPP ไม่มีข้อผูกพันเรื่องนี้ นอกจากนี้ ความตกลง ข้อ 18.41 และ 18.6 กำหนดให้สมาชิกสามารถบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา(CL) และใช้มาตรการเพื่อดูแลเรื่องสาธารณสุข เพื่อดูแลเรื่องการเข้าถึงยาของประชาชนได้ตามความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลก (WTO) ในทุกกรณี รวมถึงการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่เพื่อการค้า (public noncommercial use) อีกทั้งจะไม่สุ่มเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องในประเด็นการใช้ CL เพราะข้อบทการลงทุนข้อที่ 9.8 เรื่องการเวนคืน (expropriation) ย่อหน้าที่ 5 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะไม่นำมาใช้กับมาตรการ CL          
          
นอกจากนี้ ข้อบทเรื่องการระงับข้อพิพาทข้อ 28.3.1 (C) ไม่ได้รวมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของข้อบทในขอบเขตการระงับข้อพิพาทระหว่างสมาชิก CPTPP
          
(2) เรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่และการเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV 1991) ได้ให้ทางเลือกแก่สมาชิก CPTPP สามารถออกกฎหมาย กำหนดเป็นข้อยกเว้นให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในพื้นที่เพาะปลูกของตนได้ อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของพันธุ์หากซื้อมาถูกกฎหมาย จึงแก้ปัญหาที่เกษตรกรมีข้อกังวลว่าจะไม่สามารถเก็บพันธุ์พืชไว้ปลูกต่อได้เมื่อเข้าเป็นสมาชิก UPOV รวมทั้งยังคงสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชในกลุ่มพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ดั้งเดิม พันธุ์ป่าของพืชทุกชนิดรวมทั้งสมุนไพร และพันธุ์การค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครองไปปลูกต่อได้เหมือนเดิม
          
(3) สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ความตกลงฯ เปิดให้สมาชิกสามารถกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการแข่งขันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ถ้ามูลค่าต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ก็ไม่ต้องเปิดให้สมาชิก CPTPP เข้ามาแข่งขันทำให้สมาชิก CPTPP สามารถดูแลผู้ประกอบการในประเทศ และมีระยะเวลาปรับตัว เช่น เวียดนาม ขอเวลาปรับตัวถึง 25 ปี
          
นอกจากนี้ สำหรับข้อกังวลอื่นๆ ที่มีหน่วยงาน ภาคเกษตร ภาคประชาสังคมหยิบยก ไทยก็จะต้องเข้าไปเจรจา ต่อรองเพื่อขอข้อยืดหยุ่น และข้อยกเว้น ที่จะไม่รวมเรื่องที่ไทยมีข้อกังวล หรือไม่พร้อมจะเปิดตลาด หรือไม่พร้อมจะปฏิบัติตามพันธกรณีไว้ในข้อผูกพันของไทย ดังเช่นที่ประเทศสมาชิก CPTPP มีการขอเวลาปรับตัว และขอข้อยกเว้นไว้ ซึ่งในส่วนการทำหนังสือถึง ครม.ของกระทรวงพาณิชย์ เป็นเพียงขอพิจารณาให้ไทยเคาะประตูไปเจรจากับสมาชิก CPTPP ซึ่งเป็นเพียงก๊อกแรก หรือขั้นตอนเริ่มต้นเท่านั้น เป็นการขอโอกาสไปคุยกับสมาชิก CPTPP เพื่อเตรียมตัวรับมือการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และรูปแบบการค้าที่จะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19  
          
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการเตรียมกลไกช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร SMEs และผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากความตกลงโดยอยู่ระหว่างศึกษาและหารือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถจัดตั้งกองทุน FTA ที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและความต้องการต่อผู้ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ
          
นางอรมน กล่าวว่า หาก ครม.เห็นชอบให้ไทยขอเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP ก็ยังมีอีกหลายขั้นตอน คือ ไทยจะต้องมีหนังสือถึงนิวซีแลนด์ ในฐานะประเทศผู้รักษาความตกลงฯ เพื่อขอเจรจาเข้าร่วม หลังจากนั้น จะมีการตั้งคณะเจรจาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่เจรจาต่อรองเงื่อนไข ข้อยกเว้น และระยะเวลาในการปรับตัวของไทย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด และในระหว่างการเจรจาจะต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้าร่วมหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความเห็น และความคืบหน้าต่างๆ ซึ่งในท้ายที่สุด การตัดสินใจว่า ไทยจะยอมรับผลการเจรจา และเข้าร่วมความตกลง CPTPP หรือไม่ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ

Cr. https://www.banmuang.co.th/news/politic/190005
  

"จุรินทร์"นำคณะมอบปลากระป๋อง 5 พันกระป๋องแก่จุฬาราชมนตรี




วันที่ 27 เม.ย. 2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เดินทางเข้าเยี่ยมคารวะ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี เนื่องในโอกาสเข้าสู่เดือนรอมฎอนอันประเสริฐ พร้อมกันนี้เป็นตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ และมูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช มอบปลากระป๋องจำนวน 5,000 กระป๋องมูลค่า 75,000 บาท  พร้อมมอบกระเช้าสุขภาพและอินทผาลัมให้แก่ท่านจุฬาราชมนตรี  ณ บ้านพัก ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  

"พลังธรรมใหม่"ค้าน นำ CPTPP เข้าครม. พบแล้วใครชง



วันที่ 27 เม.ย. 2563  เมื่อเวลา 10.30 น.นายทศพล แก้วทิมา รองหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ในนามของพรรค โดยระบุถึงเรื่องการเข้าเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้ชะลอการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปก่อน ด้วยเหตุผลดังนี้ 

1.การเข้าร่วม CPTPP ของไทยจะทำให้ไทยต้องรับเงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่จะกระทบต่อประชาชน ซึ่งปัจจุบันยังมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดจากปมความเหลื่อมล้ำและความเป็นชนชั้น เนื่องจากกลุ่มที่ได้ประโยชน์จะเป็นภาคธุรกิจและการลงทุนขนาดใหญ่ กลุ่มทีได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิต คือประชาชนทั่วไป และเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรของประเทศที่มีฐานะยากจน       
        
2.กระทรวงพาณิชย์ยอมรับประเด็นข้อกังวล เรื่องสิทธิบัตรยา การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ รวมทั้งเรื่องภาษีการค้าระหว่างประเทศก็ยังไม่มีความชัดเจน  โดยมีการศึกษาเพื่อจัดเตรียมกลไกช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร SMEs และผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากความตกลงCPTPP ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่จริงของผลกระทบด้านลบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติ
       
3.ปัจจุบัน ประเทศไทยและประชาคมโลก กำลังเผชิญกับภัยพิบัติจากเชื้อโรคร้าย “โควิด-19” ทำให้มีผู้ติดเชื้อนับล้านคน เสียชีวิตนับแสน และยังไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์เลวร้ายนี้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แต่มีความเข้าใจตรงกันว่าเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายและจบลง สังคมโลกใหม่จะไม่เหมือนเดิม เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่วิถีของการดำรงชีวิตจะเปลี่ยนไป ซึ่งคาดการว่าข้อตกลงใดๆ ของประชาคมโลกก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับความตกลงการเป็นสมาชิกหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งใช้ข้อมูลก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลเก่าที่ควรนำมาทบทวนใหม่ ให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
          
4.การนำเรื่องการเข้าสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) มาพิจารณาในสถานการณ์ที่ประเทศประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน และมีการประกาศเคอร์ฟิวไปทั่วประเทศ จะทำให้เกิดผลเสียต่อรัฐบาล โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี ที่จะถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจพิเศษในการ “อุ้มนายทุนและทิ้งคนจน”    ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานในการจัดการกับเชื้อโรคร้าย และการฟื้นฟูประเทศไทย ที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่นและความศรัทธาต่อผู้นำอย่างมาก
           
ดังนั้น พรรคพลังธรรมใหม่ มีความเห็น ว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 28 เมษายน 2563 ไม่ควรนำเรื่องการเข้าเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)  เสนอต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณา เพราะไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วน แต่หากมีการนำเข้าพิจารณาก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ในการบริหารสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากคนไทยทั้งประเทศ
          
ทั้งนี้นายทศพล เปิดเผยว่า ทางพรรคพลังธรรมใหม่ได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องนี้ไป พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อช่วง 10.00 น.ที่ผ่านมาแล้ว 

ขณะที่ เพจ"ประสิทธิ์ชัย หนูนวล" ได้โพสต์ข้อความว่า 

พบแล้วคนเสนอเรื่องเข้า ครม.
ชงเรื่องให้ไทยเข้าร่วม CPTPP ที่จะมีผลกว้างขวางต่อประเทศไทยไม่เพียงการผูกขาดเมล็ดพันธุ์

คนเสนอเรื่องนี้คือ พรรคประชาธิปัตย์
โดย หัวหน้าพรรค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ในฐานะ รมต.กระทรวงพานิชย์

การกระทำของประชาธิปัตย์คราวนี้เท่ากับว่า กำลังประกาศสงครามกับประชาชน เพราะความมั่นคงอาหาร การผูกขาดเมล็ดพันธุ์และยารักษาโรคเป็นด่านสุดท้ายที่ประชาชนต้องรักษาไว้ ไม่เพียงประชาธิปัตย์จะมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ แต่กำลังส่งผลต่อยารักษาโรค และระบบเศรษฐกิจอื่นที่มีผลอย่างกว้างขวาง เอื้อประโยชน์ทุนใหญ่และต่างชาติ ประชาธิปัตย์ยังมีเวลาในการถอนญัตติเรื่องนี้ออกจาก ครม.ในการประชุมวันพรุ่งนี้

ไม่เช่นนั้นการเลือกตั้งคราวหน้าประชาธิปัตย์เตรียมตัวสูญพันธุ์

คิดให้ดีนะครับ
ใครเป็นสาวก ปชป.ส่งคำเตือนไปด้วยครับ

ในฐานะนักการเมือง
พวกคุณต้องรับผิดชอบต่อหายนะครั้งสำคัญนี้

#nocptpp
#ปชป.ต้องถอน

ก่อนหน้านี้ เพจ ประสิทธิ์ชัย หนูนวล ได้โพสต์ว่า 

แถลงการณ์ถึงรัฐบาลขอให้ยุติการเข้าร่วม CPTPP 

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP) มีผลกระทบต่อประเทศไทยหลายประการโดยเฉพาะประเด็นด้านยาและพันธุกรรมพืช ในส่วนของพันธุกรรมพืช เมื่อไทยเข้าร่วม CPTPP ส่งผลให้.ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา UPOV1991

โดยอนุสัญญานี้ ทำให้ประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมายภายใน โดยต้องขยายสิทธิผูกขาดให้แก่บรรษัทเมล็ดพันธุ์ ห้ามเกษตรกรเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อ รวมไปถึงการผูกขาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ขยายระยะเวลาการผูกขาดจากที่กำหนดไว้ส่วนใหญ่ 12 ปี เป็น 20 ปี

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรจึงกว้างขวางมากเพราะ อนุสัญญา UPOV 1991 ทำให้เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากเจ้าของพันธุ์ทุกฤดูเพาะปลูก หากเกิดสถานการณ์พิเศษ เช่น การขาดแคลนอาหาร พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชของไทยฉบับที่ใช้ปัจจุบัน เปิดช่องให้รัฐสามารถออกมาตรการเพื่อจำกัดสิทธิของเจ้าของพันธุ์ได้ แต่ อนุสัญญา UPOV 1991 ไม่มีข้อยกเว้นสิทธิใดๆ เลย รวมถึงยังระบุให้รับรองพันธุ์พืชที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรม

เมื่อพิจารณาสาระของอนุสัญญาดังกล่าว เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับทุนใหญ่ในการควบคุมพันธุกรรม ภายใต้สิทธิบัตร ปิดกั้นโอกาสการปรับปรุงพันธุของเกษตรกร ในทางธุรกิจจะทำให้บรรษัทใหญ่ร่ำรวยมหาศาลจากกติกานี้และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การคุมระบบอาหาร โดยหากจะคุมระบบอาหารต้องคุมปัจจัย ๓ ประการคือ ที่ดิน น้ำ เมล็ดพันธุ์ และรัฐบาลประสบความสำเร็จใน๒ปัจจัยแรกแล้ว เหลือเพียงปัจจัยเมล็ดพันธุ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

การเกิดขึ้นของรัฐบาลรัฐประหารได้ทำลายแผ่นดินไทยในหลายระบบ ฐานที่มั่นสุดท้ายของประชาชนคือความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีชีวิตอยู่ ในขณะที่อาหารมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด มีความจำเป็นสูงสุด หากรัฐปล่อยให้กลุ่มทุนทำลายฐานที่มั่นสุดท้ายของประชาชน เท่ากับรัฐยกแผ่นดินไทยให้กลุ่มทุนจัดการ เมื่อเป็นเช่นนี้ การใช้คำว่า ‘ทรราช’ กับทหารและกลุ่มทุนรวมถึง ครม.ในรัฐบาลชุดนี้ไม่เพียงพอที่จะอธิบายพฤติกรรมอันเลวร้ายนี้ได้

การประกาศเข้าร่วมกับกับ CPTPP ของรัฐบาลชุดนี้เท่ากับเป้นการทำลายล้างความมั่นคงอาหารของประชาชน ซึ่งไม่ต่างจากการประกาศสงครามกับประชาชน หากวันที่ ๒๘ เมษายน ครม.มีมติให้เข้าร่วมกับ CPTPP เท่ากับว่ารัฐบาลประกาศสงครามกับประชาชน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลทำเรื่องเลวร้ายต่อประเทศนี้มากมายเหลือเกิน จนไม่สามารถประดิษฐ์คำมาสาธยายได้อีกต่อไป นอกจากประชาชนต้องลุกขึ้นมาประกาศสงครามกับกลุ่มนายพลที่รวมหัวกับกลุ่มทุน ภายใต้รัฐบาลรัฐประหารจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน

เราขอประกาศว่าการทำลายความมั่นคงอาหารเท่ากับการประกาศสงครามกับประชาชน

26 เมษายน 2563 

เครือข่ายประชาชนเขียนอนาคตประเทศไทย
มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุง
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง
เครือข่ายเมล็ดพันธุ์ยาใส้ยาใจ
วิทยาลัยรวงข้าวพัทลุง

ม็อบออนไล์มาแล้ว! ค้าน CPTPP "พิชัย"แนะคิดให้ดีนำเข้า ครม.28 เม.ย.นี้



ม็อบออนไล์มาแล้ว  FTA Watchg นัดชุมนุมคัดค้าน  CPTPP ต้านครม.พิจารณา 28 เม.ย.นี้ หวั่นทำลายความมั่นคงอาหารและยา ขณะที่ "พิชัย" แนะรัฐบาลคิดให้ดี

วันที่ 27 เม.ย.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ FTA Watchg เชิญประชมชน "ร่วมชุมนุมออนไลน์"  โดยการถ่ายภาพตนเองพร้อมข้อความขึ้นหน้า wall ใส่แฮชแท็กข้อความต่อไปนี้  

#NoCPTPP #อย่าฉวยโอกาส
#วิกฤติโควิดต้องคิดใหม่
#ไม่เอาCPTPPการค้าล้าหลัง
#เก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อไม่ใช่อาชญากรรม
#ความมั่นคงทางอาหาร #ความมั่นคงทางยา
#คือความมั่นคงของสังคม #CPTPP
#MobFromHome

นัดประชาชนทุกคนให้ร่วมแชร์ ส่งไปยังทุกช่องทางสื่อสาร ตั้งแต่ 6 โมงเช้า วันจันทร์ที่ 27 เม.ย.นี้ เพื่อต่อต้านการกระทำของคณะรัฐมนตรีเตรียมลงมติเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิคCPTPP ตามข้อเสนอของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่เสนอเรื่อง หนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP)  ในวันอังคารที่ 28 เมษายน 2563 นี้

การเข้าร่วม CPTPP จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงแก่ประเทศไทย ได้แก่ การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ทำลายความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางยา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลาง/ขนาดเล็กของไทย รวมทั้ง การจำกัดพื้นที่สาธารณะของรัฐในการคุ้มครองประชาชน อีกทั้งไม่มีการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤติโควิด-19

ขณะที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน กล่าวว่า การส่งออกเดือนมีนาคมที่ขยายตัว 4.17% แต่เมื่อหักการส่งออกทองคำและการส่งคืนยุทโธปกรณ์ซ้อมรบกลับสหรัฐที่ไม่สะท้อนภาวะการค้าที่แท้จริงแล้วการส่งออกจะหดตัวติดลบ - 2.5% ไม่ได้ขยายตัวตามที่กล่าวอ้างกัน อีกทั้งในวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมานี้ จะเป็นวันแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (จีเอสพี) กับสินค้าไทย 573 รายการ มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาทซึ่งจะทำให้การส่งออกของไทยย่ำแย่ลงไปอีก ทั้งนี้ การค้าขายระหว่างประเทศของทั้งโลกภายหลังมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะมีความผันผวนมากขึ้นไปอีก 

ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมความตกลงครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ก็อยากให้รัฐบาลพิจารณาให้ดีถึงข้อดีข้อเสียที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศ อย่าเพียงคิดว่าประเทศไทยไม่สามารถเจรจาการค้ากับต่างประเทศมาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี เพราะปัญหาของการปฏิวัติรัฐประหาร แล้วจะรีบแก้ไขโดยการเข้าร่วม CPTPP แบบไม่ลืมหูลืมตา ทั้งนี้เพราะไทยอาจจะต้องเจอปัญหาสิทธิบัตรยา และ ปัญหาลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งทั้งปัญหาด้านสาธารณสุข และ ปัญหาความขาดแคลนอาหารของโลก หลังจากวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19ระบาดจะเป็นเรื่องใหญ่ ที่รัฐบาลต้องคำนึง อีกทั้งประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการค้าและการลงทุนจากการเข้าร่วม CPTPP ก็ยังไม่ชัดเจนจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกภายหลังการเกิดวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19นี้ โดยอยากให้รัฐบาลได้ฟัง และพิจารณา เสียงคัดค้านและเหตุผลของผู้มีชื่อเสียงและนักวิชาการจำนวนมากที่ได้ออกมาต่อต้านการเข้าร่วม CPTPP นี้ 

ทั้งนี้ ในภาวะวิกฤตกาณ์ไวรัสโควิด-19 นี้สถานการณ์ต่างๆจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ย่ำแย่อยู่แล้วมาตลอด 5 ปีนี่ จะยิ่งทรุดหนักและย่ำแย่ลงไปอีกอย่างรุนแรงแบบที่จะไม่เคยพบมาก่อน  เพราะภาวะเศรษฐกิจโลกจะผันผวนและซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยให้แย่ลง  ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจสายการบิน และ ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว จะเป็นธุรกิจแรกๆที่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และจะยังมีผลต่อเนื่องไปยังธุรกิจอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการว่างงานจำนวนมากทั่วโลก รวมถึงไทยที่จะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นถึงกว่า 10 ล้านคน ซึ่งจะทำให้เกิดความลำบากกันอย่างมาก 

ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลได้วางแผนการรับมือปัญหาเศรษฐกิจที่จะหนักหนาสาหัสล่วงหน้า อย่าได้บริหารประเทศเหมือนในปัจจุบันที่ดูเหมือนรัฐบาลจะขับเคลื่อนโดยการโดนด่า หรือ ต้องถูกด่าก่อนถึงจะยอมดำเนินการ โดยล่าสุดรัฐบาลมีความคิดที่จะตัดงบบัตรทองลง 2,400 ล้านบาท แต่เมื่อโดนด่ามากจึงยอมถอย  การแจก 5000 บาท ก็เกิดจากเสียงด่าที่ปิดเมืองแล้วทำให้คนตกงานและขาดรายได้แต่กลับไม่มีการเยียวยา พอถูกด่าว่าแจกแค่ 3 ล้านคน ทั้งที่มีผู้เดือดร้อนสมัครเข้ามากว่า 27 ล้านคน จึงขยายเป็น 9 ล้านคน และยังถูกด่าอีกจึงขยายเป็น 14 ล้านคน ต่อมาประชาชนด่าว่าค่าไฟฟ้าแพงจึงคิดลดค่าไฟฟ้าทั้งที่ได้เตือนก่อนแล้ว การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ก็เช่นกัน ถ้าไม่ถูกด่าป่านนี้ก็ยังคงจัดซื้ออาวุธกันมากมายโดยไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชน และหากมองย้อนหลัง ปัญหาหน้ากากอนามัย และ แอลกอฮอล์ ขาดแคลนก็ต้องถูกด่ากันก่อนถึงมาแก้ไข ซึ่งหากต้องถูกด่าก่อนถึงจะดำเนินการ รัฐบาลจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศให้ทันการได้

ในภาวะวิกฤติต่อไปนี้ การเปลี่ยนแปลงและความผันผวนจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ประเทศไทยต้องการผู้บริหารประเทศที่ต้องคิดเป็น บริหารเป็น ไม่ใช่ต้องถูกด่า ต้องถูกตำหนิก่อนถึงจะคิดดำเนินการ ถ้าหากรัฐบาลยังบริหารประเทศแบบขับเคลื่อนโดยการโดนด่านี้ ประเทศไทยจะไม่สามารถฝ่าวิกฤติการณ์นี้ไปได้ และ ประชาชนจะยิ่งลำบากกันอย่างมาก

"ประพัฒน์"เตือนเกษตรกร หากนิ่งเฉยจะเสียประโยชน์แน่

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีนี้ ความโดยสรุปว่า อยากให้พี่น้องเกษตรกร ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด หากว่าละเลย เพิกเฉย ไม่เอาใจใส่ ไม่แอ็คชั่นอะไรบางอย่างให้รัฐบาลรู้ว่า เกษตรกรกำลังห่วงใยเรื่องนี้


"ขอแจ้งข่าวให้พี่น้องเกษตรกรได้โปรดติดตามเรื่องนี้ อย่างใกล้ชิด เอาใส่ใจ หากว่ามีการจัดเวทีที่ไหน โปรดเข้าไปแสดงความคิดเห็น ให้รัฐบาลรับรู้ในเรื่องนี้ หากเพิกเฉย ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะเข้าใจเอาว่าท่านทั้งหลายเห็นด้วยกับรัฐบาล และคนที่ได้ประโยชน์ จะเป็นผู้ที่ได้เปรียบทาง

"โควิด - 19"ระบาด! พิสูจน์ผลงาน "เทวัญ" สนองงานคณะสงฆ์เด่นลบภาพขัดแย้ง



"โควิด - 19"ระบาด! พิสูจน์ผลงาน "เทวัญ" สนองงานคณะสงฆ์เด่นลบภาพขัดแย้ง  : ดร.มหาสำราญ สมพงษ์ รายงาน

ภาพการยืนคอยต้อนรับคณะชาวไทย จำนวน 171 ราย ประกอบด้วย พระสงฆ์ 104 รูป แม่ชี 11 คน และผู้ปฏิบัติธรรม 56 คน เดินทางกลับจากประเทศอินเดีย โดยสายการบิน Air Asia เที่ยวบินที่ FD9123 ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ประเทศไทย เมื่อเวลา 17.00 น.ของวันที่ 24 เม.ย.2563 ของนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้วยการอาการสำรวม เมื่อเห็นภาพพระสงฆ์เดินลงจากบันไดเครื่องบินได้หลับตายกมือขึ้นไหว้ ได้สะท้อนถึงความเคารพนับถืออย่างจริงจัง อันเป็นคุณสมบัติที่ดีของชาวพุทธคนหนึ่ง

นายเทวัญในฐานะประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำหนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ที่มีหน้าที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนา ได้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนด้วยดีเสมอมา ลดภาพของการกำกับหรือการควบคุมหรือปราบปรามเฉกเช่นในอดีตลง



นายเทวัญตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งและทำหน้าที่จุดนี้ ได้เข้ารายงานตัวต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมที่ถือว่าเป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย พร้อมเสนอนโยบายในการทำหน้าที่ ขณะเดียวกันนายเทวัญยังเข้าถึงพระเถระขั้นผู้ใหญ่ในและนอกมหาเถรสมาคม ดังจะเห็นได้จากการเข้ากราบสักการะสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ภาพการร่วมเดินทางไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่จังหวัดสกลนครและจังหวัดต่างๆ กับคณะสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศเสมอ จึงทำให้ภาพการปฎิบัติภารกิจของนายเทวัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ 



นายเทวัญยังได้พยายามลบภาพความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคณะสงฆ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเงินทอนวัดและความขัดแย้งกับวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี สังเกตได้จากการให้สัมภาษณ์จะไม่มีการชี้นำไปทางใดทางหนึ่ง แต่จะโยนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ 



คราวเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาพของการทำหน้าที่ของนายเทวัญปรากฏเด่นชัดขึ้น โดยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ได้แจ้งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานเงิน 2 ล้านบาท เพื่อต้องการให้นำไปซื้อหน้ากากอนามัย ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อนำไปแจกจ่ายให้พระสงฆ์ในวัดทั่วประเทศ โดยเน้นวัดที่มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากและรวมถึงนักท่องเที่ยวด้วย 


หลังจากนั้นก็ได้ลงพื้นที่ตามวัดต่างๆ ให้คำแนะนำกับพระสงฆ์ในการปฏิบัติตนป้องกันไวรัสโควิด-19 นำคณะทำความสะอาดวัดต่างๆ และเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ โรงทาน ที่จัดตั้งขึ้นในวัดต่างๆ ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อย่างเช่นที่วัดศูนย์วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ศูนย์วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร  



รวมถึงที่ศูนย์วัดระฆังโฆสิตารามซึ่งยกให้เป็นศูนย์ต้นแบบเพราะได้เห็นการบริหารจัดการที่ดี เป็นระบบ และเป็นต้นแบบให้วัดอื่นที่มีการจัดตั้งโรงทานเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากวัดจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธแล้ว ยังเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกชาติ ศาสนา ไม่ใช่เพียงชาวพุทธเท่านั้น




แม้แต่การลงพื้นที่ของนายเทวัญส่วนใหญ่ก็มีส่วนสัมพันธ์กับวัด อย่างเช่นล่าสุดวันที่ 25 เม.ย. ที่วัดสุทธจินดาวรวิหาร เขตเทศบาลนคร ( ทน.) นครราชสีมา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะร่วมกันมอบถุงยังชีพข้าวสารอาหารแห้ง และชุดหน้ากากผ้า ตามโครงการคนโคราชรักจริงไม่ทิ้งกันร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19ให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 125คน บรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเทศกิจ ทน. ร่วมกันอำนวยความสะดวก รวมทั้งตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกาย พร้อมปฏิบัติมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมสวมหน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค จากนั้นคณะได้เดินทางไปมอบถุงยังชีพข้าวสารอาหารแห้งฯ ที่วัดหงษาราม ,วัดหนองไผ่ล้อมและวัดท่าตะโก อ.เมือง ฯ เพิ่มเติมแห่งละ 125 คน

นายเทวัญ ยังได้กล่าวถึงการดูแลและตรวจคัดกรองพระสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องที่เดินทางกลับจากประเทศอินเดียตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. จำนวน 171 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 104 รูป แม่ชี –ญาติธรรม 67ราย ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่าพบการติดเชื้อ หรือมีอาการป่วยไข้แต่อย่างใด มาตรการตรวจสอบคัดกรองต่างๆที่สนามบินดอนเมือง เป็นมาตรการเดียวกันกับสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อมีประชาชนเดินทางกลับจากต่างประเทศเข้ามา ต้องมีการตรวจคัดกรองตามระเบียบขั้นตอนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อย่างเคร่งครัดเข้าสู่สถานที่กักตัวเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่สำหรับพระสงฆ์ ในพระธรรมวินัย อาจประสบอุปสรรคในการดำเนินการ จึงมีการจัดพื้นที่โรงแรมเป็นสถานที่กักกันเหมาะสมสำหรับพระสงฆ์โดยดำเนินการขออนุญาตมหาเถรสมาคม ให้โรงแรมสามารถเป็นเขตสังฆาวาส หรือเรียกว่าที่พักขอสงฆ์ได้โดยขอความร่วมมือพระสงฆ์ที่มีวัดอยู่ใกล้เคียงโรมแรมที่จัดเป็นสถานที่กักกัน คอยรับประเคนภัตตาหารมาส่งต่อให้พระสงฆ์ที่อยู่ในสถานที่กักกันเป็นระยะเวลา 14 วัน

"ส่วนการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาพระสงฆ์ทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการปิดวัด งดกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันแออัดสำหรับวัดบางแห่งได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากขาดปัจจัยที่จะนำไปจ่ายค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้า รวมทั้งค่าภัตตาหารเนื่องจากไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกำลังดำเนินการหาแนวทางช่วยเหลือโดยต้องมีการประชุมหารือกันอีกครั้ง" นายเทวัญ กล่าว

การทำหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำหนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ของนายเทวัญที่ผ่านมาจนถึงการระบาดของไวรัสโควิด-19   ได้สนองงานคณะสงฆ์อย่างเด่นชัด และลบภาพขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคณะสงฆ์กรณีเงินทอนวัดและวัดพระธรรมกายลงได้  

โควิด-19มา! พิสูจน์ 7 ปี ร.ร.ชาวนา"เจ้าคุณ ว." คือทางรอด



เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2563  เพจพระเมธีวชิโรดม - ว.วชิรเมธี ได้โพสต์ข้อความว่า นาทีนี้ "ความมั่นคงทางอาหารสำคัญที่สุด"  7 ปี ที่ผ่านมา "มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์" (โรงเรียนชาวนา) สถาบันการศึกษาทางเลือกภายใต้ การดูแลของ "มูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์" มุ่งมั่นพัฒนาคน ให้เข้มแข็งจากฐานรากตามแนวทาง "อยู่รอด อยู่ได้ อยู่ดี" 

โดยมี "คาถาหัวใจเศรษฐีของพระพุทธเจ้า"  ที่ว่า 1.ขยันหา 7.รักษาดี 3.มีกัลยาณมิตร 4.ใช้ชีวิตพอเพียง มาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอน

เมื่อวิกฤติโควิด-19  มาเยือน ผู้ที่เดินอยู่บนหนทางแห่ง การพึ่งตนเองโดยมีความมั่นคงทางอาหารเป็นจุดแข็ง จึงเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก
สามารถหยัดยืนเป็นหลักให้แก่ตัวเอง และแก่สังคมได้อย่าง มั่นคงดั่งคำกล่าว "ตนเป็นที่พึ่งของตน จากนั้นจงให้คนเขาได้พึ่ง" 

(ติดต่อมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ได้ที่ 093-2904799)


วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

"อ.ยักษ์"ประกาศต้าน CPTPP เข้า ครม. 28 เม.ย.นี้



"อ.ยักษ์"ประกาศต้าน CPTPP เข้า ครม. 28 เม.ย.นี้ หวั่นเอื้อประโยชน์บรรษัท ทำความความมั่นคงทางอาหาร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2563 เพจBIOTHAI โพสต์ข้อความว่า กระแสคัดค้านลาม ! อาจารย์ยักษ์ หรือ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊ค Wiwat Salyakamthorn เมื่อเช้าตรู่วันนี้ (26/4/2563) ว่า " กสิกรรมธรรมชาติทั่วประเทศร่วมคัดค้าน" พร้อมแชร์ โปสเตอร์ซึ่งเผยแพร่โดยไบโอไทย มีข้อความว่า

"เก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ ไม่ใช่อาชญากรรม หยุด UPOV1991"

" คัดค้านการเข้าร่วม CPTPP เพื่อประโยชน์บรรษัท ทำลายความมั่นคงทางอาหาร"

ไบโอไทยได้ตรวจสอบเรื่องนี้กับนายธีระ วงษ์เจริญ อดีตที่ปรึกษารมช.เกษตรและสหกรณ์ ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ได้รับคำยืนยันว่ามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติทั่วประเทศ จะร่วมเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องนี้ เช่นเดียวกับ นายแพทย์มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวอย่างรุนแรงว่า การเข้าร่วม CPTPP จะสร้างผลเสียหายร้ายแรงทั้งด้านความมั่นคงด้านอาหารและเรื่องยา ผ่านเฟซบุ๊คไลฟ์เมื่อวานนี้

นายธีระ ยังกล่าวด้วยว่าตนเองในฐานะประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี จะประสานกับนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติให้ออกมาแสดงจุดยืนเรื่องนี้โดยเร่งด่วนด้วย ทั้งนี้เนื่องจากจะมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ประเทศไทยเข้าร่วม CPTPP ตามข้อเสนอของทีมเศรษฐกิจที่นำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯในวันอังคารที่ 28 เมษายน 2563 นี้

ฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19! "บิ๊กตู่"จะยึดแนวทาง 20 เศรษฐี หรือ"สุวิทย์"ที่ชูแนวพอเพียง



ฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19! "บิ๊กตู่"จะยึดแนวทาง 20 เศรษฐี หรือ"สุวิทย์"ที่ชูแนวพอเพียง 
 : ดร.มหาสำราญ สมพงษ์ รายงาน

ช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังร่่างจดหมายเปิดผนึกที่จะเชิญมหาเศรษฐีไทยจำนวน 20 คนเพื่อมาร่วมมือกันฝ่าวิกฤติโควิด-19อยู่นั้น ช่วงเย็นของวัน 18 เม.ย.2563  นายสุวิทย์ เมษินทรีย์  รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee" โดยตั้งหัวข้อเรื่องว่า "แนวทางการปรับตัวภายใต้ภาวะวิกฤตโควิด-19 โดยระบุว่า 

จากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน ทางคณะทำงานของผมได้นำรายงาน 2 ชิ้นของทาง McKinsey & Company มาถอดบทเรียนการรับมือกับโควิด-19 สรุปเรียบเรียงเป็นภาษาไทยไว้ ล่าสุดได้เพิ่มบทความอีก 1 ชิ้น “How to Restart National Economies during the Coronavirus Crisis"  โดย McKinsey & Company (เดือนเมษายน 2563) ประกอบกับบทวิเคราะห์ของคณะทำงานของผมร่วมเข้าไปด้วยในชื่อ "ปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอดในยุคโควิด-19" 

เนื้อหาครอบคลุมมาตรการสำคัญที่แต่ละประเทศใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เครื่องมือในการช่วยประเมินและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมตามสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการกลับมาเดินเครื่องเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง ตลอดจนนัยสำคัญที่ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้

สำหรับผู้ที่สนใจตามไฟล์นี้  https://drive.google.com/file/d/1o-0Nuw-z7zGba7TrFOCLV8LVvbVbfkob/view?fbclid=IwAR0p8MLYagrq_CFTAkTO_1HCqQQq4zRBDD-D7TpG1nT9mg_1fWpFhmCdLBI 

อย่างไรก็ตามตอนท้ายนี้ของรายงานได้สรุปว่า  

ซึ่งก็สอดรับกับความเห็นของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุม สุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษ ว่าด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยได้เสนอแนวคิดข้อที่ 4. เมื่อวันที่ 14 เม.ย.2563 ที่ระบุว่า  "เสนอให้อาเซียนถอดบทเรียนและประสบการณ์จากการต่อสู้กับโควิด-19 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับ ความท้าทายต่างๆ ที่อาจคุกคามชีวิตของประชาชนในอนาคต โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งจากภายในและการพึ่งพาตนเองของภูมิภาคในระยะยาวให้มากขึ้น"   https://www.banmuang.co.th/news/politic/188185 

และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่  27 มี.ค.2563 ที่ประชุมร่วมคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เสนอว่า "ถือโอกาสใช้วิกฤตนี้สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น ในรูปแบบ "เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติ" https://www.banmuang.co.th/news/politic/185643 

และตอน 2 ทุ่มกว่าของวันที่ 25 เม.ย.2563 เพจ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee ก็ได้โพสต์ข้อความย้ำอีกครั้งว่า 

ความพอเพียงยังคงเป็นคำตอบ ในโลกหลังวิกฤตโควิด-19

จากที่ผมได้นำเสนอเรื่อง 7 รอยปริปั่นป่วนโลก 7 ตราบาปหลังโควิด 7 ขยับเปลี่ยนเปลี่ยนโลก ไปแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าพวกเรากำลังดำรงชีวิตอยู่ใน "โลกที่ไร้สมดุล" ความไร้สมดุลในสภาวะที่พวกเราต้องอิงอาศัยกันมากขึ้นเป็นปฐมบทของความไร้เสถียรภาพ ความไม่มั่นคงปลอดภัย และความขัดแย้งที่รุนแรง ที่สะท้อนผ่านความเสี่ยงและภัยคุกคาม จนกระทั่งก่อเกิดเป็นวิกฤตโลกในที่สุด

วันนี้ผมขอนำบทความใหม่ล่าสุดที่ผมได้เขียนขึ้นมาแชร์ให้กับทุกท่านถึงคำตอบสำหรับโลกหลังโควิด-19

มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า "You can’t stop the waves but you can learn to surf." เราหยุดคลื่นไม่ได้ แต่เราสามารถเรียนรู้การโต้คลื่นได้ ดังนั้นพวกเราต้องคืนความสมดุลให้กับโลกธรรมชาติ ปรับสมดุลในปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เราจะต้องเตรียมความพร้อม มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน ใช้ปัญญา มีเหตุผล รู้จักความพอดี ความพอประมาณ ความลงตัวซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่อยู่ใน "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"  ที่ในหลวงล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ของเราทรงคิดค้นขึ้นมากว่าสามทศวรรษแล้ว

ที่สำคัญในโลกหลังโควิด-19 การกระทำของบุคคลหนึ่ง จะส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย จนอาจกล่าวได้ว่า "จากนี้ไป ผู้คนในโลก สุขก็จะสุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน"  ครับ

สามารถ Download "โลกเปลี่ยน คนปรับ: ความพอเพียงในโลกหลังโควิด" ได้จากลิ้งค์นี้ครับ https://drive.google.com/file/d/162o8RwMMMuRqtB4y3lWgDfzA5uyaRgYf/view?fbclid=IwAR0yV49VYZ3DR-7Sna6CblZJYysyaSL1Ity0un2bwchrBMP9opJKLSUUrZ8

มาถึงจุดนี้แล้วดูเหมือนว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จะตั้งหน้าตั้งตาฟังความเห็นจาก 20 มหาเศรษฐีถึงแนวทางในการฟื้นฟูประเทศหลังจากสามารถควบคุมไวรัสโควิด-19 ได้ จนทำให้นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ออกมาแสดงความเห็นว่า   จริงอยู่กลุ่มคนเหล่านี้มีบทบาทและอิทธิพลทางเศรษฐกิจในประเทศ แต่รัฐบาลจะหวังพึ่งเพียงคนกลุ่มนี้ไม่ได้จะต้องฟังเสียงทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน ทั้งจากประชาชนและภาคประชาสังคม การนำแนวทางของกลุ่มมหาเศรษฐีมาปฏิบัติ ก็จะต้องทำอย่างโปร่งใส 

"ก่อนหน้านี้เมื่อมีการแถลงของนายกฯ เรื่องการที่จะให้บรรดากลุ่มทุนเศรษฐีได้ร่วมแสดงความเห็น จนกระทั่งมีจดหมายออกมาชัดเจน ทุกคนมีคำถามเรื่องดีลต่างๆ เพราะเรื่องของทุนกับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก กระบวนการทำงานหลังจากนี้ต้องตรวจสอบได้ เปิดเผยให้สังคมได้เห็นคือมีธรรมาภิบาลทางการเมือง จะต้องชี้แจงข้อวิจารณ์เรื่องผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้ได้ และจะไปฝากความหวังไว้กับกลุ่มทุนเหล่านี้ไม่ได้ กลุ่มทุนเหล่านี้เขาก็เป็นผู้สนับสนุนได้ แต่จะมาให้เขาเป็นตัวกำหนดนโยบายเลยคงไม่ได้ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่รู้จะมีรัฐบาลไว้ทำไม" นายยุทธพร ระบุ

ดังนั้นแนวทางการฟื้นฟูประเทศหลังจากประเทศไทยสามารถควบคุมไวรัสโควิด-19 ได้ คงต้องรอความชัดเจนจากพล.อ.ประยุทธ์ว่าจะยึดแนวความคิดของ 20 มหาเศรษฐี หรือแนวความคิดของ ดร. สุวิทย์ ที่ตัวพล.อ.ประยุทธ์และนายสมคิดก็ได้ประกาศแล้วจะสนับสนุนแนวทางนี้ หรือจะมีการบูรณาการอย่างไร
          


กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...