วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

"สันติศึกษา มจร" เล็งสร้างพระสงฆ์นักไกล่เกลี่ยครอบคลุมทั่วประเทศ 300 รูปภายในปี 2566



เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า  ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2565 มีการพัฒนาพระสงฆ์ช่อสะอาดโดยมุ่งภาคปฏิบัติการเทคนิคการขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในระดับชุมชนสำหรับพระสงฆ์ช่อสะอาด ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มาจากชุมชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ปทุมธานี  สระบุรี  นครศรีธรรมราช  เลย  เชียงใหม่ และกรุงเทพมหานครเพื่อ เรียนรู้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคนในชุมชน ณ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เพราะเมื่อชุมชนมีความขัดแย้งมักจะใช้รุนแรงแก้ปัญา หรือ ใช้กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักคือ การฟ้องร้องทำให้เกิดคดีในศาล แต่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นยุติธรรมทางเลือกทางรอด ซึ่งมีพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562  โดยพระสงฆ์ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน ถือว่าเป็นคนกลางที่มีทุนทางสังคมอย่างดียิ่ง  เป็นที่ยอมรับในชุมชนสามารถยกระดับเป็นพระสงฆ์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อระงับข้อพิพาทชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน      


จึงมีการพัฒนาสงฆ์ช่อสะอาดที่มุ่งพฤติกรรมสะอาด คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ป้องกันความรุนแรงในชุมชนสังคม พระสงฆ์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีเครื่องมือการระงับข้อพิพาทในชุมชน โดยพระสงฆ์ต้องระวังไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับชุมชน ถ้าเป็นคู่ขัดแย้งควรหาออกด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงเพราะพระพุทธเจ้าใช้แนวทางของพุทธสันติวิธี ซึ่งใช้บันไดเก้าขึ้นของการวิจัย โดยเริ่มจากการมีสติ ดับอารมณ์ รับฟังอย่างลึกซึ้ง และเป้าหมายสุดท้ายของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคือ รักษาความสัมพันธ์ สามารถกลับไปอยู่ร่สมกันได้อย่างสันติสุข จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การค้นหาความต้องการที่แท้จริง ผ่านเครื่องมือการขอโทษอย่างแท้จริง A true apology has the following elements การขอโทษอย่างจริงจังประกอบด้วย 1) ฉันเสียใจ 2)ที่ฉันได้ทำลงไป ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม 3)มันทำให้คุณเจ็บปวด 4)ฉันขอรับผิดชอบ พร้อมให้อภัยซึ่งกันและกัน 


"ในปี 2566  หลักสูตรสันติศึกษา  มจร เตรียมขับเคลื่อนพัฒนาพระสงฆ์นักไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562  ให้ครบ 5 ภูมิภาค 5   รุ่น ประกอบ ภาคเหนือ  ภาคใต้  ภาคกลาง  ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งครอบคลุมทั่วประเทศ ๓๐๐ รูป"   พระปราโมทย์ ระบุ



วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

พร้อมเปิดแล้ว! ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนหนองเสือปทุมธานี


เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2565 เฟซบุ๊ก พ.ต.ท.มนตรี คงเตี้ย ได้โพสต์ข้อความว่า วันที่ 29 มีนาคม2565 เวลา 10.00 น.ผู้อำนวยการคุ้มครองสิทธิทำหน้าที่ยุติธรรมจังหวัดปทุมธานี พร้อมคณะ ตรวจความพร้อมศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ  จังหวัดปทุมธานี มี พ.ต.ท.มนตรี คงเตี้ย ประธานคณะทำงาน นายประคอง วงษ์เลิศ เลขานุการ  นายประสิทธิ์ ปั้นงานม ที่ปรึกษา ร.ต.ต.เกียรติศักดิ์ รัตนพันธ์ คณะทำงาน นายพงศ์พันธ์ สินผดุง คณะทำงาน ให้การตอนรับ และผู้อำนวยการบังคับคดี จังหวัดปทุมธานี ได้เดินทางมาร่วมด้วย 


ขอขอบคุณ พ.จ.อ.หญิง บงกช เพ็ชรกูล  รอง ผอ.ฝ่ายขยายเครือข่าย สภาประชาชน 77 จังหวัด และทีมงาน วารสารสมาคมทนายตำรวจเพื่อประชาชน พ.ต.อ.ชวลิต มั่นศิลป์ พ.ต.ท.บุญเลิศ เริงพงษ์พันธ์ พ.ต.ท.พร แก้วช้าง มาร่วมให้การต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

แม่เมืองสกลนครประกาศแล้ว ขจัดความยากจน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565  นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ในฐานะประธานกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสกลนคร (ศจพ.จ.) ประกาศและแสดงเจตนารมณ์ ในอันที่จะมุ่งมั่นขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เป็นวาระของจังหวัดที่ทุภาคส่วนจะร่วมขับเคลื่อนและพัฒนากลุ่มดังกล่าว ให้มีความพร้อมและสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

โดยการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน และมีภาครัฐที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัล เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุตาม วิสัยทัศน์ "ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

ผู้ว่าฯ ตรัง เดินหน้าแก้ไขปัญหาความยากจน ยันช่วยปชช. "อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน" 

ขณะที่ นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า จังหวัดตรัง เดินหน้าแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยใช้ ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือในการชี้เป้า ซึ่งจังหวัดตรัง มีฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP เป็นจำนวนครัวเรือนยากจนจำแนกตามมิติของปัญหา จำนวน 8,574 ครัวเรือน จำแนกคนยากจน ตามมิติของปัญหาจำนวน 13,448 คน

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เร่งให้ทุกอำเภอได้จัดส่งทีมพี่เลี้ยงลงพื้นที่ ทำการตรวจสอบข้อมูลบุคคลและครัวเรือน เพื่อจะได้รับรองข้อมูลบุคคลและครัวเรือน เพื่อทำการสังเคราะห์และจำแนกประเภท จำแนกกลุ่มเป้าหมายตามศักยภาพ (ควรสงเคราะห์ / พัฒนาตนเองได้) รวมถึงสร้างความตระหนักและยอมรับสาเหตุของปัญหาความยากจนของกลุ่มเป้าหมาย โดยจะได้ร่วมกับครัวเรือน จัดทำแผน โดยใช้หลัก 4 ประกอบด้วย ทักษะ ทัศนคติ ทรัพยากร และทางออก เพื่อจะได้นำข้อมูล ที่ได้จัดทำเป็นแผนงาน/โครงการ ที่จะให้การช่วยเหลือ ครัวเรือนและ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคน จะต้องพิจารณาทุกมิติของความขัดสน เนื่องจากทุกมิติมีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทั้งมิติด้านสุขภาพ มิติด้านความเป็นอยู่ มิติด้านรายได้ มิติด้านการศึกษาและมิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้สามารถอยู่รอด พอเพียงและยั่งยืน 

ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญเปิดรับบริจาคร่วมแก้จน 

นายทวีป บุตรโพธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธียกเสาเอก บ้านหลังใหม่ของนางพัฒนา เชื้อทอง อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 บ้านโต่งโต้น หมู่ที่ 4 ต.รัตนวารี อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งมีฐานะยากจนสภาพบ้านหลังเก่าทรุดโทรม ลักษณะบ้านเป็นเพิงไม้มุงสังกะสีไม่มีความแข็งแรง ซึ่งได้มีการร้องขอในการให้ความช่วยเหลือสร้างบ้านหลังใหม่ให้นางพัฒนา เชื้อทอง ในคราวที่มีจัดเวทีเสวนารับฟังปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ของโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชนที่ผ่านมาให้ถูกสุขลักษณะและคงทนถาวร ในพื้นที่ของตนเอง

ทางจังหวัดอำนาจเจริญ จึงได้เปิดรับบริจาค จากส่วนราชการ ประชาชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินในการก่อสร้างบ้าน จำนวนเงิน 107,000 บาท จากสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ 50,000 บาท ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ 20,000 บาท สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอำนาจเจริญ 5,000 บาท สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ 2,000 บาท เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ 30,000 บาท และ นายประวัติ หน่อแก้ว ประธานชมรมฅนเมืองป่า 4?4 อำนาจเจริญ ร่วมสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างบ้านหลังนี้จนแล้วเสร็จ และชุดทหารช่างจากกองกำลังสุรนารี จะดำเนินการก่อสร้างบ้านหลังนี้ให้จนแล้วเสร็จ

 

ที่มา- https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220326131835318,https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220326130423316,https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220326122655309


"พระกากัน มาลิค"เปิดตัว “มูลนิธิไตรรัตนภูมิ" พร้อมเว็บและโครงการสุวรรณภูมิสู่พุทธภูมิ



พระกากัน (อโสโก) มาลิค เปิดตัว มูลนิธิไตรรัตนภูมิ ที่ตั้งขึ้นเพื่อรับกิจกรรมส่งเสริมกิจการด้านพระพุทธศาสนาร่วมถึงการเผยแผ่และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีเว็บไซต์ http://www.worldofbuddhist.com/ เป็นศูนย์กลางข้อมูล พร้อมด้วยโครงการแรก พลิกฟื้นคืนพุทธ สุวรรณภูมิ สู่ พุทธภูมิ ขอรับบริจาคพระพุทธรูปจากคนไทย จำนวน 84,000 องค์ ไปมอบให้กับชาวอินเดีย เป็นการพลิกฟื้นคืนพระพุทธศาสนาสู่มาตุภูมิ ร่วมด้วยเครือข่ายสหายธรรมที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิฯ และกิจกรรมมาด้วยกัน  ได้แก่ คุณฐิติรัตน์ เฮงสกุล และ ว่าที่ร้อยเอกณัฏฐกิตติ์ ชัยเฉลิมมงคล  เมื่อเร็วๆ นี้   (วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ หอบุพการี วัดธาตุทอง)

พระอโสโกภิกฺขุ (กากัน มาลิค) เผยว่า “ครั้งหนึ่งอาตมาเคยถามท่าน ดาไล ลามะ ท่านนับถือศาสนาอะไรครับ ท่านตอบว่า ศาสนาแห่งความรักและความเมตตา นั่นคือสิ่งที่มีพลังและสำคัญที่สุดที่มนุษย์เราต้องการในทุกวันนี้ และเป็นสิ่งที่หายไปในสังคม อาตมาฝึกฝนจิตใจทุกวัน ให้มีความกรุณา ความรัก ความเมตตา ต่อทุกคน การรับใช้เพื่อนมนุษย์ คือ สิ่งที่สำคัญมาก คุณจะเป็นชาวพุทธอย่างไม่สมบูรณ์ หากไม่ช่วยเหลือผู้อื่น อาตมาขอถาม พระพุทธเจ้าท่านทำอะไร ไม่เกี่ยวว่าศาสนาไหน หรือพระเจ้าองค์ไหน ได้ทำอะไร ท่านทำเพื่อมนุษยชาติ ท่านไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อตัวเอง ท่านอยู่เพื่อผู้อื่น นั่นคือเหตุผลที่เรามีความต้องการสนับสนุนมูลนิธิ  ซึ่งนำโดย โยมแนท และ โยมกวาง ซึ่งรู้จักกันมา รู้เจตนาที่ดี พร้อมด้วยญาติโยมท่านอื่นๆ  ได้สร้าง มูลนิธิไตรรัตนภูมิ ขึ้นมา ให้เป็นที่ๆ ผู้คนเข้ามาร่วมกับเราเพื่อตอบแทนสังคม มันถึงเวลา ที่เราจะมีความสุขจากภายใน ด้วยการช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าคุณมีของบางอย่าง คุณก็สามารถนำไปให้สังคมได้ เพราะว่า มันไม่เกี่ยวว่าคุณจะรวยล้นฟ้า คุณจะมีเงินเท่าไหร่ มีเกียรติหรือมีชื่อเสียงอย่างไร หรือมีทรัพย์สินทางโลกมากมายขนาดไหน ทุกอย่างท้ายที่สุดจะต้องกลับสู่ธรรมชาติ คุณไม่สามารถเอาอะไรไปได้เลย สิ่งที่เอาไปได้อย่างเดียวคือ บุญุกุศล แล้วเราจะสร้างบุญได้อย่างไร วิธีเดียว คือ รับใช้ผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น นั่นคือเหตุผลที่เราได้ตั้ง มูลนิธิไตรรัตนภูมิ เพราะความตั้งใจในการที่จะฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดีย และเราต้องการสร้างรากฐานที่มั่นคง นำทางชาวอินเดีย เพื่อพระพุทธศาสนา และเรามีความยินดีที่จะสนับสนุนมูลนิธิฯ พร้อมๆ ไปกับวัดธาตุทอง เพื่อให้สมดังเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้แต่ก่อนบวช”                

ด้านรายละเอียดกิจกรรมและมูลนิธิฯคุณฐิติรัตน์ เฮงสกุล  และ ว่าที่ร้อยเอกณัฏฐกิตติ์ ชัยเฉลิมมงคล เผยว่าช่วงแรกเริ่มนั้น ชมรมไตรรัตนภูมิ  เป็นที่ที่พวกเราจะรวบรวมเหล่าเครือข่าย สหายธรรม เพื่อสร้างมหากุศลในการฟื้นฟูศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองในระดับนานาชาติ ต่อมาเมื่อ คุณกากัน มาลิค เดินทางมาอุปสมบทที่วัดธาตุทอง พระอารามหลวง โดยมี พระเดชพระคุณ พระราชวรญาณโสภณ เจ้าอาวาสวัดธาตุทอง พระอารามหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาทางธรรมว่า “อโสโกภิกขุ” ได้สร้างแรงกระเพื่อมในสังคม ทำให้ชาวพุทธทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกตื่นตัว และติดตามความเคลื่อนไหวของ พระกากัน อโสโก จึงเกิดเครือข่ายชาวพุทธที่เข้มแข็ง ประกอบกับได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณ พระราชวรญาณโสภณ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในฐานะพระอุปัชฌาย์ จึงได้ดำเนินการจดทะเบียนมูลนิธิไตรรัตนภูมิ เพื่อการส่งเสริมและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยตั้งสำนักงาน ณ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จอีกไม่นาน

ในขณะเดียวกัน กิจกรรม 84,000 พระพุทธปฏิมา คืนลมหายใจพระพุทธศาสนาสู่แดนพุทธภูมิ ได้มีการหารือกับคณะทำงาน และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความช่วยเหลือทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีการตั้งคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว โดยจะมีการร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายองค์กรการกุศลต่างๆ ทั้งนี้จะได้กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการรับบริจาคพระพุทธรูป ซึ่งจะได้แจ้งต่อสาธารณชนได้ทราบเพื่อความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้การบริจาคพระพุทธรูปเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และลดขั้นตอนในการขนส่งพระพุทธรูปจากประเทศไทยไปยังประเทศอินเดียโดยทางเรือ อาจมีการกำหนดรูปแบบของพระพุทธรูป เพื่อให้ศรัทธาสาธุชนได้สมทบทุนเพื่อจัดสร้าง ซึ่งมีองค์ประกอบในรายละเอียดมากมายที่ต้องคำนึงถึง เช่น วัสดุที่ใช้ในการสร้างพระ ขนาด และรูปแบบปาง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ซึ่งถ้าเราสามารถที่จะลดจำนวนรูปแบบ และขนาดที่หลากหลาย ค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็จะประหยัดขึ้น ฯลฯ  

ท้ายสุดได้เน้นย้ำว่ากิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ที่เป็นมาตุภูมิของชาวพุทธเรา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองดุจดังในสมัยพุทธกาลอีกครั้งหนึ่ง 2. เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีที่ดีทางสังคมระหว่างพี่น้องชาวพุทธของทั้ง 2 ประเทศ 3. เพื่อเป็นกุศโลบายให้ชาวพุทธในประเทศอินเดีย ได้มีโอกาสเข้าถึงพระพุทธศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจน 4. เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณใน องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ให้ความรู้ หลักธรรมะแก่ชาวพุทธเราตราบถึงทุกวันนี้

สำหรับช่องทางการบริจาคนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าว มีประสิทธิภาพ และสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี พระเดชพระคุณ พระราชวรญาณโสภณ เจ้าอาวาสวัดธาตุทอง พระอารามหลวง พระอุปัชฌาย์ ของ พระกากัน อโสโก (มาลิค) ได้เมตตา อุปถัมภ์โดยมอบทุนทรัพย์ส่วนตัวบางส่วนเพื่อใช้เป็นกองทุนในการก่อตั้ง มูลนิธิไตรรัตนภูมิ ขึ้น ณ วัตธาตุทอง และได้เมตตาอนุญาตให้เปิดบัญชีธนาคาร โดยใช้ชื่อบัญชี "วัดธาตุทอง พระอารามหลวง (มูลนิธิไตรรัตนภูมิ)" เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน จนกว่ากระบวนการจัตตั้งมูลนิธิไตรรัตนภูมิจะแล้วเสร็จ อนึ่ง ผู้มีจิตศรัทธาท่านใดที่มีความประสงค์จะบริจาคทุนทรัพย์เข้าร่วมโครงการ "พลิกฟื้นคืนพุทธ สุวรรณภูมิสู่พุทธภูมิ" หรือเพื่อเป็นทุนในการก่อตั้งมูลนิธิไตรรัตนภูมิ สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาเอกมัย ชื่อบัญชี วัดธาตุทอง พระอารามหลวง (มูลนิธิไตรรัตนภูมิ) เลขที่บัญชี 053 – 0 - 32063- 0

และเพื่ออำนวยความสะดวก เป็นข้อมูล ความรู้ และศูนย์กลางข่าวสาร เผยแพร่กิจกรรมการกุศลต่างๆ ทาง มูลนิธิ ไตรรัตนภูมิ ได้จัดทำเว็บไซต์ เพื่อเป็นสื่อกลางให้กับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ภายในเว็บไซต์มีหัวข้อเผยแผ่หลักธรรมและกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิฯ สามารถติดตามได้ที่ http://www.worldofbuddhist.com/   

cr.https://www.banmuang.co.th/news/social/274359


วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

แนะเขียนยันต์เอง! ยักษ์ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ 100ปี พิธีการสุดเข้มขลัง



ยักษ์ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ 100ปี!!.... พิธีการสุดเข้มขลัง หลวงพ่อพัฒน์เมตตาแนะเขียนยันต์ และนำเข้าพิธีวาระ 3 วันที่ 25 มี.ค.2565

ยักษ์ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ 100ปี!!....สร้างในวาระสิริมงคลอายุ หลวงพ่อพัฒน์ 100 ปี เพื่อสมทบทุนสร้างมหาเจดีย์กลางน้ำ วัดห้วยด้วน งบประมาณการก่อสร้าง 75 ล้านบาท ช่างทำสัญญา 14 เดือนเสร็จ ปียอดเจดีย์ใช้ทองคำหุ้ม 30 กิโล เบ็ดเสร็จ 100 กว่าล้าน เจ้าคุณหลวงปู่สร้างปีเดียวเสร็จ

พระราชมงคลวัชราจารย์ หรือ หลวงปู่พัฒน์ ปุญฺญกาโม  พระเกจิอาจารย์ชาวจังหวัดนครสวรรค์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ และ เจ้าอาวาสวัดธารทหาร หรือวัดห้วยด้วน อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เมตตาอนุญาตให้ "ทีมพี่เสือ" จัดสร้างวัตถุมงคลพระปิดตา ในวาระครบรอบอายุ 100 ปี 



กว่าจะมาเป็น ยักษ์ 100 ปี งานพรีเมี่ยม ที่สวยงามนั้น หลวงพ่อพัฒน์ ท่านเมตตา ดูเเล ให้ปรับเเก้ไข เขียนยันต์ ให้กับรุ่นนี้โดยเฉพาะ หลวงพ่อท่านอยากให้สมบรูณ์ มีพุทธคุณเเด่ผู้ได้ครอบครองสูงสุด ให้ดีที่สุด  ยักษ์ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ 100ปี ผ่านขั้นตอนการออกแบบ แกะบล็อก แต่งบล็อก รวมถึงการออกเเบบเเต่ล่ะเนื้อ การคิดค้นสิ่งใหม่ การผลิตโดยโรงงานขั้นเทพ ที่ล่ะองค์  ไม่ใช่เรื่องง่าย เพื่อพุทธศิลป์ที่สวยงาม คนที่ห้อยก็อยากห้อย  คนอยากเก็บ เก็บเป็นสมบัติประจำตระกูล ไม่อายใคร ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน  เป็นวัตถุมงคลรุ่นที่  วิจิตรบรรจง  สวยงามมากๆ

ยักษ์ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ 100ปี  ผ่านพิธีพุทธาเทวาภิเษกมาเเล้ว 2 วาระ ก่อนหน้านี้  โดยวาระที่ 1 พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ ณ มณฑลพิธีวัดกบ โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ  หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด จ.ระยอง จุดเทียนชัย และนั่งปรกอธิษฐานจิตร่วมกับ หลวงปู่บุญมา สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ หลวงพ่อแสวง วัดโพธิ์แดน  หลวงปู่ฝั้น วัดศรีถมอรัตน์ พระราชรัตนเวที วัดวรนาถบรรพต (วัดกบ) หลวงพ่อชะอุ้ม วัดตะเคียนเลื่อน หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดหงส์รัตนาราม ดับเทียนชัย 



วาระที่ 2 พิธีพุทธาเทวาภิเษกยิ่งใหญ่ ณ มณฑลพิธีวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย อาทิ หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด จ.ระยอง เมตตาเจิมเทียนชัย หลวงพ่อทอง สุทธสีโล วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา จุดเทียนชัย หลวงปู่สุข วัดทรัพย์อุดมธรรม จ.นครราชสีมา ดับเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกประกอบด้วย หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา หลวงปู่สุข วัดทรัพย์อุดมธรรม จ.นครราชสีมา หลวงพ่อยอด วัดเขาตะค้อ จ.นครราชสีมา หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด จ.ระยอง หลวงปู่พวง วัดเทพนรสิงห์ จ.บุรีรัมย์ หลวงพ่อรมย์ วัดเทพนรสิงห์ จ.บุรีรัมย์ หลวงพ่อแก่น วัดสุวรรณรัตน์โพธยาราม จ.สุรินทร์ 

หลวงพ่อสมัย วัดป่าเกาะแหลม จ.นครราชสีมา หลวงพ่อเชียร วัดเชษฐาวนาราม จ.นครราชสีมา หลวงพ่อสุ่ม วัดหนองหว้า จ.นครราชสีมา หลวงพ่อสุชาติ วัดศิลาดอกไม้ จ.เพชรบูรณ์ หลวงปู่ปัน พุทธสถานเทพนิมิตรสมปรารถนา จ.มหาสารคาม

วัตถุมงคลรุ่นนี้จะมีการพุทธาเทวาภิเษก พิธีใหญ่  วาระที่ 3 ที่วัดห้วยด้วย โดย หลวงพ่อพัฒน์ จัดขึ้นวันที่ 25  มีนาคม 2565 นี้ ณ มณพิธีห้วยด้วน  จ.นครสวรรค์



นับว่าเป็นพระปิดตาในยุคนี้ ที่หลายต่อหลายคน ติดตาม เสาะเเสวงหา มาบูชากันอย่างมากมาย เป็นที่นิยมในคนที่เลื่อมใสศรัทธา จนทำให้รุ่นดังกล่าว ถูกจับจองเต็มทั้งหมด ในเวลาอย่างรวดเร็ว เเละจะมีพิธีพุทธาภิเษก เร็วๆนี้

"หน้าชัด-หลังคม" คือนิยาม"ปิดตา 100 ปี" ผลงานการรังสรรค์ "ทีมพี่เสือ"  นำโดย ป้อม สกลนคร เเละนิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ สร้างทุกครั้งต้องเป็นตำนาน เพื่อเผยเเผ่บารมีหลวงพ่อพัฒน์ ให้คนทั้งโลกได้รู้จักพระผงดีๆของไทย มิใช่สร้างเเต่พูด "งานของเรา" ใส่หัวใจใส่ความคิดใส่จิตวิญาณ

ผู้ที่สนใจติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก "กลุ่มพระผงยอดนิยม ทุกรุ่น หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์ และ เฟซบุ๊ก : นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ สอบถามได้ที่ นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ โทร.08-6450-8969 ป้อม สกลนคร โทร.08-9619-8989

พิธีย้ายพระธรรมโพธิมงคล ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศรูปใหม่



วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 นายประดับ โพธิกาญจนวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า  @พระมหาเถระผู้ทรงธรรมวินัย ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้

@เมื่อวาน(24 มีนาคม 2565) ผมได้เดินทางไปนมัสการหลวงพ่อ (พระธรรมโพธิมงคล) ที่วัดนิมมานรดี พระอารามหลวง ย่านบางแค เป็นวันสุดท้ายที่หลวงพ่อได้พำนักอาศัยอยู่พระอารามแห่งนี้ในฐานะเจ้าอาวาสพระอารามแห่งนี้

วันนี้ (25 มีนาคม 2565) เป็นวันที่ได้กำหนดย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารพิธีการจะเริ่มขึ้นในช่วงบ่ายวันนี้ ตามโบราณประเพณี การจะมีการย้ายเจ้าอาวาสไปดำรงตำแหน่งอีกพระอารามหนึ่งนั้น เมื่อได้ประกอบพิธีการอันเป็นมงคลที่พระอารามเดิมเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่อัญเชิญพระพุทธ พระธรรม สัญญาบัตร พัดยศ ผ้าไตร พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชขึ้นรถยนต์หลวง เดินทางเป็นไปยังพระอารามตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระอนุจรจำนวนตามสมควร



“เมื่อมีหน้าที่ใด ก็จะทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ให้พอดีกับสถานะ งานทุกอย่างจะสำเร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายทุกประการ” หลวงพ่อบอกว่า งานทุกอย่างมันมีความยากง่ายแตกต่างกัน เมื่อจะทำงานก็ทำอย่างเต็มที่เต็มกำลัง ตามสถานะตามกำลังที่มี นี่คือปณิธานมุมหนึ่งที่มีอยู่ในหลวงพ่อ ผมไม่เคยเห็นหลวงพ่อหยุดพักจากภารธุระ เว้นเวลาอาพาธ(ป่วย)เท่านั้น 

หลวงพ่อเป็นพระมหาเถระที่มีความรู้แตกฉานด้านพระธรรมวินัย เป็นนักการศาสนา นักปกครอง นักการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ ที่สำคัญคือ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านช่าง เป็นพระมหาเถระผู้มีเมตตาธรรม วัตรปฏิบัติติดดินและสัมผัสได้ทุกกาลเวลา

นับเป็นความโชคดีที่คณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารมีเจ้าอาวาสรูปใหม่ผู้มีความสมบูรณ์ในทุกสถานะ เข้าดำรงตำแหน่งทั้งโดยพฤตินัย และโดยนิตินัยในวันนี้

ขอถวายมุทิตาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565

"สันติศึกษา มจร" เล็งเปิดหลักสูตร ระดับปริญญาโทสาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท



วันที่ ๒๓  มีนาคม ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน  มจร  เปิดเผยว่า  ได้รับมอบหมายเตรียมยกร่างหลักสูตรสาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อยกระดับสู่เรียนรู้ในระดับปริญญาโท ซึ่งในปัจจุบันหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้พัฒนาและฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ กพยช รับรอง สำหรับการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยที่มีกฎหมายรับรอง ซึ่งมีการขับเคลื่อนโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งในขณะนี้หลักสูตรสันติศึกษา มจร และเครือข่ายได้พัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยตามกฎหมายมาครบ ๖ รุ่น โดยมีผู้ผ่านและขึ้นทะเบียนและเตรียมทะเบียนถึง ๓๐๐ รูปคนทั่วประเทศที่พัฒนาฝึกอบรมโดย มจร ซึ่งปัจจุบันกำลังจะจัดรุ่นที่ ๗ จะจัดขึ้นระหว่าง ๒๗ เมษายน ถึง ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โดยล่าสุดมีการขับเคลื่อนจัดพัฒนาฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยในชุมชนรุ่นที่ ๕ มีพระสงฆ์ทั่วจังหวัดศรีสะเกษ-สุรินทร์และผู้นำชุมชน ผู้นำหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ารับการฝึกอบรม ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนครั้งแรกในเขตอีสานใต้ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับงบสนับสนุนจากหลักสูตรสันติศึกษา มจร และมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) โดยได้รับการตอบรับจากคณะสงฆ์ศรีสะเกษและบุคคลทั่วไปอย่างดียิ่ง


จึงทำให้พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้วางแนวทางการขับเคลื่อนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครบวงจรทั่วประเทศ โดยเตรียมเปิดหลักสูตร "สาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพาท” ในระดับปริญญาโท ซึ่งจำเป็นในการออกแบบหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย พระสงฆ์ทั่วประเทศ ผู้ประนีประนอมประจำศาล ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน บุคลากรเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ผู้นำชุมชนในการทำงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้นำองค์กร บุคลากรต่างๆ เป็นการเรียนรู้เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งตามแนวทางของอริยสัจ ๔ เป็นการวิเคราะห์ความขัดแย้ง พัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวภาวนา ๔  พร้อมทั้งเดินทางตามของปธาน ๔ ในการป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้ง เยียวยาความขัดแย้ง และรักษาสันติภาพ จึงถือว่าเป็นการพุทธบูรณาการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งมีงานวิจัยรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธีรองรับด้วย โดยมองว่าวิชาที่เรียนประกอบด้วย 


วิชา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายใน

วิชา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพระไตรปิฎก 

วิชา กระบวนการยุติธรรมทางเลือก 

วิชา การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 

วิชา แนวคิดทฤษฎีสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

วิชา กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา

วิชา กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง 

วิชา กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพุทธสันติวิธี 

วิชา ปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเสริมสร้างสังคมสันติสุข

วิชา สัมมนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในสังคมไทย 

วิชา วิทยานิพนธ์ 


ถือว่าเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ต้องการเครื่องมือในการไกล่เกลี่ยอย่างมืออาชีพแบบบูรณาการ ยกระดับสู่การเป็นนักไกล่เกลี่ยหรือผู้ประนีประนอมมืออาชีพ โดยเข้าใจกระบวนการขั้นตอนการไกล่เกลี่ยแบบสากลและการไกล่เกลี่ยแบบพุทธสันติวิธี ต้องการเชิงลึกเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยมองถึง “หลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รวมถึงขั้นตอนทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” โดยมุ่งพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยให้มีสติภายใน  ขันติภายใน และสันติภายใน นึกถึงผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนึกถึงมหาจุฬา โดยเฉพาะการใช้ฐานทางพระพุทธศาสนาเป็นฐาน ทำให้ท่านพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร. จึงเตรียมยกร่างหลักสูตรยกระดับสู่ปริญญาโท ในสาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พัฒนาเครื่องมือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี โดยมีงานวิจัยรองรับรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี โดยมอบหมายให้พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร  และพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร ออกแบบหลักสูตร ท่านใดสนใจเตรียมลงเรียนร่วมกัน  


ยุติธรรมราชบุรีสนองนโยบาย "ยธ." และมติ "มส." ประสานวัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประชาชน


เมื่อวันพุธที่ 23 มีนาคม 2565    ตามมติมหาเถรสมาคม ที่116 /2564 ครั้งที่4/2564 เรื่องความร่วมมือระหว่างกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกับสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้วัดในพื้นที่ 76 จังหวัด เป็นพื้นที่ตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประชาชน วันนี้ (23มี.ค.) เวลา 10.00น.สำนักงานยุติธรรมจังหวัดราชบุรี ขอความร่วมมือ ดร.สุรชัย ฉัตรภิญญาคุปต์ ให้ช่วยประสานเจ้าอาวาสวัดป่าพระธาตุเขาน้อย ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประชาชน(วัดประจำอำเภอบ้านคา)

โดย พันตำรวจโทวัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์ ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดราชบุรี นางสาวจิราณี  เทศมงคล นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มนิติการ นางสมใจ  เชาวดี พนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มาให้ความรู้เรื่องข้อกฎหมาย กฎเกณร์การตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยวัดป่าพระธาตุเขาน้อย


และเมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ดร.สุรชัยได้ช่วยประสานเจ้าอาวาสวัดวิมลมรรคาราม(บ่อกระดาน) ต.บ่อกระดาน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประชาชน(วัดประจำอำเภอปากท่อ) พันตำรวจโทวัชรัศมิ์พร้อมคณะได้เดินทางไปให้ความรู้เรื่องข้อกฎหมาย/กฎเกณร์การตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยวัดวิมลมรรคาราม (บ่อกระดาน)

 

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565

รู้ยัง! ปลัดมท.เผย "โคก หนอง นา โมเดล" ลดก๊าซเรือนกระจกโลกร้อน แก้จนแก้ฝุ่น PM 2.5 ได้



วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2565 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 13 การปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (Take Urgent Action to Combat Climate Change and Its Impacts) ซึ่งผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN) และผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) ได้ให้ความสนใจและชื่นชมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยความมุ่งมั่นของกระทรวงมหาดไทยในการ Change for Good ให้เกิดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  

     

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ได้กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ของกระทรวงมหาดไทย เปรียบเสมือนการปฏิวัติสีเขียวครั้งใหญ่ที่ประชาชนจะอยู่รอดปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศแล้ว ยังช่วยตอบโจทย์การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และสภาวะโลกร้อน (Global warming) ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (climate change) ที่กระทบทุกประเทศทั่วทั้งโลกอย่างรุนแรง ซึ่งภายในแปลงโคก หนอง นา จะมีการปลูกต้นไม้ 5 ระดับก็คือ ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการผสมผสาน ที่เล็งเห็นถึงปัจจัย 4 ทั้งหมด เช่น มีไม้เพื่อใช้ทำที่อยู่อาศัย ไว้ใช้สอย ไว้ทำเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตร และการปลูกที่มีไว้ใช้สำหรับเป็นอาหารและยารักษาโรค รวมถึงมีส่วนที่ไว้ค้าขายผลิตผลทางเกษตร และอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ทุกพื้นที่จะเป็นกสิกรรมธรรมชาติ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง และไม่มีการเผาทำลายซากเศษใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เราจะเอาส่วนนั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดบริหารจัดการไม่ให้เหลือเป็นเศษขยะ เป็นการลดภาวะฝุ่นควันปัญหา PM2.5 ได้ตั้งแต่ต้นเหตุ โดยต้นไม้ 5 ระดับนี้ จะทำให้มีไม้ยืนต้นมากกว่า 10 ล้านต้น ที่จะช่วยทำให้สภาพดินฟ้าอากาศทุกพื้นที่มีความร่มเย็น มีร่มเงาจากไม้ใหญ่ในพื้นที่ของตนเองได้ แล้วจะมีการปลูกทดแทนต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนอันจะส่งผลถึงระบบนิเวศ นี่จึงเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ช่วยต่ออายุโลกของเรา สร้างโลกที่น่าอยู่ ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญเรื่องปากท้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน     

 

"การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องใหญ่ที่มิใช่กระทบต่อวิถีชีวิตคนไทย แต่มันกระทบต่อทุกอณูชีวิต ทุกลมหายใจของมนุษย์ทั้งโลก ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องเป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อนในลักษณะ “ผู้นำต้องทำก่อน” และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนและทุกภาคส่วนในการช่วยกันดูแลชุมชน ดูแลท้องถิ่น ดูแลจังหวัดของตนเองให้เป็นจังหวัดต้นแบบ ให้เป็นจังหวัดที่ทำบุญกับโลกใบนี้ของเรา ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น กระทรวงมหาดไทยจะได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด บูรณาการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และประสานให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการขับเคลื่อนต่อยอดขยายผล ทำให้การปลดปล่อยก๊าซที่จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมันลดน้อยถอยลง เพื่อประเทศไทยก้าวไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) ภายในปี 2065 อันจะทำให้ประเทศไทยอยู่คู่กับโลก โลกของเราอยู่คู่กับจักรวาล คู่กับมวลมนุษยชาติไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งมันจะไม่มีทางเป็นไปได้ “ถ้าวันนี้เราไม่ทำทันที”" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย


Cr.เพจ กระทรวงมหาดไทย PR

 

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565

สมาชิกวุฒิสภาเยี่ยมชม "โคก หนอง นา โมเดล" พยุหะคีรีนครสวรรค์


เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น. พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ รองประธานกรรมการคนที่ 1 หัวหน้าคณะ พร้อมคณะ ลงพื้นที่พบประชาชนตามโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ที่ "โคก หนอง นา โมเดล" บ้านหาดเจริญ หมู่ที่ 11 ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อพบปะประชาชน รับฟังความคิดเห็น และหารือร่วมส่วนราชการและผู้นำท้องถิ่น เยี่ยมชมการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" เพื่อดูพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานโครงการดังกล่าวที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำในการขยายผลการดำเนินงานสู่ครัวเรือนอื่น ๆ ต่อไป

แหล่งที่มา : เพจสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครสวรรค์

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565

มหาดไทยลุยแก้จน! พช.ศรีสะเกษพุ่งเป้า จับมือทีมปฏิบัติการฯทีมตำบล สาธิตอาชีพมุ่งลดรายจ่ายสร้างรายได้

 


วันที่ 17มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น.  ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดศรีสะเกษ (ศจพ.จ.) ภายใต้การอำนวยการของ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธาน คจพ.จ. มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โครงการขยายผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาคุณภาพคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนรายได้ต่ำกว่าเกณ์ จปฐ. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2565 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย TPMAP ที่ตกเกณฑ์มิติด้านรายได้ (รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ปี 2564 จำนวน 367 ครัวเรือน) ได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนทุกช่วงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ ตามประกาศ “วาระจังหวัดศรีสะเกษขจัดความยากจนพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน” และตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

             

ในการนี้ มอบหมายให้ นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นางธีรดา ศิริบูรณ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ นายปวรปรัชญ์ บุตรศรี นักพัฒนาชุมชน (ติดตามสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมาย อำเภออกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอเบญจลักษณ์) พร้อมด้วย นางธีรดา ศิริบูรณ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ นายปวรปรัชญ์ บุตรศรี นักพัฒนาชุมชน มอบวัสดุสนับสนุนการสาธิตอาชีพครัวเรือนยากจนเป้าหมาย TPMAP มิติรายได้ จำนวน 56 ครัวเรือน จากอำเภอกันทรลักษ์ 30ครัวเรือน อำเภอศรีรัตนะ 10 ครัวเรือน อำเภอขุนหาญ ๒ ครัวเรือน และอำเภอเบญจลักษณ์ 14 ครัวเรือน ณ ศูนย์หอประชุมอำเอกันทรีลักษ์ เพื่อให้ครัวเรือนเข้าถึงโอกาสในการทดสอบ สาธิตอาชีพ และต่อยอดสู่อาชีพที่มั่นคง ลดรายจ่ายในภาคครัวเรือนได้เป็นเบื้องต้น ต่อยอดและพัฒนาสู่การสร้างรายได้ตามแผนครัวเรือนต่อไป


พร้อมนี้ นายสุกิจ เหลืองสกุลไทย นายอำเภอกันทรลักษ์ นำทีมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ประกอบด้วย นางประณีวรรณ ซาซุม พัฒนาการอำเภอกันทรลักษ์ นายอมร ธุษาวัน พัฒนาการอำเภอขุนหาญ ตลอดจนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอเบญจลักษณ์ ร่วมให้กำลังใจ และให้นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ครัวเรือน และส่งมอบวัสดุมอบวัสดุสาธิตอาชีพให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย พร้อมทั้งได้กำหนดการติดตามสนับสนุนระดับครัวเรือน ในระหว่างวันที่ 21-31 มีนาคม 2565 ถึงครัวเรือนอีกครั้ง ด้วยหวังให้ครัวเรือนดำเนินชีวิตตามแผนชีวิตที่ตั้งใจมั่น ให้มีความมั่นคงทางอาหาร และรอดพ้นวิกฤติการณ์ต่างที่ถาโถมในปัจจุบันทั้งจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 2019 (COVID-19) และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงคราม

      

จะเห็นได้ว่า จังหวัดศรีสะเกษ ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับพี่น้องประชาชน เพราะประเทศของเรายังมีคนที่อ่อนด้อยในสังคม ที่เราอาจเรียกว่ากลุ่มอ่อนด้อย กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งไม่ได้หมายถึงเพียงแค่มิติด้านเศรษฐกิจ แต่หมายความรวมถึงความเดือดร้อนด้านต่าง ๆ ที่ประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นที่มาของการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) มีเป้าหมายสำคัญ คือ “การแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน” หรือ “การตัดเสื้อให้พอดีตัว” โดยกลไกการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ ระดับจังหวัด ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ ผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ (ศจพ.อ.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติการฯ ในระดับพื้นที่ (ทีมตำบล) โดยมี “ทีมพี่เลี้ยง” เข้าไปรับทราบปัญหา หาทางแก้ไข จัดทำแผนร่วมกับทุกครัวเรือนยากจนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน และสนับสนุนให้ครัวเรือนมีการวางแผน/แก้ปัญหาตรงตามสภาพปัญหาที่กำลังเผชิญ เมื่อทราบปัญหาครบแล้ว จะรายงาน ศจพ.อำเภอ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือ โดยหน้าที่ในการแก้ปัญหาเป็นของทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงาน ให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ตามแนวทางการแก้ไขปัญหารวม6 มิติ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “6 เมนูแก้จน” ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) ความเป็นอยู่ 3) การศึกษา 4) ด้านรายได้ และ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ 6)ด้านอื่นๆ โดยหากเป็นปัญหานอกเหนือจากแนวทางดังกล่าว ให้ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขตามอำนาจหน้าที่


“กระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระบวนการ ศจพ. โดย “ทุกกระทรวง/ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง” คือผู้เดินหน้าแก้ไขปัญหาแบบพุ่งเป้าตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานร่วมกับภาคประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนเป้าหมายได้รับการแก้ไขได้อย่างตรงจุดและเป็นการแก้ไขด้วยเป้าเดียวกัน ทั้งนี้ “ความสำเร็จหรือล้มเหลวทั้งหมดอยู่ที่กลไกในพื้นที่ทั้งหมด” โดยเฉพาะแม่ทัพของพื้นที่ ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ทีมปฏิบัติการตำบล และ “ทีมพี่เลี้ยง” ต้องวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข ตามหลัก 4 ท คือ ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากร และทางออก ด้วยการลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องในลักษณะ Intensive care โดยที่ครัวเรือนต้องมีส่วนร่วมและไม่เป็นการบังคับให้ทำ ซึ่งพัฒนากรต้องสร้างความเข้าใจให้ทีมพี่เลี้ยงไปสำรวจให้รู้ปัญหา รู้แนวทางการทำงาน และวิเคราะห์ปัญหาออกมา พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ดูแลอย่างใกล้ชิด และบันทึกในระบบ Logbook ทุกครั้งที่ได้ให้ความช่วยเหลือ โดยนายอำเภอเป็นขุนศึกสำคัญที่ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหา ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 65 และหากปัญหาที่พบนอกเหนือจากเมนู ให้ประสานหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หากไม่สามารถแก้ไขในระดับอำเภอได้ให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บูรณาการหาช่องทางแก้ปัญหาให้ได้ และหากเป็นสภาพปัญหาที่ต้องแก้ไขในระดับนโยบายให้รายงานกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการต่อไป นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้กับประชาชน ด้วยช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบ ทั้ง Online Onsite Onground ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย หลาย ๆ ช่อง หลาย ๆ เวลา ทำซ้ำ ๆ ทำบ่อย ๆ เพื่อปลายทาง คือ “พี่น้องประชาชนมีความสุข”


ที่มา - กรมการพัฒนาชุมชน Fanpage


ผู้ว่าฯศรีสะเกษจับมือคณะสงฆ์ เปิดอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยฯ หวังวัดเป็นศูนย์กลางไกล่เกลี่ย


เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ที่สถาบันสติภาวนาเพื่อสันติภาพ วัดบ้านท่าคอยนาง ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา  พุฒิชาติ  ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 รุ่นที่ 5 ที่หลักสูตรสันติศึกษา และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลสวาย ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง)  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 22  มีนาคม พ.ศ. 2565  


โดยมีพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ในฐานะประธานการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562  ถวายการต้อนรับพระครูสิริปริยัติการ รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ร่วมเปิดการฝึกอบรม 

พระครูสิริปริยัติการ กล่าวสัมโมทนียกถาว่า การทำงานด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะต้องปราศจากอคติในทางพระพุทธศาสนา โดยใช้ธรรมาภิบาลฐานในการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบได้ 

นายวัฒนา  กล่าวเปิดการฝึกอบรมว่า ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลสวาย  ซึ่งเป็นศูนย์ที่ตั้ง ณ วัดท่าคอยนาง มีความครบถ้วนด้านกายภาพ ศูนย์จึงมีพลัง ส่วน สูญเป็นการสูญเสีย ซึ่งบ้านท่าคอยนางมีการขับเคลื่อนหมู่บ้านช่อสะอาด จึงมีความจำเป็นในการผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อออกไปทำงานให้คนมีความรักกัน ซึ่งการทำงานจะต้องศรัทธาในกระบวนการจริงๆ จึงต้องความร่วมมือระหว่างพุทธจักรและอาณาจักร จึงขอให้ยุติธรรมจังหวัดมีการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562เพราะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นการเดินตามกรอบของอภัยทานในทางพระพุทธศาสนา 


นายวรากร โสมนะพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระงับข้อพิพาท กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ภายใต้แนวทางขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสู่ระดับชุมชนอย่างยั่งยืน ได้กล่าวผ่านออนไลน์ โดยเน้นย้ำการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนลงสู่ทุกอำเภอนับว่าเป็นการขับเคลื่อนเชิงป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้ง เยียวยาความขัดแย้ง และรักษาความสัมพันธ์รักษาสันติภาพ 

 


พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร  เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ในการอบรมครั้งนี้หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการสนับสนุนทุนจำนวน 300,000 บาท และพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ ดร. เจ้าอาวาสวัดสารอด ประธานมูลนิธิโพลวพลือ สนับสนุนทุน 50,000 บาท เพื่อการขับเคลื่อนงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562  รุ่นที่ 5   รวมถึง หน่วยงานราชการในอำเภอปรางค์กู่และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระสงฆ์ หน่วยงานราชการ และผู้นำชุมชนเข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้     

หลังจากเสร็จพิธีเปิดผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษพร้อมคณะสงฆ์และผู้ร่วมงานได้เยี่ยมชมโคกหนองนาสันติศึกษาในพื้นที่วัดบ้านท่าคอยนาง 




วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

ปลัดมหาดไทยดึง "พระสงฆ์" ร่วมทีมพี่เลี้ยงแก้จน 30 ก.ย.หมดทั้งแผ่นดินไทย


เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565  นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และทุกหน่วยงานกระทรวง ทบวง กรม ทั้งทางส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจน ภาคประชาสังคม เข้ามาช่วยเหลือพี่น้องคนไทยด้วยกัน ที่เราเรียกรวม ๆ ว่า เป็นคนจน แต่ความหมายของคนจนในที่นี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่มิติเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่ขัดสนยากไร้ เข้าไม่ถึงโอกาส ตลอดจนไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ ไม่มีทุนการศึกษา มีนัยยะหมายความไปถึงทุกกลุ่มที่มีความเดือดร้อนในชีวิตด้านต่าง ๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

สำหรับกลุ่มเป้าหมายตัวอย่าง เช่น มีครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ แต่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ลูกหลานไม่สามารถดูแลได้ เป็นผู้ป่วยติดเตียง แล้วไม่สามารถที่จะไปหาหมอได้ด้วยตัวเอง หรือแม้กระทั่งคนที่เป็นผู้ตกหล่นไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือไม่มีบ้านเลขที่ เพราะจากข้อมูลของกรมการปกครองพบว่า มีคนที่ไม่มีทะเบียนบ้าน กว่า 2 แสนราย ที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง หมายความว่าเป็นคนไทยที่มีชื่ออยู่ในฐานทะเบียนราษฎร์ แต่ไม่ทราบหลักแหล่งที่อยู่แน่นอน อย่างเช่น สมัยก่อนทหารเกณฑ์จำนวนมากเขาต้องย้ายทะเบียนมาอยู่ในค่ายทหารในช่วงประจำการ แต่พอปลดประจำการ เจ้าตัวไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านออกไปจากค่ายทหาร เพื่อกลับไปเข้าทะเบียนบ้านตัวเอง พอนานเข้าทางกองทัพไม่รู้จะติดต่ออย่างไร จึงนำมาอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จุดนี้เองทำให้สิทธิของพวกเขาในการดำเนินการใด ๆ ทางนิติกรรม ทางทะเบียน ไม่สามารถกระทำได้ จะทำได้ต่อเมื่อย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลางมาอยู่ในทะเบียนบ้านของตัวเองเสียก่อน อันนี้เป็นเพียงกรณีเดียวยังมีกรณีอื่น ๆ อีก นี่จึงเป็นประจักษ์พยานที่สำคัญว่ามีคนไทยที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่อีกมาก 2 แสนราย ถือเป็นความเดือดร้อนอันหนึ่งทำให้เขาไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเร่งช่วยเหลือ

ปลัด มท.ฉายภาพว่า จากที่กล่าวมา ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมีหลายเรื่อง มหาดไทยได้เปิดโอกาสให้แจ้งความต้องการความช่วยเหลือ เรา มีทีมสำรวจระดับตำบล ทีมระดับอำเภอ ให้ประชาชนที่เดือดร้อนสามารถแจ้งได้เพื่อที่จะเราจะได้รับรู้ว่าพวกเขามีปัญหาอะไรบ้าง ตรงนี้เป็นเจตนาที่ดีจริง ๆ ที่รัฐบาลอยากจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน อยากจะช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ประชาชน ด้วยใจจริง

สำหรับการดำเนินการขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ตอนนี้ ทางท่านพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านได้เดินสายไปประชุมชี้แจงกับผู้ว่าราชการจังหวัด,รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอและนายกเหล่ากาชาดซึ่งสวมหมวกเป็นประธานแม่บ้านมหาดไทยอยู่ในแต่ละจังหวัด ครบทั้ง 76 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว ได้แบ่งเดินสาย 4 ภาค และมีทีมงานระดับจังหวัดทุกภาคส่วน ร่วมแรงร่วมใจกัน ซึ่งงานขั้นแรกถือว่าเราได้ดำเนินการเสร็จแล้วเรียบร้อย นั่นคือการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติกับบุคคลที่จะเป็นผู้นำในการที่จะผนึกกำลังร้อยดวงใจ ภายในจังหวัด ภายในอำเภอ ให้มาช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้พวกเขาอยู่รอดปลอดภัย มีความพอเพียง มีความมั่นคงยั่งยืนต่อไป

ส่วนการดำเนินการ ณ ตอนนี้ที่กำลังดำเนินการอยู่ คือการค้นหาผู้ที่เดือดร้อนที่อยู่ในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน ทุกครัวเรือนให้พบ ขั้นต้นอย่างที่เคยกล่าวไปว่าเรามีข้อมูลที่ดีเยี่ยมจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นั่นคือ TPMAP ที่ทางสภาพัฒน์เขาได้ส่ง password มาให้ทางปลัดกระทรวง อธิบดี และ ผู้ว่าราชการ และนายอำเภอ 878 แห่ง มาให้แล้ว มีจำนวนล้านกว่าครอบครัว เราก็จะมีฐานข้อมูลสำคัญที่สามารถเข้าไปดูความเดือดร้อนของคนกลุ่มนี้ได้ เราก็ตั้งเป้าไว้ว่าเป็นกลุ่มที่จะต้องเข้าไปตั้งทีมพี่เลี้ยง ช่วยให้เขาพ้นจากความเดือดร้อน ตามฐานข้อมูลนี้เป็นขั้นต้น

อย่างไรก็ดี ทางท่านนายกรัฐมนตรีมีนโยบายว่า "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ดังนั้นทางกระทรวงมหาดไทยจึงขอให้อธิบดีกรมการปกครอง มอบหมายให้ท่านนายอำเภอทุกอำเภอไปตั้งทีมเพื่อที่จะสำรวจตรวจสอบ re X-Ray ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ว่ายังมีคนอื่นๆ ครัวเรือนอื่น ๆ ที่มีเรื่องเดือดร้อนในพื้นที่อีกหรือไม่ ตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งเราตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในไม่เกินสิ้นเดือนมีนาคมนี้ หรือใน 2 สัปดาห์ ก็จะสามารถตรวจสอบได้ครบถ้วน และเพื่อไม่ให้ตกหล่น กระทรวงมหาดไทยได้เปิดช่องทางในการให้พี่น้องประชาชนสามารถโทร.แจ้ง 1567 เป็นสายด่วนที่โทร.ได้ฟรี โทร.ได้ทุกจังหวัด สามารถแจ้งข้อมูลแจ้งรายละเอียดให้กับ ศูนย์ดำรงธรรม ในส่วนนี้จะเป็นเหมือนกันเปิดโอกาสให้ผู้ที่เดือดร้อนสามารถแจ้งเข้ามาอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการสำรวจในพื้นที่ จะทำให้เรารับรู้ รับทราบปัญหาความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนได้แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้นอกระบบ หรือความเดือดเนื้อร้อนใจในเรื่องอื่น ๆ

เปรียบเทียบการทำงานของพวกเรา เสมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรก ถ้าเราสามารถปรับได้ถูกจุด เราสามารถหาเป้าหมายเหมือนที่TPMAP เขาหาเป้าหมายมาให้เราแล้วได้เพิ่มเติม เราก็สามารถที่จะส่งทีมพี่เลี้ยงไปประกบเพื่อทำการแก้ไขปัญหาได้ทันที เป็นการแก้ปัญหาแบบพุ่งเป้า

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติการที่ทางท่านนายกรัฐมนตรีได้กำชับในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ศจพ. ระดับชาติ ท่านเน้นย้ำชว่าถ้าเป็นหน้างานของกระทรวง ทบวง กรมใด ก็ให้แจ้งไปที่ส่วนราชการนั้นๆ ให้ลงไปเป็นพี่เลี้ยง เช่น ถ้าเจอปัญหาหนี้นอกระบบเราก็ส่งเรื่องต่อให้ ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปน.ตร.) ซึ่งเขามีทีมดูแลเฉพาะอยู่ หรือเราไปเจอปัญหาผู้ป่วยติดเตียง ปัญหาบุคคลที่มีโรคประจำตัว เราก็ส่งให้ ทางสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งในโครงสร้าง เรามีองค์ประกอบของอบต.เทศบาลอยู่ด้วย หรือเราเจอเด็กที่ไม่มีทุนการศึกษา เราก็ส่งให้ท่านนายกเหล่ากาชาดจังหวัดส่งให้ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ช่วยประสาน หรือบุคคลที่ อยากมีวิชาชีพอยากฝึกอบรม เราก็ส่งต่อให้กระทรวงแรงงานหรือคนที่มีปัญหาในการทำไร่ทำนาหรือเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์เราก็ส่งให้กับกระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น

ซึ่งคำว่า "ส่งให้" ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการทำงานตามลำพัง เพราะทีมพี่เลี้ยงจะมีองค์คณะที่ประกอบไปด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและทางท้องถิ่น รวมถึงพระสงฆ์ คหบดี ตามที่ท่านนายอำเภอท่านจะตั้งทีมขึ้นมา เช่น ถ้าพูดถึงปัญหาด้านเกษตรไม่ได้หมายความแค่เพียงว่ากระทรวงเกษตรฯจะทำงานเพียงหน่วยเดียว ทีมเกษตรจะเป็นหัวหน้าทีมและมีทีมพี่เลี้ยงของเราประกบ เพื่อที่จะลงไปช่วยเหลือแบบพุ่งเป้าประกบติด และทำให้เกิดผลสำเร็จภายใน 30 กันยายนนี้ให้ได้

ปลัดสุทธิพงษ์ เปิดเผยด้วยว่า หลังจากมีข่าวปรากฏออกไปว่าภายใน 30 กันยายนจะทำให้แล้วเสร็จปรากฏว่าก็มีคนแสดงความคิดเห็นว่าทำไม่ได้หรอก เช่น ในโลกโซเชียลก็มีความคิดเห็นหลากหลาย แต่ตัวผมเองได้บอกกับพี่ ๆ น้อง ๆ ในทุกจังหวัดทุกอำเภอว่าอย่าหวั่นไหว เพราะว่าการทำงานเราต้องตั้งมั่นให้หนักแน่น เราจะตั้งใจจริงในการทำหน้าที่ข้าราชการที่ดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565

"ยธ.ศรีสะเกษ- IBSC และหลักสูตรสันติศึกษา มจร" จับอบรม กม.ไกล่เกลี่ย แก่ "พระสงฆ์-ผู้นำท้องถิ่น-ผู้นำท้องที่-ปชช." พื้นที่อีสานใต้


วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565  พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (หรรษา ธมฺมหาโส)  ศ.ดร.ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพฯ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และหลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับยุติธรรมจังหวัดศรีสะเกษ  จัดกิจกรรมให้ความรู้ทางกฏหมายแก่ผู้ไกล่เกลี่ย รวมถึงพัฒนาและฝึกอบรมผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น พร้อมทั้งผู้นำศาสนา เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตาม พรบ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 2562



"หลังจากนั้น จะนำไปสู่การตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยในพื้นที่อีสานใต้ ครอบคลุมจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี และนำผู้ไกล่เกลี่ยที่ขึ้นทะเบียนแล้วไปประจำ ณ ศูนย์ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้แก่คู่ความต่อไป" พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ กล่าวและว่า

ทั้งนี้กฏหมายคือหนึ่งในเครื่องมือที่จะหยิบยื่นสันติภาพแก่ชุมชน ในขณะเดียวกัน กฏหมายจะเป็นเครื่องมือสำคัญให้ "บวร" บ้าน วัด และราชการ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างทรงพลัง อันจะส่งผลต่อการนำมิติทางกฏหมายไปเสริมสร้างชุมชนสันติสุขต่อไป



"IBSC - หลักสูตรสันติศึกษา มจร" จับมือมูลนิธิต่อต้านการทุจริต สร้างพระสงฆ์ช่อสะอาด Kick off ความสะอาดทั่วไทย


วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพื่อเข้ารับเรียนรู้ปฏิบัติการและพัฒนาฝึกอบรมตามโครงการพระสงฆ์ช่อสะอาดรุ่นที่ 3   ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2565 จัดฝึกอบรม ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ปฏิบัติการรูปแบบการเรียนรู้  มุ่งพัฒนาพระสงฆ์ช่อสะอาดเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเสริมสร้างชุมชนสังคมสันติสุข ผ่านกระบวนการเรียนรู้และลงพื้นที่ปฏิบัติการ ขับเคลื่อนภายใต้การพัฒนากายสะอาด  พฤติกรรมสะอาด จิตใจสะอาด ปัญญาสะอาด  สู่บ้านวัดโรงเรียนสันติสุข   

จัดโดย หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับ มูลนิธิต่อต้านการทุจริต และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) สถาบันพัฒนาศักยภาพพลังจิตใต้สำนึก และบริษัท ไลค์ เลิร์นนิ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด  บริหารโครงการ โดย พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  

สนใจสมัครฟรี สำหรับพระสงฆ์เท่านั้น ได้ที่ลิงค์สมัคร https://forms.gle/Y1T1uZZkL4k5aeXv6 ติดตามข่าวสารพระสงฆ์ช่อสะอาด  กลุ่มไลน์  https://line.me/R/ti/g/EyUXsjMMcH ติดต่อสอบถาม พระธเนศ ฐานิโย ผู้ประสานงานและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  โทรศัพท์ 0645159499 Line Id : net-4599 สมัครภายใน วันที่  22 มีนาคม 2565 นี้ รับจำนวนจำกัด 

อย่างไรก็ตามพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (หรรษา ธมฺมหาโส)  ศ.ดร.ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพฯ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวจะได้ดำเนินการทั้ง 4 ภาค โดยภาคเหนือจับมือกับหลักสูตรปริญญาตรี สาขาพระพุทธศาสนา วิทยาเขตเชียงใหม่  ภาคใต้จับมือกับเคือข่ายพระสงฆ์จิตอาสาศาสนานำสุข จังหวัดตรัง  ภาคอีสาน กลุ่มพระสงฆ์ศรีลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคกลาง กลุ่มพระสงฆ์ต้นแบบสันติภาพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และกรุงเทพฯ เขตราฏร์บูรณะ กลุ่มพระสงฆ์ทางสว่าง โพลเพลือ 

พระสงฆ์เหล่านี้ ได้รับการ Tranning มาแล้ว แต่ที่มักจะมีคำถามก็คือ จะรู้ได้อย่างไรว่า การ Tranning จะได้ผล หากไม่มีการ Doing ผ่านกระบวนการ Implement ธรรมะที่ผ่านการฝึกฝนมาลงไปประยุกต์และบูรณาการใช้ในสถานการณ์จริง ในพื้นที่เป้าหมาย กับกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 

พระปิดตา100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน สุดยอดพระปิดตายุค 5G...

 


สุดยอดพระปิดตายุค 5G... พระปิดตา100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน  เเรงด้วยพลังศัทธา เปี่ยล้นด้วยพลังพุทธคุณ สืบสานตำนานหลวงปู่โต๊ะ  จากรุ่นสู่รุ่น

พระปิดตา 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน ได้เมตตาอนุญาต ให้ทีมพี่เสือ จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นพระปิดตา ฉลองอายุหลวงพ่อพัฒน์ ในวาระครอบรอบ 100 ปี  โดยใช้มวลสารชั้นครูมากมาย ทั้งเกศาหลวงพ่อพัฒน์ จีวรหลวงพ่อพัฒน์ ตระกรุดเสก เเป้งเสก   ผงว่านมงคลศักดิ์สิทธิ์ มากมาย โดยเฉพาะรุ่นนี้ ได้นำ มวลสาร พระปิดตา หลวงปู่โต๊ะ   ของแท้ มาเป็นมวลสาร อีกด้วย จึงเป็นศิริมงคลเเด่ผู้ได้มีใว้ครอบครอง เป็นพุทธคุณคุ้มครองเสริมศิริมงคล อย่างเเท้จริง



โดยรุ่น พระปิดตา 100 ปี หรือ พระปิดตากนกข้าง หลวงพ่อพัฒน์ ได้สืบสานตำนาน พระปิดตากนกข้าง ที่ขึ้นชื่อหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี  ซึ่งใครหาเก็บของหลวงปู่โต๊ะไม่ทัน ก็เก็บรุ่นนี้เเทนได้ โดยการจัดสร้างครั้งนี้ มีรูปแบบสวยงาม มีเอกลักษ์ความงดงาม มีลวดลายกนก เเบบไทยๆ สืบสานศิลปะเเบบไทย  เป็นพระปิดตาอีกรุ่นที่ควรค่าเเก่การสะสม เป็นศิริมงคล ซึ่งหลายต่อหลายคน ติดตาม เสาะเเสวงหา มาบูชากันอย่างมากมาย เป็นที่นิยมในคนที่เลื่อมใสศรัทธา 



จนทำให้รุ่นดังกล่าวถูกจับจองเต็มทั้งหมด ในเวลาอย่างรวดเร็ว เเละจะมีพิธีพุทธาภิเษก เร็วๆนี้ ด้วยเอกลักษ์ ด้วยมวลสารชั้นครู เเบบนี้ จึงเป็นที่นิยมอย่างเเพร่หลาย ทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ 



ผู้ที่สนใจติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เฟซบุ๊ก : นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ สอบถามได้ที่ นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ โทร.08-6450-8969 ป้อม สกลนคร โทร.08-9619-8989  หรือในเพจเฟซบุ๊ก กลุ่มพระผงยอดนิยม ทุกรุ่น หลวงพ่อพัฒน์  วัดห้วยด้วน หรือ https://www.facebook.com/groups/1242269399567579/?ref=share_group_link




วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2565

"เจ้าคณะศรีสะเกษ" ประชุมจัดตั้งกองบุญสุขภาวะพระสงฆ์ศรีสะเกษ หวังดูแลพระสงฆ์อาพาธทั้งจังหวัด



วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโรงเรียนศรีเกษตรวิทยา วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม จังหวัดศรีสะเกษ และผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ พระครูศรีมงคลปริยัติกิจ เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุมแนวทางการจัดตั้งกองบุญสุขภาวะพระภิกษุและสามเณร จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระครูสิริปริยัติการ รองเจ้าคณะจังหวัด พร้อมเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอ เข้าร่วมประชุม การนี้พระมงคลวชิรากร เลขานุการคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ศาสตราจารย์ ดร. พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พระมหาสมยศ ถามเชฏโฐ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดระยองพระมหาประยูร โชติวโร,ดร. ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มจร พระมหาอดิเรก ฐิตวุฑฺฒิ,ดร. เจ้าอาวาสวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม ในฐานะคณะทำงานชาวศรีสะเกษร่วมถวายข้อมูลในที่ประชุมด้วย

เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษได้ตระหนักถึงปัญหาพระภิกษุ และสามเณรอาพาธที่มีจำนวนมากขึ้น และส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในระหว่างการรักษาพยาบาล เช่น ค่าเดินทาง ค่าภัตตาหาร และอุปกรณ์สำหรับการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งพระภิกษุและสามเณรจำนวนมากไม่มีสวัสดิการทางสังคมในส่วนนี้ จึงทำให้การเข้ารับการรักษาพยาบาลไม่มีความต่อเนื่อง และถูกวิธีตามสมควร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ มีการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ทางคณะสงฆ์ศรีสะเกษได้สนองตามนโยบายดังกล่าวในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชน ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายในหลายมิติ จึงทำให้มองเห็นปัญหาดังกล่าวชัดเจนมากยิ่งขึ้น การหารือแนวทางในการจัดตั้งกองบุญสุขภาวะพระภิกษุและสามเณรจังหวัดศรีสะเกษในวันนี้จึงเป็นความสำคัญ เป็นความหวังที่เราจะได้ช่วยกันดูแลสุขภาพพระภิกษุและสามเณรในจังหวัดเราให้ความครอบคลุมทั้งมิติกาย จิต สังคม และปัญญาต่อไปในอนาคต ขอขอบคุณและอนุโมทนากับทุกท่านที่ร่วมด้วยช่วยกันในวันนี้ 

พระมงคลวชิรากร กล่าวว่า ตามที่ได้มีการประสานเรื่องการจัดตั้งกองบุญสุขภาวะพระภิกษุและสามเณรจังหวัดศรีสะเกษ โดยการประสานจากพระมหาประยูร โชติวโร และพระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมกับพระครูสุวรรณโพธิวรธรรม (มนัส ขนติธมฺโม) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้รายงานขอคำปรึกษาในแนวทางดำเนินงาน ซึ่งเบื้องต้นได้ประสานรายงานต่อเจ้าคณะจังหวัดเพื่อพิจารณาเป็นเบื้องต้นแล้ว เพื่อรับฟังข้อมูลจึงขอให้พระมหาประยูร โชติวโร ได้เสนอความเป็นมา หลักการและเหตุผลให้ที่ประชุมได้ทราบและพิจารณา 

พระมหาประยูร โชติวโร,ดร. ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงความเป็นมา หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งกองบุญสุขภาวะพระภิกษุและสามเณรจังหวัดศรีสะเกษว่า ตนเองได้รับการประสานงานจากพระครูสุวรรณโพธิวรธรรม(มนัส ขนฺติธมฺโม) ประธานเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จังหวัดตราด ได้เสนอแนวคิดในการจัดสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรที่อาพาธ ประสบอุบัติเหตุ อาพาธติดเตียง และมรณภาพ โดยได้นำแนวทางที่ได้ทดลองทำในกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จังหวัดตราดซึ่งผลสำเร็จเป็นอย่างดีมาเป็นแนวการปฏิบัติและได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองบุญสุขภาวะพระสังฆาธิการ จังหวัดตราด เมื่อปี ๒๕๖๑ มีสมาชิกแรกเข้าจำนวน ๔๕๐ รูป มีจำนวนทุนของกองบุญฯ ที่ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาและค่าธรรมเนียมแรกเข้าของสมาชิกรวม ๑,๖๐๐,๐๐๐ บาท และได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานมาเป็นระยะเวลา ๓ ปี โดยเริ่มจ่ายสวัสดิการแก่สมาชิกครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สรุปผลได้ว่ากองบุญฯ สามารถจัดสวัสดิการช่วยเหลือพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ ประสบอุบัติเหตุ อาพาธติดเตียง และมรณภาพของคณะสงฆ์จังหวัดตราดได้เป็นอย่างดี ต่อมาคณะกรรมการฝ่ายบริหารได้ลงมติให้เปลี่ยนชื่อกองทุนจาก “กองบุญสุขภาวะพระสังฆาธิการ จังหวัดตราด” เป็น “กองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดตราด” เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้นและตรงต่อวัตถุประสงค์ของกองทุน และในปัจจุบันกำลังขยายเครือข่ายเพื่อช่วยจัดสวัสดิการช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรที่อาพาธในจังหวัดใกล้เคียง และหวังว่าจะเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนกองบุญพระภิกษุอาพาธ ให้แพร่หลาย จึงได้เข้าร่วมประชุมพร้อมกับพระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. ได้รายงานและขอคำปรึกษาเบื้องต้นจากพระมงคลวชิรากร เพื่อทราบและพิจารณาในเบื้องต้น ซึ่งได้รับคำแนะนำว่าจะได้นำเรียนปรึกษาขอรับนโยบายจากคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษต่อไป

พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์,ศ.ดร. กล่าวว่า ตนเองรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสสนองงานคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้การนำของเจ้าคณะจังหวัด ครูบาอาจารย์ชาวศรีสะเกษเราที่ตนเองมีโอกาสได้พบและสนทนาทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความตั้งใจพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนงานคณะสงฆ์อย่างเต็มที่ วันนี้ที่มีโอกาสได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับจัดตั้งกองบุญดูแลสุขภาวะพระภิกษุและสามเณรจังหวัดศรีสะเกษเป็นจุดเริ่มตนที่ดีมาก และหวังให้มีการหารือการจัดตั้งสหภูมิสงฆ์ศรีสะเกษเพื่อดูแลเรื่องอื่น ๆให้ครอบคลุม ทั้งเรื่องการศึกษา สาธารณสงเคราะห์ งานเผยแผ่ และอื่น ๆ เพื่อลูกหลานของชาวศรีสะเกษเรา ยินดีและพร้อมสนับสนุน

พระมหาสมยศ ถามเชฏโฐ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดระยอง กล่าวว่า ตนเองในฐานะลูกหลานชาวจังหวัดศรีสะเกษ มีความยินดีและขออนุญาตได้ตั้งกองบุญเป็นปฐมฤกษ์ จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กองบุญสุขภาวะที่กล่าวนี้ว่าโดยเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพมีความความครอบคลุมทั้งมติกาย จิต สังคม และปัญญา ตามที่พระมหาประยูร โชติวโร ได้รายงานที่ประชุมทราบและพิจารณา ส่วนในประเด็นอื่นคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษจะได้เมตตาพิจารณาต่อไปในอนาคตให้ครอบคลุม เช่นการจัดตั้งกลุ่มคณะสงฆ์ศรีสะเกษมาคณะหนึ่งมาเพื่อดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น สหภูมิสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น ในส่วนพระมหาอดิเรก ฐิตวุฑฺฒิ,ดร. เจ้าอาวาสวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม ได้กล่าวเสริมที่ประชุมว่า ตนรู้สึกปลื้มปีติและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นคณะสงฆ์ชาวศรีสะเกษได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องนี้ ยินดีและพร้อมขับเคลื่อนตามกำลังที่ตนเองสามารถดำเนินการได้ 

เมื่อที่ประชุมได้ร่วมอภิปรายพอสมควรแล้ว พระมงคลวชิรากร ได้เสนอขอความเห็นต่อที่ประชุมซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติให้ความเห็นชอบในการดำเนินการจัดตั้งกองบุญสุขภาวะพระภิกษุและสามเณรจังหวัดศรีสะเกษ เสนอให้มีการศึกษาดูงาน และจัดตั้งคณะทำงานยกร่างระเบียบที่เกี่ยวข้องและนำเสนอคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษพิจารณาต่อไป

 


วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

"อธิการบดี มจร" ประกาศผลงาน"วิจัย-นักวิจัย"ดีเด่น สุดปลื้มสันติศึกษาผลงานระดับดีมาก


วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕   พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  (มจร)  เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า  พระธรรมวัชรบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ลงนามประกาศผลงานวิจัยดีเด่นและนักวิจัยดีเด่น  ประจำปี ๒๕๖๔ เพื่อเป็นการส่วเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัยให้กับคณาจารย์ และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

โดยมีประเภทงานวิจัย จำนวน ๒๕ ผลงาน โดยผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมหรือการสร้างสรรค์ในระดับดีมากเป็นแผนงานวิจัย : วิศวกรสันติภาพท้องถิ่น: ต้นแบบผู้นำสร้างสันติให้ชุมชน นำโดย ผศ.ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร  สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย

โดยมีโครงการวิจัยย่อยที่ ๑ คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสันติสุขในชุมชน มีพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ ผศ.ดร. หัวหน้าโครงการ และคณะ มีพระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที ดร. เป็นต้น 

โครงการวิจัยย่อยที่ ๒ การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชน มี พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. หัวหน้าโครงการ และคณะ มีพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ ดร. เป็นต้น  

โครงการวิจัยย่อยที่ ๓ การพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข  มี ผศ.ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ หัวหน้าโครงการ และคณะ มี ดร.ธปภัค บูรณะสิงห์ เป็นต้น

จึงขอแสดงความยินดีกับท่านอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร  และคณะ ซึ่งสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนโครงการงานวิจัยในครั้งนี้ในการขับเคลื่อนผลงานทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ต่อไป พร้อมอนุโมทนากับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์นำโดย พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร ในการขับเคลื่อนงานวิจัยของคณาจารย์ มจร อย่างเต็มกำลังเพื่อพัฒนานิสิตพัฒนาการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพต่อไป  จึงขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยของคณาจารย์ในหลักสูตรอย่างดียิ่งเสมอมา    



 



















วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565

กมธ.วุฒิฯจัดปฏิรูปการเมืองวิถีใหม่ "ชวน" ย้ำการเมืองต้องได้คนดี "ปชช." เลือกคนไม่โกง



วันที่ 8 มีนาคม 2565  นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ฐานะประธานรัฐสภา กล่าวปราศรัยการเมือง เรื่อง ทำการเมืองให้สุจริต ในงานสัมมนาเครือข่ายประชาชนปฏิรูปการเมืองปี 2564 จัดโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนวุฒิสภา ตอนหนึ่งว่า การปฏิรูปการเมือง สิ่งสำคัญ คือ ต้องทำให้การเมืองสุจริต และเป็นภารหน้าที่ของคนทุกคนที่ต้องสร้างคนดีให้บ้านเมือง เพื่อเป็นกระบวนการของการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะไม่เลือกนักการเมืองโกงเข้ามาบริหารบ้านเมือง เพราะเมื่อได้นักการเมืองโกง ย่อมใช้อำนาจแต่งตั้งข้าราชการที่ไม่ซื่อสัตย์เข้ามารับตำแหน่ง เพื่อมาทำงานให้กับตนเอง จากคดีความที่เกี่ยวกับการทุจริตของข้าราชการหลายคดีที่ผ่านมา พบว่าต้องติดคุกเพราะต้องทำงานรับใช้นักการเมือง หรือต้องทำเพราะเกรงใจนักการเมือง

นายชวน กล่าวด้วยว่าความซื่อสัตย์ รัฐธรรมนูญเขียนไว้ให้เป็นคำที่ต้องใช้ในการถวายสัตย์ปฏิญาณตนในหลายตำแหน่ง ตั้งแต่ องคมนตรี รัฐมนตรี ส.ว. ส.ส. องค์กรอิสระ เป็นต้น และยังเขียนว่าบุคคลที่ต้องเข้ามาทำหน้าที่แทนประชาชน คุณสมบัติต้องมีพฤติกรรมที่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ได้ฉายาว่ารัฐธรรมนูญปราบโกง พบว่ามีคำว่าซื่อสัตย์ 23 คำ มีคำว่าสุจริต 38 คำซึ่งมากกว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมา แต่คำที่มากกว่าไม่จริงว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตมากกว่า แต่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคน



"การปกครองที่ดี ไม่ใช่ปกครองด้วยหลัก แต่ต้องได้คนปกครองที่ดี ทั้งนี้ในทุกวงการมีคนที่ดีและไม่ดีเสมอ ดังนั้นต้องมีหลักควบคุมคนไม่ดีให้มั่นคง แม้ในอดีตไม่มีองค์กรอิสระ กกต. ป.ป.ช. ผู้ตรวจการรแผ่นดิน แต่ใช่ว่าบ้านเมืองจะมีปัญหามาก เพราะแม้องค์กรตรวจสอบมีไม่มาก แต่องค์กรที่มีอยู่ เช่น ศาล ทำหน้าที่ของตนเอง ในระบบอย่างมั่นคง ยืนหยัดรักษาหลัก มีแนวปฏิบัติที่ซื่อตรง ผมฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ เข้ามาเป็นนักการเมืองเพราะตั้งใจจะเป็นปากเสียงด้วยความซื่อสัตย์ต่อประชาชน ไม่ใช่ไม่มีอะไรทำ หรือเพราะเกษียณอายุราชการ ได้เห็นว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะพฤติกรรมคนที่ใช้หลักนั้นไม่มั่นคง ไม่ซื่อตรง เกิดปัญหาต่อบ้านเมือง” นายชวน กล่าว

นายชวน กล่าวถึงโครงการบ้านเมืองสุจริตด้วยว่า ตนของบ 15 ล้านบาท เพื่อทำโครงการ โดยให้สถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าร่วม โดยมีกรรมการมาจากสถาบันการศึกษา ไม่มีนักการเมืองยุ่งเกี่ยว เป้าหมายรณรงค์เรื่องความสุจริตย้ำกับเด็ก ทั้งนี้ไม่ใช่การกำหนดหลักสูตร เพราะตนมองว่าการปลูกฝังเรื่องความสุจริต สักวันจะสามารถใช้จริงได้ เมื่อเด็กโตขึ้น อย่างไรก็ดีกระบวนการดังกล่าวเป็นไปอย่างช้าๆ หลายสถาบันเห็นด้วย บางสถาบันมองข้าม เพราะเห็นว่าไม่มีผลต่อผู้รับนโยบาย ทั้งนี้ปัญหาที่กล่าวจะลงเอยที่ภาคปฏิบัติ ที่ไม่ปฏิบัติตามหลัก

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...