วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 ในการสัมมนาและงานปฐมนิเทศนิสิตสาขาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปี 2565 พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กล่าวว่า พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ที่จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการพัฒนาสังคม ของมหาจุฬา เป็นหนึ่งในศาสตร์สาขาที่สำคัญของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาสังคมในระดับโลก ด้วยเหตุว่า พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม Engaged Buddhism เป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาของโลก ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals ) ของสหประชาชาติ (UN) และการพัฒนาของประเทศไทย ที่เน้นเรื่อง BCG ที่เป็นการพัฒนาบนฐานทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งปรากฏในการพัฒนาของไทย เช่น การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคกหนองนาโมเดล การพัฒนาเศรษฐกิจฐากรากวิถีพุทธ การเกษตรวิถีพุทธ หรือการพัฒนาเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น ดังนั้น การศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม จึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการศึกษาพระพุทธศาสนาในระดับสากลนั้น มีรูปแบบการเรียนรู้ใน 3 มิติที่สำคัญ คือ 1) การเรียนรู้พระพุทธศาสนาแบบวิชาการ (