ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2022

"อธิบดีพช." กระตุ้นสร้างความพร้อมทีมงาน พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ห้องประชุม 3001 ชั้น 3 กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) นายสมคิด จันทมฤกอธิบดี พช. เป็นประธานการประชุม Morning Brief เพื่อหารือข้อราชการประจำสัปดาห์ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีคณะผู้บริหาร พช. เข้าร่วมการประชุม โดยกล่าวว่า ทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ประจำปี 2566 ตามวิสัยทัศน์ พช. “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  มุ่งเน้นการทำงานครบทุกมิติ ในกระบวนการ “งาน งบ ระบบ คน” เพื่อมุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง (ตำบลเข้มแข็ง) “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ มีเศรษฐกิจฐานรากและมีความสุขมวลรวม ผ่านโครงการต่างๆ ของ พช. ในด้านของการบริหารจัดการชุมชน ส่งเสริมและพัฒนา สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน มีการรักษาระดับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (เดิม) ขยายผลหมู่บ้านใหม่ ขับเคลื่อนและต่อยอดพื้นที่ต้นแบบ โคก หนองนา พัฒนาชุมชน ด้วยหลัก 5 P ยกระดับศูนย์เรียนรู้ชุมชน ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน และศูนย์สารภี เสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนธรรมาภิบาล และงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตร

"อนุทิน" นำ ภท.ประกาศจุดยืนไม่คิดดอกเบี้ย กยศ. เหมือน "ไบเดน" ประกาศล้างหนี้

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่รัฐสภา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ร่วมแถลงถึงจุดยืนต่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่…) พ.ศ. … ในวันนี้ ซึ่งพรรค ภท.เสนอร่างกฎหมายประกบไปพร้อมกับร่างของรัฐบาลด้วย โดยที่ประชุม พรรค ภท.ที่มีมติไม่ให้เก็บดอกเบี้ยหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่าเรื่องนี้ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของพรรค ภท. ตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 2562 เรามีความเชื่อว่ารัฐบาลควรมีหน้าที่สนับสนุนการศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน กยศ. เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมากที่จะสนับสนุนให้คนไทยทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้ตามความต้องการของผู้ใฝ่เรียน และเป็นการเพิ่มโอกาสให้ทุกคนที่มีปัญหาเรื่องทุนได้เข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ เมื่อไม่คิดดอกเบี้ย ผู้กู้ยืมจะกลายเป็นเพียงแค่ผู้ยืม ไม่ใช่ผู้กู้ยืมอีกต่อไป  "ไบเดน" ประกาศล้างหนี้กยศ.  ขณะที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ให้ชาวอเมริกันรายละ 10,000 ดอลลาร์ และ

"เพื่อไทย" จี้ "บิ๊กป้อม" เร่งแก้หนี้ "ใน-นอก" ระบบให้ตรงจุด

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 นางมนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม ในฐานะรองเลขาธิการ พรรคเพื่อไทยเปิดเผยว่า อยากฝากไปยังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ รักษาการนายกรัฐมนตรี ลงมาแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด รวม ไปถึงการออกมาตรการลดต้นทุนการเกษตรอย่างจริงใจ เพราะต้นทุนทางการเกษตกรเพิ่มสูงมากขึ้น ทั้งน้ำมันแพง ปรับค่าไฟฟ้า ปุ๋ยยูเรียราคาเพิ่มขึ้น 4 เท่าจาก 400 เป็น 1,800 บาทต่อกระสอบ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นหลายเท่าตัว แต่ราคาสินค้าเกษตรลดลง ส่งผลให้เกษตรกรไม่มีเงินทำการเกษตรต่อ เพราะยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้  "รัฐบาลควรที่จะหาทางด้านการลดต้นทุนการเกษตรรวมทั้งหามาตรการที่จะช่วยลดภาระให้เกษตรกร ไม่ควรอ้างว่าทำไม่ได้ เพราะรัฐบาลมีเครื่องมือมากมาย แต่ทำไม่เป็น ทำให้ประชาชนลำบาก รวมทั้งเมื่อรายได้ไม่พอรายจ่าย ประชาชนต้องการหาเงิน จึงเป็นต้นกำเนิดแห่งอาชญากรรมตามมาทั้ง ยาเสพติด แก๊งค์ทวงหนี้นอกระบบหรือแก๊งค์หมวกกันน็อก โจรลักขโมย ปล้นทรัพย์ ที่เติบโตขึ้นตามระบบเศรษฐกิจที่ล่มสลาย หากรัฐไม่ทำอะไร จะส่งผลให้ซ้ำเติมความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างแน่นอน" นางมนพร กล่าว

กทม.จับมือ บพท.-พอช.สานพลังพหุภาคีแก้ปัญหาคนจนเมือง

 กทม.จับมือ บพท.-พอช.สานพลังพหุภาคีแก้ปัญหาคนจนเมือง ดีเดย์เดือนส.ค.ในพื้นที่นำร่องเขตป้อมปราบฯ-พระโขนง-คันนายาว บพท.บรรลุความร่วมมือกับ กทม.- พอช. รวมทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ถือฤกษ์เดือนสิงหามหามงคล เดินหน้าแก้ปัญหาคนจนเมืองแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่นำร่อง 3 เขตคือป้อมปราบศัตรูพ่่าย-พระโขนง-คันนายาว โดยตั้งเป้าปูพรมฟังเสียงคนจนไม่น้อยกว่า 19,000 ครัวเรือน นายกิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า บพท.สามารถบรรลุความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่กรุงเทพมหานครแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ด้วยองค์ความรู้ที่ บพท.ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยดำเนินการอย่างได้ผลมาแล้วใน 20 จังหวัด “โครงการความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะนำร่องใน 3 เขต คือเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย  เขตพระโขนง และเขตคันนายาว โดยมี ดร.พงษ์พิศิษฐ์  หุยากรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหา

10 โครงการวิจัยดีเด่นแก้จน เสริมภูมิสู้วิกฤตเศรษฐกิจฐานราก

  นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า บพท. ได้ดำเนินงานร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อทำการวิจัยแนวทางแก้ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำ ร่วมกับชุมชน เอกชนและราชการส่วนท้องถิ่น โดยดำเนินการในพื้นที่20 จังหวัด จนสามารถช่วยเหลือผู้ยากจนที่ตกสำรวจแล้วกว่าแปดแสนคน "ขอบเขตการดำเนินงานของ บพท. ครอบคลุมการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และวิจัยเพื่อพัฒนาชุดความรู้ใหม่ ช่วยเหลือทั้งระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ซึ่งแปลงเป็นโครงการและกิจกรรม เช่น การส่งต่อผู้ยากจนเข้าสู่ระบบสวัสดิการของรัฐ การวิจัยเพื่อยกระดับการประกอบอาชีพ การวิจัยเพื่อส่งเสริมทักษะทางการเงิน และการวิจัยเพื่อยกระดับความสุขและความรู้ของชุมชน เป็นต้น"  นายกิตติ กล่าว ผู้อำนวยการ บพท. ชี้แจงด้วยว่า ทุกงานวิจัยที่ บพท. เข้าไปมีบทบาทให้การสนับสนุน ล้วนบรรลุเป้าหมายทั้งในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนเสริมสร้างฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก ให้เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน โดย ท

กทม. จับมือ สสปน. ส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่ กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน กระจายรายได้

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565  นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร ประชุมร่วมกับกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องศ์การมหาชน) (สสปน.) หารือเรื่องความร่วมมือในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ ห้องนพรัตน์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร ซึ่งในที่ประชุมมีความเห็นตรงกันที่จะร่วมมือกันส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันหารือแนวทางดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เบื้องต้นจะร่วมมือกันจัดกิจกรรมในช่วงเดือน 11 และเดือน 12 ของปีนี้ก่อน จากนั้นจะมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมและหารือแนวทางความร่วมมือสำหรับจัดกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อุตสาหกรรมไมซ์กรุงเทพฯ เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงระดับนานาชาติ และระดับโลก สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) เป็นอีกหนึ่งสาขาของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก คือ การจัดประชุม (Meeting) การท่องเที่ยวเพื่อ

ส.ก.เพื่อไทยปลื้ม! ร่วม "ชัชชาติ" ดันนโยบายชุมชนเข้มแข็งตามแนวพอเพียงสำเร็จ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายดนุพร ปุณณกันต์ คณะกรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่กรุงเทพมหานคร น.ส.นฤนันท์มนต์ ห่วงทรัพย์ ส.ก.เขตคลองสามวา และโฆษกสภา กทม. ร่วมกันแถลงถึงความคืบหน้าและการติดตามนโยบายที่คณะ ส.ก.พรรคเพื่อไทยผลักดัน นางพวงเพ็ชร กล่าวว่า หลังจากพี่น้องประชาชน กทม. มอบความไว้วางใจให้ ส.ก.ของพรรคเพื่อไทย มาทำงานรับใช้พี่น้องประชาชน เราจะพยายามผลักดันนโยบายต่างๆ ที่เราเคยหาเสียงไว้กับพี่น้องประชาชน และในอนาคตจะมีการเลือกตั้ง ส.ส.พรรคเพื่อไทย พร้อมทุกอย่างที่จะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและแก้ไขวิกฤติของประเทศ โดยพรรคเพื่อไทยยึดมั่นมาตลอดว่าทุกนโยบายเราทำเพื่อพี่น้องประชาชน และทุกนโยบายที่เรานำเสนอไปสามารถทำได้จริงตามสโลแกน พรรคเพื่อไทยหัวใจคือประชาชน ขณะที่ น.ส.นฤนันท์มนต์ กล่าวเสริมว่า ส.ก.ของพรรคเพื่อไทย เดินหน้าผลักดันนโยบายร่วมกับ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) โดยเฉพาะนโยบายกองทุนพัฒนาชุมชน 2 แสนบาท ที่ทีม ส.ก.จากพรรคเพื่อไท

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ประชาคม พัฒนายั่งยืน

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565    ที่หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ประชาคมจังหวัดนครศรีธรรมราช พบปะหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงาน ความก้าวหน้าในการดำเนินการพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาจังหวัดให้โดดเด่นและยั่งยืน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายกนพ เกตุชาติ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครศรีธรรมราช หัวหน้าส่วนราชการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมฯ โอกาสนี้ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “จังหวัดนครศรีธรรมราชนครแห่งอารยธรรม น่าอยู่ น่าเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรมยั่งยืน” โดยใช้แนวคิดการพัฒนา Soft Power ผลักดันให้วิสัยทัศน์จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม มุ่งสู่เป้าหมายใน 5 มิติ (5P) คือ 1) Planet ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) People ด้านสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชน 3) Prosperity ด้านเศรษฐกิจแ

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ผนึกกำลัง โลตัส รับซื้อ "ฟักทอง" จากเกษตรกรในโครงการอมก๋อยโมเดล

เครือซีพี โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ผนึกกำลังกลุ่มธุรกิจในเครือฯ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) เข้ารับซื้อ "ฟักทอง" ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรในโมเดลเกษตรมูลค่าสูง จากโครงการ "อมก๋อย โมเดล" ในพื้นที่บ้านผีปานเหนือ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยเป็นกระบวนการรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกร เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาดและสร้างรายได้ที่เป็นธรรมและมั่นคงให้กับกลุ่มเกษตรกรในโครงการฯ โดยในครั้งนี้เป็นผลผลิตล็อตแรก จากเกษตรกรรุ่นที่ 1-2 จำนวน 7.73 ตัน บนพื้นที่ 5 ไร่ โดยสามารถสร้างรายได้กว่า 110,000 บาท และส่งจำหน่ายที่ศูนย์กระจายสินค้าโลตัส เขตภาคกลาง นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า โมเดลเกษตรมูลค่าสูง เป็นยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง ผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็น

ศีขรภูมิสุรินทร์ จัดกิจกรรมเชื่อมโยงอาหารปลอดภัย โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร เชื่อมโยงผู้ผลิตกับลูกค้า

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 นายสมพร พูลเพิ่ม พัฒนาการอำเภอศีขรภูมิ มอบหมายให้นางสุนทรี นวนิล นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนางสาวธันยพร แสนปลื้ม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างรายได้จากกิจกรรมอาหาร กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมเชื่อมโยงอาหารปลอดภัย โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร การเชื่อมโยงผู้ผลิตกับลูกค้า โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อน “ส่งเสริมการสร้างรายได้จากกิจการอาหารปลอดภัย” ระหว่างนายสนิท ตุ้มทอง บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 9 บ้านอำปึล ตำบลตากูก อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กับกลุ่มเกษตรพอเพียงบ้านบุละลาย โดย นายมานพ เจือจันทร์ ณ ครัวเรือนนายมานพ เจือจันทร์ บ้านเลขที่ 49 บ้านบุละลาย หมู่ที่ 11 ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับเกียรติจากภาคีภาคส่วนในการเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว จากคณะกรรมการเครือข่ายโคก หนอง นาโมเดลตำบลแตล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแตล บ้านนาท่ม กำนันตำบลแตล เกษตรตำบลแตล ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบลแตล ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. และราษ

สุรินทร์เตรียมเชื่อมโยงตลาดกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 นางพิรุณวรรณน์ จงใจภักดิ์ พาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ มอบหมายให้กลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ร่วมประชุมการเชื่อมโยงตลาดกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร กิจกรรมการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 บรรลุวัตถุประสงค์ ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดสุรินทร์ โดยได้ร่วมชี้แจงรายละเอียดให้แก่ ผู้ประกอบการค้าข้าวและกลุ่มเกษตรกรให้เข้าใจก่อนทำสัญญาซื้อขายข้าว(MOU) ระหว่างกันในวันที่ 8 กันยายน 2565 ข้อมูลข่าวและที่มา - https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220830192537759

"ประวิตร" สั่งคลังแยกสถานะลูกหนี้ครัวเรือนแก้ให้ตรงเป้า ศธ.จับมือ ธ.ออมสินจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกฯ มีข้อสั่งการ และมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดูเรื่องหนี้ครัวเรือน  โดยแยกสถานะของลูกหนี้ ทั้ง NPL หรือส่วนอื่น ๆ ที่ยังสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ เพื่อหามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และแก้หนี้ได้ตรงเป้า มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้หาแนวทางส่งเสริมการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก ศธ.จับมือ ธ.ออมสินจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู  น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือกับธนาคารออมสินล่าสุดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีความเห็นร่วมกันว่าต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มที

พช. กระตุ้นเศรษฐกิจ ชวนเที่ยวไทยวิถีใหม่ กับสุดยอด ๑๐๐ ชุมชน OTOP นวัตวิถี

กรมการพัฒนาชุมชน ขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนให้ดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ภายใต้ชื่องาน “โอทอปนวัตวิถี ดีเกินร้อย เที่ยวไทยวิถีใหม่ 100 ชุมชน” ณ : ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าวว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มีกรอบแนวคิด ด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ เกิดความยั่งยืน ประชาชน มีคุณภาพชีวิต และมีรายได้ที่ดีขึ้น รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีแนวทางเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในเชิงธุรกิจของภาคบริการ และพันธกิจกระทรวงมหาดไทย ข้อ 4. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนภารกิจอำนาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ในการส่งเสริมกระบวนการเร

"ศคง." แนะวิธี "แก้หนี้" แบบยั่งยืน อย่ากู้มาโปะซ้ำซาก หลุดจากวงจรเงินผ่อนยาก

  เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 65 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ศคง. ได้เผยแพร่ข้อมูล เรื่องการจัดการหนี้ โดยระบุว่า เวลาไม่มีทางออกเรื่องการจ่ายหนี้ เรามักนึกถึงการกู้มาโปะเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เอาตัวรอดเป็นงวดๆ ไป ทั้งนี้ ถ้าเราคิดไม่รอบคอบ วางแผนไม่ดี อาจกลายเป็นเพิ่มภาระหนี้ให้มากกว่าเดิม ดังนั้นก่อนคิดจะกู้หนี้ไปโปะหนี้ ต้องไตร่ตรองให้ดี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกู้มาโปะหนี้บัตรเพื่อมีวงเงินหมุนเวียนไว้ใช้ต่อ หรือ กู้มาจ่ายหนี้ เพราะไม่อยากให้เสียเครดิต แม้ความจริงจะจ่ายไม่ไหว โดย ศคง. แนะนำให้ลองวิธีแก้ปัญหาหนี้แบบอื่น เช่น เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอลดดอกเบี้ย พักเงินต้น หรือแปลงหนี้บัตรเป็นสินเชื่อระยะยาว รวมไปถึงดูมาตรการช่วยเหลือต่างๆ เช่น และแก้หนี้บัตรกับโครงการคลินิกแก้หนี้ สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วม "โครงการคลินิกแก้หนี้" มีดังนี้ เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มี หลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ เป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อน 1 เม.ย. 65 (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือน ม

"ประวิตร" ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ แรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

"ประวิตร" "รักษาการนายกฯ" ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ แรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นประธานประชุมครม.ไม่นั่งที่ "นายกฯ"  ขณะที่ "ประยุทธ์" ร่วมประชุมผ่านคอนเฟอเรนซ์  วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นครั้งแรก ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี กรณีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี แต่ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.กลาโหม ได้ โดยก่อนการประชุม พล.อ.ประวิตร ได้โบกมือทักทายสื่อมวลชน แต่ไม่ได้ตอบคำถามใดๆ ขณะที่ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 30 สิงหาคม 2565  สำหรับการแสดงนิทรรศการโครงการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอพียง ในครั้งนี้ มีสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด และ บริษัท ไทยแสตนเลย์ การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับทุกภาคส่วน"โสภณ ซารัมย์"แก้จนตามแนวพอเพียง

วันที่ 29 สิงหาคม 2565 ที่บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้นส์ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนาการปรับตัวและการรับฟังปัญหาของแรงงานภาคการเกษตร ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมี นายสมบูรณ์ ซารัมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรณ์ เขต 3 จังหวัดบุรีรัมย์, นายดำรง ปลั่งกลาง เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์, นายไพศาล แก้วบุตรดี หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช คณะเจ้าหน้าที่ และเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 100 คน เข้าร่วมกิจกรรม โดยการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม รวมถึง แนวคิดการปรับตัว, การรับทราบถึงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน และการยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เพื่อให้สามารถปรับตัวภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงชีพได้อย่างมั่นคง รวมถึงเป็นการรองรับแรงงานคืนถิ่น หลังจากได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงาน เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจซบเซ

"เพื่อไทย" แนะรัฐบาลทำนโยบายให้ตรงปก เปิดลงทะเบียนบัตรคนจนรอบใหม่อย่าหวังแค่หาเสียง

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565   นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงสถานการณ์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ว่า หากพรรคเพื่อไทยบริหารประเทศ ทุกวันนี้เราจะเร่งสร้างรายได้ ลดรายจ่าย และขยายโอกาสให้ประชาชน เรามีนโยบายที่พร้อมจะเปิดตัวทยอยสื่อสารกับประชาชน มั่นใจได้ว่าทุกนโยบายทำได้จริง เพราะการคิดอย่างรอบคอบและสร้างสรรค์ก่อนทำเป็นนโยบายหาเสียง และทำให้ได้ตามที่สัญญากับประชาชนไว้ คือสิ่งที่เรายึดมั่นและได้รับการยอมรับจากประชาชนมาโดยตลอด  https://www.banmuang.co.th/news/politic/293987

รมว.คลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานธนาคารน้ำใต้ดินกำแพงเพชร

วันที่ 28 สิงหาคม 2565  นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วยนายนพดล ชินบุตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ โครงการผลิตบนฝั่ง (ประเทศไทย) และคณะผู้บริหาร ปตท.สผ. ร่วมให้การต้อนรับ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะ ในโอกาสเลงพื้นที่ตรวจติดตาม รับฟังบรรยายสรุป การบริหารจัดการน้ำด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี โดยมีนายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ร่วมให้การต้อนรับ ก่อนที่จะเดินทางติดตามดูธนาคารน้ำระบบบ่อปิด ป่าชุมชนบ้านเขาพริก ธนาคารน้ำใต้ดินระบบบ่อเปิด (ประปาหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ) และสิริปัญโญ บาราย   ข้อมูลข่าวและที่มา-https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220829100804099

คก.คัดเลือกกลุ่มส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบดีเด่นฯ ชื่นชมการดำเนินงานของจังหวัดสกลนคร

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565  นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นำทีมสกลนคร ประกอบด้วยเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร เกษตรจังหวัดสกลนคร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำเภอพรรณานิคม หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สถาบันการศึกษา ร่วมให้ข้อมูลและต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือกกลุ่มส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2565 ซึ่งมีกำหนดลงพื้นที่คัดเลือกกลุ่มส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบดีเด่น ระดับประเทศ โดยมี นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหัวหน้าคณะฯ ลงพื้นที่ ณ กลุ่มส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน บ้านคำข่า หมู่ที่ 4 ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นกลุ่มส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ของจังหวัดสกลนคร ระยะที่ 1 ที่ได้ผ่านการคัดเลือก จาก 24 จังหวัด 114 กลุ่ม ทั่วประเทศ เหลือ 5 กลุ่ม แข่งขันระดับประเทศ โดยจังหวัดสกลนครเป็น 1 ใน 5 นายครองศักดิ์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ ได้เห็นถึงความเข้มแข็ง ความซื่อสัตย์ และความรักความสามัคคีของคนในชุมชน ซึ่งนอกจากจะสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านอาชีพ อย่างการทำนา ทำไร่

ภูมิใจไทยพัทลุง เคาะถึงประตูบ้าน หอบ 8 นโยบายเข้าหาประชาชน

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565 นายปะเทือง มนตรี ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ภูมิใจไทย เขต 3 จ.พัทลุง ได้เปิดตัวกับประชาชนหมู่ที่ 11 บ้านควนล่อน เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด โดยเข้าเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงในบ้าน ได้แนะนำชี้แจงกับประชาชน 2 นโยบาย ต่อ 1 เดือน จนครบ 8 นโยบายของพรรคภูมิใจไทย โดยเดือนสิงหาคมนี้คือ 1. นโยบายพักหนี้ ปลอดดอกเบี้ย 3 ปี รายละ 1 ล้านบาท แต่เดิมพักหนี้แต่เกษตรกร แต่ต่อไปจะพักหนี้ไม่เฉพาะเกษตรกร จะพักหนี้ให้กับผู้เป็นหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุเพราะต่างประสบปัญหากับสถานการณ์โควิด -19 มาร่วม 3 ปี 2. นโยบายภาษีบ้านเกิดเมืองนอน โดยภาษีที่เสียไปจะต้องคืนให้กับบ้านเกิด 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนำมาเป็นงบประมาณบำรุงพัฒนาบ้านเกิด โดยนโยบายนี้จะต้องนำมาปฏิบัติเมื่อได้เป็นรัฐบาล  

ธ.ก.ส. สั่งทุกสาขาออกแบบ-จัดการเชิงพื้นที่ "แก้หนี้แก้จน" ช่วยลูกค้าก้าวข้ามวิกฤต

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ให้ ธ.ก.ส. ทุกสาขาบูรณาการการออกแบบ-การจัดการเชิงพื้นที่ "แก้หนี้ แก้จน" D&MBA : Design & Manage by Area ภายใต้แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ในชุมชน และเน้นการเชื่อมโยงกับหัวขบวนตามแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดกระบวนการผลิต การจ้างงานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยเจาะลึกไปที่ Problem Based : ปัญหา/ความต้องการ โดยศึกษาสาเหตุที่แท้จริง เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา กำหนดแนวทางแก้ไขโดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง Possibility : ความเป็นไปได้/สมเหตุสมผล Potential : ศักยภาพของชุมชน หมายถึง ชุมชนที่เป็นเป้าหมาย จะต้องมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนแผนงานตามแนวทางที่ได้กำหนดร่วมกันของคนในชุมชน เช่น ความพร้อมของผู้นำหรือแกนนำชุมชน หัวขบวนขับเคลื่อนธุรกิจชุมชน เป็นต้น Participation : เน้นการมีส่วนร่วมคนในชุมชนรวมทั้งมีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน เครือข่ายทางสังคม ให้การสนับสนุนการพัฒนา และ Purpose : เป็นเรื่องสำคัญ ที่คนในชุมชนได้รับประโยชน์ นี่คือหลักหรือแนวทางที่ผู้จัดการสาขา ธ.ก.ส. ทุกสาขาต้องไป

"อุตตม" นำรีเซ็ตประเทศไทย ด้วยพันธกิจ 5 แก้ 5 สร้าง 2 เร่งแก้หนี้ด้วยกองทุน"สอท." วางรากสู่อนาคตที่ยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565  พรรคสร้างอนาคตไทย แถลงข่าวเปิดยุทธศาตร์เราพร้อม เปลี่ยนอนาคตประเทศไทย โดยมีแกนนำพรรค อาทิ นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค, นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค, นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคกทม., นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคใต้, นายสุพล ฟองงาม รองหัวหน้าพรรคและประธานภาคอีสาน, นายวิเชียร ชวลิต รองหัวหน้าและผู้อำนวยการพรรค, นายสันติ กีระนันทน์ รองหน้าพรรคและประธานฝ่ายนโยบาย , นายวัชระ กรรณิการ์ รองหัวหน้าพรรคและประธานภาคกลาง เข้าร่วมงาน โดยนายอุตตม กล่าวว่า พรรคสร้างอนาคตไทยมีพันธกิจรีเซ็ตประเทศไทย 5 แก้ไข คือ 1.แก้ปัญหาที่สั่งสมเป็นปัญหารุนแรง คือ ฉ้อราษฎร์บงหลวงต้องหยุดทุกระดับ 2.ปราบปรามยาเสพติด 3.สร้างความเท่าเทียมลดการผูกขาด เพิ่มการแข่งขัน 4.ลดขนาดราชการ และ 5.ยกระดับให้เกษตรกรทันสมัย นอกจากนั้นจะมี 5 สร้าง คือ 1.สร้างเศรษฐกิจฐานราก 2.สร้างเศรษฐกิจใหม่ 3.สร้างสังคมเกื้อกูล 4.สร้างคนและโครงสร้งพื้นฐานพร้อมก้าวสู่สังคมยุคใหม่ และ 5.สร้างการเมืองที่สร้างสรรค์ นายอุตตม กล่าวด้วยว่า มีโจทย์ 2 เร่งคือเร่งรัดแก้ปัญญห

'กอ.รมน.' จับมือ 'วช.' ชูชุมชนเข้มแข็งสนับสนุนชุมชนต้นแบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กอ.รมน. และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ วช. ไปถ่ายทอดสู่ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลของเครือข่ายปราชญ์เพื่อความมั่นคง ซึ่งเป็นปราชญ์ ชาวบ้าน ที่ กอ.รมน. ให้การสนับสนุนอยู่เดิม เพื่อช่วยยกระดับศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตให้คนในชุมชนมีความกินดีอยู่ดี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ในทุกมิติ จากความต้องการของชุมชน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา กอ.รมน. ร่วมกับ วช. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ อาคารรื่นฤดี กอ.รมน. เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร           พล.อ.สันติพงศ์ ธรรมปิยะ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวว่า ประสานงานและส่วนปฏิบัติงานในพื้นที่ สร้างพลังสังคม พลังชุมชน นวัตกรรมชุมชน นวัตกรรมสังคมเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวสู่ข้างหน้าด้วยความมั่นคง สังคมไทยมีความสงบสุข ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่สา

‘ไทยสร้างไทย’ เอาบ้าง! ชูนโยบายแก้หนี้เสียเครดิตบูโรดันธุรกิจเดินหน้า

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565  นายสุพันธุ์ มงคลสุธี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคไทยสร้างไทย พร้อมคณะ จัดงาน Lunch Talk พูดคุยพบปะผู้ประกอบการ นักธุรกิจ ภาคเอกชน ภาคอีสาน ในหัวข้อ ปลดล็อกเศรษฐกิจอีสาน สร้าง Tourism Corridor หวังแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเสริมสร้างการลงทุนในภาคอีสาน เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี นายสุพันธุ์ เสนอต่อวงว่า การที่จะปลดล็อกเศรษฐกิจได้นั้น สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการคือการทำให้เศรษฐกิจกลับมาขับเคลื่อนได้ ผ่านการลงทุนในทุกมิติ โดยหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนนั้นชะลอตัวลงไปนั้นเป็นเพราะกลุ่มนักลงทุนในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการในประเทศตั้งแต่ขนาดกลางลงมาจนถึงประชาชนคนตัวเล็กขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ไม่สามารถเกิดการลงทุนได้  ปัญหาใหญ่ที่ทำให้นักธุรกิจและประชาชนในประเทศขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจเป็นเพราะปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้การลงทุนไม่สามารถเดินต่อไปได้ เนื่องจากนักธุรกิจและประชาชนไม่สามารถกู้เงินก้อนใหม่ เข้าไม่ถึงเงินกู้ก้อนใหม่เพื่อนำเงินทุนมาเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ โดยลูกหนี้เหล่าน

"กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติสภาฯ ลงมุกดาหารถกการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาค ปชช.

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2565  นายองค์การ ชัยบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และรองประธานคนที่ 3 คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมนายสุพจน์ สุอริยพงษ์ ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธนบูรณ์ กุมภิโร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ลงพื้นที่จัดโครงการสัมมนา เรื่อง "การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน" ณ กลุ่มทำข้าวฮางงอกเพื่อสุขภาพบ้านนาแพง ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร โดยมีประชาชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 300 คน นายองค์การ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน รวมถึงวิธีการป้องกันและหลุดพ้นจากปัญหาหนี้สินภาคประชาชน อีกทั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่วม สะท้อนปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหากับประชาชนโดยทั่วไป นายสุพจน์ กล่าวว่า รวมถึงวิธีการป้องกันและหลุดพ้นจากปัญหาหนี้สินภาคประชาชน พร้อมทั้งรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนทั

สอท. เปิดพื้นที่บางเขน ชู “กองทุนสร้างอนาคตไทย” สร้างตลาด สร้างอนาคตไทย เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ในฐานะประธานภาคกรุงเทพฯ , พร้อมอดีตส.ส. กทม. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ, นท.รวยลาภ เอี่ยมทอง และทีมผู้ประสานงานพรรค ร่วมเปิดศูนย์ประสานงานพรรค เขตบางเขน โดยมีนายพิเชฐ เดชอรัญ เป็นผู้ประสานงานพรรคในพื้นที่ นายพิเชฐ กล่าวว่า ตนอยู่ในพื้นที่บางเขนมากว่า 30 ปี คิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องสร้างจุดเปลี่ยนที่ดีให้เกิดขึ้นในบางเขนให้ได้   โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาปากท้อง ของแพง ของคนหาเช้ากินค่ำ ตนจึงขอนำเสนอ สร้างตลาด สร้างอนาคตไทย เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ เป็นการหมุนเวียนและสร้างความเติบโตของเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาริมคลองบางบัว ให้เป็นแลนด์มาร์คและเป็นจุดขายของบางเขนให้ได้     ด้านนายสุรนันทน์ หลังจากร่วมลงพื้นที่และพบปะประชาชนแล้ว กล่าวว่า พรรคสร้างอนาคตไทยมีความพร้อมที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยการนำเสนอดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์มาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เราพร้อมที่จะก้าวข้ามความขัดแย้งทางความคิดที่หลากหลาย นำพาประเทศชาติไปสู่ความยั่งยืนด้วยการบริหารงานอย่างมืออาชีพ 

"กรณ์" อัดนโยบายของรัฐทำคนเป็นหนี้เพิ่ม แนะพักชำระเงินต้น 2 ปี ลดดอกเบี้ยเหลือ 1%

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า กว่าวถึงจำนวนหนี้ของประชาชนที่มีการกู้เงินในช่วงโควิด-19 มีจำนวนบัญชีเงินกู้ของคนไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 13 ล้านบัญชี ซึ่ง 10 ล้านบัญชี เป็นผลพวงมาจากนโยบายของรัฐ โดยประชาชนกลุ่มนี้จากที่ไม่เคยมีปัญหาตอนนี้กู้เพิ่มไม่ได้เพราะติดเครดิตบูโรไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในจำนวน13 ล้านบัญชี รวมเป็นเงินประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาท และต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งที่ประชาชนติดหนี้ มาจากนโยบายของรัฐในช่วงโควิด ที่ออกมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย ดังนั้น พรรคกล้าจึงมองว่าต้องช่วยประชาชนที่เป็นหนี้ โครงการที่รัฐต้องเร่งพัฒนา คือ “กล้าฟื้นชีวิต” คือการพักชำระเงินต้น 2ปี , ลดดอกเบี้ยเหลือ 1% 1 ปี และ แขวนดอกเบี้ยค่าปรับ ซึ่ง10ล้านบัญชี ที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และจ่ายเงินตรงทุกเดือน รัฐก็จะคืน Cash Back 5 % ให้  

เลขาธิการ กพฐ.มอบเกียรติบัตรและโล่รางวัล ร.ร.ต้นแบบ ร.ร.หมู่บ้านศีล 5 ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง ประจำปีการศึกษา 2565

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ที่หอประชุมโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและโล่รางวัล โรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนหมู่บ้านศีล 5 ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง ประจำปีการศึกษา 2565 ข้าราชการผู้ทรงคุณค่าของสังคม ปี 2565 และแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงาน โดยมี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวต้อนรับ นายประดิษฐ์ พรหมเสนา กล่าวรายงาน และมี ว่าที่ ร.ต.ดร.ทวีศักดิ์ นามศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2-4 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร นายวิทยา วิรารัตน์ ประธานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ นายสุรชาติ ทอนศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ นายทิวา รุ้งแก้ว ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ ให้การต้อนรับ และพระราชกิตติรังษี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นำเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ รองเจ้าคณะ จังหวัดศรีสะเกษ เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าอาวาสวัดในจังหวัดศรีส

สหกรณ์การเกษตรสทิงพระดันอาชีพเสริมปลูกพืชระยะสั้นต้นแบบแก้หนี้แก้จนสมาชิก

หนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ถือเป็นปัญหาที่ทางสหกรณ์การเกษตรสทิงพระ จำกัด จังหวัดสงขลาได้มุ่งมั่นหาทางช่วยเหลือสมาชิก จากเดิมเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพทำนาปลูกข้าว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียงปีละครั้ง บางรายอาจทำตาลโตนดร่วมด้วย ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน มักประสบปัญหาผลผลิตเสียหายจากภัยแล้งหรือน้ำท่วม ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถชำระหนี้แก่สหกรณ์ได้ตามปกติ ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มีภาระหนี้สิน สหกรณ์การเกษตรสทิงพระ จำกัด จึงได้ส่งเสริมการปลูกพืชผักระยะสั้น ได้แก่ แตงกวา พริก มะเขือ ฟักทอง เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มตลอดทั้งปี สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา           นางมาลินี  พานิชกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรสทิงพระ จำกัด เล่าว่า สมาชิกของสหกรณ์การเกษตรสทิงพระมีอาชีพหลักคือการทำนา ซึ่งทำได้ปีละครั้ง จากอำเภอสทิงพระไม่มีระบบชลประทานจึงต้องอาศัยน้ำฝนในการทำนาอย่างเดียว ทำให้สมาชิกเกิดภาวะการขาดทุน จากราคาข้าวส่วนใหญ่มีราคาตกต่ำ ซึ่งจากการที่ฝ่ายจัดการและคณะกรรมการของสหกรณ์ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกร ทำให้รับทราบปัญหาและนำมาแก้ไขอย่างเร่งด่วน มีการสนับสนุน "โครงการสร้างงาน สร้างอาชี

จังหวัดสุรินทร์เร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐด้านแปรรูป SME OTOP

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 นายชูศักดิ์ ยิ่งรุ่งโรจน์ พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเเละประชารัฐ จังหวัดสุรินทร์ ด้านการแปรรูป โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนและกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐระดับจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อติดตามสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายโดยภาคีเครือข่ายประชารัฐ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ จังหวัดสุรินทร์ ด้านแปรรูป ดำเนินการ ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ โดยหัวข้อในการประชุมประกอบด้วย  การทบทวนฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ของจังหวัดสุรินทร์ การรายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ การพิจารณาเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ปี 2565 การพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเน้นหนักการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ปี 2565 ด้านการแปรรูป SME/OTOP ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการวางแผนการดำเนินงา

ทต.โพตลาดแก้ว จัดโครงการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เทศบาลตำบลโพตลาดแก้ว นำโดย นายสุนันท์ แจ้งวงษ์ นายกเทศมนตรีตำบลโพตลาดแก้ว อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ สมาชิกสภาฯ คณะครูนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ประธานชุมชน และประชาชนทั่วไป ร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในการดำรงชีวิต ประจำปี 2565 ณ วัดสนามไชย อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี https://siamrath.co.th/n/377257

พช.ปทุมธานี “ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจน ครั้งที่ 3/2565

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมบัวหลวง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี มอบนายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานี (ศจพ.จ.) ครั้งที่ 3/2565 โดยมีนายดรณ์ สมิตะเกษตริน ปลัดจังหวัดปทุมธานี ,นายคมสัน ญานวัฒนา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดปทุมธานี นายพงษ์เทพ รุ่งเรือง พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี เลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานี (ศจพ.จ.) ,นางสาวพัชราภรณ์ สิริวรเวชยางกูล สถิติจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าคณะทำงานติดตามและประเมินผล ,นางสาวกมลวรรณ อิ่มสุวรรณ แรงงานจังหวัดปทุมธานี ,นายสุทัศน์ คงแย้ม ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานี ,นางธนินท์พรรณ ภววัฒนานุสรณ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี และคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานีเข้าร่วมการประชุมฯ เพื่

กาฬสินธุ์ เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2565  ที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (ศกช.) ต.หนองแวง อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ นายอดิศร วิทูรศิลป์ นายอำเภอสมเด็จ พร้อมด้วย นายประหยัด ไม้แพ ยุติธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ต.อ.ภูสยาม ลารังสิต ผกก.สภ.สมเด็จ นายนิยม โยหาสิทธ์ นายก อบต.หนองแวง ร.ต.จรูญ ฉายประดิษฐ์ ประธาน ศกช.ต.หนองแวง นายทวี ขาวผ่อง ผู้ไกล่เกลี่ย (ศกช.) ต.นามน อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ และตัวแทนภาคประชาชน ร่วมพิธีเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตามโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ประจำปีงบประมาณ 2565   https://siamrath.co.th/n/377259

พัฒนาการจังหวัดบึงกาฬ ระดมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565   ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบึงกาฬ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ นายอดุลย์ ดีอ้อม พัฒนาการจังหวัดบึงกาฬประธานการประชุมคณะทำงานสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ประมงจังหวัด หอการค้าจังหวัด ประธานเครือข่ายโอทอปจังหวัดบึงกาฬ เพื่อช่วยเหลือยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน สนับสนุนผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนและเอสเอ็มอีรายย่อย ในจังหวัดบึงกาฬให้เข้มแข็งสร้างรายได้ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายแก่สินค้าชุมชนตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ในการนี้พัฒนาการจังหวัดบึงกาฬได้มอบแนวทางการทำงานให้บูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในจังหวัด โดยมีสินค้าผลิตภัณฑ์เด่นที่คัดเลือกทั้ง 3 ด้านคือ ด้านการเกษตร จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มกล้วยหอมทอง หมู่ 10 ตำบลหนองหัวช้าง อ.พรเจริญ กลุ่มแปรรูปยางพาราศรีแก้ว หมู่ 101 ตำบลเหล่าทอง อ.โซ่พิสัย ด้านการแปรรูป 2กลุ่ม? คือกลุ่มทอผ้าแม่บ้านสามหนอง หมู่9 ต.โซ่

นครราชสีมาประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ด้วยแพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง Traffy Fondue-AI

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ด้วยแพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง Traffy Fondue สำหรับผู้บริหารของจังหวัดนครราชสีมา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย แพลตฟอร์ม Traffy Fondue เป็นแพลตฟอร์มรับเรื่องแจ้งและบริหารจัดการปัญหา ช่วยลดขั้นตอน และลดค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา โดยประชาชนสามารถแจ้งปัญหาและติดตามความก้าวหน้าการแก้ปัญหาผ่าน Line Application ด้วยเทคโนโลยี Chatbot อีกทั้งใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยจำแนกปัญหาเพื่อส่งต่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และโปร่งใส ซึ่งผู้บริหารหน่วยงานหรือท้องถิ่นสามารถเห็นภาพรวมของปัญหา โดยแสดงข้อมูลทางสถิติเพื่อใช้วางแผนและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Smart Government) ทั้งนี้จังหวัดนครราชสีมาได้มีนโยบายให้ทุกภาคส่วนใช้แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง Traffy Fondue เพื่อพัฒนาให้เมืองมีความน่าอยู่ มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเมืองให้มีการบุรณาการสาธารณูปโภค รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ อันจะ

ผู้ว่าฯ บึงกาฬ ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนฯ (ศจพ.จ.บก.) ครั้งที่ 4

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565  นายสนิท ขาวสอาด ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ประธานเปิดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน พัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดบึงกาฬ (ศจพ.จ.บก.) ครั้งที่ 4/2565 ณ ห้องประชุมภูทอก ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ม เพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อประชาชนชาวจังหวัดบึงกาฬ ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220826211433632

กองทัพบกร่วมอำเภอเมืองหนองบัวลำภู มอบบ้านคนพิการผู้ยากไร้ตามโครงการ"ซ่อมแซมบ้านทั่วไทย"

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลตรีณรงค์ สวนแก้ว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3 เป็นประธานมอบบ้านผู้ยากไร้ โดยมี นายประยูร อรัญรุท นายอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ,พ.ต.อ.ขจรฤทธิ์ วงษ์ราช ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองหนองบัวลำภู,พัฒนาการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ,หัวหน้าส่วนราชการอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนทัน, ปลัด อบต.โนนทัน และเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู ร่วมให้การต้อนรับ และร่วมพิธีมอบบ้านตามโครงการ"ซ่อมแซมบ้านทั่วไทย" ซึ่งเป็นโครงการของกองทัพบกที่ให้หน่วยงานทหารในพื้นที่รับผิดชอบบูรณาการกับภาคีเครือข่าย ในพื้นที่อำเภอเมืองหนองบัวลำภู องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทัน ดำเนินการซ่อมแซมบ้าน ให้กับผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ ซึ่งได้ดำเนินการสร้างและต่อเติมซ่อมแซมบ้านพักอาศัยให้แก่ บ้านถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ราษฎรคนดังกล่าวเป็นผู้สูงอายุ มีอาการแขนขาอ่อนแรง ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่ปกติเหมือนคนทั่วไป ต้องมีผู้ช่วยพยุงทั้งในขณะเดินและเข้าห้องน้ำ ปัจจุบันมีสมาชิกครอ

พช.พะเยา จัดกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมช่องทางการตลาดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมช่องทางการตลาดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ชื่องาน “ประชารัฐร่วมใจพัฒนาอาหารปลอดภัย สร้างรายได้สู่ชุมชน” ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพะเยาจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ ลานโปรโมชั่นห้างสรรพสินค้า ท็อปส์พลาซ่าพะเยา เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้สูงขึ้นและสามารถพัฒนาต่อยอดโครงสร้างธุรกิจการเกษตรอินทรีย์ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มเน้นเกษตรคุณภาพสูง โดยมีคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ด้วยกลไกประชารัฐจังหวัดพะเยา หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานในครั้งนี้ นางอาภัสรา ธงพิทักษ์ พัฒนาการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ทั้งในระดับนโยบาย และระดับพื้นที่ โดยดำเนินงานใน 3 กลุ่มงาน ได้แก่ การเกษตร การแปรรูป และการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบประชารัฐ ภายใต้แนวคิด

ยุติธรรมศรีสะเกษเปิดป้ายและขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนอำเภอน้ำเกลี้ยง

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 ว่าที่ร้อยโทสิทธิ์ธนัตถ์ สิทธิบัวศรี ยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลน้ำเกลี้ยง จัดกิจกรรม เปิดป้ายและขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน   ณ วัดสว่างวารีรัตนาราม ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยงจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รับเกียรติจากนายอดุลย์ หมื่นลึก นายอำเภอน้ำเกลี้ยง เป็นประธานในพิธีเปิดป้ายศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลน้ำเกลี้ยง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และคณะทำงานบริหารประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภาคประชาชน ให้เป็นที่รู้จักในพื้นที่ รับรู้ รับทราบ และให้ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน ได้อย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐาน ประชาชนในพื้นที่ ตระหนักรู้ และเลือกใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในการยุติข้อพิพาททางแพ่ง และข้อพิพาททางอาญา ประชาชนมีความสมานฉันท์ในชุมชน ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220826194309585

นอภ.โพธิ์ศรีสุวรรณศรีสะเกษ นำปั่นจักรยานมอบของมอบบ้านเยี่ยมโคกหนองนา

วันที่ 25 สิงหาคม 2565 นายสุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยนางขวัญตา คิดดี ปลัดอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง พ.ต.อ.เสรี คงยืนยง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรโพธิ์ศรีสุวรรณ นายอุทิศ พิทักษา สาธารณสุขอำเภอ นายเสถียร น้อยดำ รองนายกเทศมนตรีตำบลโดด นายสมคิด พรหมทา ผอ.รพ.สต.ปลาเดิดข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง สมาชิก กองร้อย อส.อ.โพธิ์ศรีสุวรรณที่ 23 นายสมานชัย ใยดวง กำนันตำบลโดด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ตำบลโดด ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานตามโครงการ ปั่นปัน รัก 2 เพื่อขับเคลื่อน งานตามนโยบายของ รัฐบาลกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง และจังหวัดศรีสะเกษ    เพื่อเยี่ยมและมอบสิ่งของเป็นกำลังใจแก่ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ และครัวเรือนยากจนตามฐานข้อมูล TPMAP  ผู้ป่วยติดเตียง มอบบ้านให้กับครัวเรือนยากจนตามโครงการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน เยี่ยมครัวเรือนตามโครงการ โคก หนอง นา โมเดล นางอรุณศรี ใจดี หมู่ที่ 10 ตำบลโดด   ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220826200118596

ผู้ว่าฯศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิด “ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”อำเภอภูสิงห์

เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2565  นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิด “ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามโครงการโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ณ โรงเรียนบ้านแซรสะโบว ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ร่วมกับศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนราชการ ภาคีเครือข่าย จัดทำศูนย์เรียนรู้ พร้อมกันนี้ได้เป็นประธานมอบบ้านตามโครงการซ่อมแซม สร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้ หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เฉลิมพระเกียรติ ที่ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ 

"เฉลิมชัย" โชว์ผลสำเร็จ Big Data Project ภาคเกษตร เล็งจัดสัมมนาใหญ่ เปิดตัว “โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร”

เมื่อวันที่ 24 ส.ค. นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดงานสัมมนา “โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร” ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ว่า จากที่รัฐบาลได้มีนโยบายมุ่งไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Thailand 4.0) โดยจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน ให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย สศก. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ ร่วมกัน 10 กระทรวง และขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2562 เพื่อให้เกษตรกร ภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่สนใจ สามารถเข้าถึงระบบการให้บริการและสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผน การผลิต และการตลาด ล่าสุด สศก. ได้จัดทำ “โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร” เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล สำหรับจัดเก็บ และบริการข้อมูลทั้งด้านพืช ปศุสัตว

กทม. ร่วมกับศูนย์วิจัยชุมชนเมือง จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือน เดินหน้าแก้จนนำร่อง 3 เขต

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมเวทีสรุปเครื่องมือการเก็บข้อมูลครัวเรือนยากจนโครงการวิจัย "การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรุงเทพมหานคร" (พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระโขนง และเขตคันนายาว) โดยมี ดร.พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ หัวหน้าโครงการการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ผู้บริหารและผู้แทนสำนักพัฒนาสังคม สำนักอนามัย สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักงานเขตพระโขนง และสำนักงานเขตคันนายาว ทีมคณะวิจัย และภาคีเครือข่าย ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติการ นายศานนท์ กล่าวว่า เรื่องคนจนเมืองเป็นเรื่องซับซ้อนและเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่สามารถแก้ได้ในมิติใดมิติหนึ่ง ซึ่งเครื่องมือที่เป็นหัวใจส่วนหนึ่งคือสวัสดิการรัฐ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนหลุดออกจากความยากจนเบื้องต้น และมีหลายมิติที่ต้องทำพร้อมกันโดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งจากประสบการณ์ที่เคยเป็นประชาสังคมมาก่อนเห็นว่าประชาสังคม

จังหวัดตราดจัดโครงการ “เยาวชนจิตอาสา ร่วมสร้างเกษตรพอเพียง”

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดโครงการ “เยาวชนจิตอาสา ร่วมสร้างเกษตรพอเพียง” ซึ่งจังหวัดตราด โดยที่ทำการปกครองจังหวัดตราด นำโดยนายพีระ เอี่ยมสุนทร ปลัดจังหวัดตราด จัดขึ้นมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนโรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จำนวน 73 คน เข้าร่วมโครงการที่ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม ระหว่างวันที่ 16 -18 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ที่ผ่านการเรียนรู้และศึกษาดูงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การศึกษาดูงานการดำเนินชีวิตของปราชญ์ชาวบ้าน แล้วนำมาถอดบทเรียนสำคัญจาการศึกษาดูงานสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกันจัดทำขึ้นภายใต้แนวคิด “กิจกรรมจิตอาสาเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง” ผ่านกิจกรรมร่วมกันผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า และการสร้างแปลงปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์เตี้ย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการฝึกทักษะอาชีพ และสร้างทักษะชีวิตให้สามารถนำไปปฏิบัติ และขยายผลในครัวเรือน ช่วยสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนขอ

รองผู้ว่าฯเพชรบูรณ์ ปิดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565   นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (หลักสูตร 5 เดือน) ภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งจัดโดยเรือนจำชั่วคราวแค น้อยสังกัดเรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ อาคารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราวแคน้อย อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี นางละออง อยู่ยั่งยืน ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนางแก้วใจ สังข์แสง ผู้อำนวยการส่วนพัฒนา 2 และกำกับดูแลเรือนจำชั่วคราวแคน้อย, นางสาวปัทมา ประสิทธิ์เขตกิจ หัวหน้าเรือนจำชั่วคราวแคน้อย และหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ, พร้อมบุคคลากรเรือนจำฯ รวมทั้งสมาชิกผู้ต้องขัง ร่วมกิจกรรม การอบรมโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รุ่นที่ 14 นี้ มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 112 คน มาจากเรือนจำ/ทัณฑสถาน จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ 35 คน/ทัณฑสถานหญิงกลาง 26 คน/ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก 20 คน และทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ 31 คน โดยได้รับควา

“สนธิรัตน์” ผุด “สารคามโมเดล” ผลักดันเศรษฐกิจฐานราก “แก้หนี้ เพิ่มทุน สร้างรายได้เพิ่ม” แก้จน

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565    ที่โรงแรมพิมานอินน์ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) พร้อมด้วยนายสุพล ฟองงาม รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคอีสาน   ร่วมพบปะแกนนำจากสภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน วิสาหกิจชุมชน ในระดับอำเภอ จำนวนกว่า 150 คน ในเวทีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่ออนาคตไทย  “อย่ามองว่าผมเป็นนักการเมือง เพราะตัวพรรคการเมืองเองจะไม่มีความหมาย หากไม่จับมือทำงานกับพี่น้องประชาชนจริง ๆ ผมตั้งใจมาหาวิธีทำงานร่วมกับท่าน ขอมาทำงานร่วมกัน มารับฟังว่าพี่น้องประชาชนอยากได้อะไรจริง ๆ เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชน ถ้าหากอยากได้จริง ผม และพรรคสร้างอนาคตไทย พร้อมที่จะขับเคลื่อนไปกับพวกท่าน โดยผมจะเสนอเป็นหนึ่งในนโยบายพรรค เพื่อทำให้พ.ร.บ.นี้เกิดขึ้นได้จริง”  นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ตนมา จ.มหาสารคาม เพราะประชาชนที่นี่เข้มแข็งมาก ดังนั้นเราต้องเริ่มจากจุดที่เข้มแข็ง สร้างให้เป็นโมเดลเพื่อขยายไปสู่จังหวัดอื่น ๆ แม้ว่าจะทำได้ไม่ทั้งหมดในช่วงเวลานี้ แต่หลังจากที่ขับเคลื่อนจนได้พ.ร.บ.แล้ว ตนมั่นใจว่า จะสามารถจะผลักดันให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ