ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2022

ผลวิจัย "วช."หนุนระบุชัด! ภาคธุรกิจท่องเที่ยวคนตัวเล็กรอดได้ เพราะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่  30 กันยายน 2565  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินโครงการโดย รศ.ดร เจริญชัย เอกมาไพศาล คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทั้งนี้จากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ที่พัก รวมถึงร้านอาหารต่าง ๆ ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้าง หรือ พนักงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอด ทำให้ธุรกิจต้องปรับการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่นในช่วงภาวะวิกฤต มีความหลากหลายในด้านบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำหลักบริหารแบบครอบครัวมาปรับใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีมีความเห็นอกเห็นใจกันทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่ลูกจ้าง หรือพนักงานที่ต้องเจอมรสุมออกจากงานกลับถิ่นฐานจะต้องปรับตัวเองนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีความรู้ทักษะใน

ชูนโยบายกองทุนสร้างอนาคตไทย แก้ปัญหา 3 น. ช่วยพัฒนาเกษตรกรยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565  ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย กล่าวถึงนโยบายเปลี่ยนวิถีชีวิตเกษตรกรไทย เพื่อนำไปสู่การสร้างอนาคตเกษตรกรไทยว่า วันนี้ การปฏิรูปคงไม่พอสำหรับภาคการเกษตร แต่ต้องปฏิวัตินโยบายภาคการเกษตร ที่ออกแบบนโยบายโดยมองจากปัญหาของเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง (Farmer Centric Policy) และต้องเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายในการเพิ่มเงินได้สุทธิ (Gross Domestic Income: GDI) ของเกษตรกร ว่าเกษตรกร ทำเกษตรกรรมแล้วหลังหักต้นทุน ต้องมีเงินได้สุทธิเท่าไร ถึงสามารถปลดหนี้ มีเงินเหลือเพียงพอ ที่จะทำให้เกษตรกรและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ตนมองว่าสถานการณ์ของภาคการเกษตรมีความย้อนแยังกันมาก โดยด้านหนึ่งประเทศไทยเป็นแชมป์การส่งออกข้าว ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลับติดกับดักปัญหาหนี้สินสืบทอดกันมาทุกช่วงอายุเหมือนมรดกบาป ซึ่งทำให้ตนเกิดคำถามว่า ภาครัฐจะภูมิใจไปทำไมว่าประเทศไทย เป็นแชมป์ส่งออกข้าว แชมป์ส่งออกยาง ในเมื่อเกษตรกรไทยยังเป็นหนี้เป็นสิน ในเมื่อเกษตรกรรมไทยยังเป็นอาชีพที่ผลตอบแทนต่ำแต่ความเสี่ยงสูง ในเมื่อเกษตรกรไทยยังต้องส่งลูกหลานไปทำงานในเมืองใหญ่ เพื่อส่งเงินกลั

เวที SX 2022 ศูนย์สิริกิติ์"พุทธ-คริสต์-อิสลาม" ชูชุมชน "กะดีจีน-คลองสาน" ต้นแบบศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 29 กันยายน2565 ที่ผ่านมา ในงาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่สุดในอาเซียน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ระหว่างวันที่ 26 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2565 มีการเสวนาเรื่อง "ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน" โดยมีผู้แทนจาก 3 ศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม ประกอบด้วย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และอุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) มงซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาประมุขบาทหลวง โรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย และฮัจยี อุมัร กาญจนกูล (วาสุเทพ กาญจนกูล) ผู้แทนชุมชนมุสลิมย่านกะดีจีน-คลองสาน ดำเนินรายการโดยนายสุรพล เศวตเศรนี ที่ปรึกษาคณะกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนและประธานจัดงาน Water & River Festival มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น   พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวเปิดวงสนทนาว่า สำหรับศาสนากับความยั่งยืนของชุมชนนั้น คำว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เริ่มมีการพูดถึงและใช้เมื่อ 30 ปีก่อนเป็นครั้งแรก โดยให้ความหมายว่า

มหาดไทยโชว์ผลผลิตโคกหนองนาสดจากพื้นที่ ในงาน SX 2022 "พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก" ศูนย์สิริกิติ์

วันพุธที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 16.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงกิจกรรม Live Action จากในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นภายในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ "การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในงาน Sustainability EXPO 2022 หรือ SX 2022 ในระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่ากิจกรรมดังกล่าวได้รับความนิยมจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และได้มีการดำเนินการถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ Facebook กระทรวงมหาดไทย PR ด้วย  ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กิจกรรมภายในบูธของกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 นิทรรศการผลการดำเนินงาน/โครงการสำคัญที่ทุกกรม รัฐวิสาหกิจ และทุกจังหวัดร่วมดำเนินการ กิจกรรมที่ 2 Live Action จากในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ กิจกรรมที่ 3 การฝึกปฏิบัติ “พึ่งตน เพื่อโลก เพื่อเรา” และกิจกรรมที่ 4 มหาดไทยปันสุข โดยนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์ สินค้าจากชุมชน จาก เครือข่าย ปันบุญ ปันน้ำใจ มาร่วมแบ่งปัน ให้กับผู้เข้าร่วมงาน สำหรับกิจกรรมที่ 2 Live Action จากในพื้นที่ตัวอย่างค

"อุตตม" แนะ 3 แนวพัฒนาเกษตรกรไทยหายจน เป็นฐานแก้วิกฤตอาหารโลกยั่นยืน

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ โดยชี้ให้เห็นว่าถือเป็นโอกาสของประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก แสวงหาโอกาสในวิกฤตโลกครั้งนี้ ทั้งในระยะสั้น และวางรากฐานให้ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารโลกได้อย่างแท้จริงในระยะยาว ที่สำคัญสุดก็คือ เกษตรกรผู้ผลิตต้องได้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นนี้ด้วย โดยในระยะสั้น ภาครัฐต้องเร่งช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร โดยเฉพาะต้นทุนปุ๋ยที่ราคาสูงขึ้น แต่ราคาผลผลิตกลับวิ่งตามไม่ทันต้นทุน ขณะเดียวกันภาครัฐต้องร่วมกับเอกชนผู้ส่งออกใช้โอกาสนี้เปิดตลาดประเทศใหม่ๆ ที่มีความต้องการสินค้าเกษตรทดแทนประเทศที่มีปัญหา เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกของไทย นายอุตตม ระบุต่อว่า หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากเกิดสถานการณ์อาหารขาดแคลนและมีราคาแพง ต้นเหตุมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เพราะทั้ง 2 ประเทศเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญโดยเฉพาะข้าวสาลี และรัสเซียยังเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ เมื่อปุ๋ยขาดแคลนก็กระทบต่อปริมาณการผลิตอีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ยังเ

"กทม."จับมือสิบทิศ Kick Off! นำร่องแก้จนคนเมืองเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา เวลา 09.00 น. ที่ห้องพัชราวดี ชั้น 11 อาคาร 2 โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Kick Off) โครงการวิจัย “การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรุงเทพมหานคร” ระดับพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย   ปลัดกรุงเทพมหานครกล่าวว่า เชื่อว่าทุกคนที่นี่มีหัวใจที่อยากจะทำให้คนอื่นมีความสุข มีหัวใจที่อยากจะทำให้บ้านเมืองนี้ดีขึ้น และมีหัวใจที่อยากจะทำให้สังคมนี้มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นในในอนาคต วันนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่กรุงเทพมหานคร ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ในการสร้างโอกาสดี ๆ ให้กับชุมชน ให้กับกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายได้เริ่มก่อนเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเขตอื่น ๆ ในการทำโครงการวิจัยฯ เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ ให้มีความสุขที่สุด มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเท่าเทียมกัน  การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Kick Off)

"บสย." ชู 3 แนวทางแก้หนี้ยั่งยืน ผ่าน บสย. F.A.Center ปรับโครงสร้างหนี้

27 กันยายน 2565 นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. พร้อมดำเนินมาตรการช่วยลูกหนี้ SMEs ในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่ อย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นมหกรรมแก้หนี้ ครั้งยิ่งใหญ่ โดยมีสถาบันการเงิน กลุ่ม Non Bank บริษัทบริหารสินทรัพย์ เข้าร่วมกว่า 60 แห่ง ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนลูกหนี้ ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ ทั้งภาคประชาชน และลูกหนี้ธุรกิจ ทั้งนี้ บสย. จะร่วมในกิจกรรม “มหกรรมแก้หนี้สัญจร”  5 จังหวัด ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม 2566 ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มุ่งเน้นการช่วยเหลือลูกหนี้ค้ำประกัน 3 แนวทางหลัก ได้ 1.ปรับโครงสร้างหนี้ 2.การเติมสินเชื่อใหม่ (ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ) 3.การให้ความรู้ทางการเงิน เน้นช่วยลูกหนี้ให้เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้ และช่วยให้ SMEs กลับมาดำเนินธุรกิจได้โดยเร็ว นอกจากนี้ ทีมที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ในส่วนของ บสย. F.A.Center จะช่วยให้คำแนะนำ ปรับโครงสร้างหนี้ และแนะนำวิธีการขอสินเชื่อธุรกิจ รวมถึ

เริ่มงานทันที! "กรณ์-สุวัจน์" ผนึกกำลังชูซอฟท์พาวเวอร์ "ผ้าไหมไทยผ้าไหมโลก"

"กรณ์-สุวัจน์" ผนึกกำลังชูซอฟท์พาวเวอร์ "ผ้าไหมไทยผ้าไหมโลก"  ยึดหัวหาดใช้โคราชเป็นศูนย์กลางของอีสาน เล็งจับมือแบรนด์ระดับโลกพัฒนาดีไซน์ให้เป็นผ้าไหมสากล   เริ่มต้นทำงานทันที หลังประกาศความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อพรรคใหม่ “ชาติพัฒนากล้า” ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคฯ และ นายกรณ์ จาติกวณิช กรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา โดยทั้งสองได้พูดคุยกันถึงการผลักดันของดีโคราช คือ ผ้าไหม ซึ่งมีอัตตลักษณ์โดดเด่น สวยงามเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและต่างประเทศ แต่การจำหน่ายยังอยู่ในวงที่จำกัด ซึ่งในแง่ทางเศรษฐกิจสามารถพัฒนาได้อีกมากจึงได้เรียกนายศักดา แสงกันหา มิสเตอร์ผ้าไหม-โคราช เข้ามาสอบถาม เนื่องจากเป็นคนที่คลุกคลีกับผ้าไหมมาตั้งแต่เด็ก โดยมองถึงความเป็นไปได้ ที่จะผลักดันให้ผ้าไหมไทยเป็นผ้าไหมของโลก มีคุณภาพมาตรฐาน โดยนายศักดา มองว่าขณะนี้ประเทศไทยเป็นรองแค่ประเทศจีนเท่านั้น ในเรื่องของปริมาณการผลิต ซึ่งแน่นอนด้วยพื้นที่และประชากร แต่เรื่องความสวยงามผ้าไหมโคราชและผ้าไหมของภาคอีสานไม่เป็นสองรองใคร สามารถพัฒนาโคราชให้เป็นศูนย์กลางผ้าไหมของภาคอีสาน แล

"มูลนิธิชัยพัฒนา-กปร."เซ็น MOU ขยายผลองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่เยาวชน ในงาน SX 2022 ศูนย์สิริกิติ์

เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565  ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  วันแรกของงาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่สุดในอาเซียน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ระหว่างวันที่ 26 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2565 โดยเวลา 11.00 น. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการขยายผลองค์ความรู้โครงการตามแนวพระราชดำริสู่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปสามารถนำองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ มาปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และส่งมอบรถโมบายล์ เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาโครงการในพระราชดำริ การลงนามดังกล่าว มี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมด้วย นายลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ สพฐ. และ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมกา

วัดและชุมชนฉะเชิงเทราเกื้อหนุนสร้างความสุขอย่างยั่งยืนตามเป้า TPMAP

วันที่ 25 กันยายน 2565 ที่วัดวังเย็น ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา พระราชภาวนาพิธาน วิ. เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธาน kick off โครงการขับเคลื่อนความร่วมมือดังกล่าว โดยมีทุกภาคส่วนเข้าร่วม ทั้งนี้ท่านเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรากล่าวว่า ในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวระยะต่อไป มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย TPMAP เน้นในมิติ 2 อันดับแรก ได้แก่ มิติด้านรายได้ และมิติด้านการศึกษา  โดยมีกระบวนการและกิจกรรมการขับเคลื่อนฯ ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง อาทิ การฝึกอบรม/ให้ความรู้การทำเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การฝึกอบรม ให้ความรู้ด้านการจัดทำบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่า การประสานความร่วมมือกับวัดโสธรวรารามวรวิหาร และกลุ่มเกษตรกรในชุมชนวังเย็นพัฒนาแปลงเกษตรให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรหรือเป็นศูนย์เรียนรู้ การจัดให้มีกิจกรรมการคัดแยกขยะ หรือส่งเสริมการปลูกต้นไม้แก่เด็กนักเรียน กิจกรรมจิตอาสา Big Cleaning Day การพัฒนาทักษะอาชีพโดย MOU กับวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา รวมถึงมีระบบดูแลช่วยเหลือเยี่ยมเยียนบ้านเด็กนักเรียน และการสำรวจรา

ประเมินผล"มจร"ร่วมแก้จนตามแนวพอเพียง ประเทศไทยร่ำรวยวัฒนธรรมและนวัตกรรมกำลังจะเกิด

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565 พระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร. (สุทิตย์ อาภากโร) เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suthito Aphakaro ความว่า ประเทศไทยร่ำรวยวัฒนธรรม และนวัตกรรมกำลังจะเกิด U2T@MCU วันที่ 25 กันยายน 65 เดินทางร่วมงาน U2T for BCG ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์และวิทยาลัยสงฆ์กำแพงเพชร ในฐานะประธานขับเคลื่อนโครงการ U2T ของมหาจุฬาฯ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T เป็นโครงการ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกิดขึ้นเพื่อยกระดับการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมสร้างสรรค์ของ 7000 กว่าตำบลทั่วประเทศโดยให้มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการพัฒนาศักยภาพสินค้าและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯได้รับการดูแล ลงไปพัฒนาจำนวน 84 ตำบล ผลของการพัฒนา สามารถยกระดับสินค้าของชุมชนเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์มากกว่า 150 ผลิตภัณฑ์และมีกระบวนการเชิงการท่องเที่ยว การจัดการชุมชน การส่งเสริมการเรียนรู้อีกจำนวนมาก นับว่าเป็นความสำเร็จของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯที่สามารถนำพาชุมชนไปสู่การพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ U2Tขัยนาท! ปชช.ปลื้มถนนคนเดินหันคา กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

 ประชาชน ปลื้ม ถนนคนเดิน อำเภอหันคา ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ด้านนายอำเภอหันคา เร่งหารือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ผลักดันให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 16.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนอนุบาลหันคา อำเภอหันคา จังหวัดขัยนาท นายอดิศร เกิดโต นายอำเภอหันคา ร่วมพิธีปิดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) และรับมอบโล่รางวัลเกียรติยศ จากพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ประธานในพิธี โดยมีท่านมณเฑียร สงฆ์ประชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท เขต 2 ท่านจิรดา สงฆ์ประชา สมาชิกวุฒิสภา ผู้กำกับการ สภ. หันคา ผู้บริหาร และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และพี่น้องประชาชนเข้าร่วมในพิธีปิด นายอดิศร เกิดโต นายอำเภอหันคา กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)" หรือโครงการ "มหาวิทยาลัยสู่ตำบ

มหาดไทยพร้อมแล้ว! นำผลผลิตโคกหนองนา ปันสุขกลางกรุงศูนย์สิริกิติ์ 26 ก.ย.-2 ต.ค.นี้

พร้อมแล้วกับกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข” สุดปลื้ม “เครือข่าย ปันบุญ ปันน้ำใจ” ฟื้นฟูวิถีการให้ ร่วมส่งผลผลิตจาก โคก หนอง นา ของครัวเรือนและชุมชนต้นแบบ และผลผลิตจากเครือข่ายอีกมากมาย ในงาน SX 2022 ระหว่างวันที่ 26 ก.ย. – 2 ต.ค. นี้ วันที่ 25 กันยายน 2565  เวลา 18.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงกิจกรรมมหาดไทยปันสุขของกระทรวงมหาดไทยที่จะจัดขึ้นภายในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ "การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในงาน Sustainability EXPO 2022 หรือ SX 2022 ในระหว่างวันที่ 26 ก.ย. – 2 ต.ค. 65 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่าขณะนี้ได้รับผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา และผลผลิตอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากมาจากภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทยทั่วประเทศแล้ว   นายสุทธิพงษ์  กล่าวว่า กิจกรรม “มหาดไทยปันสุข” ของกระทรวงมหาดไทย เป็นกิจกรรมการกุศลผ่าน “เครือข่าย ปันบุญ ปันน้ำใจ” โดยได้รับการสนับสนุนผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา และผลผลิตอื่น ๆ จากภาคีเครือข่าย ทั้งเกษตรกร โคก หนอง นา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มผู้นำชุมชนต้นแบบ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ มี

เชียงรายเริ่มแล้ว! เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงดอยฮาง พัฒนาพื้นที่พัฒนาคุณภาพชีวิตแก้หนี้หายจน

วันที่ 25  กันยายน 2565 นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “การต่อยอดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้โคกหนองนา พช.ดอยอินทรีย์และสร้างเครือข่ายอาชีพสู่การเป็นแม่แบบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง” กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพเพาะพันธุ์กล้าไม้  อาชีพแปรรูปสมุนไพรและอาชีพแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ณ ศูนย์ประสานงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย ศูนย์เรียนรู้โคกหนองนา พัฒนาชุมชน CLM 15 ไร่ ดอยอินทรีย์ โดยมีนางสาวชาลิสา กาปัญญา พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงราย กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย ตามโครงการการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่ ตามโมเดลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง สู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sufficiency Economy De

เพื่อไทยถามดังๆ! "ผู้รับบัตรคนจนเพิ่มขึ้น เราควรภูมิใจอย่างนั้นเหรอ"

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565   ดร.หญิง ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ผ่านเฟซบุ๊ก"ดร.หญิง ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ความว่า ผู้รับบัตรคนจนเพิ่มขึ้น เราควรภูมิใจอย่างนั้นเหรอ  ไม่ควรภูมิใจที่มีผู้รับบัตรคนจนเพิ่มมากขึ้น หญิงรู้สึกแอบตกใจนิดหน่อยเมื่อเห็นตัวแทนของรัฐบาลออกมาประกาศความภูมิใจที่คาดว่าปีนี้ 2565 จะมียอดผู้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ “บัตรคนจน” ที่ประชาชนทั่วไปเรียกกัน มากถึง 20 ล้านคน โดยกล่าวในทำนองว่าภูมิใจที่รัฐมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทำให้ประชาชนเข้าถึงบัตรคนจนเพิ่มมากขึ้น  คำถามของหญิงคือ เราควรภูมิใจจริงๆ ใช่ไหมที่มีจำนวนผู้รับบัตรคนจนเพิ่มมากขึ้นกว่า 6.7 ล้านคน ในระยะเวลาเพียงหนึ่งปีที่ผ่านมาเท่านั้น หรือถ้าจะอ้างว่า “นี่มันคือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ไม่ใช่ “บัตรคนจน” อย่างที่เข้าใจ แล้วทำไมเงื่อนไขที่มีมันถึงออกมาในลักษณะช่วยเหลือเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ถ้าอ้างว่าเป็น “สวัสดิการรัฐ” มันก็ควรทำให้มันง่ายกว่านี้ไหม ลดขั้นตอน ลดกฎเกณฑ์ ลดเงื่อนไขลง หรือมากไปกว่านั้นก็ทำเป็นสวัสดิการสำหรับประชาชนทุกคนเหมือนสวัสดิการสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรคไป

"ชวน" เปิดศูนย์สังคมสงขลาปันสุข ทต.สำนักขาม ช่วยกลุ่มกลุ่มเปราะบางฐานข้อมูล TPMAB แก้จนตามแนวพอเพียง

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2565  ที่เทศบาลตำบลสำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมสงขลาปันสุข เทศบาลตำบลสำนักขาม โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการ จ.สงขลา นางดาเรศ จิตรัตน์ นายกเหล่ากาชาด จ.สงขลา นางวิไลวรรณ สุวรรณรักษา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สงขลา นายสุรินทร์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอสะเดา นายสาธิต ลิ่ววัฒนะโชตินันท์ นายก ทต.สำนักขาม หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลสำนักขาม และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม สำหรับ จ.สงขลาได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม ไปแล้ว 140 ศูนย์ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยเป็นความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สงขลากับ ทต.สำนักขาม ที่ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล ให้ครอบคลุมภารกิจในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เพื่อการเข้าถึงการบริการต่างๆ ของภาครัฐได้อย่างทั่วถึง "ที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือประ

"อลงกรณ์" ดัน "นครชัยบุรินทร์" เป็นฮับอุตสาหกรรมอาหารเกษตรพอเพียง

“อลงกรณ์”ประกาศยกระดับโคราชเป็นฮับอุตสาหกรรมเกษตรอาหารกลุ่ม”นครชัยบุรินทร์”พร้อมเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบล  เมื่อวันที่ 23 กันยายน  2565   นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และคณะลงพื้นติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ พานิชกุล ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน3อำเภอ(ห้วยแถลง จักราช เฉลิมพระเกียรติ)พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ เกษตรกรในพื้นที่และทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ภาคอีสานได้แก่ นายจิตติ เชิดชู ดร.พงศธร งานไว นางราณี นิวงศ์ษานางยุพาวรรณ จักรพิมพ์ นางกาญจนา บุญมีศิริทิพงศ์ นายวันชัย ก้องเจริญพานิชย์ จ.ส.ต.เฉลิม เทียนขุนทด นายวิมล มะลิลา นายประทีป สังข์สวัสดิ์ นางอุบลวรรณ อัศวนาวิน ร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้นายอลงกรณ์กล่าวว่าพร้อมเดินหน้าให้การ

"อภัยภูเบศร" ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เวิร์คช็อปชุมชนเครือข่ายสลัมสี่ภาคเขตกทม. สาธิตทำยาสมุนไพรใช้เอง

"อภัยภูเบศร" ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย  จัดเวิร์คช็อป ให้ความรู้และสาธิตทำยาสมุนไพรใช้เอง ให้กับชุมชนเครือข่ายสลัมสี่ภาคในเขตกทม. ให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี   เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลสุขภาพทางเลือกโดยการใช้แพทย์วิถีไทย ให้กับชุมชนในเครือข่ายสลัมสี่ภาค ในเขตกรุงเทพมหานคร กว่า 30 คน โดยเชิญ วิทยากรจากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร นำโดย พท.ป.ณิชนันท์ ปุ่มเพชร และ พท.ป.ปนัดดา จรัสรัตนโชติ แพทย์แผนไทยประยุกต์ ร่วมบรรยายและให้ความรู้สมุนไพรขั้นพื้นฐาน เพื่อดูแล รักษาเบื้องต้นในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ เป็นหวัด ก็จะใช้สมุนไพรเช่น มะขามป้อม ฟ้าทะลายโจร มะนาว มะแว้ง ขมิ้นชัน กระชาย หูเสือ ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดฟัน ก็จะใช้ สมุนไพร ขมิ้นชัน กล้วย ชุมเห็ดเทศ ขี้เหล็กแมงลัก ฝรั่ง มังคุด ขิง ยอ ฯลฯ  ระบบกล้ามเนื้อกระดูก เช่น ปวดเมื่อย ปวดข้อ กระดูก ก็จะใช้สมุนไพร เถาวัลย์เ

"ปลัดมท." ยกศูนย์เรียนรู้พอเพียงลำพะยายะลา ต้นแบบความสำเร็จบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน

ปลัด มท. ยกศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” ตำบลลำพะยา จังหวัดยะลา เป็นต้นแบบ ชี้ นี่คือความสำเร็จในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อย่างเป็นรูปธรรม ให้แก่พี่น้องประชาชน วันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องรับรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” ตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ณ บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ที่ 3 ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดย นางธีรนุช  แก้วเจริญ ซึ่งในปัจจุบันมีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สามารถช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง ตามวัตถุประสงค์ที่กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยได้มีการน้อมนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” มาใช้ในการดำเนินการดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อขยายผลไปสู่การช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่กลุ่มคนเปราะบ

วิจัยพระธรรม! พุทธอารยเกษตรแก้หนี้แก้จนเขตเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 19  กันยายน 2565 เพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพรได้โพสต์ข้อความว่า เตรียมงานวิจัยพุทธอารยเกษตร Smart Intensive Farming กำลังวางแผนร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่โคกอีโด่ยวัลเล่ย์แหล่งวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงาน และการเกษตร ซึ่งมีนวัตกรรมที่ต้องทดลอง 1) โกโก้เกษตรเพอร์มาร์คัลเจอร์แบบใช้ถ่านไปทั่วบริเวณแปลงพุทธอารยเกษตร  2)โพนผักหวานป่า ในแปลงพุทธอารยเกษตรที่เตรียมใช้นวัตกรรมการปลูกป่าแบบเพอร์มาร์คัลเจอร์ผสมผสานไปกับป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และ 3) อโวคาโด้โคกอีโด่ย  ทุกแปลงทดลองจะมีกระเจียวหวานกับ ปทุมมา เสริมตามโพนรอบต้นผักหวานป่า ให้น้ำทีเดียวได้ทั้งป่า มีไผ่เป็นแนวกันลม กับไม้ยืนต้นราดเชื้อเห็ดเป็นโครงการปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตรในพื้นที่ตัวอย่างทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากชุดพญาแล้งลงหนอง มีธนาคารน้ำใต้ดินเสริมความชื้นใต้ดิน และกักน้ำไว้ใช้นอกฤดูร่วมกับ หนอง คลองไส้ไก่ กับหลุมขนมครก ระบบให้น้ำจากรากไม่รดน้ำที่โคนต้นไม้เหมือนในอดีต เพราะน้ำไหลนี และระเหยไปก่อนจะซึมถึงราก ถ้าเราจ่ายตรงให้รากไม้เลย

"ไทยสร้างไทย" พบผู้ก่อตั้งธนาคารคนจน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 ดร. สุวดี พันธุ์พานิช  ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 1 พรรคไทยสร้างไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า ต้อนรับ ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส Muhammad Yunus ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ธนาคาร ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมและเศรษฐกิจจากเบื้องล่าง จากแนวคิดไมโครเครดิต หรือ การให้กู้โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่มีดอกเบี้ย และไม่กำหนดระยะเวลาใช้คืน ขจัดความเชื่อที่ว่า คนจนหนีหนี้ ไม่มีเงินจ่าย โดยพบว่าเมื่อพวกเขามีความพร้อมชำระ ทุกคนมีความรับผิดชอบ โครงการนี้ทำให้ ศ.ยูนูส ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับแนวคิดของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan พรรคไทยสร้างไทยในการเสนอนโยบายกองทุนเครดิตประชาชน เพื่อให้คนไทยมีสิทธิกู้ได้โดยไม่ต้องค้ำประกัน เพื่อช่วยให้คนไทยมีโอกาสลืมตาอ้าปาก   จากแนวคิดในการพัฒนาธนาคารกรามีนนั้น ศาสตราจารย์ยูนูส ยังพัฒนาและสนับสนุนระบบสาธารณสุขในประเทศบังกลาเทศ โดยให้ครอบครัวร่วมจ่ายเดือนละ 4 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ  หรือประมาณ 150 บาท เพื่อดูแลสุขภาพทุกคนในครอบครัว  นำหมอไปร

สปก. หนุน 'ยุวลี ถาริวงษ์' สร้างชีวิตที่มั่นคง ด้วยการปลูกผักอินทรีย์ ที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว

  สปก. หนุน 'ยุวลี ถาริวงษ์' สร้างชีวิตที่มั่นคง ด้วยการปลูกผักอินทรีย์ ที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว   "ตอนเริ่มต้นที่มาเข้าร่วมนั้น มาคนเดียว พร้อมกับกระเป๋าใส่เสื้อผ้า 1 ใบ แต่ในวันนี้ ชีวิตได้เปลี่ยนไปมาก สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง มีทุกอย่าง มีบ้าน มีรถ ทุกวันนี้ เพราะ ส.ป.ก. ได้ช่วยสานฝัน ช่วยสร้างอาชีพ บนผืนดินทองคำแห่งนี้ จึงทำให้ชีวิตมีความสุขมาก โดยเฉพาะการได้ปลูกผักอินทรีย์คุณภาพดีให้กับผู้บริโภค ได้อยู่กับลูก ได้อยู่กับครอบครัว" นางยุวลี ถาริวงษ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนผักอินทรีย์แปลงใหญ่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต จากการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียว ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. นางยุวดี กล่าวว่า เดิมนั้นตนเองมีอาชีพเป็นช่างเย็บผ้า ต่อมาในปี 2549 ได้สมัครเข้าร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. และได้รับการคัดเลือก โดย ส.ป.ก. ได้จัดสรรที่ดินทำกินให้จำนวน 2.5 ไร่ พร้อมสนับสนุนให้ปลูกผักอินทรีย์ ด้วยการฝึกอบรมด้านความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตมาอย่างต่อเนื

"ศานนท์" เปิดงาน AI Robotics for All Expo 2022 ย้ำ กทม. พร้อมร่วมมือและนำ AI ขับเคลื่อนสังคมให้เห็นผลจริง

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงาน AI Robotics for All Expo 2022 “ในวันที่ AI ขับเคลื่อนสังคมไทย” และมอบรางวัลให้ตัวแทนประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขัน RoboCup Junior 2022 และผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย การแข่งขัน KidBright OnStage 2022   รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในวันที่ AI ขับเคลื่อนสังคมไทย AI ก็กำลังขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วย ทั้ง AI Robotics และเทคโนโลยีมีความสำคัญกับการพัฒนาเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มี 3 เรื่อง คือ 1. AI Robotics กำลังช่วยให้ประสิทธิภาพของเมืองดีขึ้น จะเห็นได้ว่าตอนนี้มีการใช้ทราฟฟี่ฟองดูว์ การใช้เซ็นเซอร์ดูระดับน้ำ ในทราฟฟี่ฟองดูว์มีการถ่ายรูปและ AI ช่วยวิเคราะห์ว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาด้านไหน ได้ความร่วมมือจากอาจารย์หลายท่าน มีโจทย์อีกมากมายที่ AI และนักวิชาการสามารถร่วมมือได้ 2. โอกาสและความเหลื่อมล้ำ กทม. มี 437 โรงเรียน มีนักเรียนประมาณ 270,000 คน มีเด็กนักเรียนอีกมากมายที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงความรู้ในเชิง Robotics หรือว่า AI และโครงการ AI/Robotics for All ก็มีโครงการ เช่น KidBri

สันติภาพวิถีพอเพียง

 สันติภาพนานาพากันเบ่ง ไล่ข่มเห่งคู่อริติดข้างฝา สันติภาพที่ว่ามีแต่จินตา ขอจริงคือสันติภาพวิถีพอเพียง  พอเพียง หมายถึง การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ   'วิถี' หมายถึง ศาสตร์และศิลป์สำหรับจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีพลัง และเกิดการเรียนรู้เชิงลึกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้เรียน ตลอดจนความสัมพันธ์ภายในกลุ่มหรือองค์กร

"ดร.สุวิทย์"ฟังธง 7-8 ปีที่ผ่านมาปฏิรูปน้อยมาก แนะแนวพัฒนา Soft Power ตาม BCG มีคุณธรรมพอเพียงเป็นฐาน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565  ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ มีการจัดเวที “เปิดโลกทัศน์ เตรียมความพร้อม เติมความรู้ ผู้ปฏิบัติงาน พอช.” โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Thailand’s Soft Power กับ BCG Economy Model พลังการเปลี่ยนแปลงเพื่อการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น” โดยมีการถ่ายทอดผ่านระบบ ZOOM เพื่อให้เจ้าหน้าที่ พอช. ผู้บริหาร และผู้นำชุมชนทั่วประเทศได้รับชม ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยพยายามขับเคลื่อนผ่านยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี ตลอดจนแผนปฏิรูปฯ ต่างๆ แต่ปรากฏว่าในช่วงเวลา 7-8 ปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนเหล่านี้มีความคืบหน้าน้อยมาก “ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปเป็นเรื่องไกลตัวประชาชน ทำอย่างไรให้เป็นเรื่องใกล้ตัว จับต้องได้ และทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนต้องการมีส่วนร่วม ภาครัฐคิดว่าตัวเองเป็นคุณพ่อรู้ดี แต่ไม่เคยมีแผนบอกประชาชนว่าเกี่ยวอะไรกับเขา ใกล้ตัวเขาหรือไม่ ? ” แผนปฏิรูปและวาระส่วนใหญ่คิดโดยรัฐและขับเคลื่อนโดยส่วนกลาง ดังนั้นต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในรูปแบบ โดย

"พช." เฟ้นหา "พัฒนกร" รุ่นใหม่ ต้องเป็นคนมีคุณธรรมพอเพียง พร้อมพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก้จน

วันที่ 12 กันยายน 2565 นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ (พัฒนากร) ตำแหน่งนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน โดยมี นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ และคณะทำงานกองการเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน ได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ (พัฒนากร) ตำแห

มรภ.นครศรีธรรมราชรุกพัฒนาท้องถิ่น ชู “9โครงการ 53 กิจกรรม ยุทธศาสตร์ราชภัฏ ดันชุมชนเติบโตมั่นคงยั่งยืน”

“มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าเราเป็นมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประทีปถิ่น ประเทืองไทย ก้าวไกลสู่สากล” โดยเราต้องการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย อยู่ในคณะต่างๆ อยู่ในหลักสูตรต่างๆ  และอยู่ในตัวอาจารย์ นักศึกษา ต่างๆ ไปเป็นเครื่องมือ เพื่อไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพราะเราอยากจะให้มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของท้องถิ่นอย่างแท้จริง”     มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นศ.) นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นสามารถตอบโจทย์การพัฒนาตามเจตนารมณ์ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 มาตรา 7 และมาตรา 8 ระบุว่า “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างปัญญาของท้องถิ่น ที่สร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน…..” โดยเฉพาะนโยบายสภามหาวิทยาลัย และ Vision แผนพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing สู่การเป็น Smart University ฯลฯ อันจะนำพาไปสู่แนวทางในการกำหนดจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2