วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"สมศักดิ์" แจงสภาฯ งานไกล่เกลี่ยแก้หนี้ครัวเรือนอยู่หมัด ช่วยลูกหนี้สำเร็จแล้ว 14,538 ราย



"สมศักดิ์"แจงนายกฯเร่งแก้ปัญหาหนี้สิน เผยงานไกล่เกลี่ย 19 ครั้ง ช่วยลูกหนี้สำเร็จ 14,538 รายทุนทรัพย์ 3,461 ล้านบาท ตั้งเป้าช่วยให้ได้ 189,817 คน ชี้งบต้านยาเสพติดน้อยไร้ปัญหา เผยยึดทรัพย์เครือข่ายได้แล้วกว่า 8,400 ล้านบาท

วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม อภิปรายชี้แจงปัญหาหนี้สินของประชาชนว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน นายกฯได้ใส่ใจในเรื่องนี้มาก โดยมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง การที่ท่านสมาชิกระบุว่าประชาชนจมกองหนี้ ต้องถูกฟ้องดำเนินคดี กระทรวงยุติธรรมได้จัดโครงการมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนทั่วประเทศ โดยมีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ที่ช่วยไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง และกรมบังคับคดี ที่ช่วยไกล่เกลี่ยหลังถูกศาลสั่งฟ้องยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด และเรายังมีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งหมด 1,024 ศูนย์ โดยมีเป้าหมายไกล่เกลี่ยในปีนี้ 189,817 ราย ทุนทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 21,377 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาเราจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยไปแล้ว 19 ครั้ง ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 14,538 รายทุนทรัพย์ 3,461 ล้านบาท โดยมีสถาบันการเงินหลายแห่งร่วมงาน อาทิ กยศ.และธนาคารต่างๆ การไฟฟ้า ซึ่งตนขอเชิญชวนตรงนี้เลยว่าหากใครเป็นหนี้อย่าหนี มาไกล่เกลี่ย จะได้หมดเรื่องทุกข์ใจ


นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาต้องขอขอบคุณสถาบันการเงินต่างๆ ที่ช่วยเหลือประชาชน ให้สิทธิประโยชน์มากมายทั้งการลดเงินต้น ลดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ส่วนในเรื่องของยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ บังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2564 เป็นวิธีปราบปรามยาเสพติดสมัยใหม่เน้นใช้การยึดทรัพย์ โดยในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลไม่ว่าจะชุดไหน การยึดได้แค่ปีละไม่เกิน 600 ล้านบาท แต่เมื่อกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ผ่านมา ระยะเวลาไม่กี่เดือนเราทำงานเข้าเป้า ปัจจุบันยึดได้ 8,400 ล้านบาท จากเป้าหมายที่เราตั้งไว้ 10,000 ล้านบาท ตนมั่นใจว่าหากเจ้าหน้าที่เข้าใจกฎหมายและได้ดำเนินการเต็มที่จะยึดได้อีกหลายหมื่นล้านบาท เพราะยึดทรัพย์ย้อนหลังได้ตามมูลค่ายาเสพติด 10 ปี ทั้งนี้แม้ว่างบประมาณด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจะได้น้อยแต่ไม่มีปัญหาในการทำงาน เพราะกฎหมายที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านให้ ตนต้องขอขอบคุณในเรื่องนี้ด้วย

 


สำนักงานศาลยุติธรรมจัดสัมมนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรูปแบบใหม่ในยุค SMART COURT



วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ห้องประชุมสำนักงานศาลยุติธรรม ชั้น 12  อาคารวศาลอาญา กรุงเทพฯ  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมโครงการสัมมนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรม เรื่อง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรูปแบบใหม่ในยุค SMART COURT  โดยมุ่งการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้องผ่านออนไลน์เพื่อให้เข้าใจในการระงับข้อพิพาท เป็นการพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มุ่งให้ศาลยุติธรรมทั่วประเทศมีการไกล่เกลี่ย 

นายจีระพัฒน์ พันธุ์ทวี เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวเปิดโครงการว่า สำนักงานยุติธรรมมุ่งให้คู่กรณีสามารถไกล่เกลี่ยกันมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยมีการเผยแพร่ในการระงับข้อพิพาทผ่านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงมีการจัดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในรูปแบบใหม่ผ่าน SMART COURTพร้อมมอบรางวัลศาลที่มีคดีการไกล่เกลี่ยออนไลน์มากที่สุดในแต่ละกลุ่มเพื่อเป็นแรงบันดาลใจกำลังใจในการทำงาน รวมถึงมอบรางวัลการออกแบบโลโก้เกี่ยวกับไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา  มจร ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร โดยสะท้อนว่า มีโอกาสทำงานความร่วมมือ ภายใต้ MOU ระหว่าง สำนักงานศาลยุติธรรมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จึงมีการเปิดหลักสูตรสันติศึกษาในระดับปริญญาโทเอก โดยผู้มาเรียนส่วนหนึ่งมาจากสำนักศาลยุติธรรม เช่น บุคลากร และ ผู้ประนีประนอมซึ่งในสถานการณ์ของโควิดจำเป็นต้องใช้กระบวนการออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญ มีความสะดวกรวดเร็วจริงแต่การไกล่เกลี่ยออนไลน์ขาดอารมณ์ ขาดความรู้สึกขาดความเข้าใจ ขาดกระบวนการขอโทษ ถือว่าเป็นกับดักที่สำคัญ โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสามารถแบ่งออก 2 ประการคือ คดีเหตุผล กับ คดีอารมณ์  

โดยมหาจุฬา มีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งกำกับโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยคนในสังคมเข้ามาพัฒนาตนเองอย่างมากในการไกล่เกลี่ย จึงตั้งคำถามว่า หลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาททาง มจร เน้นความรู้ ทักษะ ทัศนคติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นทักษะ เราไม่ได้ไกล่เกลี่ยภายนอกเท่านั้นแต่เราเน้นการไกล่เกลี่ยภายใน ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีสติ ควบคุมอารมณ์ตนเอง และสร้างการฟังเพื่อหาทางออกซึ่งเดินตามบันได 9 ขั้นของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวทางพุทธสันติวิธี 

ความขัดแย้งมาจากภายในเป็นสนิทที่กินของเรา จึงต้องไกล่เกลี่ยกับกิเลสตนเองผ่านสติ เริ่มจากการจัดการความขัดแย้งภายในของตนเอง จึงต้องจากการไกล่เกลี่ยตนเองก่อนไกล่เกลี่ยคนอื่น เราจึงต้องพัฒนานักไกล่เกลี่ยตื่นรู้ ซึ่งการจะพัฒนาภายในจะใช้ออนไลน์ไม่ได้ จึงขอร้องให้ศาลจัดหลักสูตรภายใน เพราะเราทำหลักสูตรภายนอกมากแล้ว มหาจุฬาพร้อมยินดีร่วมพัฒนาหลักสูตรภายในเพื่อพัฒนาผู้ประนีประนอมให้มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ  จิตใจจึงต้อง SMART Mind โดยมีจิตใจที่มีการปรับให้มีความมั่นคง แต่ใช้กระบวนการออนไลน์มีการกรอกความทุกข์ โดยแจ้งความทุกข์เพื่อมีใครที่เข้ามารับฟังอย่างจริงจัง ในท้ายสุดมีการฝากถึงสำนักงานศาลยุติธรรม 1) ทำหลักสูตรร่วมกันเกี่ยวกับสติสำหรับผู้ประนีประนอม 2)ผู้ประนีประนอมจะต้องมีความสุขในการทำงาน                    

จึงขออนุโมทนากับนายพงศธร  แทบทาม นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้าส่วนไกล่เกลี่ย สำนักส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ประสานงาน และขออนุโมทนาบุญอย่างยิ่งกับท่านพิเชษฐ์ คงศิลา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะกำกับดูแลโครงการ  

"ชัชชาติ" เข้ารับหนังสือรับรองจาก "กกต." แล้ว เริ่มงานผู้ว่าฯกทม.คนที่ 17 ทันที



วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565  นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17 หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรอแล้ว โดยวันนี้(1มิ.ย.) เวลา 11.00 น.ได้เดินทางไปรับหนังสือรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจาก กกต. เสร็จแล้วเดินทางเข้าไปที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้า และเปิดตัวทีมงานแบบเต็มทีมใน 3 ทีม ซึ่งประกอบด้วย ทีมรองผู้ว่าฯ พร้อมเลขาฯ ทีมที่ปรึกษาทางการเมือง และทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิค หลังจากนั้นประชุมร่วมกับปลัด กทม. และรองปลัด กทม. เพื่อขอฟังความคิดเห็นต่อนโยบายทั้ง 214 เรื่อง เพื่อให้ข้าราชการกทม. ได้มีส่วนร่วมกับนโยบายว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร เพื่อจะได้มีการทำตัวชี้วัด (KPI) ของแต่ละแผนงานด้วย

งบประมาณ กทม. ปี 65 จาก 1.4 หมื่นล้าน เหลือให้ ผู้ว่าฯชัชชาติ บริหารเท่าไหร่?

ทั้งนี้นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. โพสต์เฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte ระบุว่า ส่องงบ กทม. ปี 65 เหลือให้ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ใช้เท่าไหร่?

งบรายจ่ายของ กทม. ประจำปีงบประมาณ 2565 จะเหลือไว้ให้ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ ได้ใช้ทำงานตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้มากน้อยแค่ไหน? ถ้าเหลือน้อยจะทำอย่างไร?

1. งบ กทม. ปี 2565 มีเท่าไหร่ ?

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ของ กทม. มีทั้งหมด 78,979,446,500 บาท ประกอบด้วยงบ 11 ประเภท เช่น

งบบุคลากร ซึ่งเป็นรายจ่ายที่กําหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคล

งบดําเนินงาน ซึ่งเป็นรายจ่ายที่กําหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจํา ได้แก่รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุและค่าสาธารณูปโภค

งบลงทุน ซึ่งเป็นรายจ่ายที่กําหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

งบเงินอุดหนุน ซึ่งเป็นรายจ่ายที่กําหนดให้จ่ายเป็นค่าบํารุงหรือเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการดําเนินงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นใดที่ขอรับเงินอุดหนุน และ

งบกลาง ซึ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้เป็นรายจ่ายของส่วนกลางมิได้กําหนดให้เป็นของหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดโดยเฉพาะ เป็นต้น

2. งบประเภทไหนมากที่สุด ?

จากงบทั้ง 11 ประเภท พบว่างบบุคลากรสูงที่สุดคือ 21,071,439,960 บาท คิดเป็น 26.68% ตามด้วยงบโครงการต่อเนื่อง 14,997,130,849 บาท คิดเป็น 18.99% และงบกลาง 14,417,767,187 บาท คิดเป็น 18.26%

3. งบลงทุนมีเท่าไหร่ ?

จากงบประมาณรายจ่ายปี 2565 ทั้ง 11 ประเภท พบว่ามีงบที่สามารถใช้ในการลงทุนได้รวมทั้งหมด 14,222,239,849 บาท คิดเป็น 18.01% โดยรวมมาจากงบ 4 ประเภท ดังนี้

ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (รายการปีเดียว) 1,392,845,085 บาท

โครงการต่อเนื่อง (เฉพาะงบลงทุน) ประกอบด้วย งบ กทม. 8,815,786,377 บาท และเงินอุดหนุนรัฐบาล 989,667,000 บาท

งบกลาง (เฉพาะที่ใช้ลงทุน) 2,760,113,387 บาท

นโยบายผู้บริหาร + โครงการใหม่ (เฉพาะที่ใช้ลงทุน) 263,828,000 บาท

4. เหลืองบลงทุนให้ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ใช้เท่าไหร่ ?

จากงบประมาณสำหรับการลงทุนทั้งหมด 14,222,239,849 บาท พบว่ามีเหลือให้ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติใช้ในปีงบประมาณ 2565 แค่เพียง 94 ล้านบาทเท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2565) ซึ่งเป็นเงินจากงบกลาง ดังนี้

เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประมาณ 67 ล้านบาท

เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนากรุงเทพฯ ประมาณ 27 ล้านบาท

5. สรุป

งบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ 2565 ที่ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ สามารถใช้ดำเนินงานตามนโยบายที่ใช้หาเสียงเหลือเพียง 94 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามอาจมีเงินเหลือจ่ายจากงบประเภทอื่น ซึ่งสามารถโอนมาเป็นงบกลางเพื่อใช้ในการลงทุนได้ แต่คงเหลือไม่มากด้วยเหตุนี้ ในปีงบประมาณ 2565 ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ คงไม่สามารถนำนโยบายที่ใช้หาเสียงมาทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้มาก แต่ในปีงบประมาณ 2566 ขณะนี้ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 กำลังรอให้ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ พิจารณา ซึ่งท่านสามารถปรับแก้ให้สอดคล้องกับนโยบายที่ใช้หาเสียงได้ ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต่อไป

ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2566 คาดว่าท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ จะสามารถดำเนินงานตามนโยบายที่ใช้หาเสียงไว้ได้อย่างเต็มที่ ทั้งหมดนี้ขอเป็นกำลังใจให้ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ สามารถแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้สำเร็จ ตามแผนที่วางไว้ เพื่อความสุขของชาวกรุงเทพฯ ทุกคนครับ


ขอบคุณ FB : ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte


"ยิ่งลักษณ์" เดือด "บิ๊กตู่" พาดพิงก่อหนี้จำนำข้าวกว่า 7 แสนล้าน ซัดกลับ 8 ปีก่อหนี้พุ่งถึง4.4 ล้านล้าน



วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 3.18 ล้านล้านบาท ระบุว่า จากที่คุณประยุทธ์ชี้แจงในการอภิปรายงบประมาณปี 2566 และได้มีการพาดพิงรัฐบาลดิฉันว่าต้องใช้หนี้โครงการรับจำนำข้าวไปแล้วกว่า 7 แสนล้านบาท รู้สึกได้ทันทีว่าเป็นคำกล่าวหาเดียวกันที่เคยใช้มาเมื่อหลายครั้ง ซึ่งดิฉันก็ได้ชี้แจงไปแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ตามลิงค์นี้ค่ะ https://www.facebook.com/.../a.20100121.../4413336935377394/

ดิฉันจึงอยากขอฝากอะไรไว้ให้เป็นแง่คิดระหว่างพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีว่า แม้รัฐบาลดิฉันถูกโจมตีอย่างหนักว่า “สร้างหนี้” ทั้งๆ ที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่เพียง 45.91% แต่หลังรัฐประหารผ่านไป 8 ปี หนี้ได้พุ่งขึ้นไปที่ 60.58% โดยรัฐบาลคุณประยุทธ์จัดทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้นๆ ทุกปี

หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นในช่วง 8 ปีที่ผ่านมามีจำนวนสูงถึง 4.4 ล้านล้านบาท ขณะที่รัฐบาลยังมีแผนการก่อหนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไร้ยุทธศาสตร์ของการเพิ่มรายได้ ผิดหลักการที่ต้องใช้เงินกู้เพื่อทำให้เศรษฐกิจขยายตัว และเมื่อขณะนี้ประชาชนไม่มีรายได้เพิ่ม หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้เพียงพอ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ไม่สามารถลดการขาดดุลงบประมาณลง

ดิฉันจึงขอตั้งคำถามไว้ว่าการที่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหายของรัฐบาลคุณประยุทธ์ เป็นเพราะโครงการรับจำนำข้าวหรือบริหารงานไม่เป็น หากมองย้อนกลับไปดิฉันก็ยังคงภูมิใจที่ได้บริหารประเทศภายใต้หลักการที่เพิ่มเงินในกระเป๋าให้พี่น้องประชาชน พร้อมกับสร้างรายได้ให้ประเทศมากขึ้น จนสามารถประกาศว่าจะทำงบประมาณให้สมดุลได้ใน ปี 2560 แตกต่างจากรัฐบาลปัจจุบันที่ไม่สามารถเป็นที่พึ่งและความหวังของประชาชนได้แม้แต่น้อยค่ะ.



วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ดูงานฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศที่ "มจร"

 


วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565  พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และผู้บริหาร ให้การต้อนรับคณะผู้แทนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนลาว (สปป.ลาว)  ภายใต้การนำของ ดร.จันเพ็ง สุทธิวง รองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ และคณะองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสปป.ลาว  โอกาสที่เดินทางเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2565 ในฐานะแขกของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ศึกษาดูงานการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ  ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  ดร.จันเพ็ง กล่าวว่า ทางรัฐบาลสปป.ลาวสนใจหลักสูตรอบรมนี้ที่ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ความสามารถมากขึ้น 


โดยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ดร.จันเพ็ง ได้นำคณะเข้าพบนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนลาว (สปป.ลาว) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้หารือความร่วมมือทางวิชาการ โดยทาง สปป.ลาว มีความประสงค์ขอทำบันทึกช่วยจำ MOU ระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประเทศไทย และกรมศาสนา ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ สปป.ลาว ในโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำศาสนา ที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือกันโดยตลอด รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนแนวทางการคุ้มครองพระพุทธศาสนา การจัดการศาสนสมบัติ กองทุนสำหรับพระสงฆ์ หลักสูตรพระธรรมทูตทั้งในและต่างประเทศ การจัดการศึกษาพระสงฆ์ และการศึกษาดูงานสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับคณะผู้บริหารกรมศาสนา ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ สปป.ลาว ในวันนี้ ซึ่งทั้งไทยและ สปป.ลาว มีการประสานความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นในการร่วมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ตามที่ได้มีโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำศาสนามาตั้งแต่ปี 2553 ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทั้งสองประเทศจะได้สานต่อความร่วมมืออันดีนี้ต่อไป 

“เราทั้งสองประเทศถือเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่มีความสนิทสนมในทุกด้าน มีความคล้ายคลึงกันด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมถึงการนับถือศาสนา ซึ่งศาสนาพุทธถือเป็นศาสนาหลักของประเทศไทย หวังว่าการดำเนินงานตามการตกลงบันทึกช่วยจำระหว่างทั้งสองประเทศ การร่วมหารือและศึกษาดูงานในประเทศไทย รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสนองงานคณะสงฆ์  จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ในการร่วมมือกันปกปักรักษาพระพุทธศาสนาได้ และมีส่วนช่วยในการ” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

ทางด้านรองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ และคณะองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวขอบคุณรัฐบาลที่ให้การสนับสนุน สปป.ลาวมาโดยดีตลอดมา และชื่นชมพุทธศาสนิกชนของประเทศไทยที่ให้ความเคารพนับถือพุทธศาสนา ช่วยกันส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้าสร้างความเหลื่อมใสศรัทธา หวังให้ประชาชนทั้งสองประเทศใช้ศาสนาเป็นสื่อกลางยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในฐานะบ้านพี่เมืองน้องตลอดไป

องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวพบ "อนุชา" จับมือไทยร่วมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา



เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต้อนรับคณะผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนลาว (สปป.ลาว) นำโดย ดร.จันเพ็ง สุทธิวง รองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ และคณะองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนลาว (สปป.ลาว) โอกาสที่เดินทางเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2565 ในฐานะแขกของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีนายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธัชชญาณ์ณัช  เจียรธนัทกานนท์  เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เข้าร่วม 

ทั้งนี้ องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนลาว (สปป.ลาว) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้หารือความร่วมมือทางวิชาการ โดยทาง สปป.ลาว มีความประสงค์ขอทำบันทึกช่วยจำ MOU ระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประเทศไทย และกรมศาสนา ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ สปป.ลาว ในโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำศาสนา ที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือกันโดยตลอด รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนแนวทางการคุ้มครองพระพุทธศาสนา การจัดการศาสนสมบัติ กองทุนสำหรับพระสงฆ์ หลักสูตรพระธรรมทูตทั้งในและต่างประเทศ การจัดการศึกษาพระสงฆ์ และการศึกษาดูงานสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับคณะผู้บริหารกรมศาสนา ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ สปป.ลาว ในวันนี้ ซึ่งทั้งไทยและ สปป.ลาว มีการประสานความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นในการร่วมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ตามที่ได้มีโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำศาสนามาตั้งแต่ปี 2553 ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทั้งสองประเทศจะได้สานต่อความร่วมมืออันดีนี้ต่อไป 

“เราทั้งสองประเทศถือเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่มีความสนิทสนมในทุกด้าน มีความคล้ายคลึงกันด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมถึงการนับถือศาสนา ซึ่งศาสนาพุทธถือเป็นศาสนาหลักของประเทศไทย หวังว่าการดำเนินงานตามการตกลงบันทึกช่วยจำระหว่างทั้งสองประเทศ การร่วมหารือและศึกษาดูงานในประเทศไทย รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสนองงานคณะสงฆ์  จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ในการร่วมมือกันปกปักรักษาพระพุทธศาสนาได้ และมีส่วนช่วยในการ” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว


ทางด้านรองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ และคณะองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวขอบคุณรัฐบาลที่ให้การสนับสนุน สปป.ลาวมาโดยดีตลอดมา และชื่นชมพุทธศาสนิกชนของประเทศไทยที่ให้ความเคารพนับถือพุทธศาสนา ช่วยกันส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้าสร้างความเหลื่อมใสศรัทธา หวังให้ประชาชนทั้งสองประเทศใช้ศาสนาเป็นสื่อกลางยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในฐานะบ้านพี่เมืองน้องตลอดไป

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

8 พระเกจิอดังนั่งปรกพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่!!...“พระสมเด็จ111ปี” “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” 111 ปี



พุทธาภิเษกยิ่งใหญ่!!...“พระสมเด็จ111ปี”  “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” 111 ปี  พระเกจิอายุยืนยาวถึง 6 แผ่นดิน แห่ง วัดป่าใต้พัฒนาราม 8 พระเกจิอาจารย์ชื่อดังนั่งปรกเสก พระดี  พิธีดี  มวลสารดี เกจิดีมีครบ "ทีมพี่เสือ”สายศรัทธารู้กันดีชัดเจน  

พระสมเด็จ111ปี”  “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” 111 ปี พระเกจิอายุยืนยาวถึง 6 แผ่นดิน แห่ง วัดป่าใต้พัฒนาราม ได้ประกอบ พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565  ณ มณฑลพิธีวัดป่าใต้พัฒนาราม  จ.สระแก้ว  กับสุดยอดพิธีพุทธาภิเษก



“พระสมเด็จ111ปี” หลวงปู่บุดดา พระเกจิอาจารย์อาวุโสโสเเห่งวัดป่าใต้พัฒนาราม จ.สระแก้ว  พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก ประกอบด้วย 1.หลวงปู่บุดดา วัดป่าใต้พัฒนาราม 2.หลวงปู่เฉลิม  วัดพวงนิมิต 3. หลวงปู่บุญมา สนักสงฆ์เขาแก้วทอง 4.พระอาจารย์ขวัญเมือง วัดป่าหนองหล่ม 5.หลวงปู่โสภณ วัดป่าอรัญ 6.หลวงพ่อเฮง  วัดคลองปลาโด  7.พระมหาทวี วัดนครธรรม ( เจ้าคณะอำเภอวัฒนานคร)  8.หลวงปู่บุญเหลือ  วัดโคกปี่ฆ้อง





อย่างไรก็ตามก่อหน้าคนนี้ พระสมเด็จ111ปี   ได้ผ่านพิธีวาระที่ 1 เมื่อวันที่16  พ.ค. 2565  ณ.วัดบ้านไร่ ไปเเล้ว โดยหลวงพ่อทอง ได้เมตตาปลุกเสกให้อย่างเข้มขลัง





 “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” 111 ปี นับเป็นเกจิที่อายุยืนยาวถึง 6 แผ่นดิน วัดป่าใต้พัฒนาราม(วัดใหม่เจริญสุข) อ.วัฒนานคร จ.ปราจีนบุรี  พระผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา งดงามด้วยปฏิปทาจริยาวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย สหธรรมิกของหลวงปู่ทวน ปุสสวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี  ซึ่งหลวงปู่บุดดา กล่าวว่า เคยนิมิตร่วมกันว่าเป็นพี่น้องกันเคยร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาด้วยกันหลายวัดในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และจันทบุรี



กระแสความศรัทธานิยมเป็นที่ปรากฏอย่างกว้างขวางเมื่อหลวงปู่บุดดาได้รับนิมนต์ไปนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลพระครูวิมุติธรรมาภิรม หรือ”หลวงพ่อส่วน ปริมุตโต” ณ วัดหนองคล้า ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2559 โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ “ท่านเจ้าคุณธงชัย” วัดไตรมิตรวิทยาราม (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ) เป็นประธาน ซึ่งในการประกอบพิธีครั้งนั้น หลวงปู่บุดดามีความโดดเด่นเป็นพิเศษ



ได้รับความสนใจจากหมู่คณะศรัทธาประชาชนที่ได้กราบนมัสการพระเกจิคณาจารย์ที่ทรงพรรษากาล พรรษาธรรมสูง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ยิ้มแย้ม แจ่มใสให้การพูดคุยด้วยเมตตาธรรมแก่ผู่เลื่อมใสศรัทธาที่เข้าแถวต่อคิวกันยาวเหยียดให้เจิมหน้าผาก ลงกระหม่อมเพื่อความเป็นสิริมงคล



หลวงปู่บุดดาเกิดปีพ.ศ.2454 อายุอ่อนกว่าหลวงปู่โสฬส 3 เดือน โดยหลวงปู่โสฬสเกิดปีมะโรงต้นปี ส่วนหลวงปู่บุดดาเกิดปีมะเส็งต้นปี และไปแจ้งเกิดช้า แต่ถ้าเทียบจากปีเกิดดังกล่าว หลวงปู่บุดดาจะมีอายุครบ 108 ปี ที่สำคัญ งานทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 107 ปีเมือปีพ.ศ.2561 ที่ผ่านมา  ระบุวันที่ 20 ก.ค. 2561 ซึ่งน่าจะเป็นวันเกิดที่แท้จริงของท่าน ภาพที่น่าประทับใจก็คือ แม้อายุจะเกินร้อยปีแล้ว แต่หลวงปู่บุดดาท่านยังนั่งรถเข็นไฟฟ้าออกตรวจงานการสร้างโบสถ์มหาอุดหลังนี้แทบทุกวัน 

หลวงปู่บุดดานับเป็นพระเกจิอาวุโสที่มีความเมตตาธรรมบารมีสูงส่ง ใบหน้าของท่านมีรอยยิ้มอยู่เสมอ ท่านวางตนแบบเรียบง่าย ฉันอาหารแบบบ้านๆ เช่น น้ำพริก ผักต้ม ผักสด  มักน้อย ชอบชีวิตสันโดษ ไม่นิยมสะสมข้าวของ ปัจจัยไทยทานต่างๆ  ครองอัธยาศัยมั่นคงอยู่ในธรรมวินัย มีความงดงามในวัตรปฏิบัติยามเช้าจะออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ลงทำวัตรเจริญพระพุทธมนต์ทั้งเวลาเช้าและเย็นอย่างเคร่งครัด 

วัตถุมงคลยอดนิยมของหลวงปู่บุดดา อาทิ เหรียญรุ่นแรก,รูปหล่อ,พระขุนแผน,พระสมเด็จ,ล็อกเก็ต, พระปิดตา,เหรียญมังกรเสาร์5,เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์,เหรียญพญาเต่าเรือน,เหรียญเจริญพร ฯลฯ กล่าวขานกันว่า ดีทางเมตตามหานิยม

พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ รัชกาลที่10 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ  หลวงปู่บุดดา  ปญญาธโร เป็น พระราชมงคลวชิราทร บวรธรรมทานประสิทธิ์  มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เป็น พระราชาคณะชั้นราช สถิต ณ.ป่าใต้พัฒนาราม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5  พฤษภาคม พุทธศักราช 2565 ประกาศ ณ วันที่ 6  พฤษภาคม พุทธศักราช 2565 เป็นปีที่ 7  ในรัชกาลปัจจุบัน

พระสมเด็จ 111 ปี หลวงปู่บุดาเป็นผลงานการรังสรรค์ "ทีมพี่เสือ" นำโดย "ป้อม สกลนคร" เเละ"นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ" สร้างสรรค์ทุกครั้งต้องเป็นตำนาน เพื่อเผยเเผ่บารมีหลวงปู่บุดดา ให้คนทั้งโลกได้รู้จักพระผงดีๆของไทยภายใต้แนวคิดที่ว่า "งานของเรา" ใส่หัวใจ ใส่ความคิด ใส่จิตวิญาณ

ผู้ที่สนใจติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก "หลวงปู่บุดดา วัดป่าใต้พัฒนาราม และ เฟซบุ๊ก : นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ สอบถามได้ที่ นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ โทร.086-450-8969 ป้อม สกลนคร โทร.089-619-8989

บรรยากาศการจองพระ...https://youtu.be/rODCdW32b5I  พิธีพุทธภิเษกพระ....https://youtu.be/LVRE_SdNo_I

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"ผอ.พศ."ย้ำฆราวาสไม่มีหน้าที่ตัดสินพระถูกหรือผิด

 "ผอ.พศ."ย้ำฆราวาสไม่มีหน้าที่ตัดสินพระถูกหรือผิด 



ผอ.พศ. ย้ำความผิดสงฆ์ กฏ มส. ออกตาม พรบ.คณะสงฆ์ กำหนดไว้ชัดเจน ไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสในการตัดสินพระภิกษุสงฆ์ว่าถูกหรือผิด 

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565  นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า พุทธศาสนิกชนต้องให้ความเคารพพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา และส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคง ต้องร่วมกันปกป้องพระพุทธศาสนา อย่าถือวิสาสะหรือเอาความคิดของตนเป็นที่ตั้ง เข้าไปก้าวล่วงอำนาจของคณะปกครองสงฆ์ ตั้งตนอยู่เหนือกฎหมาย ทำให้ประชาชนสับสน 

ความผิดของสงฆ์ ต้องพิจารณาโดยคณะสงฆ์ ซึ่งได้กำหนดไว้ในกฏ มส. ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ อย่างชัดเจน มิใช่หน้าที่ของฆราวาสในการตัดสินหรือชี้ผิดชี้ถูกพระภิกษุ ทุกอย่างมีกระบวนการ และวิธีการ ชึ้งต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ  ยืนยันว่า ที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์พระภิกษุสงฆ์ประพฤติไม่เหมาะสม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ดำเนินการร่วมกับเจ้าคณะปกครองสงฆ์ ตามกระบวนการขั้นตอนอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด  เรื่องพุทธศาสนาเรื่องของพระภิกษุสงฆ์ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรอบคอบความละเอียดอ่อน เนื่องจากกระทบต่อความรู้สึกของพุทธศาสนิกชน จึงไม่ปรากฏเป็นข่าวเหมือนกับข่าวของประชาชนทั่วๆ ไป

"มาตรการและกลไลต่างๆ ในการปกป้องพระพุทธศาสนามีประสิทธิภาพ ประชาชนเชื่อมั่นได้ ขออย่าได้กังวล หากพบเห็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาของพระภิกษุ บุคคล กลุ่มบุคคล ขอได้แจ้งมายังสำนักงานพระพุทธศาสนา สายด่วน 1374 อย่าดำเนินการเองโดยพละการ เพราะอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดกฎหมายบ้านเมืองได้  ระเบียบ กฎหมายกำหนดชัดเจน มิใช่หน้าที่ของประชาชนในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวพุทธศาสนิกชน ควรให้ความเคารพต่อพระภิกษุสงฆ์" นายสิปป์บวร กล่าว

"สมเด็จพระพุฒาจารย์" แนะแนวตั้ง "พระ" ดำรงตำแหน่งในกมธ.ศาสนาฯสภาฯ

  


"เพชรวรรต" ร่วมทำบุญวันเกิด 6 รอบ "มหานิยม" ร่วมหารือ "สมเด็จพระพุฒาจารย์"   ปม "พระ" ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร 

เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2565  เวลา 11.30 น. ที่วัดไตรมิตรวิทยารามฯ ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล  รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร ได้เข้าร่วมกิจกรรมทำบุญวันเกิดเนื่องในวันครบรอบ 6 รอบ หรือ 72 ปี ของ ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย  



ดร.เพชรวรรต กล่าวว่า ถือเป็นปรากฎการใหม่ ที่มีการจัดงานวันเกิดที่วัดพร้อมกับทำบุญถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน ที่ ส.ส. นิยม ประสงค์ที่จะทำบุญและจัดงานวันเกิดเพื่อเป็นศิริมงคล ซึ่งเป็นการยึดถือตามขนบธรรมเนียมโบราณ ที่เมื่อครบรอบวันเกิดคนรุ่นในอดีต ก็จะเข้าวัดทำบุญเนื่องในวันเกิดกัน ซึ่งต่างจากสมัยนี้มักจะไม่ค่อยไปทำบุญกันแต่จะเลือกวิธีแบบตะวันตกที่จะเฉลิมฉลองเป่าเค้กกันอยู่บ้าน ซึ่งตนเห็นว่า การที่ สส. นิยม เลือกมาทำบุญและเป่าเค้กที่วัด เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะเตือนคนไทยด้วยกันให้หันมาทำบุญเนื่องในวันเกิด ซึ่งในวันนี้ ตนต้องขออนุโมทนากับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่มาร่วมอนุโมทนาเนื่องในวันเกิด ส.ส. นิยมด้วย 

ดร.เพชรวรรต กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ตนและ ส.ส.นิยม ได้หารือ ประเด็นการประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 มีมติห้าม พระภิกษุไปเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง จนเป็นประเด็นที่พระเมธีธรรมาจารย์ หรือ "เจ้าคุณประสาร" ได้ลาออกจากคณะอนุกรรมาธิการนั้น ซึ่งได้ทราบมาว่า เป็นความเป็นห่วงจากคณะสงฆ์ ที่หากมีพระสงฆ์ที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาในระดับคณะกรรมาธิการ และมาภายหลังมีการติเตียนหรือมีการใช้อำนาจไม่ชอบธรรม ก็อาจจะเป็นการเสียต่อภาพรวมของวงการสงฆ์ ทั้งนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้แนะนำว่า หากกรรมาธิการฯจะเสนอชื่อแนะนำให้นำเรื่องเสนอผ่านมหาเถรสมาคม ก็จะเป็นเรื่องดี ซึ่งตนก็เห็นด้วย 

ดร.เพชรวรรต กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามตนจะนำเรื่องนี้ไปเสนอในชั้นกรรมาธิการฯ หากจะมีการนำเสนอรายชื่อพระภิกษุเพื่อดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาในชั้นกรรมาธิการฯ ก็จะเสนอต่อมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดในการปกครองสงฆ์ เพื่อรับรองก่อน

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"อนุชา" เผยผลสอบหมอปลาพร้อมคณะผิด สั่งการ "พศ." เดินหน้าเอาผิดตามกฎหมาย



วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2565 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณี นายจีรพันธ์ เพชรขาว หรือ “หมอปลา” กับพวกนําคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่วัดต่าง ๆ อ้างว่าเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมของพระภิกษุ โดยนำคณะเข้าบุกรุกวัด ที่พักสงฆ์ และกุฏิที่อยู่อาศัยหลายพื้นที่ ว่า จากการหารือของคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม พบว่าการกระทำดังกล่าวละเมิดข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และมติที่เกี่ยวข้องหลายข้อ ดังนี้  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2560 ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 และข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2553 

ในส่วนของการดำเนินการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ การลงโทษพระภิกษุสงฆ์กรณีที่ละเมิดพระธรรมวินัย เป็นไปตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 หลักเกณฑ์การลงนิคหกรรมนั้นต้องเป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 ออกตามความมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งตามกฎมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจ คือ ผู้พิจารณากับคณะผู้พิจารณาชั้นต้น คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์และคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกา ซึ่งเป็นตำแหน่งพระสังฆาธิการทั้งหมด ผู้ที่ไม่ใช่บุคคลดังกล่าวไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบพระภิกษุได้ การกระทำของหมอปลาและพวกจึงไม่เหมาะสม และส่งผลให้พระภิกษุไม่ได้รับความเป็นธรรม

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำชับและสั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและติดตามอย่างใกล้ชิด โดยย้ำให้ประสานความร่วมมือกับพระสังฆาธิการในพื้นที่ปกครอง สอดส่อง ดูแลผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมดังเช่นกรณีดังกล่าว เพื่อป้องกันกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีที่คิดร้ายต่อพระพุทธศาสนา ในส่วนของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของคณะสงฆ์ เป็นอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมที่จะพิจารณาความผิดและบทลงโทษ การที่ฆราวาสจะเข้าไปก้าวก่ายและเอาผิดเรื่องของสงฆ์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งสิ่งนี้ถือปฏิบัติมากว่า 2,500 ปีแล้ว การกระทำของหมอปลาและพวกจึงถือเป็นการทำให้พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาหลักของชาติเสื่อมเสีย และไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หากพุทธศาสนิกชนท่านใดพบเห็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว ขอให้รีบแจ้งไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป 

 


กมธ.ศาสนาฯสภาฯจัดสัมมนาสืบสานวัฒนธรรมชุมชน "คนตลิ่งชัน"



วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น. คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร  จัดสัมมนา โครงการสืบสานวัฒนธรรมชุมชน “คนตลิ่งชัน” ณ ห้องสัมมนา อาคาร12 เฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ  โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยสยามกล่าวรายงานและต้อนรับคณะกรรมาธิการและวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนา

นายสุชาติ อุสาหะ ประธานคณะกรรมาธิการกล่าวเปิดสัมมนาพร้อมทั้งกล่าวถึงหน้าที่และอำนาจการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการในส่วนที่เป็นกลไกขับเคลื่อนงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งงานเสนอร่างกฎหมาย งานร้องเรียนทั้งด้านศาสนาต่างๆ และศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่ง นำไปพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาให้เห็นเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดย ส.ส. จักรพันธ์ พรนิมิตร มาร่วมงานสัมมนาและต้อนรับคณะกรรมาธิการด้วย



นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธาน นายชวน ชูจันทร์ กรรมาธิการ ได้กล่าวถึงความสำคัญของวัฒนธรรมของชุมชนตลิ่งชัน ซึ่งมีอยู่หลายด้าน ทั้งอาหาร ผลไม้ ระเพณีตั้งแต่ดั้งเดิม และในยุคปัจจุบันจะทำอย่างไรให้มีคุณค่าและมูลค่าเพิ่มขึ้นพร้อมทั้ง นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานฯ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


"อนุชา"ขันนอตพระสังฆาธิการภาคกลาง วอนช่วยดูแลพระภิกษุสงฆ์อย่างเคร่งครัด



"อนุชา" ย้ำพร้อมปกป้องพระพุทธศานา กำจัดคนทำลาย ฝากให้พระสังฆาธิการทุกระดับช่วยกันสอดส่องดูแลพระภิกษุสงฆ์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยและกฎระเบียบต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  บรรยายพิเศษโครงการประชุมสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปกครองคณะสงฆ์ ในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง ณ วัดอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โดยมี พระราชธีราภรณ์ รองเจ้าคณะภาค 2  พร้อมด้วยเจ้าคณะพระสังฆาธิการ นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองเข้าร่วม เพื่อมอบนโยบายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง รับทราบปัญหา หาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อความเจริญมั่นคงของสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างยั่งยืนตลอดไป

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ มีข่าวคราวปรากฏตามสื่อต่างๆ เป็นไปในทิศทางลบมากกว่าบวก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากพระภิกษุบางรูป บางกลุ่ม ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากจากพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดทั่วประเทศ ประพฤติตนไม่เหมาะสมตามหลักพระธรรมวินัย หรือประพฤติผิดกฎหมายบ้านเมือง มีปรากฏตามสื่อโลกออนไลน์  หรือปรากฏเป็นข่าวทางสื่อโทรทัศน์ช่องต่างๆ เกิดขึ้นเป็นรายวัน ก่อให้เกิดเป็นกระแสโลกวัชชะ และก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อพระสงฆ์ในภาพรวมของคนในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีศรัทธายังไม่มั่นคงต่อพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังมีบุคคลบางกลุ่มบางพวก ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้อาศัยสถานการณ์ดังกล่าวนี้ เข้าไปดำเนินการตรวจสอบ สอบสวน และพิพากษาตัดสิน โดยไม่ผ่านกระบวนการตามหลักพระธรรมวินัยและหลักกฎหมาย พยายามสร้างกระแสต่อมวลชนผ่านสื่อต่างๆ 

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว ได้สั่งการให้ตนในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนที่สุด พร้อมกำชับให้กำหนดมาตรการหาแนวทางป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความรู้สึก ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมาได้สำนักงานพระพุทธศาสนารวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้เพิกเฉยต่อเรื่องดังกล่าว ได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาตามกระบวนการแล้ว ย้ำกลุ่มบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องแล้วเข้ามาดำเนินการเป็นผู้ทำลายศาสนา ทำลายความน่าเชื่อถือ ทำลายความศรัทธา การกระทำของคนกลุ่มนี้ถือเป็นการก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของคณะสงฆ์ เป็นการกระทำโดยพลการไม่ได้ประสานงานมายังสำนักพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งได้มีการกำชับให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างถึงที่สุดแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายได้ตระหนักร่วมกันว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันพระพุทธศาสนา ทุกคนทุกฝ่ายจึงต้องช่วยกันดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวยุติโดยเร็ว และเพื่อให้มีแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุประพฤติผิดพระธรรมวินัย หรือประพฤติผิดกฎหมายบ้านเมือง จะลดน้อยลงหรือหมดไป ขึ้นอยู่กับพระสังฆาธิการทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ ที่จะต้องเอาใจใส่อย่างจริงจัง และคอยสอดส่องดูแล อบรมสั่งสอน พระภิกษุ สามเณร และสัทธิวิหาริกในสังกัดให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยและกฎระเบียบต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้พระภิกษุ สามเณรในสังกัดได้ศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งในส่วนของนักธรรม บาลี และการปฏิบัติกรรมฐานอยู่เนื่องๆ เพื่อให้เกิดความลึกซึ้งและเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง และเพื่อเป็นกำแพงป้องกันการประพฤติผิดพระธรรมวินัย

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กมธ.ศาสนาฯ สภาฯ ตั้ง "ณพลเดช" เป็น อนุฯกมธ.พุทธศาสนาฯแทน "เจ้าคุณประสาร"



เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลา 11.00 น. ที่ห้อง CA303 อาคารรัฐสภาเกียกกาย ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า จากการที่มีกระแสถึงการที่มีพระภิกษุสงฆ์ ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในชั้นคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ ส่งผลให้มีการประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 มีมติห้าม พระภิกษุไปเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง จนเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สงฆ์อย่างกว้างขวาง ที่มีพระเมธีธรรมาจารย์ หรือ "เจ้าคุณประสาร"  พระครูปลัดสุวัฒนสัจจคุณ (ธีรวิทย์) รวมถึง พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) ที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอยู่นั้น ซึ่งล่าสุดพระภิกษุสงฆ์ดังกล่าวได้ลาออกทั้งคณะ

ดร.เพชรวรรต กล่าวต่อไปว่า จากกรณีดังกล่าวในวันนี้ในชั้นกรรมาธิการฯ ได้มีมติแต่งตั้ง ดร.ณพลเดช มณีลังกา เป็นอนุกรรมาธิการฯพุทธศาสนาฯ แทนตำแหน่งที่ว่างลง จากที่ ดร.ณพลเดช เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ จบปริญญาเอกในหลายแขนงถึง 3 ใบ ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถมาทำงานให้กับกรรมาธิการได้อย่างดี ซึ่งก่อนหน้านี้ ดร.ณพลเดช ได้ดำรงตำแหน่งอนุกรรมาธิการฯนี้อยู่แล้ว และได้ลาออกเพื่อไปสมัครรับเลือกตั้ง ส.ก. ขณะนี้ได้กลับมาทำงานต่อ ตนมั่นใจว่าจะสามารถใช้ความรู้ความสามารถในการสืบสานต่องานในชั้นอนุกรรมาธิการฯ ได้เป็นอย่างดี

ดร.เพชรวรรต กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีประเด็นที่มีการประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ว่ามีมติห้าม พระภิกษุไปเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง นั้นตนคิดว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิดเพราะในคณะกรรมาธิการฯ ไม่มีการเมือง ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน และจะมีการกลั่นกรองอย่างรอบด้านในบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน ทั้งนี้ก็มีพี่น้องมุสลิม พี่น้องจากศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนจากประชาชนของตน ก็ต่างส่งตัวแทนเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในชั้นกรรมาธิการฯ และชั้นอนุกรรมาธิการฯ เช่นกัน อย่างไรก็ตามตนจะเข้าไปกราบหารือกับ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" กรรมการมหาเถรสมาคม ที่มหาเถรสมาคมได้แต่งตั้งให้เป็นประธานฝ่ายปกครอง เรื่องขอให้เปิดช่องให้พระสงฆ์เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในชั้นกรรมาธิการได้ เพราะจะช่วยให้คำปรึกษาต่อคณะกรรมาธิการในมิติของวงการพุทธศาสนา ซึ่งมิได้เป็นการเกี่ยวโยงต่อการเมืองแต่อย่างใด เพื่อให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาคตามกรอบรัฐธรรมนูญ 2560 ตามหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ต่อไป


“สมเด็จธีร์”เป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่พระภิกษุผู้ผ่านการอบรมพระธรรมทูตจำนวน 116 รูป



เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลา 14.30 น. ณ อาคารหอประชุม มวก. 48 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม และประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้เดินทางไปปฎิบัติศาสนกิจแทนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในการเป็นประธานพิธีปัจฉิมนิเทศและมอบวุฒิบัตรแก่พระธรรมทูตผู้ผ่านการอบรมจำนวน 116 รูป 



โดยมี พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี,พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และนายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา , นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถวายการต้อนรับ 

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ได้กล่าวให้โอวาทว่า ในพระนามของสมเด็จพระสังฆราช ขอแสดงความชื่นชม ยินดี ที่พระธรรมทูตได้ผ่านการอบรมอย่างสมบูรณ์ ซึ่งงานด้านพระธรรมทูต เป็นเรื่องที่ มส.ให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นทูตทางธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศแล้ว ยังต้องเป็นทูตทางวัฒนธรรมในการนำวัฒนธรรม ประเพณีไทยที่ดีงาม ไปเผยแพร่ยังต่างประเทศด้วย ทั้งนี้งานพระธรรมทูตมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ผู้เป็นพระธรรมทูตต้องมีความอดทน วิริยะ อุตสาหะ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการทำงานพระธรรมทูตในต่างประเทศ และขอให้พระธรรมทูตตระหนักไว้ด้วยว่า ในการปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตในต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามทั้งพระธรรมวินัย และกฎหมายในประเทศที่ไปปฏิบัติหน้าที่ ต้องยึดถือปฏิบัติทั้งสองด้าน อย่าทำงานเพียงแค่ถูกใจ แต่การทำงานต้องถูกต้องด้วย

พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร ในฐานะประธานกรรมการดำเนินงานโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 28 กล่าวว่า การดำเนินงานอบรมผ่านไปด้วยดี แม้ผู้เข้าร่วมอบรมจะมีพรรษาที่ต่างกันมาก แต่ก็สามารถร่วมอบรมด้วยกันได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการอบรมจะเน้นให้พระธรรมทูตได้ฝึกตนเอง ฝึกการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีพระวิปัสสนาจารย์มาเป็นผู้สอบอารมณ์ อีกทั้งยังเน้นอบรมทักษะในเรื่องภาษาต่างประเทศ โดยพระธรรมทูตต้องมีความรู้ในภาษาบาลี ไทย อังกฤษ และภาษาของประเทศ ที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย เพราะภาษามีความสำคัญมากในการใช้เผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา



ดร.พระพฤกษ์ กตกุสโล จากวัดพุทธเมตตาบุญญานุภาพ อ.เถิน จ.ลำปาง หนึ่งในผู้ผ่านการอบรมพระธรรมทูต เปิดเผยว่า ตอนเองจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เดินทางมาจังหวัดลำปาง ซึ่งหลังจากจบโครงการท่านเจ้าอาวาสวัดพุทธเมตตาบุญญานุภาพ หากไม่ติดขัดอะไรท่านตั้งใจไว้ว่าจะส่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย

 “อาตมาพรรษา 5 จบนักธรรมเอก และปริญญาเอก อยากเป็นพระธรรมทูตจึงเข้าอบรม การอบรมที่นี้ไม่ใช่ได้เฉพาะความรู้อย่างเดียว ตลอด 3 เดือนนี้ได้เพื่อน ได้กัลยาณมิตรเพื่อเป็นเครือข่ายจำนวนมาก มีทั้งประโยค 9 ปริญญาเอก บางคนเป็นครูบาอาจารย์ มีแต่คนมีความรู้ หัวใจสำคัญของการเป็นพระธรรมทูตมันต้องมีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนา รู้เรื่องกรรมฐาน สติปัฎฐานสี่ ส่วนภาษาแม้จะสำคัญ แต่ก็เรียนรู้กันได้  ความอ่อนน้อมนอบถ้อม การมีหัวใจที่มั่นคงในพระพุทธศาสนาก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน..”



ขณะที่ ดร.พระพรชัย อาสโภ  วัดป่าเทพอินทรประดิษฐ์ ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เล่าว่า การอบรมพระธรรมทูตในครั้งนี้ได้ปฎิบัติวิปัสสนาอย่างเข้มงวด โดยมีพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องวิปัสสนามาอบรมให้ไม่ต่ำกว่า 8 รูป โครงการอบรมพระธรรมทูตนี้จึงเป็นการต่อยอดในการที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

“หลังจากจบการอบรมพระธรรมทูตแล้ว อาตมาตั้งใจจะไปเป็นพระธรรมทูตที่ประเทศเกาหลีใต้ จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่นั้น เนื่องจากอาตมาจบปริญญาโทด้านวิปัสสนาภาวนา ที่ วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จังหวัดนครปฐมและจบปริญญาเอกพุทธจิตวิทยา มจร วังน้อยแห่งนี้ การอบรมพระธรรมทูตคุณสมบัติเบื้องต้นต้องจบนักธรรมเอก ปริญญาตรีจึงเข้ามาสมัครเข้าร่วมโครงการได้ การอบรมเข้มข้นมาก ได้ทั้งความรู้และเทคนิคการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งโครงการนี้นับว่าเป็นโครงการที่ดีมากโครงการหนึ่งของคณะสงฆ์ไทย..”


Cr.https://thebuddh.com/?p=62679 

"วราวุธ-ประภัตร" ห่วงไทยกระทบ "ภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลกครั้งใหญ่"



เผยภาคเกษตร เร่งทำนโยบายรับมือวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารโลก 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2565  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา และ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงสถานการณ์วิกฤตด้านอาหารที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ และมีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงขึ้น เป็นเหตุให้ประเทศไทยต้องเฝ้าระวังและเร่งปรับตัว พร้อมเตรียมแผนรับมือทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตประชาชน 

นายวราวุธ กล่าวว่า หลังวิกฤติโควิดระบาดทั่วโลกกว่า 2 ปี  อาหารทั่วโลกแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาวัตถุดิบทางการเกษตรไปจนถึงต้นทุนราคาปุ๋ย ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลพวงของสงครามรัสเซีย-ยูเครน และล่าสุดจากการระบาดใหม่ ของโรคฝีดาษลิง ส่งผลให้ในขณะนี้ มี 14 ประเทศทั่วโลก ได้ห้ามการส่งออกอาหาร เพื่อกักตุนไว้บริโภคเองภายในประเทศแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้เกิด วิกฤตอาหารโลก Global Food Crisis  

ทั้งนี้ นอกจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมา ที่ทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง จนมีราคาสูง ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ภาวะโลกร้อน" ที่ทำให้สภาพอากาศในหลายประเทศแปรปรวนอย่างหนัก ก็เป็นภัยคุกคามต่อเนื่อง ต่อภาคเกษตร ด้วยเช่นกัน 

ตนในฐานะที่กำกับดูแลกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลักดันนโยบายด้านการเกษตรของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยหนึ่งในโครงการที่เร่งผลักดันอยู่ เพื่อรับมือวิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร ก็คือ แนวคิดการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากโครงการ Thai Rice NAMA ( ไทย ไรซ์ นามา) โครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่ได้เข้ามาช่วยพี่น้องเกษตรกรไทย ให้ผลิตข้าวมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตและลดโลกร้อน ตามมาตรการ “3 เพิ่ม 3 ลด” คือ "เพิ่มผลผลิตข้าว เพิ่มคุณภาพข้าว เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้น้ำ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก" เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทย 

โดยปัจจุบันมี เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลางเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 25,000 ราย และจะเร่งรณรงค์ ขยายผลโครงการไปยังภูมิภาคอื่นๆ พร้อมเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนเสริมสร้างความตระหนักรู้ และความสําคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไปด้วย 

ด้านนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงภาคเกษตร ว่าขณะนี้กระทรวงกำลังเตรียมแผนรับมือวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารโลก เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์แนวโน้มวิกฤตอาหารโลก ซึ่งขณะนี้ หลายประเทศได้มีมาตรการหยุดการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญอย่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี เรปซีดออยล์ และน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสำรองอาหารและพลังงานไว้เพื่อความมั่นคงในประเทศ 

สำหรับประเทศไทย ด้านการเกษตร มีแผนการผลิตข้าวในปี 65/66 บนพื้นที่ 66.2 ล้านไร่ มีการคาดการณ์ผลผลิตจะมี 30 ล้านตันข้าวเปลือก แยกเป็นรอบที่ 1 พื้นที่ 59.4 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 25.5 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 6.8 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 4.4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยพื้นที่และผลผลิตข้าวรอบที่ 2 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น สถานการณ์ราคา และภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ ย่อมมีผลกระทบกับประเทศไทยและอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก การอัดฉีดงบประมาณ และการนำความรู้และเทคโนโลยีสู่เกษตรกร ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และเข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยจะเร่งผลักดันแผนรับมือนี้ไปประยุกต์เข้าสู่โครงการในปัจจุบันและโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ทั้งนี้เฟซบุ๊ก ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesinceeได้โพสต์ข้อความว่า  วิกฤตอาหารโลก (Global Food Crisis) เริ่มแล้ว!

ปัญหาปากท้อง ถือเป็นปัญหาต้นๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตประชากร วิกฤตราคาอาหารแพงถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทั่วทั้งโลกต่างเผชิญกันอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์


องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล ที่ส่อให้เห็นถึงวิกฤตราคาอาหารแพงทั่วโลก โดยจากรายงาน FAO ระบุว่าดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index)  ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้า อาหารและโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ น้ำมันพืช และน้ำตาล มีค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 133.7 จากระดับ 134.9 เทียบกับเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเดือนที่ 4 ที่ดัชนีเพิ่มสูงขึ้น และยังเป็นระดับที่พุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี


ซึ่งหากพิจารณารวมทั้งปี 2564 แล้วดัชนีที่ว่าจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 125.7 เพิ่มขึ้น 28.1% เทียบกับปี 2563 และถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่แตะระดับ 131.9 ในปี 2554 หรือ 10 ปีก่อน


โดยราคาในกลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากนม เป็นกลุ่มที่ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด ตามมาด้วยน้ำตาล ในขณะที่ราคาเนื้อสัตว์และน้ำมันพืชในเดือนพฤศจิกายนลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า


ในส่วนของปี 2565 FAO เผยว่าดัชนีราคาอาหารในเดือนมีนาคม 2565 เพิ่มขึ้นเกือบ 13% จากเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน และราคาอาหารพุ่งขึ้นเกือบ 30% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน 2565 ตามดัชนีราคาอาหารของ FAO


* วิกฤตอาหารส่งผลต่อประชาคมโลกอย่างไร


ราคาอาหารที่แพงขึ้นนำมาสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหาร (Food Insecurity) เมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตพุ่งสูงขึ้น เช่น ข้าว ขนมปัง เนื้อสัตว์ นม ไข่ นั่นแปลว่าประชาชนต้องหักส่วนรายได้เพื่อมาใช้จ่ายในส่วนนี้มากขึ้น สำหรับประเทศที่ค่าครองชีพมีความสอดคล้องกัน อาจส่งผลกระทบบ้างเล็กน้อยประปราย แต่ในประเทศรายได้น้อยนั้นได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะการซื้ออาหารคิดเป็นอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั้งหมด จากข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า ผู้คน 10 ล้านคนถูกผลักให้เข้าสู่ความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกสำหรับราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ เปอร์เซ็นต์


การที่ราคาอาหารสูงขึ้น แต่ประชาชนยังมีรายได้เท่าเดิมหรือน้อยลง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการเข้าถึงอาหาร และนำไปสู่ปัญหาความอดอยากและขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง


เฉพาะในประเทศเอเชียแปซิฟิก FAO ระบุว่า มีผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติอาหารแพงและการขาดแคลนอาหารมากถึง 1,800 ล้านคน และยังมีคนเป็นโรคขาดสารอาหารที่เรียกกันว่า โรคผอมแห้ง มากถึง 40 ล้านคน เพิ่มจาก 31 ล้านคนเมื่อปีที่ผ่านมา


นักวิเคราะห์ระบุว่า นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดวิกฤติที่เรียกว่า The Great (Food) Shortage หรือภาวะขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ของโลก และในหลายประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ความไม่มั่นคงด้านอาหารเป็นสาเหตุของความไม่สงบทางสังคมและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นได้จุดชนวนให้เกิดการประท้วงในศรีลังกา ตูนิเซีย และเปรู


นอกจากนี้ในประเทศร่ำรวยก็เจอผลกระทบเช่นกัน เช่น ชาวอังกฤษเกือบ 10 ล้านคนลดการบริโภคอาหารในเดือนเมษายน และฝรั่งเศสวางแผนที่จะออกคูปองอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจนที่สุด และอัตราเงินเฟ้อที่นำโดยราคาอาหารและพลังงานเป็นปัญหาการหาเสียงทางการเมืองของสหรัฐที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของที่นั่งในรัฐสภา

ในส่วนของประเทศไทยคงเห็นได้ชัดเจน จากทั้งราคาหมูที่เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 180 บาท เป็น 250 บาท และแตะ 300 บาทไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ส่วนไก่ ปลา ผักสด ก็แพงขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ร้านค้าจำนวนมากต้องติดป้ายขอขึ้นราคาอาหารเนื่องจากวัตถุดิบแพงขึ้นจนไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่ราคาขายแบบเดิมได้ ยังไม่รวมแก๊สหุงต้ม LPG ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าทางด่วน ที่ขยับขึ้นราคาตามในขณะที่รายได้ประชาชนยังคงเท่าเดิม


* สาเหตุของวิกฤตอาหารโลก


1. ผลพวงจากสงครามรัสเซีย–ยูเครน


สาเหตุที่ราคาอาหารทั่วโลกแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดมาจากราคาวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาใช้ประกอบอาหารปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาข้าวสาลีในเดือนมีนาคม 2565 ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 31% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 หรือจะเป็นราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 32% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาวัตถุดิบทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น คือผลพวงจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากทั้งสองประเทศถือเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อนำไปประกอบอาหารรายใหญ่ของโลก อาทิ ข้าวสาลี คิดเป็น 30% ของตลาดโลก น้ำมันพืชจากเมล็ดดอกทานตะวัน คิดเป็น 80% ของตลาดโลก ข้าวโพด คิดเป็น 19% ของตลาดโลก


การสู้รบที่เกิดขึ้น ทำให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลีและข้าวโพด ไม่สามารถทำได้ ซึ่ง FAO ระบุว่า สงครามจะทำให้พื้นที่การเกษตรของยูเครน 20-30% ไม่ได้รับการเพาะปลูกหรือไม่ได้รับการเก็บเกี่ยวในฤดูกาล 2565 อีกทั้งการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปขายต่างแดนผ่านท่าเรือในทะเลดำต้องหยุดชะงักลง จากการถูกเรือรบของรัสเซียปิดล้อม


ดังนั้นหลายประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารและปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากรัสเซียและยูเครน อาทิ มองโกเลีย อาเมเนีย อียิปต์ เยเมน ลิเบีย ปากีสถาน ตุรกี จึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งบางประเทศ อย่างเช่น เลบานอน ถึงขั้นต้องร้องขอความช่วยเหลือเงินกู้จากธนาคารโลกกว่า 150 ล้านดอลลาร์ หรือราว 4,800 ล้านบาท เพื่อนำมาอุดหนุนค่าอาหาร โดยเฉพาะขนมปังและธัญพืช ให้แก่ประชากรในประเทศ โดยโครงการอาหารโลก (World Food Programme) ระบุว่า หากสงครามยังดำเนินต่อไป อาจนำไปสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ประเทศต่าง ๆ จะค่อย ๆ ขาดเสถียรภาพและการอพยพ นำไปสู่วิกฤตอื่น ๆ ต่อไปอีก


2. ราคาปุ๋ยแพง


ขณะนี้เกิดปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยทั่วโลก นอกจากสินค้าเกษตรแพงแล้ว ราคาปุ๋ยซึ่งเป็นวัตุดิบสำคัญในการเพาะปลูกก็แพงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากภาวะสงครามในรัสเซียซึ่งถือเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบที่ใช้ในการทำปุ๋ยรายใหญ่ อาทิ โพแทสและซัลเฟต ส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งปุ๋ยดังกล่าวไปยังต่างประเทศ

อีกทั้งด้วยราคาก๊าซที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาปุ๋ยต้องปรับขึ้นตาม เนื่องจากก๊าซเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตแอมโมเนียในปุ๋ย


3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้สภาพอากาศในหลายประเทศแปรปรวนอย่างหนัก ดังนั้นการเพาะปลูกพืชทางเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศจึงเกิดความเสียหาย หากย้อนดูข้อมูลดัชนีราคาอาหารโลกจะพบว่า ดัชนีราคาอาหารโลกนั้นเริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ก่อนจะมีสงครามรัสเซีย-ยูเครนแล้ว

ตามรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ในเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความแห้งแล้ง น้ำท่วม และไฟไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อถือได้ อย่างเช่น แคลิฟอร์เนียและยุโรปตอนใต้ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้จำนวนผลผลิตตกต่ำลง และมีบางประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว เช่น อินเดีย ที่เผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสาลีในปีนี้ลดลง รวมถึงจีน ที่รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของจีนได้ออกมาเตือนว่า ผลผลิตข้าวสาลีในฤดูหนาวของประเทศจะย่ำแย่ เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวสาลีได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่


นอกจากผลกระทบทางการเกษตรแล้ว ยังมีเหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้ายในท่าเรือสำคัญต่าง ๆ ตั้งแต่บัลติมอร์ ไปจนถึงทะเลดำ ส่งผลให้การส่งออกหยุดชะงัด นำไปสู่ราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น 


Enock Chikava ผู้อำนวยการชั่วคราวด้านการพัฒนาการเกษตรของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates กล่าวว่า  ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะรุนแรง จนทำให้ผลกระทบจากวิกฤตยูเครนที่มีต่อราคาอาหารนั้นเป็นเพียงแค่ระดับอนุบาล และเขายังกล่าวอีกว่า ผลกระทบที่เราเห็นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืช ภัยแล้ง หรือความร้อนที่เพิ่มขึ้น นั่นเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเพียง 1 องศาเซลเซียสเท่านั้น และหากอุณหภูมิของโลกยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเช่นนี้ จนถึง 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส จะนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่


* ธนาคารโลกเตือน "วิกฤตอาหารโลก" ยืดเยื้อถึงปี 2566


นายเดวิด มัลพาส ประธานธนาคารโลกได้ออกมากล่าวระหว่างการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิ 2565 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกเมื่อวันพุธ (20 เม.ย.) ว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลทำให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบกลุ่มคนยากไร้มากที่สุด พร้อมเตือนว่า วิกฤตการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารครั้งนี้จะครอบคลุมระยะเวลาหลายเดือนและอาจจะยืดเยื้อไปจนถึงปี 2566


โดยธนาคารโลกได้ประกาศแผนรับมือวิกฤติความมมั่นคงด้านอาหารโลก โดยจะอัดฉีดงบประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่โครงการในปัจจุบันและโครงการใหม่ ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจะครอบคลุมด้านเกษตรกรรม, โภชนาการ, การคุ้มครองทางสังคม, น้ำ และการชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารตลอดช่วง 15 เดือนข้างหน้า


นอกจากนี้ งบประมาณดังกล่าวจะยังครอบคลุมการส่งเสริมการผลิตอาหารและปุ๋ย เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบอาหาร สนับสนุนด้านการค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความช่วยเหลือครัวเรือนและผู้ผลิตกลุ่มที่เปราะบาง


โดยธนาคารโลกจะร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการจัดตั้งโครงการใหม่ ๆ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วง 15 เดือนข้างหน้า เพื่อรับมือวิกฤติความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ พยายามร่วมกันเพื่อเพิ่มปริมาณพลังงานและผลผลิตปุ๋ย ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มอัตราการเพาะปลูกและปริมาณผลผลิต รวมถึงยกเลิกนโยบายระงับการส่งออกและนำเข้า


* วิกฤตอาหารโลกนำมาสู่ “Food Protectionism” ในหลายประเทศ


สงครามรัสเซีย-ยูเครน จุดชนวนผลกระทบเศรษฐกิจโลกหลายด้าน โดยเฉพาะแนวโน้ม “วิกฤตอาหารโลก” ที่เขย่าความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก จากการที่ทั้งสองประเทศหยุดการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี เรพซีดออยล์ และน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสำรองอาหารและพลังงานไว้เพื่อความมั่นคงในประเทศ ซึ่งสินค้าธัญพืชเหล่านั้นเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในการเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหาร และกำลังกลายเป็นกระแสผลักดันให้ประเทศผู้ผลิตอาหารออกนโยบาย “ห้ามส่งออก” ในแบบเดียวกัน เพื่อรักษาสมดุลอาหารเพื่อเลี้ยงคนในประเทศ


ประเทศที่ห้ามส่งออกธัญพืชสำคัญและอาหารขณะนี้นอกจากรัสเซีย-ยูเครนแล้ว ติดตามมาด้วยอินโดนีเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันเพื่อการบริโภครายใหญ่สุดของโลก ประกาศห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มสำหรับทำอาหาร คาซัคสถาน จำกัดการส่งออกข้าวสาลีและแป้งสาลี เป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ขณะที่อาร์เจนตินา ผู้ส่งออกเนื้อวัวรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก จำกัดการส่งออกเนื้อวัว ยาวจนถึงปี 2566 และล่าสุดอินเดีย ประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลี ด้วยเหตุผลที่ไม่แตกต่างกับประเทศอื่น ๆ คือเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชาติของตน เหล่านี้อาจจะเป็นเหตุผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์และราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้นรอบใหม่ได้


สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า บรรดาผู้ซื้อข้าวสาลีทั่วโลกได้แห่ไปซื้อข้าวสาลีจากอินเดีย หลังจากที่การส่งออกข้าวสาลีจากเมืองท่าแถบทะเลดำลดลงตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตียูเครน ส่งผลให้ราคาข้าวสาลีตลอดจนผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีในอินเดียพุ่งสูงถึง 15-20% หลังสงครามรัสเซียยูเครนปะทุ เช่นเดียวกับราคาข้าวสาลีในตลาดโลกพุ่งสูงสุดในรอบ 14 ปี ซึ่งไม่เพียงแต่จะกระทบต่อปัจจัยต้นทุนราคาอาหาร การห้ามส่งออกข้าวสาลีของอินเดียยังคาดว่าจะกระทบต่อต้นราคาอาหารสัตว์ให้มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

เห็นได้ว่านโยบายปกป้องตัวเองเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารเฉพาะตัว (Food Protectionism) เริ่มแพร่หลายไปในหลายประเทศแม้ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามก็ตาม เพราะต่างตระหนักถึงผลกระทบทางตรงต่อนโยบายบริหารประเทศช่วงต่อจากนี้ไป คือภาวะเงินเฟ้อและการขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะประเทศที่นำเข้าอาหาร เช่น แอฟริกา เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกอาหารจะไม่สามารถหาวัตถุดิบมาสนับสนุนการผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ หรือ หาได้ก็มีต้นทุนสูงมากจนทำให้ต้องปรับราคาให้สูงขึ้นด้วย ราคาสินค้าสูงก็จะผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งเป็นเหตุผลที่รัฐบาลแต่ละประเทศพยายามหลีกเลี่ยง


จากข้อมูลของสถาบัน Peterson Institute for International Economics หรือ PIIE ระบุว่า ปัจจุบันมีประเทศที่มีนโยบายห้ามส่งออกอาหาร อาทิ 

อาร์เจนตินา : น้ำมันถั่วเหลือง, กากถั่วเหลือง สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

แอลจีเรีย : พาสต้า, เมล็ดข้าวสาลี, น้ำมันพืช, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

อียิปต์ : น้ำมันพืช, ข้าวโพด สิ้นสุดวันที่ 12 มิถุนายน 2565 และข้าวสาลี, แป้งสาลี, น้ำมันพืช, ถั่วเลนทิล, พาสต้า, ถั่ว สิ้นสุดวันที่ 10 มิถุนายน 2565

อินโดนีเซีย : น้ำมันปาล์ม, น้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

อิหร่าน : มันฝรั่ง, มะเขือม่วง, มะเขือเทศ, หัวหอม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

คาซัคสถาน : ข้าวสาลี, แป้งสาลี สิ้นสุดวันที่ 15 มิถุนายน. 2565

โคโซโว : ข้าวสาลี, ข้าวโพด, แป้งสาลี, น้ำมันพืช, เกลือ, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ตุรกี : เนื้อวัว, เนื้อแกะ, เนื้อแพะ, เนย, น้ำมันประกอบอาหาร สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ยูเครน : ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, ข้างฟ่าง, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

รัสเซีย : น้ำตาล, เมล็ดทานตะวัน สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2565 และข้าวสาลี, แป้งเมสลิน, ข้าวไรย์, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพด สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565

เซอร์เบีย : ข้าวสาลี, ข้าวโพด, แป้งสาลี, น้ำมันพืช สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ตูนิเซีย : ผัก, ผลไม้ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

คูเวต : ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่, ธัญพืช, น้ำมันพืช สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565


*เอกสารอ้างอิง “วิกฤตอาหารโลก (Global Food Crisis) เริ่มแล้ว!”  Money Buffalo “ทำไมถึงเกิดวิกฤตอาหารโลก ภัยใหม่ 2022 หายนะของทุกประเทศ” https://www.moneybuffalo.in.th/.../%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0...


 

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อย่ากดดันมาก! "ไพศาล" มั่นใจ "ชัชชาติ" จัดการปมรถไฟฟ้าสายสีเขียวยึดตามกฎหมาย อย่ากดดันมาก



วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565  นายไพศาล พืชมงคลนักกฎหมายอิสระ โพสต์ Facebook ระบุว่า ยิ่งกดดัน-จี้ ชัชชาติให้เร่งจัดการเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็เท่ากับเอาหัวไปให้เขาตี!!!!

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวคาราคาซังเป็ปัญหามานานแล้ว  ไม่แก้ไขหรือแก้ไม่ได้ ก็เพราะมีการทุจริต และไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่กินไม่เข้าคายก็ไม่ออก จึงคาราคาซังมาจนถึงวันนี้ จะไปกดดันชัชชาติเขาเพื่อสิ่งใด เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ชัชชาติเขาจะต้องทำเป็นเรื่องแรกๆอยู่แล้ว

2. เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง ทรัพย์สินทั้งหมดเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายนี้ตกเป็นของกรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.อาจทำเองหรือให้สัมปทานใหม่ก็ได้ คาดว่าจะมีการให้สัมปทานใหม่ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะยกให้ใครได้ตามอำเภอใจเหมือนที่คิดจะทำกันมาแต่ก่อน!!! เพราะต้องปฏิบัติตามกฎหมายร่วมทุน ซึ่งเชื่อว่าชัชชาติจะปฏิบัติตามกฎหมาย และจะไม่ยอม ปฏิบัติตามคำสั่งหรือความกดดันของใครเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้น จึงหวังได้ว่าชัชชาติจะจัดการเรื่องนี้ไปตามบทกฎหมาย และอาจนำไปสู่การเช็คบิลผู้กระทำความผิดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหลายหมื่นล้านบาท!!!!

คาดว่าจะมีตั้งคณะตรวจข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วัน จากนั้นก็เดินหน้าไปตามอำนาจหน้าที่และกฎหมาย ประชาชนกำลังจับจ้องมองดูเรื่องนี้กันอยู่

มท.ยกฐานะวัดถ้ำกระบอกสระบุรี เป็น"ศูนย์บำบัดยาเสพติด"ถูกต้องตามมาตรฐานสธ.



มท.ยกฐานะวัดถ้ำกระบอกสระบุรี เป็น"ศูนย์บำบัดยาเสพติด"ถูกต้องตามมาตรฐานสธ.  ต้นแบบวัดมีส่วนร่วมฟื้นฟูจิตใจคืนคนดีสู่สังคม

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2565 เวลา 13:30 น. ที่ห้องประชุมราชบพิธ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับ พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานการณ์โควิด-19 และคณะอนุกรรมการ ในการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวปาณี นาคะนาท ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคง นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เรือโท ภัทรชัย ขันธหิรัญ ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการพิเศษ สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง นายปวเรศ รัฐขจร ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย นางขนิษฐา จิรพิทักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

     

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานการณ์โควิด-19 โดยมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานคณะกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะกรรมการ ทำหน้าที่ในการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดนอกเหนือจากหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจอยู่แล้วในทุกมิติ ด้วยการส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนที่พบเห็นได้มีโอกาสร่วมมือกับภาครัฐด้วยการแจ้งเบาะแสผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ผู้ค้ายาเสพติด และกลุ่มมิจฉาชีพที่แสวงหาประโยชน์จากบุคคลดังกล่าว โดยจัดให้มีระบบการแจ้งข้อมูล การคุ้มครองพยาน และการบูรณาการประสานงานรับผู้ป่วยและเคลื่อนย้ายเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ณ สถานที่บำบัดรักษา จนจบกระบวนการ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากยาเสพติดได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน โดยมีศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย 1567 เป็นสายด่วนหลักในการบูรณาการศูนย์บริการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด หรือ “สายด่วนเลิกยาเสพติด” ร่วมกับภาคีเครือข่ายสายด่วนทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง และมุ่งพัฒนาสู่ระบบการโอนสายส่งต่อ (ระบบ Call Forward) โดยใช้ฐานข้อมูลผู้เสพฐานเดียวในการบูรณาการความช่วยเหลือ

     

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานการณ์โควิด-19 ให้ได้เป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ในการทำหน้าที่ที่มีความสำคัญของชาติ ในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการมุ่งมั่น “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 64 ที่ผ่านมา 


มีหลักการสำคัญในการเน้นการส่งผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดแบบสมัครใจ โดยมอง “ผู้เสพ” คือ “ผู้ป่วย” เพื่อบำบัดรักษาให้ได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่กลับมากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีก เป็นการคืนคนดีสู่สังคม รวมทั้งดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย พร้อมจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม กว่า 1,200 แห่ง เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่กลับมากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีก โดยมีกลไกกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมการพัฒนาชุมชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนทั้งมิติป้องกันปราบปรามและการช่วยเหลือฟื้นฟู 

     

“ในด้านการฟื้นฟู/บำบัดรักษา กระทรวงมหาดไทย ขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานการณ์โควิด-19 และกระทรวงสาธารณสุข ในการพิจารณารับรองและยกฐานะ “ศูนย์บำบัดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี” ให้เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติดที่ได้รับการรับรองที่ถูกต้องและได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งวัดถ้ำกระบอก ถือเป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยความรู้ (Know-how) ของคณะสงฆ์วัดถ้ำกระบอก ได้ช่วยให้ประชาชนผู้หลงผิดจากทั่วประเทศได้หายจากการติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงต้น


“กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นขับเคลื่อนแนวทางความสำเร็จของการ “คืนคนดีสู่สังคม” และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของเราให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อเป้าหมาย คือ ให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้มีความสุข ด้วยกลไกภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขยายผลจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้มีในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน โดยบูรณาการร่วมกันภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนา 


กระทรวงมหาดไทยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ร่วมกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดำเนินโครงการ “วัด ประชา รัฐ สร้างสุข” ร่วมกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพื่อใช้วัดเป็นหมุดหมายที่สำคัญ ทั้งในด้านการใช้อาคารสถานที่และการดูแลจิตใจให้ผู้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูมีกำลังใจที่เข้มแข็งในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนในสังคม” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเน้นย้ำ

     


 



ครม.แต่งตั้ง "พระพรหมบัณฑิต" บอร์ดกก.ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ "หมอประกิต-บุ๋ม ปนัดดา" บอร์ดควบคุมยาสูบ

  


 

 

 

 



วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ/เห็นชอบในเรื่องแต่งตั้งดังนี้ 

1. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

2. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์

3. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ จำนวน 3 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565  1. นายถวัลย์ วรรณกิจมงคล  2. นางพอตา ยิ้มไตรพร  3. นายนาฬิกอติภัค แสงสนิท  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

4. การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ จำนวน 10 รูป/คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ดังนี้ 1. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาส อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ประธานกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ    2. นายสมัย เจริญช่าง  3. นายสยาม ม่วงศักดิ์  4. นางกัมเลซ มันจันดา 5. นายสัตนามซิงห์ มัตตา 6. นายปรารพ เหล่าวานิช  7. นายสด แดงเอียด  8. นายประเสริฐ เล็กสรรเสริญ 9. นายธาดา เศวตศิลา 10. นางพิมพ์กาญจน์ ชัยจิตร์สกุล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

5. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. นายประกิต วาทีสาธกกิจ ด้านการแพทย์ 2. นางนันทวรรณ วิจิตรวาทการ ด้านการสาธารณสุข  3. นายปกป้อง ศรีสนิท ด้านกฎหมาย  4. นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ด้านการคุ้มครองสิทธิสตรีหรือสิทธิเด็ก 5. นางสาวปนัดดา วงศ์ผู้ดี ด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ  6. นางสมศรี เผ่าสวัสดิ์ จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน  7. นายสมพงษ์ จิตระดับ จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน  8. นายอิศรา ศาสติศาสน์ จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน 9. นางฐาณิษา สุขเกษม จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

6. การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร รวม 7 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2565 1. นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ประธานกรรมการ 2. นางสาวบุษราภรณ์ กอบกิจพานิชผล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  3. นายปกรณ์ คุณสาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  4. พลเอก โกศล ประทุมชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. นายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ กรรมการภาคเอกชน  6. พลตำรวจโท ประหยัชว์ บุญศรี กรรมการภาคเอกชน  7. นางศรีมาลา พรรณเชษฐ์ กรรมการภาคเอกชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป


กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...