วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567

"พระพรหมดิลก" เป็นประธานในพิธีประดิษฐานยอดอุโบสถวัดพระธรรมกายโทชิหงิ ประเทศญี่ปุ่น



เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา พระพรหมดิลก เปรียญธรรม 9 ประโยค วัดสามพระยาวรวิหาร กรุงเทพมหานคร  เป็นประธานสงฆ์ในพิธีประดิษฐานยอดอุโบสถ วัดพระธรรมกายโทชิหงิ  ประเทศญี่ปุ่น  โดยพิธีเริ่มในช่วงเช้าเป็นพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์วัดพระธรรมกายทั่วภาคพื้นญี่ปุ่น จำนวน 12 วัด 30 รูป มีคุณไพศาล ทวีชัยถาวร คุณเสาวนี หิรัณยศิริ, คุณโคตรดีศรีไสว การะเกตุ คุณพรทิพย์ แซ่ลิ้ม คุณจันทร์จิรา โนโมโตะ คุณถนอมสิน พิศสุวรรณ คุณจรรยา คุวาบารา และคุณนวิยา อิศรางกูร ณ อยุธยา ร่วมเป็นประธานฝ่ายฆราวาส

ภาคบ่าย เป็นพิธีประดิษฐานยอดอุโบสถ การนี้ พระราชรัชวิเทศ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำญี่ปุ่น นำคณะสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์สมโภช "ยอดอุโบสถ วัดพระธรรมกายโทชิหงิ” บูชาธรรม 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย ต่อด้วย คุณไพศาล ทวีชัยถาวร และคุณเสาวนี หิรัณยศิริ นำกล่าวคำถวายยอดอุโบสถ ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา จากนั้น พระเดชพระคุณพระพรหมดิลก,พระอรรถกิจโสภณ, พระวิเทศธรรมาภรณ์ ประธานสหภาพพระธรรมฑูตไทยในอินโดนีเชีย-แอฟริกา ประกอบพิธีปิดแผ่นทองต้นสมบัติ ณ ยอดอุโบสถ เป็นปฐมฤกษ์ ต่อด้วยคณะเจ้าภาพ 36 คณะ รับพานแผ่นทองจากท่านประธานสงฆ์ ปิดแผ่นทอง และคล้องบุปผาสวรรค์ ณ ยอดอุโบสถ พระเดชพระคุณพระราชรัชวิเทศ ประพรมน้ำมนต์ ณ ยอดอุโบสถ บูชาธรรม 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย และทำการอัญเชิญยอดอุโบสถ ประดิษฐาน ณ ยอดอุโบสถวัดพระธรรมกายโทชิหงิ


"ผอ.สันติศึกษา มจร" เยี่ยมชมโคกหนองนา"อาจารย์หลักสูตรคณะครุศาสตร์ มจร" อุทุมพรพิสัยศรีสะเกษ



วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มจร เยี่ยมชมโคกหนองนาของพระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ, ผศ.ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรคณะครุศาสตร์ มจร ซึ่งมีการพัฒนาจากทุ่งนาธรรมดาในชุมชนยกระดับมาเป็นโคกหนองนาฟรีเมี่ยมปลูกต้นไม้ทานได้มีน้ำที่อุดมสมบูรณ์ อากาศเย็นสบายผ่อนคลาย โดยมากกว่าโคกหนองนาคือครอบครัวมีความสุข โยมแม่ท่านปลัดมีความสุขสุขกายใจ ได้อยู่ธรรมชาติสามารถพึ่งพาตนเองได้ นับว่าเป็นความโชคดียิ่ง จึงถือโอกาสมาฉันภัตตาหารที่โคกหนองนาและเยี่ยมชมพร้อมจะมีการขยายผลให้สามารถพึ่งตนเองได้ในพื้นที่ จึงถวายกำลังใจท่านพระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ ผศ.ดร. ในการพัฒนาชุมชนแบบฐานรากนำพาชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงสร้างคุณค่ามูลค่าในชุมชน ในอนาคตจะมีการขยายไปสู่คาเฟ่ผสมผสานกับบรรยากาศแบบบ้านทุ่ง สร้างบรรยากาศในเป็นพื้นที่ชุมชนมาเรียนรู้ 

ชีวิตนี้จงอย่าเสียเวลาพิสูจน์ตนเองกับใคร แต่จงเอาเวลาที่มีไปค้นหาตนเองดีกว่า อย่าให้คำตัดสินของใครที่ไม่รู้จักตัวเรามามีอิทธิพลต่อชีวิตของเรา ขอให้เรามีคนนับร้อยเป็นแรงบันดาลใจแต่อย่าได้เดินตามใครแม้เพียงคนเดียว จงออกไปวิจัยความฝันของเราเอง เพราะงานวิจัยมาจากคำว่า  Re แปลว่า ซ้ำ Search แปลว่า ค้น จึงแปลว่า ค้นซ้ำไปค้นซ้ำมาจนเกิดความรู้ใหม่และรูปแบบการพัฒนา การทำวิจัยความฝันจึงต้องประกอบด้วยด้วย ๕  Re ประกอบด้วย 

๑) #Restart จุดเริ่มต้นการวิจัยควรจะเริ่มจากความปรารถนาอย่างแรงกล้าและปัญหาที่เกิดขึ้น หรือต้องการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในความฝันของตนเอง   

๒) #Review ทบทวนชีวิตและงานที่เราเป็นเราทำ เรามีทุนเดิมอะไรที่ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป จึงต้องทบทวนอย่างละเอียด ทุนเดิมของเราพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นสู่สิ่งที่ฝันอยากจะทำ 

๓) #Research  เป็นการค้นหาแบบซ้ำๆ จนเกิดองค์ความรู้ใหม่เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดรูปแบบในการพัฒนา จึงตั้คำถามว่า ทำไมต้องพัฒนา พัฒนาอะไร พัฒนาอย่างไร ซึ่งหมายถึง วิธีดำเนินการวิจัย จงวิจัยความฝันของตนเอง 

๔) #Result ทำวิจัยจนเกิดผลลัพธ์เกิดเป็นนวัตกรรมสร้างคุณค่าสร้างมูลค่า จนกลายเป็นแบรนด์ของชีวิตและการทำงานที่มีคุณค่าสุดประมาณ ทำจนให้เกิดผลประจักษ์ที่แท้จริง   

๕) #Realise  กลับมามีชีวิตอย่างรู้ตื่นและเบิกบาน สิ่งที่เราทำคือสงบเย็นเป็นประโยชน์ต่อสังคม สร้างความสุขมีคุณค่าและความหมายต่อสิ่งที่เราทำ มีชีวิตที่มีความสุข ทำในสิ่งที่ใช่ 

ดังนั้น การทำวิจัยความฝัน #จงเป็นให้เป็น จงทำวิจัยความฝันในสิ่งที่เราเป็นสิ่งที่เราทำแล้วพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ถือว่าเป็นงานวิจัยเชิงพัฒนา ส่งผลต่อชีวิต จงวิจัยความฝันด้วยการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและความมั่นคงทางด้านจิตใจ ทำอย่างไรจะทำทุ่งนาให้มีมูลค่าและคุณค่า ด้วยการลงมือทำโคกหนองนาบูรณาการ ด้วยการทำแบบคนจนแต่วิธีคิดแบบคนรวย เรียกว่าเรามาจากธรรมชาติควรกลับหาธรรมชาติ จงย้ำว่า ชีวิตของเราอย่าเสียเวลาพิสูจน์ตนเองกับใครแต่จงเอาเวลาที่มีไปค้นหาตนเองดีกว่า จงอย่าให้คำตัดสินของใครที่ไม่รู้จักตัวเรามามีอิทธิพลต่อชีวิตของเรา ขอให้เรามีคนนับร้อยเป็นแรงบันดาลใจแต่อย่าได้เดินตามใครแม้เพียงคนเดียว


คณะสงฆ์อำเภอนางรองบุรีรัมย์ สานพลัง "บวร" ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะ ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติระดับพื้นที่



คณะสงฆ์อำเภอนางรอง บุรีรัมย์ สานพลัง "บวร" ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะ ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่  พัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจําวัด - อสว.) ในหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ  ตามนโยบายมหาเถรสมาคมและนโยบายสังฆาภิบาลเพื่อพระสงฆ์อาพาธ ของรัฐบาล (เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567)

ระหว่างวันที่  26-27 มีนาคม 2567 พระครูปริยัติภัทรคุณ เจ้าคณะอำเภอนางรอง ในฐานะประธานอำนวยการคณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่และประธานอำนวยการศาสนกิจคณะสงฆ์อำเภอ ประธานคณะกรรมการอำนวยการอบรมประชาชนประจำอำเภอ (อ.ป.อ.) อำเภอนางรอง กล่าวว่า คณะสงฆ์อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะสงฆ์ภาค 11  ผนึกพลังสังฆะบูรณาการศาสนกิจ/ภารกิจทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย ปกครอง ศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์  เผยแผ่  สาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์ โดยมี พระครูประสิทธิ์ธรรมวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอ ประธานคณะทำงานด้านการเผยแผ่และสาธารณสงเคราะห์ พระครูศรีปริยัติวิบูลย์ รองเจ้าคณะอำเภอ ประธานคณะทำงานด้านการศาสนศึกษาและศึกษาสงเคราะห์ พระครูสุวรรณธรรมาภิราม ประธานสมัชชาตำบลสุขภาวะ ประธานพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.คณะสงฆ์อำเภอนางรอง) พร้อมด้วย เจ้าคณะตำบล ประธานกรรมการหน่วยอบรมประชาชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) 17 ตำบล พระสังฆาธิการทุกระดับในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะ ประกอบด้วย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนางรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาลนางรอง และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจําวัด - อสว.) โดยจัดอบรมพระคิลานุปัฎฐาก (พระอสว.) เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับพระคิลานุปัฏฐาก ในหลักสูตรพระผู้ดูแลผู้สูงอายุ 15ชั่วโมง (Caregiver : CG  ภาคทฤษฎี 15 ชั่วโมง ปฏิบัติ 5 ชั่วโมง) ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 256 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลนางรอง และวัดใหม่เรไรทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   โดยมีพระสงฆ์กลุ่มเป้าหมายหลัก ตามโครงสร้างหลักสูตรและกลุ่มพระสงฆ์ที่มีความสนใจซึ่งปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ประโคนชัย กระสัง บ้านด่าน คูเมือง พุทไธสง และอำเภอนางรอง เข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จำนวน 40  รูป 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ในฐานะผู้ประสานงานโครงการ กล่าวว่า การอบรมในครั้งนี้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพระศิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจําวัด - อสว.) ในหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ จํานวน 15 ชั่วโมง 

ที่อนุมัติหลักสูตรโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้พระศิลานุปัฏฐาก มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยและปฏิบัติต่อพระสงฆ์อาพาธภายในวัด อย่างมีประสิทธิภาพ  2) เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์และการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว  ซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่

เป็นผู้สูงอายุ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพพระศิลานุปัฏฐาก ในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อาพาธระยะยาว  



ทั้งนี้ ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายคณะสงฆ์อำเภอ เจ้าคณะพระสังฆาธิการ ทุกระดับ โดยวัดใหม่เรไรทอง เกื้อกูลสถานที่สำหรับถอดบทเรียน คณะผู้บริหารโรงพยาบาลนางรอง สนับสนุนแหล่งเรียนรู้สถานการณ์จริงทั้งด้านสถานที่พร้อมทีมวิทยากร ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนางรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา สนับสนุนเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่และดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งต่างตระหนักร่วมกันว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ที่มีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน และธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ คือข้อตกลงร่วมหรือพันธะร่วมของพระสงฆ์ คณะสงฆ์ ชุมชน สังคม และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในทุกระดับและส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ ประเมิน การปฏิบัติและจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพให้กับบุคคลอื่นได้ เป็นผู้นําด้านสุขภาวะและ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อาพาธพระสงฆ์ที่อาพาธติดเตียงหรือมีภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลแบบประคับประคองจากพระสงฆ์ด้วยกันเอง จากพระสงฆ์ที่ผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้ ตามโครงสร้างหลักสูตรฯ ดังกล่าวในครั้งนี้ โดยสานพลัง บวร ร่วมกันสื่อสาร สนับสนุนส่งเสริมให้พระสงฆ์มีบทบาทต่อการดูแลสุขภาพตนเอง ชุมชน สังคม และส่งเสริมการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยก่อให้เกิดการเชื่อมโยงวัดกับชุมชน ภายใต้แนวคิด“พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข”ตามวิถีชีวิตและบริบทสังคมไทย ทั้งในวงกว้างและในระดับพื้นที่สืบต่อไป


"เจ้าคุณพิมล"จากสหรัฐอเมริกา เตรียมสร้างโบสถ์เอไอ พุทธนวัตกรรมในวัดป่า



เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม  ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. โค้ชสันติ ผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: มจร  เข้ากราบท่านอาจารย์เจ้าคุณพระศรีญาณวิเทศ (พิมล วิมโล ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดป่าพิมลมังคลาราม  อำเภออุทุมพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีโอกาสเดินชมวัดและสนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาวัดป่าพิมลมังคลาราม 

เรื่องความล้ำสมัยพุทธนวัตกรรมต้องยกให้อาจารย์เจ้าคุณพระศรีญาณวิเทศ (พิมล วิมโล ป.ธ.๙) ซึ่งบริหารวัดในสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จมาแล้วคือวัดปากน้ำมิชิแกน จึงมีความตั้งใจมุ่งมาพัฒนาวัดในบ้านเกิดของท่านเจ้าคุณเพื่อสร้างคุณค่าให้กับชุมชน โดยโบสถ์ AI ถือว่าจะเป็นพุทธนวัตกรรมเป็นแลนด์มาร์คธรรมะอีสานใต้ สร้างพื้นที่ให้เกิดคุณค่าและมูลค่า ถือว่าสุดยอดไอเดียล้ำยุคสร้างโบสถ์เอไอบรรจุคำสอนพระพุทธเจ้า เข้าถึงคนทุกช่วงวัยซึ่งจะวางศิลาฤกษ์วันที่ ๒๒  พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ วัดป่าพิมลมังคลาราม  นี้  

อาจารย์ “มจร” เผย “หลักสูตรบาลีคณะสงฆ์ไทย” เรียนพระไตรปิฏกแค่ 149 หน้าจาก 27,289 หน้า



วันที่ 31  มี.ค. 67    พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, ป.ธ.9, ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตร บาลีพุทธศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์เฟชบุ๊คส่วนตัว “Wat Pan Ken” ตั้งคำถามว่า หลักสูตรบาลีสนามหลวง  เรียนพระไตรปิฎก เล่มไหน หน้าไหน ซึ่งสรุปความว่า  พระไตรปิฎก มี 27,289 หน้า  หลักสูตรบาลีสนามหลวง เรียน 149 หน้า  คิดเป็น 0.54% ของจำนวนหน้า  หรือ คิดเป็น 0.44% ของจำนวน 45 เล่ม พร้อมฝาก “แม่กองบาลี” พิจารณา  โดยมีรายละเอียดดังนี้    หลักสูตรบาลีสนามหลวง  เรียนพระไตรปิฎก เล่มไหน หน้าไหน

ก.พระวินัยปิฎก เล่ม 8 เล่ม ไม่ได้เรียนแม้แต่เล่มเดียว

1.มหาวิภังค์ ภาค ๑  มี 484 หน้า  2.มหาวิภังค์ ภาค ๒ มี 737 หน้า  3.ภิกขุนีวิภังค์ 401 4.มหาวรรค ภาค ๑ 393

5.มหาวรรค ภาค ๒ 374 6.จุลวรรค ภาค ๑ 369 7.จุลวรรค ภาค ๒ 420 8.ปริวาร 721

รวม 3,899 หน้า (ไม่ได้เรียนสักหน้า)


ข. พระสุตตันตปิฎก มี 25 เล่ม 5 นิกาย (ที,ม,สํ,อํ,ขุ)  (เรียนเฉพาะ เล่ม 25 จำนวน 149 หน้า)

 ทีฆนิกาย 34 พระสูตรชนิดยาว  9.ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค 247  10.ทีฆนิกาย มหาวรรค 372  11.ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค 438

มี 1057 หน้า ไม่ได้เรียนแม้แต่หน้าเดียว สูตรเดียว

 มัชฌิมนิกาย มี 152 สูตรชนิดกลาง

12.มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ 554  13.มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ 614  14.มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ 510

มี 152 สูตร 1678 หน้า ไม่ได้เรียนสักหน้า

 สังยุตตนิกาย  รวมประเภทพระสูตร

15.สํ.สคาถวรรคสังยุต 396  16.สํ.นิทานวรรค 340 หน้า  17.สํ.ขันธวารวรรค 408 หน้า 18.สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค 496

19.สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค 658

มี 2,325 หน้า ไม่ได้เรียนแม้หน้าเดียว

 อังคุตตรนิกาย แบบนับจำนวนชุด   มีพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร ไม่ได้เรียนสักสูตร

20.อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต 411  21. อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต 392  22. อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต 644

23.อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต 564  24.อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต 449

มี 2,289 หน้า ไม่ได้เรียนแม้หน้าเดียว

 ขุททกนิกาย สูตรเนื้อหาเล็กสั้น

25.ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต 784 26.ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา 640

27.ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ 636  28.ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ 560  29.ขุททกนิกาย มหานิทเทส 620  30.ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส 502  31.ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 610  32.ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ 704  33.ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก 778

มี 5,834 หน้า เรียนเพียง 149 หน้า ธรรมบท 26 วรรค

ค. อภิธรรมปิฎก ไม่ได้เรียนแม้แต่หน้าเดียว

34.ธรรมสังคณีปกรณ์ 388  35.วิภังคปกรณ์ 690  36.ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์ 232  37.กถาวัตถุปกรณ์ 946

38.ยมกปกรณ์ ภาค ๑ 854  39.ยมกปกรณ์ ภาค ๒ 649  40.มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ 908  41.มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ 668

42.มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓ 482  43.ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔ 647  44. ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๕ 705 45.ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖ 731

มี 7,900 หน้า ไม่ได้เรียนแม้หน้าเดียว

รวมพระไตรปิฎก มี 27,289 หน้า  หลักสูตรบาลีสนามหลวง เรียน 149 หน้า คิดเป็น 0.54% ของจำนวนหน้า  หรือ คิดเป็น 0.44% ของจำนวน 45 เล่ม

ฝากแม่กองบาลี รองแม่กอง ผู้บริหารช่วยพิจารณาด้วย  งบประมาณแผ่นดินที่ใช้จัดการเรียนการสอนการสอบ ปีละร้อยล้าน  เรียนคำสอน แค่ 149 หน้า หรือ 0.44 % ของจำนวนเล่มพระไตรปิฎก มันคุ้มหรือไม่

ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์  มองว่า พระไตรปิฎก  ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๑๗ หมุดหมายสำคัญ. (SDGs ความยั่งยืนวิถีพุทธ).... โดยจัดการศึกษา  ดังนี้ 

๑)  เปรียญตรี  ศึกษาหลักธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิต/สังคม ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก  ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ  ๕  หมุดหมาย ( ที  ม สํ องฺ  ขุ )หลักสูตร ๓ ปี     

๒) เปรียญโท ศึกษาการพัฒนาและการจัดระเบียบเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตตามหลักอริยวินัยและอภิสมาจาริยสิกขา  เพื่อการขัดเกลาตนเองและเคารพกติกาสังคมเพื่อชึวิตและสังคมสันติสุข ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๕ หมุดหมาย ( อา ปา ม จุ ป)   หลักสูตร ๓ ปี                                                                   

๓) เปรียญเอก ศึกษาการพัฒนาคุณภาพจิตและการยกระดับคุณภาพจิต ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๗ หมุดหมาย( สํ วิ ธา ปุ ก ย ป)หลักสูตร ๓ ปี  ในมุมมองของกระผมนะครับ  ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๑๗ หมุดหมายสำคัญ. (SDGs ความยั่งยืนวิถีพุทธ).... โดยจัดการศึกษา  ดังนี้        

๑)  เปรียญตรี  ศึกษาหลักธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิต/สังคม ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก  ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ  ๕ หมุดหมาย ( ที  ม สํ องฺ  ขุ )หลักสูตร ๓ ปี                                                                                                      

๒) เปรียญโท ศึกษาการพัฒนาและการจัดระเบียบเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตตามหลักอริยวินัยและอภิสมาจาริยสิกขา  เพื่อการขัดเกลาตนเองและเคารพกติกาสังคมเพื่อชึวิตและสังคมสันติสุข ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๕ หมุดหมาย ( อา ปา ม จุ ป) หลักสูตร ๓ ปี    

๓) เปรียญเอก ศึกษาการพัฒนาคุณภาพจิตและการยกระดับคุณภาพจิต ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๗ หมุดหมาย( สํ วิ ธา ปุ ก ย ป)หลักสูตร ๓ ปี  



วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567

"ผอ.สันติศึกษาป.โท มจร" ร่วมบวชเณรภาคภาคฤดูร้อน ๑๓๐ รูป เพื่อเรียนต่อทางธรรมบาลีและมหาจุฬาฯ



วันที่ ๓๑  มีนาคม ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนกับพระอาจารย์บุญชู พุทธิญาโณ, ดร. วัดป่าพรหมนิมิตร  อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งดูแลกระบวนการการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จำนวน ๑๓๐ รูป  โดยมุ่งสร้างศาสทายาทรุ่นใหม่ปั้นดินให้เป็นดาวเปิดโอกาสเด็กรุ่นใหม่ในชนบทเข้าถึงระบบการศึกษา โดยท่านพระอาจารย์บุญชูเป็นพระสงฆ์ที่มีความมุ่งมั่นทำจริงมีศิลปะในการพัฒนาสามเณรอย่างดียิ่ง  โดยพระมหาเถระในคณะสงฆ์ได้ไว้วางใจให้ขับเคลื่อนการพัฒนาศาสนทายาท   

ถือว่าเป็นการพัฒนาเยาวชนตั้งแต่ต้นทาง ในการพัฒนาศาสนทายาท จึงสร้างแรงบันดาลศาสนทายาทเพื่อการรู้ตื่นและเบิกบาน ซึ่งหนทางเดียวจะเข้าใจการศึกษาจะต้องบวชเรียนเป็นสามเณร โดยโลกที่ปรับแบบหักศอกวิกฤตศาสนทายาทต้องช่วยกันสืบสานรักษาต่อยอด ในสภาพปัจจุบันศาสนทายาทถือว่าวิกฤตด้วยหลายสาเหตุปัจจัย ซึ่งศาสนทายาทในที่นี่คือ "น้องสามเณร" ผู้จะสืบสาน รักษา ต่อยอด พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป 

ส่วนตัวเคยเป็นสามเณรมา ๑๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙  เข้าใจบริบทคำว่าสามเณรเป็นอย่างดียิ่ง ถึงกาลเวลาอาจจะต่างกันบ้างแต่ความเป็นสามเณรก็คือสามเณร จึงนิยามศัพท์ คำว่า "สามเณร" ว่า เป็นเด็กผู้ซึ่งอยากจะมีโอกาสทางการศึกษา หนทางเดียวที่จะได้เข้าถึงการศึกษาได้เรียนเขียนอ่านคือต้องบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนเท่านั้น ซึ่งครูบาอาจารย์หลายรูปท่านล้วนเติบโตมาจากสามเณร เมื่อได้โอกาสจึงอยากให้โอกาสบ้างเช่นกัน สิ่งเดียวที่อยากย้ำเตือนสามเณรคือ "การศึกษาเท่านั้นพาชีวิตรอด" จะศึกษาอะไรก็ตามที่เป็นสัมมาทิฐิย่อมนำไปชีวิตรอด แต่ให้เชี่ยวชาญลงลึกรู้จริงอย่างลึกซึ้งในการศึกษานั้น   

การพัฒนาศาสนทายาทจึงมุ่งพัฒนาตามกรอบของการพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืนตามแนวทางของพระพุทธเจ้า คือ หลักภาวนา ๔ อันประกอบด้วย 

๑)ด้านกายภาพ  มุ่งพัฒนาภายนอก ด้านบุคลิกภาพ ท่าทีที่มีความอ่อนโยน มีความอ่อนน้อม ยอดไม้อ่อนโยนยอดคนอ่อนน้อม มีการเข้าใจในด้านกาลเทศะ รู้จักชุมชนตามสัปปุริสธรรม   

๒)ด้านพฤติภาพ  มุ่งพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เคารพในความแตกต่าง เป็นสันติวัฒนธรรม มีฐานของศีลอันเป็นความปกติสุขในการอยู่ร่วมกัน มีพฤติกรรมเป็นต้นแบบที่ดี    

๓)ด้านจิตตภาพ มุ่งพัฒนาทางด้านจิตใจให้มีความเข้มแข็งรู้เท่าทันสิ่งที่เข้ามากระทบ เมื่อเจอสถานการณ์ใดๆ ก็สามารถผ่านพ้นอุปสรรคและสภาพปัญหาได้เป็นอย่างดี มีความสงบสุขเพราะสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี 

๔)ด้านปัญญาภาพ  มุ่งพัฒนาด้านปัญญาคือสามารถเลือกระหว่างสิ่งดีกับสิ่งไม่ดี มีปัญญากำกับชีวิตทุกลมหายใจ สามารถดำเนินชีวิตให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้

จึงขออนุโมทนาบุญกับกัลยาณมิตรทุกท่านที่สนับสนุนอุปถัมภ์มีส่วนร่วมในครั้งนี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศาสนทายาทให้รู้ตื่นและเบิกบาน เป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา ขอบุญรักษาพระรัตนตรัยคุ้มครอง มีปัญญาบารมี มีทรัพย์ภายนอกทรัพย์ภายใน สืบไป  


เปิดประวัตินาคหลวงอายุน้อยสุดในประวัติศาสตร์ พระมหาเด็กกำพร้าชาวเมียนมาสอบได้ ป.ธ. 9 "เณรออกัส" ไม่พลาดสอบป.ธ. 4 ได้



"เณรนนท์" อายุน้อยสุดในประวัติศาสตร์ และ  "พระมหาโดนี่" จากเด็กกำพร้าชาวเมียนมา  สอบป.ธ. 9 ได้  "เณรออกัส" ไม่พลาดสอบป.ธ. 4 ได้

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567   จากผลมีการประกาศผลการสอบบาลีสนาม ประจำปี 2567 ซึ่งปีนี้มีพระภิกษุ -สามเณรสอบผ่านประโยค ป.ธ.9 จำนวน 76 รูป ,ประโยค ป.ธ.8 สอบผ่าน 165 รูป,ประโยค ป.ธ.7 สอบผ่าน 226 รูป,ประโยค ป.ธ.6 สอบผ่าน 326 รูป , ประโยค ป.ธ.5 สอบผ่าน 216 รูป สอบซ่อม 221 รูป,ประโยค ป.ธ.4 สอบผ่าน 345 รูป สอบซ่อม 375 รูป,ประโยค ป.ธ.3 สอบผ่าน 573 รูป สอบซ่อม 928 รูป และ ประโยค 1-2 สอบผ่าน 686 รูป สอบซ่อม 2074 รูปนั้น

เปิดประวัติ "เณรนนท์" วัดโมลีฯอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์สอบป.ธ. 9ได้

เป็นที่สนใจก็คือมีสามเณร 14 รูป ที่สอบป.ธ. 9 ได้ และหนึ่งในจำนวนนั้นคือสามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน หรือ “สามเณรนนท์” อายุ 17 ปี สังกัดวัดโมลีโลกยาราม รวมอยู่ด้วย ถือว่าเป็นสามเณรที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทยที่สามารถสอบได้ ป.ธ.9  สำหรับประวัติสามเณรภานุวัฒน์ เป็นชาวอ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา สังกัดสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ บวชตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม อายุ 10 ปี สอบไล่ได้ประโยค 1-2 อายุ 11 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 3 อายุ 12 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 4 อายุ 13 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 5 อายุ 14 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 6 พ.ศ. 2565 ก็สอบไล่ได้ป.ธ. 7 พ.ศ. 2566 อายุ 16 ปี สอบไล่ได้ป.ธ.8

ด้านพระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ ปิยสีโล) เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง ที่สำนักเรียนได้สร้างประวัติศาสตร์ของวัดเป็นครั้งแรกที่พระภิกษุ-สามเณร สามารถสอบได้ ป.ธ.9 เป็นจำนวนถึง 25 รูป ถือว่ามากที่สุด ในประวัติศาสตร์การสอบของวัดโมลีฯ อีกทั้งมีสามเณรสอบได้ ป.ธ.9 ถึง 9 รูป โดยเฉพาะสามเณรภานุวัฒน์ ที่มีอายุเพียง 17 ปี ถือว่ามีอายุน้อยที่สุด ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง 

"พระมหาโดนี่ จันทร์ดี" ชาวเมียนมาสอบป.ธ. 9 ได้สมใจ 

นอกจากนี้ในจำนวนผู้ที่สอบ ป.ธ. 9 ได้ 76 รูปนั้นปรากฏว่า พระมหาโดนี่ จันทร์ดี  วัดโคกเปี้ยว จ.สงขลา ก็สามารถสอบได้เช่นเดียวกัน พระมหาโดนี่ได้เคยเล่าถึงประวัติของตัวเองว่า เป็นเด็กกำพร้า แต่ในวัยเด็กจำความได้ว่าอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา อาศัยอยู่รวมกันหลายคนในพื้นที่ชนบท แล้วพากันอพยพเดินทางมาทำงานรับจ้างอยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2547 อายุได้ประมาณ 5 ขวบ และตามพี่สาวไปอยู่ที่ อ.เบตง จ.ยะลา   จึงได้ตัดสินใจบวชเรียนที่วัดพุทธาธิวาส อ.เบตง จ.ยะลา และย้ายมาอยู่ที่วัดหาดใหญ่สิตาราม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ศึกษาเล่าเรียนจนสามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 1-2 ในอายุเพียง 10 ขวบ พร้อมกับการศึกษาภาษาไทยไปด้วย กระทั่งสอบไล่ได้เปรียญธรรม 8 ในอายุ 18 ปี เมื่อปี  2566  แม้ว่าในช่วงอายุ 12 กับ 14 ปี ได้ลาสิกขาไปพักหนึ่ง 

พระมหาโดนี่นั้นได้ตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566  โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานผ้าไตร 

พระมหาโดนี่เคยบอกเคล็ดลับในการสอบไล่เปรียญธรรมคือ การพยายามอ่านทำความเข้าใจทั้งภาษาไทยและบาลีควบคู่กันไป ตรงไหนไม่เข้าใจสอบถามอาจารย์ทันที โดยเฉพาะในช่วงก่อนการสอบเปรียญธรรม 8 นั้น ได้มีโอกาสเดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมจาก พ.อ.ชรินทร์ จุลคประดิษฐ์ ซึ่งสอบได้เปรียญธรรม 9 และเป็นนาคหลวงคนที่ 11 ของไทยที่ จ.นครราชสีมา ได้สั่งสอนและแนะนำให้รู้จัก “การกะล่อน” หรือพลิกแพลงบาลี ที่มาจากความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่แค่จำข้อสอบเก่าๆ มาสอบ จนนำมาสู่ความสำเร็จ และมุ่งหน้าสู่เป้าหมายต่อไปคือเปรียญธรรม 9 ในต้นปีหน้า

ทุกวันนี้พระมหาโดนี่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนทั้งพระและเณรที่วัดโคกเปี้ยว ปัจจุบันมีอยู่ 60 รูป โดยต้องสอนพระปริยัติธรรมทั้ง 2 แผนกธรรม หรือนักธรรมตรี โท เอก โดยบอกว่า ที่อาตมาสำเร็จถึงขั้นนักธรรมเอกแล้ว และแผนกบาลีหรือเปรียญที่สอนตั้งแต่ 1-7 พร้อมกับสร้างห้องสมุดเล็กๆ และจัดทำแบบเรียนขึ้นมาเอง โดยใช้เงินส่วนตัวที่ได้รับจากค่าสอนหนังสือ ค่าเสี่ยงภัย และเงินรางวัลจากการสอบมาใช้ทำหนังสือและแบบเรียนสอนพระ-เณรทั้งหมดด้วย ได้ปฏิบัติมานานหลายปีแล้ว เพราะอยากให้พระ-เณรมีอนาคตที่ดี และไม่อยากให้ลำบากเหมือนกับอาตมาในวัยเด็ก หากจบเปรียญธรรม 9 ก็อยากที่จะศึกษาต่อเกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พร้อมกันนี้สามเณรจารุวัฒน์ เอี่ยมศรี (ออกัส) อายุ 11  ปี ที่เป็นข่าวโด่งดังช่วงสอง ป.ธ. 3 ได้ ก็สามารถสอบผ่านเปรียญธรรม 4 ประโยค เป็นสามเณรที่อายุน้อยที่สุดในประเทศ

 


วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

“วัดโมลีฯ” แชมป์สอบได้ประโยค ป.ธ. 9 จำนวน 25 รูป จากทัั้งหมด 76 รูป


เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567 ที่วัดสามพระยาวรวิหาร กรุงเทพมหานคร  ณ วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร มีการประกาศผลการสอบบาลีสนาม ประจำปี 2567 ซึ่งปีนี้มีพระภิกษุ -สามเณรสอบผ่านประโยค ป.ธ.9 จำนวน 76 รูป ,ประโยค ป.ธ.8 สอบผ่าน 165 รูป,ประโยค ป.ธ.7 สอบผ่าน 226 รูป,ประโยค ป.ธ.6 สอบผ่าน 326 รูป , ประโยค ป.ธ.5 สอบผ่าน 216 รูป สอบซ่อม 221 รูป,ประโยค ป.ธ.4 สอบผ่าน 345 รูป สอบซ่อม 375 รูป,ประโยค ป.ธ.3 สอบผ่าน 573 รูป สอบซ่อม 928 รูป และ ประโยค 1-2 สอบผ่าน 686 รูป สอบซ่อม 2074 รูป

สำหรับผู้สอบผ่านประโยค ป.ธ. 9 วัดโมลีโลกยาราม สอบได้ 25 รูป ครองอันดับหนึ่งติดต่อกันหลายปี รายชื่อผู้สอบผ่านประโยค ป.ธ. 9 ทั้ง 76 รูป มีดังนี้








สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง จะอัปเดตความคืบหน้าของผลสอบ

ในสามช่องทาง คือ

1. เว็บไซต์ของสำนักงานฯ

https://www.infopali.net/

2. หน้าเว็บของกองเทคโนโลยีสารสนเทศ https://sites.google.com/view/paliexam/

3. เพจทางการของสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง

https://web.facebook.com/PaliEducation  


ต้องการหนังสือเรียนบาลีสั่งซื้อได้ที่สยามพงษ์ช้อป 

นายอำเภอคำชะอีรวมพลัง "บวร"จัดประกวดเส็งกลองกิ่ง งานบุญผะเหวดวัดโพธิ์ศรี



ได้หน้าอย่าลืมหลัง รวมพลัง "บวร" คำชะอี สืบสาน รักษา ประเพณีวิถีชีวิตคนอีสาน ฮีต 12 คอง 14 จัดประกวด เส็งกลองกิ่ง ในงานบุญผะเหวดวัดโพธิ์ศรี ชิงถ้วยปลัดมหาดไทย 

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567  นายสมพงษ์ คุ้มสุวรรณ นายอำเภอคำชะอี เปิดเผยว่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ร่วมกับวัดโพธิ์ศรี ได้จัดกิจกรรมประกวดเส็งกลองกิ่ง งานบุญผะเหวด วัดโพธิ์ศรี  ประจำปี 2567 ณ บ้านดงภู่ ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี โดยเป็นความร่วมมือ ระหว่างภาคราชการ ภาคศาสนา ภาคประชาสังคม ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ และเยาวชน ร่วมสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของพื้นถิ่นอำเภอคำชะอีให้คงอยู่ไว้ เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญ ในการดำรงชีวิตของเยาวชนคนรุ่นต่อไป รวมทั้งจะเป็นการหล่อหลอมสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของวิถีบรรพบุรุษ มีความเข้าใจใน "ภูมิสังคม" ของพื้นถิ่น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งจะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับภูมิสังคม ณ พื้นถิ่นนั้น ๆ โดยที่ผ่านมาอำเภอคำชะอี พร้อมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ได้จัดกิจกรรมในการสืบสาน และรักษา วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามโดยใช้แนวทาง ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ มาโดยตลอด

.

นายสมพงษ์ คุ้มสุวรรณ นายอำเภอคำชะอี กล่าวต่อว่า อำเภอคำชะอีร่วมกับวัดโพธิ์ศรี ได้จัดกิจกรรมประกวดเส็งกลองกิ่ง งานบุญผะเหวด วัดโพธิ์ศรี  ประจำปี 2567 ณ บ้านดงภู่ ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี โดยเป็นความร่วมมือ ระหว่างภาคราชการ ภาคศาสนา ภาคประชาสังคม ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ และเยาวชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการ สืบสาน รักษา ประเพณี เส็งกองกิ่ง ซึ่งเป็นประเพณีโบราณของชาวอีสานที่สืบต่อกันมา โดยมีทีมเข้าร่วมประกวดแข่งขัน มากถึง 32 ทีม และได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ให้เกียรติมอบถ้วยเกียรติยศ รางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันการเส็งกลองกิ่งนี้ ซึ่งเป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับคณะผู้จัดงาน และผู้ร่วมการแข่งขันเป็นอย่างมาก ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ได้เห็นถึงความสำคัญ และให้ความเมตตากับทีมงานอำเภอคำชะอีเป็นอย่างมาก โดยหลังจากการแข่งขัน ที่แบ่งออกเป็น 5 รอบ ใช้เวลารวมในการตีกลองเส็ง กว่า 3 ชั่วโมงเสร็จ ซึ่งผลการแข่งขันทีมชนะเลิศได้แก่ บ้านม่วง ตำบลบ้านเหล่า อำเภอชะอี ซึ่งมีพระเป็นผู้ร่วมตีด้วย รองชนะเลิศลำดับที่ 1  บ้านดงภู่ ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี และทีมรองชนะเลิศลำดับที่ 2 บ้านหนองแวง ตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองมุกดาหาร 

.

นายสมพงษ์ คุ้มสุวรรณ นายอำเภอคำชะอี กล่าวเพิ่มเติมว่า กลองกิ่ง เป็น กลองที่ศรัทธา ญาติโยมสร้างถวายประจำวัด ใช้ตีนำในการบุญกุศล อาทิ แห่พระเวส แห่กฐิน แห่กันหลอน (ผ้าป่า) จะนำกลองกิ่ง หรือ กลองตุ้ม มาเส็งตี เป็น เสียงกลอง บุญเสียงกลองกุศล งานบุญประเพณี และใช้ตีในขบวนแห่ เพื่อความสนุกสนาน ซึ่งเป็นประเพณีมาแต่โบราณของชาวอีสาน เป็นสมบัติของวัดศูนย์กลางวิถีชีวิตและชุมชน โดยกลองกิ่ง มีลักษณะการนำไปใช้ในงานจะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของงานประเพณีนั้น ๆ แต่ที่เหมือนกัน คือ กลองกิ่งเป็นกลองที่ใช้ในการแข่งขันประขันความดัง เรียกว่า “การเส็งกลองกิ่ง” โดยการแข่งขันตีกลองกิ่ง กำหนดจัดขึ้นเมื่อมีงานประเพณี โดยนิยมแข่งกันในงานบุญเดือนหก คือ บุญบั้งไฟ การเส็งกลอง เป็นบทบาทของชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านที่แข็งแรงที่สุด เพื่อเป็นผู้ตีกลองกิ่ง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลองมีเสียงดัง 3 ประการ คือ 1) บั้ง หรือ ไม้ตัวกลอง ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็งมีเสียงดังดีมาก 2) หนังหุ้มกลอง ต้องเลือกหนังที่ดี เหนียว ทนทาน ไม่ขาดง่าย และ 3) คนตี ถ้าคุณภาพของกลองดีเท่ากัน วัดกันที่ความแข็งแรงของคนตี ตีประชันกันแบบ บุคคลเดียวในห้วงเวลา ที่กำหนด


"เสียงกลองกิ่ง กลองพื้นบ้านอีสาน ที่ยังคงดังกึกก้องในยามงานบุญประเพณี ในวิถีชีวิตของคนอีสาน ที่มั่นคงอยู่ในฮีต 12 คอง 14 หมายถึงความสามัคคี กลมเกลียวในชุมชมท้องถิ่น ความร่วมมือระหว่าง วัดและชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของความเป็นหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โดยอำเภอคำชะอี และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างแน่วแน่ ที่จะสืบสาน รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เพื่อสืบสานรากเหง้า ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ให้กับเยาวชนคนรุ่นต่อไปว่า "ได้หน้าแล้วอย่าลืมหลัง" และพร้อมขยายผลที่จะดำเนินการ สิ่งดี ๆ แบบนี้ให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ของอำเภอคำชะอีต่อไป" นายสมพงษ์ฯ กล่าวทิ้งท้าย

.

#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood

 


วธ.ร่วมสืบสานพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับคณะสงฆ์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ จัดพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและความเป็นไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ศึกษา ฝึกฝนอบรมหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะช่วยให้เกิดค่านิยมเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ มีความกตัญญู ส่งผลให้มีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ 

การจัดพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ในส่วนกลาง จัดพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในส่วนภูมิภาคมีการจัดกิจกรรมใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีแห่ลูกแก้ว , จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเพณีงานเดือน 5 , จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเพณีทำขวัญนาค และจังหวัดอุดรธานี ประเพณีแห่นาคม้าย่อง นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับคณะสงฆ์ จังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสถานศึกษา รวมทั้งหน่วยงาน 72 จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ โดยคาดว่าจะมีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมทั่วประเทศรวมกว่า 100,000 คน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติฯ บำเพ็ญความดีถวายเป็นพระราชกุศล แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบุพการีและผู้มีอุปการคุณอย่างสูง นอกจากนี้ผู้ที่บวชยังจะได้ใช้เวลาในฝึกฝนอบรม ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีความเหมาะสมกับวัย และนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งการพัฒนาตนเองของเยาวชนถือได้ว่าเป็นการสร้างและเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติด้วย

 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทย ถือว่าการบรรพชาสามเณร เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบุพการีและผู้มีอุปการคุณอย่างสูง ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อร่วมสืบสานประเพณีการบรรพชาให้คงอยู่คู่สังคมไทย ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ได้ศึกษาและฝึกฝนอบรมหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนค่านิยมให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย มีจิตสาธารณะ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ส่งผลให้เด็กเยาวชนมีจิตใจที่เข้มแข็งเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งนอกจากนี้เยาวชนจะได้เข้าร่วมบรรพชาสามเณรแล้ว ยังได้เรียนรู้ภาควิชาการทางพระพุทธศาสนา ภาคปฏิบัติและการทำกิจกรรมร่วมกันของสามเณร ซึ่งการศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามีความเหมาะสมกับวัย เพื่อให้นำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดี ซึ่งจะช่วยให้เกิดค่านิยมเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย มีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความกตัญญู ส่งผลให้มีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ และนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567

มีกินกันหรือยัง น้ำพริกพี่ญาคนรุม น้ำพริกหมดแล้วมั้ง



สั่งทางสยามพงษ์ช้อปได้เลยนะ https://www.tiktok.com/@siampongs

หมี่ตะคุ (ปักธงชัย) รสดั้งเดิม-รสเผ็ดมาก พร้อมน้ำปรุงสำเร็จรูป

 


https://www.tiktok.com/@siampongs/video/7351414767304658194

เผยงานวิจัยป.เอกสันติศึกษา "มจร" พัฒนานักขายรุ่นใหม่ ยกระดับความเป็นมืออาชีพ



วันที่ ๒๘  มีนาคม  ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. กระบวนกรธรรมะโอดี เป็นวิทยากรพัฒนาและฝึกอบรมนักขายทั่วประเทศ ภายใต้หลักสูตร "การพัฒนาการสื่อสารของพนักงานขายเวชภัณฑ์ยาโดยพุทธสันติวิธี" ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนงานวิจัยลงสู่การพัฒนานักขายให้เป็นมืออาชีพ  โดยมีนางสมมนัส มนัสไพบูลย์ ซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา รุ่น ๖  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) มุ่งพัฒนาในครั้งนี้ นับว่าเป็นงานวิจัยที่ทรงคุณค่ายิ่ง    

โดยมุ่งพัฒนานักขายโดยพุทธสันติวิธีให้สามารถปิดการขายได้อย่างมืออาชีพผ่านการสื่อสาร โดยยกพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบของการสร้างสัมมาชีพซึ่งการเป็นนักขายจะต้องมีความเป็นกัลยาณมิตรเป็นฐาน มีจักขุมา มีวิสัยทัศน์ในสินค้าที่จะขาย วิธูโร มีความเชี่ยวชาญเข้าใจสินค้าที่จะขาย และนิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการบริการที่ดี มีความจริงใจต่อลูกค้า โดยมุ่งการสร้างสันติภายในใจของนักขายมืออาชีพ โดยนักสื่อสารเพื่อการขายจะต้องเคารพในสิทธิมนุษยชนโดยมีความจริงใจ สร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า 

งานขายถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยและสัมพันธ์ของชีวิตคน จึงต้องใช้สัมมาวาจาเป็นวาจาสุภาษิต ซึ่งสินค้าจะก่อให้เกิดคุณค่าความหมายต่อชีวิตอย่างไรสัมพันธ์กับศีลข้อที่ ๔ ต้องเคารพในการสื่อสารด้วยการนำเสนอข้อมูลสินค้าที่เป็นความจริงของสินค้า จึงต้องคำนึงจริยธรรมในการขายและผู้ขายสินค้า ซึ่งผู้ขายควรทำตนให้น่าศรัทธาน่าเชื่อมั่น พนักงานจะต้องสื่อสารสินค้าที่เป็นจริงทุกประการ เพราะเป็นการขายชีวิตขายความเป็นความตาย จึงมุ่งไปผู้ขายจะต้องมีคุณลักษณะอย่างไร จึงช่วยกันระดมความคิดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป ซึ่งมีนางสมมนัส มนัสไพบูลย์ เป็นผู้ดำเนินการสันติสนทนา

โดย “การสื่อสารเพื่อการขายในพระไตรปิฎก” มองว่า การสื่อสารถือว่าเป็นกิจกรรมของการแสดงความคิดความรู้สึกผ่านทองทางต่างๆ โดยองค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ช่องทาง ผู้รับสาร หรือ SMCR  ซึ่งโลกปัจจุบันมีการสื่อสารอย่างกว้างขวางรวดเร็ว ผู้ที่จะสื่อสารได้ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่ดีสำหรับผู้สื่อสารที่ประสบความสำเร็จ ในทางพระพุทธศาสนามองถึงการค้าขายที่ไม่เหมาะสมในพระไตรปิฎก เรียกว่า “มิจฉาวนิชชา” ประกอบด้วย ๑)การค้าขายอาวุธ ๒)การขายสัตว์และมนุษย์    ๓)การค้าขายเนื้อสัตว์ ๔)การค้าขายของมึนเมา ๕)การค้าขายยาพิษ  ซึ่งอุบาสกอุบาสิกาไม่ควรค้าขายใน ๕ มิตินี้ แต่อาชีพที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาคือ “สัมมาอาชีวะ” เป็นอาชีพที่ถูกต้องถูกธรรมเป็นอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดกฎของศีลธรรม ไม่เบียนเบียนตนเองและผู้อื่น 

การสื่อสารสำหรับพนักงานขายยุคใหม่จะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีเทคนิคการสื่อสารที่ดี ใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่เหมาะสม ซึ่งหลักการสื่อสารในพระไตรปิฎกจะต้องมอง “วจีสุจริต สัมมาวาจา” จะต้อง “จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา” โดยหลักการสื่อสารของพระพุทธเจ้ามองถึง “วาจาสูตรเล่ม ๒๒ เป็นวาจาสุภาษิต”  ประกอบด้วย วาจาถูกกาลเทศะ  วาจากล่าวความจริง วาจาอ่อนหวาน วาจากล่าวด้วยประโยชน์ และวาจาที่เป็นเมตตาจิต  ในเล่ม ๑๕ มองถึงวาจาที่เป็นสุภาษิตมีองค์ประกอบด้วย “เป็นสุภาษิต เป็นธรรม เป็นที่รัก เป็นคำสัตย์” ในทุติยาปาณิสูตร สูตรว่าด้วยคุณสมบัติของพ่อค้า องค์ประกอบ ๓ ประการ  ๑)จักขุมา ตาดี มีวิสัยทัศน์ในการขาย  ฉลาดในการค้าขาย  ซื้อมาเท่านี้กำไรเท่านี้ เป็นผู้มีหูไวตาไว มีแผนตลาดในการนำสินค้าเข้ามาขาย เป็นผู้ขายที่มองอนาคตมองเห็นเป้าหมาย  ๒)วิธุโร  ธุรกิจดี เป็นผู้ฉลาดในการบริหารจัดการมีช่องทางในการขาย ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ บริการจัดการสินค้าไปถึงผู้บริโภคมีเครือข่ายที่หลากหลาย  ๓)นิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์บริการดี  ฉลาดในการเลือกคบค้าสมาคมกับคนที่ตนเองพึ่งพาได้ สามารถต่อยอดธุรกิจ มีเครือข่ายที่สามารถขายสินค้าได้ สามารถกระจายสินค้าได้เป็นอย่างดียิ่ง ความหมายโดยสรุปจะต้องมี “วิสัยทัศน์ จัดการดี มีเครือข่าย” 

สาเหตุที่ทำการค้าขายแล้วขาดทุนในวณิชชสูตร สูตรว่าด้วยการค้าขาย เหตุเพราะไม่รักษาสัจจะ โดยพ่อค้าไปปวารณาต่อสมณะว่าจะถวายสิ่งใดแต่ไม่รักษาสัจจะ เวลามาค้าขายมักจะขาดทุนเพราะกรรมที่ปวารณาไว้แล้วไม่ถวายตามปวารณาไว้จึงนำไปสู่การขาดทุน นักขายต้องมีสัจจะเป็นฐาน จึงมองถึงมหาวานิชชชาดก ชาดกว่าด้วยพ่อค้าใหญ่นำสู่โลภมากหายนะ (ตัดต้นไม้ใหญ่) ผู้ขายต้องไม่โลภมากจนไม่สนใจคุณภาพของสินค้า จึงมีประโยคที่ว่า “โลภมากลามก” ความโลภนำสู่ความวิบัติจึงควรกตัญญูและรู้จักประมาณจะนำไปสู่ความเจริญ  ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสวยเป็นพ่อค้า ๑๒ ชาติในอดีชาติ  

คำถาม “ทำไมเทวทัตจึงมีการจองเวรพระพุทธเจ้า” ปรากฏในเสรีชาดก ว่าด้วยชาดกเสรีวาณิช  ว่าด้วยพ่อค้าสองคนชื่อเสรีวะ เหมือนกันโดยสองพ่อค้านิสัยต่างกัน คนหนึ่งเป็นพ่อค้าที่ซื่อสัตย์ อีกคนเป็นพ่อค้าที่คดโกง สะท้อนถึงความเจ้าเล่ห์ ไม่ซื่อสัตย์ นำไปสู่ความวิบัติ ส่วนความซื่อสัตย์ความเมตตานำไปสู่ความเจริญ  ซึ่งความไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้านำไปสู่ความเสื่อมจึงเกิดการจองเวรตั้งแต่อดีตชาติจนมาเกิดเป็นเทวทัต ทำให้เทวทัตจองเวรพระพุทธเจ้า สรุปผู้ขายจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีสัจจะต่อลูกค้า มีความกตัญญูต่อลูกค้า สินค้าจะต้องมีคุณภาพ

การสื่อสารเป็นการตัดผ่านไปทุกบริบทจึงเกี่ยวข้องกับทุกวิชาชีพ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จเป็นเครื่องมือตัวชี้วัด ซึ่งกระบวนการพัฒนาการสื่อสารของพนักงานขายเวชภัณฑ์ยาในยุคใหม่จึงจำเป็นต้องใช้การสื่อสาร โดยการสื่อสารในโลกมีการแบ่งการสื่อสารออกเป็น ๘ กลุ่ม จึงมุ่ง “สร้างความรู้สร้างความเข้าใจ โน้มน้าวจูงใจ สุขภาพเชิงกลยุทธ์” ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากความคิดที่เป็นระบบระเบียบของนักขายอย่างเป็นขั้นตอน โดยรูปแบบของการสื่อสารจึงนิยมใช้ S M C R  แต่เรามุ่ง S คือ พนักงานขาย จึงมุ่ง ๓ ประการ คือ ๑)กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นการแสดงข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้รับสารชัดเจนเป็นลำดับขั้นตอน เป็นเรื่องราวมีเนื้อหาที่ชัดเจน เรียงประเด็นหลักประเด็นรอง  ๒)กระบวนการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวจูงใจ เป็นการชักชวนเป็นการโน้มน้าวใจเป็นการปลุกใจ โดยวิธีการสื่อสารจะต้อง “เรียงตามเหตุผล เปรียบเทียบ นำเสนอทางสถิติ อ้างอิงสิ่งสำคัญ”  วิธีการสื่อสารจะต้องมีความแยบยล เร้าใจด้วยน้ำเสียง  จะต้องสรุปคำตอบและนำไปสู่การปิดการขาย  ๒)การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ด้านสุขภาพ จะต้องพัฒนาพนักงานขายยาอย่างเป็นระบบ 

การพัฒนาบุคลิกภาพถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับการขาย จึงมองเห็นภาพลักษณ์ของคุณหมอภาพที่บุคลิกภาพดีกับภาพที่บุคลิกภาพไม่ดี ภาพลักษณ์ภาพจำสร้างภาพให้เกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งคนที่คิดกับเราอย่างไรเพราะเราทำตัวให้เป็นที่ยอมรับซึ่งภาพของบุคลิกภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมองภาพว่าเราต้องการอยากจะรับยาจากใครซึ่งภาพลักษณ์มีความสำคัญมาก ซึ่งน้ำหนักส่งผลต่อบุคลิกภาพของเรา ประกอบด้วย “คำพูด ๗ เปอร์เซ็นต์  โทนเสียง ๓๘ เปอร์เซ็นต์  ภาษากาย ๕๕ เปอร์เซ็นต์” การแต่งกายที่ถูกกาลเทศะถือว่ามีความสำคัญผ่านการทักทาย ยิ้ม มือไม่กอดอก พยักหน้า โน้มตัวเข้าไปสนทนา นักขายจะต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนจะเป็นเสน่ห์ เพราะความอ่อนน้อมสามารถเข้าไปได้ทุกที่  

จิตวิทยาการสื่อสารเพื่อการขายขั้นเทพ โดยจิตวิทยาการสื่อสารเพื่อการขายมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับพนักงานขาย แต่ปัจจุบันมีความยากในการขายเพราะเป็น “โลกแห่งข้อมูล” โดยทุกคนสามารถเข้าไปหาข้อมูลต่างๆของสินค้า ผู้ขายกับผู้ซื้อมีข้อมูลเท่ากันหรือบางครั้งผู้ซื้อมีข้อมูลมากกว่าผู้ขายอีก ผู้ซื้อจะซื้อจากภาพลักษณ์ผู้ขาย โดยปัจจัยที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามีปัจจัยประกอบด้วย “โดยลูกค้าจะเลือกซื้อจากตัวผู้ขาย” และ “มองจากการวิจัยสินค้า” จึงแสดงว่าการสื่อสารกับลูกค้าจึงมีความสำคัญอย่างไร จึงต้องอาศัย “เทคนิค Rapport การสร้างสายสัมพันธ์ความเป็นพวกเดียวกัน” จะต้องปรับสารเคมีให้ตรงกัน Rapport จึงต้องเปิดใจลูกค้า คำถามลูกค้าใช้หัวฝั่งไหนในการดำเนินชีวิต “ขวา หรือ ซ้าย” โดยเทคนิควิเคราะห์คู่สื่อสารจะต้อง ๑)เทคนิคการสังเกต ๒)เทคนิคการฟัง ๓)เทคนิคการใช้คำถาม นำไปสู่การเปิดใจลูกค้าได้อย่างดียิ่ง จึงสรุปว่า “ลูกค้าไม่ได้ซื้อของแต่ลูกค้าซื้อเรา” เพราะภาพลักษณ์เป็นทุกอย่างที่เราแสดงออกแม้ไม่ได้พูด         

ยังมีผู้ทรงสะท้อนว่าเทคนิคการปิดการขายอย่างมืออาชีพ” โดยการปิดการขายจะรวมทุกอย่าง ซึ่งจะปิดการขายไม่ได้ถ้าสื่อสารออกไปไม่ดี จะปิดการขายได้จะต้องไม่กดดันลูกค้าเพราะลูกค้ามีอำนาจสูงสุด  คำว่าการตัดสินใจซื้อเป็น Need หรือ Want  ซึ่งการปิดการขายจะต้องมีความรู้สึกดีๆ มีความชื่นชม ผู้ขายจะต้องวิเคราะห์ลูกค้าผ่านบุคลิกต่างๆ ทักษะในการปิดการขายจะต้องมีทักษะการเข้าอกเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการสร้างความเชื่อใจ 

จึงอนุโมทนากับนางสมมนัส มนัสไพบูลย์ ซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา รุ่น ๖ ภายใต้บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เดินตามบันไดเก้าขั้นการวิจัยและเดินตามกรอบอริยสัจโมเดล นับว่าเป็นงานที่ทรงคุณค่ายิ่ง   


วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567

อนุกมธ.ศาสนาฯถกปมการขอตั้งวัดโคกสว่างอืดมานาน 81 ปี ป่าไม้โคราชรับปากเตรียมชงบอร์ดจังหวัดเดือนพฤษภาคมแล้วอนุมัติต่อไป



วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567  จากกรณีที่เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 ดร.นิยม เวชกามา อดีต สส.สกลนครเขต 2 พรรคเพื่อไทย ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และอนุกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เดินทางไปยังวัดโคกสว่าง ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ตามคำร้องขอของพระสะอาด อริยวังโส (สะอาด จันทร์ดี) อายุ 86 ปี 10 พรรษา    และ พระครูโอภาสเมธากร (จักรกฤษ์ สุเมโธ) เจ้าอาวาสวัดบ้านโคกสว่าง เพื่อรับทราบปัญหาพื้นที่วัด ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 นับมาถึงวันนี้ก็ 81 ปี มีเนื้อที่ดิน 12 ไร่ มีกุฎิ วิหาร หอพระไตรปิฎก ศาลาการเปรียญ หลายหลัง และปัจจุบันกำลังก่อสร้างพระอุโบสถ แต่ยังตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้มานานกว่า 80 ปี ทางวัดเคยส่งเรื่องไปขอตั้งวัดยังสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา 2 ครั้งแต่ไม่เป็นผล

 พระสะอาดกล่าวว่า ที่ดินเดิมเป็นที่ดินของโยมแม่อาตมายกให้วัดต่อมาเปลี่ยนเป็นที่โรงเรียน แล้วก็ย้ายวัดมาที่ปัจจุบันนี้ ตนเคยบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 ที่วัด แปลกใจว่าทำไมการขอตั้งวัดจึงยากนักทั้งที่เป็นความประสงค์ของชาวบ้าน 

 ล่าสุด วันนี้(27 มีนาคม)  ที่ห้องประชุม สภาผู้แทนราษฎร AC 303 คณะอนุกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา สำนักป่าไม้ที่ 8 สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา หลวงตาสะอาดอริยวังโส และ พระครูโอภาสเมธากร (จักรกฤษ์ สุเมโธ) เจ้าอาวาสวัดบ้านโคกสว่าง มาประชุมชี้แจงข้อมูลรายละเอียดทั้งหมด โดยการประสานงานของ ดร.นิยม 

 ดร.นิยม กล่าวว่า จากผลการประชุม ทราบว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งวัดพร้อมหมดแล้ว เหลืออยู่ที่สำนักงานป่าไม้ที่ 8 ซึ่งผู้อำนวยการ รับปากว่าจะเรียกประชุมบอร์ดจังหวัดนครราชสีมา ในเดือนพฤษภาคมแล้วจะอนุมัติจัดตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้องทันที 

 ทางด้านพระสะอาด  กล่าวว่า ภารกิจที่รัฐสภาในวันนี้เป็นบุญใหญ่ของคุณโยมนิยม เวชกามา ที่ได้ "ทำคลอด" ให้กับวัดโคกสว่าง ที่รอคอยมายาวนานถึง 81 ปี  "เป็นบุญใหญ่ที่จะส่งผล ทั้งในชาติปัจจุบัน และ ภพชาติในอนาคต ขอความเจริญรุ่งเรืองจงมีแก่คุณโยม อย่างยิ่งใหญ่เทอญ" พระสะอาด กล่าว


ลำพูนลงนามร่วมคณะสงฆ์ เดินหน้าหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เฉลิมพระเกียรติ



ลำพูนลงนามร่วมคณะสงฆ์ เดินหน้าหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมตั้งเป้าบรรลุ 8 ตัวชี้วัดหมู่บ้านยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน

วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567  ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ประธานฝ่ายสงฆ์ นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างอย่างยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายบุญส่ง ไชยมณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน นายสมาน กองแก้ว ปลัดจังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ เจ้าคณะอำเภอ ปลัดอำเภอ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลและกำนัน 50 ชุมชน เข้าร่วมลงนามฯ

นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายสำคัญ ที่เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม” และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชน ให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ประกอบกับมหาเถรสมาคมได้รับทราบว่ากระทรวงมหาดไทยมีนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 8/2567 มีมติการประชุมให้มีพระผู้รับผิดชอบประจำตำบล 1 พระ 1 ตำบล ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นหมู่บ้านยั่งยืน



นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวต่อว่า จังหวัดลำพูนจึงจัดทำบันทึกข้อตกลง ระหว่าง ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล คณะสงฆ์ และกำนันในพื้นที่ เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ให้บรรลุตัวชี้วัด 8 เรื่อง คือ 1) ด้านที่อยู่อาศัย โดยต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ครัวเรือนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้ประโยชน์ของพื้นที่ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” 3) ความสะอาด โดยบ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชน สะอาด มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีการคัดแยกขยะต้นทาง (3R) และมีการจัดการขยะหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น ตลาดนัดขยะ ธนาคารขยะ จุดทิ้งขยะอันตราย เป็นต้น 4) ความสามัคคี โดยมีการรวมตัวกันเป็นคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ฯลฯ เพื่อดูแลช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยกัน 5) ความร่วมมือ โดยมีการประชุม พบปะกันเป็นประจำในระดับคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ในลักษณะ “ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์” 6) การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการจัดกิจกรรมทางศาสนาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นประจำตามความศรัทธา ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม ของคนในหมู่บ้าน 7) ความมั่นคงปลอดภัย หมู่บ้าน/ชุมชน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีการช่วยเหลือคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ให้ติดยาเสพติดลดความเสี่ยงด้านกายภาพ (ไฟฟ้า, ถนน, ภัยพิบัติ, อุบัติเหตุ) และปลอดอาชญากรรม 8) การมีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี โดยมีภาชนะกักเก็บน้ำรูปแบบต่าง ๆ มีการบำรุงรักษาฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำเดิมหรือจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำใหม่

นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนตามตัวชี้วัดหมู่บ้านยั่งยืนทั้ง 8 ตัวชี้วัด ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย ความมั่นคงทางอาหาร ความสะอาด ความสามัคคี ความร่วมมือ การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความมั่งคงปลอดภัย และการมีน้ำสะอาดสำหรับในการอุปโภคและบริโภค โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และผู้นำศาสนา โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โครงการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอดพียง ควบคู่กับหลักทางศาสนาและนำมาปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต 

"เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันด้วยความปรองดองสมานฉันท์ก่อให้เกิดสันติสุขในหมู่บ้านอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงในระดับชุมชน มีการดูแลกันและกันแบบคุ้ม ป๊อก หย่อมบ้าน และเกิดภูมิคุ้มกันต่อการรองรับความเปลี่ยนเเปลงทุกรูปแบบ ฝ่ายปกครอง นำโดยนายอำเภอในฐานะผู้นำในระดับพื้นที่ จะต้องให้ความสำคัญกับการบูรณาการร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย และกลไก 3 5 7 นอกจากนี้ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้หมู่บ้านยั่งยืนเกิดขึ้นได้อย่างเเท้จริง จะต้องนำหลัก เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อร่วมคิด ร่วมวางเเผน ร่วมทำ เเละร่วมรับประโยชน์ สร้างความยั่งยืนด้วยการบูรณาการเคียงข้างกัน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ในระดับพื้นที่อย่างเเท้จริง" นายสันติธรฯ กล่าวปิดท้าย


#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood


 


วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567

กรมส่งเสริมการเกษตรยกระดับ “ลดการเผาในพื้นที่เกษตร” ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมชี้พื้นที่เผา



แจ้งเตือนเกษตรกรเป็นรายบุคคลประสานฝ่ายความมั่นคงดำเนินคดีต้นตอจอมเผา  ซ้ำซากพร้อมเดินหน้ารณรงค์  จัดการเศษวัสดุหลังเก็บเกี่ยว ผ่าน แอป Farmbook และทะเบียนเกษตรกรออนไลน์ (e-Form)

วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร เร่งยกระดับ “ลดการเผาในพื้นที่เกษตร” โดยการนำฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร มาวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนเกษตรกรและพื้นที่เก็บเกี่ยวรายเดือนแยกเป็นรายอำเภอและรายตำบล เน้นหนักใน 3 พืชที่มีปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และอ้อย มาเชื่อมโยงกับข้อมูลจุดความร้อนสะสมในพื้นที่การเกษตรย้อนหลัง 1 - 3ปี เพื่อกําหนดพื้นที่เสี่ยงที่มีโอกาสเกิดการเผาในพื้นที่การเกษตรได้ เช่น พื้นที่มีสถิติเผาซ้ำซากพื้นที่ที่ต้องเร่งรอบการทำเกษตรอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ที่เข้าไปบริหารจัดการเศษวัสดุได้ยาก หรือพื้นที่ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลและแรงงาน ทำให้มีความจำเป็นต้องเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และพัฒนาระบบแผนที่ให้สามารถแสดงพิกัดสถานที่ที่มีความสามารถในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น พิกัดจุดรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โรงไฟฟ้าชีวมวลจุดรับอัดฟางหรือให้บริการเช่าเครื่องจักรอัดฟาง เป็นต้น รวมถึงยังสามารถแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ไปพร้อมกันได้อีกด้วย



นอกจากนึ้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังได้จัดทำแผนการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่มีการประเมินปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทั้งหมด โดยให้นำข้อมูลการประเมินปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ยังไม่มีแผนการบริหารจัดการนำไปใช้เพื่อนำมาบริหารจัดการ โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไปใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่ม และเชื่อมโยงตลาด รวมทั้งบริหารจัดการกำลังคน เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนและดำเนินการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่เกษตรกร ผ่านหอกระจายข่าวในชุมชน วิทยุชุมชน เวทีชุมชน เวทีของส่วนราชการในพื้นที่ การฝึกอบรมเกษตรกรในทุกโครงการ รวมถึงช่วงเวลาที่เกษตรกรมาติดต่อราชการที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัด หรือมาขอรับบริการ ณ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช และขั้นตอนการประชาคมในการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อชี้แจงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผาในพื้นที่การเกษตร ทั้งต่อตนเอง ชุมชน และสังคม นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการ และเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมทั้งชี้แจงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรการ และแจ้งบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนตามกฎหมาย



ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังเร่งดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในช่องทางการขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบออนไลน์ ทั้ง 2 ช่องทาง คือแอปพลิเคชัน Farmbook และ ทะเบียนเกษตรกรออนไลน์ (e-Form) ที่ https://efarmer.doae.go.th/ โดยเพิ่มฟังก์ชันระบบแจ้งเตือนเกษตรกรเป็นรายบุคคล(Personal- notification System) ที่แจ้งปลูกไว้ในระบบทะเบียนเกษตรกรและอยู่ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นข้อมูลที่ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น การไถกลบ การทำปุ๋ยหมัก และพิกัดสถานที่ที่มีความสามารถในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่อยู่ใกล้กับแปลงปลูกโดยอ้างอิงจากเทคโนโลยีดาวเทียมเช่น เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เมื่อแจ้งปลูกในทะเบียนเกษตรกรเรียบร้อยแล้ว เมื่อใกล้ถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อเกษตรกรเข้าแอปพลิเคชัน Farmbook หรือ ทะเบียนเกษตรกรออนไลน์ (e-Form) ระบบกล่องแจ้งเตือน จะมีการแจ้งเตือนในส่วนของการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเช่น องค์ความรู้การจัดการฟาง ตำแหน่งจุดรับอัดฟางหรือเช่าเครื่องจักรอัดฟาง จุดรับซื้อฟางอัดก้อน โรงไฟฟ้าชีวมวลที่อยู่ใกล้เคียง  และหากมึการลักลอบเผา  เจ้าหน้าที่ในพื้นที่จะมีการประสานงานฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ เพื่อดำเตินคดีได้ทันที  ซึ่งในอนาคตจะดำเนินการพัฒนาระบบแผนที่ให้สามารถประมวลผลแสดงข้อมูลทับซ้อนกัน ระหว่างฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ฐานข้อมูลจุดความร้อนสะสมในพื้นที่การเกษตร พิกัดสถานที่ที่มีความสามารถในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 เพื่อให้การส่งเสริมการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต่อไป 

 


วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2567

อภัยภูเบศรชวนทำความรู้จักการเรียนรู้สมุนไพร หญ้ายาใกล้ตัว ดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก



ในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 1 เมษายน 2567 มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ร่วมจัดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2567 ครั้งที่ 42  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยเจ้าภาพหลักยังคงเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  เพื่อเตรียมวางแผนท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลแห่งความสุข และเป็นปีแรกที่จะได้เฉลิมฉลองในโอกาสที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียน “สงกรานต์” เป็นมรดกโลก

ปีนี้บูทของ มูลนิธิรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งอยู่ในโซนภาคตะวันออก ได้ยกแลนด์มาร์คสำคัญ คือ พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง มาให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม ถ่ายภาพ พร้อมด้วยกิจกรรมอภัยภูเบศร ที่เน้นไฮไลต์สมุนไพร ที่ควรพกติดตัวไว้ใช้ยามฉุกเฉิน รวมถึงสมุนไพรที่ช่วยให้การท่องเที่ยวในหน้าร้อนนี้สนุกขึ้น



โดยได้จัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ ทั้งภายในและภายนอกของพิพิธภัณฑ์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำสมุนไพรตัวเด่น ที่ควรมีไว้ติดบ้าน อาทิเช่น

1) สมุนไพรมงคล ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ  อย่างต้นกระดูกไก่ดำ ต้นไม้ที่แนะนำให้มีปลูกไว้ เป็นไม้มงคลแล้ว ยังช่วยได้ยามฉุกเฉิน จากองค์ความรู้ที่สืบทอดจากหมอยาพื้นบ้าน สู่การพัฒนาตำรับ ใช้จริงในผู้ป่วย และมีผลงานวิจัยรับรอง อภัยภูเบศรได้นำมาพัฒนาเป็น สเปรย์และน้ำมันกระดูกไก่ดำ สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ลดอักเสบได้ดี แก้เคล็ดขัดยอก จากการวิ่ง เดินมาก ปวดตึงคอบ่าไหลจากการนั่งรถเป็นเวลานาน หกล้มฟกช้ำ ปวดบวมข้อเข่า และยังมีจุดเด่นที่ไม่มีสีติดค้างที่เสื้อผ้าทำให้สะดวกในการใช้ระหว่างวัน 



2) ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว เป็นว่านมงคลที่มีกลิ่นหอมไปทุกส่วน มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดเมื่อย ต้นเสน่ห์จันทร์ขาวหรือขิงแครงปลากั้ง เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเครื่องหอมช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท คลายเครียด ช่วยให้นอนหลับ นอกจากสรรคุณทางยา ที่มีปรากฎการใช้มากในหมอยาภาคใต้และยังมีบันทึกในตำรายาโบราณ แล้วยังว่านศักดิ์สิทธิ์ มีเมตตามหานิยม และพลังแหล่งการดึงดูดเทวดาให้มาคุ้มครอง มาพร้อมกับสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเมื่อย บำรุงกำลัง ดูแลกระดูกและข้อ อื่นๆอีกเช่น เถาวัลย์เปรียง เพชรสังฆาต เจ็ดกำลังช้างสาร ไพล พลับพลึง หรือต้นยากำลังระดับตำนาน อย่างต้น ตำยาน 

3) สมุนไพรยาเย็นดับร้อน  ที่นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ และขอแนะนำให้มีติดตัวคือ สเปรย์รางจืด (Thai Detoxify Herb) ตำรับสเปรย์ที่คิดต้นสูตรขึ้นมาจากสมุนไพรฤทธิ์เย็น ลดการอักเสบได้ดี นอกเสียจากนั้นแล้วรางจืดยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยล้างพิษได้อย่างทันท่วงที พกติดตัวไว้ ไปไหนไปกัน ใช้ได้ทั้ง ฉีดพ่นลดการระคายเคืองผิวจาก แสงแดด สิ่งสกปรก อาการผดผื่นระคายเคืองจากการบุกป่าฝ่าดง ช่วยปลอบประโลมผิว   “สมุนไพรฤทธิ์เย็น ดับร้อน ลดการอักเสบ ลดการระคายเคืองผิวจากแสงแดด ฝุ่น มลพิษ  นอกจากรางจืดที่เป็นราชาแห่งการแก้พิษแล้ว ยังมีสมุนไพรอื่นๆอีก เช่น บัวบก  ผักเบี้ยใหญ่ ว่านหางจระเข้ คว่ำตายหงายเป็น แตงกวา และผักบุ้ง ที่ได้ชื่อว่าเป็นยาเย็นจากชายทุ่ง ยาแก้พิษใกล้มือ” 

4) ตรีผลา เป็นตำรับสมุนไพร ประกอบด้วย ผลไม้ 3 อย่าง คือ มะขามป้อม สมอไทย และสมอภิเพก เป็นตำรับสมุนไพรสำหรับหน้าร้อน ช่วยระบายและถ่ายความร้อนออกจากร่างกาย ลดอักเสบ เพราะความร้อนจะกระตุ้นการอักเสบเรื้อรัง เกิดอนูมูลอิสระ เกิดความเสื่อมจนอาจนำไปสู่โรคภัยต่างๆในอนาคตได้


ภายในพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน มีมุมอาหารและเครื่องดื่มจากสมุนไพรไทย ที่มาพร้อมนำเสนออัตลักษณ์ไทยสมุนไพรในสปา ให้ท่านได้เรียนรู้พืชดอกที่งดงาม หลากสีสัน และมากคุณค่าทางยา อย่าง บัวหลวง อัญชัน ดาวเรือง ชบา ลีลาวดี ผักปลัง คุณนายตื่นสาย บานเย็น ว่านกาบหอย เป็นต้น 

นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรนานาชนิดที่มีติดตัวไว้อุ่นใจ กระจายทั่วบูธ ประกอบไปด้วย สมุนไพรคลายร้อน เสริมเกลือแร่ ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ อาทิเช่น มะขามป้อม  กระเจี๊ยบ  มะตูม เดินทางปลอดภัยห่างไกลโควิด ไข้หวัด ด้วย ฟ้าทะลายโจร หูเสือ กระชาย   ดูแลท้องไส้ตลอดทริป หมดปัญหาเมารถเมาเรือ ด้วย ขมิ้นชัน ขิง   สมุนไพรบรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย  ได้ทันใจ ได้แก่ พญายอ มะนาว มะละกอ และผักบุ้งทะเล

และพิเศษสุด วันที่ 30 เมษายน มูลนิธิรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร นำโดย ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิฯ ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ พท.ป.แพรวนภา ทุมหนู จะมาให้ความรู้แบบจัดเต็ม “สมุนไพรพกพา หญ้ายาใกล้ตัว ณ เวทีกลาง เวลา 10.30 – 12.00 น. ห้ามพลาด


จังหวัดนครพนม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 


จังหวัดนครพนม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งมอบหน่อกล้วยตานี “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวน ให้เรือนจำกลางนครพนม ด้านผู้ว่าฯ นครพนม เผยโครงการนี้จะช่วยสร้างรายได้และเงินออมให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้เปราะบาง และผู้ต้องขังภายหลังพ้นโทษจากเรือนจำไปแล้ว

 เมื่อวันที่ 25  มีนาคม 2567  นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จังหวัดนครพนมได้จัดกิจกรรม ส่งมอบหน่อกล้วยตานีตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวน ณ ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส่งเสริมการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน และสร้างความมั่นคงในชุมชนให้เกิดความยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมถึงการสร้างความรักความสามัคคีให้คนในชุมชน ตามการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ตามพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า Change for Good โดยเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 67 ตนได้มอบหมายให้นายชัยณรงค์ กาญจะนะกันโห พัฒนาการจังหวัดนครพนม และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ร่วมส่งมอบหน่อกล้วยตานี ณ เรือนจำกลางนครพนม ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม 



นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนมได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีเป้าหมายคือ “สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อประชาชนมีความสุข” โดยบูรณาการภาคีการพัฒนาทั้ง 7 ภาคี โดยการพัฒนาศักยภาพกลไกในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายกระจายรายได้สู่ชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว โดยการส่งเสริมการปลูกกล้วยตานีแก่ครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มเกษตรกร โคก หนอง นา ที่มีความพร้อม และมีศักยภาพเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงกลุ่มประชาชนทั่วไปที่สนใจ ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดของการใช้ใบตองกล้วยในการทำกาละแม พานบายศรี และผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้ต้นกล้วยหรือใบตองของจังหวัดนครพนม ซึ่งเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 67 ตนเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมส่งมอบหน่อกล้วยตานี ตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม "จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ" ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้านต้นบำนาญในสวน ให้กับเรือนจำกลางนครพนม และคณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อเป็นแปลงสาธิตและเป็นแปลงขยายหน่อกล้วยตานี สำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ และผลิตหน่อกล้วยตานี ให้กับประชาชนที่มีความต้องการในพื้นที่จังหวัดนครพนม 


นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยถึงการดำเนินการภายใต้แนวทางการส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ว่า จังหวัดนครพนมรวมทั้งกลุ่มภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะภาควิชาการและภาคเอกชนได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ Value chain ของวัตถุดิบสำคัญที่หลายคนมองข้าม แต่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดนครพนมเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ "ใบตองกล้วย" เพราะสินค้า รวมถึงธุรกิจบริการหลายอย่างของจังหวัดนครพนม เช่น กาละแม หมูยอ แหนม ข้าวต้มมัด การทำพานบายศรี ขันหมากเบ็ง เศียรพญานาค บูชาองค์พระธาตุพนม และพระธาตุสำคัญประจำวันเกิด ทั้ง 7 พระธาตุในจังหวัดนครพนม รวมถึงการทำพานบายศรีบูชาพญาศรีสัตตนาคราช ให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดนครพนมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จำเป็นต้องใช้ใบตองกล้วยเป็นวัตถุดิบในการทำทั้งสิ้น โดยจากข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมพบว่า จังหวัดนครพนมต้องสั่งใบตองกล้วยจากจังหวัดอื่นมาเพื่อเป็นวัตถุดิบในการดำเนินการดังกล่าว ปีละเกือบ 10 ล้านบาท ดังนั้น จังหวัดนครพนมจึงส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน นำประชาชนสู่ความสุข โดยการปลูกกล้วยตานีเพื่อตัดใบ และได้บูรณาการทุกภาคีเครือข่ายร่วมกันเป็นพลังในการขับเคลื่อนในรูปแบบประชารัฐ ใช้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังในทุกมิติ รวมทั้งจัดหารายได้สมทบกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม "ใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ" และนำไปจัดซื้อพันธุ์กล้วยตานีให้กับครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่มีศักยภาพในการทำการเกษตร และครัวเรือน โคก หนอง นา ที่มีความพร้อม และมีศักยภาพเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีคงอยู่กับเราทุกคนตราบนานเท่านาน ตามเจตนารมณ์ของกระทรวงมหาดไทยที่ขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลก 2566 ภายใต้แนวคิด ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน “Sustainable soil and water for better life” ที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ของทรัพยากรดินและน้ำ ที่จะเป็นพื้นฐานต่อยอดความยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน


ด้าน นายชัยณรงค์ กาญจะนะกันโห พัฒนาการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 67 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนมได้จัดกิจกรรมพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “ใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ขึ้น ณ วัดสว่างสุวรรณาราม ตำบลหนองแสง อำเภอเมืองนครพนม เพื่อหารายได้สมทบกองทุนฯ และนำไปซื้อพันธุ์กล้วยตานีให้กับครัวเรือนยากจนและครัวเรือนโคก หนอง นา ที่มีความพร้อมและศักยภาพเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงทำให้เกิดแนวคิดการจัดกิจกรรมการส่งมอบกล้วยตานีตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวนขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้และขยายผล ต่อยอดการดำเนินโครงการฯ โดยมีกิจกรรมมอบหน่อกล้วยตานี ให้กับเรือนจำกลางนครพนม ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม ในวันที่ 15 มี.ค. 67 จำนวน 100 ต้น และในวันที่ 22 มี.ค. 67ได้มอบหน่อกล้วยตานีเพิ่มเติมอีกจำนวน 100 ต้น รวมเป็น 200 ต้น และทางเรือนจำกลางนครพนม ได้จัดซื้อหน่อกล้วยตานีเพิ่มเติมอีก จำนวน 300 ต้น รวมจำนวนหน่อกล้วยตานีที่ปลูกในเรือนจำกลางนครพนม ทั้งสิ้น 500 ต้น ซึ่งคาดว่าในอนาคตอีก 7 เดือนข้างหน้าต้นกล้วยตานีที่ปลูกในรอบแรก จำนวน 500 ต้น จะออกหน่อเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของที่ปลูกในครั้งแรก คือ ประมาณ 1,500 ต้น จะสามารถสร้างรายได้ให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจากการขายใบกล้วยตานี หน่อกล้วย ผลกล้วย ปลีกล้วย จะได้มีเงินออมเป็นเงินขวัญถุงติดตัวภายหลังพ้นโทษออกจากเรือนจำไปแล้ว 


นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวทิ้งท้ายว่า ภายใต้เป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศไทยที่ยั่งยืนตามเจตนารมณ์ที่ได้ประกาศไว้ตามคำมั่น 1 จังหวัด 1 คำมั่นสัญญา จังหวัดนครพนมมุ่งหวังให้กิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวน มีส่วนช่วยสร้างแนวคิดสำคัญในการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้อยู่ในเรือนจำ และทุกกลุ่มได้เรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาตามหลักบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง มาเป็นหลักในการสร้างความมั่นคงในชีวิต เริ่มต้นจาก พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เหลือแบ่งปัน ทำบุญทำทาน ถนอมอาหารเก็บไว้ใช้เมื่อขาดแคลน นำไปขาย และต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการรวมกลุ่มผู้ประกอบการหรือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และขยายผล ตามหลัก สืบสาน รักษา และต่อยอด โดยในท้ายที่สุดจังหวัดนครพนมมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสนองพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการทำให้ "ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างเป็นรูปธรรม สร้างความภาคภูมิใจในฐานะราชสีห์ผู้ภักดีต่อแผ่นดิน ตามปณิธานการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของกระทรวงมหาดไทย


#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood


 


เกษตรสนองพระราชดำริ โครงการ “ทหารพันธุ์ดี” จังหวัดอุดรธานี เสริมความรู้ด้านเกษตรแก่กำลังพล เน้นผลิตเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพ

   


เกษตรสนองพระราชดำริ โครงการ “ทหารพันธุ์ดี” จังหวัดอุดรธานี เสริมความรู้ด้านเกษตรแก่กำลังพล เน้นผลิตเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพ กำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน พร้อมขยายผลสู่เกษตรกรและชุมชน

 เมื่อวันที่ 25  มีนาคม 2567 นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมดำเนินโครงการเพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการทหารพันธุ์ดี ณ ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ ปี 2564 โดยการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อปรับปรุงพื้นที่รกร้าง พัฒนาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ 20 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา ได้แก่ สนับสนุนวัสดุการเกษตรและอุปกรณ์ประกอบโรงเรือน วัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน และเมล็ดพันธุ์ผัก สมุนไพร และวัสดุสำหรับ ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ และถ่ายทอดความรู้ ต่อมาในปี 2565 เกิดการระบาดของเพลี้ยจักจั่นในมะเขือเปราะ และไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในถั่วฝักยาว จึงได้จัดอบรมให้ความรู้และฝึกการปฏิบัติแก่กำลังพลที่เกี่ยวข้อง ในเรื่อง การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการวินิจฉัยโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ประโยชน์ และความสำคัญในการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราเมตาไรเชียม การผลิตไส้เดือนฝอยศัตรูธรรมชาติ สารสกัดจากสะเดา และการเพาะเลี้ยงแมลงหางหนีบเพื่อกำจัดศัตรูพืช และดำเนินการสำรวจและติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง จนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เรียบร้อย และยังได้สนับสนุนชีวภัณฑ์สำหรับกำจัดศัตรูพืช โดยแบ่งเป็นหัวเชื้อรา จำนวน 60 ขวด เชื้อราพร้อมใช้ จำนวน 150 กิโลกรัม และสารจากสะเดา แบ่งเป็นเมล็ดสะเดาบด จำนวน 10 กิโลกรัม และสารสกัดจากสะเดา จำนวน 350 ลิตร 



จากการบูรณาการทำงานร่วมกัน กำลังพลได้นำความรู้ไปขยายผล ในโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" พื้นที่อีสานเหนือ ซึ่งผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก 2 ชนิด คือ 1) กระเจี๊ยบเขียว จำนวน 25 กิโลกรัม และ 2) ถั่วพู จำนวน 15 กิโลกรัม เพื่อส่งมอบให้แก่ กองพลทหารม้าที่ 3 ค่ายเปรมติณสูลานนท์ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไปบรรจุซอง และทำการแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นำไปเพาะปลูกในครัวเรือน และในอนาคตจะดำเนินการสนับสนุนความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์และต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน และให้มีการขยายผลสู่เกษตรกรและชุมชนต่อไป


รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งโครงการทหารพันธุ์ดี ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ให้ข้าราชการและทหารกองประจำการที่มีความสนใจด้านการเกษตร ได้มีโอกาสเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปลูกพืชผักอินทรีย์ที่ปลอดภัย โดยโครงการทหารพันธุ์ดี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสามารถเก็บเมล็ดปลูกต่อได้ จากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริของมูลนิธิชัยพัฒนามาใช้ในการดำเนินงานโครงการฯ โดยกรมพลาธิการทหารบก ได้เข้าร่วมโครงการทหารพันธุ์ดี ในปี 2562 และได้รับการอบรมจากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ปัจจุบันกรมพลาธิการทหารบก ได้เริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ผักทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระราชทานแก่ราษฎร และได้ขยายผลสู่ประชาชนรอบค่าย ในโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ซึ่งได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 


ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมดำเนินโครงการเพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตร ให้คำแนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรแก่ทหารกองประจำการให้สามารถพัฒนาอาชีพทางการเกษตรของตนเองได้ ผลผลิตปลอดสารพิษ และมีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีการขยายผลสู่ประชาชนบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ ยังเป็นการบ่มเพาะเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีทางการเกษตร เกิดทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อไป ทั้งนี้ ในปี 2566 มีทหารพันธุ์ดี และทหารกองประจำการ ได้รับการอบรมให้ความรู้และฝึกการปฏิบัติแก่กำลังพล ในกลุ่มเป้าหมาย 38 หน่วยงานเป้าหมาย หน่วยงานละ 20 นาย รวมจำนวนทั้งสิ้น 760 นาย สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ในครอบครัว และสามารถพัฒนาเป็นอาชีพด้านการเกษตรของตนเองและครอบครัว และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทหารพันธุ์ดีและทหารกองประจำการ ให้สามารถสร้างความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้


 


กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...