วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

"ไพบูลย์"แถลง 18 กก.บห.พปชร.ลาออกมีผลตั้งแต่วันนี้



เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2563 นายไพบูลย์นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) แถลงว่า กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐได้แจ้งลาออก 18 ราย  มีผลตั้งแต่วันนี้   ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน จำนวน 34 คน ต้องพ้นสภาพทันที โดยจะให้มีการประชุมสามัญของพรรคเพื่อเลือกกก.บห.พรรคชุดใหม่ภายใน 45 วัน 

ดังนี้ 1.นายสันติ พร้อมพัฒน์ 2.นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ 3.นายสุพล ฟองงาม 4.นายธรรมนัส พรหมเผ่า 5.นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ 6.นายไผ่ ลิกค์ 7.นายนิโรธ สุนทรเลขา 8.นายสัมพันธ์ มะยูโซ้ะ 9.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 10.นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ 11.นายชาญวิทย์ วิภูศิริ 12.นายสกลธี ภัทรยิกุล 13.นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ 14.นายสุรชาติ ศรีบุศกร 15.นายนิพันธ์ ศิริธร 16.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 17.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน 18.นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ





ลุยแล้วนะ! "เสรีพิศุทธ์"ลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งซ่อมส.ส.ลำปางเขต 4




เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2563 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ลงพื้นที่เลือกตั้งซ่อม ส.ส.ลำปาง เขต 4  พร้อมเลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค  เพื่อมาช่วยผู้สมัคร ร.ต.ท.สมบูรณ์ กล้าผจญ  พร้อมกล่าวยืนยันว่า เราฝ่ายประชาธิปไตย 5 คนที่ลงสมัครครั้งนี้ มีฝ่ายประชาธิปไตยเพียงพรรคเดียวเท่านั้น คือ "พรรคเสรีรวมไทย" ขอให้พี่น้องประชาชนลำปางเขต 4 ทั้งจังหวัดช่วยกันสนับสนุนพรรคเสรีรวมไทย เพื่อที่จะปักธงประชาธิปไตยในพื้นที่ลำปางเขต4 นี้ให้ได้  ถ้าดูคะแนนในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว สรุปว่าคะแนนประชาธิปไตยเหนือกว่าเผด็จการ ถึง 2 เท่า เมื่อรวมพรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย ได้ประมาณ 7 หมื่นคะแนน แต่พรรคเผด็จการได้เพียงแค่ 3 หมื่นเท่านั้น

เพราะฉะนั้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ ฝ่ายประชาธิปไตยยังยืนยันที่จะลงคะแนนให้กับพรรคเสรีรวมไทย ที่เป็นตัวแทนของฝ่ายประชาธิปไตย เชื่อได้แน่ ว่าเราจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชน ลำปางเขต4 ได้แน่นอน

"สำหรับการโหวต พรบ. งบประมาณ ต้องกราบเรียนพี่น้องประชาชนตรงๆว่า  เราอยากที่จะให้รัฐบาลได้งบประมาณไปเยียวยาพี่น้องประชาชนที่ลำบาก  แต่การทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมาจะพูดว่าแค่ 1 ปี มันต้องพูดว่า 6 ปี เพราะการบริหารงานของคุณประยุทธ์ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีไม่ว่าจากการยึดอำนาจหรือมาจากการเลือกตั้งเผด็จการ เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่าคุณประยุทธ์ที่เป็นนายกรัฐมนตรี ใช้งบประมาณแผ่นดิน ผิดพลาดมาโดยตลอด ตั้งงบเกินดุลมาทุกปี หมายความว่า ใช้เงินเกินตัว กู้มาทุกปีตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา 2563 ก็ยังกู้ กู้จนหมดตัว เวลาเกิดโรคระบาดที่ต้องดูแลพี่น้องประชาชน เป็นอย่างไร ทำไม่ได้ ก็ต้องกู้อีก แล้วถ้าผมไม่สนับสนุนก็ไม่ได้ ก็ต้องให้ ให้โดยวิธีการ เมื่อไม่เห็นด้วยก็ต้องงดออกเสียง  ถ้าผมไม่เห็นด้วย ผมก็ต้องบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ผมทำไม่ได้หรอกครับ"พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวและว่า  

แต่ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีต่อมา คือ การตรวจสอบการใช้งบประมาณ ของรัฐบาลคุณประยุทธ์ ให้ถูกต้อง ชอบธรรม ไม่มีการทุจริต ก็เป็นประการต่อมา ที่พรรคเสรีรวมไทย จะต้องดำเนินการเข้มงวด แต่สื่อบางสื่อที่รับใช้เผด็จการ ไปโปรยหัวว่า งูเห่าเสรีรวมไทย ไม่มี...ท่านไปตรวจสอบดูได้ พรรคเสรีรวมไทยงดออกเสียงหมด งดออกเสียงก็คือ เพื่อให้งบประมาณนี้ผ่าน แต่สื่อเลือกข้าง สื่อเลวๆก็มี ท่านลองไปตรวจดูแล้วกันว่าสื่อไหน


เบื่อเต็มที่แล้ว! "สมคิด"ลั่นกลางสภาฯ เผย"บิ๊กตู่"เครียดจนตาโหล



เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ชี้แจงถึงการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขและเยียวยาสถานการณ์โควิด-19 ว่า มีบางจุดที่ต้องสร้างความเข้าใจกันให้ถูกต้อง เพราะว่ารัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎรยังต้องร่วมมือกันอีกยาว เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบง่ายๆ เป็นภาระที่ประชาชนจะต้องประสบกับความเดือดร้อน การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีโอกาสอภิปรายแสดงความเห็นให้กับรัฐบาลถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เชื่อว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงค์ชาติ สำนักงบประมาณ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จะรับเอาสิ่งเหล่านี้ไปพิจารณาปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้น ทราบว่าสมาชิกทุกคนก็เป็นห่วง
          
ทั้งนี้ เท่าที่ฟังมาทั้งหมด ไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.3 ฉบับ ก็ถือโอกาสนี้ชี้แจงว่าการกฎหมายนี้ จำเป็นเร่งด่วนจริงๆ สำหรับการจ่ายเงินเยียวยาในระยะสั้น หารือกันว่าจะหามาด้วยวิธีอะไร โดยงบประมาณที่มีอยู่ต้องเอามาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงขอให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณดูแลเรื่องนี้ เมื่อไม่พอก็ต้องให้สำนักบริหารหนี้สาธารณะเตรียมการกู้ยืม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวไว้แล้วว่ามีหลายช่วง เช่น การเยียวยาอย่างน้อยต้อง 3 เดือน เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบเท่านั้น ได้รับการเยียวยา และผู้ที่มีฐานะดีก็ควรจะเกื้อกูลให้กับคนที่มีฐานะลำบาก แต่ก็ให้หลักการว่าถ้าใครเดือดร้อนก็จะช่วยเต็มที่
          
พร้อมยอมรับประเทศไทยไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ไม่มี Big Data แต่โชคดีที่มีระบบพร้อมเพย์แล้ว ถ้าไม่มี 4.0 หรือไม่มีพร้อมเพย์ ภายใน 2 เดือน เงินไม่มีทางถึงชาวบ้านได้เร็วขนาดนี้ นี่คือการตระเตรียม และเห็นว่าการจ่ายเงิน 5,000 บาท น่าจะทำให้ประชาชนอยู่ได้ในช่วงสั้นๆ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่แค่นั้น เพราะตลาดตราสาร มีคนเริ่มไถ่ถอนกองทุน บางกองทุนเริ่มปิด ซึ่งตนเคยผ่านภาวะต้มยำกุ้งมาแล้ว เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหา ผลิตไม่ได้ เดินต่อไม่ได้ จะพากระทบไปถึงตลาดเงินและตลาดทุนทันที เพราะกิจการส่วนใหญ่ยึดตามตลาดหลักทรัพย์ที่มีความจำเป็น สุดท้ายไปพันที่ธนาคาร ถ้าสิ่งเหล่านี้ดำเนินไป ธนาคารจะไปไม่รอด ซึ่งปี 2540 ทุกอย่างตามไม่ทันเวลา สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ต้องตามไปเก็บศพ เอาทรัพย์สินที่เสียออกไปจากธนาคาร ให้ทุกอย่างมันเดินได้ แต่ครั้งนี้จะไม่รอถึงขนาดนั้น
          
ฉะนั้นมาตรการที่ออกมาทั้งหมด ต้องการเดินเชิงรุก ทำก่อน-ป้องกันก่อน ไม่ให้เกิดขึ้น จึงตั้งกองทุนดูแลตราสารหนี้มูลค่ามหาศาล และอย่าไปคิดว่าเป็นการอุ้มเจ้าสัว หากมีการไถ่ถอนแล้วหาใหม่ไม่ได้ จะล้มทันที และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะล้มทันที ระบบการเงินทั้งหมดพันกัน ธนาคารก็จะมีปัญหา และที่บอกว่าให้ขยายประกันเงินฝากเป็น 5 ล้านบาทออกไป ก็ช่วยกันไว้ก่อน เวลาคนแตกตื่นจะไปถอนเงินออกจากธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องปกติตั้งแต่สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แล้ว จึงต้องมองว่าเรื่องกองทุนเป็นสิ่งจำเป็น
          
ส่วนการปล่อยกู้ SME นายสมคิด กล่าวว่า ทุกคนห่วง SME จำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะไม่เคยอยู่ในระบบธนาคารหรือไม่มีสินทรัพย์ที่จะค้ำประกันได้ โดยกระทรวงการคลังหารือผู้ที่เกี่ยวข้อง เตรียมออกกองทุนโดยเป็นการบริหารจัดการอีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งผ่านอนุมัติหลักการโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมครั้งที่ผ่านมา นี่คือสิ่งที่เตรียมการไว้ล่วงหน้า
          
อย่างไรก็ตาม ภายใน 3 เดือนการเยียวยา เงินก็จะหมดแล้ว อย่างเก่งก็คือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม หลังจากนั้นเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจะมาจากไหน ทุกคนเลยคุยกันว่า ครั้งนี้ต้องใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสให้ประเทศไทย ที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าการอาศัยการส่งออกอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ดำริไว้นานแล้วว่า ต้องเติบโตจากภายใน สิ่งเหล่านี้ทำยากมากในยามปกติ แต่ในยามวิกฤตถือเป็นโอกาส เพราะขณะนี้ส่งออกไม่ได้ หลายประเทศเจอปัญหาหมด แต่ไทยโชคดีที่ตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา ทำโครงสร้างให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ไม่ต้องไปกู้เงินจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เพราะสามารถกู้ในประเทศและต่างประเทศได้ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทุกอย่างดีหมด แม้จะเจอสงครามการค้า การเลื่อนอนุมัติงบประมาณประจำปี 2563 แต่ก็ยังสามารถจำกัดการระบาดของโควิด-19 ได้อีก นี่คือเหตุผลที่ต้องออกพระราชกำหนด 3 ฉบับ
          
นายสมคิด กล่าวว่า เห็นใจแบงค์ชาติที่ต้องเข้ามา แต่ถ้าไม่เข้ามาก็จะไม่มีตรงกลางว่าจะทำให้ตลาดทุนเดินไปได้ ซึ่งเป็นการเสียสละของแบงค์ชาติ แต่ประเด็นที่จะหารือ การจะเอาเงินก้อนมาฟื้นฟูเศรษฐกิจไม่ใช่แค่การฟื้นฟูธรรมดา แต่มีการคุยกันว่าสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต้องเป็นฝ่ายทำงานหลัก อะไรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรชุมชน ความเข้มแข็งการท่องเที่ยว ที่สามารถดึงการสร้างงานสร้างรายได้เข้าไปสู่ชุมชน อะไรที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งจากเกษตรกรมาสู่ตลาดที่ขายได้ อะไรที่สร้างบุคลากรในท้องถิ่นได้ ดึงมหาวิทยาลัยเข้าไปในท้องถิ่น ทุกกระทรวงเข้าไปช่วยกัน
          
นี่คือที่มาที่ไปของเงินก้อนนี้ จะใช้เป็นฐานที่เข้มแข็งของประเทศไทย ต้องช่วยกันเงินก้อนนี้ไม่ให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง ซึ่งนายกรัฐมนตรีบอกเองว่าให้สภาพัฒน์ สำนักงบประมาณ และฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มาอยู่ตรงกลาง เป็นคนกลั่นกรอง และกำชับเลขาธิการสภาพัฒน์ว่า ต้องรับฟังความเห็นจากภายนอกและสภาผู้แทนราษฎร เพราะทุกคนมีความเป็นห่วง ทุกคนมีความคิดที่อยากจะแนะนำ ก็ต้องรับฟังไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ขออย่ากังวล
          
ส่วนโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นั้น ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีมาก ขณะที่ประเทศอื่นใกล้เคียงไม่มีโครงการใดเป็นหลัก แต่ประเทศไทยมี EEC ถ้าใช้จังหวะนี้สร้างบุคลากร สร้างความพร้อม สร้างศักยภาพซึ่งมีพื้นฐานไว้แล้ว เมื่อพ้นโควิด-19 มีโอกาสกระโดดไปข้างหน้าก่อนคนอื่น ต้องใช้จังหวะนี้สร้างคน ซึ่งงบประมาณ 400,000 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็สามารถใช้ได้ และเมื่อหมดสถานการณ์นี้ จะมีข้อมูลมหาศาล มี Big Data ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมการต่อไป เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ประคองให้ประชาชนสามารถอยู่ถึงปีหน้า ดังนั้นคิดว่าเหตุการณ์ในช่วงนี้แค่ 3 เดือน เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีอีกยาวที่ต้องทำงานด้วยกัน ฉะนั้นถือโอกาสนี้ชี้แจงด้วยความเคารพ ไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น และดีที่สุดหากจะมีการตรวจสอบความโปร่งใส ชาวบ้านจะได้อุ่นใจ เพราะเงินนี้เป็นเงินก้อนที่ใหญ่มาก จะได้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน อยากให้สภาและพรรคการเมืองมีความสามัคคี ไม่เช่นนั้นจะผ่านสถานการณ์โควิด-19 ไปถึงปีหน้าได้อย่างไร ประชาชนจะพึ่งพาจากใคร

อย่างไรก็ตามนายสมคิด ได้ลุกขึ้นชี้แจงตอนหนึ่งหลังถูกพาดพิงในตอนหนึ่งว่า "Somkid’s Doctrine ไม่มี และไม่เคยมี ผมทำงาน รับใช้รัฐบาล รับใช้บ้านเมืองมา 10 ปี แล้ว เบื่อเต็มที่แล้ว อยากสร้างคนรุ่นใหม่มาทำงาน มาดูแลแทนคนเก่าคนแก่ที่อายุมากแล้ว และไม่เคยมีการอุ้มเจ้าสัว

นายสมคิดยังกล่าวเพิ่มอีกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เครียดจนตาโหล  

"ดูท่านนายกฯสิตาโหลมั้ย ความเครียด ที่เผชิญมันต้องมี อยู่แล้ว และผมอยากให้ รัฐบาล กับ สภา และพรรคการเมืองต่างๆ สามัคคีกัน ทำงานร่วมกัน ไม่อย่างนั้น เราจะผ่านโควิดฯไปถึงปีหน้า ได้ยังไง ประชาชนจะพึ่งใคร"นายสมคิดกล่าว  

"สิระ"แขวะ "ส.ส.ชุบแป้งออสซี่" 60 คน หนุน"อุตตม-สนธิรัตน์"



"สิระ"แฉ ส.ส.ร่วมวง "อุตตม" แค่ 26 คน แขวะ นำ ส.ส.ชุบแป้งออสฯเป็น 60 คน หวังทำให้ใหญ่ขึ้น ถาม "อุตตม-สนธิรัตน์" ไม่ร่วมประชุมพรรค ยังเหมาะสมเป็น หน.-เลขาฯต่อหรือไม่

เมื่อเวลา 16.10 น.วันที่ 31 พฤษภาคม 2563  นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่มีผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมด้วย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแกนนำพรรคฯ นำ 60 ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐ ให้กำลังใจนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้ทำหน้าที่ในการดูแลงบประมาณและเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19 และสนับสนุนให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐต่อไปด้วยว่า 

ในวันนี้ทางพรรคพลังประชารัฐได้มีการนัดประชุมพรรค โดยเปลี่ยนมาใช้สถานที่รัฐสภา เวลา 10.30 น.แทน แต่นายอุตตม,นายสนธิรัตน์ และร.อ.ธรรมนัส กลับนัด ส.ส.ในกลุ่มของตัวเองในเวลาเดียวกัน ตนจึงอยากถามไปถึงทั้ง 3 คนว่า รู้จักหน้าที่ของตัวเอง และให้เกรียติพรรคหรือไม่ เพราะทางพรรคได้นัดเวลาสถานที่ เพื่อประชุมอย่างชัดเจน ซึ่งมีการแจ้งต่อสมาลิกทุกคนให้ทราบล่วงหน้าแล้ว แต่กลับไม่ให้ความสนใจกิจกรรมของพรรค หรือว่าทั้ง 3 ท่านมีความคิดที่จะไปตั้งพรรคใหม่ตามที่มีข่าวออกมา จึงไม่ใส่ใจกิจกรรมของพรรคพลังประชารัฐแล้ว 

"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผมขอถามไปถึงนายอุตตมและนายสนธิรัตน์ ว่ายังสมควรที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าและเลขาธิการพรรคต่อไปหรือไม่ เพราะผมไม่รู้ว่าการกระทำเช่นนี้ทำไปเพื่อสร้างความขัดแย้งภายในพรรค หวังผลให้ทีความแตกแยกหรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าทั้ง 3 คนควรที่จะหยุดบิดเบือน สร้างความแตกแยกได้แล้ว" นายสิระ กล่าว 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงจำนวน ส.ส.ที่ไปร่วมให้กำลังใจอุตตม นายสิระ กล่าวว่า ตนมีรายชื่อ ส.ส.ที่ไปร่วมมีจำนวนเพียงแค่ 26 คน แต่ที่กล่าวอ้างว่ามีถึง 60 คนนั้น ตนคิดว่าเป็นการพูดให้ดูมีจำนวนมาก เปรียบเสมือนการนำ ส.ส.ไปชุบแป้งทอด ให้ดูใหญ่และเยอะขึ้น โดยคาดว่าน่าจะเป็นแป้งจากประเทศออสเตรเลีย

สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชาเสด็จชมพระองค์ใหญ่จังหวัดพระวิหาร



เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม  2563 เพจSamdechDr Sovanratana ได้เผยแพร่ภาพ สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี เทพวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายมหานิกาย ได้เสร็จเยี่ยมชมพระองค์ใหญ่สร้างจากหินโคลน ซึ่งตั้งอยู่ที่ตลาดเหล็กคอมมูน อ.ปองฮาจ จ.พระวิหาร ประเทศกัมพูชา ขณะนี้สร้างใกล้จะเสร็จแล้ว โดยจะเป็นศูนย์รวมพระพุทธศาสนาประเทศกัมพูชา

"อุตตม"ยันออกพ.ร.ก.กู้เงินแก้โควิด ไม่ได้อุ้มนายทุนรายใหญ่บางกลุ่ม



"อุตตม"ยันออกพ.ร.ก.กู้เงินพยุงเศรษฐกิจ รักษาเอสเอ็มอี ไม่ได้อุ้มนายทุนรายใหญ่บางกลุ่ม  "สุทิน"อัดมาตรการการช่วยเหลือ SME มุ่งชายรายใหญ่ รายเล็กตายแถมมีข่าวกลุ่มทุนจีนสามารถเข้าถึงได้ด้วยยิ่งถ้าประเทศไทยเข้าสู่การเป็น CPTPP อีกยิ่งตายสนิท

นายอุตตม สาวนายน รมว. คลัง ชี้แจงต่อการอภิปรายของนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ถึงการจัดการเกี่ยวกับภัยโควิด โดยยืนยันว่ารัฐบาลไม่ต้องการเกิดผลกระทบรุนแรงจนกระทบเศรษฐกิจ จึงได้จัดการด้านสาธารณสุขเป็นอันดับแรกและดำเนินการไปได้ดี ส่วนด้านเศรษฐกิจเรามุ่งเน้นเรื่องการเยียวยาปัญหาขาดสภาพคล่องสำหรับประชาชน ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs โดยมีมาตรการต่างๆออกมา และส่วนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วันนี้รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการ เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการรายเล็กเพื่อให้ก้าวสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่จะมาถึง ซึ่งไม่ใช่แค่การเอาเงินเยียวยาให้ประชาชนเท่านั้น แต่มีทั้งเรื่องเยียวยาและฟื้นฟูที่ได้พยายามให้ดำเนินการต่อเนื่องและสอดรับกับแผนพัฒนาประเทศยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ แต่ก็จำเป็นต้องมีตัวเงินใส่เข้าไปในแผนฟื้นฟู แต่จะไม่ใช่มาตรแต่เรื่องเยียวยา เพราะ ขณะที่ผู้ประกอบพยายามปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่หรือ New Normal ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สภาพคล่องในการปรับตัวเอง โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการกับภาคส่วนต่างๆในการออกมาตรการที่ไม่ใช่ตัวเงินออกมา เช่นการเสริมทักษะสร้างงาน สร้างบุคลากร โดยเน้นในพื้นที่ในระดับชุมชนเป็นหลักโดยภาคเครือข่ายต่างๆไปพร้อมกัน มีพรก.เงินกู้เพื่อการเยียวยา 4 แสนล้านบาท มาสอดรับกับสิ่งเหล่านี้

"การดำเนินมาตรการเยียวยาเราพยายามให้ตรงเป้าหมายที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องความเร่งด่วนที่จะต้องเข้าไปดูแลอย่างรวดเร็ว ภายใต้ระบบของประเทศที่มีอยู่ และข้อมูลที่มี หลายอย่างเราอยากทำให้เร็วกว่านี้แต่ก็จำเป็นต้องเยียวยาให้ถูกคน และใช้งบประมาณอย่างรัดกุมคุ้มค่าเพราะเป็นเงินของชาติ จึงจำต้องใช้เวลา แต่เมื่อดำเนินการไปก็มีการปรับปรุง และรับฟังคำติชม ทักท้วงและปรับจนสามารถดำเนินการอย่างที่ได้เห็นผลแล้วในวันนี้สำหรับการดูแลกลุ่มต่างๆด้วยกลไกและมาตรการที่มีอยู่" 

ส่วนประเด็นการกู้เงินและการบริหารจัดการภาระหนี้ของประเทศ ขอชี้แจงว่ากระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีแผนการระดับสากลเพราะมีประสบการณ์พอสมควร โดยจะใช้ตราสารการเงินในรูปแบบที่ดี เพื่อกระจายความเสี่ยง เพิ่มความสมดุลย์ ไม่กระทบส่วนใดของตลาดเงินมากเกินไป เช่นเครื่องมือระยะยาวมีการออกพันธบัตรรัฐบาล และพัมธบัตรออมทรัพย์ที่ออกไป โดยต้องการให้ประชาชนมีโอกาสได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาโควิดครั้งนี้ โดยผ่านการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ และยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ลงทุนในภาวะนี้ที่ดอกเบี้ยธนาคารต่ำ ประชาชนเข้าถึงกำหนดได้เพราะกำหนดซื้อได้อย่างต่ำ1 พันบาท ไม่เกินคนละ 2 ล้านบาท เพราะต้องการให้กระจายไปถึงประชาชนรายย่อย 

ส่วนการกู้ระยะสั้นก็มีเครื่องมืออื่นเช่น ตั๋วเงินคลัง สัญญาใช้เงินต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมามีการกู้ไปแล้ว 1.7 แสนล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ1.5 เป็นอัตราที่สอดคล้องกับภาวะตลาดเงิน ตลาดทุนในปัจจุบัน หากในอนาคตมีการเปลี่ยนไปก็จะดูแลให้การระดมเงินผ่านการกู้ต่างๆให้สอดรับกับสภาวะของตลาดด้วย ส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 อัตราส่วนอยู่ที่ร้อยละ 40 แต่เราจำต้องกู้เพื่อมาสู้กับโควิดได้ ทำให้อัตราส่วนจำเป็นต้องขึ้นไปสูงขึ้น มิเช่นนั้นจะสู้ภัยไม่ได้ แต่หากไม่มีภัยนี้แล้วตนเชื่อว่าหนี้สาธารณะก็อยู่ในระดับร้อยละ40 กว่าต่อไป


สำหรับประเด็นข้อกฎหมายที่ว่าพ.ร.ก. บีเอสเอฟ ฉบับที่ 3 ให้อำนาจรมว. คลังมากเกินควร ขอเรียนว่าไม่ได้ให้อำนาจเกินควร เพราะในมาตรา 5 แม้จะให้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเพื่อให้การดำเนินการตามพ.ร.ก.ความสามารถดำเนินการได้โดยไม่เกิดอุปสรรคและความเสียหายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไม่อาจปล่อยให้เนิ่นนานล่าช้าในภาวะเช่นนี้ อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจของรัฐมนตรีนี้ยังต้องอยู่ภายใต้หลักของการสุจริตโปร่งใส และการขัดกันของผลประโยชน์ แม้จะให้ถือว่าคำ”วินิจฉัย”ของรัฐมนตรีถือเป็นที่สุด แต่ก็ในเชิงบริหารเท่านั้น การใช้อำนาจการบริหารยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบตามกระบวนการยุติธรรมของศาลตามหลักการแบ่งแยกอำนาจตามปกติ ไม่ได้ให้อำนาจสูงสุดแต่รัฐมนตรีเทียบเท่าศาล เนื่องจากการวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้ตัดสิทธิ์ในกระบวนการทางศาลแต่อย่างใด หากไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยก็สามารถใช้กระบวนการทางศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐมนตรีคลังได้ในทุกเวลา และรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบ

ส่วนมาตรา19 วรรคหนึ่งที่มองว่าการกำหนดให้ธปท.โดยความเห็นชอบของรมว. คลังมีอำนาจซื้อขายตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ไม่ใช่ตราสารหนี้ออกใหม่นั้น เป็นการให้อำนาจรัฐมนตรีที่ขัดต่อมาตรา 77 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญ ขอชี้แจงว่ามาตรา 19 วรรคหนึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้ดุลพินิจไว้ 2 เงื่อนไข คือ 1 .ต้องเป็นกรณีที่ตราสารหนี้ประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากโควิด19 และ2.มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินโดยรวม ถือเป็นกรณีที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของธปท.และรมว. คลังไว้แล้ว และยังกำหนดให้มีผู้พิจารณา2 ขั้นตอน เพื่อความรอบคอบโดยผ่านการพิจารณาของธปท.และรมว.คลัง ส่วนเรื่องระยะเวลาการใช้ดุลพินิจ เนื่องจากเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งเป็นเงื่อนไขหลักของการพิจารณาของธปท.และรมว. คลัง จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้บริการในภาวะเช่นนี้ จึงยืนยันว่าบทบัญญัติมาตรา 19 ของพรก.นี้ไม่ได้ต่อมาตรา 77 วรรค 3แต่อย่างใด

"ผมขอยืนยันว่ากองทุนบีเอสเอฟไม่ได้อุ้มบริษัทใหญ่หรือบริษัทที่ออกตราสารใด แต่มีความจำเป็นจริงที่เราต้องดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ออกหุ้นกู้เท่านั้นไม่ว่าขนาดแค่ไหน แต่สำคัญคือเกี่ยวข้องกับประชาชนที่ถือตราสารหนี้ที่มีจำนวนมากในปัจจุบัน การดำเนินการของกองทุนดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในกลไกการรักษามูลค่าเงินออม และเงินทุนของประชาชน และเป็นการช่วยเหลือผู้ออกหุ้นกู้โดยคิดดอกเบี้ยแพงเป็นพิเศษหากเทียบกับพรบ.ฉบับที่ 2 หรือซอฟท์โลนช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME s ที่ให้ดอกเบี้ยถูกเป็น แต่ฉบับที่3 จะให้ดอกเบี้ยแพงเป็นพิเศษถึงจะได้รับความช่วยเหลือ" นายอุตมมกล่าว

น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า พ.ร.ก.ซอล์ฟโลน วงเงิน 5แสนล้าน มีเอสเอ็มอีเข้าหลักเกณฑ์ช่วยเหลือ 1.9 ล้านราย หรือเฉลี่ยได้รับการช่วยเหลือรายละ 263,158บาท ต่างกันถึง12,167เท่า บ่งบอกว่ารัฐบาลลำเอียงเข้าข้างทุนใหญ่ชัดเจน ที่สำคัญหน้าตาของทุนใหญ่ที่ 125บริษัทมีมูลค่าตราสารหนี้รวม 8.9แสนล้านบาทพบว่าทุนเกือบครึ่งหนึ่งเป็นของทุนใหญ่จาก 4 บริษัท ถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องอุ้มเศรษฐกิจ กลัวเศรษฐีไม่มีเงินใช้หนี้ ทุนใหญ่เหล่านี้ล้วนใกล้ชิดรัฐบาล อยากให้ทุนใหญ่ประกาศว่า จะไม่ใช้ผลประโยชน์จากกองทุนนี้ เพื่อให้กันวงเงิน 400,000 ล้านบาทของพ.ร.ก.ฉบับนี้ไปช่วยธุรกิจเอสเอ็มอี

ส่วนนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายสรุปข้อเสนอแนะการอภิปราย ประกอบการลงมติพระราชกำหนด 3 ฉบับ เกี่ยวกับการแก้ไขและเยียวยาสถานการณ์โควิด-19 แม้จะเป็นการกู้เงินโดยตรง 1 ล้านล้านบาท และอีก 900,000 ล้านบาท เป็นการสภาพคล่อง แต่ถือเป็นเงินที่ประชาชนต้องรับผิดชอบด้วยกันทั้งหมด จึงเป็นสิทธิ์ที่ประชาชนควรจะรู้ ซึ่งนายธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าสัว CP บอกว่าจำเป็นต้องกู้ 3 ล้านล้านบาท ด้วยซ้ำ แต่หากกู้มาแล้วเจ๊ง ก็ไม่ต้องกู้ หรือกู้แค่ 600,000 ล้านบาท เพื่อการเยียวยา นอกนั้นก็ให้เป็นไปตามงบประมาณปกติ แต่หากรัฐบาลยังสับสน ไม่มีอะไรเป็นตัวชี้วัด สุดท้ายจะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับการบินไทย รวมถึงไม่มีความชัดเจนว่าจะกู้จากแหล่งเงินที่ใด หากจะกู้ IMF หรือ World Bank ก็เสี่ยงเกิดการแทรกแซงกำกับประเทศ แต่ก็เป็นไปได้ยากที่จะสามารถกู้ได้ หากระบบตรวจสอบภายในยังเป็นแบบนี้
          
นายสุทิน กล่าวว่า โควิด-19 โจมตีเป็นระยะเวลา 3 เดือน ไม่ใช่เฉพาะแนวรบด้านสุขภาพเท่านั้น แต่กระทบด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมด้วย แต่รัฐบาลประมาท หลงตัวเองว่าควบคุมได้ จึงมีความเสี่ยงหากมีการระบาดรอบ 2 พร้อมเทียบหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น เวียดนาม ลาว กัมพูชา สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และยังไม่มีการกู้เงิน พร้อมวิเคราะห์สาเหตุที่หลายประเทศแถบอาเซียนสามารถควบคุมการระบาดได้ดี เพราะภูมิอากาศร้อน ควบคุมการระบาดได้ง่าย แต่ก็ต้องรับมือหากระบาดอีกในหน้าหนาวจะเอาอยู่หรือไม่ พร้อมเตือนถึงหมอและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทำงานได้ดีแล้ว แต่อย่าตกไปเป็นเครื่องมือของรัฐบาล
          
นายสุทิน ยังกล่าวถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเปรียบประเทศเหมือนคนป่วยโรคเบาหวาน ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นหมอรักษา ให้ยาโดยการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดเมือง จนได้ผลน้ำตาลลดลง แต่กลับเกิดผลข้างเคียงที่ไตคือระบบเศรษฐกิจพังทั้งประเทศ ซึ่งขณะนี้ถูกต้องแล้วที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเยียวยาให้คนรอดตายก่อน แต่ก็เกิดปัญหาเยียวยามาครอบคลุม ไม่ทันเวลา ล้มเหลว การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ายังไม่สามารถทำให้ดีได้ ขณะเดียวกันไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ส่วนหนี้สาธารณะวันที่นายกรัฐมนตรีเข้าสู่ตำแหน่งอยู่ที่ร้อยละ 36 แต่ปี 2564 หนี้สาธารณะจะถึงร้อยละ 57 ของ GDP เป็นการกู้เงินจนเต็มโควตา ไม่เหลือให้รัฐบาลต่อไป ขณะที่กลุ่มเจ้าสัวก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวเอาเงินไปฝากธนาคารไว้ถึง 800,000 ล้านบาทแล้ว
          
นายสุทิน อภิปรายถึงการตั้งงบฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท ว่านายกรัฐมนตรียังใช้วิธีคิดแบบเดิม ส่วนใหญ่เป็นการอบรมสัมมนาภาคการเกษตร จึงขอให้นำงบประมาณไปพัฒนาแห่งน้ำ สร้างการตลาดให้ชัดเจน ซึ่งรัฐบาลต้องทำให้ถูกทิศคิดให้ถูกทาง ถ้าใช้เกษตรอัจฉริยะก็แค่ครอบคลุมไม่กี่กลุ่ม กล้าหรือไม่ ที่จะใช้งบ 7 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ เพราะไม่เชื่อว่าการอบรมจะทำให้ภาคการเกษตรแข็งแกร่งจริง ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว เมื่อประชาชนไม่มีเงิน ก็ไม่มีอารมณ์ไปเที่ยว เกิดเป็นปัญหา สุดท้ายงบประมาณส่วนนี้ก็จะล้มเหลวอีก ขณะที่งบฟื้นฟูด้านสาธารณสุข 45,000 ล้านบาท ก็เชื่อว่าจะทำให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการแพทย์ได้
          
นายสุทิน กล่าวว่า สำหรับมาตรการการช่วยเหลือ SME เป็นการช่วยเหลือรายใหญ่เยอะ รายเล็กตกไปเยอะ และมีข่าวว่ากลุ่มทุนจีนสามารถเข้าถึงได้ด้วย ยิ่งถ้าประเทศไทยเข้าสู่การเป็น CPTPP อีก ยิ่งตายสนิท เพราะจะไม่เหลือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจไว้เลย ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่มีสิทธิ์เอามาปลูกใหม่ รัฐวิสาหกิจในประเทศเปิดช่องให้ต่างชาติมาถือหุ้นได้ โดยกลุ่ม SME แห่มาหาตนเองที่พรรคเพื่อไทย มาปรับทุกข์ขอให้ออกกฎหมายตั้งสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพราะองค์กรไม่แข็งแรงไม่มีอำนาจต่อรอง รวมตัวกันไม่ติด จึงมีการเสนอต่อสภาแล้ว เป็นเรื่องที่รออยู่ในวาระ
          
นายสุทิน กล่าวว่า การออก พ.ร.ก.ซื้อหุ้นกู้จากภาคเอกชน การใช้สภาพคล่องของธนาคารแห่งประเทศไทย สุดท้ายก็มาเป็นภาระหนี้ของประเทศ ซึ่งในประวัติศาสตร์ แบงค์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย เคยสร้างเคยมีการตั้งกองทุนไปซื้อหนี้เสียจากบริษัทเอกชนโดย รปส. จนต้องขายหนี้เสียราคาต่ำในที่สุดประเทศ เป็นหนี้ 8 แสนล้านบาทจนวันนี้ แล้ววันนี้จะไปซื้อหุ้นกู้เอกชน ถามว่ามีเหตุผลหรือไม่ ซึ่งมีเหตุผลว่าตลาดทุนพวกนี้มูลค่า 3.8 ล้านล้านบาท แต่มองว่าหลายบริษัทใหญ่ๆ สามารถช่วยตัวเองได้ ไม่จน มีสินทรัพย์เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ รายงานสำนักข่าวบลูมเบิร์กระบุว่ามีทุนใหญ่ของไทยระดมเงินฝากร่วม 800,000 ล้านบาท แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็กล่าวว่าตนเองไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ ไม่ทันเขา และกำลังจะสร้างตำนานล้มบนฟูกอีกรอบ แกล้งจน แกล้งไม่มีใช้ แกล้งล้มละลาย แล้วให้คนอื่นไปใช้หนี้แทน แล้วตัวเองก็หอบทรัพย์ออกไป จึงมองว่าแบงค์ชาติต้องสร้างความเชื่อมั่น ไม่จำเป็นอย่าลงไปทำเอง
          
นายสุทิน กล่าวว่า การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ อยู่ที่เป้าหมายของรัฐบาล หากอยากให้วงล้อทางเศรษฐกิจหมุน ก็สามารถทำได้โดยการลงเม็ดเงินในระบบ แต่ถ้าวงล้อเศรษฐกิจไม่หมุน ทุกอย่างจะตีกลับ กลายเป็นค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่จำเป็นทันที หนี้สาธารณะอาจสูงถึงร้อยละ 70 ของ GDP พร้อมชี้ให้เห็นว่าปัจจัยโลกเปลี่ยนไป เป็นเศรษฐกิจแบบชาตินิยม ตราบใดที่ยังไม่ปฏิรูปประเทศ ก็ยังมีเรื่องให้ต้องบ่นกันอยู่ การปฏิรูปที่สำคัญคือระบบราชการและจะลองรับ New Normal ได้อย่างไร ถ้าปล่อยให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ สุดท้ายจะเป็นการใช้ชาวบ้านคนจนเป็นที่ผ่านเงินเท่านั้น จึงมองว่ารัฐบาลต้องการแค่รอบหมุนทางเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นอะไรที่ใจร้ายมาก เพราะเงินกู้นี้สุดท้ายจะไม่ฟูและเป็นหนี้ เชื่อว่าพลเอกประยุทธ์จะหนีก่อนที่จะเศรษฐกิจจะล้มต่อหน้า และให้คนอื่นมาอุ้มศพต่อ ประเทศต้องรับกรรมรับผิดชอบ ชาวบ้าน 70 ล้านกว่าคนต้องมาใช้หนี้ มาตรการทุกอย่างจะรีดเงินถึงชาวบ้านหมด
          
สำหรับการตรวจสอบ นายสุทิน กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้มีปัญหา โดยคณะกรรมการวินิจฉัยข้อขัดแย้งในการปฏิบัติจัดซื้อจัดจ้าง ไปแก้ระเบียบปกติ ว่าไม่ต้องทำการจัดซื้อจัดจ้างระบบ E-Bidding ไปตลอดการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเหมือนการเปิดทางให้มีการทุจริต จึงควรให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญมาตรวจสอบ แต่ฝ่ายรัฐบาลก็ยังเงียบ มีเพียงเงื่อนไขให้รายงานต่อสภาฯ ปีละครั้งเท่านั้น พร้อมตั้งข้อสังเกตปัญหาการใช้กองทุนประกันสังคม ที่ประชาชนฝากไว้ แต่ยังไม่สามรถนำเงินออกมาใช้ได้

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

68วันแล้ว! ดร.หลวงพ่อแดงตั้งโรงทานออกช่วยโยมสู้ภัยโควิด-19



เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 31 พฤษภาคม  2563 เพจพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ ดร.หลวงพ่อแดง นันทิโย  รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.สมุทรสงคราม ได้โพสต์ข้อความว่า พระสงฆ์ไม่ทิ้งประชาชน วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เวลา 08.10 น. (วันที่ 68)‼ #ศูนย์ช่วยเหลือของโรงทานวัดอินทาราม จ.สมุทรสงคราม และภาคีเครือข่าย โดยพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ,ดร. ร่วมเดินเท้าลงพื้นที่ #มอบข้าวสาร อาหารแห้ง ที่นอน แพมเพิส ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผมตราดอกบัวคู่ ให้กับประชาชนที่เดือดร้อน เช่นคนชรา ผู้ป่วยติดเตียง งานนี้ลงพื้นที่แจกถึงบ้าน สนองพระดำริของเจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบความยากลำบาก รวมทั้ง เปิด##ตู้พระทำนำสุข ตลอด 24 ชม. ให้กับผู้ประสบความยากลำบาก ในสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้

ขณะเดียวกันเพจ "วัดพระพุทธแสงธรรม สระบุรี" ได้มีการไลท์สดพระพาญาติโยมนั่งรถออกตระเวณช่วยเหลือแจกเงินสิ่งของกับผู้ตกทุกข์ได้ยากถือว่าเป็นพุทธปกติใหม่อีกประการหนึ่ง

พระถาม! กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา เสี่ยงระดับไหน? ถึงไม่ได้รับผ่อนปรนเฟส 3



วันที่ 30 พฤษภาคม 2563 เพจ Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า   “กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา เสี่ยงระดับไหน ???”

@ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 นี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 โดยให้กิจการและกิจกรรมเสี่ยงปานกลาง-สูงกลับมาเปิดบริการได้ ขยายเวลาเปิดห้างสรรพสินค้าถึง 21.00 น. ปรับลดเวลาเคอร์ฟิวเหลือ 5 ชั่วโมง ตั้งแต่ 23.00-03.00 น. และอนุญาตให้ประชาชนเดินทางข้ามจังหวัดได้หากมีความจำเป็น โดยกิจการและกิจกรรมที่กลับมาเปิดให้บริการได้ในระยะที่ 3 จะต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด ทั้งการวัดอุณหภูมิและสังเกตอาการป่วยของพนักงานและผู้ใช้บริการ การลงทะเบียนกับแพลตฟอร์มไทยชนะ และต้องพัฒนานวัตกรรมป้องกันควบคุมโรคในระยะยาว ในขณะที่ยังให้คงมาตรการห้ามเข้าราชอาณาจักรไว้เช่นเดิม เพราะยังมีความเสี่ยงในการนำเชื้อเข้ามาจากต่างประเทศ คนไทยที่เดินทางกลับเข้าประเทศต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคเช่นเดิม

@ รายละเอียดเกี่ยวกับการผ่อนปรนในระยะที่ 3 (ตามที่ เลขา สมช.ชี้แจง) มีดังนี้

> เคอร์ฟิว : ปรับเวลาเป็น 23.00-03.00 น.

> ห้างสรรพสินค้า : ขยายเวลาปิดให้บริการจาก 20.00 เป็น 21.00 น.

> โรงเรียนและสถานศึกษา : ให้ใช้สถานที่ในการสอบคัดเลือกและอบรมระยะสั้นได้

> ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก : เปิดเฉพาะเพื่อทำการประกอบอาหารให้ผู้ปกครองมารับ ยังไม่มีการนำเด็กมา

> ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมและการจัดนิทรรศการ : เปิดดำเนินการได้เฉพาะที่มีพื้นที่ไม่เกิน 20,000 ตร.ม.และต้องปิดในเวลา 21.00 น.

> ศูนย์พระเครื่อง สนามพระเครื่อง : เปิดดำเนินการได้แต่ต้องควบคุมจำนวนคนไม่ให้หนาแน่นเกินไป

> ร้านเสริมสวย สถานเสริมความงาม ร้านตัดผม : เปิดบริการทุกรูปแบบได้ยกเว้นกิจกรรมที่มีการสัมผัสบริเวณใบหน้า แต่ต้องใช้เวลาทำไม่เกิน 2 ชม. และห้ามนั่งรอในร้าน

> ร้านนวดเพื่อสุขภาพ สปา นวดแผนไทย นวดเท้า : ต้องให้บริการไม่เกิน 2 ชม.ต่อราย งดการอบไอน้ำ อบตัว

> ฟิตเนส : ให้ทำกิจกรรมได้ทั้งหมด แต่จำกัดระยะเวลาให้บริการ

> โรงภาพยนตร์ : จำกัดผู้เข้าชมไม่เกิน 200 คน นั่งคู่กันได้ แต่ต้องจัดที่นั่งให้มีระยะห่าง

> สถานที่ออกกำลังกาย : ให้ทำกิจกรรมได้ทุกประเภท แต่ต้องมีมาตรการป้องกันโรคกำกับ และกำหนดระยะเวลาการให้บริการ

> สนามกีฬาเพื่อการฝึกซ้อม : เปิดให้บริการทั้งสนามฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล มวย วอลเลย์บอล บึงน้ำเพื่อการเล่นกีฬาทางน้ำ แต่ต้องมีมาตรการรักษาระยะห่าง จำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เกิน 10 คนต่อครั้ง และจำกัดเวลา

> ลานกิจกรรม : ลานโบว์ลิง สเกต โรลเลอร์เบลด สถานลีลาศ เปิดให้บริการได้แต่ต้องจำกัดผู้ใช้บริการและกำหนดเวลา

สวนสัตว์ สถานที่จัดแสดงสัตว์: เปิดได้ตามปกติ

> การเดินทางข้ามจังหวัด:ทำได้แต่ขอความร่วมมือให้เดินทางเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และไม่ใช่การเดินทางท่องเที่ยว

@ ผ่านมาตรการผ่อนปรนมาถึงระยะที่ 3 แล้ว ยังไม่ปรากฏ “กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา” ในอยู่ในระยะใดเลย และเชื่อ(โดยสุจริตใจ)ว่า คงไม่มี “กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา” ปรากฏอยู่ในรายการผ่อนปรนในระยะใดเป็นแน่ รวมถึงในในระยะที่ 4 ซึ่งจะเป็นการผ่อนปรนให้กิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงสุด ที่กำหนดจะให้กลับมาเปิดบริการได้ในราวกลางเดือนมิถุนายนนี้

@ ในแง่ความเสี่ยง “กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา” น่าจะเสี่ยงน้อยกว่า “ห้างสรรพสินค้า” หากพิจารณาจากสถานที่ ในขณะที่วัดมีที่โล่งแจ้งมากมาย ที่สามารถจัดกิจกรรมโดยเว้นระยะห่างได้อย่างสบาย ๆ อีกทั้งในปัจจุบันนี้ในวันธรรมดาก็จะไม่มีกิจกรรมอะไรภายในวัดมากนัก เว้นแต่กิจกรรมวันพระหรือวันธรรมสวนะ ที่จะมีกิจกรรมการทำบุญตักบาตร ซึ่งก็มีญาติโยม(โดยเฉพาะผู้หญิงที่สูงอายุ)มาร่วมกิจกรรมไม่มากนัก โดยเฉลี่ยน่าจะไม่เกิน 20 คน กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่จะมีญาติโยมเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากก็เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่มีกิจกรรมทั้งวัน มีการทำบุญตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา และการเวียนเทียน

@ มีหลายคนถามว่า “กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา” จะได้รับการผ่อนปรนในระยะใด ???

@ ส่วนใหญ่ก็กล่าวโทษไปที่ “ประกาศกรมการศาสนา” กระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง “งดการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ” ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2563 ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะประกาศฉบับดังกล่าวมุ่งหมายจำเพราะกิจกรรมที่กรมการศาสนาได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีมาดำเนินการ และเนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องปรับเกลี่ยงบประมาณประจำปี 2563 กรมการศาสนาจึงจำเป็นต้องงดกิจกรรมดังกล่าว

@ ต้นตอที่มาที่แท้จริง ในการให้วัดทุกวัดงดจัดกิจกรรมทุกประเภท น่าจะมาจาก “มติมหาเถรสมาคม” ครั้งที่ พิเศษ2/2563 มติที่ พิเศษ2/2563 (10 เมษายน 2563) เรื่อง “ให้วัดทุกวัดงดจัดกิจกรรมทุกประเภท” ซึ่งมุ่งหมายในการป้องกันพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรค จึงเห็นควรให้วัดทุกวัดทั่วราชอาณาจักรและวัดไทยในต่างประเทศงดจัดกิจกรรมที่ประชาชนมารวมกลุ่มกันทุกประเภท ยกเว้น “การปฏิบัติกิจของสงฆ์” โดยให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2563 และแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจะเข้าสู่ภาวะปกติ

@ ปัญหาก็คือ “มหาเถรสมาคม” จะมีมติใหม่ออกมาเพื่อผ่อนปรนให้วัดสามารถจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาภายในวัดได้อย่างเป็นระบบ มีแนวทางปฏิบัติในระยะต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเชื่ออย่างยิ่งว่าท่านเจ้าอาวาสและคณะสงฆ์ในวัดจะร่วมกันใช้วิจารณญาณในการกำหนดวิถีปฏิบัติที่เหมาะสมกับ New Normal ในขณะนี้ได้

@ ขณะนี้ก็เห็นมีวัดหลายวัด ได้เชิญชวนญาติโยมกลับมาปฏิบัติกิจทางพระพุทธศาสนาภายในวัดกันบ้างแล้ว ซึ่งก็อาศัยความรู้ความสามารถของท่านเจ้าอาวาสและคณะสงฆ์ในวัด ช่วยกันพิจารณา เพื่อจัดกิจกรรมตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรค COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด เช่น การจัดสถานที่โดยคำนึงถึงการเว้นระยะห่าง การให้มีการคัดกรองโดยการตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย มีจุดล้างมือด้วยแอลกอฮอล์หรือสบู่ เป็นต้น

@ เช้าวันนี้ (30 พฤษภาคม 2563) ติดตามชม Facebook live รายการ “สนทนาธรรมกับหลวงตาเอก” โดยหลวงตาเอก แห่งวัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร นอกจากการอธิบายหัวข้อธรรมตามปกติแล้ว ท้ายรายการหลวงตาเอกได้เชิญชวนญาติโยมร่วมกิจกรรม “ธรรมจักรซันเดย์” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พระสงฆ์และญาติโยมในจังหวัดกำแพงเพชรร่วมกันจัดเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ โดยจะมีการสวดมนต์ “ธรรมจักกัปปวัตนสูตร” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสิบปี โดยกำหนดมาตรการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

@ เชื่อและได้รับทราบมาพอสมควร ว่า มีวัดอีกจำนวนไม่น้อย ก็ได้ขวนขวายจัดการในลักษณะเดียวกัน

@ ได้รับทราบข่าวนี้ สร้างความปราบปลื้มชื่นชมยินดี ที่กิจกรรม”ธรรมจักรซันเดย์” ได้กลับมาอีกครั้งอย่างเป็น “New Normal” ก็ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับหลวงตาเอก มา ณ โอกาสนี้ด้วย และเชื่อว่าการดำเนินการของวัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร จะเป็นแบบอย่างให้วัดต่าง ๆ ทั่วประเทศได้เรียนรู้ และพิจารณาปรับ “กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา” ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ภายใต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ “COVID-19” ที่เป็น “New Normal” โดยไม่ต้องรอ “มติมหาเถรสมาคม” ซึ่งไม่รู้ว่า “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ - พศ.” จะเสนอให้ออกเมื่อใด จะทันการผ่อนปรนระยะที่ 4 ในกลางเดือนมิถุนายนนี้หรือไม่ ก็ไม่สามารถรู้ได้

@ หรือสุดท้ายก็ไม่มี “มติ” ใด ๆ จึงอาจส่งผลให้ “กิจกรรมทาง(พระพุทธ)ศาสนา” เป็นกิจการที่ดู “คลุมเครือ” - เสี่ยงน้อย ??? เสี่ยงปานกลาง-สูง ??? หรือ เสี่ยงสูง ??? 

"มิ่งขวัญ"จวกรัฐบาลไร้วิสัยทัศน์แก้โควิด เสนอตั้ง 4 กมธ.วิสามัญเกาะติดใช้เงินกู้ 9 แสนล้านกระดาษเปล่า



"มิ่งขวัญ"จวกรัฐบาลไร้วิสัยทัศน์แก้โควิด เสนอตั้ง 4 กมธ.วิสามัญเกาะติดใช้เงินกู้ 9 แสนล้านกระดาษเปล่า หวั่นแอบโปะกลบบริหารเศรษฐกิจปกติเหลว

วันที่ 30 พ.ค.2563 ที่รัฐสภา การอภิปรายพ.ร.ก.เงินกู้ฟื้นฟูวิกฤตจากโควิด น.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ที่ผ่านมาส.ส.อึดอัดใจ รัฐบาลอ้างความเดือดร้อนของประชาชนมาให้พวกเราอนุมัติเงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท แต่กลับไม่บอกว่า จะเอาไปทำอะไรบ้าง เอกสารก็ส่งมาไม่ครบ เอายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีมาตัดแปะแล้วก็พูดคร่าวๆ โดยไม่มีรายละเอียด ไม่เห็นแนวทางในการช่วยผู้ประกอบการรายเล็ก เห็นแต่กลุ่มทุนใหญ่ 

"เอกสาร 6 หน้าที่ให้มา อ่านแล้วนึกในใจว่า ทำไมรัฐบาลสิ้นคิดขนาดนี้ ทำไมถึงทิ้งผู้ประกอบการรายเล็กได้หน้าตาเฉย ให้แต่สถาบันการทางการเงินและลูกค้าชั้นดีของธนาคาร ทั้งๆที่ความเป็นจริง เอสเอ็มอีในไทยที่มีอยู่ 3 ล้านราย มีเพียง 4.8 แสนรายเท่านั้นที่อยู่ในระบบสินเชื่อ ยิ่งมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่เป็นเอ็นพีแอลทำให้ เหลือประมาณ 3 แสนกว่ารายเท่านั้นที่ได้แตะเงินซอฟท์โลนก้อนนี้ จึงชัดเจนว่า อุ้มคนรวย การที่บอกว่าช่วยผู้ประกอบการจึงหายไปจากสมการเลย เหมือนเป็นช้างจับตั๊กแตน คือโปรยเงินไปเยอะ แต่สิ่งที่ได้มาเล็กนิดเดียว แต่สิ่งที่ได้มาเล็กนิดเดียว เพราะไม่ถึงรายเล็ก" น.ส.สรัสนันท์ กล่าว

ขณะที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่  ได้อภิปรายว่า รัฐบาลไร้วิสัยทัศน์แก้โควิด-19 รายละเอียดในการใช้เงินกู้ก็ไม่ชัดเจนเหมือนส่งกระดาษเปล่าโดยเฉพาะจำนวน 9 แสนล้านบาท เพราะหวั่นว่าจะนำเงินก้อนนี้ไปโปะกลบบริหารเศรษฐกิจปกติที่ล้มเหลว เพราะว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ติดลบแน่นอนขอให้จับตาในไตรมาส 2-3 ถ้าติดลบร้อยละ 8 เดือดร้อนมหาศาลแน่นอน ดังนั้น จึงเสนอตั้ง กมธ.วิสามัญจำนวน 4 คณะ เพื่อเกาะติดใช้เงินกู้ 9 แสนล้านบาทนั้น 

นายมิ่งขวัญกล่าวต่อว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลเดียวในประวัติศาสตร์ที่แจกเงินแล้วโดนด่า ทั้งชิมช้อปใช้ที่ยืมมือประชาชนเอาเงินรัฐไปให้เจ้าสัว รวมถึงการเอางบกลางกรณีฉุกเฉิน 5 แสนล้านบาทมาใช้จนหมดไปแล้ว  ขอตำหนิอย่างรุนแรง ฝีมือทีมบริหารเศรษฐกิจแย่มาก ห่วยแตก ที่ใช้งบกลางหมดไปแล้ว ส่วนเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทนั้น ควรนำไปให้กระทรวงสาธารณสุข 1 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขและวัคซีน ส่วนอีก 9 แสนล้านบาทที่เหลือ อย่ามุบมิบโมเม ควรเอามาแจกประชาชนให้ทั่วถึง อย่าเหมารวมเอาการบริหารเศรษฐกิจที่ล้มเหลวแล้วเอาเงินก้อนนี้ไปโปะสิ่งที่ทำผิดพลาดมา ถ้าทำอย่างนี้ ถามตัวเองว่าสมควรอยู่บนแผ่นดินนี้หรือไม่ เพราะประเทศไทยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วนการดูแลช่วยเอสเอ็มอีทีมีอยู่ 3 ล้านราย ก็ดูแลแค่อยู่แค่ 4-5 แสนราย

นายมิ่งขวัญกล่าวด้วยว่า ส่วนที่รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ อ้างเรื่องการส่งออกทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ว่าได้ราคาดี ขอบอกว่าทุเรศมาก ทำไมไม่ทำให้ปีนี้คนไทยได้กินมังคุด ทุเรียน ลิ้นจี่ดีๆราคาถูก เพราะเมื่อส่งออกไม่ได้ แต่กลับไปขายในห้างแพงๆเหมือนเดิม คนกลางเสียสละสักปีไม่ได้หรือ คนไทยไม่ได้กินผลไม้ดีๆมาเป็นสิบปีแล้ว ขอใช้คำวัยรุ่นว่า จะสะเดิร์ฟเอาผลประโยชน์ตรงนี้ไปทำไม  สิ่งที่เป็นห่วงคือการเกิดปรากฏการณ์มหัศจรยย์ 4-5 ปี เจ้าสัวบางคนโตมีเงินเป็นแสนล้าน โตมหาศาล อยากฝากว่า เงินกู้ต้องทำให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด ถ้าเป็นได้ควรทบทวนเงินที่จะไปพัฒนาสาธารณสุข ต้องให้รางวัลนักรบที่ช่วยให้ได้ชัยชนะ งบประมาณประจำที่อยู่ในงบปกติ อย่าไปเปลี่ยนปกใหม่มายื่นขอเงินกู้ และขอให้ตั้งกมธ.ตรวจสอบการใช้เงินกู้ หวังว่า เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาทนี้ จะไม่เปิดโอกาสให้เกิดทุจริต ขอสักครั้ง ให้คนไทยทั้งประเทศได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนไปตายเอาดาบหน้าจะหาเงินยังไง นายกฯและครม.คงได้ไปคิด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงว่า เป็นความยากที่จะทำให้ทั้งผู้ส่งออกและผู้บริโภคคนไทยพอใจที่สมดุลกัน

"ส.ส.ปชป."เอาด้วยรวมชื่อชงตั้งกมธฯ ตรวจสอบเงินกู้สู้โควิด 


เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 30 พ.ค. ที่รัฐสภา นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ และคณะ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายเทพไท เสนพงศ์ นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ แถลงขอยื่นเรื่องถึงประธานสภาฯ เพื่อขอให้ตั้งญัตติ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากการกู้เงินตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

"ยธ."จับมือ"ม.สงฆ์ มจร"สร้างกระบวนการแก้ขัดแย้งรับยุค New Normal


   
"ยธ."จับมือ"ม.สงฆ์ มจร" เสริมสร้างสังคมสันติสุขระดับนโยบายสู่วิถีแห่งการปฏิบัติ เล็งเปิดฝึกอบรมกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ รับยุค New Normal 

วันที่ 30 พ.ค.2563  พ.ต.ท.พงษ์ธร ธัญญสิริ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและเลขาธิการคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ เข้าพบพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร.  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อปรึกษาเตรียมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
      
โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย กิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนาการฝึกอบรม การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการจัดการความขัดแย้ง รวมถึงเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ในพื้นที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและเสริมสร้างความสมานฉันท์ 

พระมหาหรรษา  กล่าวว่า เป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในระดับนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติ เพราะในยุคปัจจุบันเราไม่สามารถทำงานได้เพียงลำพังจะต้องอาศัยเครือข่าย กัลยาณมิตร ร่วมกันทำความดีอย่างมีปัญญา สร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายนอกและภายใน ใช้กระบวนการศาสนาและกฏหมาย เพื่อเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ใช้เพียงกฎหมายอย่างเดียวอาจจะนำไปสู่แพ้ชนะ แต่ถ้านำกระบวนการทางพระพุทธศาสนามาใช้จะนำไปสู่การชนะไปด้วยกัน
    
"ดังนั้น  การนำสิ่งที่เราเป็นมาสร้างบารมีจึงเป็นโอกาสสำคัญ เป็นให้เป็น เป็นในที่นี่หมายถึง เป็นตำแหน่งอะไร ก็นำสิ่งที่เป็นมาสร้างบารมีมาช่วยเหลือสังคมเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข จึงขออนุโมทนากับท่าน พันตำรวจโท ดร. พงษ์ธร ธัญญสิริ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและเลขาธิการคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ ในโอกาสนี้" พระมหาหรรษา  กล่าว 



ขณะเดียวกัน หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานศาลยุติธรรม   เปิดตัวปริญญาเอก สาขาสันติศึกษาโฉมใหม่รองรับผู้เรียนยุค New Normal โดยแบ่งเป็น หลักสูตรแผน 1.1 เหมาะสำหรับผู้บริหาร และผู้นำด้านสันติภาพ ใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท  โดยศึกษา 5 รายวิชา มุ่งวิจัยเพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในพื้นที่จริง หลักสูตรแผน 1.2 เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ โดยใช้วุฒิปริญญาตรีสมัครเรียนระดับปริญญาเอก ต้องผ่านการทำงานด้านสันติภาพอย่างน้อย 10 ปี ต้องศึกษา 5 รายวิชา แล้วทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในชุมชน องค์กร และสังคม และหลักสูตรแผน 2.1 เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มุ่งพัฒนาทั้งแนวคิดและปฏิบัติการเพื่อสันติสันติภาพ โดยใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องศึกษา 12 รายวิชา แล้วทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในชุมชน องค์กร และสังค

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2563ที่ผ่านมา พระเทพปวรเมธี รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร  บรรยายออนไลน์รายวิชามหาวิทยาลัยสงฆ์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ภายใต้หัวข้อ "ประวัติ พัฒนาการ ผลงานของวิทยาลัยสงฆ์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข" ซึ่งเป็นวิชาที่นิสิตปริญญาเอก ของหลักสูตรสันติศึกษาจะต้องเรียนรู้ใน ประวัติ พัฒนาการ ผลงาน พันธกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา ของมหาจุฬาฯ อันเป็นสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในมหาจุฬาฯ พร้อมสร้างความเข้าใจในบทบาทของมหาจุฬาฯ  



พระเทพปวรเมธี ได้กล่าว่า ขอชื่นชมหลักสูตรสันติศึกษาว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ ได้รับความนิยมจากผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก สามารถผลิตมหาบัณฑิต ดุษฏีบัณฑิตให้มีหลักการ วิธีการ และอุดมการณ์ในด้านสันติภาพ สันติวิธี และพระพุทธศาสนาออกสู่สังคม รวมถึงหลักสูตรสันติศึกษามีการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนและสังคมอย่างต่อเนื่อง เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

ขณะเดียวกันช่วงเย็นมีสันติเสวนาออนไลน์ เรื่อง "สามมุมมองด้านสันติภาพในยุค New Normal" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ นายกสภามหาลัยราชภัฏชัยภูมิ, พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผอ.สำนักสันติวิธี และธรรมภิบาล สถาบันพระปกเกล้า และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ทางเฟซบุ๊ก "hansa dhammahaso" สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่คือกระบวนการสร้าง New Peace Nornal ดังนี้ 



1. หลักการ ประกอบด้วย สร้างทัศนคติ เริ่มจากมีสติ เปลี่ยนกรอบความคิดใหม่จากรุึนแรงเป็นสันติ มองขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา  สร้างองค์ความรู้สันติวิธี  ทักษะการใช้การไกล่เกลี่ย และสร้างเครือข่ายระดับสากล 2. วิธีการ คือ เริ่มจากผู้นำสร้างโครงสร้างสันติภาพในยุค New Normal โดยหาต้นแบบจากพื้นที่ขัดแย้ง  
นำนักการเมืองมาอบรม เปลี่ยนแนวการอภิปราย  อย่าใช้อำนาจทางกาย แต่ใช้อำนาจทางสติปัญญาและอำนาจทางวัฒนธรรมมากขึ้นตามแนวปัญจพละนายแพทย์ประเวศ วะสี สอดคล้องกับพละ 5 ในพระพุทธศาสนาคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มองความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสารออนไลน์อย่างสร้างสรรค์
สร้างสันติภาพออนไลน์ เจรจาสันติภาพออนไลน์ ลงพื้นที่เจรจาออนไลน์คือเพจไลท์ นำแฟลตม็อบเป็นเครือสร้างสันติภาพ  เป็นต้น

"ปริญญ์"มองโลกหลังโควิด-19 ไม่ใช่แค่ New Normal ต้องปรับสัดส่วน R&D ต่อ GDP ที่สูงขึ้น

 

"ปริญญ์"มองโลกหลังโควิด-19 ไม่ใช่แค่ New Normal แต่จะ No Normal จากนี้ไปจะไม่เหมือนเดิม ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว

วันที่ 30 พ.ค.2563 นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย ขึ้นเวทีเสวนา "ซัพพลายเชนโลก การค้าระหว่างประเทศ และโลกาภิวัตน์ที่กำลังกลายพันธุ์"  ในงานเสวนา THE STANDARD ECONOMIC FORUM ร่วมกับสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF 

เนื้อหาสำคัญที่นายปริญญ์ กล่าวไว้ในเวทีเสวนาคือ ในยุค digital transformation บวกกับสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ วิกฤตสาธารณสุขได้กลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ ต่อจากนี้โลกาภิวัตน์จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่ New Normal แต่เรียกว่า No Normal จากนี้ไปจะไม่เหมือนเดิม เกิด new globalization ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ เช่น Super platforms ต่าง ๆ ในขณะที่โลกการค้าระหว่างประเทศ หากประเทศไทยต้องการแข่งขันได้ ต้องมีโมเดลที่รัฐสนับสนุนให้ธุรกิจไทยสามารถออกไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น เช่น จัดตั้งองค์กรที่สนับสนุนภาคธุรกิจผ่านการบุกตลาดต่างประเทศร่วมกันเป็นเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนมีข้อมูลเพื่อปรับใช้กับธุรกิจ รวมถึงมีอำนาจการต่อรองในการทำธุรกิจกับต่างชาติได้มากขึ้น ต้องมองหาตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ ซึ่งอาจจะเบนเข็มไปจากเดิม อาทิ ลาตินอเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง ที่ประชากรเยอะและมีกำลังซื้อสูง

บริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติจะกระจายความเสี่ยง ต้องปรับห่วงโซ่อุปทานให้มาเป็นแบบ Localize และสร้างเป็นคลัสเตอร์แต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น ทั้งนี้รัฐสามารถใช้โมเดลของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  หรือ EEC เป็นพื้นที่กระบะทรายทดลองในการทำการค้ารับการลงทุนจากต่างประเทศ  ใส่โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ต่าง ๆ เพื่อดึงต่างชาติให้มาลงทุนในไทย มีกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เอื้อต่อการลงทุนและสร้างความสะดวกสบายให้ บทบาทของจีนจะมีความสำคัญมากขึ้นและไทยเราต้องบาลานซ์ความสัมพันธ์นี้กับฝั่งตะวันตกให้ดีรวมถึงการทํางานร่วมกับอาเซียนและอินเดีย

อุตสาหกรรมที่จะโดดเด่นต่อจากนี้คือเรื่องของอาหารที่ต้องหา champion product ให้เจอ อาจจะเป็นสมุนไพรไทย หรือการนำสินค้าเกษตรมาแปรรูป จับตลาดพรีเมียม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่จะกลายเป็นเทรนด์ของโลก เพราะคนหันมาใส่ใจคุณภาพและความสะอาดของอาหารมากขึ้น รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบำรุงรักษาที่ต้องนำมาเทคโนโลยีมาปรับใช้ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ได้ พิสูจน์มาแล้วจากการจัดการการระบาดของโควิดที่ทำให้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

และที่สำคัญที่นายปริญญ์ ได้กล่าวไว้ในช่วงท้ายคือในฐานะที่มาร่วมงานในฐานะตัวแทนจากภาครัฐ เห็นว่า ไทยควรมีสัดส่วนการวิจัยและพัฒนา R&D ต่อ GDP ที่สูงขึ้น มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม หรือ Social Infrastructure ด้านสาธารณสุข การศึกษา และทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับห่วงโซ่อุปทานโลกในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ควบคู่ไปกับการการพัฒนาทางด้านดิจิตัลที่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่หรือ Digital Transformation จึงจะมีโอกาสในการประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามภายใต้ยุค 4.0 ก็ต้องไม่ลืมความมีเสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยแบบ 0.4 ขนบธรรมเนียมประเพณี นิสัยใจคอที่ทำให้ประเทศไทยน่าอยู่และแตกต่างไปจากชนชาติอื่น ดังนั้นถ้าเราผลักดันให้มาตรฐานทางธรรมมาภิบาลความโปร่งใสรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เราสามารถร่วมกันพลิกวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยได้

ผุดแนวคิดกระบวนการสร้าง New Peace Nornal



เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2563  จากการสันติเสวนา สามมุมมองด้านสันติภาพในยุค New Normal โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ นายกสภามหาลัยราชภัฏชัยภูมิ, พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผอ.สำนักสันติวิธี และธรรมภิบาล สถาบันพระปกเกล้า และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ทางเฟซบุ๊ก "hansa dhammahaso" สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่คือกระบวนการสร้าง New Peace Nornal ดังนี้ 

หลักการ
สร้างทัศนคติ
เริ่มจากมีสติ  
เปลี่ยนกรอบความคิดใหม่จากรุึนแรงเป็นสันติ
มองขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา 
สร้างอบรมองค์ความรู้สันติวิธี 
สร้างทักษะการใช้การไกล่เกลี่ย
สร้างเครือข่ายระดับสากล

วิธีการ
เริ่มจากผู้นำสร้างโครงสร้าง
หาต้นแบบจากพื้นที่ขัดแย้ง  
นำนักการเมืองมาอบรม
เปลี่ยนแนวการอภิปราย
อย่าใช้อำนาจทางกาย แต่ใช้อำนาจทางสติปัญญาและอำนาจทางวัฒนธรรมมากขึ้นตามแนวปัญจพละนายแพทย์ประเวศ วะสี สอดคล้องกับพละ 5 ในพระพุทธศาสนาคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มองความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
การสื่อสารออนไลน์อย่างสร้างสรรค์
สร้างสันติภาพออนไลน์
เจรจาสันติภาพออนไลน์
ลงพื้นที่เจรจาออนไลน์คือเพจไลท์
นำแฟลตม็อบเป็นเครือสร้างสันติภาพ

มส.แต่งตั้งพระราชาคณะระดับ"ดร." เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุโขทัย



วันที่ 29 พ.ค.2563 มหาเถรสมาคมได้มีมติแต่งตั้ง พระราชวิมลเมธี,ดร. (บุญโรจน์ จนฺทปญฺโญ/พุ่มไม้ ป.ธ.9, พธ.บ., กศ.ม., พธ.ด.) จจ.สุโขทัย, จล.วัดหนองโว้ง พระอารามหลวง จังหวัดสุโขทัย ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย (พระอารามหลวงชั้นเอก)"  พระราชวิมลเมธีเกิดวันที่ 20 พ.ย.2500 อ.กงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย  เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม พระอารามหลวง (ชั้นตรี-สามัญ) อ.ศรีนคร  เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2555 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวัดหนองโว้ง พระอารามหลวง (ชั้นตรี-สามัญ) อ.สวรรคโลก เมื่อวันที่ 21 พ.ค.2562

พร้อมกันนี้ยังมีมติแต่งตั้ง พระราชสิทธิเวที รศ.ดร. (วิรัช วิโรจโน/วะสะศิริ ป.ธ.4, ค.บ., รป.ม., กศ.ม., รป.ด., พธ.ด.) อายุ 56 ปี จจ.พิจิตร, ผจล.วัดท่าหลวง พระอารามหลวง, ผู้อำนวยการ มจร.วส.พิจิตร ให้ดำรงตำแหน่ง "ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง พระอารามหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร" พระเดชพระคุณเกิดวันที่ 2 ก.ย.2507 อ.เมือง พิจิตร

และมีมติแต่งตั้ง พระครูศรีปทุมาภรณ์ (นพพร นววโร/คำพวง ป.ธ.6, พธ.บ.) อายุ 46 ปี ผจล.วัดบัวงาม พระอารามหลวง, เลขานุการ จต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก ให้ดำรงตำแหน่ง "ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบัวงาม พระอารามหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี " พระครูศรีปทุมาภรณ์เกิดวันที่  17 พ.ค.2517, พธ.บ.รุ่น 63/2561

"บุ๋ม ปนัดดา"ร้องขอความเป็นธรรม! ปม"แม่เลี้ยงเดี่ยว" ทำหนังสือเดินทางให้ลูกลำบาก



วันที่ 29 พ.ค. 2563 เวลา 13.30 น. ที่อาคารรัฐสภา เกียกกาย นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วยนางสาวอุษณี กังวารจิตต์ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และคณะกรรมการวินัจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.)  รับหนังสือจาก น.ส.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ดารานักแสดง เพื่อส่งต่อให้ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.)

น.ส.ปนัดดา กล่าวว่า เนื่องจากว่าตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับอดีตสามี ทุกครั้งเวลาบุตรสาวจะเดินทางไปต่างประเทศต้องโทรกลับไปหาฝ่ายชาย เพื่อให้มาทำเอกสารพาสปอร์ตให้กับบุตรสาว ซึ่งไม่ได้ก่อเกิดผลดีกับทั้งครอบครัวตนเองและครอบครัวใหม่ของเขา ในขณะเดียวกันยังมีผู้หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดียวเจอเหตุการณ์นี้เหมือนกันกับเราเป็นการสร้างความลำบากใจต่อกัน จึงเกิดการตั้งคำถามว่าในรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า มีความเท่าเทียมทางเพศ ทำไมผู้หญิงจึงยังไม่มีอิสระในด้านนี้

ขณะที่นายจุติ กล่าวว่า ตนเห็นใจแม่เลี้ยงเดี่ยวทุกท่าน เมื่อโลกเปลี่ยนไปเราก็จะให้ความเท่าเทียมกันกับทั้งสองฝ่าย

ขณะที่นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (สทพ.) โดยมี นายจุติ เป็นรองประธาน ที่ประชุมได้พิจารณาร่างระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่งฉบับเดิมมีข้อปฏิบัติบางส่วนที่ไม่เอื้อให้ประชาชนผู้ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศนำเรื่องเข้าสู่การวินิจฉัยขอความเป็นธรรม อีกทั้งกระบวนการพิจารณาคำร้องมิได้กำหนดระยะเวลาที่ต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จ ทำให้ผู้เสียหายเข้าถึงความเป็นธรรมที่ล่าช้า

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบฯ ที่มีการกำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ร้อง สามารถยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ด้วยตนเอง ส่งทางไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงเปิดช่องให้องค์กรอื่นเป็นผู้ยื่นคำร้องได้ เพราะบางกรณีผู้ถูกเลือกปฏิบัติมีความไม่พร้อมที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรม และทีสำคัญได้มีการกำหนดระยะเวลาการวินิจฉัยต้องให้แล้วเสร็จใน 96 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นเรื่องจนถึงวันแจ้งผลการวินิจฉัย หากจะมีการขยายเวลา ต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ จากเดิมที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด

นางสาวรัชดา กล่าวว่า นายจุรินทร์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ต้องการดำเนินการสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม การดูแลผู้เสียหายให้เข้าถึงความเป็นธรรมและการเยียวยาจึงเป็นเรื่องต้องเร่งดำเนินการ มากไปกว่านั้น ยังได้มีการขยายผลการประกาศเจตนารมณ์ "การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ"  ที่ผ่านมามีองค์กรทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชน ร่วมประกาศเจตนารมณ์แล้ว 24แห่ง และจะขยายอีก 24 แห่ง ในระยะที่ 2 ประกอบด้วยหน่วยงาน อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถานบันพระปกเกล้า 

"ประชาชนที่เห็นว่าตนเองถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ไม่ว่าผู้เสียหายจะเป็นเพศใด สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนมายังคณะกรรมการวินิจฉัยฯ กระทรวงพัฒนาสังคม ซึ่งกระทรวงมีความพร้อมที่จะดูแลให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้อง" นางสาวรัชดา กล่าว

"สมคิด"ดึงกองทุนหมู่บ้าน-ปตท.-ธนารักษ์ เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก



เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ เพื่อรองรับกระจายสินค้าจากชุม ชนส่งไปยังภูมิภาคอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องใช้ความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ผู้ผลิตสินค้าศักยภาพ ร่วมกับ ปั๊ม ปตท.เปิดพื้นที่ว่างบางส่วนให้ชาวบ้านนำสินค้าชุมชนมาวางจำหน่าย เพื่อให้ผู้เดินทางได้เจอกับผู้ ผลิตสินค้าโดยตรง เป็นช่องทางกระจายสินค้าชุมชนไปยังภูมิภาคอื่น เพราะ ปตท.มีโครง การไทยเด็ดนำร่องหลายจังหวัด ส่วนกรมธนารักษ์ จัดหาพื้นที่ว่างจัดทำศูนย์กระจายสินค้า หรือทำตลาดกลาง พัฒนาเป็นศูนย์กระจายสินค้าชุมชนอาจนำมาให้กอง ทุนหมู่บ้านเช่า หรือบริหารจัดการร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

"อีกทั้ง ดึงธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้ามาร่วมดูแลสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ลดภาระให้กับสมาชิกฯช่วงปัญหาโควิด-19 ด้วยการ ศึกษามาตรการช่วยเหลือร่วมกัน เป็นการช่วยเหลือดูแลสมาชิกที่ไม่ซ้ำซ้อนกับการช่วย เหลือเยียวยาจากรัฐบาล"นายสมคิด กล่าว 

ด้าน นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการ สทบ. กล่าวเสริมว่า สำหรับกองทุนหมู่บ้านเตรียมใช้แนวทาง "ศูนย์ขนส่งสินค้าชุมชน"  โดยนำรถยนต์ ปิ๊กอัพ มอเตอร์ไซค์ ของสมาชิกฯ จัด ทำเป็นหน่วยบริการขนส่งให้กับสมาชิก และจ่ายผลตอบแทนค่าขนส่ง เพื่อใช้บริการร่วม กัน ไม่จำเป็นต้องซื้อรถใหม่กันทุกบ้าน เพื่อช่วยกระจายสินค้าชุมชนออกไปสู่ต่างจังหวัดผ่านช่องทางรถ บขส.หรือรถไฟ

เอ็นไอเอเปิดลิสต์ 5 นวัตกรรมพลิกโฉมเกษตรไทย ตัวช่วยนำพาไร่นา – เกษตรกรสู่ยุค “สมาร์ทฟาร์ม”



ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย “เกษตรกรรม” ยังคงเป็นภาคส่วนที่ต้องเจอกับปัญหาและผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เรื่องการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว ราคาผลผลิต รวมทั้งปัญหาจากภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวยังคงคุ้นชินกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม ตลอดจนขาดผู้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตรงกับสภาพปัญหา จึงทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรของประเทศไทยในวันนี้ยังคงอยู่ในระดับคงที่ หรือมีบางปีที่อาจเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย

เพื่อให้เกษตรกรไทยก้าวไปสู่ยุคใหม่ที่เรียกกันว่า “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA หน่วยงานหลักด้านการส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติจึงได้พยายามผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้เกิดขึ้น พร้อมมุ่งลดผลกระทบและสภาพปัญหาที่บรรดาเกษตรกรต้องพบเจอ ด้วยการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ผ่านเครือข่ายชุมชน สตาร์ทอัพ แพลตฟอร์ม และโซลูชั่นต่าง ๆ ที่จำเป็น โดยวันนี้จะขอยกตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยเติบโตทั้งในด้านการผลิต และการขาย ซึ่งนี่อาจเป็นโฉมหน้าใหม่ของอุตสาหกรรมเกษตรไทย และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดผู้เล่นใหม่ ๆ ในวงการนวัตกรรมการเกษตร

โรงเรือนเพาะปลูกสตรอเบอรี่ขนาดเล็กสำหรับชุมชน การเกษตรทางเลือกช่วงเว้นจากการทำนา

การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการว่างเว้นจากการทำไร่ทำนาในบางช่วงฤดู และเพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้และมีรายได้เพิ่มขึ้น บริษัท เอแอนด์จี ออร์แกนิค จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร จึงคิดโซลูชั่นสร้างรายได้ในช่วงว่างเว้นจากการทำนาด้วยนวัตกรรมโรงเรือนเพาะปลูกสตรอเบอรี่ขนาดเล็กสำหรับชุมชน นำร่องใช้กับเกษตรกรใน จ.พิจิตร ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก สำหรับนวัตกรรมดังกล่าวใช้เทคนิคการคัดชุดตาดอกที่สมบูรณ์เพียง 2 ชุด และกระตุ้นตาดอกก่อนเข้าสู่กระบวนการเพาะปลูกสตรอเบอรี่ภายในโรงเรือนระบบขนาดเล็กที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย ภายในโรงเรือนประกอบด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง เพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตสตรอเบอรี่และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ถึง 2 เท่า

Farmbook.co นักวางแผนการเพาะปลูกมือโปรสำหรับเกษตรกร

ภาคส่วนต่าง ๆ กำลังถูกขับเคลื่อนไปด้วยการใช้ข้อมูล ไม่เว้นแม้แต่ในภาคเกษตรกรรม ที่ปัจจุบันยังขาดทั้งข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดสำหรับวางแผนการผลิต รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพึ่งพาตนเอง และเศรษฐกิจแนวคิดแบ่งปัน จากปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การพัฒนา Farmbook แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือทั้งการวางแผนการผลิต การคาดการณ์ผลผลิต ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่ สภาพอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช การนำเทคโนโลยีทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสำรวจระยะไกล การตรวจสอบคุณภาพดิน และระบบการให้น้ำ นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างสังคมการแบ่งปันอุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตร แรงงาน และวัตถุดิบในกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ส่งผลให้สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและการจัดสรรสัดส่วนพื้นที่การเกษตรได้ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการตลาด การตรวจสอบและติดตามกระบวนการเพาะปลูกของผลผลิตได้ทุกขั้นตอน

GetzTrac เทคโนโลยีจองรถเกี่ยวข้าว หมดปัญหาขาดแคลนเครื่องมือในฤดูเก็บเกี่ยว

ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะการเกี่ยวข้าว เกษตรกรหลายรายต้องประสบกับปัญหาการจองรถเกี่ยว รวมทั้งในบางพื้นที่มีผู้ให้บริการเครื่องมือดังกล่าวในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ดังนั้น GetzTrac : เก็ทแทรค แอปพลิเคชั่นสำหรับจ้างรถเกี่ยวข้าวและอุปกรณ์การเกษตรจึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ชาวไร่ชาวสวนเข้าถึงอุปกรณ์ทางด้านการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ผู้ให้บริการเครื่องมือการเกษตรได้มีช่องทาง – เครือข่ายในรูปแบบ Machine Matching สำหรับบริการที่สามารถจองผ่านแอปพลิเคชั่นมี 3 บริการ คือ 1.จองรถเกี่ยวข้าว ซึ่งมีรถเกี่ยวข้าวในระบบ 400 กว่าคันทั่วประเทศ 2.บริการจองโดรนสำหรับฉีดยาวัชพืช ฉีดย่าแมลง หว่านปุ๋ย และ 3.จองรถแทร็กเตอร์ สำหรับเตรียมดินก่อนทำการเกษตร หรืออัดฟางหลังจากเกี่ยวข้าว ทั้งนี้ การจองสามารถจองล่วงหน้าได้ 1 เดือน จองได้เฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียง โดยอัตราค่าบริการจะคิดตามขนาดที่นา พันธุ์ข้าวที่จะต้องเกี่ยว ซึ่งหากเป็นข้าวจ้าวจะอยู่ที่ 450 บาทต่อไร่ ข้าวเหนียว 500 บาทต่อไร่ ข้าวหอมมะลิ 600 บาทต่อไร่ ส่วนค่าบริการของโดรนจะอยู่ที่ 120 บาทต่อไร่ รถแทรกเตอร์สำหรับเตรียมดินราคา 500 บาทต่อไร่ การอัดฟางราคา 15 บาทต่อก้อน นอกจากนี้ ในอนาคตเก็ทแทรคยังจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้สามารถแจ้งเตือนได้ว่าขณะนั้นมีโรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อพืชผลอย่างไร เพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมความพร้อมและหาทางป้องกันได้อย่างถูกวิธีอีกด้วย

ระบบการให้น้ำใต้ดินผ่านเซรามิกรูพรุนสำหรับการผลิตทุเรียนนอกฤดู มิติใหม่ของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน

การปลูกทุเรียนนอกฤดู เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรเนื่องจากผลไม้ดังกล่าวเป็นที่นิยมในการรับประทานตลอดทั้งปี แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคสำคัญในการจัดการทุเรียนนอกฤดูต้องควบคุมระบบการผลิต โดยเฉพาะการควบคุมระบบการให้น้ำ ซึ่งระบบการให้น้ำสำหรับต้นทุเรียนในปัจจุบัน เป็นการให้น้ำบนดิน เช่น สปริงเกอร์ ระบบพ่นฝอย ระบบน้ำหยด ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกิดการสูญเสียน้ำบนผิวดินในปริมาณมาก ทำให้ดินมีความหนาแน่นสูง เกิดปัญหาท่อแตกและอุดตันทำให้มีค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการสูง ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปทุเรียนพันธุ์หลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้ร่วมมือกับนักวิจัยพัฒนาระบบการให้น้ำใต้ดินผ่านเซรามิกรูพรุน (Subsoil Irrigation System, SIS) ขึ้น พร้อมนำมาใช้เป็นแนวทางการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ให้กับชุมชนเพื่อขยายผลการใช้งานระบบการให้น้ำใต้ดินผ่านเซรามิกรูพรุนเป็นแหล่งน้ำต้นทุนใต้ผิวดิน ร่วมกับการควบคุมการผลิตทุเรียนนอกฤดูที่มีคุณภาพตลอดทั้งปีให้กับชาวสวนทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์และทั่วประเทศ โดยเซรามิกรูพรุนเป็นเครื่องมือควบคุมปริมาณน้ำ ปุ๋ย แร่ธาตุ และวัคซีน ออกสู่ดินอย่างช้า ๆ และเป็นแหล่งน้ำต้นทุนใต้ผิวดินตลอดทั้งปี มีการบำบัดน้ำวัตถุดิบก่อนเข้าระบบ จึงแก้ปัญหาโรครากเน่าและเปลือกเน่า และสามารถแก้ไขปัญหาเกิดการสูญเสียน้ำบนผิวดิน ลดการสูญเสียปุ๋ย และธาตุอาหารจากการชะล้างผิวดิน เป็นการให้อาหารทางราก จึงใช้ได้กับทุเรียนทุกช่วงอายุ รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้ระบบการให้น้ำในพืชอื่น ๆ ได้อีกด้วย

พรรัตภูมิฟาร์ม ฟาร์มไข่ไก่ IoT

พรรัตภูมิฟาร์ม คือ “ฟาร์มไก่ไข่ระบบอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นกระบวนการเลี้ยงไก่ไข่และการจัดการฟาร์มไก่ไข่ระบบอัจฉริยะ ผ่านการควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoT มีเซ็นเซอร์วัดระดับความชื้น อุณหภูมิ ความเข้มของแสง และปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่ อีกทั้งจะมีการรับส่งข้อมูลจากโรงเรือนของผู้เลี้ยงมายังศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลโดยตรงที่มีทีมสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเลี้ยงช่วยเป็นที่ปรึกษา และยังมีทีมเฝ้าติดตามระบบที่จะคอยตรวจสอบเฝ้าระวังสถานะการทำงานของอุปกรณ์ในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยยังสามารถใช้แอปพลิเคชั่นในมือถือสั่งการควบคุมระดับความชื้น อุณหภูมิและปัจจัยต่างๆ ในโรงเรือนได้ ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถตัดสินใจในการลงทุนและช่วยป้องกันเหตุที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ ไฟดับ อุปกรณ์ภายในโรงเรือนเสีย ถือเป็นการบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้องและแม่นยำที่เกษตรกรมมยุคใหม่ควรมี ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับฟาร์มไก่ไข่ได้แล้ว ยังช่วยให้ไข่ไก่มีคุรภาพดี มีฟองใหญ่ สดใหม่ ขายได้ราคาสูง และระบบนี้ยังสามารถนำไปใช้กับระบบฟาร์มอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจขอรับทุนสนับสนุนนวัตกรรม หรือสนใจนำแนวคิดนวัตกรรมทั้ง 5 รูปแบบไปปรับใช้ในการเกษตร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เว็บไซต์ www.nia.or.th และ facebook.com/NIAThailand

Cr.https://www.thaitimenews.com/content/13826?fbclid=IwAR3_NOzgfjPZXseGB3p8HA010tC8--0sEQQ2DHKaSnUl-V3F4Y8Af339O5c

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ส.ส.เพื่อไทยงงมาก! รบ.เยียวยาพระรูปละ 40 บาทต่อวัน 1 เดือน



"นิยม"ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย เริ่มอภิปราย พ.ร.ก. 3 ฉบับ เป็นคนแรกของวันที่สาม ถามการเยียวยาพระสงฆ์ งงมากรูปละ 40 บาทต่อวันเป็นเวลา 1 เดือนจะเยียวยาอย่างไรเพียงพอหรือไม่

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 29 พ.ค. 2563 นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดให้เริ่มการอภิปรายในวาระด่วนเพื่อพิจารณา พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563, พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 และ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ.2563 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ภายหลังวานนี้ (28 พ.ค. 2563) พักการประชุมตามกรอบที่ตกลงกันในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น.
          
ทั้งนี้ ก่อนเริ่มอภิปราย นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หรือ วิปรัฐบาล ได้สรุปเวลาการอภิปรายของทั้ง 2 ฝ่ายว่า ฝ่ายรัฐบาลใช้เวลาไปแล้ว 9 ชั่วโมง 19 นาที ขณะที่ฝ่ายค้าน 9 ชั่วโมง 2 นาที 




จากนั้น นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย เป็นผู้อภิปรายรายแรกของวันที่ 3 โดยได้ถามรัฐบาลถึงการเยียวยาพระสงฆ์ที่ได้รับผลกระทบล่าสุดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีหนังสือแจ้งจะมีการเยียวยาพระสงฆ์เพียง 2 พันวัด รูปละ 40 บาทต่อวันเป็นเวลา 1 เดือนจึงต้องการความชัดเจนว่าจะเยียวยาอย่างไรจะเพียงพอหรือไม่ นายชวนซึ่งก็เคยเป็นเด็กวัดมาก่อนคงจะเข้าใจหัวอกพระดี



Meditation is the way for mindfulness in Egypt received training in Thailand .




เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2563  เพจ Raju Changma- Baatu Raju ได้โพสต์ข้อความว่า
 
Meditation is the way for mindfulness.

Aya Hassan Mohamed.

The Mindfulness and Meditation Training in Egypt. She received training in meditation from The World Peace Initiative headquarter of Pathum Thani, Thailand. After being an active Peace Agent and Peace Coach, She is assigned to become a Country Coordinator for Peace Revolution project in Egypt.

Very glad to see that how Buddhist meditation is helping to peoples to be mindful and achieve peace and happiness.

"นิกร"หนุนนำพอเพียงเป็นฐาน บริหารเงินกู้สู้ภัยโควิด-19



ส.ส.พลังประชารัฐแนะนำเงินกู้ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เป็นครัวโลก "นิกร"หนุนน้อมนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานบริหารเงินกู้สู้ภัยโควิด

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563  นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ ส.ส.สุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายสนับสนุนพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 พร้อมเสนอแนะว่า แผนงานเงินกู้ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เสนอผลักดันด้านการเกษตร การเข้าถึงแหล่งน้ำและพลังงาน สานต่อโครงการกระจายน้ำบาดาล กองทุนอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาดิน การใช้เทคโนโลยี่ด้านการเกษตร การส่งเสริมการปลูกพืชทดแทน การจัดการในรูปวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม ผลักดันประเทศไทยเมืองอาหาร เกษตรปลอดภัย 

"เร่งรัดต่อยอดแผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ 2560-2564 ที่มีเป้าหมาย ในปี 2564 พื้นที่เกษตรกรรมไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่ เกษตรกร 30,000 ราย และการผลักดันครัวไทยสู่ครัวโลกอย่างเข้มแข็ง โดยมั่นใจว่าการใช้เงินกู้จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ยิ่งต่อพี่น้องประชาชน" นางพรรณสิริ กล่าว

นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ได้เสนอให้มีการปรับมาตรการที่ใช้ในการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจและสังคมในเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะควร น้อมนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงมายึดเป็นแนวทางปฏิบัติในเรื่องความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันที่ดี มาเป็นหลักในการเยียวยาฟื้นฟู

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

คณะประเมินมาตรการสาธารณสุขป้องกันโควิด-19 เข้าตรวจวัดพระธรรมกาย



วันที่ 27 พ.ค.2563 พระมหานพพร ปุญฺญชโย ป.ธ.9 รองผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า วันนี้ (27 พ.ค. 63) เวลา 13.00 น. พระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยพระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ให้การต้อนรับ พล.ต.ต.ชยุต มารยาทตร์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี นายนิติชัย วิริยานนท์ นายอำเภอคลองหลวง พร้อมด้วย พ.ต.อ.เศรษฐณัณข์ ทิมวัฒน์ ผกก.สภ.คลองหลวง, นายชวลิต ประเสริฐสุข สาธารณสุขอำเภอคลองหลวง และชุดปฏิบัติการควบคุมโรคเทศบาลเมืองท่าโขลง ซึ่งได้เข้าตรวจมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ตามอาคารต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกาย  อาทิ หอฉันคุณยายอาจารย์ ฯ, ห้องรับบริจาค ชั้น 1 อาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์ ฯ, จุดสวดมนต์ มหารัตนวิหารคด 1 และ 32 การนี้ วัดพระธรรมกายจึงได้มอบหนังสือธรรมะ พร้อมสเปรย์แอลกอฮอล์ แก่คณะผู้ตรวจเยี่ยมด้วย

"วัดพระธรรมกายตั้งศูนย์อำนวยการ และคณะทำงานป้องกันโควิด-19 เพื่อกำหนดนโยบาย วางแผน ประเมินสถานการณ์ รวมถึงวางมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปริเขตวัดและพื้นที่จัดงานบุญให้สอดคล้องกับมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และคำสั่งมหาเถรสมาคม และรณรงค์ให้สมาชิกในองค์กร และสาธุชนที่มาวัดทุกท่าน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด อาทิ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 2-3 เมตร ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิวสัมผัสในพื้นที่สาธารณะทุก 2 ชั่วโมงเป็นต้น" พระมหานพพร กล่าว

"บิ๊กตู่"แจงสภาฯแมสก์ขาด เหตุต้องนำเข้าวัตถุผลิต




วันที่ 27 พ.ค.2563   ที่รัฐสภา การอภิปรายพ.ร.ก.เงินกู้แก้วิกฤตโควิด  ตั้งแต่ช่วงเช้ามาถึงเวลา 16.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงว่า กรณีหน้ากากอนามัยขาดตลาดในช่วงที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่า โรงงานผลิตหน้ากากในไทยมีเพียงไม่กี่บริษัท โดยเฉพาะหน้ากาก N95 มีเพียง1-2 บริษัทที่ได้ลิขสิทธิการทำจากต่างประเทศ ขณะที่หน้ากากอนามัยทั่วไปนั้น วัสดุในการผลิตก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แล้วเรานำมาประกอบเป็นหน้ากาก ยิ่งในช่วงคับขันทุกประเทศก็ต้องเอาไว้ใช้ในประเทศตัวเองหมด แต่วันนี้สถานการณ์เรื่องหน้ากากคลี่คลายดีขึ้น ทุกอย่างต้องใช้เวลา ไม่ใช่รัฐบาลไม่ทำอะไรเลย จ้องจะใช้แต่เงินอย่างเดียว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเมืองและการเลือกตั้ง ม.รังสิต.ได้เคยโพสต์เฟซบุ๊ก Somchai Srisutthiyakorn ข้อความว่า "แค่สภาปิด กมธ.ไม่สามารถประชุมได้ รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน คนเริ่มมีหน้ากากผ้าใช้ ไม่สนใจหน้ากาก 2.50 บาท อีก เผลอแป๊บเดียว ตัวเลขการส่งออกหน้ากากอนามัยของเดือนเมษายนพุ่งพรวด  หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ส่งออกเดือนเดียว 28 ตัน หน้ากากอนามัยประเภทอื่น ส่งออกเดือนเดียว เกือบ 300 ตัน ไหนว่ามีประกาศห้ามส่งออกทุกประเภท"
          
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องกลไกการตรวจสอบการใช้งบประมาณตามพ.ร.ก.กู้เงินนั้น ไม่ใช่มีแค่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เท่านั้น ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบได้ แต่กลไกในระบบทั้งสภา สตง. ป.ป.ช. ป.ป.ท.ก็ตรวจสอบได้หมด ไม่ใช่แค่คณะกรรมการกลั่นกรองชุดเดียวตรวจสอบได้ ก่อนจะเสนอโครงการอะไรมา ต้องผ่านกลไกในระดับพื้นที่มาก่อน ผ่านคณะกรรมการ นโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.)ก่อน ไม่ใช่ใครจะเสนอโครงการอะไรมาก็ได้ เราได้คิดเรื่องต่างๆเหล่านี้ไว้หมดแล้ว ตนพยายามจะชี้แจงให้กระชับ ถ้าเสียงดังไปก็ต้องขอโทษด้วย

"จี้"ชวน"บรรจุญัตติตั้ง กมธ.CPTPP จับตาป้องลักไก่นำเข้าครม.

 

วันที่ 27 พ.ค.2563 นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังธรรมใหม่ ยื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายสมบูรณ์ อุทัยเวียงกุล เลขาประธานสภา เป็นผู้รับแทน โดยขอให้พิจารณาญัตติด่วนการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมข้อตกลงที่ครอบคลุม และก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)เป็นเรื่องเร่งด่วน เนื่องจากว่าเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียมบรรจุวาระเรื่องดังกล่าวที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาได้มีการถอนวาระนี้ออกไป เนื่องจากได้มีการคัดค้านจากหลายภาคส่วนที่ได้มีความกังลกับข้อตกลงฉบับนี้ ซึ่งในปัจจุบัน CPTPP ได้มีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ได้เข้าร่วมลงนามในข้อตลงแล้ว 7 ประเทศ  ซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ได้รับแรงกดดันจากประเทศสมาชิก เร่งรัดให้ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญาข้อตกลงในฉบับนี้ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น 

นพ.ระวี กล่าวต่อว่า ด้วยรัฐธรรมนูญ 2560 มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2550 ตรงที่ไม่มีการกำหนดให้รัฐบาลนำกรอบเจรจามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน มีเพียงมาตรา 178 ที่ได้กำหนดให้รัฐบาลขอความเห็นชอบการลงนามในสัญญาในการเข้าร่วมสนธิสัญญาเท่านั้น  และยังได้กำหนดว่าหากรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ซึ่งส่งผลสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบเจรจา ทั้งที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่ได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในสภา

"ด้วยเหตุผลดังกล่าวผมได้เสนอญัตตินี้เป็นญัตติด่วน เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณานั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศโดยตรง เช่น ระบบสาธารณสุข สิทธิบัตรยา สินค้าการเกษตร กลไกระงับข้อพิพาทนักลงทุนต่างชาติ และถ้าหากดำเนินการผิดพลาดประเทศจะต้องเสียประโยชน์จากการเข้าร่วมข้อตกลงฉบับนี้  จึงมีความจำเป็นที่สภาควรต้องแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมข้อตกลงที่ครอบคลุม และก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อให้ตัวแทนของประชาชนได้ช่วยพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบ โดยเร็วให้ทันกับการที่รัฐบาลต้องลงนามในข้อตกลงฉบับนี้" นพ.ระวี กล่าว

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...