วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ส.ส.พปชร.อัด"สมคิด" เลิกเป็นจระเข้ขวางคลอง เปิดทางคนใหม่เข้ามากอบกู้ศก.

 

ส.ส.แปดริ้ว พปชร. รู้ทัน"สมคิด"เสนอยุบสภาฯหวังเป็นนายกฯ แนะเป็นลูกผู้ชายเลิกเผาบ้านตัวเอง ควรละอายใจ เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง เลิกเป็นจระเข้ขวางคลองเปิดทางคนใหม่เข้ามากอบกู้ศก.ประเทศ เชื่อมาสภาฯ ไม่มีใครเคารพ

วันที่ 1 ก.ค.2563 นายชัยวัฒน์  เป้าเปี่ยมทรัพย์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ระบุว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะรุนแรง ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ที่ยุบสภา เลือกตั้งใหม่เพื่อหารัฐบาลใหม่มาแก้ปัญหา ว่า อยากถามกลับไปว่าที่พูดออกมาแบบนี้ นายสมคิดมีความคิดอะไรซ่อนเร้นไว้หรือไม่ เพราะ ตนและ ส.ส.ในสภาฯ 500 คน มีความตั้งใจเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อชาติบ้านเมือง ทำงานนิติบัญญัติ ไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วย ส่วนที่เศรษฐกิจของประเทศและทั่วโลกเป็นแบบนี้เกิดจากทุกประเทศต้องต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 เป็นปัญหาทั่วโลก ถ้านายสมคิด ไร้ฝีมือจึง ควรมีความละอายใจ และรับผิดชอบด้วยการลาออก

"นายสมคิดได้ดิบได้ดีมีตำแหน่งถึงวันนี้ก็ เพราะบ้านพปชร. แต่พอเห็นว่าฝีมือตัวเองจะไปไม่รอด จึงคิดเผาบ้านตัวเอง และหวังให้พวกเราซึ่งเปรียบเสมือนลูกๆในบ้าน ตายหมู่ไปด้วย อยากถามว่าทำอย่างนี้เป็นลูกผู้ชายอยู่หรือไม่  ที่ผ่านมานายสมคิด  มีแต่โชว์ภาพว่าเก่ง แต่ไม่เป็นรูปธรรมอะไรเลย ธุรกิจปิดตัวเช่นนี้ ควรจะลาออก  ฝีมือไม่ถึง เพื่อเปิดทางให้คนดี คนเก่ง มีความสามารถเข้ามาทำงานแทนได้มิใช่ทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลองอยู่เช่นนี้"

 นายชัยวัฒน์ กล่าวและว่า การที่นายสมคิด เสนอให้ยุบสภาฯ นั้น หรือจะเป็นตามข่าวจริงๆว่า ได้มีการตั้งพรรคการเมืองมารอรับกลุ่มของพวกท่านใช่หรือไม่  หรือว่าจะเป็นอย่างที่มีข่าวออกมาจากหลายๆทางว่า นายสมคิด อยากเป็นผู้ได้รับการเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งครั้งหน้าถึงอยากให้เลือกตั้งใหม่เร็วๆ

"ถ้าพร้อมเมื่อไหร่มีการเลือกตั้ง รบกวนท่านสมคิด เสนอตัวมาเลย อยากจะรู้ว่าใครจะไปอยู่กับพรรคของท่าน และอยากขอร้องท่านให้เลิกทำตัวเป็นคนเก่งที่สุดได้แล้ว เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีอะไรที่ใหม่ๆมานำเสนอพี่น้องประชาชนเลย มีแต่คำพูดที่เป็นการบั่นทอนจิตใจประชาชน บั่นทอน ความรู้สึกของนักลงทุน พูดจาแบบนี้ นักลงทุนที่ไหนจะกล้ามาลงทุนในประเทศไทย"  ส.ส.พปชร.กล่าว และว่า 

ตนได้คุยกับเพื่อนในสภาฯแล้วว่าถ้านายสมคิดมาสภาฯจะไม่มีใครไปคุย หรือให้ความเคารพอีกต่อไปเพราะรับไม่ได้กลับพฤติกรรมเช่นนี้

"เทพไท"ชี้"สมคิด"โยนหินยุบสภา ยุ 4 กุมารรีบชิงความได้เปรียบ

นายเทพไทเสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเตือนให้ระวังพายุเศรษฐกิจลูกใหญ่ พร้อมแนะดูตัวอย่างรัฐบาลสิงคโปร์ชิงยุบสภา เพราะคาดว่าเศรษฐกิจจะย่ำแย่ เพื่อเลือกตั้งใหม่ ให้ได้รัฐบาลมีประสิทธิภาพนั้น ว่า เป็นการแสดงความเห็นทางการเมืองแบบโยนหินถามทาง ที่นักการเมือง หรือพรรคการเมืองไม่ควรมองข้าม เพราะคนอย่างนายสมคิดที่มีฐานะเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ ออกมาส่งสัญญาณเรียกร้องให้ยุบสภา น่าจะมีการประมวลข้อมูลทางการเมือง หรือวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองอย่างรอบคอบแล้ว ก่อนที่จะออกมาแสดงท่าทีในลักษณะเช่นนี้ ซึ่งนายสมคิด เป็นหัวหน้ากลุ่ม 4 กุมารและที่ผ่านมาได้ทำนโยบายหลายอย่างที่เกี่ยวกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 น่าจะมีการเช็คเรทติ้ง หรือวัดคะแนนนิยม หรือผลสัมฤทธิ์ในการเยียวยาให้กับประชาชนจำนวน 48 ล้านคนมาแล้ว และคงจะมีความเชื่อว่าความนิยมในเรื่องการแก้ปัญหาเยียวยาครั้งนี้ ไม่ใด้มีเฉพาะกับตัวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เท่านั้น ตัวของนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็เป็นผู้มีบทบาทในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ถ้าหากมีการยุบสภาเกิดขึ้นจริงตามคำแนะนำของนายสมคิด และมีการเลือกตั้งใหม่ นายสมคิดคงมีความเชื่อลึกๆว่า สามารถเรียกคะแนนนิยมให้กับกลุ่ม4กุมารได้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน เพราะถ้าดูจากผลสำรวจของนิด้าโพล จะพบว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดในฐานะผู้มีความเหมาะสมในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และคะแนนความนิยมหรือเห็นใจกลุ่ม4กูมาร ก็มีจำนวนมากเช่นกัน ถ้ามีการแยกตัวไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ ก็จะโกยคะแนนไปได้ไม่น้อยทีเดียว

ดังนั้นถ้าหากเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นมาในช่วงนี้ กลุ่มที่ได้ประโยชน์หรือได้เปรียบทางการเมืองมากที่สุด ก็คือตัวพลเอกประยุทธ์ และนายอุตตมเท่านั้น ที่ประชาชนรู้จักและกล่าวขานถึงผลงานการเยียวยาแจกเงินให้กับประชาชนมากถึง 48ล้านคน ถ้าหากกลุ่มเป้าหมาย48ล้านคนนี้ แปรเป็นคะแนนในการเลือกตั้งแค่25% จะได้เป็นคะแนน 12 ล้านเสียง มากกว่าคะแนนของทุกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562


สำหรับตนเองนั้น พร้อมยอมรับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในทุกสถานการณ์ ชีวิตนักการเมืองทุกคน เมื่อเจอวิกฤติการยุบสภาเกิดขึ้น ก็พร้อมจะลงสนามเลือกตั้งใหม่ เพื่อพิสูจน์ตัวเองต่อประชาชน ส่วนตัวเห็นว่าชีวิตนักการเมืองไม่ต้องกลัวการยุบสภา เพราะเมื่อยุบสภาแล้วก็ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าการยุบสภา ก็คือการรัฐประหาร เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ไม่รู้อนาคตว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ และจะมีการสืบทอดอำนาจอีกนานแค่ไหน

"อธิบดี พช."เป็นปลื้ม! ปลูกผักกินเอง ช่วยปชช.ประหยัดเงิน 2 แสนล้านต่อปี



วันที่ 30 มิ.ย.2563 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suttipong Juljarern ความว่า กรมการพัฒนาชุมชนได้ประกาศ แผนปฏิบัติการ 90 วัน“ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร”เป็น Quick Win หรือวาระเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้เห็นผลลัพธ์ในเร็ววัน เพื่อมุ่งหมายให้บรรลุผลในการมีความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน และลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน ตลอดจนสามารถสร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือน และระดับกลุ่มอาชีพ ซึ่งกรมฯมีครัวเรือนเป้าหมายที่จะดำเนินการรณรงค์ทั้งหมดจำนวน 12.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งสำเร็จตามโครงการเฟสแรกในวันนี้

สิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้น คือ ประชาชนมีผักทานเองในบ้านโดยที่ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ประชาชนชอบรับประทานผักอะไรก็ปลูกอันนั้น คิดง่าย ๆ หากประชาชน จำนวน 12 ล้านครัวเรือนประหยัดเงินจากการซื้อผักครัวเรือนละ 50 บาท เท่ากับเราจะช่วยให้ประชาชนประหยัดเงินได้ 600 ล้านบาท/วัน 18,000 ล้านบาท/เดือน และสามารถประหยัดได้กว่า 200,000 ล้านบาท/ปี เหลือจากรับประทานในครัวเรือน ก็แบ่งปันกันระหว่างเพื่อนบ้าน ระหว่างคนในชุมชน และความคาดหวังในอนาคต คือ เมื่อประชาชนได้ปลูกผักรับประทานเองได้ ต่อไปประชาชนจะได้รับประทานผักที่ปลอดภัย เพราะปลูกทานเอง เราจะระมัดระวังเรื่องของสารเคมีต่าง ๆ ที่จะใช้โอกาสที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมปลูกผักต่อ หรือต่อยอดในรูปแบบอื่น ได้แก่ 1.พัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน หรือฝึกประสบการณ์ให้กับสถานศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆได้ ทั้งในและนอกประเทศ 2.ธนาคารอาหารของชุมชน ตู้เย็นข้างบ้านมีผักกินตลอดกาล หรือกองทุนเมล็ดพันธุ์ชุมชน 3.พัฒนาขยายผลเป็นโคก หนอง นา โมเดล สร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างสิ่งแวดล้อมสมดุลอย่างยั่งยืน “สนับสนุนธุรกิจ Start Up ขายผักสด หรือผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพร” 4.เชื่อมโยงประสานการสนับสนุนโดยคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ซึ่งมีอยู่ ทุกจังหวัดให้เป็นกลไกกลางในการเชื่อมโยงผักปลอดภัยจากผู้ผลิตสู่ตลาด 4 ร ได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร 5.ส่งเสริมการแปรรูปผักสมุนไพร นำไปสู่การลงทะเบียน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มช่องทางการตลาด

แผนการดำเนินงานต่อไป คือ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ซึ่งจะดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 5 ธันวาคม 2563 เพื่อเป้าหมาย 5 ประการสำคัญคือ 1.ความต่อเนื่องคือพลัง ส่งเสริมการปลูกพืชผักที่ปลูกอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และปลูกพืชผักเพิ่มเติมจากเดิม รวม 10 ชนิด 2.ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เช่น มะนาว กล้วย มะละกอ เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่ม 3.ชุมชนสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อม และสร้างชุมชนสีเขียว 4.จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผักอาหาร

ทั้งนี้ “ปลูกผักสวนครัว เฟส 2” จะเริ่มทันทีในวันที่ 1 กรกฎาคมเดือนมหามงคล สู่ความสำเร็จ 5 ธันวาคม นำพาชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร สร้างประเทศชาติสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

"บิ๊กตู่"ชมโชว์ปลูกผักกินเองสู้ภัยโควิด-19 หนุนต่อยอด OTOP สู่ครัวโลก


          
"บิ๊กตู่"หนุนต่อยอด OTOP อาหาร “ครัวไทยสู่ครัวโลก” หลัง มท.1 นำคณะเข้าพบ โชว์ความสำเร็จแบรนด์ “OTOP Thai Taste” เปิดตัว 10 เมนูใหม่พร้อมทาน ภายใต้โครงการ “ยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้” ชูจุดแข็งเก็บรักษาไว้กินได้นาน ตอบรับสั่งซื้อทางออนไลน์ ยุค New Normal มุ่งหวังสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดครบวงจร ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ชุมชนทั่วประเทศ
          
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา 09.00 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยก่อนการประชุม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะฯ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางรชตภรณ์ โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ นางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เข้าพบ เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ “โครงการยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP  



พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมความคืบหน้าของการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการรณรงค์ปลูกพืชผักสวนครัวสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จนมีผู้เข้าร่วมโครงการสูงเกือบ 12 ล้านครัวเรือน
          
โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินดังกล่าวว่าเป็นเรื่องที่ดี ควรดำเนินการให้ต่อเนื่อง ทำให้คนมีพืชผักสวนครัวทำอาหารปลอดภัยกินกันในครัวเรือน และเมื่อมีผลผลิตเหลือกินสามารถนำไปผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปตามโครงการได้ ทั้งได้แนะนำอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนว่าราชการควรมีการช่วยเหลือ กลุ่มชาวบ้าน หรือ OTOP ให้มีเครื่องมือ เครื่องจักรในการทำอาหารสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของพืชผักสวนครัวหรือพืชสมุนไพรที่แต่ละบ้านปลูกด้วย เพื่อให้ครัวไทยเป็นครัวโลกต่อไป
          
ด้านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงานร่วมกับสถาบันอาหารจัดทำ “โครงการยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้” โดยนำสูตรมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้จำนวน 10 เมนู มาพัฒนาเป็นสินค้าอาหารพร้อมบริโภค สะดวกต่อการรับประทาน มีการทดลองปรับปรุงสูตรการผลิตอาหารถิ่นที่ผ่านการคัดเลือก ให้เหมาะสมต่อการยืดอายุ โดยการนำเทคโนโลยีการผลิต 2 เทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่ เทคโนโลยีการยืดอายุด้วยเครื่องฟรีซดราย (Freeze Dryer) หรือเทคโนโลยีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง และเทคโนโลยีการยืดอายุอาหารโดยใช้เครื่องรีทอร์ท (Retort) หรือเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อภายใต้แรงดัน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจหากเก็บรักษาให้พ้นความชื้นและแสงแดด สามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานกว่า 1 ปี โดยมีเป้าหมายจัดทำเป็นสินค้าต้นแบบเพื่อให้เกิดการผลิตสู่เชิงพาณิชย์และดำเนินการทดสอบตลาดแบบครบวงจร สินค้าได้รับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ และใช้ตราสัญลักษณ์หรือแบรนด์ OTOP Thai Taste ระบุข้อมูลโภชนาการต่อหน่วยบริโภค และจุดเด่นเรื่องราว (Story) ของผลิตภัณฑ์ ลงบนฉลากบรรจุภัณฑ์ ตามมาตรฐานสินค้าระดับสากล คาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 36 โดยสินค้าต้นแบบที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีฟรีซดราย ในอนาคตตั้งราคาจำหน่ายไว้ 89 บาท ส่วนสินค้าที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีรีทอร์ท จะจำหน่ายในราคา 50 บาท จากเดิมที่ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าแบบปรุงสดได้ในราคาประมาณ 30 บาทเท่านั้น
          
ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 50 รายนั้น กระจายอยู่ในหลายจังหวัด จาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ แม้การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตจะดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ แต่ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ ผู้ประกอบการให้ความสนใจและมองเห็นโอกาสที่จะปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้สอดรับกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ประเมินว่าจากการดำเนินงานในครั้งนี้จะช่วยสร้างรายได้จากการจำหน่ายวัตถุดิบและเกิดการจ้างงานภายในชุมชนที่ร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 50 ชุมชน คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 4.2 ล้านบาท
          
อย่างไรก็ตาม จากวิถีชีวิตแบบปกติใหม่หรือ New Normal ที่ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น เกิดกิจกรรมการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น และนิยมซื้อทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญ ผู้บริโภคเองต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย รูปแบบต่าง ๆ อาหารพร้อมปรุง อาหารพร้อมรับประทาน อาหารที่มีอายุเก็บรักษานาน และอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตสูง ผู้ประกอบการ OTOP ด้านอาหารและเครื่องดื่มเองก็ต้องปรับตัว ปรับวิธีคิด ปรับขั้นตอนและกระบวนการผลิต โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์มีอายุยาวนานขึ้น เพื่อตอบโจทย์ตลาดให้ทัน ขณะเดียวกันต้องเร่งยกระดับสินค้าอาหารให้ได้มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย ให้ตลาดเกิดการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาสินค้าอาหารด้วยการแปรรูปโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์นับเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการมิอาจละเลยได้อีกต่อไป
          
ขณะเดียวกันได้มีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ และมีศักยภาพทางการผลิตในเชิงพาณิชย์ จำนวน 50 ราย จาก 24 จังหวัด 5 ภูมิภาค แบ่งเป็นภาคเหนือ 10 ราย จาก 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำพูน ลำปาง และพะเยา ภาคใต้ 10 ราย จาก 5 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ยะลา นราธิวาส พัทลุง และนครศรีธรรมราช ภาคกลาง 5 ราย จาก 5 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 ราย จาก 3 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา มหาสารคาม และอุบลราชธานี และภาคตะวันออก 9 ราย จาก 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง และชลบุรี เพื่อให้เข้าร่วมโครงการฯ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ในการยืดอายุผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์ ด้วยการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์กลุ่ม และประเมินองค์ความรู้ผ่านทางโทรศัพท์
          
"ขั้นตอนต่อจากนี้คือการผลักดันสินค้าต้นแบบสู่ตลาด เพื่อดำเนินการทดสอบตลาดแบบครบวงจรและสร้างการรับรู้ไปสู่เครือข่ายการผลิตอาหารไทย และผู้บริโภค เช่น บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ทั้ง 76 จังหวัด ผู้ประกอบการอาหาร และ ผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 2,600 ชิ้น/จังหวัด และ กทม. 7,400 ชิ้น รวม 205,000 ชิ้น กระจายสินค้าส่งไปยังทั่วประเทศ คาดว่าจะรับมอบสินค้าครบตามจำนวนภายในเดือนสิงหาคมนี้" อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าวอย่างมั่นใจ
          
สำหรับการต่อยอดการแปรรูปผักสมุนไพร ในขณะนี้กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “ยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้” โดยได้คัดเลือกเมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ และมีวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน จำนวน 10 เมนูเป็นเมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้พร้อมรับประทานภายใต้แบรนด์ “OTOP Thai Taste” ด้วยรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ที่ทันสมัย เก็บรักษาได้นานกว่า 1 ปี ได้แก่ แกงฮังเลไก่ น้ำยา(น้ำเงี้ยว) มัสมั่นไก่ แกงไตปลา ต้มโคล้งปลาย่าง แกงป่าไก่ น้ำยาป่า แกงเห็ด แกงส้มมะละกอ และแกงกระวานไก่ ปรับปรุงสูตรและพัฒนากระบวนการผลิตด้วย 2 เทคโนโลยียืดอายุผลิตภัณฑ์ ทั้งจากเครื่องฟรีซดราย (ทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง) และจากเครื่องรีทอร์ท(ฆ่าเชื้อภายใต้แรงดัน) พร้อมทยอยส่งทดสอบตลาดทั่วประเทศ คาดกระจายครบทุกจังหวัด 205,000 ชิ้นภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายวัตถุดิบและเกิดการจ้างงานภายในชุมชนที่ร่วมโครงการฯ คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 4.2 ล้านบาท สามารถเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้ ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
          
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวด้วยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชน “น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน และเพื่อสร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ โดยมีครัวเรือนเป้าหมาย 12.9 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563
          
สำหรับแผนปฏิบัติการ 90 วัน“ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” กรมฯ ได้ประกาศเป็น Quick Win หรือวาระเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้เห็นผลลัพธ์ในเร็ววัน โดยมี 6 กิจกรรมสำคัญ คือ 1.จะพัฒนาใครเขา ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน 2.ผู้นำต้องทำก่อน 3.ผนึกกำลัง ตั้งระบบ ทำให้ครบวงจร 4.ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน 5.สร้างเครือข่ายขยายผล 6.การคัดเลือกบุคคลต้นแบบและเชิดชูเกียรติ ทั้งนี้มุ่งหมายให้บรรลุผลตามแผน คือ มีความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน และลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน ตลอดจนสามารถสร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือน และระดับกลุ่มอาชีพ ซึ่งกรมฯมีครัวเรือนเป้าหมายที่จะดำเนินการรณรงค์ทั้งหมดจำนวน 12.9 ล้านครัวเรือนสำเร็จตามโครงการเฟสแรกในวันนี้
          
โดยสิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้น คือ ประชาชนมีผักทานเองในบ้านโดยที่ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ประชาชนชอบรับประทานผักอะไรก็ปลูกอันนั้น คิดง่าย ๆ หากประชาชน จำนวน 12 ล้านครัวเรือนประหยัดเงินจากการซื้อผักครัวเรือนละ 50 บาท เท่ากับเราจะช่วยให้ประชาชนประหยัดเงินได้ 600 ล้านบาท/วัน 18,000 ล้านบาท/เดือน และสามารถประหยัดได้กว่า 200,000 ล้านบาท/ปี เหลือจากรับประทานในครัวเรือน ก็แบ่งปันกันระหว่างเพื่อนบ้าน ระหว่างคนในชุมชน และความคาดหวังในอนาคต คือ เมื่อประชาชนได้ปลูกผักรับประทานเองได้ ต่อไปประชาชนจะได้รับประทานผักที่ปลอดภัย เพราะปลูกทานเอง เราจะระมัดระวังเรื่องของสารเคมีต่าง ๆ ที่จะใช้โอกาสที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมปลูกผักต่อ หรือต่อยอดในรูปแบบอื่น ได้แก่ 1.พัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน หรือฝึกประสบการณ์ให้กับสถานศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆได้ ทั้งในและนอกประเทศ 2.ธนาคารอาหารของชุมชน ตู้เย็นข้างบ้านมีผักกินตลอดกาล หรือกองทุนเมล็ดพันธุ์ชุมชน 3.พัฒนาขยายผลเป็นโคก หนอง นา โมเดล สร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างสิ่งแวดล้อมสมดุลอย่างยั่งยืน “สนับสนุนธุรกิจ Start Up ขายผักสด หรือผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพร” 4.เชื่อมโยงประสานการสนับสนุนโดยคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ซึ่งมีอยู่ ทุกจังหวัดให้เป็นกลไกกลางในการเชื่อมโยงผักปลอดภัยจากผู้ผลิตสู่ตลาด 4 ร ได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร 5.ส่งเสริมการแปรรูปผักสมุนไพร นำไปสู่การลงทะเบียน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มช่องทางการตลาด
          
นอกจากนั้นแล้ว กรมฯ ยังมีแผนการดำเนินงานต่อไป คือ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ซึ่งจะดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 5 ธันวาคม 2563 เพื่อเป้าหมาย 5 ประการสำคัญคือ 1.ความต่อเนื่องคือพลัง ส่งเสริมการปลูกพืชผักที่ปลูกอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และปลูกพืชผักเพิ่มเติมจากเดิม รวม 10 ชนิด 2.ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เช่น มะนาว กล้วย มะละกอ เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่ม 3.ชุมชนสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อม และสร้างชุมชนสีเขียว 4.จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผักอาหาร



"อนุสรณ์" ชี้ "สมคิด" เสนอยุบสภา เป็นคำสารภาพรัฐบาลมีปัญหา



วันที่ 30 มิ.ย.2563 นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เสนอยุบสภา ตั้งรัฐบาลใหม่ แก้ปัญหาโควิด19 เหมือนสิงคโปร์ ว่า สภาพปัญหาของรัฐบาลในขณะนี้ อธิบายให้เห็นภาพชัดได้ด้วยคำพูดของนายสมคิดก่อนหน้านี้ คือ คนเก่าอยู่แก้ปัญหาไม่ได้ ไม่ควรอยู่ คนใหม่มาทำอะไรไม่เป็น ไม่ควรมา เกิดสภาพลักลักลั่น เป็นสุญญากาศทางการบริหาร คนเก่าจะอยู่ต่อก็คายฟันยางสารภาพว่า รัฐบาลมีปัญหา มือไม่ถึง จนต้องเสนอให้ยุบสภาเป็นทางออก 

คนที่มีชื่อจะมาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจคนใหม่ ประชาชนก็ยี้ ไม่เชื่อมั่นกันทั้งเมือง ยึดอำนาจ ยึดเก้าอี้ จนกลายเป็นการยึดโอกาสจากคนไทย ที่ควรจะมีความหวังอยู่รอดจากวิกฤติเศรษฐกิจที่วิกฤติหนัก เพราะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลก ซ้อนวิกฤติเศรษฐกิจไทย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ชี้ชัด จีดีพีโลกหดตัว 4.9 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบร้อยละ 8.1 หดตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพยังแก้ปัญหายาก รัฐบาลที่มีปัญหาหนักขนาดนี้ โอกาสแก้ปัญหาสำเร็จเป็นเรื่องที่ยากมาก

"การต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ เสนอยุบสภา สาเหตุหลักอาจไม่ใช่เพราะโควิด แต่เพราะรัฐบาล มีปัญหา มือไม่ถึง จนไปต่อไม่ได้ อย่าไปพูดถึง นิวนอร์มอลทางการบริหาร ถ้ายังสาละวนอยู่กับโอลด์นอร์มอล แย่งชามข้าว ฉุดการเมืองถอยหลัง ทำประเทศชาติและประชาชนเสียโอกาส" นายอนุสรณ์ กล่าว


"อนุดิษฐ์"ชี้รัฐบาลไร้ยุทธศาสตร์แก้เศรษฐกิจ เน้นความมั่นคงตัวเองแต่ทิ้งประชาชน 

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายว่า ตอนนี้ทุกฝ่ายเริ่มถามหายุทธศาสตร์การใช้เงินกู้ 4 แสนล้านบาท หรือเงินงบประมาณที่โอนมาจากงบปี 2563 ของรัฐบาล ว่าจะจัดลำดับความสำคัญและมุ่งเน้นการแก้ปัญหาก่อนหลังอย่างไร  เช่น การฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศ  การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME การช่วยเหลือคนตกงาน หรือถ้าต้องทำพร้อมๆกันทุกเรื่องจะจัดน้ำหนักของงบประมาณให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่เคยมีการชี้แจงอย่างเป็นรูปธรรมเลย การที่รัฐบาลให้แต่ละหน่วยงานเสนอโครงการเข้าไปแบบต่างคนต่างทำ โดยมองไม่เห็นยุทธศาสตร์ภาพรวม ต้องถือว่าเสี่ยงกับการอนุมัติใช้จ่ายงบประมาณแบบไร้ประสิทธิภาพ สุดท้ายการใช้เงินกู้จำนวนมหาศาลเหล่านี้ อาจลงเอยด้วยการไม่ตอบโจทย์การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ ประเทศอาจประสบสภาวะชะงักงัน เพราะไม่สามารถใช้เงินก้อนสุดท้ายในการสตาร์ทเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้  ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ที่จะเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ก็คือ กลุ่มที่เปราะบางทางด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่กลุ่มคนหาเช้ากินค่ำ หรือ ประชาชนที่ยังตกงานอยู่เกือบ 10 ล้านคนในขณะนี้

โดยเฉพาะงบ 4 แสนล้านบาท ที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ที่มีกระแสข่าวว่า มีรายการประเภท “คุณขอมา” เป็นจำนวนมาก หรือมีการนำโครงการเก่ามาปัดฝุ่นและเสนอเข้าไปใหม่โดยการตั้งชื่อโครงการให้สอดคล้องกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด หรือสอดไส้โครงการที่สามารถใช้งบประมาณปกติดำเนินการได้ โดยนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไม่ได้กำหนดทิศทาง แผนงาน หรือมาตรการการใช้งบประมาณที่ชัดเจนให้ทราบเลย

“สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ จะครบ 3 เดือน ของการจ่ายเงินเยียวยา 5000 บาท แต่ยังมีบางอาชีพที่ยังไม่สามารถกลับไปทำมาหากินได้ตามปกติ  ส่วนที่ได้รับการปลดล็อกแล้ว ก็ยังไม่รู้ชะตากรรมว่าจะไปรอดหรือไม่ เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงล็อกดาวน์ธุรกิจ ส่วนรัฐบาลก็มัวยุ่งกับปัญหาภายในของตัวเอง ทีมเศรษฐกิจก็ขาดเอกภาพเพราะไม่รู้จะฟังใครดี ที่ผ่านมาจึงแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไร้ยุทธศาสตร์” น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว

น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้คนตกงานหลายล้านคน กำลังรอฟังความชัดเจนจากรัฐบาลว่า จะมีนโยบายหรือมาตรการใดออกมาฟื้นฟูเยียวยาพวกเขาอีก หลังจากได้รับเงินช่วยเหลือครบ 3 เดือนแล้ว จากนี้ไป คนตกงานจะทำมาหากินอย่างไรต่อไป  โรงงานที่ปิดตัวไปแล้ว จะมีโอกาสกลับมาเปิดอีกหรือไม่ หรือการจะไปกู้ยืมเงินมาลงทุนในกิจการ SME ก็มีแต่แคมเปญสวยหรูแต่ปฏิบัติไม่ได้จริง อยากถามว่ารัฐบาลได้ลงไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้บ้างหรือไม่ 

“การที่รัฐบาลขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปเรื่อย ๆ ทั้งที่ไม่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อแล้ว แสดงว่ารัฐบาลไม่สนใจเสียงเรียกร้องเรื่องปากท้องของประชาชน เสียงของคนตกงานเกือบ 10 ล้านคนมันเบาไปหรืออย่างไรจึงไม่ยอมยกเลิก ตราบใดที่ยังบังคับใช้กฎหมายพิเศษอยู่แบบนี้ ไม่มีวันที่นักลงทุนจะเชื่อมั่น ดังนั้นจะไม่มีการจ้างงานใหม่ คนก็จะตกงานมากมายอยู่เหมือนเดิม การที่รัฐบาลยังเดินหน้าใช้ พรก.ฉุกเฉินต่อ แสดงว่า พล.อ.ประยุทธ์ เลือกความมั่นคงของรัฐบาล มากกว่าการแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชน" น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว

"สนธิรัตน์"นิมนต์พระเสียดายแดดร่วมถก ผลักดันโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน



วันที่ 29 มิถุนายน 2563 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการโซล่าร์ภาคประชาชน รูปแบบใหม่ โดยมีตัวแทนจาก เครือข่ายประชาชนปฎิรูปพลังงานไทย (คปพ.)เป็นตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมประชุม อาทิ นางสาวรสนา โตสิตระกูล  นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม หมู่ 5 บ้านดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี  พระผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม ที่นำโซลาร์เซลล์มาประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือเรียกว่าพระเสียดาแดดเป็นต้น

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุดเพื่อทบทวนหลักเกณฯฑ์การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชน ซึ่งกำหนดเป้าหมายไว้เพียง 50 เมกะวัตต์ในระยะ5ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 100 เมกะวัตต์ในระยะ 10 ปี
          
ทั้งนี้ที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวมีอุปสรรคหลายด้านทำให้มีผู้มายื่นเสนอโครงการเพียง 1.8 เมกะวัตต์ โดยการพิจารณาหลักเกณฑ์ใหม่จะพิจารณาตั้งแต่เรื่องของอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่กำหนดไว้ 1.68 บาทต่อหน่วย จะปรับเพิ่มขึ้นได้อย่างไร การนำระบบ Net Meterring มาใช้ ตลอดจนการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อมาสนับสนุนให้เกิดการติดตั้งโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน และการกำหนดพื้นที่ รวมถึงความพร้อมของระบบสายส่งไฟฟ้าที่จะมารองรับ
          
"อีก 2 เดือน การพิจารณาเกณฑ์โซลาร์ภาคประชาชนต้องมีผลในทางปฏิบัติ ซึ่งโครงการนี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนได้เพราะสามารถผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เอง โดยปัญหาอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นจะต้องทลายมันออกไปให้หมด" นายสนธิรัตน์ กล่าว
          
อย่างไรก็ตามในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 30 มิ.ย.คาดว่าจะมีการพิจารณาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พ.ศ.2561-2580) หรือพีดีพี2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่1 รวมทั้งเงื่อนไขการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งหากได้รับการอนุมัติก็จะสามารถเริ่มดำเนินได้ในวันที่ 1 ก.ค. โดยเริ่มก่อนที่โครงการ Quick Win 100 เมกะวัตต์
          
ด้านน.ส.รสนา โตสิตระกูล แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) กล่าวว่า โครงการโซลาร์ภาคประชาชนจะช่วยตอบโจทย์เรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การช่วยลดรายจ่าย และเปิดหลังคาบ้านเพื่อหารายได้ ซึ่งได้เสนอว่ารัฐควรนำระบบ Net Meterring มาใช้ โดยการเปิดรับซื้อไฟฟ้าในส่วนที่เหลือจากการใช้ภายในบ้านแล้ว

ทั้งนี้พระครูวิมลปัญญาคุณ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กพระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม ความว่า "ความหวังโซล่าร์ประชาชน 50 เมกะวัตต์ ตามแผน PDP มีคนสมัครแค่ 1.8 เมกะวัตต์ รัฐมนตรีก็อยากให้เกิด ประชาชนก็อยากให้เกิด วันนี้จึงได้ประชุมร่วมกันถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จนได้แนวทางเบื้องต้นในระยะเวลา 60 วันนี้กะบวนการต่างๆ ต้องจบลงพร้อมกับ 50 เมกะวัตต์ต้องอยู่บนหลังคาประชาชน ต้องขออนุโมทนากับคุณสนธิรัตน์ ที่ได้คุยกันมาในเบื้องต้นก่อนแล้วทำอย่างไรจะให้ประชาชนมีรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า ช่วยแบ่งเบาภาระในช่วงโควิด และยังได้พลังงานสะอาด เมืองไทยพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ยังมีนโยบายดีๆ ที่เป็นข้อเสนอร่วมกันอีกเยอะ ในที่ประชุมบอกว่าใครได้เข้าโครงการนี้เหมือนถูกหวย ศรีแสงธรรม"


เรียนสันติศึกษาโท-เอก "มจร" จบรับปริญญา แถมได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท "ยธ."



หลักสูตรสันติศึกษา "มจร" ขอนำหลักสูตรอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 กระทรวงยุติธรรม ประกอบรายวิชาระดับปริญญาโทและเอก นิสิตเรียนจบได้รับปริญญาสันติศึกษา แถมได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท "ยธ."

วันที่ 29 มิถุนายน 2563 ที่ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม อาคารราชบุรีดิเรกฤกษ์ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  ได้เข้าชี้แจ้งต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาและขับเคลื่อนการดำเนินงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กระทรวงยุติธรรม เพื่อขอใช้หลักสูตรอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 โดยมีนายเรืองศักดิ์ สุวารี  อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม

พระมหาหรรษา กล่าวว่า สาระสำคัญคือหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ ระดับปริญญาโทและเอก ได้นำเนื้อหาหลักสูตรดังกล่าวไปจัดเป็นหนึ่งในรายวิชากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จำนวน 3 หน่วยกิต ซึ่งเมื่อนิสิตเรียนจบวิชาดังกล่าว จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ทันที

ขณะเดียวกันเพื่อตอบโจทย์การเสริมสร้างสังคมสันติสุข ซึ่งมหาจุฬาฯ มีวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ และห้องเรียน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 46 จังหวัดของประเทศไทย หลักสูตรสันติศึกษาจะเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้น 5 วัน เพื่อพัฒนาผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนอมตาม พ.ร.บ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วย

ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวเป็นผลจากการที่มหาวิทยาลัยได้ลงนามความร่วมมือกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อร่วมกันพัฒนานักไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.2562 เมื่อปีที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้อนุมัติให้สถาบันพระปกเกล้า สภาทนายความ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้หลักสูตรดังกล่าวเช่นเดียวกัน

กลุ่มเพื่อไทยพลัสแถลงยิ่งใหญ่ จัดสัมมนาออนไลน์เยาวชนอาเซียนรับมือโควิด-19




วันที่ 29 มิ.ย.2563 นายจุลพันธุ์  อมรวิวัฒน์ ประธานกลุ่มเพื่อไทยพลัสกล่าวว่าแม้จะมีช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาพวกเราก็ยังมีการประชุมผ่าน Zoom กันมาตลอด แต่การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทำได้ยากขึ้นเพราะต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคมในเรื่องของโรคโควิด-19 ตอนนี้เมื่อสถานการณ์คลี่คลายขึ้นบ้างแต่ก็มีปัญหาเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจและปัญหาปากท้อง ตามมา เราก็พยายามจะหาทางออกเพื่อให้สังคมได้ปรับตัวสำหรับแนวทางหรือสังคม New Normal ที่จะเกิดขึ้นในสังคมต่อไปหลังจากโรคโควิด-19 ซาลง

วันนี้กลุ่มเพื่อไทยพลัสได้เตรียมการที่จะจัดสัมมนาทางออนไลน์ เรื่องแรกคือความร่วมมือทางอาเซียน หลังโควิด-19 เรื่องที่ 2 คือเรื่องสตาร์ทอัพ ต้องยอมรับว่าเด็กยุคใหม่ในเมืองไทยเข้าสู่กระบวนการดิจิตอล ซึ่งการสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของประชาชนในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเราจะเชิญบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะ ให้เข้ามาร่วมเสวนากับพรรค เพื่อจะนำแนวคิดไปปรับใช้ได้ ครั้งที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพหลังโควิด-19 สภาวะหลังจากโรคระบาด เชื่อได้ว่าการทำมาหากิน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งก็จะเรียนเชิญบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นติวเตอร์มาแนะนำให้ความเห็นกับน้องๆเยาวชนต่อไป

ทั้งนี้การเสวนาออนไลน์จะเป็นภาษาอังกฤษพร้อมกับมีการแปลสรุปเป็นภาษาไทยสั้นๆ ในวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00น.  ผู้ร่วมเสวนาได้แก่ ประเทศไทย เวียดนาม สิงค์โปร์ และลาว 

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ดาหน้าร้องผ่าน"ชวน"! ค้านรัฐบาลมีนโยบายดันไทยเข้าร่วม CPTPP



วันที่ 29 มิ.ย.2563   ที่ห้องแถลงข่าว อาคารรัฐสภา นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และนายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เพื่อขอคัดค้านการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)  สืบเนื่องจากรัฐบาลมีแนวนโยบายที่ต้องการให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ซึ่งในส่วนการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนใน CPTPP ได้กำหนดให้สมาชิกเปิดเสรีในระดับสูง เพื่อให้สิทธิต่อผู้ให้บริการต่างชาติเข้ามาถือหุ้นข้างมากในนิติบุคคลในประเทศสมาชิก ตลอดจนการให้สิทธิเข้ามาซื้อกิจการอย่างเสรีและการให้สิทธิจัดตั้งกิจการแข่งขันกับ SMEs ในประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี ทั้งนี้ สมาพันธ์ฯ ได้ศึกษาถึงผลกระทบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พบว่า CPTPP จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจการขนส่งทางบก ธุรกิจโลจิสติกส์ และความมั่นคงของประเทศไทย ดังนั้น จึงมีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลง CPTPP ของไทย ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในขณะนี้ โดยควรให้ประเทศไทยมีการพัฒนาจนกว่ามีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน

2. กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดใน CPTPP ยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายไทย ต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลและความพร้อมด้านต่าง ๆ มากกว่านี้  รวมทั้งหน่วยงานรัฐควรทำความเข้าใจกับภาคเอกชนให้ครอบคลุมกว่าที่เคยปฏิบัติมา โดยให้มีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ

3. ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยจัดตั้งสภาการขนส่งทางถนนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์กรเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในทุกกรณี อาทิ การแก้ไขปัญหาและการเยียวยา การสนับสนุนรัฐในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและครอบคลุมรอบด้าน

4. จัดให้มีกฎหมายรองรับในการสนับสนุนส่งเสริมและการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกกระบวนการของภาคธุรกิจโลจิสติกส์ อาทิ ปรับปรุง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ พ.ศ. ....

5. จัดหามาตรการด้านการเงินเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการไทย ได้แก่

1) จัดสรรเงินกู้ หรือจัดตั้งกองทุนให้ผู้ประกอบการเพื่อลดต้นทุนสำหรับผู้นำเข้าและผู้ส่งออก

2) ลดอัตราการเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม

3) ลดค่าธรรมเนียมและค่าบริการกับธนาคารพาณิชย์

6.. ผ่อนผันกฎระเบียบผู้นำเข้าและผู้ส่งออกให้กับกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับ Supply chain ระหว่างประเทศ อาทิ ค่าระวาง ค่าสินค้าและบริการภายในประเทศ ฯลฯ

7. รัฐบาลควรสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจ และพัฒนาบุคลากรให้เป็นมาตรฐาน

ด้านนายสมบูรณ์ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งต่อให้กับคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อศึกษาและพิจารณาต่อไป 

ผอ.สันติศึกษา "มจร" เผยปม คนสนใจเรียน ป.เอก สันติศึกษา หวังนำเครื่องมือปรับใช้ยุค New Normal



วันที่ 29 มิถุนายน 2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวถึงกรณีที่มีบุคคลสนใจสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา รุ่นล่าสุดกว่า 80 รูป-คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต  พระสงฆ์นักเทศน์ นักบรรยายธรรมะเดลิเวอรี่ และพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ  พระสงฆ์นักเขียนที่มีผู้ติดตามผลงานจำนวนมาก รวมถึงนายจาตุรงค์ สรนุวัตร อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรีว่า การที่จะศึกษาเพื่อที่จะทำให้เข้าใจหลักสูตรสันติศึกษาอย่างถ่องแท้ในมิติต่างๆ นั้น จำเป็นต้องเรียนรู้องค์ประกอบของสันติศึกษา (Peace Studies Anatomy) เพื่อป้องกันมิให้เกิดมายาคติ (Myth) ต่อหลักสูตรสันติศึกษา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงขอนำเสนอสาระสำคัญเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.สันติศึกษาเป็นสาขาวิชาที่สร้างและออกแบบโดยพระพุทธเจ้า  โดยผลิตขึ้นจากพุทธพจน์ที่ว่า "สันติเมว สิกเขยยะ" แปลว่า "พึงศึกษาสันติเท่านั้น"  ฉะนั้น สันติศึกษาจึงมาจาก 2 คำ คือ "สันติ" กับคำว่า "สิกขา"  โดยพระองค์ทรงย้ำอีกว่า "สันติมัคคเมว พรูหยะ" แปลว่า "ท่านจงพอกพูนสันติมรรคเท่านั้น"  สันติมรรคในประเด็นนี้ก็คือสันติวิธีนั่นเอง การเรียนสันติศึกษา คือการเรียนสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตอกย้ำและเชิญชวนให้ทุกชาวโลกเห็นความสำคัญว่า ถ้าชีวิต ชุมชน สังคม และโลกจะรอดต้องสันติ และสันติวิธีเท่านั้น การเรียนสันติศึกษาจึงเป็นการเรียนรู้ชีวิตและลมหายใจของพระพุทธเจ้าโดยตรง

2.สันติศึกษาเป็นการศึกษา เพื่อพัฒนาให้สันติเกิดขึ้นในจิตใจและสังคม ผ่านกระบวนการศึกษาและพัฒนาใน 3 ด้าน ที่เรียกว่า  "ไตรสิกขา" 
     
(1) ศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมอันได้แก่กายและวาจาปกติ หนักแน่นไม่หวั่นไหวดุจศิลา (อธิสีลสิกขา) มีศักยภาพและทักษะในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ทั้งการสื่อสาร การเป็นผู้นำ การไกล่เกลี่ย สมานใจคน การเป็นนักจิตอาสาช่วยเหลือคนอื่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทีมงานเป็นทีม และการออกแบบและสร้างกระบวนการยุติธรรมทางสังคม
     
(2) ศึกษาเพื่อพัฒนาจิตใจให้สงบเย็น จนเกิดการตื่นรู้ภายในแล้วออกไปสร้างสังคมแห่งการตื่นรู้ (อธิสีลสิกขา) สันติศึกษาจึงมีสติศึกษาเป็นฐาน ผ่านการเรียนรายวิชาสติภาวนาสำหรับวิศวกรสันติภาพ วิชาสันติภาวนาเสวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิสิตต้องผ่านการทำสติภาวนาเป็นระยะเวลา 45 วันของหลักสูตร 
     
(3) ศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญา เพื่อสร้าง Mindset และพัฒนาระบบคิดโดยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์และมุมมองใหม่ (Paradigm) เพื่อให้สามารถบ่มเพาะปัญญาสันติ แล้วออกไปรับใช้ผู้อื่นด้วยการเสริมสร้างชุมชนและสังคมสันติสุข (Cultivating Wisdom Serving Peace) ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาพุทธสันติวิธี แนวคิดและทฤษฏีด้านสันติศึกษา และวิจัยชั้นสูงสำหรับการสร้างสันติภาพ

สรุปแล้ว สันติศึกษาจึงกระบวนการในการฝึกฝนและบ่มเบาะ 3 ขั้น คือ ปลุกปัญญาเพื่อสันติ ปลูกสติเพื่อสันติ ปรับพฤติกรรมทำงานรับใช้เพื่อนมนุษย์อย่างสันติ

3. เป้าหมายของสันติศึกษา หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) นั้น มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็น "วิศวกรสันติภาพ" โดยการสร้างสันติภาพภายในแล้วออกไปสร้างสันติภาพภายนอก การสร้างสันติภาพจึงเป็นการสร้าง 4 ภาพต่อไปนี้
    
(1) สร้างกายภาพ อันได้แก่ เห็นคุณค่าและรักษาฟื้นฟูธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ตระหนักรู้และมีทักษะการพัฒนาอาชีพการเป็นอยู่ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนให้สามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุข
    
(2) สร้างพฤติภาพ อันได้แก่ การมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการอยู่กับผู้ในชุมชน สังคม เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อย่างสันติสุข รักและไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ใส่ใจดูแลชุมชนและสังคม เป็นพลเมืองโลกที่ดี
    
(3) สร้างจิตภาพ อันได้แก่ การเป็นคนที่มีจิตใจที่ดีงามพร้อมที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มีสติตื่นรู้ เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการตื่นรู้ จิตใจมั่นคงพร้อมที่จะเผชิญหน้า และจัดการกับสถานการณ์ความขัดแย้งและรุนแรงอย่างมีสติ ขันติ และสันติ
    
(4) สร้างปัญญาภาพ อันได้แก่ การมีปัญญาเพื่อสันภาพ มีทักษะสามารนำเสนอแผนที่ความขัดแย้ง แล้วออกแบบกระบวนการสร้างสันติภาพในครอบครัว ชุมชน องค์กรและสังคม เพื่อให้กลุ่มคนต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

สันติศึกษาจึงเป็นได้มากกว่าวิชาชีพ เพราะเน้นวิชาชีวิต เน้นเครื่องมือในการจัดการชีวิตตน ชีวิตคน และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างประสมกลมเกลียว ผ่านกระบวนการจัดการความขัดแย้งภายในใจจนเกิดสันติภาพภายใน แล้วออกไปจัดการความขัดแย้งภายนอกจนเกิดสันติภาพภายนอก

4. สติ ขันติ สันติ: ไม่มีวันที่สันติเกิดขึ้นได้ หากไม่มีคำว่า สติ และขันติ ทั้งสามคำนี้ มีปรากฏอยู่ในบทโอวาทปาติโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศหลักการ 3 อุดมการณ์ วิธีการ 6 หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่ 3 คำนี้ พระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งสติ ศาสนาแห่งขันติ และศาสนาแห่งสันติ  ฉะนั้น จิตวิญญาณที่เป็นแก่นและแกน (Core Values) ของสันติศึกษาจึงเน้นพัฒนาสามคำนี้ให้อยู่ในวิถีชีวิตของวิศวกรสันติภาพ

ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มจร กล่าวโดยสรุปว่า  สันติศึกษาคือการศึกษาเพื่อถอดบทเรียนชีวิตและลมหายใจของพระพุทธเจ้า ที่ครั้งหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเคยสนใจแต่ชีวิตของตัวเอง แต่วันหนึ่งได้ตัดสินใจปล่อยวางความสุขส่วนตนออกไปค้นหาความสุขที่แท้จริง ในที่สุดจึงพบว่า "สุขอื่นยิ่งกว่าความสันติไม่มี" จึงได้นำพลังแห่งสันติสุขไปช่วยเหลือชาวโลกตลอดระเวลา 45 ปี

สิ่งสำคัญของการเรียนรู้สันติศึกษ  คือ "สันติมรรค" หรือ "สันติวิธี" อันเป็นเครืองมือที่พระพุทธเจ้าได้ออกแบบและนำไปเสริมสร้างชีวิต ชุมชน และสังคมสันติสุข การเผชิญหน้ากับปัญหาความขัดแย้ง ความรุนแรง ท่ามกลางความต้องการ ภาษา วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ค่านิยม ความเชื่อ และโครงสร้างที่หลากหลาย พระองค์มีหลักการ วิธีการ กระบวนการและขั้นตอนในการสร้างสันติภาพอย่างไร

พระมหาหรรษา กล่าวด้วยว่า การที่กลุ่มคนจำนวนมากสนใจและตัดสินใจมาเรียนเรียนรู้สาขาสันติศึกษา ก็เพราะต้องการคำตอบเหล่านี้  คำตอบที่สามารถนำไปใช้เป็นบทเรียนที่ปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทการดำเนินชีวิตและการทำงานรับใช้ผู้อื่น และทั้งมุ่งหวังที่จะได้มือที่ผ่านการออกแบบและปรับรูปที่เข้ากับวิถีสังคมยุคปกติใหม่ (New Normal) ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

ทีมเศรษฐกิจ"ปชป."ดึงกูรูถกออนไลน์ มุมองการค้าไทย-จีนกรอบ CPTPP



ทีมเศรษฐกิจทันสมัย ปชป. ดึงเหล่ากูรูไทยจีน ร่วมแชร์มุมมอง 45 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : จากยุคคอมมิวนิสต์สู่ยุคดิจิทัล เข้าใจอดีต มองอนาคต! ผ่านงานเสวนาออนไลน์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์เสนอมุมความเข้าใจเรื่องการค้าโลกภายใต้กรอบ CPTPP  

วันที่ 29 มิถุนายน 2563 นางดรุณวรรณ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่าในวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2563 นี้ ทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายปริญญ์ พาณิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย จะจัดเสวนาออนไลน์ในประเด็น 45 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : จากยุคคอมมิวนิสต์สู่ยุคดิจิทัล เข้าใจอดีต มองอนาคต! โดยเชิญบรรดากูรูไทยจีน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของทีมและจากภายนอกมาคุยกันแบบสด ๆ พร้อมเปิดให้ทางบ้านสามารถถาม แชร์มุมมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่กับเหล่ากูรู 

นายปริญญ์ ได้เผยถึงที่มาของการจัดงานเสวนาออนไลน์ในครั้งนี้ว่า ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน ครบ 45 ปี ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ มิติความสัมพันธ์มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนมากขึ้นในช่วงที่สองมหาอำนาจ จีนและอเมริกาเข้าสู่สงครามเย็นกลายๆ ดังนั้นประเทศไทยจะต้องปรับตัวอย่างไรทั้งในประเด็นด้านการเมือง/ความมั่นคง นโยบายภาครัฐและจุดยืนของเอกชน การลงทุน ทิศทางการค้าและข้อตกลงทางการค้าต่าง ๆ รวมถึงด้านเศรษฐกิจดิจิตอลที่ต้องจับตามองแบบใกล้ชิด

"ประเด็นเนื้อหาที่ผมและเหล่ากูรูไทยจีนจะพูดคุยในงาน คือประเทศไทยจะบาลานซ์และเดินต่ออย่างไร ทั้งในด้าน การเมือง/ความมั่นคง นโยบายภาครัฐและจุดยืนของเอกชน การค้าไทย-จีนจะเติบโตไปในทิศทางใดภายใต้ BRI RCEP CPTPP... รวมถึงการลงทุนระหว่างสองประเทศจะเบ่งบานขนาดไหน และที่สำคัญที่หลายคนจับตามองคือเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลว่าจะมีอะไรใหม่ ๆ ทั้งเรื่อง 5G ปัญญาประดิษฐ์ Ai บล็อกเชน Blockchain การค้าออนไลน์ eCommerce เงินสกุลดิจิตอล Digital Yuan ... ฯลฯ" นายปริญญ์ กล่าว

นางดรุณวรรณ กล่าวต่อด้วยว่า เหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนในงานนี้ล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี นำโดยนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ผู้ที่เดินทางไปครบทุกมณฑลในจีน  นายโจว ฮอร์น พัธโนทัย ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาการเงินการลงทุนไทย/จีน ที่มารดาเคยเป็นลูกเลี้ยงของ โจว เอิ้น หลาย อดีตผู้นำจีน ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร นักวิชาการคนรุ่นใหม่ด้านไทยจีนสุดยอดคนหนึ่งของไทย และนายสัญชัย ปอปลี กูรูด้านบล็อกเชนที่จะมาไขกระจ่างเหรียญเงินสกุลดิจิตอลจีน และมิติใหม่ของเศรษฐกิจทันสมัยที่ไทยต้องประสานกับจีน และดำเนินรายการเสวนาโดยนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และนาย อี้ แทนคุณ จิตต์อิสระ กูรูจีนอีกคนของพรรคประชาธิปัตย์

"ประเด็นเรื่องไทยจีน มีผู้ให้ความสนใจและติดตามมาก โดยเฉพาะยุคหลังโควิด-19 แม้ในสถานการณ์ปัจจุบัน จะไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมที่สามารถเชิญชวนคนให้มาร่วมฟังเสวนากันแบบเป็นจำนวนมากได้ แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของทีมเศรษฐกิจทันสมัย เพราะสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมผ่านออนไลน์เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ แลกเปลี่ยน และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญของทีมฯ ในการทำหน้าที่เป็น Think Tank ให้กับสังคมไทยในมิติทางด้านเศรษฐกิจทันสมัย"  นางดรุณวรรณ กล่าว

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ในงานเสวนาออนไลน์ผ่านเฟสบุ๊คเพจ Democrat Party, Thailand พรรคประชาธิปัตย์ โดยที่ทางบ้านสามารถถาม แชร์มุมมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่กับเหล่ากูรู ในวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2563 นี้ ตั้งแต่เวลา 19.30 น เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ได้เผยแพร่ คลิปเรื่อง CPTPP ▪ ความเข้าใจเรื่องการค้าโลกและมุมมองของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ UNTAD และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ WTO คือ CPTPP ▪ ความเข้าใจเรื่องการค้าโลกโดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์(1)
https://www.youtube.com/watch?v=edX6_8XfcNE
CPTPP ▪ ความเข้าใจเรื่องการค้าโลกโดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์(2)
https://www.youtube.com/watch?v=jTT_XsErjT8

"พระมหาไพรวัลย์"ไม่หวั่นเสียงต้าน สอบอังกฤษเรียนต่อ ป.เอก สันติศึกษา"มจร"



"พระมหาไพรวัลย์"ไม่หวั่นเสียงต้าน สอบอังกฤษเรียนต่อ ป.เอก สันติศึกษา"มจร"  ขณะที่หลวงปู่วัย 84 ปี เพียรสอบด้วย

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563  สถาบันภาษา ได้จัดการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นิสิตและบุคคลทั่วไป ได้รับเปิดเผยว่า ในจำนวนผู้เข้าสอบได้มีพระนักสื่อสารสังคมชื่อดัง! คือ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ เข้าร่วมสอบภาษาอังกฤษ MCU-GET ด้วย

สำหรับ พระมหาไพรวัลย์ ได้สมัครเข้าศึกษาต่อหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มจร ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ว่าด้วยเกณฑ์การวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เข้าศึกษาต่อหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต พ.ศ.2559 กำหนดให้ (ข้อ 5 ) ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อต้องมีผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งที่สถาบันภาษาให้การรับรอง (ข้อ 5.1 ) โดยการสอบ MCU-GET ที่ดำเนินการโดย สถาบันภาษา มจร หรือ (ข้อ 5.2 ) ผลทดสอบจากสถาบันที่สถาบันภาษาให้การรับรอง

ก่อนหน้านี้พระมหาไพรวัลย์ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความต่อกรณีที่ อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ที่เห็นพระสงฆ์เรียนในระบบปริญญามองเลียนแบบทางโลกไม่ใช่ทางดับทุกข์ว่า  "อาตมาขอติงนิดเดียวเท่านั้นเองนะ คืออาตมาคิดว่าโยมยายสุจินต์มองอะไรแคบไป ที่จริงการศึกษามีคุณูปการมาก ต่อให้การศึกษานั้นจะเป็นวิชาการในทางโลกแบบที่โยมยายสุจินต์พูดถึงก็ตาม

อาตมาเห็นว่า ธรรมะ หรือความเป็นพุทธศาสตร์ควรบูรณาการได้ ต่อยอดได้ และก็เป็นการบูรณาการหรือการต่อยอดเพื่อรับใช้ศาสนานั่นแหล่ะ แต่ก่อนที่จะไปถึงการบูรณาการเช่นนั้น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการซึ่งพระเณรจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ ด้วย

อาตมามองว่า พระเณรแต่ละรูปในยุคปัจจุบันนี้มีสิทธิ์ที่จะสนใจศึกษาในเรื่องอะไรที่ตนต้องการแสวงหาความรู้ก็ได้ การที่โยมยายสุจินต์อ้างพระอานนท์ หรืออ้างใครในสมัยพุทธกาลมาเปรียบกับพระเณรในยุคนี้ ดูไม่ค่อยเป็นธรรมสักเท่าไหร่

โยมยายสุจินต์อาจลืมไปว่า พระอานนท์มาจากตระกูลกษัตริย์ ท่านได้รับการศึกษามาอย่างดี เช่นเดียวกัน แม้แต่พระพุทธเจ้ายังผ่านการศึกษามาถึง 18  ศาสตร์ ใครจะมองอย่างไรไม่ทราบ แต่อาตมาเห็นว่า ความรู้ 18 ศาสตร์ ที่พระพุทธเจ้าเคยได้เรียนมา เป็นประโยชน์อย่างมาก เกื้อกูลอย่างมาก แม้แต่ในการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ในหนหลัง

และถ้าพูดอย่างจริงจังแล้ว แม้แต่หลังที่พระพุทธเจ้าหรือพระสาวกออกบวช ก็ไม่ได้หมายถึงว่า ท่านไม่ต้องเรียนรู้อะไรเลย การที่ท่านพยายามทำความเข้าใจกับสังคมกับวิธีคิดของผู้คนในยุคนั้น ไม่ว่าจะก่อนแสดงธรรมหรือก่อนที่จะประกาศศาสนา สิ่งเหล่านั้น หากมองให้ดีแล้วจะเห็นว่าล้วนเป็นการศึกษาในทางสังคมศาสตร์และในทางมนุษยศาสตร์ทั้งสิ้น (พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุเรียนการนับปักษ์ เพราะชาวบ้านตำหนิว่า ภิกษุไม่รู้อะไรเลย)

อาตมาออกจะรังเกียจคำว่า บวชทำไม บวชทำไม ของโยมยายสุจินต์อยู่มากเหมือนกันนะ เพราะมันฟังดูแล้วเหมือนเป็นคำพูดของคนที่ใจแคบโลกแคบเหลือเกิน

ตามความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กุลบุตรชาวพุทธในสังคมสยาม นับย้อนหลังไปกว่า 100  ปี ล้วนออกบวชด้วยเหตุผลอันหลากหลายมากมายแตกต่างกัน

ที่บวชตามประเพณีก็มี ที่บวชเพราะหนีราชภัยก็มาก ที่บวชเพราะต้องฝึกหัดขัดเกลาตัวเองก่อนการออกเรือนก็ถมเถ ในสมัยก่อนวัดเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษา และศาสนาก็เปิดกว้างให้กุลบุตร สามารถอาศัยร่มเงาแห่งผ้ากาสาวพัตร์ฝึกหัดอุปนิสัยตลอดจนถึงศึกษาเล่าเรียนในศิลปะวิทยาการต่างๆ ได้

การศึกษามีคุณูปการมาก แม้อย่างน้อยที่สุดมันให้ชีวิตใหม่กับเด็กผู้ชายหลายต่อหลายคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ศาสนาไม่ได้มีข้อห้ามเลยว่า พระภิกษุสามเณรจะแสวงหาความรู้ไม่ได้ กลับกัน ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ท่านแสวงหาไปเพื่ออะไรต่างหาก หากมองจากมุมนี้ อาตมาเห็นว่า โยมยายสุจินต์ไม่ควรมองโลกเหมารวมหรืออย่างคับแคบเกินไป

ศาสนาไม่มีข้อห้ามว่า พระภิกษุสามเณรที่เข้ามาบรรพชาอุปสมบทแล้วลาสิกขากลับไปครองเรือนไม่ได้ ดังนั้นประโยชน์อย่างน้อยที่สุดของการศึกษา มันอาจช่วยส่งเสริมให้อดีตพระอดีตเณรที่เคยอาศัยผ้ากาสาวพัตร์บวชเรียน ได้ตอบแทนคุณของศาสนาในทางใดทางหนึ่งก็ได้ ได้เป็นพลเมืองที่ดีที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป อย่างนี้ก็ได้ บางรูปบวชแล้วสึกไป เป็นถึงพระมหากษัตริย์ที่ปรีชาสามารถก็ได้

แต่ไหนแต่ไรมา วัดกับบ้านล้วนเกื้อกูลอาศัยกัน และศาสนาก็มีคุณกับลูกหลานของชาวบ้าน มากกว่าการให้นิพพานหรือการพ้นทุกข์ อาตมาเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องของอาตมาหรือไม่ใช่เรื่องของโยมยายสุจินต์ที่จะไปจำกัดหรือตีกรอบว่า พระเณรในอุดมคติควรเป็นแบบไหน หรือพระเณรที่บวชเข้ามาแล้ว ควรมุ่งศึกษาปฎิบัติแต่ในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น

การศึกษาที่แท้จริง แม้ในเรื่องทางโลกไม่ได้ขัดกับความเป็นพระความเป็นนักบวชหรือขัดกับพระธรรมวินัยอย่างใดเลย อาตมากลับเห็นต่างไปว่า การขัดเกลาตัวเองกับการแสวงหาความรู้ เป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้ และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับศาสนาได้

มีพระหลายรูปที่เป็นเครื่องสาธกในเรื่องนี้ได้ดี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็เคยผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัยทางโลกมาก่อน และการศึกษานั้นก็ไม่ได้ทำให้ท่านหลงทางหรือออกห่างจากความเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด กลับกันเพราะอาศัยองค์ความรู้อื่นๆ ที่ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติม ธรรมะของท่านจึงยิ่งเด่นชัด และเป็นไปเพื่อสันติภาพแก่สังคมอย่างแท้จริง

อาตมาเห็นว่า โยมยายสุจินต์ อายุมากแล้ว และอาจจะถึงแก่มรณกาลในอีกไม่นานนี้ นี่พูดแบบธรรมะนะ ไม่ได้แช่งหรืออะไร พวกเราทุกคนล้วนถูกมรณภัยคุกคามอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าสอนพวกเราเช่นนี้ และเพราะเหตุที่อาตมากล่าวเช่นนี้ อาตมาจึงอยากให้โยมยายสุจินต์มีความใจกว้าง อยากให้โยมยายมองโลกด้วยเมตตาธรรมมากขึ้นอีกหน่อย

ศาสนาเป็นสิ่งที่จะถูกสืบทอดโดยคนยุคต่อไป พระเณรรุ่นต่อไป อุบาสกอุบาสิการุ่นต่อไป อาตมายืนยันว่า นอกจากธรรมะ อันเป็นสรณะอันประเสริฐแล้ว องค์ความรู้อื่นๆ เป็นสิ่งที่พระเณรไม่ควรดูแคลนเลย เป็นสิ่งที่พึงศึกษาได้ (อย่างเป็นเรื่องรองจากการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างดีแล้ว)

ยิ่งมีองค์ความรู้มาก มีความแตกฉานในศาสตร์อื่นๆ มาก ธรรมะที่ศึกษามาแล้ว ก็จะเป็นสิ่งที่พระเณรสามารถบูรณาการสามารถปรับใช้อย่างเข้าถึงและเข้าใจในคนกลุ่มอื่นๆ ศาสนาอื่นๆ เป็นธรรมะที่สอดคล้องและไปกันได้กับสังคม กับวิธีคิดกับมุมมองของคนในโลกสมัยใหม่

การศึกษาไม่ใช่เรื่องเสียหาย การแสวงหาความรู้เป็นเรื่องจำเป็น อาตมามองอย่างนี้นะ"


ไม่มีใครแก่เกินเรียน หลวงปู่ วัย 84 ปี เพียรสอบภาษาอังกฤษ”



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษดังกล่าวได้มีพระสุธีปริยัตยาภรณ์ เป็นหลวงปู่วัย 84 ปี เจ้าอาวาสวัดพลับ จังหวัดจันทบุรี ตามที่ทีมงานสถาบันภาษาเปิดเผยว่า "หลวงปู่ ไม่ได้เป็นอาจารย์หรือเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัย แต่หลวงปู่สอบภาษาอังกฤษ MCU-GET มาแล้ว 3  ครั้ง ในแต่ละครั้งหลวงปู่จะดูว่า พัฒนาการและคะแนนภาษาอังกฤษของท่านจะได้เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน" 

ในขณะเดียวกัน ทีมงานได้สัมภาษณ์หลวงปู่ว่า หลวงปู่สอบภาษาอังกฤษเอาไปใช้อะไร  หลวงปู่ตอบว่า "ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก ผมก็เรียนภาษาอังกฤษทุกวัน ฝึกทุกวัน ใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน ไม่ได้พูดก็ฟังข่าว อ่านข่าว ฝึกเขียน มาสอบวันนี้ ก็เพื่อจะวัดความรู้ตัวเองว่าที่เราฝึกทุกวัน วัดเป็นคะแนนการสอบมาตรฐาน จะได้คะแนนเท่าไร ได้มากได้น้อยก็เรียนต่อไปเหมือนเดิม" 

น่าชื่นชมอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะอายุถึง 84 ปี แต่หลวงปู่ยังมีสุขภาพแข็งแรง มีโสตประสาทที่ดีเยี่ยมมาก หลวงปู่ไม่ใช้แว่นตา ไม่ใช้เครื่องช่วยฟัง หรืออุปกรณ์ใดๆในการช่วยทำข้อสอบเลย สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้เข้าร่วมการสอบเป็นอย่างดี

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ปั้นพระลูกศิษย์ แผ่ธรรมแนว New Normal



เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563  เพจธรรมะอารมณ์ดีได้โพสต์ข้อความว่า  พระธรรมวิทยากรธรรมะอารมณ์ดี นำเทคโนโลยีมารับใช้การเผยแผ่ธรรม พัฒนาทักษะการเผยแพร่ธรรมะวิถีปกติใหม่  เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะ ผอ.สถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย เมตตาให้ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ พร้อมคณะพระธรรมวิทยากรเครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี สถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเรียนรู้พัฒนาทักษะการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะควรกับสมณภาวะ และการนำเทคโนโลยีมารองรับการเผยแพร่ธรรมในสถานการณ์วิถีปกติใหม่ (New Normal) บูรณาการพุทธนววิถี (Buddhist Normal)

อธิบดี พช.ขอพรหลวงพ่อสอิ้ง เดินหน้า "ปลูกผักสวนครัว เฟส 2"



          
คิกออฟปลูกผักสวนครัว เฟส 2 “อธิบดี พช.” ชูบ้านโพธิ์ศรี สุพรรณบุรีพื้นที่แห่งชัยชนะ ประกาศเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมทางสังคม “ปลูกผักสวนครัว เฟส 2” เริ่มทันทีวันที่ 1 กรกฎาคมเดือนมหามงคล สู่ความสำเร็จ 5 ธันวาคม นำพาชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร นำพาประเทศชาติสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
          
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563  นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เดินทางไปตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงาน การน้อมนำแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของกรมการพัฒนาชุมชน ณ บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายนิมิต วันไชยธนวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยนายเสน่ห์ บุญสุข ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (อดีตพัฒนาการจังหวัดสุพรรณบุรี) นายวีระชาติ สมบูรณ์วิทย์ พัฒนาการจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัด คณะกรรมการสภาสตรีจังหวัด เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับจังหวัด ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านบ้านโพธิ์ศรี ให้การต้อนรับ


          
พระธรรมพุทธิมงคล ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มอบต้นมหาโพธิ์แก่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และได้แสดงปาฐกถาธรรมเรื่องการปลูกผักสวนครัว โดยยกคำสอนคติเตือนใจเปรียบเทียบคนทำงานกับคนเกียจคร้านว่า “ไม้จิ้มก้นดีกว่าคนขี้เกียจ คนขี้เกียจเป็นเสนียดสังคม” ซึ่งคนที่ชอบพูดว่าไม่มีงานทำถือว่าเป็นคำพูดที่ไม่ดี เพราะความจริงงานมีให้ทำทุกวัน ขอให้พิจารณาดูกันเองว่าแต่ละวันเราควรทำงานอะไรกันได้บ้าง
          
“ขอชื่นชม ยินดีกับชาวบ้านโพธิ์ศรี ที่ได้ร่วมกันทำโครงการปลูกผักสวนครัวไว้กิน ไว้ใช้ เพราะถือว่าเป็นทรัพย์ในดินสินในน้ำที่อยู่ในแผ่นดิน ความจริงแผ่นดินเรามีสมบัติเยอะแยะ อยู่ที่เราจะเอามาทำประโยชน์ได้มากแค่ไหน ประเทศเราอยากกินอะไรก็ปลูกได้ ทั้งพืชผักและพืชผลไม้ ขออนุโมทนาให้ชาวบ้านโพธิ์ศรีและจังหวัดสุพรรณบุรี ประสบความสำเร็จในโครงการปลูกผักสวนครัวทุกประการ” พระธรรมพุทธิมงคลกล่าวแสดงปาฐกถาธรรมทิ้งท้าย
          
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ของการแพร่บาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้ 
“น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผน “ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ของกรมการพัฒนาชุมชน เพราะเชื่อมั่นในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นความเข้มแข็งมาจากข้างในตัวเราก่อน มีการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด และการได้มาเยือนบ้านโพธิ์ศรีในวันนี้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ได้เห็นภาพความร่วมมือร่วมใจที่เข้มแข็ง และความรุดหน้าของการร่วมปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่สำเร็จไปแล้วกว่า 95 %
          
ผมขอยกย่องคุณพี่เสน่ห์ บุญสุข เป็นทั้งที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และเป็นอดีตพัฒนาการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุคคลต้นแบบของข้าราชการที่ดีของกรมการพัฒนาชุมชน ใช้ความรู้ความสามารถ ความขยันหมั่นเพียร อุทิศตนทำงานให้กับทางราชการมาตลอดชีวิต เป็นทั้งผู้นำ เป็นทั้งผู้ทำเพื่อความสุขของชุมชนบ้านเกิด แม้เกษียณอายุราชการแล้วก็ยังมุ่งมั่นทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ดำเนินงาน และการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำชุมชนในการปลูกผักสวนครัว ในช่วงประเทศชาติประสบสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ช่วยทำให้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร อยู่รอดปลอดภัย
          
พร้อมกันนี้ได้ยกตัวอย่างความสำเร็จในพื้นที่ อบต.โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี เป็นโครงการต้นแบบแห่งแรกตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเริ่มทดลองเป็นแห่งแรกและประสบความสำเร็จ นำไปสู่เป็นต้นแบบอย่างดีในการปลูกพืชผักทั่วประเทศ ปลูกไว้ทั้งรับประทานเองในครัวเรือน และมีเหลือก็แบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งมีการใช้พื้นที่สาธารณะส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ ซึ่งที่ อบต.โก่งธนู ได้สร้างต้นแบบความสามัคคีแห่งการเกื้อกูลกันโดยปลูก “ถนนมีผล ผู้คนรักกัน” ซึ่งผลไม้ที่ปลูกสามารถเก็บกินได้เลย ขณะนี้ที่บ้านโพธิ์ศรีปัจจุบันก็มีพื้นที่ส่วนรวมปลูก “ผลไม้กู้ชีวิตครัวเรือน” ซึ่งชุมชนได้ร่วมมือกันอย่างเป็นพลัง ผมอยากให้ความร่วมมือร่วมแรงใจกันอย่างนี้ อยู่คู่เป็นวัฒนธรรมของสังคมไปอย่างต่อเนื่อง
          
“ขอขอบคุณทางจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน โดยมีการประสานงาน และสร้างความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ของหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อสานพลังขับเคลื่อนการปลูกผักสวนครัว รวมทั้งการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักพืชผักสวนครัว สนับสนุนต้นกล้าพืชผักสวนครัว สนับสนุนปุ๋ยอินทรีชีวภาพคุณภาพสูง จนสำเร็จไปแล้วกว่า 95 % การปลูกผักสวนครัวเป็นคำตอบที่บรรพบุรุษเราสอนไว้ สมัยก่อน ปู่ย่าตายาย จะปลูกผักสวนครัวกันทุกบ้าน หากวันนี้ทุกคนช่วยกันปลูกผักสวนครัวให้มากชนิดทุกบ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร หมู่บ้าน ชุมชน ทุกแห่งก็จะสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ได้”
          อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้พบว่าจากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั่วประเทศ 12,976,932 ครัวเรือน ไม่รวมกรุงเทพฯ รวมพลังปลูกผักสวนครัวไปแล้วถึง 95 % ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว กรมการพัฒนาชุมชน มีความคาดหวังว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวจะช่วยเหลือประชาชนและสังคมไทยได้หลายประการ กล่าวคือ ทำให้ประชาชนลดรายจ่ายจากการซื้อผักมาบริโภคในระดับครัวเรือน โดยครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายเฉลี่ย 50 บาท/วัน หากไม่ต้องซื้อผัก 20 วัน/เดือน ก็สามารถประหยัดเงินได้กว่า 1,000 บาท/เดือน ขณะเดียวกันก็จะมีผักรับประทานตลอดทั้งปี”
          อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวสรุปว่าการดำเนินการโครงการปลูกผักสวนครัวที่ผ่านมามีหัวใจ 5 ประการคือ 1.ต้องมีความต่อเนื่องและเป็นพลังแห่งความร่วมมือ 2.ร่วมมือกันทำทั้งครอบครัว 3.ร่วมกันสร้างชุมชนให้เป็นสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 4.สร้างให้เป็นวัฒนธรรมการปลูกพืชผักเป็นสิ่งที่ดีงามสืบทอดต่อกันไปอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรม ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่ข้อที่ 5 คือ พลังแห่งความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน ในการช่วยเหลือสู่ความยั่งยืนด้วยวิถีพอเพียง
          
“ผมขอใช้พื้นที่บ้านโพธิ์ศรี จังหวัดสุพรรณบุรี ดินแดนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนืออริราชศัตรู เป็นดินแดนแห่งชัยชนะ เป็นชัยภูมิที่ดี เพื่อประกาศสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อระยะที่ 2 เพราะที่นี่เรามีต้นแบบอย่างคุณพี่เสน่ห์ และพี่น้องชาวบ้านโพธิ์ศรี เพื่อขับเคลื่อนโครงการแผนปฏิบัติการ 90 วันปลูกผักสวนครัว สู่ระยะที่ 2 ที่เริ่มในเดือนมหามงคลวันที่ 1 กรกฎาคม และไปสิ้นสุดความสำเร็จวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นห้วงเวลามหามงคล เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ทำให้แผ่นดินนี้เกิดวัฒนธรรมการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับบ้านเมือง และนำพาประเทศชาติสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าวทิ้งท้าย
          
พร้อมกันนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ยังได้เยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน โดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ได้มอบพืชสวนครัวคู่ชีวิตได้แก่ต้นกล้วย 5 หน่อ มะละกอ 5 ต้น แก่พัฒนาการจังหวัดภาคกลางเพื่อนำไปขยายผลการสร้างวัฒนธรรมการปลูกพืชผักสวนครัว และดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์มอบต้นอินทนิลให้แก่ผู้นำสตรีและผู้นำเครือข่ายต่างๆ ตามกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี อีกทั้งร่วมปลูกต้นรวงผึ้งและต้นอินทนิล และร่วมปรุงอาหารกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้อีกด้วย

มีนัย! "ช่อ"คณะก้าวหน้าดัน แดนใต้ผลิตนมแพะใหญ่สุดในไทย



คณะก้าวหน้าเล็งดันเกษตรกรนมแพะชายแดนใต้ ให้เป็นอุตสาหกรรมผลิตนมแพะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563   น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า พบเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตนมแพะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพูดคุยและรับฟังความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมกันนี้ได้ตกลงร่วมกันผลักดันให้การผลิตนมแพะในพื้นที่ เป็นอุตสาหกรรมผู้ส่งออกและผู้ผลิตนมแพะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย



น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า เราทำงานกับคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เป็นพรรคอนาคตใหม่ ก็รู้เลยว่าปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ทำให้เกิดการว่างงาน ซึ่งไม่ใช่ความขัดแย้งในเชิงการใช้กำลังอาวุธเท่านั้น เพราะการที่พื้นที่ขาดการพัฒนา ทำให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่สามารถเดินไปทางไหนได้เลย อัตราการศึกษาต่ำ รายได้ต่อครัวเรือนต่ำ คนวัยรุ่นว่างงานกันเยอะ ทำให้คนในพื้นที่มีทางเลือกแค่การต้องออกไปทำงานที่มาเลเซีย หรือเข้าร่วมกับขบวนการ จึงกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ 

มองว่าการนำนิคมอุตสาหกรรมมาตั้งโดยไม่เกี่ยวข้องทั้งกับงานและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ย่อมไม่ใช่ทางออก ซึ่งวิถีของชาวบ้านในพื้นที่จำนวนมากที่เป็นชาวมุสลิมคือแพะ มีการเลี้ยงแพะ ทั้งแพะนมและแพะเนื้อ ก็มีการพูดคุยกับคนในพื้นที่จนในปัจจุบันได้เริ่มเกิดผลเป็นรูปธรรมคือการได้รวมเครือข่ายของเกษตรกรนมแพะในพื้นที่สามจังหวัด ได้ประมาณ 10 เจ้าที่ผลิตนมแพะอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีตลาดรองรับผลผลิตอย่างเพียงพอ ที่จะสามารถขยายกิจการไปมากกว่านี้ สิ่งที่ทางเราจะทำได้คือการเข้ามาจัดการระบบให้เป็นสมัยใหม่หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อแปรรูปวัตถุดิบให้มีคุณภาพมากขึ้น และสามารถส่งออกไปได้ไกลขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะขณะนี้ตลาดนมแพะยังเติบโตได้อีกและเป็นตลาดที่เป็น Blue Ocean การที่จะทำตรงนี้ให้ขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ส่งออกและผู้ผลิตนมแพะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

จะทำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ไม่ได้ไกลเกินความฝัน ไม่ใช่แค่สร้างงานให้แค่เกษตรกรนมแพะ จะมีทั้งคนส่งนม เกษตรกรปลูกข้าวโพด จะเป็นการสร้าง Supply chain ในพื้นที่ เกิดรายได้สร้างอาชีพให้คนในชุมชน ซึ่งเราคิดว่าโมเดลเล็กๆอันนี้จะกลายเป็นโมเดลในการพัฒนาพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นำไปสู่การสร้างสันติภาพที่แท้จริงด้วย”

"โดยคณะก้าวหน้าเตรียมผลักดันให้เกิดโรงงานผลิตนมแพะ ที่สามารถสร้างผลผลิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ให้อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวคิดคือ ให้เกษตรกรร่วมเป็นเจ้าของโรงงานแห่งนี้ด้วยกัน ทั้งการร่วมหุ้นเป็นน้ำนมแพะหรือลงเป็นเงินทุน ซึ่งยืดหยุ่นตามที่เกษตรกรนมแพะแต่ละรายเห็นสมควร ทั้งนี้ หากเป็นในฝ่ายเกษตรกรจะซื้อหุ้นในราคาที่ถูกกว่า และเมื่อโรงงานสามารถเติบโตไปได้แล้วทางคณะก้าวหน้าจะขายหุ้นคืนให้เกษตรกรคนในพื้นที่เป็นเจ้าของทั้งหมด 100%" น.ส.พรรณิการ์กล่าว

ร่วมงานเปิดศูนย์คณะก้าวหน้าชายแดนใต้ 

ทั้งนี้วันที่ 27 มิ.ย.2563 น.ส.พรรณิการ์ ได้ร่วมงานเปิดศูนย์คณะก้าวหน้าชายแดนใต้ ณ.จังหวัดยะลา พร้อมกันนี้ได้ร่วมวงเสวนาในหัวข้อ “ความยุติธรรมที่เปลี่ยนไม่ผ่านท่ามกลางผู้คนและหมุดที่สูญหาย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน,จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ,รอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ดำเนินรายการโดย ประเสริฐ ราชนิยม

ในวงเสวนา อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมาการสิทธิมนุษยชน ได้กล่าวว่า “จำนวนผู้ถูกอุ้มหายในประเทศไทยสูงมากเป็นอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจาก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย โดยการอุ้มหายคนหนึ่งคน ผลกระทบจะเกิดในวงกว้างมาก เมื่อเวลาเกิดความรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐสงสัยใครก็จะเอาไปสอบ เอาตัวไปโดยไม่มีหมายค้นเพราะใช้กฎหมายพิเศษ กฎอัยการศึก และเมื่อจับไปก็มักมีการซ้อมทรมาน หรือบางทีเจ้าหน้าที่ก็มักอ้างว่าปล่อยตัวแล้ว แต่ต่อมาก็สูญหายไปกลางทางก็มี หรือมาเอาไปจากบ้าน จากสถานประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งปัญหาคนหายไม่เคยถูกบันทึกมาก่อน หลังจากที่ทนายสมชาย นีละไพจิตรหายตัวไป ตนเองก็พยายามต่อสู้ เพราะอยากให้กรณีสมชาย เป็นกรณีสุดท้าย ซึ่งก็มีคนมาเตือนว่าเราไม่ควรพูด ครอบครัวจะไม่ปลอดภัย สิ่งหนึ่งที่ทำไม่ได้ในฐานะพลเมือง คือหาความเป็นธรรม ซึ่งการก้าวข้ามความกลัวไม่ง่าย รัฐนอกจากไม่คุ้มครองประชาชนแล้ว ยังละเมิดเสียเอง และเรายังอยู่ในรัฐที่ไม่เคยรับผิด จุดนี้นำไปสู่การมุ่งมั่นทำข้อมูล มีการบันทึกข้อมูลของผู้สูญหาย หน้าตาของครอบครัว กว่า 40 กรณี เพื่อทำให้พวกเขามีตัวตน และแสดงให้เห็นว่ามีคนหายไปจริงๆ”

น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.)เล่าว่า ตนเองได้รับผลกระทบจากการอุ้มหายเพราะมีสมาชิกในครอบครัวคือปู่ทวด เตียง ศิริขันธ์ อดีต ส.ส.ที่ถูกอุ้มหายไป ทำให้ครอบครัวมักจะห้ามปรามหากมาทำกิจกรรมทางการเมือง เพราะกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ซึ่ง สนท.ก็มีการสร้างความรับรู้เรื่องการอุ้มหาย มีการส่งสารให้สังคมรับทราบ ว่ายังมีคนหายอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ คนในการเมือง ซึ่งการอุ้มหายเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก เลยสร้างกิจกรรมค้นหาความจริง แต่กลายเป็นว่าคนมาตามหาความจริงเรียกร้องความเป็นธรรม ถูกดำเนินคดี ฐานชะเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่โชคดีที่เรายังมีตัวตน ยังมีชีวิตอยู่ แต่คนที่สูญหายเราไม่สามารถทราบชะตากรรมได้เลย การที่ผู้มีอำนาจอยากรักษาอำนาจ ไม่ควรลดทอนความเป็นคนของประชาชน ขณะนี้ตนมีคดีอยู่ 3 คดีที่ต้องไปสู้คดี สิ่งที่เป็นห่วงคือแนวโน้มการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินยังจะมีอยู่ต่อไป แต่ตนก็ยังมีความหวังกับผู้คน เพราะสังคมมีความรับรู้เป็นวงกว้างในกรณีคุณวันเฉลิม และตระหนักในประเด็นสิทธิมนุษยชน

ด้าน น.ส.พรรณิการ์  ในฐานะตัวแทนคณะก้าวหน้าและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และเป็นอดีตรองประธาน กมธ.คณะนี้ มองว่า เรื่องการอุ้มหายซ้อมทรมานเป็นปัญหาใหญ่ เป็นทั้งปัญหาการเมืองของสังคมไทย และเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชน ซึ่งแม้ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งในปี 2562 แล้วแต่ก็ไม่มีใครสามารถพูดได้ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยได้อย่างเต็มปากเต็มคำ เพราะประเทศไทยยังมีการปกครองโดยความกลัวอยู่ สิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมคือ กฎหมายแทนที่ใช้ปกป้องประชาชน กลับใช้ในการคุกคามประชาชน และรูปธรรมที่สอง คือการบังคับสูญหาย ทำให้หลายๆครั้งประชาชนจำเป็นต้องเงียบ มีการเซนเซอร์ตัวเองของประชาชนเพราะกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตของตนเองและครอบครัว ซึ่งการไม่ใช่แค่ให้คนที่ถูกอุ้มเงียบ แต่ต้องการให้สังคมเงียบ ยิ่งไปกว่านั้น เวลาคนหนึ่งถูกอุ้มหาย ทุกคนเงียบเพราะต่างไม่รู้ว่าเมื่อใดจะกลายเป็นเรา เป็นคนในครอบครัวเรา จำเป็นต้องเงียบเพื่อรักษาชีวิต ทำให้เห็นว่าการปกครองด้วยความกลัว ส่งผลว่าประชาชนยังไม่ใช่ผู้ทรงอำนาจที่แท้จริงของประเทศนี้ คนที่ทำให้กลัวคือคนที่มีอำนาจ

“ประเทศไทยมีกฎหมายมากมายจำเป็นต้องถูกแก้ไข เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญามาตรา 116 มาตรา 112 และ กฎหมายอุ้มหาย หรือ”กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยกฎหมายป้องกันอุ้มหายและซ้อมทรมาน ภาคประชาชนต่อสู้กันมายาวนาน เคยผ่านสภานิติบัญญัติหรือสภาตรายางของ คสช.มาแล้วแต่กฎหมายได้ตกไป และภายหลังการเลือกตั้งปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้นมองเห็นความสำคัญต่อร่างกฎหมายฉบับนี้จึงพยายามมองหาวิธีการ ซึ่งไม่ใช่แค่ผ่านกฎหมายได้เท่านั้น แต่กฎหมายจะต้องคุ้มครองประชาชนได้จริง จึงผลักดันผ่านกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนที่มี ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เป็นประธานกรรมาธิการ เพราะการผลักดันผ่านกรรมาธิการจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และพรรคการเมืองอื่นๆ มากกว่าทำผ่านพรรคการเมืองเดี่ยวๆ เพราะมีตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆเข้ามาร่วมนั่งใน กมธ. ด้วย ซึ่งการผลักดันกฎหมายในกรรมาธิการก็ได้รับความร่วมมือจากทุกพรรคเป็นอย่างดี ถือเป็นผลงานร่วมกันของพรรคการเมือง แม้ช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเสนอผลักดันหยุดชะงักไป แต่ขณะนี้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ต้นร่างมาจากภาคประชาสังคม และได้ถูกปรับปรุงโดยกรรมาธิการจนเสร็จเมื่อ 2 วันก่อน และจะยื่นสู่สภาใหญ่ในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้”

“แต่สิ่งที่น่ากังวัลคือ ร่างกฎหมายฉบับนี้ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) อาจเข้ามาร่วมโหวตด้วยหากมองว่าเป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ากฎหมายฉบับนี้อาจจะไม่สามารถผ่านมติได้หรือหากผ่านอาจถูกแปรญัติ เปลี่ยนแปลง ตัดหลักการสำคัญจนไม่สามารถปกป้อง คุ้มครองประชาชนได้จริง ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันการซ้อมทรมานฯ จะส่งเข้าสู่สภาถึง 4 ร่าง คือร่างจากกระทรวงยุติธรรม ร่างจากกมธ. กฎหมายฯ และร่างจากพรรคการเมืองอื่นๆอีก 2 พรรค แต่ฉบับของกมธ. นี้นับว่าจะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากเพราะ คุ้มครอง และจะกำหนดให้คดีไม่มีอายุความ สามารถสืบหาจนกว่าจะได้มาซึ่งความยุติธรรม และจะใช้ระบบไต่สวน ที่จะทำให้ศาลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียกหาเอกสารหลักฐานได้เอง อีกทั้งยังกำหนดให้มีคณะกรรมการฯ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญ ในการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน สามารถทำหน้าที่ไปตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐให้ปฎิบัติตามกฎหมายฉบับนี้อย่างเคร่งครัด โดยคณะกรรมการจะมาจากตัวแทนภาคประชาชน 6 คน มาจากข้าราชการ 5 คน จะทำให้คณะกรรมการนี้มีเสียงของภาคประชาชนมากกว่าข้าราชการ จะส่งผลให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีความเป็นมนุษย์และสามารถเข้าใจผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างแท้จริง” น.ส.พรรณิการ์ กล่าว


ด้าน น.ส.จุฑาทิพย์ ประธาน สนท.และเป็นทายาท ส.ส.เตียง ศิริขันธ์ ที่ถูกอุ้มฆ่า กล่าวว่า “อยากให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่าน เพราะสังคมในวันข้างหน้า คนรุ่นใหม่ คนที่ยังอายุไม่มาก ยังต้องเติบโตในสังคม จึงอยากอยู่ในสังคมที่ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นสังคมที่เป็นความมั่นคงของประชาชน ไม่ใช่ความมั่นคงของผู้มีอำนาจเหมือนที่แล้วมา”

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563

4 สมาคมพัฒนาพันธุ์พืชหนุนไทยร่วม UPOV 1991



สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพันธุ์พืช 4 สมาคม ประกอบด้วย นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา นายกสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืช รศ.ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย ดร.ชัยฤทธิ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย และดร.กนกวรรณ ชดเชย ผอ.สมาคมพันธุ์พืชภาคพื้นเอเซีย และแปซิฟิก ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิกเป็นนักวิชาการและนักปรับปรุงพันธุ์พืช ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาผลกระทบการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP) เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่(UPOV 1991)ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและห่วงกังวล
         
โดยมีสาระสำคัญ ระบุว่า 4 สมาคมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นด้วยว่าการเข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV 1991) จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพันธุ์พืชของประเทศไทย พร้อมกับเพิ่มทางเลือกที่ดีในพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรไทย ทั้งทางด้านคุณภาพ ปริมาณผลผลิต สิทธิในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และราคาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมผ่านกลไกตลาดที่มีเกษตรกรเป็นสำคัญ

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ซัดกันนัว! "พปชร.-ปชป." ปมรบ.เลือกตั้งโกงน้อยกว่า "รบ.คสช."




"กำนันสมบัติ" ส.ส.สระบุรี พปชร. ตามขยี้"เทพไท" ปมดิสเครดิต คสช. ชี้เป็น ส.ส.หลายสมัย แต่เดินคนเดียวไร้ราคาไม่มีใครคบหา แนะควรทำตัวเป็นต้นแบบ เพราะทำภาพนักการเมืองเสียหาย คนรุ่นใหม่ไม่กล้าเข้ามาทำงาน ขณะที่ "เทพไท" โต้กลับส.ส.สมัยแรก ตีโพยตีพายนอกสภาฯ หวังสร้างราคาค่างวดให้ตัวเอง


วันที่ 27 มิ.ย.นายสมบัติ  อำนาคะ ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณี นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช อภิปรายรายงานยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการพัฒนาประเทศ ต่อที่ประชุมสภาฯเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ระบุว่ายุค คสช. พบการทุจริตคอร์รัปชั่น มากกว่ารัฐบาลเลือกตั้งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า เห็นด้วยกับนายสมพงษ์ โสภณ ส.ส. ระยอง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่ออกมาตอบโต้นายเทพไท เมื่อวันที่ 26 มิย. ที่ผ่านมา เพราะนายเทพไทเป็น ส.ส. มาหลายสมัย ควรจะทำตัวให้มีราคา มีเพื่อน มีพี่มีน้องในสภาผู้แทนราษฎร ไม่ใช่เดินไปไหนมาไหนในสภา เดินคนเดียวไม่มีใครเขาเดินด้วย ก็เพราะว่าเป็นคนเอาดีเข้าตัวชั่วให้คนอื่น ตัดสินคนนั้นคนนี้ โดยลืมมองตัวเองพี่น้องตัวเองที่ยังมีคดีทุจริตการเลือกตั้ง นายฯอบจ.นครศรีธรรมราชเมื่อปี 2557นึกว่าเพื่อน ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎร เขา ไม่ทราบถึงพฤติกรรมที่เป็นอยู่

ส.ส.สระบุรี พรรคพปชร. กล่าวต่อว่า อยากจะฝากไปถึง ส.ส. เทพไท ว่าขอให้ท่านทำหน้าที่ผู้แทนราษฏร ในจังหวัดของท่านให้พี่น้องประชาชนรักและศรัทธาดีกว่า ขออย่าให้มาทำตัวเป็นคนที่ชอบวิจารณ์คนนั้นคนนี้ว่าดีไม่ดี โดยไม่มองตัวเองก่อน การเมืองประเทศไทยในวันนี้คือ การพัฒนาประเทศ ให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดีปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ ที่ผ่านมาประเทศไทยนั้น ได้เกิดการทะเลาะกันในเรื่องความคิดการชี้นำที่ผิดๆ ทำให้ประเทศไทยนั้นติดกับดักมาร่วม20 ปี 

วันนี้ประเทศไทยของเรากำลังเดินหน้าพัฒนาประเทศ อยากจะขอให้ทุกคนทำหน้าที่ของของตัวเองในวันนี้วันข้างหน้าให้สมบูรณ์ และขอให้มีความรู้สึกสำนึกในหน้าที่ในความรับผิดชอบของแต่ละคนจะดีกว่ามั้ย 

"ถ้านักการเมือง อย่างนายเทพไท คิดได้แต่เอาคนนั้นคนนี้มาเปรียบเทียบแล้วเอาสถิติความคิดมาวิจารณ์ ชี้นำ ผมว่าไม่ถูกต้อง วันนี้ประเทศไทย โดยการบริหารของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกลาโหม ได้มีพัฒนาบริหารประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมาถูกที่ถูกทางแล้ว ในสภาผู้แทนราษฎร ก็มีฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตรวจสอบด้วยเหตุด้วยผล ฝ่ายรัฐบาลก็บริหารประเทศด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ เป็นประชาธิปไตยที่สวยงามอยู่แล้วในเวลานี้ ก็ไม่ทราบว่าท่าน ส.ส. เทพไท จะไป ละเมอเพ้อพก อะไรกับสิ่งที่ผ่านมา"

นายสมบัติ กล่าวและว่า วันนี้คนรุ่นใหม่ๆ เยาวชน ที่ติดตามการเมืองชอบการเมือง คนเหล่านี้จะเป็นกำลังหลักของชาติในอนาคต มีความสนใจการเมืองอยากมาเสียสละเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อประเทศชาติ แต่ที่ไม่กล้าเข้ามา ก็เพราะมีนักการเมืองแบบนายเทพไท 

"ท่านเทพไท ควรให้เกียรตินักการเมืองด้วยกัน ต่างคนต่างมีหน้าที่ คุณควรจะเสียสละเวลา เสียสละความคิด แล้วลงไปพื้นที่อยู่กับพื้นที่ เพื่อไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนของคุณจะดีกว่า" นายสมบัติกล่าว


"เทพไท" โต้กลับส.ส.สมัยแรก ตีโพยตีพายนอกสภาฯ หวังสร้างราคาค่างวดให้ตัวเอง

นายเทพไท  กล่าวว่า ตนได้อภิปรายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และได้นำสถิติดัชนีความโปร่งใสขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International-TI) มาเปรียบเทียบลำดับความโปร่งใสของรัฐบาลแต่ละชุด จนสร้างความไม่พอใจให้กับ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐบางคนนั้น ขอชี้แจงว่าการอภิปรายของตนเป็นการทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง ที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของฝ่ายบริหาร เมื่อมีการเสนอแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่ในการอภิปรายเสนอแนะ และติชมไปข้อเท็จจริง ถ้าหากรัฐบาลไม่อยากให้มีการอภิปรายในเรื่องนี้ ก็ไม่ควรนำเข้ามาสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
          
ส่วนข้อกล่าวหาว่าตนเองอยู่ ฝ่ายรัฐบาลไม่มีมารยาทในการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนั้น ตนขอชี้แจงว่า
          
1.การอภิปรายวิจารณ์แผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นการทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ถ้าอภิปรายผิดพลาดหรือพาดพิงให้รัฐบาล หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับความเสียหาย ส.ส.ทุกคนในสภาก็สามารถใช้สิทธิ์ท้วงติง หรือประท้วงในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้
          
2.การทำหน้าที่ของตนเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และการอภิปรายก็อยู่ในกรอบของแผนยุทธศาสตร์ชาติ หากมีอภิปรายนอกประเด็นทำให้รัฐบาลเสียหาย ประธานที่ประชุม(นายชวน หลีกภัย) คงจะทักท้วงหรือให้ยุติการอภิปรายไปแล้ว
          
3.การนำสถิติดัชนีความโปร่งใส ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International-TI) ขึ้นมาเปรียบเทียบความโปร่งใสของรัฐบาลแต่ละชุด ก็เป็นข้อมูลทางวิชาการที่สามารถตรวจสอบได้ว่า ปี พ.ศ.2553 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ อยู่ในลำดับที่ 78 ปี พ.ศ.2556 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อยู่ในลำดับที่ 102 และในปี พ.ศ.2559 และ พ.ศ.2562 สมัยรัฐบาล คสช.(พลเอกประยุทธ์)อยู่ที่ลำดับ 101
          
4.การอภิปรายเรื่องลำดับความโปร่งใสของรัฐบาลแต่ละชุด ตนได้เปรียบเทียบรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับรัฐบาล คสช.ที่มาจากรัฐประหาร ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่พรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำและพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคร่วมรัฐบาลแต่ประการใด
          
"จึงอยากจะให้ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐคนดังกล่าว ได้ไปทบทวนบทบาทการทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรของตัวเองก่อนว่า ได้ทำหน้าที่ ส.ส.ได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง เพราะเพิ่งเป็น ส.ส.สมัยแรก ไม่ได้แสดงบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรเลย ได้เป็น ส.ส. ก็เพราะโหนกระแสพลเอกประยุทธ์เข้ามา และถ้าหากจะท้วงติงการทำหน้าที่ของผมในสภาผู้แทนราษฎร ก็ควรนำไปพูดในสภาไม่ใช่ออกมาตีโพยตีพายข้างนอก เพื่อสร้างราคาค่างวดให้ตัวเองต่อผู้ใหญ่ในพรรคพลังประชารัฐเท่านั้น"นายเทพไท กล่าว 

สุดยอด! พช.ลำปางแปลงสนามฟุตบอลเป็น"โคก หนอง นา โมเดล"



วันที่ 26 มิถุนายน 2563 เฟซบุ๊ก Suttipong Juljarern ของนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีของกรมพัฒนาชุม กระทรวงมหาดไทย ได้โพสต์ข้อความว่า  
สุดยอดของการเป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ลำปาง (ศพช.ลป.) ท่านผอ.ศพช.คนเก่ง ได้เห็นการณ์ไกลนำสนามฟุตบอลมาทำเป็นพื้นที่ต้นแบบ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยทฤษฎีใหม่

ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตามที่ท่านอาจารย์โก้ และอาจารย์หน่า ช่วยกันออกแบบให้ ขนาดยังขุดไม่เสร็จยังขนาดนี้ ถ้าสำเร็จเมื่อไรเราจะมีทั้งความมั่นคงด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และชีวิตทั้งทางกายและใจ ... มีรีสอร์ตอยู่ในบ้านในที่ทำกินสุขภาพจิตต้องดีอยู่แล้ว มั่นใจ ทำท่องเที่ยวชุมชนได้เลย 

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

"ประภัตร"ระดมนักวิชาการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวนาแปลงใหญ่



"รมช.ประภัตร" ขับเคลื่อนงานวิจัยพันธุ์ข้าว ระดมสมองนักวิชาการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ตรงตามความต้องการของตลาดช่วยชาวนาไทยเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ดี มุ่งเพิ่มศักยภาพส่งออกข้าวในตลาดโลก 

วันที่ 26 มิ.ย.2563 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานการสัมมนา "การวิจัยพันธุ์ข้าวตามนโยบาย ตลาดนำการผลิต ในนาแปลงใหญ่"  โดยมี นายอภินันท์ เผือกผ่อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวรายงาน ณ  โรงแรมพาโค่ เขาใหญ่ บายโบนันซ่า จังหวัดนครราชสีมา ว่า ปัจจุบันสถานการณ์ตลาดข้าวมีการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น หลายประเทศมีศักยภาพในการผลิตข้าวเพื่อบริโภคภายในประเทศ และส่งออกในอันดับต้นๆ ของโลก ในขณะที่หลายประเทศสามารถปลูกข้าวได้ปริมาณมาก แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ทำให้จำเป็นต้องนำเข้าข้าวเพิ่มเติม ไทยเป็นผู้นำการส่งออกข้าวของโลกมาหลายปี คิดเป็นมูลค่าปีละนับแสนล้านบาท แต่ในช่วงปี 2559-2562 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยลดลง โดยปี 2561 ส่งออก 11.23 ล้านตัน ปี 2562 ส่งออก 7.58 ล้านตัน การขยายตัวลดลงร้อยละ 32.50 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกัน ประกอบกับไทยต้องเผชิญภาวะแข่งขันในเรื่องราคากับประเทศส่งออกต่างๆ  เช่น ประเทศอินเดีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า เป็นต้น 



นายประภัตร กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายด้านข้าวที่มีการส่งเสริมการทำการเกษตรแปลงใหญ่ เป็นการดำเนินงานที่เน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ วางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย ยกระดับมาตรฐานผลผลิต และบริหารจัดการกลุ่ม/ผลผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งเน้นให้เกษตรกรมีโอกาสเข้ามาสู่การส่งเสริมในระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ให้มากขึ้น ซึ่งจะมีกำหนดเป้าหมายการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุกขั้นตอน ตลอดจนการเชื่อมโยงตลาดกับภาคเอกชนแบบประชารัฐ การปรับระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตโดยเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรในพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรมที่ติดต่อกันเป็นแปลงใหญ่ ทำให้เกิดขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น มีเป้าหมายการดำเนินงานของกลุ่มชัดเจน เป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองของเกษตรกรตลอดกระบวนการผลิต ช่วยพัฒนาเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เกิดความมั่นคงในอาชีพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในที่สุด

"นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงพี่น้องชาวนาไทย จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งหาแนวทางในการจะทำอย่างไรให้ชาวนาได้มีเมล็ดพันธุ์ที่ดีเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ ดังนั้น ตนในฐานะที่กำกับดูแลกรมการข้าว จึงรวบรวมนักวิชาการทั้งจากกรมการข้าว มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน มาแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยกันพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ดี ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด ซึ่งขณะนี้ตลาดมีความต้องการข้าวนุ่ม จึงต้องผลิตให้ได้ และสามารถแข่งขันกับทุกประเทศได้ ไม่เพียงแค่ประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ทั้งนี้ การพัฒนาข้าวไทยจะต้องมุ่งให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมีการเชื่อมโยงหน่วยงานหลายภาคส่วน ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจนถึงการขยายตลาดการค้าข้าวในต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาข้าวไทยพร้อมวางแนวทางการพัฒนาระบบให้ครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาในการแข่งขัน เพื่อการส่งออกข้าวในตลาดโลกได้อย่างตรงจุด" นายประภัตร กล่าว

นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าวจึงได้กำหนดจัดสัมมนา การวิจัยพันธุ์ข้าวตามนโยบาย "ตลาดนำการผลิต"  ในนาแปลงใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 25-26 มิ.ย.63 ณ โรงแรมพาโค่ เขาใหญ่ บายโบนันซ่า จังหวัดนครราชสีมา วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย และผู้เกี่ยวข้อง ที่ปฏิบัติงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวจากทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ที่จำเป็นต้องมีขบวนการพัฒนาและส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ให้ตรงพันธุ์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ก่อให้เกิดการวางระบบการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่เป้าหมายของโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้นโยบายการตลาดนำการผลิต นำไปสู่การสร้างรายได้ให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ได้ทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ พร้อมส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตภาคเกษตรให้กับเกษตรกร การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่เกษตรกรถือเป็นบทบาทหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้เกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มการทำการเกษตรในรูปแบบของแปลงใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรได้มีอำนาจในการต่อรองทั้งด้านปัจจัยการผลิตและด้านการตลาด เป็นหนทางที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ โดยมีนักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม อาทิ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น ตลอดจนผู้อำนวยการและนักวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวจากศูนย์วิจัยข้าว กว่า 100 คน เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้  

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...