ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2021
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 29  พ.ย.2564 โดยได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยออกเป็น 5 กลุ่ม  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนา ได้มีการระบุว่า ไม่มี และแม้แต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งคือ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร) ก็ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้หรือกลุ่มใดกลุ่้มหนึ่งนอกจากนี้ และมีรายงานว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งได้ตั้งเป้าที่จะจัดอยู่ในกลุ่มกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนาในปีงบประมาณ 2566 นั้น  ล่าสุดพระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่กลุ่มมหาวิทยาลัยด้านปัญญาและคุณธรรม   ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิ

อว.แบ่ง 5 กลุ่มมหาวิทยาลัยปีงบฯ 65 "มจร-มมร" ตั้งเป้าเข้ากลุ่มพัฒนาปัญญาฯปี 66

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564  นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 29  พ.ย.2564 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในประกาศดังกล่าวปรากฏว่า ไม่มีมหาวิทยาลัยใดจัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนา รวมถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งคือ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร) ก็ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้หรือกลุ่มใดนอกจากนี้  ทั้งนี้มีรายงานว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งได้ตั้งเป้าที่จะจัดอยู่ในกลุ่มกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนา ในปีงบประมาณ 2566 

จบ ๗ รุ่นแล้ว! หลักสูตรฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบสันติภาพ "มจร" เตรียมเปิดสมัครรุ่น ๘ ต่อ

วันที่ ๒๙  พฤศจิกายน  ๒๕๖๔ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ประธานพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ๒๓ - ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ หลักสูตรสันติศึกษา มจร จัดฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบสันติภาพ รุ่น ๗ หลักสูตร ๕ คืน ๖ วัน จำนวน ๖๖ ชั่วโมง โดยมีการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ Peace Facilitatorโดยมีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ๒๔ รูปคน เพื่อพัฒนาด้านการเป็นวิทยากรต้นแบบสันติภาพ การพัฒนาองค์กร การฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี การสร้างสันติภายใน การออกกระบวนการเรียนรู้ที่ทรงพลัง และเครื่องมือพุทธสันติวิธีเพื่อนำไปแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน องค์กร สังคม ด้วยการยกระดับจากวิทยากรเป็นเพียงผู้ถ่ายทอด แต่ Peace Facilitator เป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ โดยกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคิดเองตระหนักเอง โดยเป็นผู้อำนวยการที่สร้างสันติภาพเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยผู้เข้ารับการเรียนรู้จากวิทยากรระดับมืออาชีพมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรต้นแบบสันติภาพ ซึ่งบรรยากาศการเรียนรู้สนุก สาระ สงบ สำนึก สร้างสรรค์ โด

พระมหาไพรวัลย์ได้ฤกษ์สึกแล้ว! พระมหาสมปองเผย 4 ธ.ค.แถลงเปิดใจ 6 ธ.ค.

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ตามที่ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนักไลฟ์สดชื่อดังได้ส่งสัญญาณลาสิกขาบท พร้อมเปลี่ยนชื่อเพจเป็น"ไพรวัลย์  วรรณบุตร"  พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักไลฟ์สดชื่อดังด้วยกัน  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จากการพูดคุยกับพระมหาไพรวัลย์  ยืนยันว่า จะมีการลาสิกขาแน่นอน 100% ประมาณวันที่ 4 ธ.ค. และจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 6 ธ.ค.2564 ซึ่งเป็นทิดไพรวัลย์แล้ว โดยตนเอง ก็พึ่งรู้เมื่อวาน ขณะที่ไปรับกิจนิมนต์ด้วยกัน ซึ่งพระมหาไพรวัลย์ มากระซิบบอกว่า จะลาสิกขาบท อาตมาจึงถามกลับไปว่า แน่ใจแล้วหรือ อยากให้คิดให้ดี เพราะ "เจ้าคุณอุทัย" อาจได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสร้อยทองก็ได้ ซึ่งพระมหาไพรวัลย์ยืนยันว่า คิดดีแล้ว เพราะรู้สึกว่า เบื่อ เหนื่อย ท้อ และไม่เชื่อว่า จะไม่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาส จึงตัดสินใจลาสิกขาบท ดีกว่า พระมหาสมปอง กล่าวต่อว่า วันนี้ "พระมหาไพรวัลย์" ยังรับกิจนิมนต์ตามปกติ โดยจะเดินทางไปมอบผ้าห่มคลายหนาว ที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เวลา 18.00 น. และจะกลับวัดสร้อยทอง วันที่ 3 ธ.ค. โดย "พระมหาไพรวัลย์" บอกว่า หากสึกออกไปแล้ว จะสามารถแส

พระมหาไพรวัลย์ เปลี่ยนชื่อ FB "ไพรวัลย์ วรรณบุตร"

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เฟซบุ๊ก พระมหาไพรวัลย์ วรวณโณ ซึ่งเป็นเพจหลักของ พระมหาไพรวัลย์ มีการเปลี่ยนชื่อเพจเป็น "ไพรวัลย์ วรรณบุตร"  โดยไม่มีคำว่า พระนำหน้าชื่อ โดยเมื่อเวลา 21.44 น. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564  พระมหาไพรวัลย์ ได้โพสต์ภาพขณะกำลังก้มกราบ พระมหาสมปอง พร้อมระบุข้อความว่า "แม้อาจจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แค่ 3 เดือนเท่านั้น ที่ผ่านมา แต่มันเป็นช่วงเวลาที่พิเศษมากๆ สำหรับชีวิตของผมนะครับ พระอาจารย์ คือ พี่ชายที่น่ารักที่สุดสำหรับผม คือครูบาอาจารย์ที่ให้วิชาและความรู้ต่างๆ มากมายสำหรับการเผยแผ่ธรรมะกับผมกราบขอบพระคุณที่ไม่เคยรังเกียจพระน้องชายรูปนี้ กราบขอบพระคุณสำหรับทุกสิ่งที่พระอาจารย์มอบให้ ไม่ว่าจะในฐานะอะไรก็ตามจะเคารพรักและศรัทธาพระอาจารย์ตลอดไปนะครับ" โพสต์ล่าสุด ระบุว่า "ขอบคุณพระศาสนาที่มอบทุกอย่างให้กับเด็กบ้านนอกคนหนึ่งคนนี้ ตลอดเวลา 18 ปีที่ผ่านมา ขอบคุณข้าวน้ำจากศรัทธาของญาติโยมทุกคน" #พระมหาไพรวัลย์ CR:ไพรวัลย์ วรรณบุตร

พระเสียดายแดดมอง! จ่ายเงินชดเชยประกันราคาข้าว แค่หวังผลทางการเมือง

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564  เพจ พระปัญญาวชิรโมลี นพพร ได้โพสต์ข้อความว่า เห็นข่าวแล้วปวดใจ  ข่าวประกันราคาข้าว หรือจ่ายเงินชดเชย จ่ายเงินเยียวยา หลังฤดูทำนามีทุกปีคิดรวมกันตั้งแต่ได้ยินมาคงจะหลายแสนล้านแล้ว มันเป็นผลดีของนักการเมืองเอาเงินหลวงมาแจกชาวบ้านเพื่อหวังผลทางการเมือง แต่เขาโฆษณาว่าเพื่อความอยู่ดีกินดี  ความจริงคืออยู่ดีกินช่วงเดือนแรกที่รับเงินเท่านั้นล่ะที่เหลือคือจนเหมือนเดิมตลอดปีตลอดชาติ มันขาดความยั่งยืน ถ้าทยอยสร้างความเข้มแข็งของประชาชนอย่างยั่งยืนปีละ 20% แบ่งจากงบให้เปล่ามาให้ชุมชนที่พร้อมกันรวมกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มโคก หนอง นา ตั้งโรงอบ โรงสีข้าว นำร่องชุมชนที่มีศีลธรรม สมาชิกใดไม่มีศีลห้าให้ออกจากกลุ่มไปก่อนจนกว่าจะรักษาสัตย์ รักษาศีลได้ค่อยพิจารณารับเข้าโดยสมาชิกในกลุ่มคัดสรรกันเอง สีข้าวขายเอง หรือมีสินค้าเกษตรอื่นแปรรูปขายตามช่องทางต่างๆ ทุกวันนี้มีการสร้างจุดขายมากมาย หรือมีการจองล่วงหน้าเช่นข้าว Rice berry Organic ศรีแสงธรรม หรือผลิตภัณฑ์โคกอีโด่ย เป็นต้น ชุมชนไหนพร้อมหรือทำได้ดี ปีถัดมาก็สนับสนุนเงินทุนเข้ากลุ่มเพื่อดำเนินการ หรือขยายกิจการภายใน 5 ปีครบทุกต

พระมหาไพรวัลย์ " โพสต์ "หมดเวลาแล้ว ฉันคงต้องไป"

เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 64 พระมหาไพรวัลย์ วรวัณโณ แห่งวัดสร้อยทอง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า "ขอบคุณพระศาสนาที่มอบทุกอย่างให้กับเด็กบ้านนอกคนหนึ่งคนนี้ ตลอดเวลา 18 ปีที่ผ่านมา ขอบคุณข้าวน้ำจากศรัทธาของญาติโยมทุกคน..." นอกจากนี้พระมหาไพรวัลย์ ยังได้ระบุข้อความในคอมเมนต์ด้วยว่า "หมดเวลาแล้วว ฉันคงต้องไป" ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พระมหาไพรวัลย์ ได้แชร์ข้อความประเด็นเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งในวงการสงฆ์ โดยพระมหาไพรวัลย์ระบุข้อความว่า "ใกล้จะได้สลัดปลอกคอแล้วสินะ" จากนั้นพระมหาไพรวัลย์ยังโพสต์ข้อความอีกว่า "บริษัทขนย้ายต้องเข้าแล้วนะ ใครรู้จักอินบ็อกมาได้เลยนะ สภาพ" อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากต่างเข้าไปโพสต์ข้อความให้กำลังใจพระมหาไพรวัลย์ ก่อนหน้านี้พระมหาไพรวัลย์ ได้กล่าวในไลฟ์สดระบุว่า หาก พระราชปัญญาสุธี (อุทัย ญาโณทโย) ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสร้อยทองรูปปัจจุบัน ไม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ก็พร้อมจะลาสิกขา ทั้งนี้เฟซบุ๊ก "Uthit Siriwan" ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพระพุทธศาสนา อดีตพระมหาเปรียญธรรม

"ณพลเดช"ฉงน! พระ 100 ปี เศียรขาดจากโจรกรรมนาน 13 ปี แนะ รบ. ตั้ง"กระทรวงศิลปากร"

  วันที่ 27 พ.ย. 2564 ดร.ณพลเดช มณีลังกา ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.เขตสัมพันธวงศ์ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงจากที่ตนได้ลงพื้นที่ที่วัดวัดกันมาตุยาราม ถ.เยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ ได้พบพระเศียรขาดซึ่งทราบว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปี จากการที่ตนได้สอบถามพระมหานิวัฒน์ โชติโก เลขาเจ้าอาวาสวัดกันมาตุยาราม ทราบว่าวัดแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ซึ่งหากจะบูรณะต่อเติม ต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากรเสียก่อน จากเมื่อปี พ.ศ.2552 เศียรพระได้ถูกโจรกรรมโดยการตัดเศียรไปแล้วทั้งหมด 23 เศียร จากพระพุทธรูปในวัดทั้งหมด 80 องค์ จากการติดตามและยึดของกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เศียรพระคืนจำนวน 3 เศียร เป็นของกลางของตำรวจ สถานีตำรวจบางซื่อ ยึดได้จากร้านจำหน่ายวัตถุโบราณแห่งหนึ่งภายในตลาดนัดสวนจตุจักร ขณะนี้ได้จับยึดเศียรรวมได้มาเพียง 5 เศียร ในเบื้องต้นพระมหานิวัฒน์ จะยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมบูรณะต่อไป ดร.ณพลเดช กล่าวต่อไปว่า จากการที่ตนมาพบเห็นถือเป็นเรื่องเศร้าสลดที่มีพระพุทธรูปกลางกรุง ที่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาท่องเที่ยวกันอย่างต่อเนื

วัดพระธรรมกายจัดพิธีถวายสังฆทานออนไลน์ แด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2564  คณะสงฆ์จังหวัดสงขลา ยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส  หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมกับวัดพระธรรมกาย และกัลยาณมิตรทั่วทั้งโลก จัดพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์จากเหตุการณ์ความไม่สงบ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา) ปีที่ 17 ครั้งที่ 156 และพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ 14 ครั้งที่ 121 จำนวน 74 กองทุน ถ่ายทอดสดจากศูนย์กลางพิธี 5 จังหวัด  ได้แก่  จังหวัดสงขลา  ยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส และปทุมธานี  ด้วยระบบออนไลน์ ทางแอปพลิเคชัน ZOOM พิธีเริ่มเวลา 09.00 น. เป็นพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ 14 ครั้งที่ 121 จากนั้นเป็นพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีที่ 17 ครั้งที่ 156  ต่อด้วยพระภาวนาธรรมวิเทศ  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย   กล่าวความในใจและเปิดวีดีโอประมวลภาพทบทวนงานฟื้นฟูศีลธรรมโลก  ในพิธีโดยรับความเมตตาจากพระราชวรเวที  เจ้าคณะจังหวัดสงขลา  วัดโคกสมานคุณ พระอารา

เครือข่ายชาวพุทธฯ ยื่นอุทรณ์กรณีขอข้อมูลข่าวสารการถอดถอนพระสังฆาธิการ

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา นายธีระ ปัดชาเขียว ผู้แทนเครือข่ายชาวพุทธปกป้องพระพุทธศาสนา พร้อมคณะเข้ายื่นหนังสืออุทธรณ์กรณีขอข้อมูลข่าวสารการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 รูป จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยข้อมูลข่าวสารข้อมูลที่คณะเครือข่ายชาวพุทธ ฯ ร้องขอ ประกอบด้วย   1. หนังสือร้องเรียนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด คือ พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสนฺโน) เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา, พระธรรมรัตนาภรณ์ (สมศักดิ์ โชตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีและพระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) 2. รายงานการสอบสวนของเจ้าคณะภาคและเจ้าคณะหนซึ่งเป็นเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับ 3. หนังสือรายงานการสอบสวนและความเห็นของเจ้าคณะหนที่เสนอเข้ามหาเถรสมาคมพิจารณา 4. หนังสือของสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่เสนอเรื่องถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด ที่เสนอไปยังราชเลขานุการในพระองค์ 5. หนังสือของสำนักพระราชวังซึ่งกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชในเรื่องการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด นายธีระ ปัดชาเขียว กล่าวว่า คณะเครือข่ายชาวพุทธปกป้องพระพุทธศาสนาได้ร่วมกันย

อธิการบดี"มจร" ย้ำนโยบายปฏิบัติธรรมประจำปี เน้นทั้ง "Onsite-Online"

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ลงนามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564   ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว อธิการบดี มจร ได้ย้ำนโยบายการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานประจำปีแบบ Hybrid โดยเน้นการปฏิบัติทั้ง  Onsite การปฏิบัติธรรมในพื้นที่จริง และการปฏิบัติธรรมแบบ Online  และได้มอบหมายให้หน่วยงานจัดการศึกษา ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคดำเนินการจัดกิจกรรมให้สอดรับกับสถานการณ์และความต้องการของนิสิต  พระธรรมวัชรบัณฑิต ได้กล่าวย้ำว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานประจำปีนั้น เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้นิสิตสามารถเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ส่วนตัวได้ย้ำกับผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมว่าสถานการณ์โควิดได้คลี่คลายลงบ้างแล้ว ควรเน้นการปฏิบัติแบบ Onsite โดยจัดวางมาตรการการดูแลทุกขั้นตอนให้สอดรับกับกระทรวงสาธารณสุข   ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ออกนโยบายกระตุ้นให้ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ได้สว

กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ลงพื้นที่ศึกษาพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายเพชรวรรตวัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดลแก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ พระเมธีธรรมาจารย์ อนุกรรมาธิการฯ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯนางสาวสิริมนโฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง นายภีม บุตรเพ็ง นายวัชรพล โรจนวัฒน์และคณะ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ผู้แทนส่วนราชการจังหวัดขอนแก่น สำหรับความเป็นมาโครงการ พุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2547 เห็นชอบให้ มีการจัดตั้งสถานที่ทางพระพุทธศาสนา ที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑล ในส่วนภูมิภาคให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นประกอบกับมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 21/2548 เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เห็นชอบให้

กมธ.ศาสนาฯสภาฯแก้ปัญหาสร้างพระนอนกลางบึงชัยภูมิ

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564  เวลา 13.30 น. ที่วัดบึงบาล บ้านมูลกระบือ จ.ชัยภูมิ นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายเพชรวรรตวัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดล แก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ นางสาวสิริมนโฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง นายภีม บุตรเพ็ง นายวัชรพล โรจนวัฒน์และคณะ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ผู้แทนส่วนราชการจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ สาขาภูเขียว อำเภอภูเขียว ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับทราบรความคืบหน้า ขั้นตอน ระเบียบ เกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ รวมถึงขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการสร้างพระนอนในพื้นที่ จากเดิมมีการวางโครงการพระนอนบนพื้นที่ดินสาธารณประโยชน์หนองโนนกระบือ

กมธ.ศาสนาฯสภาฯลงพื้นที่ภูกระดึง ถกปมที่ดินวัดป่าผาหวาย(ธ) 165 ไร่ เกิดก่อนพรบ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ที่สำนักสงฆ์ป่าสวนห้อม จ.เลย นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดล แก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ  ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ  นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง นายภีม บุตรเพ็ง นายวัชรพล โรจนวัฒน์และคณะ  ได้เข้าร่วมประชุมกับเจ้าคณะจังหวัดเลย(ธ) เจ้าคณะอำเภอหนองหิน(ธ) เจ้าอาวาสวัดป่าผาหวาย ประธานที่พักสงฆ์ป่าสวนห้อม ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเลย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเลย ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้จังหวัดเลย หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ - ภูกระแต กำนันผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ โดยมีประเด็นถกถึงมีบันทึกว่าวัดป่าผาหวาย หมู่ที่ 3 ต.ปวน

เกษตรฯหนุนปลูกผักลิ้นห่านดันเป็นสินค้าประจำตำบลไม้ขาวภูเก็ต

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564  นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมด้วยคณะ  ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงปลูกผักลิ้นห่านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักลิ้นห่านบ้านไม้ขาว พร้อมรับฟังปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่บ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยมีนางสาววันลีย์ เจริญวิทย์ธนเดช เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายมนตรี เรืองพันธ์ เกษตรจังหวัดภูเก็ต นายวงศ์ธารินทร์ พรหมรักษ์ สหกรณ์จังหวัดภูเก็ต นายเทวิน  แสวงสิน ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต ร่วมให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม พร้อมรับฟังปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่  ทั้งนี้นายอำพันธ์ุเปิดเผยว่าตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระทรวงเกษตรในพื้นที่ให้จัดทำแผนการส่งเสริมเกษตรกรในในพื้นที่สสร้างกลุ่มร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปลูกผักลิ้นห่านให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นตำบลไม้ขาว พร้อมประชาสัมพันธ์ให้สินค้าเป็นที่รู้จัก ส่งเสริมเรื่องการแปรรูป และการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายต่อไปเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตกรในพื้นที่อย่างยั้งยืน             สำหรับผักลิ้นห่านเป็นผักพื้นบ้าน ส่วนใหญ่จะพบขึ้นอยู่ตามชายหาด พบมากที่ตำบลไม้ขาว จังหว

เตรียมยกร่างแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคปชช."มจร" เปิดกว้างรองรับคนรุ่นใหม่

วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๓๐ น. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และประธานคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีคณะกรรมการและคณะทำงานรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประชุม เช่น ดร.มยุรี จำจรัส ผู้อำนวยการยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ กรรมการสมานฉันท์ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวิธี เป็นต้น  พระมหาหรรษาแจ้งเพื่อทราบว่า ขอชื่นชมคณะทำงานทุกรูปคนในการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือกับระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสนองงานมหาวิทยาลัยและปฏิบัติตามแนวทางการของการบริการ  ดร.มยุรี ในฐานะกับดูแลมาตรฐานการขับเคลื่อนศูนย์ได้สะท้อนถึงการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ว่าเป็นศูนย์ต้นแบบที่มีความพร้อมด้านกายภาพเป็นอย่างมากถือว่าเป็นต้นแบบในระดับจังหวัดพระนคร

จุฬาฯถอดบทเรียนศูนย์ไกล่เกลี่ยฯภาคปชช.มหาจุฬาฯ เป็นฐานพัฒนาหลักสูตร

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)   และประธานคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ต้อนรับ ดร. อัจฉรียา ธิรศรีโชติ และคณะ ในฐานะผู้แทนนักวิจัยจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ในการขอศึกษาแนวทางการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ และแนวทางการจัดหลักสูตรการไกล่เกลี่ยตามแนวทางพุทธสันติวิธี พร้อมศึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  โดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งพัฒนาหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยผู้เข้าอบรมสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการพัฒนาหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคนำร่อง ที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช) ได้ให้การรับรอง  พระมหาหรรษา  จึงกล่าวย้ำ

พระปิดตา 3 รุ่นที่ต้องมี! บารมี"หลวงพ่อพัฒน์" "ปลดหนี้-เงินล้าน-มหาเสน่ห์"

ในยุคปัจจุบันพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในอันดับต้นๆและมีคนรู้จักทั่วประเทศ อีกทั้งกล่าวได้ว่าท่านมาแรงที่สุด เชื่อว่าส่วนใหญ่ต้องนึกถึง พระราชมงคลวัชราจารย์ หรือ"หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม" เจ้าอาวาสวัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นคร สวรรค์ พระมหาเถระ 5แผ่นดินผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา สมญานาม“เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” ผู้มีอายุยืนยาวร่วม100ปี หลวงพ่อพัฒน์ท่านสร้างคุณงามความดีไว้ทั้งทางโลกและทางธรรม อีกทั้งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพระคาถาอาคมต่างๆที่ได้รับการถ่ายทอดและสืบทอดจากอดีตเกจิอาจารย์ดังขมังเวทย์หลายท่าน ซึ่งท่านเป็นเหลนแท้ๆของหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล โดยได้วิชาผ่านทางอดีตสุดยอดคณาจารย์ดังอย่างหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ  ด้วยเหตุนี้จึงมีการขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลของท่านหลายรุ่นหลายรูปแบบเพื่อร่วมยกย่องเกียรติคุณความดีและนำปัจจัยพึงมีพึงได้ถวายแด่ท่านนำไปใช้ในการบูรณะพัฒนาวัดและการสาธารณประโยชน์,สาธารณสงเคราะห์ต่างๆ ซึ่งทุกรุ่นล้วนเป็นที่นิยมทั้งในวงการพระเครื่องและญาติโยมศิษยานุศิษย์ทั่วไ

กมธ.ศาสนาฯสภาฯลั่น! วัดเกิดก่อน พ.ศ.2484 บนพื้นที่หวงห้าม ต้องเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ที่วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ , นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ และคณะ  ได้เข้าร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ผอ.สำนักงานที่ดินจังหวัด ผอ.สำนักพุทธจังหวัด ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด นายอำเภอเมืองสกลนคร หน่วยงานท้องถิ่นและส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมหารือการร้องเรียนจาก นายนิยม เวชกามา สส.สกลนคร ที่ร้องเรียนว่า วัดศิริพัฒนาราม และวัดพระพุทธไสยาราม เป็นวัดที่สร้างมาก่อน พ.ศ.2484 หรือก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2484 นายเพชรวรรต ได้กล่าวว่าก่อนที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงที่รัฐสภาแล้ว หลังจากน

30 วัดธรรมยุตขาดเจ้าภาพทอดกฐิน! กมธ.ศาสนาสภาฯ ร่วมกับหลวงพ่อสุธรรม สุธัมโมถวาย

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ที่จังหวัดสกลนคร คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้ากราบพระราชวชิรธรรมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) จ.อุดรธานี ซึ่งประกอบด้วยนายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ , นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ และคณะ  เพื่อรับมอบเป็นประธานกฐินพร้อมด้วยปัจจัยไทยธรรม เพื่อนำไปถวายให้กับวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาส จำนวน 5 รูปขึ้นไป เพื่อให้พระสงฆ์ที่ประจำพรรษาในแต่ละวัดฝ่ายธรรมยุตที่ขาดกฐินได้กรานกฐินจำนวน 30 วัด ซึ่งถือเป็นอานิสงส์สำหรับพระสงฆ์ และเป็นอานิสงส์ใหญ่สำหรับสาธุชนที่ได้ร่วมถวายผ้ากฐินทาน  ความเป็นมาของกฐินคือ มีภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ขณะนั้นยังไม่ทันที

"สถาบันโค้ชไทย-วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร" ร่วมมือทางวิชาการขับเคลื่อนศักยภาพมนุษย์

เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โค้ชสันติ รุ่น ๔๘ สถาบันโค้ชไทย เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้ร่วมในพิธีลงนามความมือทางวิชาการระหว่างสถาบันโค้ชไทยกับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร โดยมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กล่าวต้อนรับว่า การโค้ชเป็นส่วนสำคัญมากในการในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการโค้ช เป็นวิธีการที่ดีมากในยุคปัจจุบัน  "มองว่าพระพุทธเจ้าเป็นบรมโค้ชอย่างแท้จริง จึงมีโอกาสไปเรียนการโค้ชกับสถาบันโค้ชไทยทำให้มองว่าการโค้ชเป็นเครื่องมือที่สำคัญ โค้ชคือแนวทางตะวันตกสอดรับกับพระพุทธศาสนามีกระบวนการถามเพื่อค้นพบตนเอง พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์กับความดับทุกข์ การโค้ชให้ค้นพบตนเองภายใต้คำว่า รู้ ตื่น และเบิกบาน แต่จะต้องรู้ตนเองก่อนค่อยไปรู้คนอื่น สร้างการตระหนักรู้จากภายใน จึงมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการนำไปสู่การพัฒนาผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่  ให้มี Mindset ที่เติบโต จะต้องถามตนเองทุกวั

เสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม ทอดกฐินสามัคคีทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา

เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย.๖๔ พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มจร ในฐานะผู้ดำเนินรายการ “เสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม” เปิดเผยว่า ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปางช่อง จังหวัดนครราชสีมา จัดทอดกฐินสามัคคีทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา ประจำปี ๒๕๖๔ โดยมี ดร.แม่ชีณัฐญาวรรณ เปรมสกุล ประธานมูลนิธิโพธิวรรณา และคณะ เป็นเจ้าภาพหลัก มีผู้ฟังรายงานเสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรมเข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า ๑๐๐ คน  โดยปฏิบัตตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งคัด...กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. ฟังเทศน์เรื่องอานิสงส์กฐิน โดย พระศรีธรรมภาณี,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร เวลา ๑๐.๓๐ น. เจริญพุทธมนต์ฉลององค์กฐิน เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์จำนวน ๑๕ รูป เวลา ๑๓.๓๐ น. พิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี เวลา ๑๔.๐๙. พิธีห่มผ้าพระพุทธธรรมวิจิตรศาสดา พระประธานศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม.. ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม จากอดีตสู่ปัจจุบัน มหาจุฬาอาศรมเกิดขึ้นในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ถึงปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ โดย

นายก อบจ.อุดรฯ"งง! วัดถูกล้อมลวดหนามเข้าไม่ได้ กมธ.ศาสนาฯสภาฯรุดเคลียร์

  วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ที่ที่พักสงฆ์ดินดำ (ธ) ต.บ้านโคก จ.อุดรธานี นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร , นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ , นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาฯ , นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ , นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ , นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยหน่วยงานราชการโดย เจ้าคณะอำเภอสร้างคอม (ธ) นายอำเภอสร้างคอม กรมศิลปากร พร้อมหน่วยงานราชการ ทั้งนี้ผู้ร้องเรียนโดยหม่อมหลวง กร กมลาศน์ และ นายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ได้เข้าร่วมประชุมด้วย นายเพชรวรรต กล่าวว่า วัดถือเป็นศาสนสมบัติที่ประชาชนทั่วโลกให้การเคารพกราบไหว้ ถือเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลก กฎหมายของประเทศไทยจึงได้บัญญัติให้คุ้มครองศาสนสถานไว้ หากพิสูจน์ได้ว่าวัดมีก่อนกฎหมายที่ดินก็จะเป็นนหลักฐานว่ามีวัดของประชาชนปักหลักในสถานที่แห่งนั้น ทั้งนี้ตัวแทนกรมศิลปากรกล่าวว่า จากได้ลงพื้นที่เมื่อปี พ.ศ.2561ได้พบหลักฐานสำคัญ