วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

แชร์กดไลค์ไม่คิดเหมือนกินยาไม่อ่านฉลาก

              เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2558 ได้รับเชิญไปพูดในงานมหกรรมสัปดาห์ตลาดนัด KM โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หัวข้อ "สันติวิธีเพื่อพัฒนาชีวีสู่สันติสุข....ในมุมมองของสื่อ"

              เริ่มจากการให้ความหมายของคำว่า "สันติ" คือความว่าง โดยว่างจากความขัดแย้งทั้งภายในและนอก เมื่อเกิดความขัดแย้งแล้วจะบริหารจัดการความขัดแย้งอย่างไร

              คำว่า "KM" คือการบริหารความรู้ การทำหน้าที่สื่อและผู้ให้บริการด้านสุขภาพก็ต้องใช้ "KM" เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ความขัดแย้ง นำมาซึ่งสันติสุข

              หลัก "KM" ของสื่อและผู้ให้บริการด้านสุขภาพก็คงมีหลักไม่ต่างจากหลักการในพระพุทธศาสนานั้นก็คือแนวทางของการสร้างความรู้หรือปัญญา ซึ่งมี 3 ระดับคือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา

              ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะต้องมีตัวยาเพื่อนำมารักษาผู้ป่วยแล้วจะไปหาที่ไหนก็ต้องเข้าป่าหรือมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะนำมาเป็นยา ต้องไปเก็บๆมา ในชั้นนี้เรียกว่าสุตมยปัญญา หลังจากนั้นก็เอามาแยกประเภทเป็นกลุ่มๆของโรคในชั้นนี้เรียกว่าจินตามยปัญญา หลักจากนั้นก็นำตัวยาที่แยกกลุ่มได้นั้นมาสะกัดเป็นตัวเอาบรรจุเป็นแค็ปซูลเป็นต้น ในชั้นนี้เรียกว่าภาวนามยปัญญา

              หลักการบริหารการข่าวก็เช่นเดียวกัน อันดับแรกก็คือหาข่าวเป็นสุตมยปัญญา แยกประเด็นข่าวเป็นจินตามยปัญญา หลักจากนั้นก็มาเรียบเรียงให้เหมาะสมที่จะเผยแพร่ในเวลาใดจังหวัดใดเป็นภาวนามยปัญญา

              หลักการนี้ก็นำไปใช้กับผู้รับข่าวสารเมื่อรับข่าวสารมาแล้วเห็นสุตมยปัญญา ต่อไปก็ต้องวิเคราะห์ดูว่าเป็นเรื่องอะไรมีความเกี่ยวเนื่องกับอะไรเป็นจินตามยปัญญา หลังจากนั้นก็ต้องสรุปว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะแชร์หรือกดไลค์หรือไม่

              หากผู้ให้บริการด้านสุขภาพสื่อและผู้รับข่าวไม่ใช้ สูตร "KM" 3 ตัวนี้แล้ว ด่วนสรุปในชั้นของสุตมยปัญญาได้มาอย่างไรก็ไปอย่างนั้นได้ตัวยามาแล้วกินเลย ได้ข่าวมาแล้วเผยแพร่เลย และรับข่าวมาแล้วแชร์กดไลค์เลย ก็ไม่ต่างอะไรกับ "กินยาไม่อ่านฉลาก" ตายลูกเดียว

              ทุกวันนี้เราใช้สูตร "KM" 3 ตัวนี้หรือไม่ ซึ่งเป็น"สันติวิธี" หากใช้ชีวีก็จะมี"สันติสุข" แต่ไม่ใช่ก็อย่างที่ว่า "ตายลูกเดียว"

สำราญ สมพงษ์ 
นิสิตปริญญาโท
สาขาสันติศึกษา มจร 
รายงาน

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

เสนอ'สันติสุขโมเดล'ร่างรธน. แบบโดยประชาชนเพื่อประชาชน

            หลังจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้ร่างเสร็จแต่ถูกสปช.คว่ำ ส่งผลให้มีการตั้งคณะกรรมการร่างใหม่ 21 คน ได้ถูกขนานนามจากวงการสื่อว่าเป็น "21อรหันต์" แต่จะเป็นผู้ไกลจากกิเลศจริงหรือไม่นั้น ก็ดูจะห่างไกลอยู่มาก เพราะพอจะเห็นตัวกันอยู่น่าจะเป็นอระหุนหันเสียมากกว่า

            เมื่อสภาพเป็นแบบนี้ก็ยังไม่เห็นทางว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไปในขั้นตอนของประชามติ

            แนวทางการสร้างการยอมรับจากประชาชนทั่วไปนั้นก็คือจะต้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างโดยเริ่มตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน แล้วส่งตัวแทนไปร่วมในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และระดับประเทศ โดยใช้วิธีสานเสวนา

            เชื่อแน่ว่าจะได้ร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ไม่มีปัญหาในขั้นตอนของการทำประชามติ

            ความจริงแล้วการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาก็ดำเนินการลักษณะเช่นนี้เช่นเดียวกัน แต่เป็นการทำแบบสุ่มตัวอย่างเอาสถิติเข้ามาใช้จึงขาดการมีส่วนร่วม บวกกับแรงสนับสนุนไม่มี วิธีการประชาสัมพันธ์น้อยทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปและไม่เห็นความสำคัญ

            หากทำเหมือนเดิมแล้วไปประชามติ งบประมาณ 3 พันล้านบาทกว่าก็ตำน้ำพรกละลายแม่น้ำอีกครั้ง ไม่ได้เป็นการสร้างการเรียนรู้ในเนื้อหาแห่งร่างรัฐธรรมนูญว่ามีอะไรบ้างนอกจากนักกฎหมายเท่านั้น

            จึงขอเสนอแนวคิด "สันติสุขโมเดล" ร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้     

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

โผล่แล้วเจ้าของเฟซตัวจริง"Oak Panthongtae Shinawatra"


หลังจากที่ได้ติดตามเฟซบุ๊ก "Oak Panthongtae Shinawatra" ระบุเจ้าของคือ "พานทองแท้ ชินวัตร" บุตรชายของ"ทักษิณ ชินวัตร" วิพากษ์วิจารณ์ การเมือง(ฝั่งตรงกันข้าม) อย่างดุเดือดและมีการโพสต์ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2558

ล่าสุดวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2558  "พานทองแท้ ชินวัตร" ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีบุคคลที่ออกมาแสดงความเห็นถูกคุมตัวเพื่อปรับทัศนคติเป็นเวลา 7 วัน โดยระบุเพียงว่า “ไม่อยากที่จะพูดอะไร ในสภาวะเช่นนี้ ขออยู่ข้างนอกดีแล้ว ไม่อยากไปกินข้าวฟรี 7 วัน”

สาเหตุที่นักข่าวได้มีโอกาสสัมภาษณ์ก็เนื่อง  "พานทองแท้ ชินวัตร" ร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตมูลนิธิไทยคมหลังสำเร็จการศึกษาจากโครงการ ทุนการศึกษามูลนิธิไทยคม มหาวิทยาลัยชินวัตร 50 ทุน 50 ล้านบาท โดยมีบัณฑิตทุน ผู้ปกครอง ผู้บริหารมูลนิธิและมหาวิทยาลัยชินวัตร  ที่สกายปาร์ค ตึกชินวัตร ทาวเวอร์ 3  รวมถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม

ความจริงงานใหญ่โตขนาดนี้น่าจะมีการโพสต์ลงเฟซบุ๊กบ้าง แต่กลับไม่เห็น

ก็ยังนึกถึงเงิน 1 พันล้านบาทที่มีคนประกาศจะบริจาคให้กับมูลนิธิไทยคมเมื่อหลายสิบปีก่อนก็ไม่รู้ว่ามีการบริจาคกันจริงหรือยัง

..............................

(หมายเหตุ : ภาพจาก https://www.facebook.com/oakpanthongtae?fref=ts)

'บิ๊กตู่'เห็นอริยสัจ'แม้ว'เห็นอะไร


              ต้องยอมรับว่าได้หันหลังให้กับการเมืองมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ได้ถอยออกมายืนดูแบบไม่ยึดติดข้างที่สุดโต่งทั้งสองข้างคือมายืนอยู่ตรงกลางตามหลักทางสายกลาง แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องบ้างก็เพียงหน้าที่เท่าน้้น เพราะหากยืนอยู่ทางสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่งมีแต่ทางจะสร้างความขัดแย้ง เพราะประกอบกับมองดูบริวารทั้งสองข้างนั้นก็มีญาติเราอยู่ หากเรามายืนอยู่ข้างหนึ่งแล้วอีกข้างหนึ่งหละ หากจะบอกว่าเราไม่มีจุดยืน เพราะก็ตอบว่าเรามีแต่ไม่จำเป็นต้องบอกใครให้รู้ก็ได้ เพราะการบอกไม่มีประโยชน์อันใด

              ช่วงที่หันหลังให้กับการเมืองนี้ ได้มีโอกาสเข้าวัดฟังธรรมมากขึ้นได้เข้าใจหลักธรรมมากขึ้น สิ่งที่เรียนมาเมื่อยี่สิบปีก่อนแบบท่องจำมาบัดนี้เข้าใจในระดับหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักอริยสัจ

              และเพราะอริยสัจนี้แหละเมื่อไม่กี่วันมานี้พล.อ.ประยุทธ์ จันท์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเมื่อวันที่ ๙  ก.ย.๒๕๕๘ ความว่า "ทุกภาคส่วนที่ต้องวิเคราะห์และเข้าถึงปัญหาถ้าเรายึดแบบของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องของอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ มรรค ว่าทุกวันนี้มันเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร และต้องหาหนทางแก้ปัญหา ปัญหาทุกอย่างก็จะหมดสิ้นไป ระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องและสนับสนุนรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล"

              ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนที่อ่านเพียงเท่านี้ได้ดวงตาเห็นธรรมบ้างหรือไม่ แต่นี้คือหัวใจของพระพุทธศาสนาที่อุปติสสมานพสามารถขยายความจากที่พระอัสสชิกล่าวแสดงธรรมให้ฟังเพียงว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ" และสามารถขยายความได้เป็นกระบวนการตามหลักปฏิจจสมุปบาทก็ได้

              แต่ทีนี้ลองมาดูซิว่า ปฏิจจสมุปบาท หรือ อริยสัจ การเมืองไทยทุกข์นี้เป็อย่างไร พิจารณาให้ครบวงจรก็ยังเป็นวงจรอุบาทว์อยู่เหมือนเดิม แก้สมุทัยซิการปรองดอกถึงจะเกิด

              และก่อนหน้านี้ก็มีคืที่ถูกถอดยศออกมาพูดว่าตัวเองไม่ยึดติด ก็คงจะจริงเพราะเห็นลอยไปลอยมาอยู่ ก็ทำให้นึกถึงผู้ที่บรรลุธรรมไม่ยึดติดในกิเลสแล้วท่านจะไม่โอ้อวดว่าท่านได้บรรลุุธรรมไม่ยึดติดกับอะไร เพราะหากโอ้อวดก็เท่ากับไม่บรรลุจริง ถ้าเป็นธรรมก็เข้าข่ายต้องอาบัติปาราชิก นี้ผมได้ยินได้ฟังมาแบบนี้ ถูกผิดอย่างไรวิญญูชนพิจารณาเอาเองเถิด

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นศ.ม.เนชั่นเจ๋ง!ผลิตรายการสารคดีเชิงพุทธ


นศ.ม.เนชั่นเจ๋ง!ผลิตรายการสารคดีเชิงพุทธ ออกอากาศทางเนชั่นยูทีวี : สำราญ สมพงษ์รายงาน
              สื่อในเครือเนชั่นทั้งเดอะเนชั่น กรุงเทพธุรกิจ คมชัดลึก และเนชั่นทีวี มีภารกิจทั่วไปคือผลิตเนื้อหาประเภทต่างๆออกเผยแพร่แล้ว ยังมีภารกิจอีกประการหนึ่งคือผลิตบัณฑิตด้านนิเทศศาสตร์แขนงต่างๆ จากนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีการเรียนการสอนลักษณะปฏิบัติจริง

              เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายสุทธิชัย หยุ่น  ประธานเครือเนชั่นได้เป็นประธานการประชุมกองบรรณาธิการสื่อทีวีในเครือ รวมถึงคมชัดลึกทีวีที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการต้นปีหน้าช่วงรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันสื่อด้านนี้

              หลังจากกองบก.ทีวีต่างๆได้นำเสนอแผนงานและผังรายการเสร็จแล้ว นายสุทธิชัยได้เปิดโอกาสให้กองบก.เนชั่นยูทีวีที่บริหารจัดการโดยนักศึกษาม.เนชั่นนำเสนอด้วย ผู้ที่รับหน้าที่คือนายธัญพิสิษฐ์ เลิศบํารุงชัย นักศึกษาปี 2

              สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ผังรายการสารคดีตามรอยพระพุทธเจ้าที่จะออกอากาศทางเนชั่นยูทีวีทุกวันพฤหัสบดี ทั้งนี้นายธัญพิสิษฐ์ ได้ให้เหตุผลว่า ได้เป็นผู้เสนอรายการดังกล่าวเองต่อทีมกองบก.เนชั่นยูทีวี เพราะโดยส่วนตัวนั้นมีความสนใจด้านพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายาน ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วยไม่มีใครคัดค้าน  ทั้งนี้เพราะเห็นว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครูเป็นวันแห่งปัญญาลักษณะของรายการน่าจะออกมาลักษณ์เช่นนี้

              "ประกอบกับได้เห็นคลิปรายการตามรอยพระพุทธเจ้ามีเทคนิคการถ่ายทำที่น่าสนใจจึงอยากทำบ้าง ตอนนี้ทำไป 2 ตอนแล้วคือวัดปทุมวนารามและดอยสุเทพ ซึ่งมีความยาว  18 นาที ตอนนี้กำลังออกอากาศอยู่ ซึ่งก็คิดว่าจะทำไปเรื่อยจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง" นายธัญพิสิษฐ์ กล่าว

              หลังจากทีมกองบก.เนชั่นทีวีได้เสนอแผนงานเรียบร้อยแล้ว นายสุทธิชัยได้กล่าวว่า ต้องขอชมเชยทีมกองบก.เนชั่นทีวีที่มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่นไม่มีโอกาสเช่นนี้ที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อที่จะพัฒนาตัวเองเป็นนักสื่อสารมวลชนมืออาชีพต่อไป

              นับได้ว่านักศึกษาม.เนชั่นทีมกองบก.เนชั่นทีวีเป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาตัวเอง เมื่อมีโอกาสที่จะได้ทำสิ่งที่ดีๆที่ตัวเองสนใจและเป็นว่ามีประโยชน์เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชนได้ทราบก็ไม่ทิ้งโอกาสนั้น

..................................
(หมายเหตุ : ภาพจากเฟซบุ๊ค tanpisitlive ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20121111/144447/%E0%B8%99%E0%B8%A8.%E0%B8%A1.%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8B%E0%B8%87!%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98.html)

พระเทพโพธิวิเทศแนะนักเผยแผ่ที่ดีอย่าใช้ปัญญาสร้างตัณหา


วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ น. ที่โรงแรมโซพิเทล อังกอร์ โภคีธรา กอล์ฟ @ สปา รีสอร์ท จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา พระเดชพระคุณ พระเทพโพธิวิเทศ (วีระยุทฺโธ) ผู้อำนวยการหลักสูตร สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ปาฐกถาในงานเสวนา พุทธพลิกสุวรรณภูมิ : สามัคคีธรรม แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ปฏิเวธธรรม นำสุวรรณภูมิเรืองรอง โดยมีพระธรรมทูตจาก ๕ ประเทศ ไทย พม่า เวียดนาม กัมพูชา และลาว เข้าร่วมงานเสวนา จัดโดย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย มูลนิธิวีระภุชงค์ ความว่า

การเห็นธรรม คือ การเห็นทุกอย่างเป็นธรรม เห็นทุกอย่างเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเห็นทุกอย่างเพื่อนำไปสู่ปัญญา เมื่อมีปัญญาแล้ว ก็นำปัญญานี้กลับมารับใช้พระศาสดา ผู้ก่อตั้งพระศาสนา การประชุมร่วมมือกันครั้งนี้ ๑.ต้องจับหลักคิดจากสิ่งที่ได้ ( จินตามยปัญญา) ๒.ต้องจับหลักของการศึกษาเป็นสำคัญ (สุตมยปัญญา) ๓.นำสิ่งที่ได้ออันเป็นปัญญาเพี่อไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อไป (ภาวนามยปัญญา)

นักเผยแผ่ที่ดี ต้องมีความสามารถในการใช้ความรู้ ต้องนำปัญญาไปดับปัญหา มิใช่นำปัญญาไปสร้างตัณหา นำความรู้ที่มีไปเอาเปรียบสังคม ถ้าพระธรรมทูตทำได้เช่นนี้ ความสุข สงบ สามัคคี ก็จะพึงมีในแดนสุวรรณภูมิ ในโลกนี้ได้อย่างหน้าภูมิ

ว่าที่ดร.'กบ'ปภัสราซุ่มเรียนป.เอก'มจร'

 

 ว่าที่ดอกเตอร์'กบ'ปภัสรา พักงานแสดงซุ่มเรียนป.เอก'มจร' : สำราญ สมพงษ์รายงาน

              ห่างหายจากหน้าจอทีวีไปนาน สำหรับ "กบ"ปภัสรา เตชะไพบูลย์ หรือ "ปภัสรา ชุตานุพงษ์" อดีตตำแหน่งมิสไทยแลนด์เวิลด์ปี 2531 ดารา นักแสดง พิธีกรชื่อดัง ทั้งนี้เพื่อมีเวลาให้กับลูกสาว "น้องเหนือ เตชะไพบูลย์" ตามคำสั่งสามี "พรเทพ เตชะไพบูลย์" อดีตรมช.อุตสาหกรรม เครือญาติ "วิรุฬ เตชะไพบูลย์" อดีตรมช.คลัง ที่หลุดจากตำแหน่งทั้งๆที่ยังผลักดันตั้งธนาคารพระพุทธศาสนาไม่สำเร็จจนทำ ให้พระฮึ่มจี้รัฐบาลเร่งคลอด
              ทั้งนี้เพราะในช่วงที่ผ่านมาเธอได้ใช้เวลาว่างวางพื้นฐานครอบครัวทั้งตัวเธอ เอง สามี และลูกสาว ด้วยการทำบุญตักบาตรและสวดมนต์ไหว้พระก่อนเข้านอน  สร้างกุฏิปฏิบัติธรรมไว้ที่วัดมัชฌิมาวาส จ.กาฬสินธุ์ วัดดอนธาตุ อุบลราชธานี และที่อาศรมอิสรชน อ.เชียงของ จ.เชียงราย สร้างกุฏิเพื่อให้ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดดอนธาตุ เป็นวัดของพระเกจิ หลวงปู่เสาร์ ที่ลูกชายคนโตของสามีกับภรรยาคนเก่าเคยไปบวช
              พร้อมกันนี้เธอยังได้สนใจในการปฏิบัติธรรมทุกปีๆละ 3 วันที่วัดมัชฌิมาวาส  และบริจาคร่างกายเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ เตือนสติให้พระที่บวชใหม่ได้ปลงสังขารที่วัดแห่งนี้ ทั้งด้วยการแนะนำของพระมหาวุฒิชัย วิชรเมธี (ว.วิชรเมธี)
              เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมาได้เห็นภาพเธออีกครั้งในโอกาสที่เดินทางไปถวายภัตตาหารเพลแก่ พระผู้บริหาร อาจารย์ พระนิสิตนักศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) รวมถึงได้เลี้ยงเจ้าหน้าที่ของ มจร ด้วย ตามที่พระนิสิตประเทศลาวโพสต์ในเฟซบุ๊กนาม "กรุงศรีสัตนาคนหุต ลาวล้านช้าง ลาว"
              และต่อมาเมื่อวันที่ 6 พ.ย.ได้เห็นภาพเธออีกครั้งผ่านทางเฟซบุ๊กอาจาย์สมชัย ศรีนอก หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มจร ในนาม "ช.ศรีนอก" เครื่อญาติศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ "คำสิงห์ ศรีนอก" ในโอกาสร่วมคณะของ มจร นำโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) และพระธรรมโกศาจารย์ มส. และอธิการบดี มจร  เดินทางไปพิธีถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิปัสสนากรรมฐาน แด่พระภัททันตชฎิละ ประธานพระวิปัสสนาจารย์ ศูนย์วิปัสสนามหาสี ณ สหภาพเมียนม่าร์ ระหว่างวันที่ 3-5 พ.ย.
              ภาพที่เธอถ่ายคู่กับอาจาย์ช.ศรีนอกตามสถานที่โบราณสถานประเทศพม่านั้นเข้าใจ ว่าเป็นการถ่ายทำรายงานลักษณ์ท่องไปในแดนธรรมเพื่อนำไปออกกาศทางทีวีดาว เทียม(ไทยคม) ของ มจร ที่กำลังทดลองออกกาศอยู่ขณะนี้ โอกาสนี้อาจายย์ช.ศรีนอกได้แต่งกลอนประกอบรูปภาพความว่า "ถ้ำทำสังคายนาครั้งที่หก ต่างรีบยกมือไหว้ถวายสงฆ์ กบปภัสรา ชุตานุพงศ์ เธอยังคงสวยสล้างห่างนิวรณ์"
              โอกาสนี้เองทำให้ได้ทราบข้อมูลว่าเธอกำลังเรียนระดับปริญญาเอกที่ มจร โดยได้จบภาคการเรียนการสอนแล้วเหลือเพียงการทำวิทยานิพนธ์เท่านั้นคงต้อง ติดตามว่าเธอจะทำเรื่องอะไร
              หากได้ศึกษาประวัติของเธอแล้วคงไม่แปลกใจที่เธอสนใจแสวงหาความรู้เพิ่มเติม หลังจากที่เรียนจบริญญาโทโครงการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ สำหรับนักบริหาร ปี 2548 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง  และในปีต่อมาเธอจบหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชนที่สถาบันพระปก เกล้า เคยเป็นที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ กิจการเด็กเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ และเป็นที่ปรึกษา รมต.ช่วยพาณิชย์ จนทำให้มีคนคิดว่าเธอวางฐานที่จะเป็นนักการเมืองต่อไปหรือไม่
              ชีวิตของ"กบ"ปภัสรา เตชะไพบูลย์ หรือ "ปภัสรา ชุตานุพงษ์" ที่ใฝ่ปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรมเช่นนี้ นับเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชม  หากดารานักแสดง นักการเมือง หรือประชาชนทั่วไปจะเลียบแบบเธอสามารถทำได้เพราะไม่มีใครแก่เกินเรียน เพราะขณะนี้บัณฑิตวิทยา มจร กำลังที่จะเปิดรับสมัครระดับปริญญาโท-เอก ด้านพระพุทธศาสนาหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรสันติศึกษาที่จะเปิดรับสมัครเดือนมกราคมปีหน้านี้ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ มจร (http://www.mcu.ac.th)
.......................
(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20121108/144263/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9B.%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3.html)

มะกัน1ใน5ไม่มีศาสนาตัวชี้วัดเลือกปธน.

ตะลึง!มะกัน1ใน5ไม่มีศาสนา ตัวชี้วัดเลือกประธานาธิบดี : สำราญ สมพงษ์รายงาน

            ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดีเบตรณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่จะ มีขึ้นกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ศาสนาก็เป็นตัวชีวัดหนึ่งที่จะรู้ว่าผู้สมัครคนใดจะได้รับการเลือกตั้งระ หว่างพรรคเเดโมแครตและรีพับลิกัน

              จากผลการสำรวจล่าสุดพบว่าชาวอเมริกัน 1 ใน 5 ไม่มีศาสนาโดยไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง ทั้งนี้จากข้อมูลจากสำนักข่าว CNN นามว่า Dan Merica ได้รายงานเมื่อวันที่  9 ตุลาคมที่ผ่านมาหัวข้อว่า "Survey: One in five Americans has no religion"  โดย ดร. นเรศ สุรสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยราชพฤกษ์ได้ถอดใจความว่า


ผลการสำรวจ: ชาวอเมริกันหนึ่งในห้าไม่มีศาสนา

               จากการสำรวจของ Pew แสดงให้เห็นว่าคนอเมริกันหนึ่งในห้าไม่ได้นับถือศาสนาใดๆ จากการสำรวจเรื่อง ศาสนาและชีวิตประชาชน ซึ่งถูกนำมาเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมาโดย Pew Forum พบว่า คนอเมริกันที่ไม่นับถือศาสนามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 25% ในห้าปีที่ผ่านมา การสำรวจยังพบด้วยว่ากลุ่มที่ไม่นับถือศาสนาที่กำลังเพิ่มมากขึ้นนี้เป็นพวก วัยรุ่นอเมริกัน ปัจจุบันนี้ชาวอเมริกันกว่า 33 ล้านคนที่ไม่มีศาสนา (ไม่มีความผูกพันกับศาสนา) ในกลุ่มคนเหล่านั้นมี 13 ล้านคนเป็นพวกไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือเป็นพวกที่เชื่อว่าไม่สามารถ พิสูจน์ได้ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า

              นอกจากนี้ Pew ยังพบอีกว่าคนอเมริกันที่ไม่เกี่ยวข้องศาสนาเหล่านี้จะเข้าร่วมกิจกรรมทาง ศาสนาน้อยกว่าคนทั่วไป โดยพวกเขาจะเข้าโบสถ์ไม่บ่อยหรือไม่เคยเข้าเลย พวกเขากล่าวว่าศาสนาไม่มีความสำคัญกับชีวิต Pew พบว่า 68% ของพวกไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่างก็พูดว่าพวกเขาเชื่อในพระเจ้า ในขณะที่ 37% อธิบายตัวเองว่าเป็นพวกเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ แต่ไม่ได้เชื่อในศาสนา และหนึ่งในห้าบอกว่าพวกเขาสวดมนต์ทุกวันด้วย

              John Green ที่ปรึกษาวิจัยอาวุโสของ Pew ได้แยกกลุ่มคนที่ไม่นับถือศาสนาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1: คือคนที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบไม่เคยสัมผัสกับกิจกรรมทางศาสนาโดยสิ้นเชิง

กลุ่มที่ 2: คือพวกที่ไม่มีความสุขในศาสนาเลยหันหลังให้ศาสนา

กลุ่มที่ 3: คือชาวอเมริกันที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนามาตั้งแต่ต้นแม้จะถูกเลี้ยงดูมาจากครอบครัวที่มีศาสนาก็ตาม

              “ในอดีต เราอาจอธิบายคนเหล่านี้ว่านับถือศาสนาแต่ในนาม พวกเขาอาจพูดว่า ‘ฉันเป็นแคทอริก; ฉันเป็นโปรแตสแตนท์’ แต่พวกเขาไม่เคยไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาเลย"  Green กล่าวถึงคนกลุ่มสุดท้ายว่า “ปัจจุบันนี้ พวกเขากล้าพูดได้เต็มปากว่า ‘คุณรู้ไหม ฉันไม่นับถืออะไรเลย”

              จากการสำรวจพบว่า 88% ของคนที่ไม่นับถือศาสนา เป็นพวกที่ไม่ได้แสวงหาศาสนาใหม่แต่อย่างใด  Green กล่าวว่า “การไม่นับถือศาสนาทำให้มีมลทินติดตัวน้อยลง” “ปัจจัยที่เติมเต็มที่ทำให้จำนวนคนไม่นับถือศาสนาเพิ่มมากขึ้นคือ คนจำนวนมากที่ไม่เคยเคร่งในศาสนาต่างรู้สึกผ่อนคลายที่จะพูดว่าพวกเขาไม่มี ศาสนา

              จากสถิติของประชากร จำนวนคืนที่ไม่นับถือศาสนาที่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดคือประชากรที่มีอายุ ระหว่าง 18-29 ปี  จากการสำรวจพบว่า 34% ของคนหนุ่มสาวที่เกิดระหว่างปี 1990 และ 1994 ไม่นับถือศาสนา ส่วนคนมีอายุซึ่งเกิดระหว่างปี 1981 และ 1989 กว่า 30% ไม่มีศาสนา ซึ่งคิดเป็น 4 % สูงกว่าปี 2007

              ผู้ตอบแบบสอบถามอายุระหว่าง 18-29 ระบุว่าพวกเขาเป็นคนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ก็เป็นพวกที่ เชื่อว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า เกือบ 42% เป็นคนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนาจากกลุ่มอายุที่อธิบายก่อนหน้านี้ ที่ระบุว่าพวกเขาเป็นคนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือเป็นพวกที่เชื่อ ว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า ซึ่งเป็นจำนวนที่มีมากกว่าพวกประกาศตนว่านับถือศาสนาคริสต์ (18%) และแคทอริก (18%)

              Green กล่าวว่า คนกลุ่มนี้เป็น “สัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่กว้างขึ้นในสังคมอเมริกัน” เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่า “คนที่ไม่มีศาสนานับวันจะมีจำนวนมากยิ่งขึ้น”

              ตัวเลขของ Pew แน่นอนว่าทำให้ Jesse Galef ประธานกลุ่มคนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงและไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา หน้าบาน โดย Jesse Galef พูดว่าการเพิ่มจำนวนขึ้นของคนที่ไม่นับถือศาสนา สามารถแปลงไปเป็นพลังการเป็นตัวแทนด้านการเมืองที่ใหญ่โตขึ้นเพื่อผล ประโยชน์ของกลุ่มที่ไม่นับถือศาสนาได้

              Galef กล่าวว่า “พวกเรารักที่จะเห็นผู้นำทางการเมืองพูดถึงเรื่องนี้ แต่พวกเราต้องต่อสู้กับพวกการเมืองอย่างจริงจังโดยใช้ตัวเลขด้านประชากร ศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ลงคะแนน” “เพราะผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงจำนวนมากที่ไม่นับถือศาสนาและประกาศชัดเจนว่า พวกเขาเป็นคนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือเป็นพวกที่เชื่อว่าไม่ สามารถพิสูจน์ได้ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า ผมคิดว่านักการเมืองจะต้องทำตามข้อเรียกร้องของเราเพื่อคะแนนเสียงของตน”

              Galef พูดว่า “ พวกเราจะไม่ถูกขับไล่และละเลยอีกต่อไป”

              การสำรวจของ Pew ได้เสนอแนะว่า พรรค Democrat จะทำได้ดีกับการให้การยอมรับการเพิ่มจำนวนขึ้นของคนไม่นับถือศาสนา เพราะ 63% ของพวกเขาประกาศตัวว่าสนับสนุนพรรค Democrat มีเพียง 26% ของคนที่ไม่นับถือศาสนาเท่านั้นที่สนับสนุนพรรค Republican

              Green ทำนายว่า "ในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าไม่ใช่ปีนี้ กลุ่มผู้ที่ไม่นับถือศาสนาที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงจะมีบทบาทสำคัญไม่ต่างไป กว่าพวกที่นับถือศาสนาที่ให้การสนับสนุนพรรค Republican

              Green ได้ชี้ให้เห็นว่า ผลของ exit polls ในปี 2008 เป็นหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับการทำนาย เพราะในปีนั้น John McCain ผู้สมัครประธานาธิบดีพรรค Republican พ่ายแพ้ประธานาธิบดี Barack Obama โดยได้ 47 คะแนน จากผู้ลงคะแนนจากศาสนิกชนของศาสนาคริสต์อีแวนเจลิค (ซึ่งเป็นสายหนึ่งในนิกายโปรแตสแตนท์) ขณะที่ Obama ได้ 52 คะแนน จากกลุ่มคนที่ไม่นับถือศาสนา ทำให้ได้รับชัยชนะเหนือ McCain

              จากผลสำรวจ exit polls สัดส่วนของคนอเมริกันที่ไม่นับถือศาสนาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนผู้สมัคร ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีพรรค Democrat มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นถึง 14 คะแนน จากปี 2000 ถึง 2008

              จากการประกาศผลการสำรวจในการสัมมนาสมาคมนักเขียนข่าวศาสนา ณ กรุง Bethesda, Maryland, Green ได้กล่าวว่า อำนาจทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นของกลุ่มคนที่ไม่นับถือศาสนาภายในพรรค Democrat มีลักษณะคล้ายกับอำนาจของพวก Religious Right ที่ได้มาใน GOP ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เขากล่าวว่า “จำนวนคนที่ไม่นับถือศาสนาที่เพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพในการควบคุม”

.....................

(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20121014/142290/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%991%E0%B9%83%E0%B8%995%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%98%E0%B8%99..html)

'มหานิกาย'มอบป.เอก'ธรรมยุต' ย้ำภาพทำลายกำแพงนิกาย

'มหานิกาย'มอบป.เอก'ธรรมยุต' ย้ำภาพทำลายกำแพงนิกาย : สำราญ สมพงษ์รายงาน

              ภาพความร่วมมือระหว่างพระทั้งสองนิกายในประเทศไทยคือมหานิกายกับธรรมยุตไม่ ได้ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนเท่าใดนัก ทั้งๆที่มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ทราบกันก็เฉพาะในวงในเท่านั้น 

             อย่างภาพที่พระธรรมสุธี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ฝ่ายมหานิยาย พร้อมด้วยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ได้ร่วมพิธีถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺสาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16,17,18  ฝ่ายธรรมยุต และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) วิทยาเขตสิรินธร อ้อมใหญ่ จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา

             หรืออย่างเช่นกรณีประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน โดยได้พิจารณารายชื่อพระเถรานุเถระที่จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและ ตั้งสมณศักดิ์ ประจำปี 2555 ซึ่งปีนี้มีตำแหน่งชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกาย ว่างจำนวน 1 ตำแหน่ง

             ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้พิจารณาเห็นควรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระธรรมโกศา จารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และอธิการบดี มจร  ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะรูปใหม่ มีราชทินนามว่า “พระพรหมบัณฑิต” สร้างความปลาบปลื้มให้กับชาว มจร และชาวพุทธไม่น้อย           

             ข้อมูลเช่นนี้ก็ทราบอยู่เฉพาะในวงจำกัดเช่นเดียวกัน ไม่เหมือนกับกรณีพฤติกรรมของพระสงฆ์ที่ผิดพระธรรมวินัย มั่วสีกา ค้ายาเสพติด เต้นโคโยตี้เป็นต้น เมื่อมีข้อมูลทางลบเช่นนี้ถูกเผยแพร่ออกมา จะมีการเผยแพร่ต่อทางสังคมออนไลน์โดยเฉพาะทางเฟซบุ๊กอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีเสียงเรียกร้องจากพระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดี มจร ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ต้องการให้ มส.ตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบควบคุม

             ความจริงแล้วความร่วมมือของพระทั้งสองนิยายหรือแม้นแต่พระนิกายต่างๆในต่าง ประเทศ ก็มีมาอย่างต่อเนื่องดูการจัดงานวันวิสาขะโลกเป็นตัวอย่าง ทั้งการปกครองและการศึกษา มมร.ก็เคยพิจารณาพิธีถวายปริญาดุษฏีบัณฑิตแก่พระเถระฝ่ายมหานิกายเช่นเดียว กัน

             ต่อกรณีนี้ "สมหมาย  สุภาษิต" รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังมคม มจร  ชี้แจงว่า การที่ มจร ถวาย ปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ ฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะมีกิจกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกระบวนการการเสนอชื่อให้สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติไป ตามคุณสมบัติอย่างแท้จริง โดยไม่มีสี การเมืองหรือนิกายเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

             "ส่วนการการที่ มส.พิจารณาเห็นชอบให้พระธรรมโกศาจารย์เลื่อนสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จพระราชา คณะชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกายนั้น ก็เป็นพระราชาคณะที่มีคุณสมบัติเหมาะสม   1 ใน 3 รูปที่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการ มส. เสนอให้ที่ประชุม มส.พิจารณา" "สมหมาย"  ระบุ

             ภาพ มจร พิธี ถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระธรรมวราจารย์ พระเถระฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการย้ำการทุบกำแพงนิกายโดยแท้ ทั้งนี้เพราะทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งบนหลักของ "วิชชา" ไม่ยึดฝักฝ่ายหรือนิกายเป็นที่ตั้ง

             หากยังมี "อวิชชา" ความเป็นนิกาย สี หรือแม้นแต่ความเป็นศาสนาจนทำให้เห็นภาพวัดพุทธในบังคลาเทศถูกเผา ทำให้ชาวพุทธต้องรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้ยุติพฤติกรรมการทำลายล้างเพราะ ศาสนาเป็นต้นเหตุ ภาพความร่วมมือของทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็คงไม่เกิด ฝ่ายการเมืองจะเอาเป็นแบบอย่างความปรองดองก็คงจะเกิดขึ้นได้

....................
(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20121013/142229/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9B.%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html)

ปาฏิหาริย์แห่ง'แรงอธิษฐาน'ของดร.เมล กิลล์

 

 ปาฏิหาริย์แห่ง'แรงอธิษฐาน'ของ...ดร.เมล กิลล์ กูรูผู้สร้างแรงบันดาลใจ : เรื่อง/ภาพ สำราญ สมพงษ์

              มูลนิธิชีวันตารักษ์ เป็นมูลนิธิที่ก่อกำเนิดขึ้นจากการประชุมของผู้ที่สนใจในการพัฒนางานการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีทั้งนักบวช แพทย์สาขาต่างๆ พยาบาลวิชาชีพ ผู้บริหารองค์กรสาธารณสุข อาสาสมัครดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากมะเร็ง และโรคร้ายต่างๆ ปัจจุบันมีการปรับคณะกรรมการบริหารใหม่ให้ นพ.ดร.มโน เมตตานันโท เลาหวณิช เป็นประธานมูลนิธิ

              กิจกรรมล่าสุดของมูลนิธิชีวันตารักษ์ รับอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย สมัครรุ่นแรก ๘๐ ท่าน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาหาร-ของว่าง ฟรีทุกวัน ตลอดการอบรม เสาร์-อาทิตย์ ๑๐ สัปดาห์ เริ่มเสาร์-อาทิตย์ ๑๘ ส.ค.-๒๐ ต.ค.๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมชั้น ๒๙ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ถนนสีลม ทั้งนี้ ได้เชิญ ดร.เมล กิลล์ (Dr.Mel Gill) นักจิตบำบัด นักเขียนกำกับและสร้างภาพยนตร์ชื่อเดียวกันคือ The Meta Secret (สุดยอดเดอะซีเคร็ท ถูกแปลเป็นภาษาต่างมากกว่า ๕๐ ภาษา) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคคล เป็นที่ปรึกษาขอผู้บรรยาย ฝึกสอนเจ้าของธุรกิจหลายคนทั่วโลก จนถึงได้รับการขนานนามว่า "นักพูดพันล้าน กูรูผู้สร้าง แรงบันดาลใจ
 
              สิ่งที่ ดร.เมล กิลล์ ยืนยันกับผู้เข้าอบรมคือว่า ปาฏิหาริย์แห่ง "แรงจิตอธิษฐาน" สามารถช่วยให้คนป่วยหายป่วยจริง จากที่นักจิตอาสาตั้งคำถามโดยยกตัวอย่างประสบการณ์ส่วนตัวที่แม่ป่วยเป็น อัมพฤกษ์ โดยได้ตั้งจิตอธิษฐานให้แม่หายป่วย ปรากฏว่า ๒ วันต่อมาแม่ก็หายเป็นปกติ โดยได้ยกตัวอย่าง "แรงอธิษฐาน" จากการทดลองของนักจิตบำบัดต่างประเทศ ซึ่งนำคนมาทดลองโดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มให้อยู่ในห้องกระจกที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นคนทดลองได้ แต่คนที่อยู่ในห้องมองไม่เห็นคนข้างนอก โดยกลุ่มที่ ๑ ทดลองให้มีบุคคลมาส่งกระแสจิตส่งความรักความเมตตาให้ กลุ่มที่ ๒ มีบุคคลด่าว่าสาปแช่ง และกลุ่มที่ ๓ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ๗ วันผ่านไปได้นำเลือดไปตรวจ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ ๑ มีเกล็ดเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น กลุ่มที่ ๒ ลดลง ขณะที่กลุ่มที่ ๓ ไม่มีผลการเปลี่ยนแปลงอะไร
 
              พร้อมกันนี้ ดร.เมล กิลล์ ได้ยกตัวอย่างคำสอนของพระลามะขึ้นมาประกอบว่า จงบอกให้คนทำในสิ่งที่มีความสุขเพียงวันละ ๑ เรื่องก็เพียงพอแล้ว และสิ่งที่อาสาสมัครจะทำได้ก็คือช่วยบอกคนอื่นให้มีความสุข แต่การบอกคนที่กำลังจะตายนั้นยากมาก เพราะว่าคนใกล้จะตายนั้นจะมีความโกรธว่า "ทำไมเขาจะต้องตาย" และคนรวยจะบอกยากมากเพราะว่าจะมัวกังวลอยู่กับทรัพย์สมบัติ ส่วนคนจนจะคิดว่าดีแล้วจะได้หมดปัญหา
 
              ดังนั้นหน้าที่ของอาสาสมัครคือไม่ต้องรับในสิ่งที่ผู้ป่วยระบายอะไรออกมา เพราะว่าหากเรารับก็เป็นทุกข์ จงให้คำแนะนำให้เขาหายความกังวลให้เข้าใจในชีวิต โดยมีเทคนิคคือให้เขาจัดลำดับภาพของเขาในอดีต ปัจจุบันและอนาคตให้เป็นระเบียบ เพราะว่าคนทั่วไปจะมองภาพทั้ง ๓ กาลนั้นสับสนกัน และแนะนำให้เขาละทิ้งความกังวลโดยด้วยการฝึกยกลูกโป่ง ๒ ข้างสลับกันไป ก็จะทำให้เขาหายความกังวลมีจิตสงบ และมองเห็นภาพของความดีในชีวิตได้
 
              พร้อมกันนี้ ดร.เมล กิลล์ ได้เล่าถึงชีวิตที่ได้พลิกชีวิตจากวัยรุ่นอายุเพียง ๑๘ ปี ที่ประสบอุบัติเหตุตกเขาที่ประเทศมาเลเซียเมื่อ ๔๐ ปีก่อน และติดเชื้ออย่างรุนแรงจนต้องตัดแขนซ้ายทิ้ง เพื่อเยียวยาฉุดยื้อชีวิต สุดท้ายระหว่างผ่าตัดแพทย์ลงความเห็นว่า “เขาเสียชีวิตไปแล้ว!” ประมาณ ๑๙ นาที ในค่ำคืนอันมืดมิดของวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๑๙๗๖ และแล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น เมื่อแพทย์สามารถช่วยชีวิตเขากลับมาให้หายใจอีกครั้ง สิ่งหนึ่งที่เขาล่วงรู้จากมิติหลังความตาย  กลายมาเป็น “ของขวัญล้ำค่าแห่งชีวิต” ที่ทำให้เขาเปลี่ยนวิธีคิดและการใช้ชีวิตไปตลอดกาล จากการรอดตายในครั้งนั้นทำให้เขารู้ถึง “ชีวิตหลังความตาย”
 
              ดร.เมล กิลล์ ได้บอกถึงประสบการณ์มิติหลังความตายให้จิตอาสาที่เข้าอบรมว่า มันเหมือนเป็น "อีกโลกหนึ่ง" ไม่มีเวลา ไม่มีพรมแดน เขาเห็นตัวเองลอยไปปลายอุโมงค์สีขาวพร่าพราย รู้สึกถึงสันติสุขอันยิ่งใหญ่ มีร่างเรืองแสงพาเขาไปเที่ยวชมสถานที่ที่มี ความวิจิตรเหมือนสรวงสวรรค์ ที่มีภาพบันทึกเหตุการณ์ในอดีตเหมือนกับตอนที่มีชีวิตจริง ซึ่งไม่ได้สื่อสารกันด้วยการพูดแม้แต่น้อย แต่ก็เข้าใจกันอย่างลึกซึ้งราวกับเป็นร่างเดียวกัน และเข้าใจความจิตของคนที่เกี่ยวข้องว่าเขาคิดอะไรในช่วงนั้น หลังจากนั้นก็มีผู้พามาสู่ร่างเดิม
 
              ทั้งนี้ ดร.เมล กิลล์ พูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า "ผมไม่ได้นับถือศาสนาใด ผมมีความเชื่อว่าเราทุกคนเป็นพี่น้องเผ่าพันธุ์เดียวกัน ผมมั่นใจว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่พุทธ พระองค์ ไม่ได้ให้ใครมานับถือตัวตน แต่ให้นับถือสิ่งที่ตรัสรู้หรือแนวทางปฏิบัติ พระองค์ไม่ได้สนใจว่าเป็นพุทธหรือไม่ แต่หากใครพูดถึงบิดาแห่งจิตวิทยา ผมขอยกย่องพระพุทธเจ้าเป็นอันดับหนึ่งของโลก อย่าสนใจชีวิตของคนอื่นที่ตายไปแล้วว่าไปไหน จงสนใจว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตของเราเป็นสุข ณ ปัจจุบันก็เพียงพอแล้ว"

การอธิษฐานจิต
              นพ.ดร.มโน บอกว่า การอธิษฐานจิตนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง และมีพุทธภาษิตรับรองไว้มากมาย แม้การอธิษฐานก็ได้จัดไว้ว่าเป็นหนึ่งในบารมีประเภทหนึ่งที่พระโพธิสัตว์จำ เป็นต้องสะสมให้เต็มเปี่ยม เพื่อให้เข้าถึงอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

              ข้อควรคำนึงในการอธิษฐานคือ การอธิษฐานนั้นไม่ใช่การสวดอ้อนวอนเพื่อขอต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ให้ตนได้บรรลุผลในสิ่งที่ตนเองปรารถนา แต่เป็นการตั้งใจที่จะให้ความดีที่ตนสะสมมาจากการบำเพ็ญเพียรทางจิต หรือการสร้างคุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ส่งผลในสิ่งที่ตนเองได้ใช้ปัญญาพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมและควรที่จะได้ เข้าถึง เป็นต้นว่า อธิษฐานให้ตนเองก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม มีเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตรผู้เป็นบัณฑิต ขอให้ตนกระทำมงคลต่างๆ ให้สมบูรณ์ ฯลฯ

              ผู้ที่อธิษฐานจิตจำเป็นต้องมีปัญญาเข้าใจในเงื่อนไขของความเป็นจริงของโลก ตามเหตุปัจจัยว่าสิ่งใดที่อยู่ในวิสัยที่จะเป็นไปได้และสิ่งใดที่เป็นไปไม่ ได้ และไม่ใช่อธิษฐานขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นการวางแผนที่จะให้โครงการอันเป็นเป้าหมายของชีวิตของตนนั้นได้บรรลุ ผลตามที่ต้องการด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ

              การอธิษฐานประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.ปัญญา คือ ความเข้าใจในเหตุปัจจัยต่างๆ ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดอะไร และอะไร สิ่งใดที่สามารถกระทำได้หรือไม่ได้ ๒.สัจจะ คือ ความจริงใจที่ตนเองประสงค์ที่จะเข้าถึงหรือทำให้สิ่งที่ตนปรารถนาอย่าง แรงกล้านั้นเป็นจริง ๓.จาคะ คือ ความเสียสละสิ่งที่เป็นข้าศึกศัตรูต่อเป้าหมายที่ตนเองปรารถนานั้น และ ๔.อุปสมะ คือ ความสงบของจิต

              "การอธิษฐานจิตจึงไม่ใช่สิ่งที่เหลวไหลหรืองมงายแต่เป็นการปฏิบัติที่อยู่ใน ครรลองของคำสอนของพระพุทธเจ้า และสามารถนำมาให้ผู้ป่วย ญาติหรือผู้ที่ดูแลไข้ได้ปฏิบัติ และอาจนำมาปฏิบัติคนเดียวตามลำพังหรือปฏิบัติเป็นหมู่คณะก็ได้และยังเป็นการ สร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในหมู่ญาติและครอบครัวของผู้ป่วยได้เป็น อย่างมาก  นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยได้อย่างดีอีกด้วย" นพ.ดร.มโน กล่าว
...............

(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20120925/140818/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C.html)

อัฟกันให้จีนทำเหมืองแร่ใกล้พุทธรูป

สลด!อัฟกันให้จีนทำเหมืองแร่ใกล้พุทธรูปองค์ใหญ่ : สำราญ สมพงษ์ รายงาน 

 

             สร้างความสะเทือนขวัญให้กับชาวพุทธทั่วโลกมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน เมื่อทหารตาลีบันได้ระเบิดพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกและอายุนานที่สุดที่ ประเทศอัฟกานิสถาน  ใกล้กับสถานที่ค้นพบธรรมเจดีย์อายุ 2 พันปี ที่จัดแสดงที่พุทธมณฑลอยู่ขณะนี้

             หลังจากนั้นก็ได้มีกระแสผลักดันให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุที่ เป็นสมบัติของโลกไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ไม่ว่าโบราณสถานและโบราณวัตถุจะเป็นของชาติศาสนาใด

             บริเวณดังกล่าวนั้นมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าพุทธศาสนามากมาย แต่ล่าสุดทางการอัฟกานิสถานได้อนุมัติให้บริษัทเหมืองประเทศจีน ทำเหมืองขุดแร่บริเวณพื้นที่ประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา โดยให้เวลา 3 ปี ในการขนย้าย และที่ผ่านมาก็มีข่าวถูกโจรลักลอบนำไปขายอยู่บ่อยครั้ง

             จากสาเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของรายงานของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้เขียน รายงานเรื่อง "อนุรักษ์หรือทำลาย..." เผยแพร่ดังเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา(http://edition.cnn.com/2012/09/22/opinion/afghanistan-buddha-site-mine/index.html?hpt=hp_c1) แม้นว่าจะมีกลุ่มเฟซบุ๊กได้รวมกลุ่มนามว่า "Mes Aynak awareness working group" รวมกันต่อต้านถึงการอนุบัติดังกล่าว แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีพลังเท่าใดหนัก

...................

(หมาย เหตุ : สลด!อัฟกันให้จีนทำเหมืองแร่ใกล้พุทธรูปองค์ใหญ่ : สำราญ สมพงษ์ รายงาน ขอบคุณภาพจากhttp://www.change.org  และเฟซบุ๊ก The Buddhas of Aynak ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20120923/140706/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B.html)

พบ‘อริยสัจ’!งานเปิดตัวหนังสือ‘อู่ทอง’

พบ‘อริยสัจ’!งานเปิดตัวหนังสือ‘อู่ทอง’

พบ‘อริยสัจ’!งานเปิดตัวหนังสือ‘อู่ทอง’ ย้อนรอยลูกปัดและพระพุทธแรกเริ่ม : สำราญ สมพงษ์รายงาน

                 ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วไปเมื่อเห็นเสมาธรรมจักรคงเข้าใจว่าเป็นสัญลักษณ์ทางพระ พุทธศาสนาเพราะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมหมายต่างๆมากหมาย แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายของ "เสมาธรรมจักร" ว่าสื่อถึงหลักธรรมหมวดใดบ้าง จะเข้าใจเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่สำหรับชาวพุทธในยุคทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 จะเข้าใจความหมายนี้ดี คือหลักอริยสัจและปฏิจจสมุปบาท
                 อาจารย์ภูธร ภูมะธน  ที่ปรึกษาของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้อธิบายให้ทราบในงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด “อู่ทอง...ที่รอการฟื้นคืน ผ่านรอยลูกปัดและพระพุทธศาสนาแรกเริ่ม” โดยมีพันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. เป็นประธาน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ที่หอประชุมใหญ่ สยามสมาคม อโศก-มนตรี กรุงเทพฯ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) โดยสำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (อพท.7) และมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญดำเนินการ
                 นอกจากมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และสุธีรัตนามูลนิธิ ซึ่งมีอาจารย์ภูธร ภูมะธน กับนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิชเป็นหลักแล้ว ยังมีศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม แห่งมูลนิธิเมืองโบราณ ดร.เอียน ซี โกลฟเวอร์ แห่งสถาบันโบราณคดี มหาวิทยาลัยลอนดอน ดร.เจมส์ แลงค์ตัน ผู้เขียนหนังสือ A BEAD TIMELINE , Volume 1 : Prehistory to 1200 CE รวมทั้งกรมศิลปากรโดยเฉพาะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ ตลอดจนภาคเอกชนและคนอู่ทองจำนวนมากร่วมในงานดังกล่าวด้วย
                 อาจารย์ภูธร  กล่าวว่า การพบหลักฐานพระพุทธรูปและพระสาวกศิลปกรรมแบบอมราวดีมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 - 10 ที่      อู่ทองนั้นแสดงถึงการเข้ามาถึงและประดิษฐานตั้งมั่นแล้วในพุทธศตวรรษนั้น มีทั้งลัทธินิกายหินยาน มหายาน และตันตระยาน (วัชระยาน) โดยแต่ละลัทธิยังแบ่งเป็นนิกายต่าง ๆ เช่น นิกายมูลสรรวาสติวาท นิกายสัมมิตียะ นิกายเถรวาท และจากจารึกหลักธรรมที่พบซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 16  ผู้คนในแถบนี้ใช้คำบูชาหรือบทนมัสการพระพุทธเจ้า หลักอริยสัจ หลักปฏิจจสมุปบาท โดยยังมีหลักฐานสำคัญที่น่าสนใจที่อู่ทอง ประกอบด้วยพระพุทธรูปที่เก่าที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย รวมทั้งพระพุทธรูปปางหายากอาหูยมุทรา พบพระพิมพ์มากถึง 15  รูปแบบ กับยังพบพระพิมพ์พระสาวกที่เป็นเอตทัคคะ พระอสีติสาวกรวมถึงพระเมตไตรย ธรรมจักรองค์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย รวมทั้งรูปพระเจ้าสุทโธทนะอีกด้วย

หมอบัญชาจากลูกปัดกระบี่สู่ลูกปัดอู่ทอง

                 นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ที่สร้างความฮือฮาเกี่ยวกับลูกปัดกระบี่เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ได้กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ สืบเนื่องจากงานด้านโบราณคดีที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ทำไว้ที่รอบอ่าวบ้าน ดอนที่ชี้ว่าผู้คนในแผ่นดินนี้ ได้รับพระพุทธศาสนาจนถึงขั้นรุ่งเรืองในสมัยศรีวิชัยเมื่อ 1,000 กว่าปีมาแล้ว ควรที่ชาวพุทธจะได้ภาคภูมิใจ โดยหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ได้สานต่อด้วยการศึกษาเรื่องปฐมบทพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเมื่อครั้งเฉลิม ฉลองพุทธชยันตี เมื่อ อพท.7 ชวนให้ทำการศึกษาเรื่องลูกปัดจึงได้เสนอให้เป็นการศึกษาคู่กันกับรอยพระพุทธ ศาสนาแรกเริ่มด้วย เพราะที่อู่ทองมีหลักฐานการสถาปนามั่นคงของพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีแล้ว
                 สำหรับลูกปัดที่พบในอู่ทองและลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีนนั้น นายแพทย์บัญชา กล่าวว่า มีความพิเศษมากมายหลายประการ การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสำรวจผลงานของนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศใน อดีต ตลอดจนลงพื้นที่พบปะสัมภาษณ์ผู้รู้เกี่ยวกับลูกปัดในพื้นที่และการบันทึก ภาพลูกปัดจากทุกพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและในความครอบครองของคนรักลูกกปัด จำนวนหนึ่งในพื้นที่เกี่ยวข้อง พบว่าใน 4 จังหวัดลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน คือสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม มีพื้นที่ที่มีรายงานการพบลูกปัดมากถึง 178  แหล่ง อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีถึง 109  แหล่ง เฉพาะอู่ทองมีมากถึง 46  แหล่ง โดยลูกปัดที่พบมีทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบตามถ้ำ เพิงผาและที่ราบไหล่เขา สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ตามที่ราบลุ่มน้ำตอนกลางโดยเฉพาะที่ลุ่ม น้ำทวนจรเข้สามพัน ท่าว้า ท่าคอย ที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน ซึ่งล้วนเป็นลูกปัดที่มีลักษณะพิเศษและโดดเด่น ทำจากหินสีมีค่ากึ่งรัตนชาติชนิดและรูปทรงต่างๆ โดยมีเมืองโบราณอู่ทองเป็นเสมือนในกลางและสืบเนื่องถึงสมัยทวารวดีที่พบลูก ปัดแก้วเป็นจำนวนมาก
        
                 "การศึกษาครั้งนี้ ได้พบลูกปัดที่มีลักษณะพิเศษอาจมีความเกี่ยวเนื่องและถือเป็นร่องรอยแรกๆ ของพระพุทธศาสนาในพื้นที่จำนวนหนึ่ง อาทิ ลูกปัดหินคาร์เนเลียนเขียนลายเส้นสีดำรูปสวัสดิกะและจักร ลูกปัดตรีรัตนะ ลูกปัดรูปมงคลต่างๆ ที่นิยมในพระพุทธศาสนา รวมทั้งลูกปัดรูปสิงโต รูปธรรมจักร เฉพาะอย่างยิ่งจี้ห้อยทำด้วยงาช้างมีอักขระอักษรพราหมีแบบที่นิยมเขียนใน เอเชียอาคเนย์ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12  อ่านว่า  "อประมาทะ" ซึ่งอยู่ในปัจฉิมพุทโธวาทของพระพุทธองค์ก่อนดับขันธปรินิพพาน การศึกษาครั้งนี้หวังว่าจะมีส่วนสำคัญในการฟื้นคืนการพัฒนาเมืองอู่ทองให้ กลับคืนใหม่สมกับคุณค่าของเมืองอู่ทองที่พระพุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองและถือ เป็นต้นทางนำพระพุทธศาสนามาสู่ประเทศไทยของเราอีกด้วย" นายแพทย์บัญชา กล่าว

อพท.หวังฟื้นฟูเมืองอู่ทองให้กลับมามีชีวิตชีวา

                 พันเอกดร.นาฬิกอติภัค กล่าวว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองให้บรรลุ ผล มีภารกิจคือ การพัฒนาอดีตที่รอการฟื้นคืนให้กลับมาอีกครั้ง ด้วยการเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในยุคทวารวดี และการพัฒนาประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่รอการฟื้นฟู ให้กลับมามีชีวิตชีวา ด้วยการพัฒนาคนและส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว การฟื้นคืนเมืองโบราณอู่ทอง เป็นภารกิจที่ยากยิ่ง เนื่องด้วยความเก่าแก่ของยุคสมัยและกาลเวลาที่ผ่านไปนับพันปี ซึ่ง อพท. ได้ประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาชน ตั้งแต่ปี 2556  มาจนถึงปัจจุบัน
                 1.การฟื้นคืนคูเมืองโบราณอู่ทองและแม่น้ำจรเข้สามพัน โดยร่วมมือกับกรมศิลปากร กรมชลประทานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำเมืองโบราณอู่ทอง 2.การสำรวจใต้ดินเพื่อค้นหาทะเลโบราณ ชายฝั่งโบราณ แหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี โดยร่วมมือกับกรมทรัพยากรธรณี  3.พัฒนาชุมชนลูกปัดอู่ทอง ลูกปัดอู่ทองเป็นโบราณวัตถุที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองโบราณ     อู่ทองกับเมืองโบราณอื่นทั่วโลก โดยร่วมมือกับชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมืองโบราณทวารวดีอู่ทองส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาสินค้าและเครื่องประดับลูก ปัดอู่ทองให้เป็นที่ต้องการของนักสะสมลูกปัด 4.ฟื้นคืนแหล่งโบราณสถาน ด้วยการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะ ทั้งที่มีอยู่เดิมและแห่งใหม่ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีและประวัติ ศาสตร์ของชาติไทย โดยร่วมมือกับกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากร
                 5.จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องเมืองโบราณอู่ทอง เพื่อจัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชนเมืองโบราณ     อู่ทอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
                 6.ฟื้นคืนเรื่องพุทธศาสนาระยะเริ่มแรกและลูกปัดทวารวดี เพื่อให้ ได้หลักฐานทางวิชาการและเชื่อมโยงกับแหล่งกำเนิดในภูมิภาคอาเซียนและนานา ชาติกับเมืองโบราณอู่ทอง โดยได้รับเกียรติจาก มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญและภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานหลายโครงการร่วมกับ อพท.7 ประกอบด้วย 6.1) จัดสัมมนาเรื่อง อู่ทองเมืองโบราณ เมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์ เชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิม : ผ่านหลักฐานพุทธศาสนาสมัยแรกเริ่มและรอยลูกปัด โดยเชิญนักประวัติศาสตร์โบราณคดี ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐมาร่วมสัมมนา และได้รวบรวมองค์ความรู้จากการจัดสัมมนา และผลสำรวจการลงพื้นที่จัดพิมพ์หนังสือ “อู่ทอง หลักฐานพระพุทธศาสนาแรกเริ่มและรอยลูกปัด” ในปี 2557
                 6.2) ปี 2557 การศึกษาเมืองโบราณในภูมิภาคที่มีความสำคัญคล้ายคลึงและเทียบเคียงกับเมือง โบราณอู่ทอง รวมทั้งศึกษาเรื่องลูกปัดที่มีการพัฒนาสร้างสรรค์การท่องเที่ยว และลงพื้นที่ศึกษาเมืองโบราณในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  6.3) ปี 2558 ลงพื้นที่ศึกษาต้นทางพระพุทธศาสนาในอินเดียสู่อู่ทอง และรวบรวมผลงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย 6.4) ปี 2558 การศึกษาวิจัยและประชุมปฏิบัติการนานาชาติ ว่าด้วยทองโบราณที่แดนทองของไทย : อู่ทอง สุพรรณบุรี Golden of U-Thong by the world expert on Ancient Gold from London  6.5) ปี 2558 การศึกษาประมวลรวบรวมองค์ความรู้รอยพระพุทธศาสนาแรกเริ่มและรอยลูกปัดโบราณ อู่ทอง : ความสัมพันธ์อาเซียน ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจและศึกษา  6.6) ปี 2558 การศึกษาประมวลรวบรวมองค์ความรู้รอยพระพุทธศาสนาแรกเริ่มและรอยลูกปัดโบราณ อู่ทอง จนได้จัดทำหนังสือเรื่อง “อู่ทอง...ที่รอการฟื้นคืน ผ่านรอยลูกปัดและพระพุทธศาสนาแรกเริ่ม ในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน” ซึ่งเป็นที่มาของการจัดงานแถลงข่าวในวันนี้

ย้อนรอยอู่ทองเมืองโบราณสำคัญในอดีต
                 นางศิริกุล กสิวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ อพท.และรักษาการผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณ   อู่ทอง กล่าวว่า เป็นที่ประจักษ์ในวงการประวัติศาสตร์และโบราณคดีว่า "เมืองโบราณอู่ทอง" เป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่สำคัญที่สุดเมืองหนึ่งของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ คณะรัฐมนตรีได้ประกาศพื้นที่ "เมืองโบราณอู่ทอง" เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามที่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เสนอ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555  ด้วยวิสัยทัศน์ว่า "เมืองสร้างสรรค์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิม" ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่ 38.16 ตารางกิโลเมตร โดยมี อพท.7 เป็นหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่

                 ตั้งแต่ปี 2556 อพท.7 ได้ประสานขอให้ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ในฐานะองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่มีวัตถุประสงค์ กิจกรรมและผลงานด้านพระพุทธศาสนาทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และการ   พระศาสนา และสุธีรัตนามูลนิธิ ในฐานะองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อส่งเสริมการพระศาสนา ประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งได้ทำการรวบรวมศึกษาค้นคว้าหลักฐานโบราณคดีกลุ่มลูกปัดสมัยหัวเลี้ยวหัว ต่อประวัติศาสตร์ในพื้นที่ภาคใต้ ทำการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยประวัติศาสตร์โบราณคดี "อู่ทองและปริมณฑล" ผ่านหลักฐานพระพุทธศาสนาสมัยแรกเริ่มและรอยลูกปัด เพื่อเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักสำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่อง เที่ยวอย่างยั่งยืน "เมืองโบราณอู่ทอง" ภายใต้บันทึกข้อตกลงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนพื้นที่พิเศษเมือง โบราณอู่ทอง ระยะเวลา 3 ปีขึ้น ตามวัตถุประสงค์ อันประกอบด้วย

                 1. เพื่อประมวลรวบรวม สนับสนุนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ สร้างสรรค์พัฒนาองค์ความรู้ของเมืองโบราณอู่ทอง ผ่านหลักฐานพระพุทธศาสนาสมัยแรกเริ่มและรอยลูกปัด อย่างรอบด้าน ครบถ้วนสมบูรณ์ 2. เพื่อจัดทำเอกสาร หนังสือ สื่อความรู้ เรื่องเมืองโบราณอู่ทอง ผ่านหลักฐานพระพุทธศาสนาสมัยแรกเริ่มและรอยลูกปัดเพื่อเผยแผ่ นำเสนอ สื่อสาร ศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง และใช้ในการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอู่ทองเมืองโบราณ 3. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนาขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ      "อู่ทองเมืองโบราณ" ในมิติต่างๆ ตามวิสัยทัศน์พันธกิจของคนอู่ทองสุพรรณบุรี และ อพท. บนพื้นฐานหลักฐานพระพุทธศาสนาสมัยแรกเริ่มและรอยลูกปัด

                 ในปี 2556 ได้ร่วมกันจัดโครงการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง อู่ทองเมืองโบราณ เมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์ เชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิม:ผ่านหลักฐานพุทธศาสนาสมัยแรกเริ่มและรอยลูก ปัด ขึ้น ณ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2556 สรุปถึงความสำคัญของเมืองโบราณ  อู่ทองว่า - เป็นเมืองโบราณสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งเมื่อกว่า 2,000 ปีก่อน สามารถย้อนอดีตอันรุ่งเรืองได้ถึงสมัยพุทธกาล ผ่านสุวรรณภูมิ ฟูนัน ถึงทวารวดี - เป็นศูนย์กลางการเดินทางค้าขายสำคัญของโลกตะวันออกและตะวันตก จากหลักฐานรอยลูกปัดจำนวนมากและหลากหลายจากทั้งสองฟากฝั่งซีกโลก - เป็น "ปุระ - เวียง - เชียง - มหานคร" ของผู้คนหลากหลายชาติ ศาสนา อารยะและวัฒนธรรม - เป็นต้นแบบการจัดการ "เมืองและเรื่องน้ำ" อย่างพิเศษ อาทิ พุ คู ห้วย ฝาย คอก สระ บาราย ทำนบtank ท่า - มีรอยเริ่มแรกพระพุทธศาสนาที่สถาปนาตั้งมั่น พร้อมหลักฐานและหลักธรรมหลากหลายนิกาย

                 - เป็นต้นทางแห่ง "สายธารอารยธรรมไทยพุทธ" ถึงทุกวันนี้ และได้ดำเนินการต่อเนื่องด้วยการศึกษาประมวลรวบรวมองค์ความรู้ "รอยพระพุทธศาสนาแรกเริ่มและรอยลูกปัดโบราณอู่ทอง" เพื่อจัดพิมพ์เป็นเอกสารฐานข้อมูลอ้างอิงหลักสำหรับการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เมืองโบราณ    อู่ทองต่อไป ซึ่งปรากฏเป็นรูปเล่ม "อู่ทอง...ที่รอการฟื้นคืน" ผ่านรอยลูกปัดและพระพุทธศาสนาแรกเริ่มในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน ที่อยู่ในมือของท่านนี้ โดยได้รับการสนับสนุนและความอนุเคราะห์จากหลากหลายฝ่าย

ผลวิจัย'ทองโบราณที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี'
                 นางศิริกุล ยัวได้กล่าวถึงผลการศึกษาวิจัย “ทองโบราณที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”ว่า องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ร่วมกับ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ดำเนินการพัฒนา “อดีตที่รอการฟื้นคืน” (ให้กลับมาอีกครั้ง) ด้วยการเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนายุคแรกเริ่มของรัฐทวารวดี ศูนย์กลางการค้าของรัฐทวารวดีมาตั้งแต่ปี 2556 ในปี 2558  นี้ อพท. ได้สนับสนุนงบประมาณให้มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ดำเนินการศึกษาวิจัยและประชุมปฏิบัติการนานาชาติว่าด้วยทองโบราณที่แดนทอง ของไทย: อู่ทอง สุพรรณบุรี Golden of U-Thong by the world expert on Ancient Gold from London มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ

                 1.เพื่อทำการศึกษาวิจัยทางโบราณคดีด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์จากหลักฐานทาง โบราณคดีสำคัญของพื้นที่อู่ทองตลอดจนในอาณาบริเวณที่เกี่ยวข้อง 2.เพื่อจัดทำรายงานและการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยสู่วงวิชาการในระดับประเทศ ภูมิภาคและนานาชาติ ตลอดจนในหมู่ผู้เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่พิเศษอู่ทอง ตลอดจนสื่อและสาธารณะ เพื่อการขยายผลต่อยอดเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนบนฐานความรู้
                 โครงการนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.แอนนา ที.เบนเนตผู้ศึกษาและรายงานเรื่องทองโบราณแรกๆ ในเอเซียอาคเนย์ ต่อที่ประชุมว่าด้วยทองเอเซียอาคเนย์ ณ Yale University Art Gallery,USA 13-14  May 2011 มาเป็นผู้เชี่ยวประจำในโครงการนี้ ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจทองโบราณที่อู่ทอง ทั้งที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ประชาชนในพื้นที่อำเภออู่ทอง ดร.แอนนา เบนเนตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะวิทยาระดับโลก ทำการศึกษาวิเคราะห์ทองที่อู่ทอง จากการศึกษาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พระพุทธรูปทองคำและเครื่องประดับทองคำ ที่เก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง รวมทั้งทองคำโบราณของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าเป็นเครื่องทองที่ทำอย่างวิจิตรบรรจงยิ่งและมีความหลากหลายในเทคนิค วิธีการผลิต ซึ่งจะได้นำกลับไปวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อรายงานต่อไป
                 ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนว่าอู่ทองเป็นเมืองสำคัญมากในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ก่อนสมัยทวารวดี หากเป็นไปได้ จะพยายามเรียบเรียงเพื่อจัดพิมพ์เป็นหนังสือเชิงวิทยาศาสตร์โบราณคดีว่าด้วย ทองที่อู่ทองซึ่งจะเป็นฐานการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต ส่วนหนังสืออู่ทอง...ที่รอการฟื้นคืนที่ว่าด้วยลูกปัดและพระพุทธศาสนาแรก เริ่มนั้น งดงามและสมบูรณ์แบบมาก อยากขอให้ อพท.พิจารณาจัดแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะส่งผลให้อู่ทองเป็นที่รู้จักในระดับสากลอีกด้วย

...........................
(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20150720/210113/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E2%80%98%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88%E2%80%99!%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E2%80%98%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E2%80%99.html)

วัดท่าการ้องทุบกำแพงสานสัมพันธ์ไทยพุทธ-มุสลิม

 

วัดท่าการ้องทุบกำแพงสร้างสะพาน สานสัมพันธ์พี่น้องไทยพุทธ-มุสลิม : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

              หากพูดถึงวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คนทั่วไปจะนึกถึงส้วมติดแอร์เพราะแนวคิดของพระพิพัฒนศาสนกิจวิธาน รองเจ้าคณะอำเภอพระนครศรีอยุธยา เจ้าอาวาส ต้องการให้บริการกับประชาชนอย่างมีความสุข เพราะเห็นคนที่เข้ามาใช้บริการโดยเฉพาะผู้หญิงใบหน้าเต็มไปด้วยเหงื่อต้อง แต่งหน้ากันใหม่ ถ้าถามว่าคุ้มหรือไม่ก็ต้องตอบว่า "คุ้ม" แม้ว่าเงินบริจาคจะน้อยกว่าจุดอื่นก็ตาม หรือไม่ก็ตลาดน้ำ
              เมื่อเข้ามาที่วัดแห่งนี้จะรู้สึกเหมือนกับมาเที่ยวงานประจำปีที่มีทุกวัน เพราะมีห้องหรือเต็นท์ที่ประกอบด้วยกิจกรรมบุญต่างๆมากมายอย่างเช่นห้อง บรรจุพระเกจิชื่อดังในประเทศไทย  ห้องบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ ที่โบสถ์ประดิษฐานด้วยหลวงพ่อยิ้ม ศาลาหอฉันก็ประดิษฐานสมเด็จฯโต พรหมรังษี ทำให้รู้ศึกว่าที่วัดแห่งนี้คือเป็น  "เนื้อนาบุญ" ที่ชาวพุทธทั้งหลายมีความเชื่อด้านใดก็สามารถมาฉลองศรัทธาได้ไม่ต้องไปไหน อีก เนื่องจากว่าเจ้าอาวาสเป็นพระนักพัฒนาที่มีวิศัยทัศน์ที่ต้องการพัฒนาคน มากกว่าวัตถุ รู้จักใช้คน มีการบริหารจัดการที่มีแบบแผน และนำเอาองค์ความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
              วัดท่าการ้องตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนเล็กๆ นอกเกาะกรุงศรีอยุธยาที่มีประชากรหลากหลายศาสนาอาศัอยู่โดยเฉพาะชาวไทยพุทธ และมุสลิมทำให้มีคนเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า "มัสยิดวัดท่าการ้อง" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวมุสลิมนั้นมีเชื้อสายมาจากมาลายู เปอร์เซีย ซึ่งเป็นต้นตระกูลบุนนาค ขณะที่เจ้าอาวาสก็เป็นคนพื้นที่โดยกำเนิด และที่เรียกว่าท่าการ้องนั้นก็เนื่องจากเป็นย่านค้าขายและเลี้ยงวัว คงจะมีการทำเนื้อแดดเดียวทำให้กาซุกซุมคอยกินเนื้อ
              ชาวไทยพุทธและมุสลิมชุมชนแห่งนี้มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีตั้งแต่ในอดีต ได้มีกิจกรรมร่วมกันทำอย่างต่อเนื่องเช่นการลงแขกทำนานำอาหารมาร่วมกันรับ ประทาน วางศิลาฤกษ์ของแต่ละศาสนา น้ำท่วมก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยชาวมุสลิมนำวัวมาพักไว้ที่วัดเพราะเป็นที่สูง พอน้ำลดชาวมุสลิมก็มาช่วยทำความสะอาด ร่วมถึงการร่วมกันพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆโดยไม่มีกำแพงขวางกั้นหากมี เหตุการณ์ไม่ดีก็จะค่อยช่วยเป็นหูเป็นตา ทางวัดทำตลาดน้ำค้าขายร่วมกัน ตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในวัดโดยมีเจ้าอาวาสและโต๊ะอีหม่านทำให้ หน้าที่ ตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพร่วมกัน
              จากกิจกรรมดังกล่าวทำให้ชาวไทยพุทธและมุสลิมที่นี้ลบภาพที่ถูกปลูกฝังให้ เกลียดกัน ได้ปรับความคิดเปิดใจกว้างว่า "เขาก็คือเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน" หรือ "โลกทั้งผองคือพี่น้องกัน" โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ขันติธรรม" ของการอยู่ร่วมกัน และยึดหลัก "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกันนี้จะไม่ก้าวก่ายกันในเรื่องของคำสอนแต่ละศาสนา
              พร้อมกันนี้มีแผนในการสร้างสันติสุขแบบยั่งยืน โดยอันดับแรกคือสร้างความเข้าใจในคำสอนของตัวเองและคำสอนของเพื่อน ซึ่งศาสนาอิสลามนั้นหมายถึงศาสนาแห่งสันติสุข แต่ที่มีปัญหาทุกวันนี้เพราะนำศาสนาไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและผลประ โยชน พร้อมกันนี้จะจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สานสัมพันธ์กันให้ แน่นยึ่งขึ้น
              เหล่านี้คือข้อมูลที่นิสิตปริญญาโทสาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและปฏิบัติการสันติสานเสวนา ตามรายวิชาสันติสนทนา ในหัวข้อ "สานสัมพันธ์พุทธ-อิสลาม สร้างสันติภาพท่องเที่ยวชุมชน"  เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2558 ที่ผ่านมาในช่วงเช้า  โดยได้รับความอนุเคราะห์เมตตาเอื้อเฟื้อจากเจ้าอาวาสวัดท่าการ้องและโต๊ะ อิหม่ามประจำมัสยิดชุมชนท่าการ้องเป็นอย่างดียิ่ง
              ขณะที่ช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยสานเสวนาเรื่อง "ความเชื่อที่ต่าง"เพื่อร่วม"สร้างสะพานสันติภาพ"ในสังคมได้อย่างไร?  โดยสรุปง่ายๆ คือ "หาวิธีการนำไปสู่สันติภาพร่วมกัน" ยึดแนวทาง "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
              ได้วิธีการจากการแบ่งกลุ่มระดมความเห็นสร้างเป็นโมเดลคือ "สะพานสันติภาพ" ไปมาหาสู่กันระหว่างไทยพุทธ-มุสลิม ได้ดังนี้
               เข้าใจ คือ เปิดใจ ทำความเข้าใจ เรียนรู้วิถีชีวิตให้เกียรติให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ปิดกั้นความเชื่อและความเชื่อแตกต่าง  เปิดโอกาสรับฟังมุมมองที่แตกต่าง เห็นผู้อื่นเปรียบเสมือญาติอยู่กันอย่างสามัคคีเป็นพี่เป็นน้องกันเห็นอก เห็นใจกัน  มีความจริงใจต่อกัน การศึกษาความเชื่อและให้ความรู้ที่ถูกต้องในแต่ละศาสนา ไม่นำศาสนามาเปรียบเทียบ และเชื่อมโยงผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย

              เข้าถึง คือ  ตั้งศูนย์กลางที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างศาสนา เป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกอาชีพและพัฒนาเยาวชน  เปิดพื้นที่ในการประกอบสัมมาชีพร่วมกัน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนนำสินค้ามาจำหน่ายร่วมกัน
              และพัฒนา คือ  ทำจัดกิจกรรมร่วมกันเช่น การสัมมนา ศึกษาดูงาน เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยกัน แบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างกิจกรรมร่วมกันบ่อยครั้งขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยขยายเป็นระดับจังหวัด ระดับประเทศ รวมถึงสร้างผู้นำและพัฒนาเยาวชนเพื่อให้มีบทบาทในด้านต่างๆอย่างเช่นสมัคร เป็นผู้แทนท้องถิ่น
              พระครูพิพิธสุตาทร  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ผู้สอนได้สรุปว่า มีความจำเป็นต้องรื้นกำแพงเพื่อสร้างสะพาน เพราะถ้าไม่รื้นกำแพง กำแพงอาจจะสูงขึ้นเรื่อยๆ คือความขัดแย้งจะสูงไปเรื่อยๆ  ชุมชนวัดท่าการ้องมีความเชื่อที่มีความแตกต่างแต่สามารถอยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข สิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จักความเชื่อของอิสลามให้มาก แล้วเราจะได้วิเคราะห์ว่าความเชื่ออะไรที่เหมือนกัน ความเชื่ออะไรที่มีความแตกต่างกัน เราจะได้ใจกว้างทางศาสนาเพื่อการสันติสนทนาต่อไป

              ทั้งนี้พระพิพัฒนศาสนกิจวิธาน กล่าวว่า  วัดท่าการ้องอยู่ท่ามกลางพี่น้องมุสลิมที่มีทั้งใหม่และเก่า เคร่งและยืดหยุ่น แต่ทุกวันนี้มีการปรับประยุกต์ตามบ้านเมือง อาตมามาอยู่ที่นี่ 15 ปี มีความเข้าใจคนอิสลามโดยยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทาพบกันคนละครึ่งทาง เมื่อมัสยิดวางศิลาฤกษ์อาตมาก็ไปร่วม
              เจ้าอาวาสวัดท่าการ้องกล่าวต่อว่า คำสอนจากพระคัมภีร์ทั้งพุทธและอิสลามไม่มีแตกต่างกันมากนัก การทำงานร่วมกับพี่น้องมุสลิมต้องมีความเข้าใจ เพราะหลักปฏิบัติบางอย่างมีความแตกต่างกัน เรื่องความเชื่อและพิธีกรรมที่มีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก  อย่างไรก็ตามเราต้องมีรากอย่าลืมรากของตนเอง และพิธีกรรมบางอย่างที่ทำให้เกิดความขัดแย้งก็ควรละทิ้ง
              อย่างเช่น มจร  มีการพัฒนามาจากรากจึงมีความมั่นคงมาตลอด  ต่อไป มจร จะมีนิสิตมากที่สุดในโลก เพราะมีวิทยาเขตมากมายทั่วไทยและทั่วโลก และต่อไปต้องมี "มหาวิทยาลัยเตรียมเจ้าอาวาส" เรียนจบพร้อมบรรจุเป็นเจ้าอาวาสทันที  ฉะนั้น เราต้องสร้างฐาน สร้างราก ที่วัดท่าการ้องใช้เวลาเป็น 10 ปีขึ้นไปจึงมีวันนี้
              "อาตมานั้นเป็นเพื่อนกับโต๊ะอิหม่ามกับคนปัจจุบัน จึงมีความสนิทสนมกันมากเป็นพิเศษ  ทำให้เราอยู่แบบเข้าใจกัน โดยใช้คำว่า "ช่องว่าง" ของกฎหมายมาประยุกต์ใช้ในงานด้านสังคม งานชุมชน และงานจิตอาสา โดยนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นตัวเชื่อมกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนศาสนาใน ชุมชน เช่น วันแม่ วันพ่อ วันสงกรานต์ วันเด็ก ถือว่าไม่มีหลักศาสนามาเกี่ยวข้อง เป็นการใช้ช่องว่างมาทำกิจกรรมร่วมกัน จนเกิด "ความไว้วางใจ" ต่อกัน  สิ่งที่สอดแทรกคือ ความสามัคคี การมีน้ำใจ การอยู่ร่วมกัน และใช้วิธีการนำเสนอให้เป็นกลางๆ" พระพิพัฒนศาสนกิจวิธาน กล่าวและว่า
             และทำ "ศูนย์ยุติธรรมชุมชน" เมื่อมีข้อพิพาทระหว่างศาสนาเราจะไม่ใช้ตำรวจมาตัดสิน แต่เราจะใช้ผู้นำศาสนาหรือบุคคลที่ชุมชนยอมรับมาไกล่เกลี่ยกัน ถือว่ามีความสำคัญ ทั้งโดยใช้หลัก "บริหารชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน"  และสร้างตลาดน้ำขึ้นมาก็ด้วยแนวคิดว่า "จะทำอย่างไรให้พี่น้องชาวพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกันได้"  ปัจจุบันนี้มีผู้นำอิสลามมาดูงานที่วัดท่าการ้องประมาณ 26 ประเทศ มาดูว่าเราอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?
              "สิ่งสำคัญ คือ ไม่ทะเลาะกับคนในชุมชน แต่ต้องทำความเข้าใจระหว่างกัน อยู่ร่วมกันอย่างผสมผสาน ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ทำให้ชุมชนเกื้อกูลกันและกัน คนท้องที่เท่านั้นที่รู้ดีที่สุด"  เจ้าอาวาสวัดท่าการ้องกล่าว

....................
(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20150824/212144/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98-%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1.html) 

แนะปรับวัดเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมรับไทยยุคสูงวัย

 

แนะมส.-พศ.เปลี่ยนวิสัยทัศน์บริการสังคม ปรับวัดเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมรับไทยยุคสูงวัย : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

               ระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา มีการสัมมนาเรื่อง "บทบาทสื่อมวลชนกับการส่งเสริมพระพุทธศาสนา" จัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งมีคณะสื่อมวลชนทั้งนักข่าว ช่างภาพ ผู้ประกาศ ผู้ผลิตรายการ โปรดิวเซอร์ จากหนังสือพิมพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ภายใต้การนำของนายณรงค์ หนูเชื้อ นายกสมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ(สพวช.) และนายสมหมาย สุภาษิต อุปนายกสมาคมคนที่ 1 มีนายกนก แสนประเสริฐ รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เป็นประธาน ที่ตะนาวศรีรีสอร์ท ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

               นายกนก กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ ตอนหนึ่งความว่า ปัจจุบันมีวัดทั่วประเทศประมาณ 39,800 วัด อยู่ในระหว่างขออนุญาตจัดตั้งวัดอีกประมาณ 2,000 วัด ขณะเดียวกันก็มีวัดร้างที่มีการสำรวจพบอีกประมาณ 6,000 วัด โดยจากจำนวนวัดในประเทศไทยทั้งหมดนั้น ตนยืนยันได้เลยว่ามีไม่ถึงร้อยละ 5 ที่มีผู้เข้าไปทำบุญในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก วัดส่วนใหญ่ตามต่างจังหวัดยังยากจนอยู่อีกมาก
               "ส่วนใหญ่จะได้จากการทำบุญในช่วงการทอดกฐินก็จะนำเงินที่ได้มาดูแลวัด บางวัดโชคร้ายทำบุญทอดกฐินเสร็จแล้วก็ยังโดนนักการเมืองท้องถิ่นมายึดเงิน จากการทำบุญวันทอดกฐินไปอีก ทางพศ.ต้องเข้าไปช่วยเจรจานำเงินดังกล่าวกลับมาคืนให้วัด ขณะเดียวกันในส่วนของวัดที่มีผู้ศรัทธาเข้าทำบุญเป็นจำนวนมากในแต่ละวันนั้น แม้ต่อปีจะมีเงินเข้าวัดหลายล้านบาท แต่ก็ยังไม่เพียงพอในการนำมาบริหารจัดการภายในวัด เพราะต้องใช้เงินทั้งการดูแลรักษาศาสนสถาน การดูแลพระเณรในวัด ซึ่งแม้จะมีรายรับเยอะ แต่ก็มีรายจ่ายเยอะเช่นกัน"  รองผอ.พศ.กล่าว
               ขณะที่นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.พศ. กล่าวว่า ในส่วนของแผนดำเนินงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาตามแผนที่ผ่านความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้วนั้น ในการดำเนินการแผนระยะแรกคือ การดำเนินการในเรื่องที่สามารถทำได้ทันที และการระดมความคิดเห็นจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปเป็นแผนการ ดำเนินงานในระยะที่สองนั้น จะมีการจัดระดมความคิดเห็นทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะจัดที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตนครราชสีมา จากนั้นปลายเดือน ก.ย. จะจัดในพื้นที่ภาคเหนือ ก่อนที่จะมีปิดท้ายในช่วงสิ้นปีนี้ที่มจร. อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
               พร้อมกันนี้นายกนกได้มอบมอบสิ่งสักการมงคลที่ล้ำค่ายิ่ง อาทิ หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นเฉลิมพระเกียรติฯ ปี 44 มีโค้ตหมายเลขกำกับ มหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง หล่วงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก รุ่น 120 ปี พระมหาเกจิดังที่ร่วมนั่งปรกปลุกเสก พระ 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี 2500 ให้กับคณะสื่อมวลชนด้วย เป็นที่ระลึกในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดสันติสุขแก่สังคม
               การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ บริหาร พศ.โดยเฉพาะกองงานโฆษกกับสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติหน้าที่นั้นสิ่งที่คณะสื่อมวลต้องการมากที่สุดก็ คือด้านข้อมูลที่กองงานโฆษก พศ.ควรที่จะอำนวยความสะดวกให้เท่าทันกับสถานการณ์ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม
               พร้อมกันนี้มีข้อเสนอแนะต่อมหาเถรสมาคม(มส.)และพศ.ด้านวิสัยทัศน์ในการ ปฏิบัติหน้าที่มีต่อคณะสงฆ์แทนที่จะมุ่งปราบปรามคณะสงฆ์ก็ควรจะเปลี่ยนเป็น ด้านการส่งเสริมให้คณะสงฆ์ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสมณสารูปและให้การศึกษาที่ ถูกต้องเป็นสำคัญ หากจะเปรียบ มส. และ พศ.ก็คือราชสีห์ ส่วนคณะสงฆ์ก็คือหนู หากราชสีห์มุ่งแต่จะปราบหนูให้หมดไปก็คงไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน ดังนั้นต้องเปลียนวิธีคิดใหม่คือนำหนูมาใช้ในการทดลองด้านวิยาศาสตร์ คือจับหนูมาวิ่งอยู่ในลู่แทนที่จะเปลี่ยนให้วิ่งเพ่นพ่านแล้วก็วิ่งจับย่อม ไม่มีทางหมดอย่างแน่นอน
               ขณะเดียวกันได้มีข้อเสนอแนะคือควรมีการต่อยอดจากหมู่บ้านศีล 5 โดยพัฒนาบ้านวัดโรงแรมเป็นศูนย์ในการรองรับผู้สูงอายุเพราะว่าอนาคตอันใกล้ นี้ประเทศไทยจะไทยเข้าสู่ยุคผู้ชรา โดยพัฒนาวัดเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมนำวิชาการด้านโรงแรมและพยาบาลเข้ามา บูรณาการจัดภูมิทัศน์ให้เกิดสัปปายะ และขณะนี้แนวคิดตั้งกล่าวก็ได้ขึ้นแล้วในบางพื้นที่อย่างเช่นที่ศูนย์ ปฏิบัติธรรมพระธรรมโมลี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ภายใต้แนวความคิดของสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม
               หรืออย่างเช่นที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มีศูนย์ปฏิบัติธรรมเป็นประจำ แต่ติดปัญหาก็คือสถานที่พักไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงมีการขยายไปยังต่างจังหวัด
              ทั้งนี้เมื่อเร็วๆ นี้สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดสัมมนาเรื่อง “โต้คลื่นสังคมสูงวัย:โอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ” พร้อมนำเสนองานวิจัยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยมี รศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารศศินทร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรซึ่งรวมถึงการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ สามารถสร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยในประเทศไทยขณะนี้มีประชากร 63.8 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวมีประชากรผู้สูงอายุ 12% และในอีก 30 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุ 32% ซึ่งจะเป็นประเทศที่มีการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเร็วมาก

              รศ.ดร.เกื้อ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุดังกล่าว หากไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุจะทำให้ประชาชน องค์กร และภาครัฐไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที เช่น ประชาชนอาจไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการออม องค์กรต่างๆ ไม่สามารถหาแรงงานทดแทนหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเมื่อตลาดแรงงานหดตัว และภาครัฐไม่สามารถบริหารจัดการหนี้สินของรัฐบาลที่อาจเพิ่มสูงขึ้นจากค่า ใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างจำกัด ดังนั้นภาครัฐ เอกชน ควรมีนโยบายที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุน เตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของการออม ให้ควาสำคัญกับการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง สนับสนุนให้ลงทุนเริ่มสะสมเงินออมตั้งแต่ตอนอายุยังน้อยและมีวินัยในการออม ลงทุนก่อนวัยเกษียณ และควรมีการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพที่เหมาะสม รวมถึงส่งเสริมให้มีพนักงานสูงอายุ โดยต้องทำทุกเรื่องอย่างรวดเร็ว โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ            
              “จากงานวิจัย พบว่าเมื่อมีการเปลี่ยนโครงสร้างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ไทยจะได้รับผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ 2 ช่องทาง คือ 1. ด้านความสมดุลของรายรับรายจ่ายของรัฐบาลที่อาจส่งผลต่อการใช้จ่ายในด้าน ต่างๆ และ2.บทบาทของตลาดการเงินต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดการเปลี่ยน พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนที่มีอายุมากขึ้น อีกทั้ง จะทำให้ประเทศมีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งในระดับแรง งานมีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ ดังนั้นภาครัฐต้องสนับสนุนให้แรงงานสูงอายุทำงานต่อแม้จะเข้าสู่วัยเกษียณ อายุ และต้องสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน สร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และควรสนับสนุนความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการดึงดูดแรงงานต่างประเทศ เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย หากประเทศไทยเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาเป็นอย่างดีีจะ เป็นโอกาสในการเติบโตของประเทศ แต่ในทางกลับกันไทยจะเสียโอกาสทันที” ศ.ดร.เกื้อ กล่าว
               หากคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมืองนำแนวความคิดนี้ไปประยุกต์ใช้แล้วเชื่อแน่ว่าวัด และพระพุทธศาสนา จะมีส่วนในการแก้ปัญหาผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี และอาจจะดีกว่าจะใช้เงินสร้างศูนย์ผู้สูงอายุในชุมชน โดยนำมาบูรณะวัดให้เหมาะสมกับการที่ใช้วัดเป็นศูนย์กลางเน้นการพัฒนาที่เป็น องค์รวม ได้ประโยชน์หลายทางและหลายอย่าง และยังเป็นการใช้วัดเป็นฐานในการพัฒนาชุมชนอีกทางหนึ่ง

..........................
(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20150907/212977/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html)

พระธรรมทูตอาเซียนถกนำพุทธพลิกสุวรรณภูมิ

ประชุมพระธรรมทูตอาเซียน5แผ่นดิน : นำพุทธพลิกสุวรรณภูมิแผ่นดินธรรม : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

             ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายน พ.ศ.2558  คณะสงฆ์อาเซียน 5 ประเทศ ประกอบด้วยไทย เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา และลาว ได้ร่วมงานเสวนา "พุทธพลิกสุวรรณภูมิ : สามัคคีธรรม แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง"   จัดโดยสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย และมูลนิธิวีระภุชงค์  ที่โรงแรมโซพิเทล อังกอร์ โภคีธรา กอล์ฟ @ สปา รีสอร์ท จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา    
 
             โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ย้อนยุค ปลุกอุดมการณ์ ดูงานพระอริยสงฆ์ สานตรงต่อพุทธปณิธาน โดยตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ความมุ่งหวังของการจัดโครงการฯ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระสงฆ์ที่เข้าร่วมโครงการ ให้เกิดศรัทธาอย่างลึกซึ้ง เติมความรู้ เพิ่มมุมมอง สร้างเสริมจริยวัตรที่งดงามต่อสายต่อสังคมโลก และปฏิบัติธรรมในสถานที่จริง จนความศรัทธา สามารถนำความรู้ที่เพิ่มพูนด้วยความเข้าใจที่มากขึ้น กลับสู่การพัฒนาสังคมไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความสงบ และมุ่งหวังเชื่อมโยงมิติทางศาสนา สู่การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
 
             ภายในงานมีพระเทพโพธิวิเทศ (วีระยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ผู้อำนวยการหลักสูตรสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย  และพระสงฆ์ในโครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไปปฏิบัติธรรมเชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล รุ่นที่ 1-6 กว่า 100  รูป พร้อมคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย และสื่อมวลชน ร่วมเป็นจำนวนจำนวน 300 รูป/คน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  โดยพระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ ได้จัดส่งพระนิสิตไปร่วมปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามพร้อมนายสมหมาย สุภาษิต รองผู้อำนวยการส่วนงานบริหารฯ พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการเสวนาดังกล่าวด้วย
 
             กำหนดการเสวนาเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ก.ย.ตั้งแต่เวลา 08.00 น.  ดร.วินัย วีระภุชงค์ ประธานมูลนิธิวีระภุชงค์ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ดร.วินัย นางนวลละออ วีระภุชงค์ พร้อมครอบครัว ถวายผ้าไตรพระสงฆ์จาก 5 ประเทศ  ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980  และเลขานุการ ชมรมโพธิคยา 980 กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเสวนา  นายชัช ชลวร ประธานชมรมโพธิคยา 980 กล่าวต้อนรับ 
 
             พระอาจารย์ใหญ่ ดร. พระมหาผ่อง สะมาเลิก เจ้าอาวาสวัดองค์ตื้อ ประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนสัมพันธลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แสดงสัมโมทนียกถา และกล่าวเปิดงาน  His Holiness Sayadaw Ku Mara Bhivamsa สมเด็จพระสังฆราชจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียรม่าร์ แสดงสัมโมทนียกถา  Most Ven. Dr. Thich Thien Tam Vice President of Executive Council Vietnam Buddhist Sangha (VBS) Abbot of Pho Minh Pagoda รองประธานสมัชชาสงฆ์แห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แสดงสัมโมทนียกถา  พระธรรมวรนายก ประธานโครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมเชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา แสดงสัมโมทนียกถา  พระเทพโพธิวิเทศ แสดงสัมโมทนียกถา
 
             ทั้งนี้เมื่อวันที่  9 ก.ย.ที่สนามบินสุวรรณภูมิ พระเทพโพธิวิเทศเป็นประธานรับมอบเงินบริจาคเพื่อสร้างบ้านชั่วคราวช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เนปาลเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2558 จากคุณอุษณีย์ แสงสิงแก้ว กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าภาคพื้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 400,000 บาท
.............
ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20150911/213197/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4.html

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

หลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นเฉลิมพระเกียรติฯปี44

หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นเฉลิมพระเกียรติฯ ปี 44 มีโค้ตหมายเลขกำกับ มหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง หล่วงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก รุ่น 120 ปี พระมหาเกจิดังที่ร่วมนั่งปรกปลุกเสก พระ 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี 2500

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

สังคม Gen ME(บทที่๓)

สังคม Gen ME
สังคมทั่วโลกก้าวผ่านยุค Generation X และ Y ไปแล้ว และกำลังอ้าแขนรับคนรุ่น Generation ME ที่ยึดถือแต่ตนเองเป็นสรณะ เอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่แคร์ใครที่ร่วมในโลก 
เครื่องมือหลักของคน Gen ME ก็คือ สื่อโซเชียลมีเดีย ที่สามารถแสดงความเป็นตัวตน ผ่านทางสื่อที่คิดว่าเป็น "ของตน" ทั้งที่จริงแล้ว มันมีเรื่องซับซ้อนกว่านั้นอยู่เบื้่องหลังสื่อโซเชียลมีเดียเหล่านั้น 
การสนทนาระหว่างบุคคลในยุค Gen ME จะเกิดขึ้นน้อยลง มีความห่างเหินระหว่างตัวบุคคลมากขึ้น เพราะแต่ละคนต้องการสร้างความโดดเด่น แข่งขันกับคนอื่นในสังคม หรือไม่ก็เลียนแบบคนดัง ไอดอลต่างๆ และนำแนวทางการแต่งตัว แต่งกาย แต่งรูปร่าง มาประยุกต์เข้ากับตัวเอง เพื่อสร้าง "ตัวตนในอุดมคติ" ขึ้นมาเป็นปัจเจก
การเคารพกติกาในสังคมจะน้อยลงไป เพราะแต่ละคนจะคิดถึงแต่ตัวเองเท่านั้น
สังคม Gen ME ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเราเข้าสู่ยุค "ก้มหน้า" มาสักพักใหญ่แล้ว
โลกในจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต นั้น ไม่ได้เป็นโลกแห่งความเป็นจริง เป็นเพียง "โลกเสมือน" ที่คนเราไฝ่หาที่จะเข้าไปปะทะสังสรรค์กันในโลกเสมือนนั้น เพราะรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และแสดงความเป็นตัวตนได้ โดยไม่มีอันตรายต่อร่างกาย
แต่จะหารู้ไม่ว่า ในโลกทางกายภาพ นั้น เป็นสิ่งเกื้อกูลชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการพูดจา ทักทาย รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคารพตัวเองและผู้อื่นในสังคม แม้จะมีการปะทะทางกายภาพกันบ้าง แต่นั่นก็เป็นการปะทะสังสรรค์ตามแนวทางของสังคม และ สัญชาติญาณความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์
การเข้าสู่ สังคม Gen ME แน่นอนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่ อาจถึงขั้นการปฏิรูปทางสังคม และเป็นกระแสที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสื่อที่ใช้เข้าถึงโลกเสมือนจริง ที่อยู่ของเหล่า Gen ME นั้นมีอยู่เกลื่อนกลาด สามารถเข้าถึงได้ง่าย
อย่างไรเสีย มนุษย์ ก็ต้องรู้จักปรับตัว ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่ทั้ง Gen ME และ Gen อื่นๆ ยอมหันหน้าเข้าหากัน สังคมที่ดีก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ทึ่ง!นศ.สาวจุฬาฯสอบบาลีประโยค4ได้(เมื่อปี56)

ทึ่ง!นศ.สาวจุฬาฯสอบบาลีประโยค4ได้(เมื่อปี56)  : สำราญ สมพงษ์รายงาน

              ดูเหมือนว่าในสังคมไทยนั้น การทำดีของพระจะรู้กันแต่วงการของพระเท่านั้น แต่หากพระทำไม่ดีอย่างเช่นกรณีของ "สมีคำ" เป็นข่าวและกล่าวขานกันทั่วบ้านทั่วเมือง จะจบได้ก็ดูเมื่อ "สมีคำ" กลับไทยแล้วก็ไปนอนในคุกเท่านั้น ส่วนผลกระทบที่ตามมานั้นคงไม่มีการพูดกันว่าจะเหยียวยาอย่างไร คนออกมาเปิดเผยและทำคดีนี้ก็คงจะได้หน้ากันไปตามๆกัน
              ปัญหาของ "สมีคำ" ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการศึกษาด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อบวชเข้ามาแล้วแทนที่ศึกษาเหล่าเรียนตามระบบทั้งนักธรรมบาลีหรือการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็เอาดีทางไสยเวทและการก่อสร้าง
              อย่างไรก็ตามแม้นจะมีสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาของคณะสงฆ์ออกมาก็จะเป็นข่าวเพียงวันสองวันที่มีการประกาศผลสอบบาลี แต่ก็เน้นที่สอบประโยคเก้าได้เท่าใดเท่านั้นแล้วก็จบกัน ไม่มีการสืบค้นว่าการศึกษานักธรรมบาลีนั้นเรียนกันอย่างไร และยิ่งมีแม่ชีและฆราวาสสอบบาลีศึกษาได้ด้วยแล้วยิ่งเงียบฉี่ไม่เป็นข่าว
              แล้วแบบนี้จะสู้การเรียนบาลีที่ประเทศศรีลังกาและพม่าได้อย่างไร เพราะทั้งสองประเทศนี้มีผู้สามารถบรรยายและตอบโต้เป็นภาษาบาลีได้ด้วยเหมือนกับภาษาอังกฤษ
              ดังนั้น น้อยคนนักจะรู้ว่าในแต่ละปีนั้นจะมีฆราวาสและแม่ชีสอบบาลีศึกษาได้จำนวนเท่าใด
              บาลีนั้นเป็นภาษาของคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและเป็นคำทับศัพท์ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันนี้มีระบบการเรียนการสอนและก็สอบภายใต้การดำเนินงานของแม่กองบาลีสนามหลวง โดยสำนักเรียนต่างๆจัดการเรียนและก็ส่งรายชื่อเข้าสอบปีละหนึ่งครั้ง สอบได้ก็เลื่อนชั้นไปเรื่อยๆจนถึงประโยคเก้าซึ่งเทียบเท่าปริญญาตรีสามารถนำวุฒิการศึกษาไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทั่วๆไปได้ หากสอบไม่ได้ก็จะต้องเรียนแล้วก็สอบเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะละความพยายามแล้วก็เลิกเรียนไปเอง  เพราะไม่มีการสอบซ่อม
              วิธีการเรียนการสอบบาลีนั้นทั้งสามเณร พระ แม่ชี และฆราวาสทั่วๆไปเหมือนกัน
              ล่าสุดทราบจากเฟซบุ๊กบาลีศึกษาแผนกบาลีมหาธาตุวิทยาลัย แจ้งว่า ในปี 2556 สำนักเรียนมหาธาตุวิทยาลัย มีน.ส.สุกัญญา เจริญวีรกุล อายุ 18 ปี ธรรมศึกษาเอก สอบได้บาลีศึกษา 4 ประโยคด้วย และมีแม่ชีและฆราวาสที่สอบได้ในประโยคเดียวกันอีก 4 คน รวมผู้ที่สอบได้ประโยค 1-2 ถึงประโยค 8 โดยเฉลี่ยประโยคละ 5 คน
              ขณะนี้น.ส.สุกัญญาเป็นนิสิตชั้นปีที่ 2  สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้เธอสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนภาษา-ฝรั่งเศส และโครงการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พร้อมกันนี้เธอกำลังเรียนบาลีศึกษาประโยค 5 อยู่ที่มหาธาตุวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ โดยเรียนร่วมกับแม่ชีและฆราวาสมากพอสมควร
              ทั้งนี้เธอเคยเขียนข้อความในบล็อกที่เว็บไซต์เด็ก-ดี ความโดยสรุปว่า เมื่อจบ ม. 4 เทอม 1 เริ่มอ่านภาษาบาลีเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพราะชอบวิชานี้มากกว่าภาษาฝรั่งเศสหาหนังสือมาอ่านประมาณ 200 เล่ม
              หลังจากจบเทอม 2 ได้ลงสอบบาลีศึกษาโดยเริ่มจากการสอบประโยค 1-2 ต้องสอบ 2 วิชา คือวิชาบาลีไวยากรณ์และแปลมคธเป็นไทย ซึ่งเก็บคะแนนโหดมาก ถ้าแปลผิด 1 คำหัก 2 คะแนน ถ้าวากยสัมพันธ์(เชื่อมคำ)ผิดหัก 3 คะแนน และถ้าแปลผิดทั้งประโยคหัก 6 คะแนน ผิดเกิน 18 คะแนนคือสอบตก โดยข้อสอบมีประมาณ 1 หน้ากระดาษเอ 4
          
              สอบปีนั้นเป็นอย่างที่คิดไว้คือสอบผ่านวิชาไวยากรณ์แต่ตกวิชาแปล ถึงจะเสียใจแต่ก็ต้องยอมรับว่า ถ้าเราไม่ได้หว่านพืชก็ไม่ควรหวังผล เรียนมาเพียงไม่กี่เดือนสอบผ่านแค่วิชาไวยากรณ์ก็นับว่าดีแล้ว คนทั่วๆไปที่สอบผ่านใช้เวลา  2 ปีคือเรียนไวยากรณ์ 1 ปี และเรียนแปลอีก 1 ปี
              ตั้งแต่นั้นก็เริ่มอ่านธรรมบทภาค 1-4 และเริ่มอ่านเพื่อเตรียมสอบเอนทรานซ์ เมื่ออ่านจริงๆแล้วกลับพบว่าวิชาแปลไม่ยากอย่างที่คิด ปีหน้าฉันจะสอบใหม่อีกครั้ง ถ้าผ่านก็ดี แต่ถ้าไม่ผ่านก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
              การเรียนบาลีศึกษานั้นมีการเปิดสอนที่มหาธาตุวิทยาลัยและที่้สำนักเรียนทั่วๆ เช่น ที่วัดโมลีโลกยาราม บางกอกใหญ่ เปิดเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป พร้อมกับกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อมหาบาชีวิชชาลัยด้วย หรือที่วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม หากอดีตพระมหาเปรียญมีเวลาว่างก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมและก็ส่งชื่อสอบอาจจะมีประโยคเพิ่มก็เป็นได้ อีกทั้งทำให้เข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
.........................
(หมายเหตุ : ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20130826/166651/%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87!%E0%B8%99%E0%B8%A8.%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%AF%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%844%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.html )

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เกลี้ยงแผงไต้หวัน!เปิดตัวหนังสือ'ธรรมราชา' สุดล้ำทำแอพพลิเคชั่นแผ่ธรรมผ่านมือถือ


เกลี้ยงแผงไต้หวัน!เปิดตัวหนังสือ'ธรรมราชา' สุดล้ำทำแอพพลิเคชั่นแผ่ธรรมผ่านมือถือ : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน 

              ระหว่างวันที่ 11 - 15 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และพระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ พร้อมคณะผู้บริหาร เดินทางไปยังเมืองเกาสง สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน นอกจากเพื่อร่วมพิธีประสาทปริญญาแก่นิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ จิ้งเจวี๋ย ไต้หวัน และประชุมคณะกรรมการสถาบันสมทบมหาวิทยาบัยมหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัยแล้ว

              พระพรหมบัณฑิตยังได้แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ "ธรรมราชา" ภาคภาษาจีน ณ ศูนย์หนังสือเมืองไทเป โดยมีพระธรรมาจารย์จิ้งสิน จากวัดกวงเต๋อเมืองเกาสง วิทยาลัยสงฆ์จิ้งเจวี๋ย สถาบันสมทบ มจร ท่านชิมิงยี่ และผู้ร่วมดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือร่วมในการแถลงข่าวดังกล่าว

              ทั้งนี้ายสมหมาย สุภาษิต รอง ผอ.สำนักงานบริหารสำนักส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาและบริการสังคม  มจร ได้เปิดเผยว่า กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากชาวไต้หวันอย่างยิ่งต่างนำหนังสือให้พระพรหมบัณฑิตลงนามเป็นที่ระลึก เมื่อเดินสำรวจในแผงวางจำหน่ายปรากฏหมดในช่วงระยะเวลาอันสั้น ฝ่ายจัดจำหน่ายจึงได้นำมาวางในแผงเพิ่มเติมทันที

              ไม่ใช่เพียงเท่านั้น มจร ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ จิ้งเจวี๋ย ไต้หวัน พัฒนาเว็บไซต์เผยแพร่กิจกรรมระหว่างสถานการศึกษาทั้งสองแห่งอย่างเช่นเนื้อหาของกิจกรรมครั้งนี้ รวมถึงข้อมูลภายในหนังสือ"ธรรมราชา" พร้อมกันนี้ยังได้มีการจัดทำแอพพลิเคชั่นสามารถดูได้ผ่านทางมือถือระบบต่างๆ

              สำหรับเนื้อหาในหนังสือเรื่อง "ธรรมราชา"  นั้นเป็นบทบรรยายของพระพรหมบัณฑิตในหลายๆสถานการณ์ล่าสุดบรรยายในการประชุมวิชาการสถานบันพระปกเกล้าครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 7-8 เมื่อปี 2557 โดยระบุว่า ประเทศไทยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเอาแต่พระราชอำนาจมาแต่ไม่ได้ "ธรรมราช" มาปฏิบัติด้วย

              และในงานเดียวกันนั้นนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีปัจจุบัน กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง "ธรรมราชา คุณธรรมผู้ปกครองกับสังคมไทย" ในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 15 ความว่า ตนไม่เคยเห็นว่าผู้นำใดถ้าทำให้ผู้ตามหรือประชาชนไม่พอใจแล้วอยู่ต่อไปไม่ได้เลย และจากเดิมที่เป็น "ราชะ" ก็เหลือเพียง "รา" เท่านั้น  ดังนั้นคำว่า "ความพอใจ" กับ "ราชะ" จึงมีความหมายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลัทธิศาสนาใดก็มีความพยายามทำให้นักปกครองปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ตามตรงกันโดยไม่ได้นัดหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทำให้ผู้ตามหรือประชาชนอยู่อย่างมีความสุข

              ในการปกครองของไทยนั้น คติ "ธรรมราชา" ปรากฏชัดในยุคสุโขทัย แต่มาในยุคกรุงศรีอยุทธยานิยมของนอกคือ "ขอม" จึงมีคติ "รามาธิบดี" แม้นจะรู้ว่าแบบสุโขทัยมีของดีก็ตามและทำให้คตินี้ตกมาถึงไทยในปัจจุบัน  คติธรรมราชาพื้นกลับมาในยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยุครัตนโกสินทร์ก็ถือคตินี้ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา

              "คำว่า "ธรรมราชา" นี้ ทั้งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี ข้าราชการ หรือแม้กระทั้งลุงกำนันจะต้องมี แต่ที่แปลกก็คือว่า สังคมไทยมักเลือกปฏิบัติที่่จะนำหลักธรรมบ้างข้อมาใช้  เช่น  พรหมวิหาร 4 ชอบที่จะนำ เมตตา กรุณา มาใช้แต่ละเลย มุทิตา และอุเปกขา หรือแม้นแต่การให้ทาน ก็นิยมการให้วัตถุทาน ไม่นิยมที่จะให้ "อภัยทาน" หรือ "ธรรมทาน"  เป็นต้น  จึงทำให้คุณธรรมบกพร่องในสังคมไทย" นายวิษณุ กล่าวและว่า

              ถ้าจะฟื้นให้สังคมไทยมีความสงบสุขกลับคืนมา จะต้องนำ "ธรรมราชา" มาใช้ในปริบทใหม่ และเมื่อสหประชาชาติยกย่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นบุคคลสำคัญของโลก ก็ต้องมาดูว่าเขายกย่องเพราะอะไร อย่างเช่น ในช่วงการเปลียนแปลงการปกครองพระองค์มี 2 ทางเลือกคือ สู้กับหนีแต่พระองค์ทรงใช้ทางเลือกที่ 3 คือ "ยอมแพ้" ทำให้พระองค์เป็นบุรุษผู้ใฝ่สันติโดยแท้  จึงควรที่จะนำพระจริยาวัตรของพระองค์มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์บ้านเมืองไทยปัจจุบันนี้

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...