วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

มูลนิธิสิริวัฒนภักดีถวาย9,800,000บาทสร้างอาคารปฏิบัติธรรมวัดมหาธาตุ




วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑  มูลนิธิสิริวัฒนภักดี โดยนายเจริญ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ถวายเงินร่วมสร้างอาคารปฏิบัติธรรม และที่พักพระสงฆ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร จำนวน 9,800,000 บาท ที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานนานาชาติ อาคารเบญจมราชวรานุสรณ์ วัดมหาธาตุ








.........

(หมายเหตุ : ข้อมูลจากเฟซบุ๊กพระภาวนาวิริยคุณ วิ. ไสว) 

แสตมป์เซเว่นสมทบทุน ๒,๗๖๕,๘๓๒ บาท สร้างอาคารหอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ "มจร"




วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มอบเงินบริจาค ผ่านรายการ “แสตมป์รักเมืองไทย” ประจำปี ๒๕๖๐ จำนวน ๒,๗๖๕,๘๓๒ บาท จากลูกค้าทั่วประเทศ ให้แก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส) อธิการบดี มจร  เป็นผู้รับมอบ เพื่อสมทบทุนโครงการ “สร้างอาคารหอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ”

.........

(หมายเหตุ : ข้อมูลจากเฟซบุ๊กMcu Tv-Channel) 

สื่อนสพ.ท้องถิ่นอินเดียตีข่าวบวชกุลธิดาใต้ต้นโพธิ์ ภายใต้การนำของแม่ชีสันสนีย์




วันที่ 1 เม.ย.2561 ตามที่แม่ชีสันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน ได้จัดพิธีบวชกุลธิดาใต้โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยมีพระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล เป็นพระอุปัชฌาย์นั้น สื่อมวลชนประเทศอินเดียสนใจตีพิมพ์หลายฉบับ





............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กท่านคมสรณ์ ข่าวสารงานพระธรรมทูตอินเดีย)

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

"อภิสิทธิ์"ลงพื้นที่เพชรบูรณ์เปิดโครงการ "ฝายชะลอน้ำ"



เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 เฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า "ประธานในพิธีเปิดโครงการ “ฝายชะลอน้ำ สานต่อที่พ่อทำ” ที่บ้านหินโง่น ต.ศิลา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ และเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ที่โรงเรียนผู้สูงอายุ ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ (30 มี.ค.2561)"

แห่แชร์ชมคลิปชื่อพระอาจารย์ใจร้าย!!




เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2561 เฟซบุ๊ก ที่นี่ "เมืองพุทธ"  ได้โพสต์คลิปชื่อพระอาจารย์ใจร้าย!!  พร้อมข้อความว่า ..ท้อ แต่ ไม่ถอย... ภาพความน่ารักของเณรตัว(ไม่)น้อย ฝึกเดินธุดงค์ แต่เหนื่อยและท้อ จนร้องงอแง (แต่สู้ไม่ถอย) แถมบ่นให้พระอาจารย์แบบน่ารักๆตามประสาเด็ก หลังจากนั้นผ่านไปจนถึงเวลา 18.00น.ของวันที่ 30 มี.ค.2561 มีผู้ชมมากกว่า แชร์ 8.9 พัน ครั้งรับชม 2.8 แสนครั้ง


An agreement to present the award to Phra BhramaSiddhi on the World Peace Conference in Sweden



On March 29, 2018, Phra Vithetpunyaporn (Jao Khun Sweden), the Abbot of Buddharam Temple in Sweden, Secretary to the Union of Thai Sanghas in Europe (UTSE), said that he had participated in an extraordinary session of the UTSE Meeting in Sweden. In this event, Phra Dham Buddhiwong, the President of UTSE, had assigned Phra Thepkittimolee to be presided over on behalf. The main topic was the preparation for the upcoming World Peace Conference and the Annual Meeting of the Union of Thai Sanghas in Europe (UTSE) which would be held in Sweden.

“I have informed in the meeting that the Universal Peace Federation in Sweden and 15 representatives of peace from around the world has reached the agreement to present the Reward of Peace in International Religious Relationship to Phra Bhrama Siddhi, committee member of the Sangha Supreme Council of Thailand, the Abbot of Wat Saket Ratcha Wora Maha Wihan, Chairman of the Regulatory Office for Overseas Dhammduta Bhikkhus, in the upcoming World Peace Conference in Sweden on June 30, 2018”, said by Phra Vithetpunyaporn.

The meeting agreed upon the same thing that Phra Bhrama Siddhi has travelled on the religious activities in foreign countries for a very long time, not less than 40 years until now. He has made religious connections with many religions in Asia, Europe, America, and in Oceania. In consequence, this reward presentation will be not only the commendation for Buddhism and the Order of Thai Sangha but also the high glorious biography to Thailand. 

Phra Vithetpunyaporn continued that there would be leaders from other countries around 20 countries to receive the reward in different branches, including 2 Thai citizens who would be present to receive this honorary Reward in International Culture. At the same time, the Union of Thai Sanghas in Europe (UTSE) also chose the dates to hold the Annual Meeting during July 7-8, 2018 at Buddharam Temple in Sweden. There would also be the last preparation meeting for this conference on May 3, 2018. In this meeting, the City Mayor also delivered the welcoming speech.

..........

(หมายเหตุ : ขอบคุณ Translation: Dr. Pintong Mansumitrchai (Chatnarat) form FB- Pintong Mansumitrchai  )

ฤาสยามจะกลายเป็นเมืองแห่งเสียงร้องไห้?




ระหว่างที่พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ได้นำผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ เดินทางไปประเทศภูฏาน เพื่อพิธีลงนามความร่วมมือพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศภูฐาน คือ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ตองกู ตาชิถาง ซึ่งนำโดยพระซัมเทน ดอร์จี สังฆราชประเทศภูฏาน พระสาญเจ ดอร์จี  รองสมเด็จพระสังฆราช ประเทศภูฐาน กับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และเข้าร่วมประชุมนานาชาติ เรื่อง "พระพุทธศาสนาวัชรยาน" ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นระหว่าง 27-31 มีนาคม 2561

พร้อมกันนี้พระมหาหรรษาได้นำสารจากพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มจร เชิญนายเชอริ่ง ต๊อบเกย์ นายกรัฐมนตรี ประเทศภูฏาน  เพื่อเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ (Keynote Speaker) ภายใต้หัวข้อ "Buddhist Contribution for Human Development" ในวันวิสาขบูชาโลก 25 พฤษภาคม 2561 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ 

ในโอกาสพระมหาหรรษาได้รายงานกิจกรรมที่กระทำที่ประเทศภูฏานผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว"Hansa Dhammahaso"อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง "From Land of Smile to Land of Happiness จากสยามเมืองยิ้มสู่ภูฐานเมืองแห่งความสุข" ความว่า 

ในอดีต ประเทศไทยได้ชื่อว่า "ดินแดนสยามเมืองยิ้ม" (Land of Smile) สมัญญานามนี้ ไม่ได้เกิดการที่ประเทศไทยสถาปนาตัวเอง หากแต่เกิดจากกลุ่มคนมากมายเดินทางมาท่องเที่ยว และใช้ชีวิตในเมืองไทยแล้วเกิดความประทับใจ จึงได้พากันเรียกขานตามธรรมชาติ หรือลักษณ์ของคนไทยที่ปรากฏจากการได้พูดคุย การเข้าไปเกี่ยวข้องในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง พื้นฐานสำคัญซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "สยามเมืองยิ้ม" ย่อมเป็นอื่นไปไม่ได้ หากมิได้ถือกำเนิดจากพื้นฐานคำสอนขอบพระพุทธศาสนาที่เป็นศูนย์กลางของวิถีชีวิตและการปฏิบัติตนผ่านธรรมะ "เมตตา กรุณา รวมไปถึงการให้ การแบ่งปัน การเคารพ การจริงใจต่อกัน" เป็นต้น

ในขณะที่ประเทศภูฏาน ได้รับการชื่นชมจากผู้มาเยือนทั่วโลกว่า "ดินแดนแห่งความสุข" (Land of Happiness) ความสุขที่เกิดจากการดำเนินชีวิต ทั้งการทำมาหากิน การเอื้อเฟื้อแบ่งบัน การดำเนินชีวิตบนวิถีพอเพียง เน้นการพัฒนาชาติบ้านเมืองโดยการเอาความสุขเป็นมาตรวัดที่สำคัญ เป้าหมายของการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชาติจึงอยู่ที่ "ความสุข" เป็นตัวตั้ง หากกระทำการหรือดำเนินการสิ่งใดแล้ว ออกนอกวงโคจรของความสุข สิ่งนั้น จึงเป็นสิ่งที่พลเมืองภูฏานมองว่า ผิดทิศทางในการพัฒนาชีวิตและสังคม

พื้นฐานสำคัญที่น้อมนำพลเมืองภูฏานได้รับการเรียนขานจนกลายเป็นจุดแข็งเช่นนี้ เกิดจากหลักการที่ก่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากการที่ชาวภูฏานให้ความเคารพ สักการะบูชา ตามที่ปรากฏในแท่นบูชาจะมี 3 ท่านหลักที่ชาวภูฐานใก้ความสำคัญ (1) พระศากยะมุนี (2) กูรู ปัทมสัมภวะ (3) ชัตตรุง นวัง นัมเกล ศากยะมุนีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อ และเป็นที่พึ่งทางใจของชาวภูฏานให้เกิดความมั่นใจ และน้อมนำธรรมะไปสู่การประพฤติปฏิบัติในชีวิต ในขณะที่กูรู ปัทมสัมภวะ เป็นนักบวชชาวอินเดียที่จาริกธรรมไปถึงธิเบต มีองค์ความรู้และสมาธิญาณที่แก่กล้า ตัดสินใจเดินทางจาริกไปภูฏานและนำเอาวัฒนธรรม ศิลปะ ภาษา และความเชื่อที่ทรงคุณค่าผ่านการหลอมรวมธรรมะขอวพระพุทธเจ้าไปเผยแพร่ในภูฏานจนก่อให้เกิดอิทธิพลที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวภูฏาน ส่วนท่านชัตตรุง นวัง นัมเกล เป็นผู้ที่สามารถรวมชาติพันธุ์ต่างๆ ที่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเข้าหากัน โดยนำเอาหลักทางพระพุทธศาสนามาเชื่อมสมานชนชั้นต่างๆ จนสามารถอยู่ร่วมกันอย่าางมีความสุขมาจนถึงปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่า ทั้งพระพุทธเจ้า กูรู ปัทมสัมภวะ และชัตตรุง นวัง นัมเกลนั้น มีอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อชาวภูฏาน ธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงเป็นรากฐานสำคัญที่กลายเป็นชุดความคิดหลัก (Core Values) ให้ผู้นำทางศาสนา และชนชั้นนำทางการเมือง ได้นำมาวางรากฐานไปสู่การศึกษา และการดำเนินชีวิตโดยรวมของพลเมืองชาวภูฏานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รากฐานเหล่านั้น ยังเป็นหลักยึดที่พระมหากษัตริย์ ผู้นำทางการเมือง และผู้นำศาสนาได้พยายามเชื่อมกลุ่มคนต่างๆ เข้าด้วยกัน และประกาศธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่พลเมืองและชาวโลก


ทั้งสยามดินแดนแห่งรอยยิ้ม และภูฏาน ดินแดนแห่งความสุข ต่างก็ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึด ในการดำเนินชีวิต และเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม โจทย์สำคัญที่กำลังท้าทายชนชั้นนำของประเทศ รวมไปถึงพลเมือง ก็คือ เมื่อสังคมโลกกำลังก้าวไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัล การถาโถมของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม การเผชิญหน้าของกลุ่มผลประโยชน์จนนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง กลุ่มคนเหล่านั้น จะวางสถานะและบทบทบาทอย่างไร จึงจะสามารถนำประเทศไปสู่ดุลยภาพ ความมั่นคง และความยั่งยืนได้

โลกยุคปัจจุบันเป็นยุคที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การเคลื่อนย้ายของตลาดแรงงาน การอพยพของกลุ่มคนไปสู่สถานที่ใหม่ ย่อมนำไปสู่การผสมผสานวัฒนธรรม และมีความเชื่อที่หลากหลาย แทนที่จะมุ่งเน้นเพียงแค่วัฒนธรรมเดียว กลับต้องหันมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย ค่านิยมหลักแบบเดิมที่เคยมีและปฏิบัติมาตั้งแต่สร้างชาติ กลุ่มคนที่มาใหม่ย่อมตั้งคำถามต่อการสร้างค่านิยมร่วมใหม่ กลุ่มเก่าจะมีท่าทีอย่างไร จะตีความค่านิยมดั้งเดิมอย่างไร จึงจะไม่ทำให้คนอยู่เก่ากำลังรู้สึกว่ากำลังสูญเสียความเป็นตัวตนแบบเดิม คนมาใหม่จะยอมรับและอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมเก่าอย่างไร จึงจะไม่ทำให้เกิดความหวาดระแวง รวมไปถึงผลประโยชน์ต่างๆ ระหว่างคนในชาติ ภายใต้กลไกทางการตลาดแบบใหม่ จะนำไปสู่การแบ่งปันกันอย่างไร จึงจะไม่ทำให้พลเมืองบางกลุ่มไม่รู้สึกว่า ทุนนิยมสามารถแบ่งสรรปันส่วนได้อย่างทั่วถึง เที่ยงธรรม และเท่าเทียม

มิฉะนั้นแล้ว สยามที่ได้ชื่อว่าดินแดนแห่งรอยยิ้ม จะกลายเป็นเมืองแห่งเสียงร้องไห้ (Land of Smile to Land of Crying) และภูฏานดินแดนแห่งความสุข จะกลายเป็นเมืองแห่งความทุกข์ เพราะกลุ่มคนต่างๆ พากันหลงลืมจุดแข็งของตัวเอง แล้วในที่สุดจุดแข็งก็จะกลายเป็นจุดอ่อน เพราะมุ่งเน้นไขว่คว้าและพัฒนาสิ่งที่ไม่สามารถสะท้อนตัวตนผ่านวัฒนธรรม สังคม และวิถีชีวิตที่เป็นรากเหง้า รวมไปถึงการยึดเอาค่านิยมจอมปลอมที่ฉายทาด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลงมาเป็นหลักยึดเหนี่ยว เมื่อนั้น ประเทศชาติบ้านเมืองก็จะไม่หลงเหลือค่านิยมอันเป็นความภาคภูมิใจที่สืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น ในที่สุด คนรุ่นต่อไปก็จะกลายเป็นคนไร้ราก ไร้ความทรงจำที่งดงาม ไร้วัฒนธรรมที่ทรงค่า ไร้ศาสนาให้ยึดเหนี่ยว และจะไม่หลงเหลือเศษเสี้ยวของความเป็นชาติอีกต่อไป

..........

(หมายเหตุ : ขอบคุณกราฟฟิกจาก  Workpoint News- ข่าวเวิร์คพอยท์ ที่แสดงผลการทุจริตโครงการช่วยเหลือคนจน เงินสงเคราะห์ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีการตรวจสอบแล้ว 53 จังหวัด และภาพจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso)

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

นศ.มหาวิทยาลัยสยามสอบธรรมสนามหลวง



วันที่ 30  มี.ค.2561 พระพรหมมุนี แม่กองธรรมสนามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเปิดสอบธรรมสนามหลวง (ห้องเรียนขงจื่อเค่อถังไตรมิตรวิทยาลัย)  โดยมีสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง สำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยสยาม จัดขึ้น ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยสยาม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร  

การจัดการสอบธรรมสนามหลวงในวันนี้ เป็นการเปิดสอบของนักศึกษาชาวจีน ที่มีความสนใจศึกษาธรรมศึกษาในสำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยในพิธีได้รับความเมตตาจากพระพรหมมุนี แม่กองธรรมสนามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

จากนั้นพระพรหมมุนี มอบคำสั่งแต่งตั้งประธานอำนวยการสอบและได้กล่าวให้โอวาทแก่ผู้ร่วมพิธี ความว่า “การศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นรากฐานของการสืบอายุพระพุทธศาสนา บูรพาจารย์และบรรพบุรุษของเราทั้งหลายได้ร่วมกันรักษาศาสนธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ยั่งยืนถึงปัจจุบัน การสอบธรรมสนามหลวงนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นการวัดความรู้ที่ได้ศึกษามาว่ามีความเข้าใจถูกต้องเพียงใด การศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นก็เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและนำไปแก้ไขปัญหสที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในสังคม การมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติคู่ควรนั้นเป็นเกียรติแก่ตนและยังเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพระศาสนาด้วย เพราะความเจริญมั่นคงของพระศาสนา ต้องอาศัยการศึกษาเบื้องต้นที่ถูกต้องและจะย่อมนำไปสู่การปฏิบัติที่งดงาม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของพุทธศาสนิกชนตลอดถึงสังคมโลก”

............

(หมายเหตุ : ภาพ/ข่าว กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)

"อุ๊งอิ๊งค์"เผย"ทักษิณ"เคยบอกจะไปญี่ปุ่น งานเปิดตัวหนังสือของเพื่อนอายุ 83ปี


         

วันที่ 30 มี.ค.2561 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้โพสต์เฟซบุ๊ค ระบุว่า คุณพ่อพูดมาตั้งแต่ครั้งที่แล้ว ที่เจอกันว่าจะไปงานเปิดตัวหนังสือของเพื่อนอายุ 83 ที่ญี่ปุ่น ท่านฮาจิเมะอิชิอิ ผู้เคยเป็นรัฐมนตรีที่ดูแลกิจการภายในญี่ปุ่นทั้งหมด พ่อตื่นเต้นที่จะไปงานนี้ บอกว่าเค้าเชิญพ่อตั้งนานแล้ว พ่อตั้งใจบินไปร่วมแสดงความยินดี มีพี่ๆที่ไปร่วมงานเก็บรูปมาฝาก เห็นแล้วหายคิดถึงได้นิดนึงค่ะ cr: @annefriday @shakrit มิตรภาพงดงามเสมอจริงๆ

นายกรัฐมนตรีภูฏานหนุนงานด้านพระพุทธศาสนา



นายกรัฐมนตรีภูฏานหนุนงานด้านพระพุทธศาสนา ร่วมประชุมสัมมนาวิชาการพระพุทธศาสนาวัชรยานร่วมกับ "มจร"  ต่างมีมุมมอง "ไม่ต้องเปลี่ยนศาสนาแต่ควรหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติ" 


วันที่ 27 มี.ค.2561 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ตามที่ได้ร่วมการประชุมพระพุทธศาสนาวัชรยาน ณ ประเทศภูฏาน จึงถือโอกาสร่วมถ่ายภาพกับนายกรัฐมนตรีภูฏานซึ่งมีความเป็นกันเองมากและให้ความใส่ใจสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาเป็นฐานสร้างความสุขให้คนภูฏาน 




ในงานมีการนำเสนองานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจากนักวิชาการทั่วโลกจึงมีประเด็นความหลากหลายในการมองแต่มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องระหว่างพระพุทธศาสนาเพราะมีการแบ่งออกหลากหลายนิกายตามบริบทของประเทศและภูมิภาคนั้นๆ ในอดีตซึ่งศาสนาเปรียบเทียบก่อตั้งขึ้นในทางตะวันตก เพราะมีความขัดแย้งทางศาสนาในยุโรปและอเมริกาโดยท่านศาสตราจารย์แมต มิลเลอร์ได้เขียนหนังสือศาสนาเปรียบเทียบ ด้วยการใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการเรียนศาสนา ซึ่งอดีตเราใช้ศรัทธาในการเรียนศาสนา แต่ศาสตราจารย์ใช้กระบวนการเรียนศาสนาเพื่อลดความขัดแย้งทางศาสนา การศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ มี 2 ประเด็น คือ "ศึกษาเพื่อถกเถียงโต้เถียงว่าใครผิดถูก และศึกษาเพื่อการแสวงหาความรู้อะไรควรอะไรไม่ควร" เราจึงควรศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ การศึกษาเรื่องศาสนาเปรียบเทียบได้รับความนิยมจากนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง




ศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบันมีการพัฒนาการ เราจะมีการชี้นำอย่างไรเมื่อศาสนามีการกระทบกระทั่งกัน บางครั้งเราชี้นำให้เกิดการทะเลาะกันบางครั้งเราชี้นำให้เกิดสันติสุข สถาบันการศึกษามีนักวิชาการทางด้านศาสนาเราควรจะมีนักวิชาการทางด้านศาสนาทุกศาสนา ด้วยการไม่สร้างความขัดแย้งในศาสนา แต่มุ่งให้ศาสนาอยู่ร่วมกันได้ คุณสมบัติของนักวิชาการศาสนาควรจะเป็นอย่างไร ? เราต้องพัฒนาเหมือนนักวิทยาศาสตร์ พยายามจะศึกษาความจริงด้วยการผ่านการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาที่ปราศจากอคติ นักวิทยาศาสตร์ " ต้องศึกษาธรรมชาติโลกอย่างเป็นกลาง " 




ดังนั้น นักการศาสนาต้องศึกษาอย่างเป็นกลางเหมือนกัน งานวิจัยของ ดร.ท่านหนึ่งกล่าวว่า "บุคคลที่ป่วยทางจิตมาจากการศึกษาศาสนาที่ไม่ครบสมบูรณ์" บุคคลจะเป็นนักวิชาการศาสนาที่ดีต้องตัดความชอบความชังออกไป ต้องสามารถเป็นคนกลาง โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า " ศาสนาทำให้เรามองว่าเป็นพวกเดียวกัน " ศาสนาอิสลามจะถูกปลูกฝังมาแบบเชิงลึกรักพวกพ้อง ในกรณีการเป็นพวกเดียว เช่น ศาสนาเดียวกัน ส่วนศาสนาพุทธถือว่าน้อยในเรื่องศาสนาเดียวกัน เพราะบางครั้งคนพุทธยังขัดแย้งกันเอง 



มองว่านักวิชาการศาสนาต้องไม่ไปเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือศาสนา แต่เราควรจะหาวิธีในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากกว่า เพราะมีหนังสือเล่มหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า"สงครามกับศาสนาเป็นของคู่กัน" เพราะสามารถปลุกระดมคนง่ายเมื่อใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาอย่างไร? รัฐควรจะสร้างการอยู่ร่วมกันหาจุดร่วม มากกว่าจุดต่าง อะไรคือจุดร่วมของศาสนา? ซึ่งเป็นเรื่องปกติศาสนามีความต่างอย่างแน่นอน นักวิชาการศาสนาต้องชี้นำเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ นักวิชาการต้องไม่ไปรบกับใคร นักวิชาการศาสนาบางครั้งเงียบ เพราะพูดแล้วจะโยงว่าอยู่ฝ่ายใด นักวิชาการจะชี้ว่า " ถ้าคุณเลือก A คุณจะได้อะไรคุณจะเสียอะไร ถ้าคุณเลือก B คุณจะได้อะไรคุณจะเสียอะไร นักวิชาการต้องชี้ให้เป็นกลางที่สุดด้วยการปราศจากอคติ 



พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา  มจร สรุปว่า ดังนั้น เวลาแต่ละศาสนาปะทะกันเราจะเห็นข้อดี เพราะเราได้เรียนรู้เห็นมิติต่างๆซึ่งผู้นำศาสนาจะต้องรู้ศาสนาอื่นให้มากเพื่อสร้างความเข้าใจ สิ่งสำคัญเราต้องศึกษากันและกันเพราะแต่ละศาสนามีกติกาของแต่ละศาสนา ซึ่งมีความชัดเจนที่หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า "จงทำความเข้าใจระหว่างศาสนา"ปัจจุบันเราทำความเข้าใจกันมากน้อยเพียงใด ? หรือเราจะโจมตีกันไปมาประเด็นนี้น่าสนใจมาก รวมถึงศาสนาเดียวกันก็ควรทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนเช่นกัน


มติถวายรางวัลแก่มส.พระพรหมสิทธิบนเวทีสันติภาพโลกสวีเดน




วันที่ 29 มี.ค.2561 พระวิเทศปุญญาภรณ์ (เจ้าคุณสวีเดน) เจ้าอาวาสวัดพุทธาราม ประเทศสวีเดน เลขานุการสหภาพพระธรรมทูตไทยทวีปยุโรป เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญของสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งพระธรรมพุทธิวงค์ ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปได้มอบให้พระเทพกิตติโมลี เป็นประธานแทน โดยมีวาระสำคัญหลักคือการเตรียมการจัดประชุมสันติภาพโลกและการจัดประชุมสามัญประจำปีของสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปที่ประเทศสวีเดน 

"ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ที่ประชุมสมาพันธ์สันติภาพสากลที่ประเทศสวีเดน และ 15 องค์เพื่อสันติภาพจากทั่วโลก ได้มีมติถวายรางวัลสันติภาพสาขาความสัมพันธ์ด้านศาสนาระดับนานาชาติ แก่พระพระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถระสมาคม(มส.) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรวิหาร ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ  ในงานประชุมสันติภาพโลกที่ประเทศสวีเดน ในวันที่ 30 มิถุนายน 2561นี้" พระวิเทศปุญญาภรณ์ กล่าวและว่า 




โดยที่ประชุมเห็นว่า พระพรหมสิทธิได้เดินทางปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศเป็นระเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 40 ปี สร้างความสัมพันธ์กับศาสนาต่างๆ ทั้งในเอเซียยุโรปอเมริกาและในโอเซียเนีย ดังนั้น การถวายรางวัลในครั้งนี้จึงเป็นการประกาศยกย่องพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทยและเป็นเกียรติประวัติแก่ประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง    

พระวิเทศปุญญาภรณ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นยังมีผู้นำจากต่างประเทศอีก 20 ประเทศที่จะได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ รวมทั้งคนไทยอีก 2 คนที่จะได้เข้ารับรางวัลอันทรงเกียรติด้านวัฒนธรรมระดับนานาชาติ  พ  พร้อมกันนี้สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปได้มีกำหนดจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี วันที่7-8กค2561 ณ วัดพุทธาราม ประเทศสวีเดน โดยจะมีการประชุมความพร้อมในการจักประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่  3 พ.ค.2561 นี้  

ในการประชุมครั้งนี้นายกเทศมนตรีประจำเมืองได้มากล่าวถวายการต้อนรับด้วย



กิจวัตร"เจ้าโส"สุนัขหัวใจรักพุทธศาสนาแดนพุทธภูมิ



เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2561 ตามที่ได้รายงานว่า "เจ้าโส" ชื่อสุนัขตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้วิ่งตามคณะพระธุดงค์ตามรอยบาทพระศาสดา ณ แดนพุทธภูมิ รุ่นที่ 5  จำนวน 120  รูป ระยะทาง 2,550 กิโลเมตร เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบลในประเทศอินเดีย-เนปาล ภายใต้ความเมตตาของพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทโธ) หัวหน้าพระธรรมฑูตไทยในอินเดีย-เนปาลโดย โดยเริ่มตั้งแต่เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดียนั้น บันนี้คณะพระธุดงค์ดังกล่าวได้เดินทางถึงพุทธคยาแล้ว 

และครั้งนี้ก็เป็นเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ที่"เจ้าโส" ยิ่งตามคณะพระธุดงค์ รวมระยะทางก็เกือบ 6,000 กิโลเมตรแล้ว และครั้งนี้มีสุนัขที่วิ่งร่วมกับ "เจ้าโส" เพิ่มอีก 2 ตัวคือ "เจ้าสา" และ "เจ้าเตี้ย"  และวันนี้(29 มี.ค.) เฟซบุ๊ก "วัดไทยพุทธคยา ๙๓๕ งานเผยแผ่พระธรรมทูตอินเดีย-เนปาล" ได้เพิ่มรูปภาพและข้อความว่า

#เจ้าโส... (ภาค 2)  ในช่วงเวลา 9 เดือน #ที่เจ้าโส_สุนัขหัวใจรักพระพุทธศาสนา ในแดนพุทธภูมิ ว่างเว้นจากการออกเดินนำพระธุดงค์ธรรมยาตราตามรอยบาทพระศาสดาในสังเวชนียสถาน เจ้าโส จะอยู่ประจำที่วัดไทยพุทธคยา โดยมีกิจวัตรประจำวันคือ

#เช้า... ตื่นมานั่งหน้าพระอุโบสถ (หลายครั้งก็เข้าไปด้านใน) เพื่อร่วมรับฟังพระสงฆ์ทำวัตรเช้า  #สาย... ไปนั่งกับพระที่หอฉัน เพื่อฟังเสียงพระสวดมนต์ และคอยเห่าแขกไม่ได้รับเชิญ  #บ่าย... ขึ้นนั่งรถสามล้อติดตามกับพระสงฆ์ที่จะไปปฏิบัติธรรมที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (คือ เจ้าโส เห็นพระที่จะไปต้นโพธิ์ไม่ได้เลย จะต้องเดินตาม หรือ ขอกระโดดขึ้นรถสามล้อตามไปด้วยตลอด)  #เย็น... กลับมานั่งเฝ้าพระสงฆ์ ฟังเสียงสวดมนต์ทำวัตรเย็นที่พระอุโบสถ

#ค่ำ... นอนหลับอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรงปลูก ณ ลานโพธิ์ วัดไทยพุทธคยา ซึ่งถ้ามีแขกไม่ได้รับเชิญมาปรากฎ เจ้าโสจะเห่าอย่างเต็มที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่วัดวาอาราม กิจกรรมในแต่ละวันของ เจ้าโส จะเป็นแบบนี้ตลอด จนพระสงฆ์ แม่ชี หรือ ใครต่อใครที่อยู่ในพุทธคยาชินตาและคุ้นเคยกับอาการกิริยาที่... #รักพระสงฆ์และศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างที่สุดของชีวิตน้อยๆชีวิตหนึ่ง

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระธรรมทูตไทยอินเดีย-เนปาลบรรยายวิทยาลัยดร.เอมเบดการ์


          
วันที่ 29 มี.ค.2561 พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (วิเชียร วชิรวํโส) เจ้าอาวาสวัดไทยสิริราชคฤห์  เปิดเผยว่า เมื่อวันทึ่ 21 มีนาคม 2561  ได้รับนิมนต์ให้ไปบรรยายพิเศษที่วิทยาลัยสิทธารถ ในกลางเมืองมุมใบ ซึ่งสถาปนาโดย ดร.เอมเบดการ์ ในปีค.ศ. 1945. และปัจจุบันมีสาขาทั่วอินเดีย ราว 29 แห่ง ในการบรรยายครั้งนี้กงสุลใหญ่แห่งนครมุมใบเป็นผู้ประสานงาน ตามโครงการเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นอินเดีย 



โดยมีหัวข้อบรรยายคือบทบาทของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และการประกาศพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ ในรอบ 60 ปีของคณะสงฆ์ไทย นับว่าได้รับความสนใจจากครูอาจารย์และพ่อค้าประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ในการนี้ทางสถาบันได้ขอพระพุทธรูปจากประเทศไทยเพื่อนำไปประดิษฐานไว้บนชุ้มประตูของสถาบัน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ทางสถาบัน จึงขอให้ทุกท่านได้ร่วมอนุโมทนากับการเผยแผ่ธรรมแก่ชาวอินเดียในระดับปัญญาชน ของพระธรรมทูตไทยอีกครั้ง ในนามพระธรรมทูตสายอินเดียเนปาล 

............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กวัดไทยสิริราชคฤห์ อินเดีย)

ยุโรปบนพุทธวิถีนับวันจะเพิ่มปริมาณและคุณภาพ




วันที่ 28 มี.ค.256 เฟซบุ๊ก World Buddhist Gallery ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า  Eruop จะกลายเป็นประเทศศาสนาพุทธ พวกเขากำลังเรียนรู้ศาสนาพุทธอย่างรวดเร็ว เวลาสำหรับความสงบสุขของจิตใจของคุณ + เรียนรู้เทคนิคบางอย่างเพื่อติดตามการทำสมาธิท่ามกลางชีวิตที่ยุ่ง

#MindStories
#meditation
#mindfulness
#inspiration
#InnerPeace







พระพรหมบัณฑิตชี้ผู้มีจิตอาสาต้องไม่หวังผลตอบแทน






พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร  เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 ที่ มจร วิทยาเขตขอนแก่น ชี้ผู้ทำงานจิตอาสาต้องไม่หวังผลตอบแทน 




วันที่ 28 มี.ค.2561 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตขอนแก่น พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง "จิตอาสากับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Volunteer Spirit for Sustainable Social Development)" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ.2561  



ในการนี้พระพรหมบัณฑิตได้ปาฐกถาพิเศษความตอนหนึ่งว่า  คำว่า "อาสา" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า เสนอเข้าทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามด้วยความเต็มใจ เรียกว่า อาสา และ "จิตอาสา" ให้ความหมายว่า เป็นความสมัครใจ จิตนั้นเป็นเรื่องความคิด เต็มใจทำงานเพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเงิน เกียรติ หรือสิ่งอื่นใด 




จิตอาสาในภาษาอังกฤษ ไvolunteering" หรือ "volunteer" แปลว่า อาสาสมัคร เป็นการทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่คนจำนวนมาก คนที่ทำไม่ว่าจะทำคนเดียวหรือทำเป็นกลุ่ม มุ่งให้การบริการโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือลาภยศอื่นใด "For non Financial or Social agent" ไม่เรียกร้อง ตอบแทน ทำเพื่อประโยชน์ของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนทั้งกลุ่มหรือแก่องค์กรใดๆ ก็ตาม นี่คือจิตอาสา ใครมาทำงานด้านจิตอาสาก็จะต้องเข้าใจว่าประโยชน์คนอื่นเป็นเรื่องสำคัญ ในทางพระพุทธศาสนา แบ่งประโยชน์เป็น 3 ประการคือ 1. อัตตัตถะ คือ ประโยชน์ของตนเอง 2. ปรัตถะ คือ ประโยชน์แก่บุคคลอื่นและสังคม 3. อุภยัตถะ คือ ประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น



ผู้ทำงานจิตอาสา เก็บประโยชน์ตนไว้ก่อน มุ่งปรัตถะ ประโยชน์คนอื่น และอุภยัตถะ คือประโยชน์คนอื่น ใครทำงานเพื่อจิตอาสาหรือไม่ ตั้งเกณฑ์ไว้ 4 ข้อ 1. เป็นการเสนอตัวเข้าร่วมทำกิจกรรม โดยเข้ามามีส่วนร่วม อะไรที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมเราไม่นิ่งดูดายจะเข้าไปทำ 2. เขาไม่ได้สั่งแต่เราอยู่เฉยไม่ได้ นี่คือการเสนอตัวเข้าไปทำกิจกรรม กิจกรรมที่ทำนั้นมุ่งประโยชน์สุขของคนอื่นหรือส่วนรวม ไม่ใช่ของเรา จึงเป็นจิตอาสา 3. ไม่มีใครบังคับ ทำด้วยความเต็มใจ ด้วยความสมัครใจ 4. โดยไม่หวังผลตอบแทน คนไหนถ้าทำเพื่อหวังผลตอบแทน พอไม่ได้ผลที่หวังก็ไม่ทำ เราไม่เรียกว่า จิตอาสา จิตอาสาต้องมีความยั่งยืน ก็เข้ากับหัวข้อ “จิตอาสาเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน” คือสังคมพัฒนายั่งยืนด้วยและกิจกรรมที่ทำต่อเนื่อง



"จิตอาสาทางพระพุทธศาสนา มาจากประโยคที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งกับพระอรหันต์ 60 รูป โดยพระพุทธเจ้าส่งพระอรหันต์ไปประกาศพระศาสนา ด้วยประโยคนี้ว่า “จรถะ ภิกขเว จาริกัง พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ” แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงจาริกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ต่อชาวโลก" อธิการบดี มจร กล่าว



นอกจากนี้ในช่วงบ่ายมีการอธิปรายแสดงความเห็นจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ โดยได้มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "พุทธนวัตกรรม" คือการ แปลงหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ในรูปแบบกิจกรรม สิ่งประดิษบ์ โครงการ คู่มือ ที่ส่ิงผลกระทบต่อสังคม เพราะว่างานวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่ยังเป็นนามธรรม อย่างเช่นหลักธรรมว่าด้วยอริยสัจ สังคหวัตถุ เป็นต้น


...........

ภาพ&ข่าว : Mcu Tv-Channel

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

อัศจรรย์!"เจ้าโส"สุนัขวิ่งตามพระธุรดงค์แดนพุทธภูมิ 6 พันกม.แล้ว



วันที่ 27 มี.ค.2561 ตามที่คณะพระธุดงค์ตามรอยบาทพระศาสดา ณ แดนพุทธภูมิ รุ่นที่ 5  จำนวน 120  รูป ระยะทาง 2,550 กิโลเมตร เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบลในประเทศอินเดีย-เนปาล ภายใต้ความเมตตาของพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทโธ) หัวหน้าพระธรรมฑูตไทยในอินเดีย-เนปาลโดย โดยเริ่มตั้งแต่เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดียนั้น บันนี้คณะพระธุดงค์ดังกล่าวได้เดินทางถึงพุทธคยาแล้ว 

อย่างไรก็ตามตลอดระยะทาง 2,550 กิโลเมตร ของการเดินของพระธุดงค์ตามรอยบาทพระศาสดานมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบลในประเทศอินเดีย-เนปาล ปรากฏว่าได้มีสุนัขคือว่า "เจ้าโส" ได้วิ่งตามคณะพระธุดงค์ตลอดระยะทางดังกล่าว และครั้งนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ "เจ้าโส" ยิ่งตามคณะพระธุดงค์ แต่ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว รวมระยะทางก็เกือบ 6,000 กิโลเมตรแล้ว และครั้งนี้มีสุนัขที่วิ่งร่วมกับ "เจ้าโส" เพิ่มอีก 2 ตัวคือ "เจ้าสา" และ "เจ้าเตี้ย"


...........

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กกองทุนครูพระธุดงค์พุทธภูมิ)

พระประดิษฐ์รับกิจนิมนต์ทำบุญธุรกิจครอบครัว"ภัทรประสิทธิ์"




วันที่ 27 มี.ค.2561 พระประดิษฐ์ ฐานุตตโม (ภัทรประสิทธิ์)  อดีตรัฐมนตรีช่วยคมนาคมและนักธุรกิจระดับมหาเศรษฐี ได้รับกิจนิมนต์ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยร่วมมรพิธีทำบุญครบรอบ 29 ปี กิจการของครอบครัว “ภัทรประสิทธิ์” ที่จังหวัดเชียงใหม่

..........

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.youtube.com/watch?time_continue=16&v=yl-KfguS0pA)

พบพระประดิษฐ์อดีตนักการเมืองจำวัดเชียงราย สงกรานต์กลับพิจิตรสรงน้ำพระ




วันที่ 27 มี.ค.2561 ตามที่มีกระแสข่าวพระประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีนักการเมืองชื่อดัง ได้บวชแบบเงียบจำวัดที่วัดในถิ่นธุระกันดาร และทราบว่าคือวัดป่าวังศิลา หมู่ 8 ต.สันมะค่า อ.ป่าแดด จ.เชียงราย  โดยมีพระสมชาติ อภิชาโต เป็นเจ้าอาวาส  ซึ่งเป็นวัดปตั้งอยู่ห่างไกลชุมชน โดยอาคารต่างๆ ภายในวัดทั้งอุโบสถ กุฏิ ฯลฯ ปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่และมีเสียงจักจั่นเรไรส่งเสียงร้องระงมตลอดทั้งวัน 
        
สำหรับกุฏิที่พักของพระประดิษฐ์ พบว่าเป็นกุฏิด้านในสุดของวัด เป็นกุฏิคอนกรีตชั้นเดียว มีทางเดินคอนกรีตเล็กๆเข้าถึง รายล้อมด้วยต้นไม้ และมีผ้าจีวรของพระภิกษุตากไว้ด้านหนึ่งด้วย ซึ่งพระลูกวัดป่าวังศิลา และคนงานภายในวัดบอกว่า ตามปกติพระประดิษฐ์จะออกมากวาดลาน รวมถึงถนนหน้ากุฏิตัวเองและกุฏิเจ้าอาวาสทุกวันเป็นกิจวัตร ที่คนภายในวัดเห็นเป็นประจำ จากนั้นก็ออกมาทำวัด ตักบาตร ฉันอาหาร ปฏิบัติธรรมและใช้ชีวิตสมถะเหมือนพระทุกรูปภายในวัดโดยไม่มีสิทธิพิเศษใดๆซึ่งพระประดิษฐ์ก็สามารถปรับตัวปฏิบัติตนอยู่ได้เป็นอย่างดี        

ขณะเดียวกันทราบว่า ช่วงสงกรานต์นี้พระประดิษฐ์ มีกำหนดเดินทางไปร่วมพิธีสรงน้ำพระที่วัดในจังหวัดพิจิตร

............

(หมายเหตุ : ที่มา http://www.banmuang.co.th/news/education/106606)

โซเชี่ยลแห่ชื่นชม!ผอ.สองแควใส่นาฬิกาพัง สายชำรุดใช้สายรัดซ่อมใส่ต่อได้



วันที่ 27 มี.ค.2561 ท่ามกลางกระแสข้าราชการทุจริตโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนเสมาพัฒนาชีวิตกระทรวงศึกษาธิการและเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง  ภายใต้การดำเนินงานโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ปรากฏว่าสังคมออนไลน์ได้แห่ชื่นชมนายประพฤติ ยอดไพบูลย์ ผู้อำนวจการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ที่ใส่นาฬิกาพังสายชำรุดใช้สายรัดซ่อม 



นายประพฤติ ด้วยวัย 54 ปี  ดำรงตำแหน่งสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และตลอดชีวิตของการรับราชการ ยึดมั่นในเรื่องของการทำงานเพื่อประชาชนอย่างเต็มกำลัง ทำหน้าที่ในการแจ้งข่าวสารพายุฝนให้กับประชาชนได้ทราบ  นอกจากนี้ยังทำตัวเป็นตัวอย่างเกษตรกรโดยทำการเกษตรตากข้าว ตากมัน หากได้รับข่าวสารให้รีบเก็บผลผลิต ก่อนพืชผลทางการเกษตรเสียหาย 

เรื่องราวของนายประพฤติที่มีหลายคนทราบเรื่องแล้วชื่นชมกันเป็นจำนวนมาก เริ่มจากมีคนถ่ายภาพนาฬิกาข้อมือ ซึ่งเป็นเพียงนาฬิการุ่นเก่า ราคาไม่แพง สภาพสายชำรุด ถูกซ่อมแซมอย่างง่าย ๆ ด้วยสายรัดเคเบิลไทร์  เมื่อมีการสอบถามก็ได้รับคำตอบว่า "มันยังใช้ได้" 

ผู้อำนวจการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ปกติตนเองก็ไม่นิยมใช้ของที่มีราคาแพง อย่างนาฬิกาถ้าซื้อเองก็จะซื้อในราคาไม่เกินเรือนละ 200 บาท แต่เรือนที่ใส่อยู่นี้ เป็นเรือนที่ลูกสาวเก็บเงินค่าขนมซื้อให้ ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งตนเองก็ใช้อย่างทะนุถนอมมาโดยตลอด จนไม่กี่วันที่ผ่านมา สายขาดทีแรกก็คิดว่าจะนำไปซ่อม เปลี่ยนสายนาฬิกา แต่ด้วยว่าตนเองค่อนข้างจะติดนาฬิกาเรือนนี้ ใส่ทำงานตลอดเวลาจึงซ่อมเองแบบง่ายๆ 



"จนกระทั่งมีคนมาถ่ายภาพไปลงโซเชี่ยล และผู้สื่อข่าวได้ถามว่า เป็นถึง ผอ. แต่ใช้ของถูกๆ แบบนี้ ไม่ถูกมองว่าไม่สมศักดิ์ศรีบ้างหรืออย่างไร ก็ตอบไปว่า ถูกตำหนิจากคนในครอบครัวบ้าง แต่โดยส่วนตัวแล้วมองว่า ศักดิ์ศรีของการเป็นข้าราชการ คือการได้ทำงานให้เกิดกับพี่น้องประชาชนมากกว่า การใช้ของที่มีราคาแพง"นายประพฤติ กล่าว 

.......

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก พิษณุโลก ประชาสัมพันธ์)

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

"พุทธอิสระ"จัดบรรพชา-อุปสมบทภาคฤดูร้อน



วันที่ 27 มี.ค.1461 ที่บริเวณลานพระศรีมหาโพธิ์ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม หลวงปู่พุทธอิสระ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิธรรมอิสระ ได้ประกอบพิธีขลิบผมนาค ผู้ที่เข้าร่วมโครงการบรรพชา-อุปสมบทภาคฤดูร้อน จำนวน 35 รูป โดยมีญาติๆ ร่วมประกอบพิธีขลิบผมให้กับผู้เข้าร่วมบรรพชา-อุปสมบท ในครั้งนี้ด้วย จากนั้นพระอธิการ สิริชัย สิริโสภโณ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ได้ประกอบพิธีอาบน้ำนาค ณ บริเวณลานหน้าพระอุโบสถกลางน้ำ โดยมี พ.ต.อ.ศุภเกียรติ เทิดตระกูล ผู้กำกับ สภ.กำแพงแสน เป็นประธานร่วมมอบผ้าไตรให้แก่นาคทั้ง 35 นาค  หลังจากบรรพชาเสร็จ หลวงปู่พุทธอิสระจะนำเดินทางไปธุดงค์ยังสถานศูนย์ธรรมชาติบำบัด ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 

กรมพัฒนาที่2โคราชจัด"คลีนิคบริการประชาชนเคลื่อนที่"



กรมพัฒนาที่2โคราชจัด"คลีนิคบริการประชาชนเคลื่อนที่" อบรมการทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา พ.อ.กิติศักดิ์ ถาวร รอง ผบ.พล.พัฒนาที่ 2 (2)  เป็นประธานจัดกิจกรรม “คลีนิคบริการประชาชนเคลื่อนที่” โดยกรมพัฒนาที่ 2  และ กองพันพัฒนาที่ 2  ณ โรงเรียนบ้านสะพานหิน ต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ จ.นครราชสีมา  โดยพ.อ. กิตติพงษ์ พุทธิมณี ผบ.กรมพัฒนาที่ 2 เข้าร่วมพร้อมกับผู้บังคับกองพันพัฒนาที่ 2 ,ปลัดอาวุโส อ.เทพารักษ์ ,ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร อ.เทพารักษ์ ,กำนัน ,ผู้ใหญ่บ้าน ,หัวหน้าส่วนราชการ ,นักเรียนและ ประชาชน จำนวน 300 คน 

การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีการแสดงดนตรี ,การอบรมการทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน ,ฉีดวัคซีนสัตว์เลี้ยง ,ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ,ซ่อมรถจักรยานยนต์ ,อบรมการทำน้ำยาล้างจาน ,แจกอาหาร น้ำดื่ม และ บริการตรวจสุขภาพแก่ประชาชน ในพื้นที่ ต.หนองแวง อ.เทพารักษ์ จ.นครราชสีมา นอกจากนี้ พ.อ.กิติศักดิ์  ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านสะพานหิน ,มอบอุปกรณ์กีฬาให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะพานหิน และ มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมดังกล่าว 










เพลงเตมียะชาดกแนะทางแห่งปัญญา

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   เตมียะชาดกแนะทางแห่งปัญญา (Verse 1)  เตมียะชาดก บอกเล่าเรื่องราวแสนไกล เจ้าชายผู้อ่อนวัย แต...