วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน



กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ 3 ปี 

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมได้ประชุมหารือร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ ตามแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในระยะ 6 ปี คือ พ.ศ. 2565 – 2570 ในการเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยมี NECTEC  และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ในส่วนของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมดำเนินการในระยะ 3 ปี คือ พ.ศ. 2568 – 2570 เป้าหมาย 10,000 คน โดย Upskill แรงงานในสถานประกอบกิจการ พัฒนาทักษะด้าน AI และระบบ IOT ให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และยกระดับฝีมือให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้มีทักษะการทำงานร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ สำหรับในปี 2567 จะเริ่มดำเนินการภายในเดือนมิถุนายน 2567 นี้ ซึ่งกำหนดให้หน่วยฝึกจำนวน 15 จังหวัดปรับแผนการฝึกให้สอดรับแผนปฏิบัติงานที่ต้องดำเนินการร่วมกันกับ NECTEC ด้วย

นางสาวบุปผา กล่าวต่อไปว่า กรมได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรกลางขึ้นใหม่ โดยร่วมกับ NECTEC เพื่อ Upskill แรงงานในสถานประกอบกิจการ จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้ 1) หลักสูตร IoT Fundamentals 2) หลักสูตร Advanced IoT 3) หลักสูตร Introduction to Data Visualization และ 4) หลักสูตร Signal Processing ดำเนินการในหน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 15 แห่ง ประกอบด้วย 1) สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) 2) สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์ (AMA) 3) สถาบันพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ (AHRDA) 4) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี 5) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี 6) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา 7) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6 ขอนแก่น 8) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี 9) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี 10) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร 11) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม 12) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 17 ระยอง 13) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 18 อุดรธานี 14) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ และ 15) สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตรัง  หลังจากนั้นจะขยายการฝึกด้าน AI และ IOT ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแผนระยะ 3 ปี จำนวน 10,000 คน ที่กล่าวไว้ข้างต้น


“สถานประกอบกิจการ ที่สนใจ Upskill แรงงานที่ปฏิบัติงานด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือระบบ IOT สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ทั้ง 15 แห่ง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” อธิบดีบุปผา กล่าวในท้ายสุด


บิ๊กเนมเพียบทั้ง "อดีต รมต. - สว." สนใจสมัครหลักสูตรดับทุกข์ผู้บริหาร



มูลนิธิสุญญตาวิหารเผยหลักสูตรการดับทุกข์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นแรก มีผู้สนใจในช่วงสองอย่างล้นหลาม รองประธานมูลนิธิฯเผยมีทั้งอดีตรัฐมนตรี อดีต ส.ว.และอดีตปลัดกระทรวง สนใจ ชี้หลักสูตรนี้เหมาะกับโลกในยุคปัจจุบัน

 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567   นายสมชาย เลิศด้วยลาภ รองประธานมูลนิธิสุญญตาวิหาร เปิดเผยว่าด้วยสถานการณ์ปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและในโลก ทั้งปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทุกอย่างอีกมากมายที่เกิดขึ้น สำหรับผู้บริหารจะมีการรับรู้และรับผิดชอบมากกว่าบุคคลทั่วไป ทั้งผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และผู้บริหารหน่วยงานภาคเอกชน โดยทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดเพราะความรับผิดชอบที่มีต่อตัวเอง หน่วยงานและสังคม รวมถึงประเทศการเป็นทุกข์สำหรับผู้บริหารแล้ว มักจะไม่สามารถบอกหรือปรึกษาใครได้ เพราะความน่าเชื่อถือและความคาดหวังของคนในองค์กร นั่นทำให้ผู้บริหารบางคนสูญเสียความมั่นใจและส่งผลต่อองค์กรที่ตนบริหารอย่างมาก หรือบางคนก็หาหนทางออกผิดทางจนถูกหลอกลวงไปก็มี



“มูลนิธิสุญญตาวิหารมองเห็นความสำคัญของทุกข์สำหรับผู้บริหาร จึงได้พัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่าหลักสูตรการดับทุกข์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 1โดยวิชาที่ศึกษานั้นเป็นเนื้อหาของศาสนาเช่นอริยสัจ4  ศิล สมาธิ ปัญญา โดยธรรมมะสัจจะของหลักสูตรคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เพื่อให้บัณฑิตของหลักสูตรสามารถดำรงตนอยู่เหนือความทุกข์ และมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองทำหรือบริหารอยู่ รวมทั้งสามารถนำความรู้เผยแผ่ในการดับทุกข์ให้กับผู้อื่นได้”

นายสมชายกล่าวต่อไปอีกว่าจากการเปิดรับสมัครผู้บริหารที่สนใจในรอบแรกนั้นมีผู้สนใจจำนวนมากซึ่งทางผู้บริหารหลักสูตรได้ประกาศรายชื่อในรอบแรกไปแล้ว โดยขณะนี้กำลังจะประกาศรอบสุดท้ายซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริหารหลายคนโดยมีอดีตรัฐมนตรีมากกว่า 2 ท่าน รวมทั้งอดีตสมาชิกวุฒิสภา และผู้บริหารระดับปลัดกระทรวง ที่สนใจส่งใบสมัครเข้ามา ซึ่งคณะกรรมการหลักสูตรก็จะพิจารณาภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้โดยในรุ่นที่ 1 นี้กำหนดรับไว้ที่จำนวน 60 ท่าน โดยจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 15 ท่านโดยชื่อกลุ่มจะเป็นสีของบัว 4 สี



นายสมชาย กล่าวอีกว่าสำหรับรายละเอียดของหลักสูตรคือเรียนสัปดาห์ละ 1 วันทุกๆวันศุกร์เป็นเวลา 7 เดือนโยเริ่มเรียนตั้งแต่ วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 จนถึงวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ  สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต และวัดชลประทานรังสฤษดิ์ โดยมีอาจารย์พิเศษและอาจารย์ประจำหลักสูตร ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเช่นพระพรหมบัณฑิต ,พระธรรมวัชรบัณฑิต,รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม เป็นต้น  โดยจะเปิดรับสมัครไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้  โดยผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 084 -164-2424 


กกต.เตือนผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็น สว. ศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมาย

 


 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567  ด้วยปรากฏว่ามีบุคคล กลุ่มบุคคล ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ก่อนที่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ    

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอเรียนว่า ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 เมษายน 2567 และระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น เพื่อให้การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และพึงระมัดระวังในการดำเนินการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกำหนดด้วย 

    ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เก็บรวบรวมข้อมูลของบุคคล กลุ่มบุคคล ที่ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไว้ด้วยแล้ว และหากพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด จักดำเนินการตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดต่อไป


กกต. ออกระเบียบการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ 27 เม.ย.นี้ 

ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 เพื่อให้การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 เมษายน 2567 และระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาประกาศเป็นต้นไป    

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ได้ทางเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th 

 


วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

รวม 4 สุดยอดเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส จ.นครพนม อายุ109 ปี



เหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช  หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อายุ 109 ปี รวมความเป็นสุดยอดดังนี้ สุดยอดพุทธศิลป์ สุดยอดมวลสาร สุดยอดพิธีกรรม รุ่นนี้ บันทึกไว้เป็นตำนาน "มนต์นาคาพระดีพุทธคุณดี"

สำหรับความเป็นมาของการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ นายนิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ” หนึ่งในหัวหน้าทีมพี่เสือ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า เพื่อสนับสนุนสร้างศาลาหอฉัน ศาลา 109 ปี หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ และโครงการต่างๆ  ใกล้แล้วเสร็จ ต่อไปหลวงปู่ดำริ 



งบประมาณในการก่อสร้างส่วนแรก ยกโครงมุงหลังคาใช้งบประมาณ 1,250,000 บาท และคาดการณ์ว่าจะใช้งบประมาณจนแล้วเสร็จประมาณ สองล้านกว่าบาท ท่านไหนที่ร่วมบุญ ไม่ว่าจองวัตถุมงคลทุกรุ่นที่กำลังจัดสร้างของแต่ละทีมสร้างก็มีส่วนในการจัดสร้างศลาในครั้งนี้

ผู้ที่มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญกับหลวงปู่โดยตรง สามารถโอนเข้าบัญชีหลวงปู่ได้ทีา ธ.กสิกรไทย 1802770029 พระคีบ จำปา



การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช

หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ถวายปัจจัยให้กับทางวัด ตลอดจนร่วมสร้างและพัฒนาศาสนสถานต่างๆภายในวัดให้คงอยู่ คู่พระพุทธศาสนนาสืบไป  ทีมพี่เสือพร้อมผู้ร่วมบุญทุกๆคน ทั้งที่มาร่วมงานเเละไม่ได้มาวันนี้ เราได้ถวายปัยจัยเป็นเงิน 200,000 บาท เพื่อสร้างศาลา 109 ปี 

ในส่วนของเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ มีการจัดสร้าง 199 ลัง  ประกอบพิธี 3 วาระดังนี้ วาระที่1. เสกมวลสาร เเละหล่อนำฤกษ์ ปั้มนำฤกษ์ หลวงปู่คีบ ท่านเมตตา สุดยอดพิธี หาเกจิที่อายุขนาดนี้ ปั้มฝห้ด้วยองค์ท่านเอง  



วาระที่ 2  วันที่ 30 มี.ค. 2567 เสกลังนำฤกษ์เเละรายการจอง.พร้อมรายการลุ้น ทุกรายการ เพื่อเกิดพุทธานุภาพสูงสุด โดยได้ถวายปัจจัยสมทบทุน 100,000 บาท

วาระที่ 3 วันที่27 เม.ย.นี้ คณะผู้จัดสร้างจะไปถวายปัยจัยอีก100,000บาท ไปร่วมทำบุญ งานลงฐานล่างศาลา 109 ปี หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพสวรรค์ จ.นครพนม 



ผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวการจัดสร้างวัตถุมงคลของ “ทีมพี่เสือ” ได้ที่…https://www.facebook.com/groups/1242269399567579/?ref=share_group_link

หลวงปู่คีบ ธีรปญฺโญ มีนามเดิมว่า คีบ จำปา เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2458 ในใบสุทธิและบัตรประชาชนได้ระบุ พ.ศ. 2463 เนื่องด้วยท่านเล่าว่ากำนันในสมัยนั้น แจ้งเกิดให้ท่านช้า 

ด้วยระยะทางที่ไกลจากตัวอำเภอมาก ประกอบกับคนในสมัยนั้นเมื่อเด็กแรกเกิดมักจะเสียชีวิตในช่วงสองถึงสามปีแรก กำนันจึงมักจะแจ้งเกิดให้ตอนผ่านพ้นช่วงนี้ไป ที่บ้านเลขที่ 101 หมู่1 บ้านค้อ ตำบลบ้านค้อ อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอำเภอโพนสวรรค์) จังหวัดนครพนม 



ท่านเป็นบุตรของคุณพ่อกวบ จำปา คุณแม่ปุ้ม จำปา มีพี่น้องร่วมกัน 6 คน 1. นายเสาร์ จำปา เสียชีวิตแล้ว

2. หลวงปู่คีบ (นายคีบ จำปา) 3. นายปาน จำปา เสียชีวิตแล้ว 4. นางปน จำปา 5. หลวงพ่อเปอร์ (นายเปอร์ จำปา) มรณะภาพแล้ว และ 6. นางวน อนุญาหงส์

ในวัยเด็ก เมื่อ พ.ศ. 2468 อายุ 10 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนประถมศึกษาวิทยฐานะ พ.ศ. 2470 สำเร็จการศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านค้อ ตำบลบ้านค้อ อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันโพนสวรรค์) จังหวัดนครพนม 



ด้านการบรรพชา

เมื่อพ.ศ. 2476 ได้บรรพชาเป็นสารเณร ที่วัดโพธิ์สุมบ้านค้อ ตำบลบ้านค้อ อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันโพนสวรรค์) จังหวัดนครพนม พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกงมา เจ้าอาวาส เดือนมกราคม เมื่อ พ.ศ. 2476 อยู่ศึกษาเล่าเรียนธรรมบาลี ปริยัติธรรม อยู่กับพระอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง ต่อมาได้สมัครไปเล่าเรียนนักธรรมตรี ที่ สำนักวัดศรีทอง บ้านโพนสวรรค์ ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

 ในสมัยนั้นมีพระอธิการเกิด เป็นเจ้าอาวาส และพระผู้สอนพระอาจารย์ผัน บ้านรามราช ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์จนจบเมื่ออายุครบ 19 ปี

อุปสมบทเมื่อ วันที่ 10 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2478 ณ พัทธสีมา วัดโพธิ์สุม บ้านค้อ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม  พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการบุญจันทร์ กตปุญโญ วัดโพธิ์สุม พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการหนูพิน วัดโพธิ์ชัย พระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์สวย วัดโพธิ์ชัย

ได้ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติพระกรรมฐานธุดงค์วัตรตามสถานที่ต่างๆ ปีกวิเวก เข้ากราบศึกษาธรรมกับพระอาจารย์หลายรูป อาทิเช่นหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้ว หลวงปู่คาร คันธิโย วัดโพธิ์ชัยทั้งสองรูปเป็น ลูกศิษย์ผู้ใหญ่สายพ่อแม่ญาครูสีทัตถ์ ญาณสัมปัญโณ จวบจนสำเร็จสัพพระวิชาต่างๆ 


ก่อนท่านจะทำการลาสิกขาเพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบสัมมาชีพ ใช้ชีวิตปุถุชนทั่วไปเหมือนปกติ หลวงปู่ท่านเป็นคนขยันหมั่นหาความรู้ในชีวิตของการเป็นฆราวาสของท่านได้ศึกษาตำรายาสมุนไพ รักษาโรค เป็นหมอธรรมและหมอยา เชี่ยวชาญการใช้ยาสมุนไพ และคาถากำกับในการปรุงยารักษาโรค ได้สมรสครองเรือนมีบุตรธิดา 2 คน ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว

ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2520 ได้ไปจำพรรษาที่วัดชุมพล บ้านพานพร้าว ต.พานพร้าว อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และได้ธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ก่อนจะไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองบัว

 ต่อมาใน  พ.ศ. 2524 ท่านได้ทำการเข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ได้รับผลสำเร็จนักธรรมชั้นตรี ต่อมาจนจบนักธรรมโท และนักธรรมชั้นเอกเป็นอันสูงสุด และกับออกมาธุดงค์วัตรเหมือนดังเดิม จนในพ.ศ. 2527 ท่านธุดงค์ไปภูเพ็ค ได้สร้างกุฏิไหว้หนึ่งหลัง ใช้เวลาหลายปี พักการธุดงค์เพราะอายุที่มากขึ้น

พ.ศ. 2531จึงธุดงค์กลับบ้านเกิด จำพรรษาที่วัดโพธิ์สุม ต.บ้านค้อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อยู่สักพักใหญ่ ท่านมีปัญหาด้านสุขภาพไม่สะดวกในการประกอบกิจของสงฆ์ ลูกหลานเลยให้ลาสิกขาเพื่อออกมารักษาตัวอยู่พักหนึ่งจวบจนปกติ ท่านจึงได้อุปสมบทอีกครั้งใน พ.ศ. 2540 จวบจนถึงปัจจุบันนี้ อายุ 109 ปี พรรษา 26 

ณ ปัจจุบัน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติและเมตตาสูง อีกทั้งยังเป็นหมอยารักษาคน แม้ท่านจะอายุมากแต่ก็แข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวสุขภาพดี ท่านเป็นพระผู้มักน้อยสันโดษไม่รับยศตำแหน่งใดๆ


วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

"ดร.นิยม เวชกามา" จับมือกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ไปช่วยแก้ปัญหาตั้งวัดในศรีสะเกษกว่า 300 แห่ง



วันที่ 24 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม  เวชยชัย ในฐานะอนุกรรมมาธิการศาสนา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการ นำโดย นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ สส.ศรีสะเกษประธานคณะอนุกรรมาธิการนายสมศักดิ์ บุญสม สส. อุบลราชธานี กรรมาธิการ นายเพชวรรต วัฒนพงศ์ศิริและเจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 วัด เพื่อรับฟังปัญหาการจัดตั้งวัด

 โดยเวลา 09.00 น. มีการประชุมคณะผู้บริหารของจังหวัดที่วัดมหาพุทธารามพระอารามหลวง วัดหลวงพ่อโต ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีพระวชิรสุธาดา เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ และ เจ้าอาวาสวัดมหาพุทธาราม ร่วมประชุม โดย นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ เป็นประธานในที่ประชุม มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 สาขาอุบลราชธานี ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดตั้งวัดในพื้นที่ศรีสะเกษจำนวน 300 กว่าวัดที่ยังมีปัญหาอยู่ถึงปัจจุบัน

 หลังจากนั้นเดินทางไปที่วัดไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนาอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กราบนมัสการ พระครูโกศลสิกกิจ ซึ่งเป็นวัดที่บรรจุสรีระของ หลวงปู่สรวง ที่ชาวบ้านเรียกว่าเทวดาเดินดิน มีการสอบถามปัญหาจากหลวงพ่อพุฒ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

 จากนั้นเดินทางไปที่วัด โคกโพธิ์ ตำบลกันทรารมย์อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ วัดปราสาทเยอเหนือ ตำบลเยอ อำเภอไพรบึงจังหวัดศรีสะเกษ กราบสักการะรูปเหมือนขนาดใหญ่พระครูประสาทขันทคุณ หรือหลวงปู่มุม อินทะปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสพระเกจิดังอีกรูปหนึ่ง  ซึ่งแต่ละวัดได้มีการสอบถามปัญหาจากเจ้าคณะอำเภอดังกล่าวถึงการตั้งวัดที่ไม่สามารถจัดตั้งได้ประมาณ 300 กว่าแห่ง ได้รับทราบปัญหาและได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายคาดว่าจะสามารถดำเนินแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษได้ ซึ่งภารกิจทั้งหมดเสร็จสิ้นในเวลา 17.30 น.

 ดร.นิยม เวชกามา กล่าวว่า ต้องขอบพระคุณ คณะสงฆ์ จังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเดินทางลงพื้นที่เพื่อช่วยแก้ปัญหาวัดในครั้งนี้


"ผู้อำนวยการ ป.โทสันติศึกษามจร" เตรียมเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส



วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.โค้ชสันติ กระบวนกรธรรมะโอดี วิทยากรต้นแบบสันติภาพ  Buddhist Peace Facilitator ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร  เปิดเผยว่า   นกพิราบคาบช่อมะกอก นกตะวันออกคาบดอกบัว สอดรับกับสันติภาพ  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. Buddhist Peace Facilitator และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  บัณฑิตวิทยาลัย มจร  ปฏิบัติศาสนกิจ ณ นครรัฐวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อการเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส  ผู้นำศาสนาคริสต์ ระหว่าง ๒๔ - ๓๐  พฤษภาคม  ๒๕๖๗ 

โดยมุ่งประเด็นการเรียนรู้ ประกอบด้วย ๑)ศาสนากับสันติภาพ ๒)การสื่อสารอย่างสันติ ๓)ขันติธรรมทางศาสนา ๔)การสร้างศาสนสัมพันธ์ ๕)ศาสนาสร้างความสามัคคี  ๖)สันติสนทนาระหว่างศาสนา ๗)สิทธิมนุษยชนมิติทางศาสนา  ๘)การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย ๙)การพัฒนาสันติภายในมิติของศาสนา ๑๐)เคารพในความแตกต่างและความเปราะบางของมนุษย์ ๑๑)ศาสนาในฐานะต้นตอสันติภาพและต้นเหตุความขัดแย้งรุนแรง  ๑๒)ศาสนาในฐานะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ทำไมต้องมาวาติกัน ในฐานะทำงานด้านสันติภาพสันติสุข จึงสะท้อนถึงสัญลักษณ์สันติภาพ คือ "นกพิราบคาบกิ่งมะกอก" โดยชาวตะวันตกเชื่อว่า นกพิราบ เป็นวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสัญลักษณ์ของนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน  กิ่งมะกอกเป็นสิ่งที่ชาวกรีกโบราณใช้ในพิธีสำคัญ

โดยทุกครั้งที่โลกเกิดความขัดแย้ง สันติภาพคือสิ่งที่ผู้คนต้องการและเรียกร้อง ซึ่งนกพิราบคาบกิ่งมะกอกคือสัญลักษณ์สากลของสันติภาพ เป็นเพราะอะไร และทำไมผู้หญิงถึงมีบทบาทมากขึ้นในเวทีสันติภาพโลก 

โดยชาวตะวันตกเชื่อว่านกพิราบเป็นวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ตามพระคัมภีร์ไบเบิล จึงมีรูปนกพิราบเกาะอยู่ที่บัลลังก์คาทีดรา ที่พระสังฆราชทรงประทับนั่ง เพื่อคอยดลใจให้ทรงตัดสินข้อพิพาทของชาวคริสเตียนโบราณได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นนกพิราบยังเป็นสัญลักษณ์ของนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและวิชาชีพสื่อสารมวลชน จากความสามารถในการจดจำเส้นทางอย่างแม่นยำ จนเป็นที่มาของพิราบสื่อสาร

เมื่อเอ่ยถึงสันติภาพ ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยผู้หญิงมักจะมีบทบาทอยู่เสมอๆ ดูได้จากบุคคลที่เป็นวีรสตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลของโลก จนสภาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติ ออกคำสั่งขยายบทบาทของสตรีบนเวที UN ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เพราะศักยภาพของผู้หญิงที่ถูกเชื่อมร้อยบุคลิกภาพตามธรรมชาติของเพศ ที่มีความอ่อนโยนดูแลเอาใจใส่ครอบครัวและเป็นผู้ให้นั้นเอง

๒๑  กันยายนของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล (The International Day of Peace) สัญลักษณ์แห่งสันติภาพและการต่อต้านความรุนแรง จะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง เพื่อให้เรานึกย้อนกลับไปถึงสงครามโลก ช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของมวลมนุษยชาติ 

ทำไมต้องมีวันสันติภาพสากล โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ได้กำหนดให้ทุกวันที่ ๒๑ กันยายน ของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล (The International Day of Peace) เพื่อเป็นการให้ความสำคัญต่อการยุติการใช้ความรุนแรง การคุกคามในทุกรูปแบบ และมุ่งเน้นสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสันติในทุกพื้นที่ โดยในวันสันติภาพสากลจะมีกิจกรรมการลั่น ระฆังสันติภาพ ที่หล่อขึ้นจากเหรียญที่ได้รับบริจามาจากเด็ก ๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองอีกด้วย

โดยจุดมุ่งหมาย ๖ ประการ ในวันสันติภาพสากล มุ่งเคารพต่อชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยุติการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบแบ่งปันผู้อื่น ขจัดการแบ่งแยกชนชั้นเคารพเสรีภาพในการแสดงออกของทุกกลุ่ม ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม แสดงความรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสกับทุกเพศสภาพอย่างเท่าเทียมกัน

โดยนกพิราบ (Dove) นานมาแล้วที่ 'นกพิราบ' ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึง สันติภาพ อิสรภาพ และความรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'นกพิราบคาบกิ่งมะกอก' สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนประจำวันสันติภาพสากล ที่หลายคนอาจพบเห็นในรูปแบบไอคอนหรืออีโมจิ (Emoji) บนสมาร์ตโฟน โดยที่มาที่ไปของนกพิราบคาบกิ่งมะกอกนั้น มีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อทางศาสนาคริสต์ที่ว่า 'นกพิราบคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และพระผู้เป็นเจ้า' อีกทั้งยังปรากฏอยู่ในเรื่องราว 'มหากาพย์น้ำท่วมโลก' หรือ 'เรือโนอาห์ (Noah's Ark)' ที่ได้มีการกล่าวไว้ว่า โนอาห์จะใช้นกพิราบคอยสังเกตการณ์น้ำท่วมจากในเรืออาร์ค จนในวันหนึ่งนกพิราบได้บินคาบกิ่งมะกอกกลับเข้ามา จึงทำให้โนอาห์รับรู้ว่าภายนอกน้ำลดลงแล้ว ถือเป็นสัญญานของการเริ่มต้นใหม่ และความสงบสุขที่กลับคืนสู่มวลมนุษย์อีกครั้ง

ในเวลาต่อมานกพิราบถูกใช้สื่อถึงสันติภาพไปอย่างกว้างขวาง เมื่อจิตรกรชื่อก้องโลกอย่าง Pablo Picasso ได้วาดภาพ 'นกพิราบแห่งสันติภาพ (The Dove of Peace) ซึ่งในภายหลังได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการประชุมสันติภาพนานาชาติ ที่กรุงปารีส (Paris Peace Congress) ในปี ค.ศ. ๑๙๔๙ ในความเชื่อโบราณของคนญี่ปุ่น 'นกกระเรียน' ถือเป็นตัวแทนแห่งโชคลาภ ความสุข และการมีอายุยืนยาว ในขณะเดียวกัน 'นกกระเรียนกระดาษ' ที่มักจะมีการพับไว้ประดับงานพิธีมคลต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ยังมีนัยยะแฝงถึง 'สันติภาพ' ไว้อีกด้วย โดยจุดเริ่มต้นทั้งหมดของนกกระดาษสันติภาพนั้น มาจากเรื่องราวของหนูน้อยซาดาโกะ ซาซากิ ที่ต้องล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จากการได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นผลพ่วงของเหตุการณ์ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ 

ด้วยความหวังที่จะหายจากโรคร้าย ซาดาโกะทำการพับนกกระเรียนกระดาษ ๑,๐๐๐ ตัว ตามความเชื่อโบราณที่ว่า หากพับนกกระเรียนกระดาษได้ครบ ๑,๐๐๐ ตัวแล้ว สิ่งใดที่ปราถนาจะเป็นจริง เธอต่อสู้กับโรคร้ายสุดท้ายตลอดระยะเวลาหลายเดือน แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็ไม่มีจริง เพราะเด็กหญิงซาดาโกะก็เสียชีวิตลงในวัย ๑๒ ปี ในตอนที่เธอพับนกกระเรียนได้ตัวที่ ๖๖๔

หลังจากการเสียชีวิตของซาดาโกะ รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นได้สร้างอนุสาวรีย์แห่งสันติภาพ หรือที่เรียกว่า อนุสรณ์สันติภาพเยาวชน  : Children’s Peace Monument ณ สวนสันติภาพฮิโรชิม่า เพื่ออุทิศแก่ซาดาโกะ และเด็กอีกหลายคนที่ต้องเสียชีวิตจากผลของสงคราม และนกกระเรียนกระดาษก็ได้กลายมาเป็นตัวแทนเรื่องราวซาดาโกะ และสันติภาพนับแต่นั้นมา

รวมถึงการชูสองนิ้ว (V-sign) 

การชูสองนิ้วไม่ได้เป็นเพียงท่าเซลฟี่คิ้ว ๆ ที่ทำกันตามกระแสเท่านั้น แต่การทำนิ้วมือลักษณะเป็นรูปตัว V โดยหันฝ่ามือออก มีชื่อเรียกว่า V-sign สัญลักษณ์มือที่สื่อถึง ‘สันติภาพ (Peace)’ และ ‘ชัยชนะ (Victory)’ โดยต้นกำเนิดของ V-sign ต้องย้อนกลับไปช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ “ วิกเตอร์ เดอ ลาวีย์ (Victor de Laveleye) รัฐมนตรีพรรคเสรีนิยมเบลเยี่ยม ได้ออกอากาศผ่านสถานีวิทยุ BBC ชักชวนให้ประชาชนชาวเบลเยียมและ ชาวฝรั่งเศษ ร่วมกันทำสัญลักษณ์รูปตัว V ไว้ตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ "V for Victory" เพื่อแสดงการสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในการทำสงครามชนะฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ และในภายหลังกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่ทรงอิทธิพล เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถคว้าชัยชนะในสงครามมาได้จริง ๆ ทำให้สัญลักษณ์ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

ประเทศแทบเอเชียการชูสองนิ้วถือเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำกัน แต่ด้วยวัฒนธรรมและค่านิยมที่แตกต่างจึงไม่ใช่สำหรับทุกส่วนบนโลกที่การชูสองนิ้วจะสื่อความหมายดี ในบางประเทศอย่าง อังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ แอฟริกาใต้ การชูสองนิ้วแล้วหันหลังมือเข้าหาคนอื่นจะมีความหมายเชิงดูหมิ่น เหยียดหยาม เพราะฉะนั้นควรหันฝ่ามือออกเสมอ   

โดยสัญลักษณ์สันติภาพ (Peace Symbol) สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ หรือ 'Peace Symbol' ที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตานี้ เดิมทีมีชื่อเรียกว่า 'CND Symbol' หรืออีกชื่อหนึ่ง 'Nuclear Disarmament' (การลดอาวุธนิวเคลียร์) ออกแบบโดยศิลปินหัวขบถชาวอังกฤษ นามว่า Gerald Holtom เพื่อจุดประสงค์ในการต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในสหราชอาณาจักร ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๕๘-๑๙๖๐ 

Gerald เผยว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัญญาณธง (Semaphore Alphabet)' ที่สามารถสะกดออกมาเป็นตัวอักษรและข้อความได้ โดยเส้นแกนกลาง l แทนตัวอักษร D (Disarmament) และเส้นอีกสองเส้นที่ขนาบข้างทำมุม 45 องศานั้น /\ แทนตัวอักษร N (Nuclear) ส่วนวงกลมรอบนอก O แทนรูปร่างของ 'โลก' ของเราเอง สัญลักษณ์สันติภาพถูกนำมาใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของหนุ่มสาวบุพพาชนหรือ 'ฮิปปี้' ที่เคยมีบทบาทเข้าร่วมต่อต้านสงครามเวียดนาม ในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ 

แม้ว่าสัญลักษณ์สันติภาพจะมีลักษณะและที่มาแตกต่างกันไป แต่เราจะเห็นว่าทุกสัญลักษณ์ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ และเป็นเครื่องย้ำเตือนว่าการใช้ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของปัญหา และไม่เคยส่งผลดีกับใครทั้งสิ้น

๒๑ กันยายน ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นให้เป็น วันสันติภาพโลก (World Peace Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและงดใช้ความรุนแรง หยุดทำสงคราม และร่วมมือกันสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้น วันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญมากอีกวันหนึ่ง

วันสันติภาพโลก (World Peace Day) ตรงกับวันที่ ๒๑ กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่ออุทิศแก่สันติภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราศจากสงคราม บ้างถือเป็นโอกาสพิเศษกำหนดหยุดยิงชั่วคราวในพื้นที่ที่ยังสู้รบกันอยู่ มีการเฉลิมฉลองวันสันติภาพโลกในบรรดาชาติ กลุ่มการเมือง กลุ่มทางทหาร และประชาชนทั้งหลาย วันสันติภาพโลกจัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๒๔ 

ในการเริ่มวันดังกล่าว มีการเคาะ “ระฆังสันติภาพ” ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระฆังนั้นถูกหล่อขึ้นจากเหรียญที่รับบริจาคมาจากเด็กทั่วโลก มันถือเป็นของขวัญโดยสมาคมสหประชาชาติแห่งญี่ปุ่น และถูกกล่าวถึงว่าเป็น “เครื่องเตือนใจมนุษย์ถึงมูลค่าแห่งสงคราม” มีข้อความ “สันติภาพโลกเบ็ดเสร็จจงเจริญ” จารึกอยู่ด้านข้างของระฆัง

แต่หลังจากนั้นในปี ค.ศ. ๒๐๐๑ หรืออีก ๒๐ ปีต่อมา มีมติใหม่จากสหราชอาณาจักร และคอสตาริกา กำหนดให้วันที่ ๒๑ กันยายน ของทุกปี เป็นวันยุติการสู้รบ และประกาศให้เป็นวันสันติภาพโลก หรือวันสันติภาพโลก (The International Day of Peace) เพื่อขอให้ประชาชนทุกประเทศหยุดยิง ลดใช้ความรุนแรงกันทั่วโลก และหยุดการทำสงครามตลอดทั้งวัน รวมทั้งมีการเชิญประเทศสมาชิก หน่วยงานต่าง ๆ มางานเฉลิมฉลองและร่วมมือกันสร้างสันติภาพทั่วโลก และกำหนดให้ ค.ศ. ๒๐๐๑-๒๐๑๐ เป็นทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงเพื่อเด็กของโลก โดยมีจุดมุ่งหมาย ๖  ประการ ประกอบด้วย  

๑)ให้ความเคารพต่อชีวิตทั้งมวล เคารพชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือลำเอียง

๒)ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน

๓)แบ่งปันกับผู้อื่นอย่างมีน้ำใจ เพื่อขจัดการแบ่งแยก ความไม่ยุติธรรม และการกดขี่ทางการเมืองและเศรษฐกิจ

๔)รับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน เคารพเสรีภาพในการแสดงออก และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม

๕)สงวนรักษาผืนโลก ฝึกดำเนินชีวิตอย่างรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติบนผืนโลก

๖)สร้างความสมานฉันท์ เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะสตรี

โดยจุดมุ่งหมายทั้ง ๖ ประการ มีเป้าหมายให้ผู้คนในสังคมทุกกลุ่มอายุได้ตระหนักถึงความสำคัญของสันติภาพภายใน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมสันติภาพที่เกิดจากความสงบเงียบภายในจิตใจของแต่ละคน เพื่อให้เราได้รู้จักตนเองและแหล่งพลังชีวิตที่สามารถใช้ปัญญาเป็นเครื่องชี้นำทางในการขจัดทุกข์และสร้างสันติสุขให้แก่ตนเอง รวมทั้งแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่น โดยสันติภาพคือ เป้าหมายสูงสุดของสหประชาชาติ” (Peace is the United Nations’ highest calling)


🇲🇲 🇹🇭 ธรรมจักรเชื่อมใจ AEC ! “สมเด็จพระสังฆราชแห่งเมียนมา” เป็นประธานในงานสัมมนา “ธรรมจักรเพื่อสันติภาพโลก”



เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567 เจ้าพระคุณพระภัททันตะ ซานดิมา ภิวังสะ (อัครมหาบัณฑิต อัครมหาสัทธัมมโชติกะธะชะ) สมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศเมียนมา (His Holiness Bhaddanta Candimar Bhivamsa (Agga Maha Pandita Agga Maha Saddhamma Jotikadhaja) Chairperson of the State Sangha Maha Nayaka Committee of Myanmar) เป็นประธานในงานสัมมนา “ธรรมจักรเพื่อสันติภาพโลก” ที่จัดขึ้น ณ ห้องเธียร์เตอร์ อาคาร 100 ปีคุณยายอาจารย์ ฯ วัดพระธรรมกาย โดยมีเจ้าคณะจังหวัดไพลิน คณะธรรมยุติ และคณะมหานิกาย ประเทศกัมพูชา, เจ้าอาวาสวัดจากจังหวัดดานัง และจังหวัดฮอยอัน ประเทศเวียดนาม, ฝ่ายต่างประเทศ อ.พ.ส. คณะสงฆ์ สปป.ลาว (ศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว) และเจ้าอาวาสและผู้นำองค์กรพุทธจากประเทศ AEC ทั้งเมียนมาร์, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม เข้าร่วมงานสัมมานาครั้งนี้ 

โดยในงานสัมมนา พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย บรรยายในหัวข้อ “ธรรมจักรคุ้มครองโลก” โดยนำความรู้เรื่องทุกข์ประจำสังขาร การบริหารขันธ์ สัมมาอาชีวะ การสร้างเครือข่ายคนดี แก้วิกฤตโลก และงานวิจัยปริญญาเอกในเรื่อง อนาคตภาพการขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของเครือข่ายองค์กรพุทธนานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับงานสัมมนาวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาจิตใจมนุษย์ ผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรพุทธ ด้วยกิจกรรมการสวดธรรมจักรร่วมกันทั้งภูมิภาค AEC โดยมีเป้าหมายหลายพันล้านจบเป็นกุศโลบายในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกัน และขอขอบคุณที่องค์กรที่ส่งยอดสวดธรรมจักร ทำให้ทุกครั้งที่ถึงวงรอบสวดธรรมจักร สามารถจัดพิธีฉลองชัยชิตังเม ได้ทุกครั้ง 

ส่วนพระมหาสุรัตน์ อคฺครตโน ผู้ช่วยอำนวยการสำนักต่างประเทศ และหัวหน้ากอง AEC บรรยายในหัวข้อ “ธรรมจักรใน AEC” โดยบรรยายถึงกิจกรรมการสวดธรรมจักรในประเทศเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม 

 ทั้งนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆนายก พระภัททันตะ จันธิมา อภิวังสะ อัครมหาบัณฑิต อัครมหาสัทธัมมโชติกะธะชะ สมเด็จพระสังฆราช ประธานคณะกรรมการมหาสังฆนายกแห่งรัฐ ประเทศเมียนมาร์ เมตตาให้โอวาทว่า “โครงการสวดธรรมจักรของวัดพระธรรมกาย ที่เชิญชวนประชาชนและคณะสงฆ์ประเทศต่างๆ ร่วมกันสวดเป็นกิจกรรมที่ดี โดยต้องอาศัยคุณธรรม ความศรัทธา ที่รวมกันทบทวนธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอชื่นชม และสนับสนุนโครงการนี้ เพื่อเชิญชวนชาวพุทธร่วมกันสวดธรรมจักร ซึ่งทำเป็นปกติอยู่แล้วในประเทศเมียนมาร์ และยินดีสนับสนุนส่งเสริมการสวดธรรมจักรร่วมกับวัดพระธรรมกาย ขอให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่พระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป”  

โดยในช่วงท้ายงานสัมมนา คณะสงฆ์และผู้นำองค์กรพุทธ ได้ถวายใบปวารณาลงนามความร่วมมือ และมอบป้ายโครงการฯ ในการร่วมกันสวดและส่งยอดสวดธรรมจักร ในโครงการสวดธรรมจักร 24 น. กับวัดพระธรรมกาย และภาคีเครือข่ายองค์กรพุทธทั่วโลก ในวาระวันเกิดและบูชาธรรมอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย ในวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน 2567 จากนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ถ่ายภาพร่วมกัน เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาค AEC ด้วย


เจ้าคุณประสารเผย "มจร" เร่งฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดด



เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567  พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ในฐานะผู้อำนวยการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยโดยนโยบายของพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี ได้ออกนโยบายเรื่องการพัฒนาบุคคลากรในทุกระดับเพื่อเพิ่มสมรรถนะ เพิ่มศักยภาพและมองเห็นเป้าหมายร่วมกันเพื่อจะได้นำพาองคาพยพของมหาวิทยาลัยไปสู่การพัฒนาในรูปแบบก้าวกระโดดเพืัอให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา          

พระราชวัชรสารบัณฑิต ได้กล่าวต่อไปว่า การอบรมผู้บริการนั้นจะมีทุกระดับโดยเริ่มที่การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรใหม่ จำนวน 312 รูป/คนในระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ หอประชุมอาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  การฝึกอบรมพัฒนาผู้บริการระดับต้น จำนวน 85 รูป/คน ระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2567 ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มจร ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน และในครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับกลางทั้วประเทศ จำนวน 253 รูป/คน ระหว่างวันที่ 24-27 เมษายน 2567 วัตถุประสงค์ในการจัดการจัดฝึกอบรมพัฒนาอย่างเข้มงวดในครั้งนี้เพื่อฝึกทักษะในการบริหาร การจัดการให้มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ทักษะวิชาการใหม่ๆ เรียนรู้รักสามัคคีในสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงอย่างรู้เท่าทัน มีจิตสำนึกรักองค์กร และเรียนรู้โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อทันโลก ทันสมัย ทันสถานการณ์เพื่อจะสามารถนำพามหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพบนฐานของวิกฤติมหาวิทยาลัยทั่วประเทศและทั่วโลก นอกจากการฝึกอบรมด้านวิชาการ  แล้ว ยังมีการไปศึกษาดูงานของความสำเร็จด้านอุดมศึกษานอกสถานที่ื การทำวัตรสวดมนต์และการปฎิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อพัฒนาปัญญาอีกด้วยและในอีกสองเดือนข้างหน้านี้ก็จะมีการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับสูงเพื่อเพิ่มสมรรถนะต่อไป        

"การอุดมศึกษาในทั่วโลกกำลังประสบภาวะวิกฤติ เฉพาะมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเช่นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคงหนีไม่พ้นเช่นกัน เช่นโลกเปลี่ยนไปผู้คนสนใจเทคโนโลยีเพื่อหารายได้มากกว่าการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย องค์ความรู้เปลี่ยนผ่าน การดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ประชากรลดลง ศาสนทายาทถดถอย ทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนเป็นสิ่งท้าทายมหาวิทยาลัยในดำรงอยู่บนฐานของศรัทธา ปัญญาและความมั่นคง การพัฒนาบุคคลากรในทุกระดับเพื่อรับมือ  เพื่อการรู้เท่าทันเพื่อให้ปรับตัวในการก้าวกระโดดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย


วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที



เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนาตรวจสอบ “น้องไนซ์”เด็กอายุ 8 ขวบที่อ้างตัวเป็นบุตรพระพุทธเจ้า สอนธรรมะด้วยการเชื่อมจิตที่ไม่มีอยู่ในคำสอน  โดยได้สั่งการไปยังนายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่บ้านพักของครอบครัวเด็กอายุ 8 ขวบ พร้อมกับนายกัณฐัศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือกัน จอมพลัง เพื่อตรวจสอบโดยด่วนแล้วว่าการกระทำของเด็กอายุ 8 ขวบ เป็นอย่างไรและมีความเหมาะสมหรือไม่ 

 นางพวงเพ็ชร ระบุว่า ได้สั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาประสานงานกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม. ) ร่วมลงไปตรวจสอบโดยด่วน เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จะต้องเข้าไปตรวจสอบกับผู้ปกครองด้วยว่ามีการป้อนข้อมูลที่ผิดให้กับลูกหรือไม่ เพราะลำพังเด็กที่มีอายุยังน้อยน่าจะยังไม่มีการนึกคิดไตร่ตรองอะไรได้มาก รวมถึงตรวจสอบว่ามีใครอยู่เบื้องหลังเพื่อหวังหาประโยชน์จากน้องไนซ์หรือไม่

“ส่วนตัวมองว่าการที่นำเรื่องพระพุทธเจ้ามาอ้างอิงเช่นนี้ ไม่ตรงกับหลักคำสอนของพุทธศาสนา อีกทั้งทำให้ประชาชนหลงเชื่อ ดังนั้นจึงให้สำนักพุทธฯลงพื้นที่ไปตรวจสอบ และหากมีประเด็นใดที่เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน จะดำเนินการตามกฎหมายหรือมีพระภิกษุสามเณรรูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องให้ดำเนินทันทีโดยไม่มีการละเว้น ขณะเดียวกันขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณก่อนรับฟังคำสอนดังกล่าวด้วย” นางพวงเพ็ชร กล่าว


วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้



วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วมมือกันรักษาคุ้มครองโลก ในส่วนของพระพุทธศาสนานั้นองค์กรยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ยพสล.) มีมติให้วันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น “วันธรรมะคุ้มครองโลก” ภายใต้คำขวัญ “Clean The World, Clean The Mind” เพราะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ทรงคุณค่าที่สุด คือ ใจของมนุษย์ ควรได้รับการคุ้มครองรักษาให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้ วัดพระธรรมกายจึงได้จัดงาน “วันธรรมะคุ้มครองโลก” เพื่อให้พุทธบริษัท 4 จากทั่วโลก ได้มาร่วมกันปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือ ละชั่ว ทำดี ทำใจ ให้ผ่องใส ด้วยการประกอบบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา เพื่อกลั่นกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์     มีเมตตา ไม่เบียดเบียนใคร  เพื่อให้โลกพบกับสันติภาพและความสุขสงบที่แท้จริง 

พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า ในวันคุ้มครองโลกปีนี้ วัดพระธรรมกาย จัดให้มีการนั่งสมาธิ เจริญสมาธิภาวนา, พิธีเจริญพุทธมนต์, พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัดทั่วประเทศ ภายในพิธีได้รับความเมตตาจากพระพรหมวชิรปัญญาจารย์ เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง, ราชบัณฑิต, หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 เมตตาเป็นประธานสงฆ์ และในโอกาสครบ 20 ปี พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้นิมนต์คณะสงฆ์จาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) มารับถวายไทยธรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 168 พร้อมกับมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ปีที่ 17 ครั้งที่ 133 โดยมีผู้แทนคุณครู 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมพิธี

“ในโอกาสวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน 2567 วัดพระธรรมกายได้จัดให้มีพิธีถวายมหาสังฆทาน 10,000 วัด แด่พระสังฆาธิการทั่วประเทศ วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกายจึงได้จัดพิมพ์หนังสือ "20 ปี 323 วัด รวมใจพุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดินดับไฟใต้" อันเป็นการสนองพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และเพื่อประกาศคุณงามความดีของพุทธบุตร 4 จังหวัดภาคใต้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล และชาวพุทธทั่วโลกว่าทุกรูป คือ "วีรบุรุษแห่งกองทัพธรรม" ที่ยอมสละชีวิตเป็นเดิมพัน รักษาพระพุทธศาสนา ให้ธรรมะอยู่คู่ปลายด้ามขวานไทยตลอดไป“ พระครูสมุห์สนิทวงศ์กล่าว

หมายเหตุ

มหาสังฆทาน วันคุ้มครองโลก 22 เมษายน

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2545 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 12,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 24,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

พิธีถวายมหาสังฆทาน วัดพระธรรมกาย

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2544 พิธีถวายทุนการศึกษาแด่พระภิกษุสามเณร 30,000 กว่าวัด 100,000 รูป ทั่วประเทศ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 พิธีสลายร่างคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด 100,000 รูป ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547 พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 12,000 รูป และพิธีหล่อพระธรรมกายเพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 60 ปีฯ

วันที่22 เมษายน พ.ศ. 2549 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพิธีกลั่นมหารัตนวิหารคด

วันที่ 6  สิงหาคม พ.ศ. 2549  พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,300 วัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พิธีทอดผ้าป่าช่วยเหลือวัดประสบภัยน้ำท่วม 1,000 กว่าวัด 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 2,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพิธีถวายองค์พระประธานเพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดต่าง ๆ ในประเทศศรีลังกา จำนวน 222 องค์

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์  3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 286 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 3,000 วัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 วัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 24,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พิธีถวายไทยธรรมคณะสงฆ์กว่า 3,000 วัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พิธีถวายมหาสังฆทาน 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 3,000 วัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 1,000 วัดทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561  พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 1,000 วัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พิธีถวายมหาสังฆทานคณะสงฆ์ 2,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พระรับโล่รางวัล 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”ปี66



 "เสริมศักดิ์"ชูเป็นหมุดหมายท่องเที่ยวของคนไทยและต่างชาติ สร้างงานสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน  ปี67เฟ้นเพิ่มอีก 10 ชุมชนคาดประกาศผลเดือนก.ค.นี้

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2566 โดยมีโดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำชุมชน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วม ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) มีนโยบายขับเคลื่อน Soft Power  อุตสาหกรรมสร้างสรรค์  11 ด้าน รวมถึงด้านท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาลเพื่อสร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น วธ.ได้ดำเนินโครงการยกระดับชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรกว่า 27,000 แห่งทั่วประเทศสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ซึ่งเป็นชุมชนคุณธรรมฯ

ที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 วธ.คัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี”พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติไปแล้ว 20 ชุมชน เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชนและผู้ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันในปีงบประมาณพ.ศ.2566 วธ.ได้ดำเนินโครงการคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี”อย่างต่อเนื่อง โดยคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในระดับจังหวัดจาก 76 ชุมชนทั่วประเทศและมีชุมชนคุณธรรมฯที่ได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” 10 ชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านปากน้ำชุมพร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 3.ชุมชนคุณธรรมฯวัดพระธาตุผาเงา ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 4.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 5.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร 6.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 7.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่ามะขาม ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 8.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 9.ชุมชนคุณธรรม ฯ บ้านท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และ10.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโนนกอก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

“ปัจจุบันวธ.ได้คัดเลือกและประกาศสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ไปแล้วทั้งหมด 30 ชุมชน  แต่ละชุมชนที่ได้รับคัดเลือกมีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ เป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ ความงดงามของวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมและธรรมชาติ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย มีการนำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยความอบอุ่นและมิตรไมตรี  ก่อให้เกิดการปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชนสร้างงานสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จะเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติและเป็นต้นแบบให้ชุมชนทั่วประเทศได้ศึกษาเรียนรู้และเกิดการขยายผลต่อไป โดยปีงบประมาณพ.ศ.2567 วธ.ได้คัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบฯอีก 10 ชุมชน คาดว่าจะประกาศผลคัดเลือกในเดือนกรกฎาคมนี้ ” นายเสริมศักดิ์ กล่าว


วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

วธ.ประเดิมงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดสารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน”



กระทรวงวัฒนธรรมเปิด “งานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน” ณ วัดประยุรวงศาวาส  ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 

เมื่อวันที่ 19 เมษายน เวลา 18.00 น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กล่าวสัมโมทนียกถา และมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม  ผู้นำศาสนาต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชน เครือข่ายทางวัฒนธรรม ข้าราชการ ประชาชนและสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ภายในพิธีเปิดงานมีการแสดงชุด “มิตรไมตรี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” หลังพิธีเปิดงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมด้วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและผู้บริหารเยี่ยมชมซุ้มสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนและซุ้มอาหารของชุมชน 

สำหรับงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดขึ้นวันที่ 19-23 เมษายน 2567  ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ มีกิจกรรม การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การแสดงวงออร์เคสตร้า วงดนตรีสากล  วงดุริยางค์กรุงเทพมหานครและนักร้องศิลปินแห่งชาติ วงโยธวาทิต ลิเกรวมดาว  การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง การแสดงหุ่นกระบอกไทย การประกวดอาหารสามศาสน์ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ปั่นจักรยานเที่ยววัดยามค่ำคืน” การสาธิตภูมิปัญญาด้านอาหารและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม

ขณะเดียวกันงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นวันที่ ๒๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในงานมีกิจกรรม เช่น ซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จบูรพกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ การแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในยามค่ำคืน (Night Museum) นิทรรศการและการเสวนาวิชาการ การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ตลาดย้อนยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ตลาดอาหารไทย อาหารถิ่น เป็นต้น 

นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ๕ แห่ง ที่เข้าร่วมจัดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ ๑.พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม ๒.พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ๓.พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ ๔.พิพิธบางลำพู และ ๕.มิวเซียมสยาม

ทั้งนี้ งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งที่ได้ทรงนำพาประเทศชาติให้เจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคง ทรงทำนุบำรุงศาสนา สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองสืบมาจนปัจจุบัน และเพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวจากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้สู่ประชาชนและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า  “วัดรั้วเหล็ก” ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งธนบุรี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา จึงได้อุทิศสวนกาแฟ ณ ตำบลกุฎีจีน ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามสำหรับพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรม เริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๗๑ ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า ๘ ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๓๗๙  

ต่อมาปีพ.ศ.๒๓๙๓ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า  “วัดประยุรวงศาวาส” ซึ่งคล้องกันกับพระราชทินนามที่ได้รับในเวลาต่อมา โดยชื่อของวัดนั้นมีความหมายว่า  “อารามแห่งวงศ์พระประยูรญาติ”  ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างสูงแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์และเหล่า “ราชินิกุลบุนนาค”


วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

“หมอชลน่าน” เปิดหอสงฆ์อาพาธดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย รพ.หนองคาย



หมอชลน่าน เปิดศูนย์หัวใจชายแดน ระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพสู่อินโดจีน รพ.หนองคาย เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งชาวไทย นักท่องเที่ยวและประเทศเพื่อนบ้าน ให้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ ทันเวลาพร้อมเปิดหอสงฆ์อาพาธดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567  นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดศูนย์หัวใจ และหอสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลหนองคาย โดยมี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ท่านคำพัน อั่นลาวัน เอกอัครรัฐทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย นายสมภพ สมิตะสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เข้าร่วมงาน และกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมุ่งให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปเพิ่มศักยภาพเป็นศูนย์เชี่ยวชาญโรคเฉพาะทางสาขาต่างๆ ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและทันเวลา ลดการส่งต่อและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งจังหวัดหนองคายมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาวตามลำน้ำโขงไปจนถึง จังหวัดบึงกาฬ ทำให้การส่งต่อผู้ป่วยต้องใช้เวลามาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่จำเป็นต้องสวนหัวใจให้การรักษาแบบเร่งด่วน และยังเป็นจังหวัดชายแดนที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขงรองรับการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน และ สปป.ลาว ที่จะมีทั้งนักท่องเที่ยวและประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในทุกด้าน 

“ศูนย์โรคหัวใจชายแดน ระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพสู่อินโดจีน โรงพยาบาลหนองคาย เป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมือที่ทันสมัย มีห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (CATH LAB) พร้อมระบบปรับอากาศปลอดเชื้อ หออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจปลอดเชื้อ (CCU) ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งชาวหนองคายและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งชาว สปป.ลาว ได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว ลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” นายแพทย์ชลน่านกล่าว 

นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า สำหรับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลหนองคายได้มีการจัดตั้งหอสงฆ์อาพาธขึ้นมาให้บริการโดยเฉพาะ โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพวชิรคุณ รศ.ดร. (พิศิษฐ์ ธรรมโรจน์) เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยพระอารามหลวง บริจาคเงินจำนวน 10,000,000 บาท ปรับปรุงหอสงฆ์อาพาธ ณ อาคารพระสิริปุณโณเมตตา ชั้น 9 ประกอบด้วย ห้องพิเศษ ห้องพิเศษรวม และห้องแยก รวม 28 เตียง และยังมีห้องสำหรับทำกิจสงฆ์ ซึ่งการบริการและดูแลรักษาทั้งหมดเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย 


รัฐบาลขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส ดัน "นวดไทย-อาหารไทย-สมุนไพรไทย" เป็น Soft Power



วันที่ 20 เมษายน 2567 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีนโยบายการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างงาน ให้กับประชาชน รวมถึงสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์หรือ Soft Power ของประเทศ ที่จะเป็นการยกระดับความสามารถของคนไทย ทั้งการอนุรักษ์ พื้นฟูและพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรให้กับเกษตรกร เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส นวดไทย และสมุนไพร เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล

น.ส.เกณิกา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดประชุมขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส นวดไทย และสมุนไพร โดยการประชุมดังกล่าวได้มีการนำเสนอ (ร่าง)การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนสและสมุนไพร คู่มือยาสมุนไพรที่ผลิตในประเทศไทย การดำเนินงาน Wellness และ Healthy City กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรับยาสมุนไพรแห่งชาติ 324 ตำรับ สมุนไพรประจำจังหวัด Advanced therapy medicinal products (ATMPs) รวมทั้งมีการพิจารณารายการผลิตสมุนไพรในโรงงาน WHO GMP ของกระทรวงสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับสมุนไพรประจำจังหวัด การผลิตผู้ประกอบอาชีพด้านการนวดไทย การวิจัยเรื่อง Mesenchymal Stem Cells (MSCs) 

“แพทย์แผนไทยฯได้สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพ โดยเฉพาะอาชีพนวดแผนไทย ที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของไทย เป็นที่รู้จักของนานาประเทศ ซึ่งต่างประเทศมีความต้องการแรงงานกลุ่มนี้จำนวนมาก และยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ, อาหารไทย ,ผลิตภัณฑ์สมุนไพร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft power) ของประเทศ“


"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ



วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า จากที่เป็นคนเชียงรายแท้ๆ วันนี้ไม่ได้ข้ามมายังแผ่นดินลาวบริเวณสามเหลี่ยมทองคำมานาน ผมเคยมาที่นี่น่าจะเกิน 30 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เปลี่ยนไปมาก กลางคืนเป็นเมืองไม่หลับใหลแบบฮ่องกง กลางวันเป็นแหล่งท่องเที่ยวในหลายรูปแบบ จากที่ทราบคือ ประเทศลาวให้ นักลงทุนชาวจีนมาลงทุนระยะยาว จึงเกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และ"เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์" รวมทั้งกาสิโน ต้องบอกว่ามีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ถ้ามองในสายตาของผมแล้ว หากปล่อยให้เจริญขึ้นเอง ก็คงจะใช้เวลาอีกพันปี แต่พอให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติ ผมเห็นคนลาวที่ไม่มีงานทำ ก็มีอาชีพลืมตาอ้าปากได้ ไม่เพียงชาวลาว คนพม่าก็มาทำงานจำนวนมาก ด้วยแผ่นดินตรงนี้เชื่อม 3 ประเทศ โดยคั่นด้วยแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า โดยมียักษ์ใหญ่คือจีน เชื่อมโดยการเดินทางอยู่ไม่เกิน 6 ชม. ในการเดินรถไฟความเร็วสูงการเดินทางโดยเครื่องบินก็ง่ายเพราะอยู่ตรงกลาง และเชียงรายมีสนามบิน นานาชาติ น่าสนใจเข้าไปอีกมีทางเชื่อมออกทะเลทางเวียดนามและพม่า หมายความว่า สามารถจะเชื่อมทางธุรกิจขนาดใหญ่อย่างน้อย 5 ประเทศ ที่อยู่ใกล้กัน



การลงทุนฝั่งลาว มีการลงทุนสัมปทานพื้นที่จากกลุ่มทุนจีนชื่อ กลุ่มดอกงิ้วคำ เป็นบริษัทจดทะเบียนในฮ่องกงที่มีจ้าวเหว่ย กลุ่ม คิงส์โรมัน บริหาร ด้วยเม็ดเงินมหาศาล ในสายตาของผมเราไม่ต้องอิจฉาเขาหรือไม่ต้องไปแข่งกับเขาเลยครับ ถ้าประเทศไทยเราใช้ยุทธศาสตร์ในฐานะ อยู่กึ่งกลางของทุกประเทศข้างต้น ออกกฎหมายที่เหมาะสม เชียงรายจะกลายเป็นเมืองการค้าการลงทุนที่ใหญ่มาก ในภูมิภาคนี้ ไม่แน่อาจกลายเป็นศูนย์กลางทาง Finance แบบสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยภูมิประเทศโอบล้อมด้วยแผ่นดินรอบล้อมด้วยประเทศต่างๆ ไม่ติดทะเล ปลอดภัยจากสงครามจากทางทะเล อาจนำไปสู่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ผนวกกับ เชียงราย โดยเฉพาะเชียงแสน เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีศิลปะและวัฒนธรรม ที่ยาวนาน เราจะสามารถขายการท่องเที่ยวขายเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นให้ต่างชาติ มาเยี่ยมชมเราได้อีกมาก

พอเดินทางกลับจากประเทศลาว ผมจึงถือโอกาสไปรดน้ำดำหัวท่านศุลกากรเชียงของ และได้ถือโอกาสหารือกับนายด่านเชียงของ ถึงแนวคิดการ ผลักดันการค้าชายแดน ที่เชียงของที่เชื่อมกับถนน R3A ของลาวเชื่อมทางรถไฟความเร็วสูงสู่จีน นายด่านให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ตรงนี้ผมเริ่มเห็น โอกาสภูมิประเทศของเชียงราย ที่คล้ายกับสวิสเซอร์แลน การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจทั้งการเงินการธนาคาร ธุรกิจการค้าขาย แน่นอนหากมีการหมุนเม็ดเงินลงทุนมาสู่เชียงราย อาจนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินการธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งของโลก เบื้องต้นต้องผลักดันเชียงราย-เชียงใหม่ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเสียก่อน โดยออกกฎหมายเฉพาะ และเชิญชวนองค์กรสันติภาพระหว่างประเทศมาตั้งสำนักงานที่นี่ ดึงการค้าการเงินการธนาคาร เพื่อผลักดันการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประเทศไทยมีความมั่นคงอยู่แล้ว อีกทั้งเชื่อมโยงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ให้สะดวกขึ้น และดึงเม็ดเงินมาลงในพื้นที่ ก็อาจจะทำให้เชียงราย-เชียงใหม่ กลายเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย อย่างไรผมจะลองเอาโมเดลนี้ไปเสนอต่อรัฐบาลต่อไปครับ


วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

"ดร.มหานิยม" พาไปไหว้ พระวัดงามตามรอยพระอริยะ วัดป่าโสมพนัสสกลนคร



เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา อดีต สส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย  หรือ "ดร.มหานิยม" ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฯพณฯภูมิธรรม เวชยชัย พาไปวัดป่าโสมพนัสบ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร   วัดป่าแห่งนี้ ขึ้นชื่อด้านการเผยแผ่พุทธธรรมด้วยการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว โดยมี "พระอาจารย์สุริยา มหาปญฺโญ" เป็นประธานสงฆ์ ตามแนว "หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ" มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 โดยมีผู้ที่เข้ามารับการฝึกปฏิบัติในแต่ละปีเป็นจํานวนมาก

 การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว คือ ให้ระลึกรู้อยู่กับอิริยาบถปัจจุบัน รู้เท่าทันความคิด ไม่ปรุงแต่งจิต ไม่ยึดติดรูปนาม รู้จักตนเอง รู้จักความทุกข์ รู้สาเหตุและทางออกจากทุกข์ สอนให้เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ไม่ยึดติดประเพณีพิธีกรรม โดยพระอาจารย์สุริยา จะดูแลทําการสอนอย่างจริงจัง แต่เรียบง่าย และให้ความเอาใจใส่ผู้ปฏิบัติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้รู้ได้เห็น ได้เป็นได้สัมผัสในหลักธรรมคําสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่การดับทุกข์อย่างแท้จริง

 วัดป่าโสมพนัส มีความเป็นมา ว่า พ.ศ. 2492 - 2494 เป็นช่วงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำภูเพ็ก โดยใช้แรงงานคนในการก่อสร้าง มีการจ้างแรงงานชาวบ้านรอบๆ พื้นที่ โดยเฉพาะ บ้านนาหัวบ่อ บ้านหนองดินดํา การเดินทางมาทํางานมีคนงานบางคนก็เดินทางไปเช้าเย็นกลับ โดยจักรยานบ้าง เดินเท้าเปล่าบ้าง และมีบางส่วนก็สร้างที่พักรอบๆอ่างเก็บน้ำเพื่อไม่ต้องเดินทางกลับ โดยพักอยู่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ จึงเริ่มเกิดชุมชนขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

แต่คนในชุมชนบ้านอ่างจะเดินทางไปประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาในวันสําคัญๆ เช่นการทําบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ที่วัดโพธิ์คํา บ้านนาหัวบ่อ ซึ่งต้องเดินทางไกลและยากลําบากระยะทาง 6-7 กิโลเมตร ในสมัยนั้นถนนหนทางไปมาไม่สะดวก และแต่ก่อนวัดพระธาตุภูเพ็กก็ยังไม่เกิดขึ้น มีเพียงโบราณสถานบนภูเขากลางป่าเท่านั้น ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัยไม่ค่อยมีชาวบ้านขึ้นไปเพราะการเดินทางยากลําบาก แต่บางครั้งก็มีพระธุดงค์ปลีกวิเวกขึ้นไปจําพรรษาบ้าง เพราะเป็นสถานที่สงบวิเวก

เมื่อ พ.ศ.2494 หลวงปู่โสม โสภิโต ซึ่งเป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดสุรินทร์ ได้เดินธุดงค์เพื่อไปจําพรรษาที่พระธาตุภูเพ็ก และเดินมาถึงบริเวณที่กําลังมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในคืนนั้น รุ่งเช้าเมื่อชาวบ้านพบเห็นจึงนําอาหารมาถวายและชาวบ้านก็ได้นิมนต์ท่านอยู่ที่หมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านภูเพ็กไม่มีวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเวลาทําบุญต้องเดินทางไปที่วัดโพธิ์คํา บ้านนาหัวบ่อ

จากนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิ ศาลา ห้องน้ำ เป็นที่พักสงฆ์ขึ้น บริเวณลานหิน ใกล้กับต้นไฮใหญ่ติดกับห้วยวังกอไผ่ ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน โดยไม่มีชื่อวัด แต่ชาวบ้านเรียกที่พักสงฆ์นั้นว่า วัดหลวงพ่อเซ็น ซึ่งเป็นผู้มาริเริมก่อตั้ง

ต่อมา พ.ศ. 2503 พระมหาสม สุมโณ เลขานุการวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ท่านเป็นผู้มีความรู้ และชอบค้นคว้าวิชาโบราณคดีประวัติศาสตร์ได้ติดตามคณะเจ้าคณะพระมหาเถระระดับภาคที่ต้องการเยี่ยมชมพระธาตุภูเพ็ก พร้อมด้วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมและพระมหาเถระระดับภาคอีกจํานวนหนึ่งทุกครั้งที่ท่านมาจะพักที่วัดหลวงพ่อเซ็น พระมหาสมจึงได้ตั้งชื่อให้ว่า วัดโสมพนัส 

 ตลอดระยะเวลาพ.ศ.2494- 2538 วัดโสมพนัสได้เป็นที่พักของพระสงฆ์ มีพระจําพรรษาในบางปีและหลายปีก็เป็นวัดร้างไม่มีพระจําพรรษา

จากการที่มีกลุ่มพระมหาเถระมาศึกษาพระธาตุภูเพ็กครั้งนั้น ทําให้เกิดการสร้างถนนขึ้นและต่อมาพระธาตุภูเพ็ก จึงเป็นโบราณสถานที่รู้จักทั่วไป โดยพระมหาสมได้ร่วมกับคณะสงฆ์อําเภอพรรณานิคมและร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาก่อสร้างถนนหนทางขึ้นวัดพระธาตุภูเพ็ก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การเปลี่ยนแปลงชื่อวัด ระยะแรกชาวบ้านเรียกชื่อเป็นวัดหลวงพ่อเซ็น ต่อมา วัดโสมพนัส  วัดป่าโสมพนัสสามัคคีธรรม ถูกตั้งชื่อในสมัยที่หลวงพ่อสนใจ จําพรรษาอยู่ระหว่างพ.ศ.2531- พ.ศ.2534 และ “วัดป่าโสมพนัส” ถูกตั้งชื่อในสมัยที่พระอาจารย์สุริยา มหาปญฺโญ มาจําพรรษาที่วัดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 ถึง ปัจจุบัน

 วัดป่าโสมพนัสได้มีการย้ายจุดที่ตั้งวัดตามลําดับอยู่ 2-3 ครั้ง เนื่องจาก การขยายตัวของหมู่บ้านและการก่อสร้างโรงเรียนบ้านภูเพ็ก จาก พ.ศ.2494 จน พ.ศ.2543 มีการขยายบริเวณวัดออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยญาติธรรมจากกรุงเทพฯได้ซื้อที่ดินทํากินจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณรอบๆ ทําให้ปัจจุบันวัดป่าโสมพนัสมีพื้นที่โดยประมาณ 60 ไร่


กรมการจัดหางาน ตอบโจทย์มนุษย์ฟรีแลนซ์ เปิดพื้นที่ดีลงาน ผ่านแพลตฟอร์ม “คนทำงาน”

 


กรมการจัดหางาน เปิดตัวแหล่งบริการงานอิสระโดยภาครัฐ ปลอดภัย ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ชวนผู้ว่าจ้าง + คนทำงานอิสระ ประกาศหางาน หาคน ที่แพลตฟอร์ม “คนทำงาน” 

นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และการทำงานของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับ work life balance หรือการทำงานที่ตอบโจทย์เรื่องความสุขและเวลา จึงทำให้เกิดรูปแบบการทำงานที่สร้างรายได้จากความชอบ ความถนัด ความสามารถเฉพาะตัว หรือการทำงานระยะสั้นๆ รับจ้างจบเป็นครั้ง ๆ มากขึ้น กรมการจัดหางาน จึงพัฒนาแพลตฟอร์ม “คนทำงาน” ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งบริการงานอาชีพอิสระ ครอบคลุมทุกอาชีพไว้ใน 10 หมวดงานหลัก ได้แก่ 1.Graphic & Design 2.การตลาดและโฆษณา 3.พิมพ์/เขียน/แปลภาษา 4.ภาพและเสียง 5.Web & Programming 6.ปรึกษาและแนะนำ 7.การให้บริการ 8.รับจัดทำสินค้าและอาหาร 9.งานช่างนอกสถานที่ และ 10.การสอน ให้บริการผ่านเว็บไซต์ คนทํางาน.doe.go.th สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ที่ต้องการใช้ทักษะความสามารถหารายได้เสริมมาประกาศรับจ้างทำงาน และสำหรับผู้ว่าจ้างสามารถค้นหาผู้รับงานอิสระที่ตรงตามความต้องการ โดยกรมการจัดหางานไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการจากแพลตฟอร์ม มีความปลอดภัยเนื่องจากผู้รับงานอิสระและผู้ว่าจ้างผ่านการลงทะเบียนและยืนยันตัวตน ผ่านระบบ Single Sign-On ของภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีทีมงานให้คำปรึกษาครอบคลุมทั่วประเทศ ณ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด

“แพลตฟอร์ม “คนทำงาน” จะเติมเต็มโอกาสการประกอบอาชีพครอบคลุมทุกมิติ ประชาชนที่เป็นแรงงานอิสระจะมีพื้นที่ทำงานถ้วนหน้า ไม่จำกัดทุกช่วงวัย” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

นายสมชายฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับคนทำงานอิสระลงประกาศงานง่าย ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.ลงทะเบียนเป็นผู้รับงานอิสระ - กรอกข้อมูลส่วนตัว สำหรับยืนยันตัวตนให้ครบถ้วน **หากมีหนังสือผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมสามารถแนบเพิ่มได้ และ/หรือยืนยันตัวตนที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ในพื้นที่ ที่อยู่ปัจจุบันที่ลงทะเบียนไว้ เพิ่มความน่าเชื่อถือให้ผู้ว่าจ้าง

2. นำเสนอตัวเอง - อธิบายตัวตนที่เกี่ยวข้องกับงานให้โดดเด่น เช่น ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ทักษะความสามารถ รางวัล ใบประกาศ เพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงาน 

3. ลงประกาศงาน - เลือกหมวดหมู่งานหลัก ระบุรายละเอียด อัพโหลดรูปผลงาน ขั้นตอนทำงาน กำหนดราคาและวิธีการส่งงาน ส่งประกาศงานตรวจสอบผ่านระบบ หากตรงตามเงื่อนไข จะอนุมัติประกาศงาน ภายใน 2 วันทำการ

4. ประกาศงานเผยแพร่บนแพลตฟอร์ม "คนทำงาน" 

สำหรับผู้ว่าจ้าง จ้างงานง่ายๆ 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. ค้นหาผู้รับงานอิสระที่ถูกใจ - พิจารณาจากผลงาน และรีวิว

2. ลงทะเบียนเข้าใช้งาน - กรอกข้อมูลส่วนตัว สำหรับยืนยันตัวตนให้ครบถ้วน **หากมีหนังสือผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมสามารถแนบเพิ่มได้ และ/หรือยืนยันตัวตนที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ในพื้นที่ ที่อยู่ปัจจุบันที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

3. สื่อสาร / สอบถามรายละเอียดผ่านช่องทาง chat ของระบบ 

4. สร้างใบเสนอราคา – ผู้รับงานอิสระสร้างใบเสนอราคา หากถูกต้องแล้ว กดปุ่ม "อนุมัติใบเสนอราคา"

5. รอผู้รับงานอิสระส่งงาน 

6. ให้เรตติ้งและรีวิวงานที่จ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถใช้บริการได้ที่ เว็บไซต์ คนทํางาน.doe.go.th หรือหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694


กรมส่งเสริมการเกษตรแนะปลูกอัญช้น “เทพรัตนไพลิน 63” พืชสมุนไพรมากคุณค่า ปลูกง่าย ได้ผลเร็ว

   


เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์  รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า อัญชัน เป็นพืชที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสายตา ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย และที่สำคัญคือมีสารสำคัญที่มีสรรพคุณทางการแพทย์ อาทิ สารแอนโทไซยานิน สารแอนโทไซยานิน มีสรรพคุณในด้านกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้เป็นอย่างดีคนไทยใช้ประโยชน์จากอัญชัน ในรูปแบบต่างๆ  เช่น ให้เป็นสีผสมอาหาร ใช้ทำเครื่องดื่ม ใช้บำรุงเส้นผม ฯ จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประจำบ้าน

สำหรับวิธีการขยายพันธุ์อัญชัน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด โดยนำเมล็ดอัญชันแช่ในน้ำสะอาดทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดนำเฉพาะเมล็ดที่จมน้ำ ไปบ่มต่อในผ้าขาวบางชุบน้ำหมาด ๆ และเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด นาน 24 ชั่วโมง สังเกตได้ว่าเมล็ดจะมีขนาดใหญ่ขึ้น แล้วนำเมล็ดไปเพาะในภาชนะเพาะ โดยใช้วัสดุปลูกเป็นพีทมอส หรือดินผสม ได้แก่ พีทมอส แกลบดำ และขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1:1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำใส่ในภาชนะเพาะ เช่น ถาดหลุม ขนาดไม่เกิน 104 หลุม หรือถุงเพาะชำ ขนาด 2.5 x 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมหรือถุงเพาะชำ หลุมละ 2-3 เมล็ด แล้วกลบวัสดุปลูกทับบาง ๆ รดน้ำอีกครั้ง และควรรดน้ำทุกวันจนกระทั่งกล้ามีใบจริง 2 ใบ จึงย้ายลงแปลงปลูก 

วิธีการที่สอง คือ การปักชำ โดยตัดกิ่งอัญชันที่มีลักษณะไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป ไม่มีโรคและแมลงรบกวน ความยาวไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ให้มีข้อตาไม่น้อยกว่า 4-5 ข้อตา แล้วตัดแต่งใบ โดยลิดใบล่างทิ้ง  ส่วนใบด้านบนตัดให้เหลือครึ่งใบ นำกิ่งที่ตัดแต่งแล้วไปแช่ในสารเร่งราก และสารป้องกันกำจัดเชื้อรา นาน 20 นาที ก่อนปักชำนำขึ้นมาผึ่งไว้ให้แห้ง เตรียมวัสดุเพาะชำ ได้แก่ หน้าดิน แกลบดำ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1:1:0.5 คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำใส่ในถุงเพาะชำสีดำ ขนาด 2.5x6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม นำกิ่งที่แช่สารเร่งรากและสารป้องกันกำจัดเชื้อราแล้ว มาปักลงในถุงเพาะชำที่เตรียมไว้ โดยให้ส่วนที่ปักลงในวัสดุปลูกมีข้อตาติดอยู่ 1-2 ข้อตา นำถุงเพาะชำที่ปักชำกิ่งอัญชันแล้วมาใส่ใน ถุงพลาสติกขนาด 20x30 เซนติเมตร แล้วมัดปากถุงให้แน่น นำไปวางไว้ในที่ร่มรำไร หรือเรือนเพาะชำ หมั่นสำรวจไม่ให้ถุงขาด และเมื่อครบ 1 เดือน จึงเปิดปากถุงเพื่อให้อากาศและให้ต้นอัญชันปรับตัว ประมาณ 5-7 วัน จากนั้นจึงนำต้นอัญชันออกมาดูแลรักษาต่ออีกประมาณ 7-14 วัน จึงนำลงแปลงปลูกได้


รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บอกอีกว่า สำหรับอัญชันพันธุ์ดีที่ กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำ คือ อัญชัน พันธุ์ “เทพรัตนไพลิน 63” เป็นพืชที่ถูกวิจัยปรับปรุงพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร โดยมีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตดอกสดต่อไร่สูง เฉลี่ย 2,122 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าพันธุ์ทั่วไปประมาณ 6 วัน และมีปริมาณแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) รวมมากกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 1.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกลีบดอกสด 100 กรัม ด้วยคุณลักษณะและประโยชน์ด้านการแพทย์ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก ได้ดำเนินการนำอัญชัน พันธุ์ “เทพรัตนไพลิน 63” มาเพาะขยายพันธุ์ให้แก่เกษตรกรที่สนใจสามารถเข้าถึงอัญชัน “เทพรัตนไพลิน 63” โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ จุดบริการพืชพันธุ์ DOAE ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่เลขที่ 99/1 หมู่ 5 ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65230 โทรศัพท์ 055 - 906 - 220 หรือต้องการสั่งซื้อพันธุ์พืชชนิดอื่นได้ผ่านช่องทาง “DOAE Marketplace” ทางเว็บไซต์ www.doae.go.th/doae_marketplace


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดสถานชีวาภิบาลต้นแบบ วัดพระบาทน้ำพุจังหวัดลพบุรี

 


เมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 09.30 น. นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดและเยี่ยมชมการดำเนินงานสถานชีวาภิบาลต้นแบบเขตสุขภาพที่ 4 ที่วัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ร่วมกับเจ้าคณะจังหวัดลพบุรีและพระราชสุทธิประชานาถ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ  

นายแพทย์อดิสรณ์ วรรธณศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ และผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงกำหนดนโยบายขับเคลื่อนสถานชีวาภิบาลในโรงพยาบาล 816 แห่ง และในชุมชน 166 แห่ง รวม 982 แห่ง ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อเป็นหน่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างสงบสุข รวมถึงผู้สูงอายุ พระสงฆ์ ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย การดูและผู้ป่วยที่บ้านจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ และลดภาระบุตรหลาน ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน 

ประกอบด้วย กิจกรรมหลักที่สำคัญ คือ การเข้าถึงยาที่จำเป็น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพ และการบูรณาการทำงานทุกภาคส่วน โดยเขตสุขภาพที่ 4 ได้คัดเลือกวัดพระบาทน้ำพุ เป็นสถานชีวาภิบาลต้นแบบ เนื่องจาก เป็นวัดที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและระยะประคับประคองมาอย่างยาวนานถึง 31 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาต่อยอดมาสู่การเป็นสถานชีวาภิบาลวัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ภายใต้การขับเคลื่อนแบบบูรณาการของเขตสุขภาพที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และได้รับเมตตาจากพระราชวิสุทธิ              ประชานาถ ผู้ก่อตั้งสถานชีวาภิบาล วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี อนุญาตใช้อาคารวลัยลักษณ์ วัดพระบาทน้ำพุซึ่งได้ก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2538  เป็นอาคารหลังแรกของวัดพระบาทน้ำพุที่ใช้เป็นสถานที่รักษา พักฟื้นผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยเริ่มรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าพัก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 เรื่องสถานชีวาภิบาล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและพระสงฆ์อาพาธ ให้มีคุณภาพ ที่ดีขึ้น โดยมีพระคิลานุปัฏฐากและผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) ที่ผ่านการอบรม ดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

วธ. จัดงานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ ยกย่องชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่น 248 แห่ง



วันที่ 18 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 248 แห่ง และสื่อมวลชน เข้าร่วมพิธี ณ ห้องนิทรรศการ 5  ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

  นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งเป็นแผนที่ดำเนินการต่อเนื่องจากแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 – 2565) มีเป้าหมาย “คนไทยมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมเพิ่มขึ้น มุ่งสู่สังคมคุณธรรมที่คนไทยอยู่ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์ ภายใต้หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และประเทศไทยปลอดทุจริตและประพฤติมิชอบ” และมีตัวชี้วัด ดัชนีคุณธรรม 5 ประการ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู” เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงในมิติด้านคุณธรรม มีคุณธรรมเป็นหลักยึดถือและปฏิบัติ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรมในสังคมไทยให้ปรากฏชัดและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กำหนดจัดงานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันที่ 18 เมษายน 2567  เวลา 09.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ 5  ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่น จำนวน 248 แห่ง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และเสริมแรงจูงใจในการส่งเสริมการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการสร้าง “สังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ได้เห็นชอบผลการประเมินและการประกาศยกย่อง ชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับส่งเสริมคุณธรรม ระดับพัฒนาคุณธรรม และระดับคุณธรรมต้นแบบ รวมจำนวน 42,430 แห่งและเห็นชอบผลการคัดเลือกชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่น จำนวน 248 แห่ง ประกอบด้วย ชุมชนคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 76 ชุมชน องค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 93 แห่ง อำเภอคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 75 แห่ง และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 4 จังหวัด ซึ่งจะได้รับโล่เชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและเสริมแรงจูงใจในการขับเคลื่อนชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการการทำความดี ตลอดจนการปรับเปลี่ยนวิธีคิด กรอบคิดหรือค่านิยม และพฤติกรรมของคนในสังคมให้มีการสะท้อนการมีคุณธรรมในการดำรงชีวิตจนเป็นพฤตินิสัยของคนไทย และมีผลงานเด่นชัดเจนเป็นที่ประจักษ์จนได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายคุณธรรมให้ประสบผลสำเร็จในทุกพื้นที่ ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม ปลุกจิตสำนึกและมีความตระหนักที่จะนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และคุณธรรม 5 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพคนและองค์กรเครือข่ายให้เป็นหลักนำทางและหลักคิดในการดำรงชีวิต นำพาประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...