วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567

"มจร" แจ้งพระศรีสัจญาณมุนี ส่งรายงานแล้ว ขอให้ไปพิสูจน์กันในกระบวนการยุติธรรม



เมื่อวันที่ 29  เมษายน พ.ศ. 2567   พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร ได้กล่าวว่าจากกรณีที่ปรากฎข่าวตามสื่อต่างๆว่ามีพระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์กลุ่มหนึ่งเข้าไปล่าสัตว์ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ และปรากฎชื่อพระศรีสัจญาณมุนี ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มจร รวมอยู่ด้วยนั้น ขณะนี้อาตมาได้ดำเนินการให้พระศรีสัจญาณมุนี รายงานข้อเท็จจริงให้มหาวิทยาลัยทราบโดยไม่ชักช้า บัดนี้มหาวิทยาลัยได้รับหนังสือรายงานจากพระศรีสัจญาณมุนี แล้วในส่วนที่ถูกกล่าวหานั้นทุกรูปได้ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สถานีตำรวจแล้ว ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็ให้ไปพิสูจน์กันในกระบวนการยุติธรรม ในส่วนของมหาวิทยาลัยนั้นก็จะดำเนินการรวบรวมหลักฐานจากสามฝ่ายคือ จากกรมอุทธยานฯในฐานะผู้กล่าวหา จากพระศรีสัจญาณมุนี ผู้ถูกกล่าวหาและจากผู้คนแวดล้อมและรวมทั้งจากสื่อมวลชนต่างๆด้วยเพื่อจะได้จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป  




   

นอกจากหลักฐานจากทั้งสามส่วนนั้นแล้วก็จะได้ประสานกับสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติด้วย ในฐานะที่มีภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์และในขณะเดียวกันโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้ให้ข่าวยืนยันข้อเท็จจริงในบางเรื่อง บางประเด็นโดยอ้างจากรายงานของผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยภูมิด้วย            

"ว่ากันไปตามข้อเท็จจริง อะไรเป็นเรื่องของกฎหมายก็ดำเนินการไป อะไรที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยก็ดำเนินการไปโดยไม่ชักช้า ตอบสังคมให้ได้ นี่คือคำตอบในเรื่องนี้" พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย


สันติศึกษามหาจุฬาฯมุ่งเชิงรุก พัฒนายกระดับหลักสูตรใหม่สดสมสมัยสอดรับการโลก



เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เข้ารับการพัฒนาและเรียนรู้เพื่อยกระดับหลักสูตรสันติศึกษาตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ แนวทางการจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-Based Education : OBE)” เพื่อยกระดับหลักสูตรสันติศึกษา มจร   ให้มีคุณภาพโดยมุ่งเน้นนิสิตเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้พร้อมการให้บริการนิสิต ซึ่งจัดการพัฒนาและฝึกอบรมโดย คณะมนุษยศาสตร์ร่วมกับสำนักประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยหลักสูตรสันติศึกษา มจร มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 

พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ, ผศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา มจร  เป็นประธานกล่าวเปิดและแลกเปลี่ยนสะท้อนว่า สำนักงานประกันคุณภาพ มจร เห็นความสำคัญในการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน ๒๕๖๕ ในปัจจุบันมีหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยใช้เกณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๓๖ หลักสูตร เป็นการกำกับมาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เช่น มาตรฐานคณาจารย์ คุณภาพบัณฑิต การประเมินผล จึงมุ่งเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพต่อไป   

อาจารย์ ผศ.ดร.นิคม มูลเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะวิทยากรแลกเปลี่ยนการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ แนวทางการจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-Based Education : OBE) สะท้อนสาระสำคัญว่า ทำไมเราต้องปรับเพราะกฎกระทรวงมาตรฐานจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ มีคำว่า “ผลลัพธ์การเรียนรู้” เป็นผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา ฝึกอบรม  ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ 

โดยผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ๔ ด้านประกอบด้วย ๑)ด้านความรู้ (Knowledge) ระดับปริญญาโทเป็นความรู้ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการนำไปใช้ปฏิบัติ ต่อยอดความรู้และเชื่อมโยงความรู้ใหม่เพื่อการค้นพบและสร้างสิ่งใหม่ที่เป็นที่ยอมรับ ๒)ด้านทักษะ (Skills) ระดับปริญญาโทเป็นทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและทักษะการสร้างความรู้ในการปฏิบัติ การคิดริเริ่มสร้างสิ่งใหม่เพื่อสร้างความรู้ใหม่เชิงวิชาการวิชาชีพ รวมถึงทักษะดิจิทัลสำคัญมากทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ๓)ด้านจริยธรรม (Ethics) ระดับปริญญาโทเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำระดับบุคคลที่สะท้อนถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวมมุ่งทำตามกติกาของสังคมหลีกเลี่ยงการทำสิ่งผิดกฎหมาย ๔)ด้านคุณลักษณะ (Character) ระดับปริญญาโท มองถึงบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ค่านิยม มองถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น มีสันติภายใน มีความเป็นผู้นำ บริหารจัดการอารมณ์ได้ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น เคารพในความแตกต่างหลากหลาย สามารถสื่อสารอย่างสันติ เป็นต้น

โดยมุ่งตามกรอบประกอบด้วย ๑)มาตรฐานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) ๒)กฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ โดยมุ่งไปที่ “ผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การบริหารหลักสูตร คณาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา การประเมินผลการเรียน เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา การประกันคุณภาพหลักสูตร ระบบกลไกในการพัฒนาหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรรายวิชาหน่วยกิต  ปรัชญาวัตถุประสงค์  ชื่อปริญญา” จึงต้องมีการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา

(Outcome-Based Education : OBE) เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นการออกแบบกระบวนการเพื่อสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยมีหลักสำคัญคือ “การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ : Learning Outcomes” หรือเป้าหมายที่ชัดเจนซึ่งแสดงถึงที่คาดหวังให้ผู้เรียนจะเป็น หรือทำได้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ ใน AUN QA ใช้คำว่า Expected Learning Outcomes และเน้นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียน ตลอดถึงการประเมินที่สอดคล้องกันและนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้  โดย OBE จะทำให้เรารู้ว่าเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของการให้การศึกษาคืออะไร สามารถวัดผลได้ ปรับปรุงได้ ทำงานเป็นทีม  มีการเชื่อมโยง ทำให้หันมาสนใจที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นอนาคตของตนเองได้ชัดเจน โดย OBE ไม่ได้มุ่งเน้นปริมาณความรู้หรือเนื้อหาที่สอนให้ผู้เรียน แต่เน้นไปที่หลักการที่ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดได้ สามารถเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ หรือ ค้นหาความรู้ใหม่ๆได้ด้วยตนเองเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว

โดยการออกแบบหลักสูตรตามมาตรฐาน ประกอบด้วย ๑)วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง หา Need ของผู้เรียน ๒)คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ หมายถึง เมื่อจบไปแล้วมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างไร ๓)การเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตรขึ้นมา ๔)ขยาย PLO ถ้าจะให้บรรลุจะต้องขยายอย่างไร จึงนำไปสู่รายวิชา ๕)ทำแผนที่เพื่อให้เกิดความสำเร็จถือว่าเป็นตัวที่สำคัญมาก เพราะทุกวิชาจะสอดคล้องกันมีการผลักดันไปสู่การบรรลุเป้าหมาย  ๖)มีการประเมินผลอย่างไรในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร  ๗)บรรลุความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  โดยจะต้องได้รายวิชาตลอดหลักสูตรเพื่อออกแบบกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน มีการวัดผลประเมินผลออกมา 

การสร้างหลักสูตรจะต้องมอง ๕ มิติ ประกอบด้วย ๑)Qualification Framework and Professional Bodies มองถึงกรอบมารตฐานคุณวุฒะดับอุดมศึกษา (มคอ.๑ TQF๑) และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิมหาวิทยาลัย ๒)วิเคราะห์สถานการณ์และบริบทของโลก ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของโลก ความสอดคล้องกับพันธกิจแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย  การวิเคราะห์คู่แข่ง การออกแบบหลักสูตร และศักยภาพความพร้อมของหลักสูตร                     ๓)Stakeholder Analysis การวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย จะต้องผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลักสูตรเป็น Demand Driven  ๔)Graduate Attributes คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สามารถวาดภาพของ Perfect Graduate ได้ว่าจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างไร ๕) Philosophy ปรัชญาของหลักสูตร เป็นปรัชญาการศึกษาเป็นพื้นฐานในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนให้ผู้เรียนในหลักสูตร  

Stakeholder Analysis ถือว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี ๔ ขั้นตอน ประกอบด้วย 

๑)การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร (Identify Stakeholder) มีใครเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร มีอิทธิพลที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากหลักสูตร ผู้ใช้บัณฑิตในอนาคตจะต้องให้ความสำคัญ กลุ่มที่มีผลต่อหลักสูตรต่อการตัดสินใจ “มีเกณฑ์ในการเลือก Stakeholder อย่างไร และมี Stakeholder ในอนาคตเราจะเลือกใคร อย่างไร”  ใครมีอิทธิพลต่อหลักสูตรทั้งโดยตรงและโดยอ้อม 

๒)การวิเคราะห์และจัดลำดับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร (Prioritize Stakeholder) กลุ่มที่มีอำนาจในการออกแบบหลักสูตรสูง (HPLI HPHI LPLI LPHI) เป็นการวิเคราะห์เพื่อจัดหมวดหมู่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีกลุ่มด้านอิทธิพล (Power) ผลกระทบต่อหลักสูตร (Impact) จะต้องมีวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพมีวิธีการในการเก็บข้อมูลอย่างไร  

๓)การวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร (Stakeholder Need Analysis) โดยทำเป็นตารางให้ชัดว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือใคร และข้อมูลที่สะท้อนมาถึงความต้องการที่แท้จริง” หน้าตาของบัณฑิตที่เราจะพัฒนาควรมีหน้าตาอย่างไร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตควรมีคุณลักษณะอย่างไร จึงต้องวิเคราะห์การมีส่วนร่วมน้อยและส่วนร่วมมาก

๔)ตรวจสอบข้อมูล สรุป สังเคราะห์ผล (Conclusion) จะต้องมีการสังเคราะห์ออกมาอย่างเป็นระบบ สรุปออกมาเป็นตารางให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนของกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร การออกแบบแผนการสอน วิธีการเรียนสอน และเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันจะมุ่ง “มิติการสื่อสารเป็น การทำงานเป็นทีมเป็น ความคิดสร้างสรรค์เป็น แต่ไม่ได้มิติของความรู้” 

เรามองอนาคตในการพัฒนาหลักสูตรแต่อย่าลืมอดีตว่าเราเคยมีปัญหาอะไรในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งการฟังเสียงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องมองว่า “อะไรคือความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ อะไรที่เป็นข้อมูลที่ต้องนำมาบริหารจัดการหลักสูตรให้การบริการผู้เรียนที่พึงพอใจมากที่สุด” โดยการฟังเสียงจึงมีความจำเป็นมากที่สุด จะนำไปสู่ Perfect Graduates


วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

อาจารย์หนู กันภัย เปิดสำนักสักยันต์ จัดพิธีไหว้ครู ในรอบ 5 ปี

 


อาจารย์หนู กันภัย เปิดสำนักสักยันต์ จัดพิธีไหว้ครู ในรอบ 5 ปี พร้อมเชิญ พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงบารมี ร่วมทำพิธีปลุกเสกตระกรุด “โครตรวย”  

นายสมพงษ์ กันภัย หรือที่รู้จักกันในนาม อาจารย์หนู กันภัย ได้หวนกลับมาจัดพิธีไหว้ครูประจำปีขึ้นอีกครั้งในรอบ 5 ปี หลังหยุดจัดพิธีไปเนื่องจากสถานการณ์โควิดในประเทศไทย ณ สำนักสักยันต์ 95/5 ม.1 หมู่บ้านพลูศรี ถนนปทุมธานีสายใน ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ภายในงานมีลูกศิษย์ ทั้งข้าราชการ สื่อมวลชน และคนดังเข้าร่วมพิธีมากมาย โดยงานจัดขึ้นใน วันอังคารที่ 30 เมษายน 25677 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ณ สำนักสักยันต์อาจารย์หนู กันภัย จ.ปทุมธานี  



นอกจากนี้ ยังมีไฮไลท์พิเศษ กับ พิธีปลุกเสกตะกรุดและวัตถุมงคลรุ่น “โครตรวย” โดยอาจารย์หนู กันภัย และ พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงบารมีหลายท่าน ซึ่งเปิดให้บูชาภายในงานเป็นครั้งแรก สำหรับตะกรุดโครตรวย รุ่นนี้ มีความเชื่อว่า สามารถเตือนภัยได้ เตือน พยาอันตรายและบอกเหตุ ได้ ป้องกันขโมย และ โจร เป็นตะกรุดด้านป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆนาๆ กำบังภัยจากศัตรูหมู่ร้าย   





แผ่นตะกรุดเนื้อตะกั่วปั๊มยันต์มี 3 แบบ แบบที่ 1 เป็นยันโสรสมงคล มีแกนเป็นทองแดง, แบบที่ 2 เป็นยันต์คู่ชีวิต มีแกนเป็นทองแดง, แบบที่ 3 เป็นยันต์พระพุทธเจ้า 16 พระองค์ มีแกนเป็นทองแดง ตะกรุดพลังฤทธิ์กายสิทธิ์ รุ่นโคตรรวย



ผู้ที่สนใจตะกรุด “โครตรวย” และวัตถุมงคลอื่นๆ สามารถสั่งจองได้ที่ FB : มหาสำเร็จ - เบอร์มงคล วัตถุมงคล อาจารย์หนู กันภัย และ Line : @mahasuccess


"มจร วัดไร่ขิง" เปิดหลักสูตรปั้น "มัคนายก" ต้นแบบ พร้อมใบรับรองเพิ่มความรู้สร้างอาชีพ



 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567   พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ รองผอ.วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ "มจร" วัดไร่ขิง จ.นครปฐม กล่าวว่า  การพัฒนาศักยภาพมัคคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา ทาง "มจร" วัดไร่ขิง ได้ทำความร่วมมือกับคณะสงฆ์ภาค 14  (นครปฐม สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี) ในการกำหนดทักษะสำหรับผู้จะทำหน้าที่มัคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา ประกอบด้วย 

1. ทักษะในการเป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2. มีความรู้ในพระพุทธศาสนาและศาสนพิธีประเภทต่างๆ 3. ตั้งตนอยู่ในศีลธรรม (ศีล 5)  4. มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ เป็นผู้นำ ปฏิปทาน่าเลื่อมใส และได้ร่วมกันออกแบบหลักสูตร "การพัฒนาศักยภาพมัคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา"  กำหนดเนื้อหาว่าด้วยความรู้ในพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีอันเนื่องด้วยมงคลพิธีและอวมงคลพิธี สารัตถะธรรมที่แฝงอยู่ในงานพิธีต่าง ๆ มีทักษะในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดศาสนพิธีต่อประชาชน มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ เป็นผู้นำ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีความเป็นผู้นำ เมื่อผู้เรียนผ่านการเรียนรู้จากหลักสูตรนี้แล้ว จะเป็นมัคคนายกที่เป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา เป็นต้นแบบให้กับศาสนพิธีกรในคณะสงฆ์ภาค 14 ทั้งเชื่อมโยงการศึกษากับการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ โดยจะออกใบรับรองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือ

พระมหาบุญเลิศ กล่าวต่อไปว่า สำหรับหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพมัคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา รุ่น 1 จะเปิดรับมัคนายกประจำวัด จำนวน 20 คน ผู้สนใจทั่วไป จำนวน 20 คน เรียนทุกวันพุธ สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะเวลา 7 สัปดาห์ ฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง ระยะเวลา 9 สัปดาห์ ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา สมัครเรียนได้ที่  https://forms.gle/EKuZDBCZuHSnxaHRA หรือติดต่อสอบถาม พระปลัดประพจน์ สุปภาโต 089-223-1243


เลขาธิการ กกต. แจงกฎเลือก สว. ห้ามหาเสียงได้แค่แนะนำตัว เตือนฮั้วเลือกตั้งตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต



เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567   นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Sawaeng Boonmee ระบุว่า สว.รัฐธรรมนูญออกแบบไว้อย่างไร...ทำไมต้องแนะนำตัว ห้ามหาเสียง มันต่างกันอย่างไร...โทษการแนะนำตัว กับโทษทุจริตในการเลือก...การให้ความรู้ เชิญชวนคนสมัครทำได้ไหม...ทำไม กกต. ออกระเบียบแนะนำตัวแบบนี้...         

1.สว. ตามรัฐธรรมนูญมีลักษณะอย่างไร 1) วุฒิสภา "ต้องต่างจาก" สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา "เป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ" แต่ สภาผู้แทนราษฎร "เป็นสภาของนักการเมือง" 2) สมาชิกวุฒิสภา (สว.)"ต้องเป็นกลางทางการเมือง ตาม ม.114 ของรัฐธรรมนูญ แต่สภาผู้แทนราษฎร(สส.) "เป็นสภาของนักการเมือง" 3) สว. เป็น "สภาผู้ทรงคุณวุฒิ" จากกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ แต่ สส. เป็น "สภาของสมาชิกพรรคการเมือง" 4) สว. มีที่มาจาก "การเลือก"กันเองของผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ สส. มาจาก "การเลือกตั้ง" ของประชาชน 5) สว. ต้องเป็น "ผู้ทรงคุณวุฒิ คือ อายุ 40 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพ และเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งต่างจาก สส.โดยสิ้นเชิง ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ไม่ต้องมีประสบการณ์ในสาขาอาชีพ และ เป็นนักการเมืองเต็มตัว            

2. การแนะนำตัว(เลือก) และการหาเสียง(เลือกตั้ง) ด้วยเหตุข้างต้นที่รัฐธรรมนูญออกแบบให้ สว.มีลักษณะดังกล่าว กม .จึงกำหนดให้ผู้สมัคร สว. ทำได้แค่แนะนำตัว นั้นหมายความว่าห้ามหาเสียงโดยปริยาย เพราะเชื่อว่าผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกันเองที่สมัครทุกคน มี ความดี เด่น ดัง ในสาขาอาชีพของตัวเองเป็นที่ประจักษ์และทราบกันดีในวงการนั้นดีอยู่แล้ว และด้วยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจะมี "วิจารณญานในการเลือก"ที่ถูกต้องได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีการจัดตั้ง ฮั้วกันในการเลือก                

1) การแนะนำตัว คือ การบอกว่าตัวเองเป็นใคร มีประสบการณ์ในกลุ่มสาขาอาชีพนั้นอย่างไร แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกันเองมีข้อมูลในการเลือกในการเลือกกันเองแล้ว ไม่ว่าจะเลือกในกลุ่มหรือเลือกไขว้ก็ตาม             

2) การหาเสียง คือ การหา หรือขอคะแนนนิยม โดยการโฆษณา การเสนอนโยบาย หรือการแสดงวิสัยทัศน์ ของพรรรการเมืองและผู้สมัคร ดังนั้นเมื่อพูดถึงที่มา ของ สว. ต้องรู้ให้จริงว่ามาจาก "การเลือก/การแนะนำตัว" อย่าไปสับสนกับที่มา สส.ที่มาจาก "การเลือกตั้ง/การหาเสียง" นั้นแสดงว่ารู้ไม่จริง หรือแกล้งไม่รู้ให้ประชาชนสับสน           

3. โทษการแนะนำตัว และโทษการทุจริตในการเลือก 1) โทษของการแนะนำตัว เช่น การขอคะแนนกัน การแลกคะแนนกัน(ยังไม่ซื้อเสียง) ตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป ศาลฏีกาได้วินิจฉัยฉัยใว้แล้วว่าเป็นการแนะนำตัวไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามคำพิพากษาศาลฏีกา ที่ 5606/2562 และ ที่ 5217/2562 พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง(ใบดำ/ตลอดชีวิต) นั้นหมายความว่า การจัดตั้ง การฮั้ว (ยังไม่ได้ใช้เงินซื้อเสียง)ก็อยู่ในลักษณะความผิดนี้ด้วย 2) โทษของการทุจริตในการเลือก เช่น การซื้อเสียง รวมทั้งโทษอื่น เช่น จ้างให้คนลงสมัคร รับจ้างสมัคร สมัครโดยเอกสารเท็จ รับรองการสมัคร กลุ่มความผิดนี้ มีทั้ง เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง) จำคุก และเสียเงินค่าปรับด้วย ดังนั้น ให้พึงระวังให้ดี แม้ไม่ได้กระทำผิดตามข้อ 2)เรื่องการทุจริตในการเลือก แต่แนะนำตัวไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มีความผิดโดนใบดำได้             

4. การให้ความรู้ การเชิญชวนลงสมัครทำได้หรือไม่ การให้ความรู้ การเชิญชวนลงสมัครโดยทั่วไปแล้วหยุดแค่ให้ความรู้ หรือเชิญชวน ลักษณะนี้โดยตัวมันเองทำได้อยู่แล้ว แต่อาจเป็นเหตุให้เป็นความผิดอื่นได้ เมื่อได้ดำเนินการต่อเนื่องจากการให้ความรู้ หรือการเชิญชวน อาทิ  1) การตั้งกลุ่ม เพื่อติดต่อกันไม่ว่าในช่องทางใดๆ เช่น การตั้งกลุ่มไลน์ และมีการแลกคะแนนกัน ขอคะแนนกัน การฮั้วกัน เป็นต้น 2) การสร้างกลุ่มแต่มีการแนะนำตัว ไม่เป็นไปวิธีแนะนำตัวตามที่ระเบียบกำหนด เช่น การเสนอนโยบาย เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นกับข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป             

5. ทำไม กกต. ออกระเบียบแบบนี้ กกต.ออกระเบียบว่าด้วยการแนะนำตัว บนหลักการ 3 ประการ 1) เพื่อให้ได้สมาชิกวุฒิสภา ตามที่รัฐธรรมนูญออกแบบใว้ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 2) เพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิเดินมาสมัครด้วยตัวเอง หากมีมีการจัดตั้ง การบริหารจัดการอยู่เบื้องหลัง การจัดตั้งกลุ่มทำไห้ได้ สว. ไม่เป็นอิสระ ไม่เป็นกลาง และเอาเปรียบคนตั้งใจดี 3) หวังดี คุ้มครองผู้สมัคร ส่วนคนที่คิดจะไปเข้ากลุ่มจะได้คิดว่า กลุ่มนั้นจะทำผิดวิธีแนะนำตัวหรือไม่ อยากเป็น สว. ต้องแนะนำตัวให้ถูก ไม่ยากเลย และเป็นธรรมกับทุกคน อย่าคิดเอาเปรียบคนอื่น                

ทุกความเห็น เรารับฟังมาตลอด ไม่ว่าความเห็นนั้นจะไม่อยู่บนหลักกฎหมาย หรือมีแรงจูงใจทางการเมืองหรือไม่ แต่สุดท้าย เราก็ต้องทำตามกฎหมาย ไม่อาจทำตามความต้องการของคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งได้


วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567

ลูกศิษย์ส่งหลวงปู่ธัมมาพิทักษาพระมหาเถระผู้มีพระคุณยิ่งเป็นครั้งสุดท้าย



วันที่ ๒๗ เมษายน  ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,  ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย น้อมส่งท่านพระครูวิบูลธรรมภาณ หรือ หลวงปู่ธัมมา พิทักษา เป็นผู้มีพระคุณยิ่งในฐานะครูบาอาจารย์ที่ให้โอกาสศึกษาทางโลกและทางธรรมตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ซึ่งหลวงปู่เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่ยายมอญ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สร้างวัดพัฒนาพระเณรส่งเสริมการศึกษาอันเป็นที่ประจักษ์อย่างยิ่ง เป็นพระสงฆ์ผู้บุกเบิกสร้างวัดใหม่ยายมอญเป็นความหวังเป็นโอกาสให้พระหนุ่มเณรน้อยเข้ามาศึกษา เป็นพระมหาเถระผู้เบิกทางชีวิตให้เด็กบ้านนอกส่งเสริมการศึกษาอย่างแท้จริง   

โดยส่วนตัวแล้วปฏิเสธไม่ได้เลยว่า "ถ้าไม่มีหลวงปู่คงไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาทางธรรมและทางโลก" รวมถึงครูบาอาจารย์หลายรูปล้วนเป็นศิษย์ของหลวงปู่ธัมมา พิทักษา อาศัยร่มเงาร่มธรรมของหลวงปู่ธัมมา พิทักษา ศิษย์วัดใหม่ยายมอญจะทราบดีว่าหลวงปู่เป็นอย่างไร ทำอะไร ในส่วนลึกแล้วมีแต่ความเมตตามีแต่ความหวังดีปรารถนาดีต่อศิษย์ทุกรูปท่าน ซึ่งหลวงปู่สอนไม่ให้เผลอสติดำรงตนแห่งความเป็นพระสงฆ์ "สวดมนต์ได้ จรณะงดงาม  ศึกษาเล่าเรียน ให้วัดได้พึ่งพาได้ และสำนึกรักบ้านเกิด" 

ทำให้หลวงปู่ธัมมา พิทักษา กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเป็นต้นแบบ เพราะเห็นความลำบากในชุมชน โดยสร้างพระธาตุเรืองรอง ซึ่งมีความงดงามเป็นสถานที่พึ่งทางใจของคนอีสานใต้ สร้างชุมชนสันติสุข ช่วยเหลือชุมชนตามสังคหวัตถุธรรม จากชุมชนที่ยากจนยกระดับเศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น เพราะสร้างเป็นวัฒนธรรมชุมชนแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่าน "สถาปนึก" นึกอะไรได้ก็ทำ ทำจนเป็นฐานของชุมชนผ่านมิติกายภาพสัปปายะ  นำไปสู่พฤติภาพอยู่ร่วมกัน พัฒนาจิตตภาพรวมพลัง และก่อเกิดปัญญาภาพในชุมชนอยู่รอด โดยสิ่งที่หลวงปู่ธัมมา พิทักษา ลงมือทำเป็นความคิดสร้างสรรค์มีธรรมะข้อคิดซ่อนอยู่ เป็นปริศนาธรรมของการพัฒนาชีวิต

โดยส่วนตัวสมัยเป็นสามเณรวัดใหม่ยายมอญ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ย้ำเตือนตนเองเสมอว่า   

#ถึงฉันหิวฉันเหงาฉันหนาวเหน็บ 

#ถึงฉันเจ็บฉันทุกฉันถูกหยาบ 

#ฉันจะยืนเย้ยฟ้าสง่างาม 

#เชิดชูนามสกุลฉันพันธพัฒน์ 

#ถึงฉันหิวฉันเหงาฉันหนาวเหน็บ 

#ฉันขอสู้อยู่กรุงเทพแม้เจ็บหล้า 

#ในเมื่อฉันดั้นด้นดิ้นรนมา 

#ฉันจะเอาปริญญากลับนาดอน  

ถึงวันนี้ทำสำเร็จแล้วเพราะหลวงปู่ถือว่าเป็นบุคคลที่ให้โอกาส ให้ความหวัง ให้แรงบันดาลใจ ให้พลังทางการศึกษาเล่าเรียน ถือว่าเป็นบทกลอนที่ย้ำเตือนว่าต้องสู้จนกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งชีวิตลำบากไม่พอ เรายังโดนดูถูกเหยียบหยามจากผู้คน คำกลอนนี้ทำให้เรามีแรงผลักดันเดินต่อไป คำกลอนนี้ผ่านมาหลายสิบปียังจดจำได้ขึ้นใจเสมอ 

ในวาระที่หลวงปู่ธัมมา พิทักษา มรณภาพ จากลูกหลานไปแบบไม่มีวันกลับตามวาระ แต่ยังคงผลงานที่เป็นอนุสาวรีย์ทั้งด้านกายภาพ  ด้านพฤติภาพ  ด้านจิตตภาพ ด้านปัญญาภาพ และอนาคตภาพ เป็นต้นแบบของนักต่อสู้ทั้งภายในคือกิเลส และต่อสู้ภายนอก ในการสร้างวัดเพื่อเป็นสถานที่ให้โอกาสพระเณรจากบ้านนอกเข้ามาศึกษาเล่าเรียน หลวงปู่ยังคงอยู่ในใจเสมอตลอดไปและน้อมบุญถวายหลวงปู่ พระมหาเถระผู้มีพระคุณอย่างยิ่ง โดยปัจจุบันได้รับความเมตตายิ่งจากพระครูสุตกัลยาณคุณ รองเจ้าคณะอำเภอเมืองศรีสะเกษ รักษาการเจ้าอาวาสวัดบ้านสร้างเรือง ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของพระธาตุเรืองรอง เด่นสง่าในเขตอีสานใต้  


"เจ้าคุณประสาร" ยันแยกแยะ ดำเนินตามขั้นตอน กระบวนการ กฎหมาย และพระธรรมวินัย ปมรองเจ้าคณะชัยภูมิ



เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567   จากกรณีที่มีข่าวปรากฎตามสื่อต่างๆว่า พระศรีสัจญาณมุนี หรือ พระหาสุมินทร์   ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มจร และคณะได้ออกเดินป่าล่าสัตว์ในบริเวณเขตรัษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมอย่างกว้างขวางนั้น ในกรณีดังกล่าว พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มจร ในฐานะที่กำกับดูแลวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ตามภาระงานนั้นๆ ได้กล่าวว่า ในเรื่องนี้มหาวิทยาลัยไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ให้ความสำคัญและเข้าใจในประเด็นของพระธรรมวินัย ข้อกฎหมาย ความเหมาะสมและเสียงสะท้อนของผู้คนผ่านสื่อต่างๆมากมายนั้น ในฐานะที่พระศรีสัจญาณมุนี (สุมินทร์) เป็นผู้บริหารในมหาวิทยาลัยสงฆ์และปรากฎเป็นข่าวที่คนให้ความสนใจในเวลานี้นั้น อาตมาได้พยายามติดต่อโดยตรงกับท่านและล่าสุดได้เรียกผู้บริหารวิทยาลัยสง์ชัยภูมิมาพูดคุยกันที่ส่วนกลางแล้วจึงมีประเด็นที่จะได้สื่อกับผู้คนที่ติดตาม ดังนี้

      1.พระศรีสัจญาณมุนี (สุมินทร์) นั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มจร จริงและตลอดเวลาหลายปี หลายสมัยที่ดำรงตำแหน่งมาท่านได้ทำงาน สนองงานรับใช้พระพุทธศาสนา คณะสงฆ์และมหาวิทยาลัยด้วยความเรียบร้อย ท่านได้เสียสละเพื่อมหาวิทยาลัยจนมีผลงานเป็นที่ปรากฎ ภาพวันนี้วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิก็เจริญก้าวหน้าตามลำดับ นี่ในส่วนภาระหน้าที่ที่ผ่านมา

        2.ในกรณีการกระทำที่กำลังตกเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นั้น ในส่วนของกฎหมายก็ต้องว่ากันไปตามข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงตามที่อธิบดีกรมอุทยานฯได้รับรายงานและให้นโยบายในการดำเนินการไปแล้ว ในส่วนของพระธรรมวินัยนั้น เมื่ิอมีเรื่อง มีกรณีของพระสงฆ์เกิดขึ้นไม่ว่าจะเรื่องใดๆก็ตามซึ่งในกรณีนั้นๆมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายบ้านเมืองด้วยและในขณะเดียวกันในเวลานั้นในฝ่ายบ้านเมืองโดยกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนเป็นต้นไปจนถึงชั้นศาลสถิตยุติธรรมกำลังดำเนินการตามภาระหน้าที่อยู่นั้น ในทางปฎิบัติของคณะสงฆ์ในฝ่ายปกครองที่สูงขึ้นไปที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงก็จะต้องรอกระบวนการยุติธรรมให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะกลับมาตั้งคณะกรรมการสงฆ์พิจารณาตามหลักพระธรรมวินัย ต่อไป

       3.ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ มจร นั้นในขณะนี้ได้รับรายงานจากวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิในข้อมูลบางส่วนในเบื้องต้นแล้วและขณะนี้ก็ได้สั่งให้มีการรายงานข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยไม่ชักช้ามายังมหาวิทยาลัยเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป  

            "ถึงอย่างไรก็ตามขณะนี้สังคมเราได้รับทราบข้อมูลเพียงหนึ่งด้านในอีกด้านหนึ่งนั้นท่านเป็นพระผู้ใหญ่ มีตำแหน่งทั้งทางปกครอง ทางการศึกษาอยากให้ทุกฝ่ายได้ใช้สติในรอข้อมูลอีกฝ่ายเพื่ิอประกอบการพิจารณาขณะเดียวกันข้อมูลอีกฝ่ายก็จะต้องเร็วและทันต่อสถานการณ์ เพื่อจะได้ไม่ให้ข่าวที่ปรากฎอยู่ในขณะนี้นั้นไปกันใหญ่ ไปไกลและเสียหายไปมากกว่านี้ ในส่วนของสงฆ์นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะปกป้องกันจนไม่ลืมหูลืมตา แต่ก็ไม่ได้เหยียบย่ำซ้ำเติมกันในทันทีทันใดโดยปราศจากข้อเท็จจริง ดังนั้นข้อเท็จจริงทั้งหมดของทั้งสองฝ่ายจะเป็นคำตอบและบทสรุปในเรื่องนี้ตามหลัก อธิกรณสมถะ7" พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย


วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน



กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ 3 ปี 

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมได้ประชุมหารือร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ ตามแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในระยะ 6 ปี คือ พ.ศ. 2565 – 2570 ในการเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยมี NECTEC  และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ในส่วนของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมดำเนินการในระยะ 3 ปี คือ พ.ศ. 2568 – 2570 เป้าหมาย 10,000 คน โดย Upskill แรงงานในสถานประกอบกิจการ พัฒนาทักษะด้าน AI และระบบ IOT ให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และยกระดับฝีมือให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้มีทักษะการทำงานร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ สำหรับในปี 2567 จะเริ่มดำเนินการภายในเดือนมิถุนายน 2567 นี้ ซึ่งกำหนดให้หน่วยฝึกจำนวน 15 จังหวัดปรับแผนการฝึกให้สอดรับแผนปฏิบัติงานที่ต้องดำเนินการร่วมกันกับ NECTEC ด้วย

นางสาวบุปผา กล่าวต่อไปว่า กรมได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรกลางขึ้นใหม่ โดยร่วมกับ NECTEC เพื่อ Upskill แรงงานในสถานประกอบกิจการ จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้ 1) หลักสูตร IoT Fundamentals 2) หลักสูตร Advanced IoT 3) หลักสูตร Introduction to Data Visualization และ 4) หลักสูตร Signal Processing ดำเนินการในหน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 15 แห่ง ประกอบด้วย 1) สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) 2) สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์ (AMA) 3) สถาบันพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ (AHRDA) 4) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี 5) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี 6) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา 7) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6 ขอนแก่น 8) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี 9) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี 10) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร 11) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม 12) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 17 ระยอง 13) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 18 อุดรธานี 14) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ และ 15) สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตรัง  หลังจากนั้นจะขยายการฝึกด้าน AI และ IOT ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแผนระยะ 3 ปี จำนวน 10,000 คน ที่กล่าวไว้ข้างต้น


“สถานประกอบกิจการ ที่สนใจ Upskill แรงงานที่ปฏิบัติงานด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือระบบ IOT สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ทั้ง 15 แห่ง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” อธิบดีบุปผา กล่าวในท้ายสุด


บิ๊กเนมเพียบทั้ง "อดีต รมต. - สว." สนใจสมัครหลักสูตรดับทุกข์ผู้บริหาร



มูลนิธิสุญญตาวิหารเผยหลักสูตรการดับทุกข์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นแรก มีผู้สนใจในช่วงสองอย่างล้นหลาม รองประธานมูลนิธิฯเผยมีทั้งอดีตรัฐมนตรี อดีต ส.ว.และอดีตปลัดกระทรวง สนใจ ชี้หลักสูตรนี้เหมาะกับโลกในยุคปัจจุบัน

 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567   นายสมชาย เลิศด้วยลาภ รองประธานมูลนิธิสุญญตาวิหาร เปิดเผยว่าด้วยสถานการณ์ปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและในโลก ทั้งปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทุกอย่างอีกมากมายที่เกิดขึ้น สำหรับผู้บริหารจะมีการรับรู้และรับผิดชอบมากกว่าบุคคลทั่วไป ทั้งผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และผู้บริหารหน่วยงานภาคเอกชน โดยทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดเพราะความรับผิดชอบที่มีต่อตัวเอง หน่วยงานและสังคม รวมถึงประเทศการเป็นทุกข์สำหรับผู้บริหารแล้ว มักจะไม่สามารถบอกหรือปรึกษาใครได้ เพราะความน่าเชื่อถือและความคาดหวังของคนในองค์กร นั่นทำให้ผู้บริหารบางคนสูญเสียความมั่นใจและส่งผลต่อองค์กรที่ตนบริหารอย่างมาก หรือบางคนก็หาหนทางออกผิดทางจนถูกหลอกลวงไปก็มี



“มูลนิธิสุญญตาวิหารมองเห็นความสำคัญของทุกข์สำหรับผู้บริหาร จึงได้พัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่าหลักสูตรการดับทุกข์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 1โดยวิชาที่ศึกษานั้นเป็นเนื้อหาของศาสนาเช่นอริยสัจ4  ศิล สมาธิ ปัญญา โดยธรรมมะสัจจะของหลักสูตรคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เพื่อให้บัณฑิตของหลักสูตรสามารถดำรงตนอยู่เหนือความทุกข์ และมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองทำหรือบริหารอยู่ รวมทั้งสามารถนำความรู้เผยแผ่ในการดับทุกข์ให้กับผู้อื่นได้”

นายสมชายกล่าวต่อไปอีกว่าจากการเปิดรับสมัครผู้บริหารที่สนใจในรอบแรกนั้นมีผู้สนใจจำนวนมากซึ่งทางผู้บริหารหลักสูตรได้ประกาศรายชื่อในรอบแรกไปแล้ว โดยขณะนี้กำลังจะประกาศรอบสุดท้ายซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริหารหลายคนโดยมีอดีตรัฐมนตรีมากกว่า 2 ท่าน รวมทั้งอดีตสมาชิกวุฒิสภา และผู้บริหารระดับปลัดกระทรวง ที่สนใจส่งใบสมัครเข้ามา ซึ่งคณะกรรมการหลักสูตรก็จะพิจารณาภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้โดยในรุ่นที่ 1 นี้กำหนดรับไว้ที่จำนวน 60 ท่าน โดยจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 15 ท่านโดยชื่อกลุ่มจะเป็นสีของบัว 4 สี



นายสมชาย กล่าวอีกว่าสำหรับรายละเอียดของหลักสูตรคือเรียนสัปดาห์ละ 1 วันทุกๆวันศุกร์เป็นเวลา 7 เดือนโยเริ่มเรียนตั้งแต่ วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 จนถึงวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ  สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต และวัดชลประทานรังสฤษดิ์ โดยมีอาจารย์พิเศษและอาจารย์ประจำหลักสูตร ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเช่นพระพรหมบัณฑิต ,พระธรรมวัชรบัณฑิต,รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม เป็นต้น  โดยจะเปิดรับสมัครไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้  โดยผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 084 -164-2424 


กกต.เตือนผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็น สว. ศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมาย

 


 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567  ด้วยปรากฏว่ามีบุคคล กลุ่มบุคคล ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ก่อนที่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ    

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอเรียนว่า ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 เมษายน 2567 และระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น เพื่อให้การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และพึงระมัดระวังในการดำเนินการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกำหนดด้วย 

    ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เก็บรวบรวมข้อมูลของบุคคล กลุ่มบุคคล ที่ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไว้ด้วยแล้ว และหากพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด จักดำเนินการตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดต่อไป


กกต. ออกระเบียบการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ 27 เม.ย.นี้ 

ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 เพื่อให้การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 เมษายน 2567 และระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาประกาศเป็นต้นไป    

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ได้ทางเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th 

 


วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

รวม 4 สุดยอดเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส จ.นครพนม อายุ109 ปี



เหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช  หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อายุ 109 ปี รวมความเป็นสุดยอดดังนี้ สุดยอดพุทธศิลป์ สุดยอดมวลสาร สุดยอดพิธีกรรม รุ่นนี้ บันทึกไว้เป็นตำนาน "มนต์นาคาพระดีพุทธคุณดี"

สำหรับความเป็นมาของการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ นายนิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ” หนึ่งในหัวหน้าทีมพี่เสือ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า เพื่อสนับสนุนสร้างศาลาหอฉัน ศาลา 109 ปี หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ และโครงการต่างๆ  ใกล้แล้วเสร็จ ต่อไปหลวงปู่ดำริ 



งบประมาณในการก่อสร้างส่วนแรก ยกโครงมุงหลังคาใช้งบประมาณ 1,250,000 บาท และคาดการณ์ว่าจะใช้งบประมาณจนแล้วเสร็จประมาณ สองล้านกว่าบาท ท่านไหนที่ร่วมบุญ ไม่ว่าจองวัตถุมงคลทุกรุ่นที่กำลังจัดสร้างของแต่ละทีมสร้างก็มีส่วนในการจัดสร้างศลาในครั้งนี้

ผู้ที่มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญกับหลวงปู่โดยตรง สามารถโอนเข้าบัญชีหลวงปู่ได้ทีา ธ.กสิกรไทย 1802770029 พระคีบ จำปา



การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช

หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ถวายปัจจัยให้กับทางวัด ตลอดจนร่วมสร้างและพัฒนาศาสนสถานต่างๆภายในวัดให้คงอยู่ คู่พระพุทธศาสนนาสืบไป  ทีมพี่เสือพร้อมผู้ร่วมบุญทุกๆคน ทั้งที่มาร่วมงานเเละไม่ได้มาวันนี้ เราได้ถวายปัยจัยเป็นเงิน 200,000 บาท เพื่อสร้างศาลา 109 ปี 

ในส่วนของเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ มีการจัดสร้าง 199 ลัง  ประกอบพิธี 3 วาระดังนี้ วาระที่1. เสกมวลสาร เเละหล่อนำฤกษ์ ปั้มนำฤกษ์ หลวงปู่คีบ ท่านเมตตา สุดยอดพิธี หาเกจิที่อายุขนาดนี้ ปั้มฝห้ด้วยองค์ท่านเอง  



วาระที่ 2  วันที่ 30 มี.ค. 2567 เสกลังนำฤกษ์เเละรายการจอง.พร้อมรายการลุ้น ทุกรายการ เพื่อเกิดพุทธานุภาพสูงสุด โดยได้ถวายปัจจัยสมทบทุน 100,000 บาท

วาระที่ 3 วันที่27 เม.ย.นี้ คณะผู้จัดสร้างจะไปถวายปัยจัยอีก100,000บาท ไปร่วมทำบุญ งานลงฐานล่างศาลา 109 ปี หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพสวรรค์ จ.นครพนม 



ผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวการจัดสร้างวัตถุมงคลของ “ทีมพี่เสือ” ได้ที่…https://www.facebook.com/groups/1242269399567579/?ref=share_group_link

หลวงปู่คีบ ธีรปญฺโญ มีนามเดิมว่า คีบ จำปา เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2458 ในใบสุทธิและบัตรประชาชนได้ระบุ พ.ศ. 2463 เนื่องด้วยท่านเล่าว่ากำนันในสมัยนั้น แจ้งเกิดให้ท่านช้า 

ด้วยระยะทางที่ไกลจากตัวอำเภอมาก ประกอบกับคนในสมัยนั้นเมื่อเด็กแรกเกิดมักจะเสียชีวิตในช่วงสองถึงสามปีแรก กำนันจึงมักจะแจ้งเกิดให้ตอนผ่านพ้นช่วงนี้ไป ที่บ้านเลขที่ 101 หมู่1 บ้านค้อ ตำบลบ้านค้อ อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอำเภอโพนสวรรค์) จังหวัดนครพนม 



ท่านเป็นบุตรของคุณพ่อกวบ จำปา คุณแม่ปุ้ม จำปา มีพี่น้องร่วมกัน 6 คน 1. นายเสาร์ จำปา เสียชีวิตแล้ว

2. หลวงปู่คีบ (นายคีบ จำปา) 3. นายปาน จำปา เสียชีวิตแล้ว 4. นางปน จำปา 5. หลวงพ่อเปอร์ (นายเปอร์ จำปา) มรณะภาพแล้ว และ 6. นางวน อนุญาหงส์

ในวัยเด็ก เมื่อ พ.ศ. 2468 อายุ 10 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนประถมศึกษาวิทยฐานะ พ.ศ. 2470 สำเร็จการศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านค้อ ตำบลบ้านค้อ อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันโพนสวรรค์) จังหวัดนครพนม 



ด้านการบรรพชา

เมื่อพ.ศ. 2476 ได้บรรพชาเป็นสารเณร ที่วัดโพธิ์สุมบ้านค้อ ตำบลบ้านค้อ อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันโพนสวรรค์) จังหวัดนครพนม พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกงมา เจ้าอาวาส เดือนมกราคม เมื่อ พ.ศ. 2476 อยู่ศึกษาเล่าเรียนธรรมบาลี ปริยัติธรรม อยู่กับพระอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง ต่อมาได้สมัครไปเล่าเรียนนักธรรมตรี ที่ สำนักวัดศรีทอง บ้านโพนสวรรค์ ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

 ในสมัยนั้นมีพระอธิการเกิด เป็นเจ้าอาวาส และพระผู้สอนพระอาจารย์ผัน บ้านรามราช ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์จนจบเมื่ออายุครบ 19 ปี

อุปสมบทเมื่อ วันที่ 10 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2478 ณ พัทธสีมา วัดโพธิ์สุม บ้านค้อ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม  พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการบุญจันทร์ กตปุญโญ วัดโพธิ์สุม พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการหนูพิน วัดโพธิ์ชัย พระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์สวย วัดโพธิ์ชัย

ได้ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติพระกรรมฐานธุดงค์วัตรตามสถานที่ต่างๆ ปีกวิเวก เข้ากราบศึกษาธรรมกับพระอาจารย์หลายรูป อาทิเช่นหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้ว หลวงปู่คาร คันธิโย วัดโพธิ์ชัยทั้งสองรูปเป็น ลูกศิษย์ผู้ใหญ่สายพ่อแม่ญาครูสีทัตถ์ ญาณสัมปัญโณ จวบจนสำเร็จสัพพระวิชาต่างๆ 


ก่อนท่านจะทำการลาสิกขาเพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบสัมมาชีพ ใช้ชีวิตปุถุชนทั่วไปเหมือนปกติ หลวงปู่ท่านเป็นคนขยันหมั่นหาความรู้ในชีวิตของการเป็นฆราวาสของท่านได้ศึกษาตำรายาสมุนไพ รักษาโรค เป็นหมอธรรมและหมอยา เชี่ยวชาญการใช้ยาสมุนไพ และคาถากำกับในการปรุงยารักษาโรค ได้สมรสครองเรือนมีบุตรธิดา 2 คน ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว

ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2520 ได้ไปจำพรรษาที่วัดชุมพล บ้านพานพร้าว ต.พานพร้าว อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และได้ธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ก่อนจะไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองบัว

 ต่อมาใน  พ.ศ. 2524 ท่านได้ทำการเข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ได้รับผลสำเร็จนักธรรมชั้นตรี ต่อมาจนจบนักธรรมโท และนักธรรมชั้นเอกเป็นอันสูงสุด และกับออกมาธุดงค์วัตรเหมือนดังเดิม จนในพ.ศ. 2527 ท่านธุดงค์ไปภูเพ็ค ได้สร้างกุฏิไหว้หนึ่งหลัง ใช้เวลาหลายปี พักการธุดงค์เพราะอายุที่มากขึ้น

พ.ศ. 2531จึงธุดงค์กลับบ้านเกิด จำพรรษาที่วัดโพธิ์สุม ต.บ้านค้อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อยู่สักพักใหญ่ ท่านมีปัญหาด้านสุขภาพไม่สะดวกในการประกอบกิจของสงฆ์ ลูกหลานเลยให้ลาสิกขาเพื่อออกมารักษาตัวอยู่พักหนึ่งจวบจนปกติ ท่านจึงได้อุปสมบทอีกครั้งใน พ.ศ. 2540 จวบจนถึงปัจจุบันนี้ อายุ 109 ปี พรรษา 26 

ณ ปัจจุบัน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติและเมตตาสูง อีกทั้งยังเป็นหมอยารักษาคน แม้ท่านจะอายุมากแต่ก็แข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวสุขภาพดี ท่านเป็นพระผู้มักน้อยสันโดษไม่รับยศตำแหน่งใดๆ


วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

"ดร.นิยม เวชกามา" จับมือกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ไปช่วยแก้ปัญหาตั้งวัดในศรีสะเกษกว่า 300 แห่ง



วันที่ 24 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม  เวชยชัย ในฐานะอนุกรรมมาธิการศาสนา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการ นำโดย นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ สส.ศรีสะเกษประธานคณะอนุกรรมาธิการนายสมศักดิ์ บุญสม สส. อุบลราชธานี กรรมาธิการ นายเพชวรรต วัฒนพงศ์ศิริและเจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 วัด เพื่อรับฟังปัญหาการจัดตั้งวัด

 โดยเวลา 09.00 น. มีการประชุมคณะผู้บริหารของจังหวัดที่วัดมหาพุทธารามพระอารามหลวง วัดหลวงพ่อโต ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีพระวชิรสุธาดา เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ และ เจ้าอาวาสวัดมหาพุทธาราม ร่วมประชุม โดย นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ เป็นประธานในที่ประชุม มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 สาขาอุบลราชธานี ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดตั้งวัดในพื้นที่ศรีสะเกษจำนวน 300 กว่าวัดที่ยังมีปัญหาอยู่ถึงปัจจุบัน

 หลังจากนั้นเดินทางไปที่วัดไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนาอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กราบนมัสการ พระครูโกศลสิกกิจ ซึ่งเป็นวัดที่บรรจุสรีระของ หลวงปู่สรวง ที่ชาวบ้านเรียกว่าเทวดาเดินดิน มีการสอบถามปัญหาจากหลวงพ่อพุฒ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

 จากนั้นเดินทางไปที่วัด โคกโพธิ์ ตำบลกันทรารมย์อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ วัดปราสาทเยอเหนือ ตำบลเยอ อำเภอไพรบึงจังหวัดศรีสะเกษ กราบสักการะรูปเหมือนขนาดใหญ่พระครูประสาทขันทคุณ หรือหลวงปู่มุม อินทะปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสพระเกจิดังอีกรูปหนึ่ง  ซึ่งแต่ละวัดได้มีการสอบถามปัญหาจากเจ้าคณะอำเภอดังกล่าวถึงการตั้งวัดที่ไม่สามารถจัดตั้งได้ประมาณ 300 กว่าแห่ง ได้รับทราบปัญหาและได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายคาดว่าจะสามารถดำเนินแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษได้ ซึ่งภารกิจทั้งหมดเสร็จสิ้นในเวลา 17.30 น.

 ดร.นิยม เวชกามา กล่าวว่า ต้องขอบพระคุณ คณะสงฆ์ จังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเดินทางลงพื้นที่เพื่อช่วยแก้ปัญหาวัดในครั้งนี้


"ผู้อำนวยการ ป.โทสันติศึกษามจร" เตรียมเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส



วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.โค้ชสันติ กระบวนกรธรรมะโอดี วิทยากรต้นแบบสันติภาพ  Buddhist Peace Facilitator ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร  เปิดเผยว่า   นกพิราบคาบช่อมะกอก นกตะวันออกคาบดอกบัว สอดรับกับสันติภาพ  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. Buddhist Peace Facilitator และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  บัณฑิตวิทยาลัย มจร  ปฏิบัติศาสนกิจ ณ นครรัฐวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อการเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส  ผู้นำศาสนาคริสต์ ระหว่าง ๒๔ - ๓๐  พฤษภาคม  ๒๕๖๗ 

โดยมุ่งประเด็นการเรียนรู้ ประกอบด้วย ๑)ศาสนากับสันติภาพ ๒)การสื่อสารอย่างสันติ ๓)ขันติธรรมทางศาสนา ๔)การสร้างศาสนสัมพันธ์ ๕)ศาสนาสร้างความสามัคคี  ๖)สันติสนทนาระหว่างศาสนา ๗)สิทธิมนุษยชนมิติทางศาสนา  ๘)การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย ๙)การพัฒนาสันติภายในมิติของศาสนา ๑๐)เคารพในความแตกต่างและความเปราะบางของมนุษย์ ๑๑)ศาสนาในฐานะต้นตอสันติภาพและต้นเหตุความขัดแย้งรุนแรง  ๑๒)ศาสนาในฐานะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ทำไมต้องมาวาติกัน ในฐานะทำงานด้านสันติภาพสันติสุข จึงสะท้อนถึงสัญลักษณ์สันติภาพ คือ "นกพิราบคาบกิ่งมะกอก" โดยชาวตะวันตกเชื่อว่า นกพิราบ เป็นวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสัญลักษณ์ของนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน  กิ่งมะกอกเป็นสิ่งที่ชาวกรีกโบราณใช้ในพิธีสำคัญ

โดยทุกครั้งที่โลกเกิดความขัดแย้ง สันติภาพคือสิ่งที่ผู้คนต้องการและเรียกร้อง ซึ่งนกพิราบคาบกิ่งมะกอกคือสัญลักษณ์สากลของสันติภาพ เป็นเพราะอะไร และทำไมผู้หญิงถึงมีบทบาทมากขึ้นในเวทีสันติภาพโลก 

โดยชาวตะวันตกเชื่อว่านกพิราบเป็นวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ตามพระคัมภีร์ไบเบิล จึงมีรูปนกพิราบเกาะอยู่ที่บัลลังก์คาทีดรา ที่พระสังฆราชทรงประทับนั่ง เพื่อคอยดลใจให้ทรงตัดสินข้อพิพาทของชาวคริสเตียนโบราณได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นนกพิราบยังเป็นสัญลักษณ์ของนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและวิชาชีพสื่อสารมวลชน จากความสามารถในการจดจำเส้นทางอย่างแม่นยำ จนเป็นที่มาของพิราบสื่อสาร

เมื่อเอ่ยถึงสันติภาพ ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยผู้หญิงมักจะมีบทบาทอยู่เสมอๆ ดูได้จากบุคคลที่เป็นวีรสตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลของโลก จนสภาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติ ออกคำสั่งขยายบทบาทของสตรีบนเวที UN ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เพราะศักยภาพของผู้หญิงที่ถูกเชื่อมร้อยบุคลิกภาพตามธรรมชาติของเพศ ที่มีความอ่อนโยนดูแลเอาใจใส่ครอบครัวและเป็นผู้ให้นั้นเอง

๒๑  กันยายนของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล (The International Day of Peace) สัญลักษณ์แห่งสันติภาพและการต่อต้านความรุนแรง จะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง เพื่อให้เรานึกย้อนกลับไปถึงสงครามโลก ช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของมวลมนุษยชาติ 

ทำไมต้องมีวันสันติภาพสากล โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ได้กำหนดให้ทุกวันที่ ๒๑ กันยายน ของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล (The International Day of Peace) เพื่อเป็นการให้ความสำคัญต่อการยุติการใช้ความรุนแรง การคุกคามในทุกรูปแบบ และมุ่งเน้นสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสันติในทุกพื้นที่ โดยในวันสันติภาพสากลจะมีกิจกรรมการลั่น ระฆังสันติภาพ ที่หล่อขึ้นจากเหรียญที่ได้รับบริจามาจากเด็ก ๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองอีกด้วย

โดยจุดมุ่งหมาย ๖ ประการ ในวันสันติภาพสากล มุ่งเคารพต่อชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยุติการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบแบ่งปันผู้อื่น ขจัดการแบ่งแยกชนชั้นเคารพเสรีภาพในการแสดงออกของทุกกลุ่ม ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม แสดงความรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสกับทุกเพศสภาพอย่างเท่าเทียมกัน

โดยนกพิราบ (Dove) นานมาแล้วที่ 'นกพิราบ' ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึง สันติภาพ อิสรภาพ และความรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'นกพิราบคาบกิ่งมะกอก' สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนประจำวันสันติภาพสากล ที่หลายคนอาจพบเห็นในรูปแบบไอคอนหรืออีโมจิ (Emoji) บนสมาร์ตโฟน โดยที่มาที่ไปของนกพิราบคาบกิ่งมะกอกนั้น มีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อทางศาสนาคริสต์ที่ว่า 'นกพิราบคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และพระผู้เป็นเจ้า' อีกทั้งยังปรากฏอยู่ในเรื่องราว 'มหากาพย์น้ำท่วมโลก' หรือ 'เรือโนอาห์ (Noah's Ark)' ที่ได้มีการกล่าวไว้ว่า โนอาห์จะใช้นกพิราบคอยสังเกตการณ์น้ำท่วมจากในเรืออาร์ค จนในวันหนึ่งนกพิราบได้บินคาบกิ่งมะกอกกลับเข้ามา จึงทำให้โนอาห์รับรู้ว่าภายนอกน้ำลดลงแล้ว ถือเป็นสัญญานของการเริ่มต้นใหม่ และความสงบสุขที่กลับคืนสู่มวลมนุษย์อีกครั้ง

ในเวลาต่อมานกพิราบถูกใช้สื่อถึงสันติภาพไปอย่างกว้างขวาง เมื่อจิตรกรชื่อก้องโลกอย่าง Pablo Picasso ได้วาดภาพ 'นกพิราบแห่งสันติภาพ (The Dove of Peace) ซึ่งในภายหลังได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการประชุมสันติภาพนานาชาติ ที่กรุงปารีส (Paris Peace Congress) ในปี ค.ศ. ๑๙๔๙ ในความเชื่อโบราณของคนญี่ปุ่น 'นกกระเรียน' ถือเป็นตัวแทนแห่งโชคลาภ ความสุข และการมีอายุยืนยาว ในขณะเดียวกัน 'นกกระเรียนกระดาษ' ที่มักจะมีการพับไว้ประดับงานพิธีมคลต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ยังมีนัยยะแฝงถึง 'สันติภาพ' ไว้อีกด้วย โดยจุดเริ่มต้นทั้งหมดของนกกระดาษสันติภาพนั้น มาจากเรื่องราวของหนูน้อยซาดาโกะ ซาซากิ ที่ต้องล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จากการได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นผลพ่วงของเหตุการณ์ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ 

ด้วยความหวังที่จะหายจากโรคร้าย ซาดาโกะทำการพับนกกระเรียนกระดาษ ๑,๐๐๐ ตัว ตามความเชื่อโบราณที่ว่า หากพับนกกระเรียนกระดาษได้ครบ ๑,๐๐๐ ตัวแล้ว สิ่งใดที่ปราถนาจะเป็นจริง เธอต่อสู้กับโรคร้ายสุดท้ายตลอดระยะเวลาหลายเดือน แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็ไม่มีจริง เพราะเด็กหญิงซาดาโกะก็เสียชีวิตลงในวัย ๑๒ ปี ในตอนที่เธอพับนกกระเรียนได้ตัวที่ ๖๖๔

หลังจากการเสียชีวิตของซาดาโกะ รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นได้สร้างอนุสาวรีย์แห่งสันติภาพ หรือที่เรียกว่า อนุสรณ์สันติภาพเยาวชน  : Children’s Peace Monument ณ สวนสันติภาพฮิโรชิม่า เพื่ออุทิศแก่ซาดาโกะ และเด็กอีกหลายคนที่ต้องเสียชีวิตจากผลของสงคราม และนกกระเรียนกระดาษก็ได้กลายมาเป็นตัวแทนเรื่องราวซาดาโกะ และสันติภาพนับแต่นั้นมา

รวมถึงการชูสองนิ้ว (V-sign) 

การชูสองนิ้วไม่ได้เป็นเพียงท่าเซลฟี่คิ้ว ๆ ที่ทำกันตามกระแสเท่านั้น แต่การทำนิ้วมือลักษณะเป็นรูปตัว V โดยหันฝ่ามือออก มีชื่อเรียกว่า V-sign สัญลักษณ์มือที่สื่อถึง ‘สันติภาพ (Peace)’ และ ‘ชัยชนะ (Victory)’ โดยต้นกำเนิดของ V-sign ต้องย้อนกลับไปช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ “ วิกเตอร์ เดอ ลาวีย์ (Victor de Laveleye) รัฐมนตรีพรรคเสรีนิยมเบลเยี่ยม ได้ออกอากาศผ่านสถานีวิทยุ BBC ชักชวนให้ประชาชนชาวเบลเยียมและ ชาวฝรั่งเศษ ร่วมกันทำสัญลักษณ์รูปตัว V ไว้ตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ "V for Victory" เพื่อแสดงการสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในการทำสงครามชนะฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ และในภายหลังกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่ทรงอิทธิพล เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถคว้าชัยชนะในสงครามมาได้จริง ๆ ทำให้สัญลักษณ์ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

ประเทศแทบเอเชียการชูสองนิ้วถือเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ทำกัน แต่ด้วยวัฒนธรรมและค่านิยมที่แตกต่างจึงไม่ใช่สำหรับทุกส่วนบนโลกที่การชูสองนิ้วจะสื่อความหมายดี ในบางประเทศอย่าง อังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ แอฟริกาใต้ การชูสองนิ้วแล้วหันหลังมือเข้าหาคนอื่นจะมีความหมายเชิงดูหมิ่น เหยียดหยาม เพราะฉะนั้นควรหันฝ่ามือออกเสมอ   

โดยสัญลักษณ์สันติภาพ (Peace Symbol) สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ หรือ 'Peace Symbol' ที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตานี้ เดิมทีมีชื่อเรียกว่า 'CND Symbol' หรืออีกชื่อหนึ่ง 'Nuclear Disarmament' (การลดอาวุธนิวเคลียร์) ออกแบบโดยศิลปินหัวขบถชาวอังกฤษ นามว่า Gerald Holtom เพื่อจุดประสงค์ในการต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในสหราชอาณาจักร ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๕๘-๑๙๖๐ 

Gerald เผยว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัญญาณธง (Semaphore Alphabet)' ที่สามารถสะกดออกมาเป็นตัวอักษรและข้อความได้ โดยเส้นแกนกลาง l แทนตัวอักษร D (Disarmament) และเส้นอีกสองเส้นที่ขนาบข้างทำมุม 45 องศานั้น /\ แทนตัวอักษร N (Nuclear) ส่วนวงกลมรอบนอก O แทนรูปร่างของ 'โลก' ของเราเอง สัญลักษณ์สันติภาพถูกนำมาใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของหนุ่มสาวบุพพาชนหรือ 'ฮิปปี้' ที่เคยมีบทบาทเข้าร่วมต่อต้านสงครามเวียดนาม ในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ 

แม้ว่าสัญลักษณ์สันติภาพจะมีลักษณะและที่มาแตกต่างกันไป แต่เราจะเห็นว่าทุกสัญลักษณ์ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ และเป็นเครื่องย้ำเตือนว่าการใช้ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของปัญหา และไม่เคยส่งผลดีกับใครทั้งสิ้น

๒๑ กันยายน ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นให้เป็น วันสันติภาพโลก (World Peace Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและงดใช้ความรุนแรง หยุดทำสงคราม และร่วมมือกันสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้น วันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญมากอีกวันหนึ่ง

วันสันติภาพโลก (World Peace Day) ตรงกับวันที่ ๒๑ กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่ออุทิศแก่สันติภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราศจากสงคราม บ้างถือเป็นโอกาสพิเศษกำหนดหยุดยิงชั่วคราวในพื้นที่ที่ยังสู้รบกันอยู่ มีการเฉลิมฉลองวันสันติภาพโลกในบรรดาชาติ กลุ่มการเมือง กลุ่มทางทหาร และประชาชนทั้งหลาย วันสันติภาพโลกจัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๒๔ 

ในการเริ่มวันดังกล่าว มีการเคาะ “ระฆังสันติภาพ” ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระฆังนั้นถูกหล่อขึ้นจากเหรียญที่รับบริจาคมาจากเด็กทั่วโลก มันถือเป็นของขวัญโดยสมาคมสหประชาชาติแห่งญี่ปุ่น และถูกกล่าวถึงว่าเป็น “เครื่องเตือนใจมนุษย์ถึงมูลค่าแห่งสงคราม” มีข้อความ “สันติภาพโลกเบ็ดเสร็จจงเจริญ” จารึกอยู่ด้านข้างของระฆัง

แต่หลังจากนั้นในปี ค.ศ. ๒๐๐๑ หรืออีก ๒๐ ปีต่อมา มีมติใหม่จากสหราชอาณาจักร และคอสตาริกา กำหนดให้วันที่ ๒๑ กันยายน ของทุกปี เป็นวันยุติการสู้รบ และประกาศให้เป็นวันสันติภาพโลก หรือวันสันติภาพโลก (The International Day of Peace) เพื่อขอให้ประชาชนทุกประเทศหยุดยิง ลดใช้ความรุนแรงกันทั่วโลก และหยุดการทำสงครามตลอดทั้งวัน รวมทั้งมีการเชิญประเทศสมาชิก หน่วยงานต่าง ๆ มางานเฉลิมฉลองและร่วมมือกันสร้างสันติภาพทั่วโลก และกำหนดให้ ค.ศ. ๒๐๐๑-๒๐๑๐ เป็นทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงเพื่อเด็กของโลก โดยมีจุดมุ่งหมาย ๖  ประการ ประกอบด้วย  

๑)ให้ความเคารพต่อชีวิตทั้งมวล เคารพชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือลำเอียง

๒)ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน

๓)แบ่งปันกับผู้อื่นอย่างมีน้ำใจ เพื่อขจัดการแบ่งแยก ความไม่ยุติธรรม และการกดขี่ทางการเมืองและเศรษฐกิจ

๔)รับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน เคารพเสรีภาพในการแสดงออก และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม

๕)สงวนรักษาผืนโลก ฝึกดำเนินชีวิตอย่างรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติบนผืนโลก

๖)สร้างความสมานฉันท์ เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะสตรี

โดยจุดมุ่งหมายทั้ง ๖ ประการ มีเป้าหมายให้ผู้คนในสังคมทุกกลุ่มอายุได้ตระหนักถึงความสำคัญของสันติภาพภายใน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมสันติภาพที่เกิดจากความสงบเงียบภายในจิตใจของแต่ละคน เพื่อให้เราได้รู้จักตนเองและแหล่งพลังชีวิตที่สามารถใช้ปัญญาเป็นเครื่องชี้นำทางในการขจัดทุกข์และสร้างสันติสุขให้แก่ตนเอง รวมทั้งแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่น โดยสันติภาพคือ เป้าหมายสูงสุดของสหประชาชาติ” (Peace is the United Nations’ highest calling)


🇲🇲 🇹🇭 ธรรมจักรเชื่อมใจ AEC ! “สมเด็จพระสังฆราชแห่งเมียนมา” เป็นประธานในงานสัมมนา “ธรรมจักรเพื่อสันติภาพโลก”



เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567 เจ้าพระคุณพระภัททันตะ ซานดิมา ภิวังสะ (อัครมหาบัณฑิต อัครมหาสัทธัมมโชติกะธะชะ) สมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศเมียนมา (His Holiness Bhaddanta Candimar Bhivamsa (Agga Maha Pandita Agga Maha Saddhamma Jotikadhaja) Chairperson of the State Sangha Maha Nayaka Committee of Myanmar) เป็นประธานในงานสัมมนา “ธรรมจักรเพื่อสันติภาพโลก” ที่จัดขึ้น ณ ห้องเธียร์เตอร์ อาคาร 100 ปีคุณยายอาจารย์ ฯ วัดพระธรรมกาย โดยมีเจ้าคณะจังหวัดไพลิน คณะธรรมยุติ และคณะมหานิกาย ประเทศกัมพูชา, เจ้าอาวาสวัดจากจังหวัดดานัง และจังหวัดฮอยอัน ประเทศเวียดนาม, ฝ่ายต่างประเทศ อ.พ.ส. คณะสงฆ์ สปป.ลาว (ศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว) และเจ้าอาวาสและผู้นำองค์กรพุทธจากประเทศ AEC ทั้งเมียนมาร์, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม เข้าร่วมงานสัมมานาครั้งนี้ 

โดยในงานสัมมนา พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย บรรยายในหัวข้อ “ธรรมจักรคุ้มครองโลก” โดยนำความรู้เรื่องทุกข์ประจำสังขาร การบริหารขันธ์ สัมมาอาชีวะ การสร้างเครือข่ายคนดี แก้วิกฤตโลก และงานวิจัยปริญญาเอกในเรื่อง อนาคตภาพการขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของเครือข่ายองค์กรพุทธนานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับงานสัมมนาวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาจิตใจมนุษย์ ผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรพุทธ ด้วยกิจกรรมการสวดธรรมจักรร่วมกันทั้งภูมิภาค AEC โดยมีเป้าหมายหลายพันล้านจบเป็นกุศโลบายในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกัน และขอขอบคุณที่องค์กรที่ส่งยอดสวดธรรมจักร ทำให้ทุกครั้งที่ถึงวงรอบสวดธรรมจักร สามารถจัดพิธีฉลองชัยชิตังเม ได้ทุกครั้ง 

ส่วนพระมหาสุรัตน์ อคฺครตโน ผู้ช่วยอำนวยการสำนักต่างประเทศ และหัวหน้ากอง AEC บรรยายในหัวข้อ “ธรรมจักรใน AEC” โดยบรรยายถึงกิจกรรมการสวดธรรมจักรในประเทศเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม 

 ทั้งนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆนายก พระภัททันตะ จันธิมา อภิวังสะ อัครมหาบัณฑิต อัครมหาสัทธัมมโชติกะธะชะ สมเด็จพระสังฆราช ประธานคณะกรรมการมหาสังฆนายกแห่งรัฐ ประเทศเมียนมาร์ เมตตาให้โอวาทว่า “โครงการสวดธรรมจักรของวัดพระธรรมกาย ที่เชิญชวนประชาชนและคณะสงฆ์ประเทศต่างๆ ร่วมกันสวดเป็นกิจกรรมที่ดี โดยต้องอาศัยคุณธรรม ความศรัทธา ที่รวมกันทบทวนธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอชื่นชม และสนับสนุนโครงการนี้ เพื่อเชิญชวนชาวพุทธร่วมกันสวดธรรมจักร ซึ่งทำเป็นปกติอยู่แล้วในประเทศเมียนมาร์ และยินดีสนับสนุนส่งเสริมการสวดธรรมจักรร่วมกับวัดพระธรรมกาย ขอให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่พระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป”  

โดยในช่วงท้ายงานสัมมนา คณะสงฆ์และผู้นำองค์กรพุทธ ได้ถวายใบปวารณาลงนามความร่วมมือ และมอบป้ายโครงการฯ ในการร่วมกันสวดและส่งยอดสวดธรรมจักร ในโครงการสวดธรรมจักร 24 น. กับวัดพระธรรมกาย และภาคีเครือข่ายองค์กรพุทธทั่วโลก ในวาระวันเกิดและบูชาธรรมอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย ในวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน 2567 จากนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ถ่ายภาพร่วมกัน เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาค AEC ด้วย


เจ้าคุณประสารเผย "มจร" เร่งฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดด



เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567  พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ในฐานะผู้อำนวยการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยโดยนโยบายของพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี ได้ออกนโยบายเรื่องการพัฒนาบุคคลากรในทุกระดับเพื่อเพิ่มสมรรถนะ เพิ่มศักยภาพและมองเห็นเป้าหมายร่วมกันเพื่อจะได้นำพาองคาพยพของมหาวิทยาลัยไปสู่การพัฒนาในรูปแบบก้าวกระโดดเพืัอให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา          

พระราชวัชรสารบัณฑิต ได้กล่าวต่อไปว่า การอบรมผู้บริการนั้นจะมีทุกระดับโดยเริ่มที่การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรใหม่ จำนวน 312 รูป/คนในระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ หอประชุมอาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  การฝึกอบรมพัฒนาผู้บริการระดับต้น จำนวน 85 รูป/คน ระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2567 ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มจร ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน และในครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับกลางทั้วประเทศ จำนวน 253 รูป/คน ระหว่างวันที่ 24-27 เมษายน 2567 วัตถุประสงค์ในการจัดการจัดฝึกอบรมพัฒนาอย่างเข้มงวดในครั้งนี้เพื่อฝึกทักษะในการบริหาร การจัดการให้มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ทักษะวิชาการใหม่ๆ เรียนรู้รักสามัคคีในสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงอย่างรู้เท่าทัน มีจิตสำนึกรักองค์กร และเรียนรู้โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อทันโลก ทันสมัย ทันสถานการณ์เพื่อจะสามารถนำพามหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพบนฐานของวิกฤติมหาวิทยาลัยทั่วประเทศและทั่วโลก นอกจากการฝึกอบรมด้านวิชาการ  แล้ว ยังมีการไปศึกษาดูงานของความสำเร็จด้านอุดมศึกษานอกสถานที่ื การทำวัตรสวดมนต์และการปฎิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อพัฒนาปัญญาอีกด้วยและในอีกสองเดือนข้างหน้านี้ก็จะมีการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับสูงเพื่อเพิ่มสมรรถนะต่อไป        

"การอุดมศึกษาในทั่วโลกกำลังประสบภาวะวิกฤติ เฉพาะมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเช่นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคงหนีไม่พ้นเช่นกัน เช่นโลกเปลี่ยนไปผู้คนสนใจเทคโนโลยีเพื่อหารายได้มากกว่าการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย องค์ความรู้เปลี่ยนผ่าน การดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ประชากรลดลง ศาสนทายาทถดถอย ทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนเป็นสิ่งท้าทายมหาวิทยาลัยในดำรงอยู่บนฐานของศรัทธา ปัญญาและความมั่นคง การพัฒนาบุคคลากรในทุกระดับเพื่อรับมือ  เพื่อการรู้เท่าทันเพื่อให้ปรับตัวในการก้าวกระโดดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย


วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที



เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนาตรวจสอบ “น้องไนซ์”เด็กอายุ 8 ขวบที่อ้างตัวเป็นบุตรพระพุทธเจ้า สอนธรรมะด้วยการเชื่อมจิตที่ไม่มีอยู่ในคำสอน  โดยได้สั่งการไปยังนายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่บ้านพักของครอบครัวเด็กอายุ 8 ขวบ พร้อมกับนายกัณฐัศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือกัน จอมพลัง เพื่อตรวจสอบโดยด่วนแล้วว่าการกระทำของเด็กอายุ 8 ขวบ เป็นอย่างไรและมีความเหมาะสมหรือไม่ 

 นางพวงเพ็ชร ระบุว่า ได้สั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาประสานงานกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม. ) ร่วมลงไปตรวจสอบโดยด่วน เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จะต้องเข้าไปตรวจสอบกับผู้ปกครองด้วยว่ามีการป้อนข้อมูลที่ผิดให้กับลูกหรือไม่ เพราะลำพังเด็กที่มีอายุยังน้อยน่าจะยังไม่มีการนึกคิดไตร่ตรองอะไรได้มาก รวมถึงตรวจสอบว่ามีใครอยู่เบื้องหลังเพื่อหวังหาประโยชน์จากน้องไนซ์หรือไม่

“ส่วนตัวมองว่าการที่นำเรื่องพระพุทธเจ้ามาอ้างอิงเช่นนี้ ไม่ตรงกับหลักคำสอนของพุทธศาสนา อีกทั้งทำให้ประชาชนหลงเชื่อ ดังนั้นจึงให้สำนักพุทธฯลงพื้นที่ไปตรวจสอบ และหากมีประเด็นใดที่เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน จะดำเนินการตามกฎหมายหรือมีพระภิกษุสามเณรรูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องให้ดำเนินทันทีโดยไม่มีการละเว้น ขณะเดียวกันขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณก่อนรับฟังคำสอนดังกล่าวด้วย” นางพวงเพ็ชร กล่าว


วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้



วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วมมือกันรักษาคุ้มครองโลก ในส่วนของพระพุทธศาสนานั้นองค์กรยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ยพสล.) มีมติให้วันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น “วันธรรมะคุ้มครองโลก” ภายใต้คำขวัญ “Clean The World, Clean The Mind” เพราะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ทรงคุณค่าที่สุด คือ ใจของมนุษย์ ควรได้รับการคุ้มครองรักษาให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้ วัดพระธรรมกายจึงได้จัดงาน “วันธรรมะคุ้มครองโลก” เพื่อให้พุทธบริษัท 4 จากทั่วโลก ได้มาร่วมกันปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือ ละชั่ว ทำดี ทำใจ ให้ผ่องใส ด้วยการประกอบบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา เพื่อกลั่นกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์     มีเมตตา ไม่เบียดเบียนใคร  เพื่อให้โลกพบกับสันติภาพและความสุขสงบที่แท้จริง 

พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า ในวันคุ้มครองโลกปีนี้ วัดพระธรรมกาย จัดให้มีการนั่งสมาธิ เจริญสมาธิภาวนา, พิธีเจริญพุทธมนต์, พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัดทั่วประเทศ ภายในพิธีได้รับความเมตตาจากพระพรหมวชิรปัญญาจารย์ เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง, ราชบัณฑิต, หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 เมตตาเป็นประธานสงฆ์ และในโอกาสครบ 20 ปี พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้นิมนต์คณะสงฆ์จาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) มารับถวายไทยธรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 168 พร้อมกับมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ปีที่ 17 ครั้งที่ 133 โดยมีผู้แทนคุณครู 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมพิธี

“ในโอกาสวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน 2567 วัดพระธรรมกายได้จัดให้มีพิธีถวายมหาสังฆทาน 10,000 วัด แด่พระสังฆาธิการทั่วประเทศ วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกายจึงได้จัดพิมพ์หนังสือ "20 ปี 323 วัด รวมใจพุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดินดับไฟใต้" อันเป็นการสนองพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และเพื่อประกาศคุณงามความดีของพุทธบุตร 4 จังหวัดภาคใต้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล และชาวพุทธทั่วโลกว่าทุกรูป คือ "วีรบุรุษแห่งกองทัพธรรม" ที่ยอมสละชีวิตเป็นเดิมพัน รักษาพระพุทธศาสนา ให้ธรรมะอยู่คู่ปลายด้ามขวานไทยตลอดไป“ พระครูสมุห์สนิทวงศ์กล่าว

หมายเหตุ

มหาสังฆทาน วันคุ้มครองโลก 22 เมษายน

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2545 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 12,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 24,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 มหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ 

พิธีถวายมหาสังฆทาน วัดพระธรรมกาย

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2544 พิธีถวายทุนการศึกษาแด่พระภิกษุสามเณร 30,000 กว่าวัด 100,000 รูป ทั่วประเทศ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 พิธีสลายร่างคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด 100,000 รูป ทั่วประเทศ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547 พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 12,000 รูป และพิธีหล่อพระธรรมกายเพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 60 ปีฯ

วันที่22 เมษายน พ.ศ. 2549 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพิธีกลั่นมหารัตนวิหารคด

วันที่ 6  สิงหาคม พ.ศ. 2549  พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,300 วัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พิธีทอดผ้าป่าช่วยเหลือวัดประสบภัยน้ำท่วม 1,000 กว่าวัด 

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 2,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพิธีถวายองค์พระประธานเพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดต่าง ๆ ในประเทศศรีลังกา จำนวน 222 องค์

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์  3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 286 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 3,000 วัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 วัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 24,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พิธีถวายไทยธรรมคณะสงฆ์กว่า 3,000 วัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 30,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พิธีถวายมหาสังฆทาน 3,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 


วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 3,000 วัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 1,000 วัดทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561  พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า 1,000 วัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พิธีถวายมหาสังฆทานคณะสงฆ์ 2,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้


วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 10,000 กว่าวัด ทั่วประเทศ และคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พระรับโล่รางวัล 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”ปี66



 "เสริมศักดิ์"ชูเป็นหมุดหมายท่องเที่ยวของคนไทยและต่างชาติ สร้างงานสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน  ปี67เฟ้นเพิ่มอีก 10 ชุมชนคาดประกาศผลเดือนก.ค.นี้

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2566 โดยมีโดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำชุมชน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วม ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) มีนโยบายขับเคลื่อน Soft Power  อุตสาหกรรมสร้างสรรค์  11 ด้าน รวมถึงด้านท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาลเพื่อสร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น วธ.ได้ดำเนินโครงการยกระดับชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรกว่า 27,000 แห่งทั่วประเทศสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ซึ่งเป็นชุมชนคุณธรรมฯ

ที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 วธ.คัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี”พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติไปแล้ว 20 ชุมชน เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชนและผู้ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันในปีงบประมาณพ.ศ.2566 วธ.ได้ดำเนินโครงการคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี”อย่างต่อเนื่อง โดยคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในระดับจังหวัดจาก 76 ชุมชนทั่วประเทศและมีชุมชนคุณธรรมฯที่ได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” 10 ชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านปากน้ำชุมพร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 3.ชุมชนคุณธรรมฯวัดพระธาตุผาเงา ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 4.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 5.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร 6.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 7.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่ามะขาม ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 8.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 9.ชุมชนคุณธรรม ฯ บ้านท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และ10.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโนนกอก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

“ปัจจุบันวธ.ได้คัดเลือกและประกาศสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ไปแล้วทั้งหมด 30 ชุมชน  แต่ละชุมชนที่ได้รับคัดเลือกมีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ เป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ ความงดงามของวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมและธรรมชาติ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย มีการนำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยความอบอุ่นและมิตรไมตรี  ก่อให้เกิดการปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชนสร้างงานสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จะเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติและเป็นต้นแบบให้ชุมชนทั่วประเทศได้ศึกษาเรียนรู้และเกิดการขยายผลต่อไป โดยปีงบประมาณพ.ศ.2567 วธ.ได้คัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบฯอีก 10 ชุมชน คาดว่าจะประกาศผลคัดเลือกในเดือนกรกฎาคมนี้ ” นายเสริมศักดิ์ กล่าว


"มจร" แจ้งพระศรีสัจญาณมุนี ส่งรายงานแล้ว ขอให้ไปพิสูจน์กันในกระบวนการยุติธรรม

เมื่อวันที่ 29  เมษายน พ.ศ. 2567   พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห...