วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

"ยิ่งลัษณ์" อวยพรปีใหม่ ชมคนไทยมีขันติธรรม อดทนยุคเศรษฐกิจตกต่ำโควิดซ้ำเติม



วันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2565 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้หลบหนีโทษจำคุกคดีคอร์รัปชั่น โพสต์เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra ว่าปี 2564 แม้จะเป็นปีที่หนักหนาสาหัสที่สุดปีหนึ่งของคนไทย ทั้งจากวิกฤติโรคระบาด สถานการณ์เศรษฐกิจที่รุมเร้า พืชผลการเกษตรตกต่ำ รวมไปถึงการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพต่างๆ ทำให้พี่น้องจำนวนมากต้องใช้ความอดทนอดกลั้น และความอุตสาหะอย่างที่สุด เพื่อผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้


ดิฉันขออวยพรให้ปี 2565 เป็นปีแห่งความหวัง ปีแห่งความสดใสของทุกท่าน ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจที่ดีและประสบความสำเร็จในทุกสิ่งดังที่ตั้งใจไว้นะคะ


สวัสดีปีใหม่ค่ะ

“สมเด็จพระสังฆราช” ประทานพระคติธรรมปีใหม่ 2565 “อภัยทาน” เป็นพรมงคลสุขในชีวิต

 


“สมเด็จพระสังฆราช” ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2565 ทรงแนะนำยึดมั่นในอุดมการณ์แห่ง ‘อภัย’ ประคับประคองจิตใจให้ถึงพร้อมด้วย ‘อวิหิงสา’ บรรดาพรมงคลอันนำมาซึ่งความสุขในชีวิต ย่อมเกิดมีขึ้นโดยมิต้องเรียกร้องสิ่งประเสริฐอื่นใด

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2565  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2565​ ความว่า บัดนี้ ถึงอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2565 อันเป็นวาระเถลิงศก ซึ่งเป็นกาลที่ผู้คนต่างหวังจะได้รับพรมงคลกันทั่วหน้า ผู้ปรารถนาความสวัสดีโดยบางคน เข้าใจว่าต้องมีผู้ประสาทพรอันศักดิ์สิทธิ์ให้จึงจะเกิดความสวัสดีแก่ตน หากว่าแท้จริงแล้ว ‘พร’ ซึ่งหมายถึงสิ่งประเสริฐดีงามนั้น เป็นสภาวะที่เราทั้งหลาย สามารถสรรค์สร้างให้บังเกิดมีขึ้นได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าประสงค์ผลอันเลิศ หรือฐานะอันประเสริฐ ก็ย่อมต้องบำเพ็ญบุญกิริยาด้วยการ ‘ให้’ สิ่งอันเลิศ เพื่อเหตุต้นแห่งผลดี จะได้เริ่มบังเกิดขึ้นแก่ตัวท่านเองในทันที การบริจาควัตถุปัจจัยแก่ผู้ประสบความทุกข์ยาก เป็นปรกติจริยาของคนไทยนับแต่โบราณกาล ดังประจักษ์ได้จากวิกฤตการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองแต่ละครั้ง ล้วนบรรเทาได้เพราะ ‘การุณยธรรม’ ของเพื่อนไทย การให้ปันกันนี้เองย่อมก่อมิตรภาพและความกลมเกลียวในหมู่คณะ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยตลอดมา



อย่างไรก็ตาม การให้ ยังสามารถเป็นไปโดยหลากหลายวิธี หาได้จำกัดอยู่เพียงที่พัสดุข้าวของเงินทองไม่ หากยังรวมไปถึงการแผ่ ‘อภัยทาน’ คือการให้ความไม่ผูกเวร ไม่ก่อภัย ไม่เบียดเบียน ไม่ริษยาอาฆาต และไม่ประทุษร้ายกันอีกด้วย การให้ในลักษณะนี้สำคัญยิ่งกว่าการให้จตุปัจจัยทั้งมวล เพราะล้วนตั้งต้นจากความสะอาดใสในจิตใจของตน อย่างชนิดที่ไม่ต้องลงทุนลงแรง ไม่ต้องเสียเวลา และไม่จำกัดฐานะ สามารถบำเพ็ญได้ในทุกขณะและในทุกสถาน ขอเพียงแผ่พรหมวิหาร มุ่งดี มุ่งเจริญ มองเพื่อนมนุษย์ด้วยเมตตาธรรมอย่างยุติธรรมเสมอหน้า ผู้กำลังคิดตั้งปณิธานทำความดีในปีใหม่ จึงพึงระลึกไว้เสมอว่า หากท่านมั่นในอุดมการณ์แห่ง ‘อภัย’ ประคับประคองจิตใจให้ถึงพร้อมด้วย ‘อวิหิงสา’ คือความไม่เบียดเบียนแล้ว บรรดาพรมงคลอันนำมาซึ่งความสุขในชีวิต ย่อมเกิดมีขึ้นโดยมิต้องเรียกร้องสิ่งประเสริฐอื่นใดจากภายนอก และพรนั้น ยังอาจเปลี่ยนแปลงศัตรูให้กลับกลายเป็นมิตร ดับเพลิงโกรธที่เผาผลาญชีวิต ให้กลับเป็นฉ่ำเย็นสนิทด้วยน้ำใจไมตรี สมดังพระพุทธภาษิตที่ว่า ‘ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ’ แปลความว่า ‘ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้’ ทุกประการ

ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และคุณความดีที่ทุกท่านร่วมกันสร้างสรรค์ จงบันดาลดลความโสมนัสชุ่มชื่นพระราชหฤทัย ให้บังเกิดมีในสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งบันดาลให้สรรพสิริสวัสดิ์ และสันติสุขพลันมาสู่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ให้เกิดภิญโญสโมสรด้วยความสุขเกษมศานต์ ตลอดพ.ศ. 2565 โดยทั่วกัน เทอญ

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

พระมหาสมปองปวารณาตนก่อนสึก ขอเป็นอุบาสก ยอยกพระพุทธศาสนาไปตลอดชีวิต



วันที่ 28 ธันวาคม 2564  ตามที่พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักเทศน์คนดัง ออกมาเปิดเผยเตรียมลาสิกขา ฤกษ์สึก 13.09 น. วันที่ 29 ธันวาคม 2564 โดยได้เดินทางไปกราบลาพระอาจารย์หลายรูป อาทิ พระธรรมวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดยานนาวา และ พระพยอม พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเพจ เป็น แม่ปอง แล้วนั้น ล่าสุด พระมหาสมปอง ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า   

"ขอบคุณ 30 ปีในวงการสงฆ์ ขอเป็นอุบาสก ยอยกพระพุทธศาสนา อุปถัมภ์พระเถรานุเถระ พระหนุ่ม-เณรน้อย ส่งเสริมการเรียนบาลีไปตลอดชีวิตของ "แม่ปอง" ครับผม"

ครม.ไฟเขียวตั้ง "สิปป์บวร แก้วงาม"นั่งผอ.สำนักพุทธฯคนใหม่


วันที่ 28 ธันวาคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติเห็นชอบ/อนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หลายตำแหน่งอาทิ 

(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 2 ราย คือ 1.นายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง และ 2.นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

(2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 2 ราย คือ 1. นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง 2. น.ส.ชมภารี ชมภูรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

(3) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอแต่งตั้ง นายสิปป์บวร แก้วงาม รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

(4) กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 290,000 บาท ค่าตอบแทนพิเศษประจำปี รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ผู้รับจ้างจะได้รับตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว

(5) ครม. มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 6 คน ประกอบด้วย 1.พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ประธานกรรมการ 2. พล.อ.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ กรรมการ (ด้านความมั่นคง) 3 นายปณิธาน วัฒนายากร กรรมการ (ด้านการต่างประเทศ) 4.นายการุณ สกุลประดิษฐ์ กรรมการ (ด้านการศึกษา) 5.นายเชื่อง ชาตอริยะกุล กรรมการ (ด้านเศรษฐกิจ) 6.นายดลเดช พัฒนรัฐ กรรมการ (ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. 2564.

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาฯ สอบปมโยมพุ่งล้ม เทสำรับอาหารใส่หลวงตาขอนแก่น



เมื่อวันที่่ 27 ธันวาคม 2564ที่ผ่านมา ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากที่ได้รับการร้องเรียน และมีคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลางศาลาวัดแห่งหนึ่ง ที่ จ.ขอนแก่น โดยมีโยมผู้หญิงใส่ชุดไทย ยกอาหารเพื่อจะไปประเคนต่อหลวงตา แต่ขณะที่จะถึงหลวงตาก็กระโดดพุ่งล้มโดยให้ถาดอาหารร้อนหกใส่หลวงตา โดยอ้างว่ารื่นล้ม 

ทั้งนี้ยังมีข้อมูลจากเพจ อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 3 ที่นำคลิปมาลง ระบุว่า" ลื่นจริงหรือแกล้ง ช่วยดูที มันน่าจะมีอะไรในก่อไผ่ไหม ณ. วัดแห่งหนึ่ง ในตำบลโนนพะยอม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ไม่รู้ว่าสาเหตุเพราะอะไร หญิงคนนี้สาดอาหารใส่พระสงฆ์ จะบอกไม่ตั้งใจก็จะค้านสายตา #ชนบท จ.ขอนแก่น พระกำลังเข้าแจ้งความ ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ปัญหาด้วย -คนถ่ายคลิปบนศาลาวัด ที่บ้านโนนพะยอม คนเสื้อสีชมพู เป็นโยมที่มาทำบุญวัด และสงสัยว่าจะเกิดเหตุ เลยได้ถ่ายคลิปไว้ ซึ่งก็เกิดเหตุตามคาดจริง

ดร.เพชรวรรต กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลการร้องเรียนดังกล่าว ได้ให้ทางฝ่ายเลขาฯ ประสานไปยัง พระเทพวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ซึ่งยังมีเงื่อนงำในพื้นที่อยู่ คาดว่าจะได้รับการคลี่คลายใน 2-3 วันนี้ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการจะได้นำข้อเท็จจริงดังกล่าว นำไปศึกษาเพื่อดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่ของกรรมาธิการต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

“เอ้ สุชัชวีร์” เจอโป๊ะ! เอียง เสี่ยงอันตราย เชื่อ กทม. เปลี่ยนได้ ชวน “หันหน้าหาคลอง”


“เอ้ สุชัชวีร์” เจอโป๊ะ! เอียง เสี่ยงอันตราย เชื่อ กทม. เปลี่ยนได้ ต้องแก้ที่การจัดการ เลิกระเบียบล้าหลัง ทำงานทันสมัย ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น พร้อมเชิญชวน “หันหน้าหาคลอง”

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2564 ที่ผ่านมา “เอ้” สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นบกที่ท่าเรือตลาดพลู หลังล่องเรือสำรวจ 5 เขต พบว่า โป๊ะที่ท่าเรือตลาดพลู มีสภาพเอียง ทั้งที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่นาน ซึ่งเกิดจากโป๊ะรั่ว ทำให้เรือเทียบท่าลำบาก ผู้โดยสารใช้งานไม่สะดวก และเสี่ยงอันตราย โดยมองว่าปัญหานี้ กทม. สามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันที 

“เอ้” สุชัชวีร์ กล่าวว่าจากการลงพื้นที่ทำให้ตนเองเห็นสิ่งที่น่าสนใจเยอะมาก และเชื่อว่ากรุงเทพเปลี่ยนได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้เป็นเพราะการจัดการแบบเดิม ทำแบบเดิม มีความล้าหลัง ระเบียบล้าหลัง การจัดการล้าหลัง แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนกรุงเทพ ต้องทำงานให้ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น เปิดอกเปิดสมองรับฟังปัญหาของชาวบ้านให้ครบมากขึ้น เปลี่ยนกรุงเทพ #เราทำได้

หลังจากลงพื้นที่สำรวจคลองตลอดทั้งวัน “เอ้” สุชัชวีร์ ให้สัมภาษณ์ว่า การลงพื้นที่เพื่อต้องการรู้ปัญหาที่แท้จริงของเขตต่าง ๆ  ในฝั่งธนบุรีอย่างชัดเจน และพบว่าปัญหาหลักมาจากทางน้ำ โดยเฉพาะประตูระบายน้ำ กลายเป็นอุปสรรคการท่องเที่ยว จากการที่เรือต้องมาอออยู่ที่ประตูระบายน้ำเป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งกีดขวางการเดินเรือท่องเที่ยว ในขณะที่การเปิดปิดประตูระบายน้ำยังต้องอาศัยแรงคน ทำให้นักท่องเที่ยวต้องเสียเวลารอนาน เกิดเป็นปัญหาคอขวด กทม.ต้องบริหารประตูระบายน้ำ ให้ทันสมัย เหมือนเมืองอื่นด้วยระบบอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพ และแม่นยำสูงกว่าคน ช่วยบริหารให้เรือเข้า-ออก ได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอติดขัด ไม่เสียเวลา ไม่เสียอารมณ์ของนักท่องเที่ยว หากจัดการปัญหาดังกล่าวได้ ก็จะทำให้การท่องเที่ยวในฝั่งธนบุรีไหลลื่นได้

“เอ้” สุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่สูงที่สุด จากนั้นเป็นคลองต่าง ๆ ก่อนที่จะมาเป็นถนน และซอย ถ้าไม่มีประตูระบายน้ำ จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งถูกน้ำทะเลหนุน ทะลักเข้าคลอง ส่งผลให้บ้านริมคลองถูกน้ำท่วม ถนนทรุด จึงต้องมีประตูระบายน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำในคลองให้ต่ำ แต่ถ้ามีการกั้นน้ำที่ปากอ่าว จะทำให้ปัญหาประตูระบายน้ำในกรุงเทพฯ ทั้งหมดถูกขจัดออกไปได้ เพราะเป็นการควบคุมจากต้นทาง 

นอกจากนี้ยังเห็นว่าในอดีตมีการสัญจรทางน้ำเป็นหลัก ใช้น้ำคลองสำหรับอุปโภคบริโภค แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้การสัญจรทางบก และใช้น้ำประปา ทำให้พื้นที่ริมคลองจากที่เคยเป็นหน้าบ้านได้กลายเป็นหลังบ้าน อีกทั้งมีการดัดแปลงเรือไปใช้เครื่องยนต์รถสิบล้อก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพชาวเรือและชาวริมคลอง หากเปลี่ยนไปใช้เรือท้องแบน จะทำให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น สร้างระลอกคลื่นได้น้อยลง จึงต้องส่งเสริมการใช้เรือท้องแบน และพลังงานไฟฟ้า ที่ไม่มีทั้งมลพิษทางเสียง และไม่มีมลพิษ PM2.5 ไม่สร้างคลื่นแรง ทำลายบ้านเรือนซึ่งจะทำให้ชาวฝั่งคลองยอมรับได้มากขึ้น 

“เอ้” สุชัชวีร์ ยังกล่าวเสริมในตอนท้ายด้วยว่า เปลี่ยนกรุงเทพ #เราทำได้ หากต้องการให้กรุงเทพเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ให้คนตอบรับคลองเหมือนในอดีต และทำให้การสัญจรทางน้ำมีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับชาวบ้านสองฝั่งคลอง ในที่สุดจะช่วยสร้างรายได้ และเป็นประโยชน์กับคนทุกฝ่าย


 

"เพื่อไทย" ห่วง "บิ๊กตู่" ให้ของขวัญประชาชนแค่หาเสียงแบบด้อยค่า

  


 


“เพื่อไทย” ห่วง “ประยุทธ์” ให้ของขวัญประชาชนเป็นแค่การหาเสียงแบบด้อยค่าประชาชน ไม่ได้ทำให้ประเทศดีขึ้น ชี้ คิดได้แค่แจกเงิน ใช้แล้วหมดไปแต่หนี้พุ่ง แก้ปัญหาไม่เคยได้ แนะ ถึงเวลาต้องคิดถึงอนาคต สร้างงาน สร้างเงิน เพิ่มรายได้ 

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 นายพชร นริพทะพันธุ์ กรรมการบริหาร และ คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้ออกมาตรการในช่วงปีใหม่ เสมือนให้ของขวัญกับประชาชน ซึ่งป่าวประกาศออกมาก็มีแต่มาตรการเดิมๆ ซ้ำๆ เช่น คนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน ลอตเตอรี่ 80 บาท ฯลฯ แม้ว่าจะเป็นเรื่องดีที่ประชาชนบางส่วนจะได้ประโยชน์และอาจจะมีความสุขชั่วคราวกับมาตราการเหล่านี้ แต่มันคือการด้อยค่าประชาชนที่ต้องการอนาคตที่ชัดเจน มากกว่าการใช้งบประมาณแบบคนไร้ความรู้ อยากถามพลเอกประยุทธ์ว่าหลังจากออกมาตรการเหล่านี้แล้วประเทศไทยดีขึ้นตรงไหน จะช่วยให้ประชาชนมีงานทำหรือไม่ ? โดยเฉพาะเด็กจบใหม่จะมีงานให้เขาหาทำได้หรือไม่ ?  ประเทศไทยจะมีทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างไรกับการแจกแบบนี้ ? แล้วประชาชนจะหาเงินทึ่ไหนมาใช้จ่าย ? โดยสรุปมาตรการเหล่านี้ทำให้รัฐบาลสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นแต่ประเทศกลับไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย เหมือนตลอด 7 ปีที่ผ่านมาใช่ไหม ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ได้คิดถึงอนาคตของประเทศด้วย ไม่ใช่จะแจกเงินเพียงเพื่อจะรักษาความนิยมของตนเองที่กำลังตกต่ำอย่างมากเพียงเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้เสื่อมถอยลงอย่างมาก เพราะผู้นำมีความคิดจำกัดแค่แจกเงินรูปแบบเดิมๆ 


โดยหลักการที่แจกแบบสะเปะสะไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ไม่ได้ใช้หลักอุปสงค์อุปทาน เช่น คนละครึ่ง หรือ ช้อปดีมีคืน ซึ่งผู้ที่มีรายได้น้อยและกำลังเดือดร้อน ไม่ได้ประโยชน์เพราะไม่เหลือเงินให้ใช้แล้ว บางเรื่องอย่าง ลอตเตอรี่ราคา 80 บาท ก็ไม่น่าจะใช่ของขวัญ พลเอกประยุทธ์ได้บอกเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยแก้ไขได้  ซึ่งหากมองย้อนหลังจะพบว่าตลอด 7 ปีที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์แก้ปัญหาของประเทศไม่ได้เลย ตั้งแต่ปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เศรษฐกิจขยายตัวต่ำเตี้ยจนต้องเปลี่ยนผู้บริหารเศรษฐกิจ 4 ชุดแล้ว แต่ก็ยังคงล้มเหลว ปัญหาคนจนที่เพิ่มขึ้นมาทุกปี ปัญหาการว่างงานที่พุ่งสูงมาตลอดจนมาพุ่งสูงสุดในรอบ 20 ปี  ปัญหาของประเทศที่ไร้ทิศทางว่าจะมีอนาคตอย่างไร  ปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำโดยเฉพาะราคาข้าวที่ถูกกว่าราคาอาหารสัตว์ ปัญหาน้ำท่วมที่สลับกับปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาฝุ่น PM. 2.5 ที่ทำคนไทยต้องตายกันแบบผ่อนส่ง ปัญหาล็อตเตอรี่แพงขายเกินราคาที่ไม่เคยแก้ไขได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกคนในประเทศทราบดี แต่พลเอกประยุทธ์ดูเหมือนจะไม่สามารถแก้ไขได้ คิดได้อย่างเดียวคือการกู้เงินมาแจกและเราก็ต้องมาใช้หนี้ก้อนโตจากที่พลเอกประยุทธ์กู้ไว้แต่ประเทศไม่เจริญ ไปอีกหลายเจน 

เรื่องที่พลเอกประยุทธ์ต้องเร่งทำไม่ใช่แค่การแจกเงินผ่านมาตรการแบบไร้หลักการ แต่เป็นการจัดสรรสภาพคล่อง ให้ประชาชน กลับมาทำงาน สร้างเงิน หารายได้ให้ได้ ตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ต้องการมีงานทำ มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ประชาชนคาดหวังรายได้จากการทำงานที่มั่นคงและมีงานดีๆมีรายได้สูงๆ นโยบายให้คุณค่าและศักดิ์ศรีกับประชาชน มากกว่าจะมารอรับการแจกเงินแบบกะปิดกะปอยอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งจะไม่มีทางทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางได้ แถมยังต้องแจกบัตรคนจนเพิ่มขึ้นตลอด ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งสะท้อนในความล้มเหลวของรัฐบาลที่ทำให้มีคนจนเพิ่ม มากกว่าจะมาตีปี๊บดีใจว่ามีคนเข้ามาขอบัตรคนจนเพิ่ม ในส่วนการโฆษณาว่ารัฐบาลกำลังจะแจกบัตรคนจนเพิ่มนั้นเป็นสิ่งน่าละอายมากกว่าที่จะภูมิใจ 

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่พลเอกประยุทธ์จะต้องรู้ว่า คนไทยโดยเฉพาะคนไทยรุ่นใหม่อยากได้อนาคตที่ดี ประเทศมีทิศทางในอนาคตที่ชัดเจน  มีงานดีๆที่มีรายได้สูงๆ มีทางเลือกให้มากๆ ไม่ใช่ไม่มีงานจะให้ทำ อย่าว่าแต่จะให้เลือกงานเลย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เหมือนในปัจจุบัน อยากให้คนไทยมีอิสระและเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบอบประธิปไตย และยังสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดไปในธุรกิจในอนาคตที่ต้องการจิตนาการของคนรุ่นใหม่ ซึ่งประเทศไทยล้าหลังมากว่า 7 ปีแล้ว แต่พลเอกประยุทธ์ไม่เข้าใจ เพราะคิดไปเองว่าตนเองทำดีที่สุดแล้ว แต่ประเทศกลับเสื่อมถอย ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดทางความรู้ความสามารถของการเป็นผู้นำ ซึ่งถึงเวลาที่ควรจะสำนึกได้แล้ว

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564

คาราวานสร้างไทยถึงยะลา "คุณหญิงหน่อย" ชูสันติภาพกินได้สร้างสันติสุขปลายด้ามขวาน



เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา  ที่อ.เมือง จังหวัดยะลา คาราวานสร้างไทย 77 จังหวัด นำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายโภคิน พลกุล  และคณะ ยังอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ล่าสุดเดินทางถึงจังหวัดยะลา ร่วมกับกลุ่มปาตานี บารู ที่จะมาร่วมทำงานการเมืองกับพรรคไทยสร้างไทย นำโดยนาย อาลีฟ มาแฮ ,นายสุไฮมี ดูลาสะ และ น.ส.มูนีเร๊าะห์ ปอแซ

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า "ชื่นใจมากค่ะ ได้รับการต้อนรับที่อบอุ่น ตอนโควิดร้านค้า ปิดไป มาเปิดใหม่ มีการค้าขายกลับมาคึกคัก เพราะสำคัญที่สุดคือปากท้องและความปลอดภัย พรรคไทยสร้างไทย ขอมาเป็นทางเลือกใหม่ เสนอสันติภาพ แต่เป็นสันติภาพที่กินได้ เพราะเรารับฟังความเห็นในระบบรัฐสภา ที่เราจะมาเปิดศูนย์ประสานงาน ที่ จ.ปัตตานี และต่อไปคือ ยะลา เพราะอยากเห็นความสุข หาแนวทางสันติสุข คนอยู่ดีกินดี"คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวย้ำว่า แม้พรรคไทยสร้างไทย จะเป็นพรรคที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่ก็มีจุดยืนชัดเจนนั้นคือการแสวงหาสันติสุขให้กับชาติบ้านเมือง ซึ่งก็ตรงกับแนวทางของ ศาสนาอิสลามที่พระอัลเลาะห์ได้ให้แนวทางไว้ รวมถึงการมุ่งสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับพี่น้องประชาชนทุกคน และต้องสร้างสันติสุขที่กินได้

 

กรมการศาสนาเลี่ยงโควิดโอมิครอน จัดสวดมนต์ข้ามปี-ตักบาตรรับอรุณปี 65 แบบออนไลน์ 100%


วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2564 นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยผลการประชุมหารือร่วมกับภาคคณะสงฆ์ วัด องค์กรเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงการการดำเนินการจัดกิจกรรม “สวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่าวิถีใหม่ พุทธศักราช 2564 ต้อนรับศักราชใหม่ 2565” ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า  การจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อดังกล่าวได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จึงเห็นควรที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด 

ทั้งนี้ ประชาชนยังสามารถเข้าร่วมสวดมนต์ข้ามปีได้ผ่านทางสื่อและช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น ในส่วนกลางและกรุงเทพมหานคร ร่วมสวดมนต์ข้ามปีพร้อมกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผ่านทาง Facebook วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และ Facebook กรมการศาสนา ตั้งแต่เวลา 22.30 น เป็นต้นไป หรือร่วมสวดมนต์ข้ามปีไปพร้อมกับวัดอรุณราชวราราม ผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 HD ในเวลา 23.30 น. - 00.15 น. หรือรับชมออนไลน์ผ่านทาง Facebook กรมการศาสนา นอกจากนี้ ยังสามารถร่วมรับชมพิธีตักบาตรรับปี 2565 ได้ผ่านทาง Facebook Live กรมการศาสนา 

ส่วนในภูมิภาค ประชาชนสามารถร่วมสวดมนต์ข้ามปี ณ วัดพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย , วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี , วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี และวัดที่จัดสวดมนต์ข้ามปีทั่วประเทศ โดยองค์การศาสนาต่างๆ ได้มีการปรับรูปแบบกิจกรรมตามบริบทของพื้นที่ ประกอบพิธีในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงการเปิดศาสนสถานให้ประชาชนสักการะ เพื่อควาเป็นสิริมงคลต้อนรับศักราชใหม่ ภานใต้มาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

"อ.บรรจบ" แนะนิสิตสันติศึกษา "มจร" นำองค์ความรู้ที่เรียนมามาก ปั้นให้เป็นศิลปะถึงจะเป็นมงคลอันสูงสุด


วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564  พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า จากนโยบายของ พระอาจารย์ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ป.เอก รวมถึงพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ผศ.ดร. ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา ป.โท ต้องการให้นิสิตได้รับองค์ความรู้จากปราชญ์ที่หลากหลาย ไม่เน้นการบรรยายของอาจารย์ประจำรายวิชาเป็นหลัก เพื่อสร้างความหลากหลาย ให้นิสิตได้แนวคิดรอบด้านหลากหลายมุมมองเพื่อบูรณาการแนวคิดในมิติต่างๆทางพระพุทธศาสนา อีกทั้ง เป็นการได้โอกาสพบและรู้จักครูบาอาจารย์ผู้เป็นกัลยาณมิตร

"ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเป็นอาจารย์ประจำรายวิชา พุทธสันติวิธี ป.โท รุ่น 9 จึงได้เชิญท่าน อาจารย์ ศ. (พิเศษ) รท.ดร. บรรจบ บรรณรุจิ บรรยายพิเศษแก่ นิสิต ป.โท สาขาวิชาสันติศึกษา รุ่น 9 ในหัวข้อ พุทธสันติวิธีการสื่อสาร : โทนพราหมณ์" พระครูปลัดอดิศักดิ์ กล่าวและว่า  

โทนพราหมณ์ ถือว่าเป็นผู้ไกล่เกลี่ยมีวาจาอันเป็นเอก ได้จัดการปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ นิสิต ป.โท รุ่น 9 สาขาสันติศึกษา มจร ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์บรรจบ ในประเด็นต่างๆ ด้วยความสนใจ เพราะถือว่าที่เป็นการใช้โอกาสที่ได้พบกับพหูสูต หรือ บัณฑิต ที่มีความรู้ประดุจพระไตรปิฎกเคลื่อนที่ ทุกประเด็นที่ถามได้คำตอบที่เข้าใจได้ดี เป็นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษารายวิชา พุทธสันติวิธี

อาจารย์บรรจบ ได้เสนอมุมมอง ทางด้านพุทธสันติวิธีการสื่อสาร ท่านเน้นวิเคราะห์ชุดความคิดในมงคลอันสูงสุดเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับพัฒนานิสิต ป.โท สันติศึกษา ว่าที่ วิศวกรสันติภาพ รวมถึงผู้ไกล่เกลี่ยด้วย ท่านได้ยกแนวคิดของ พระพุทธเจ้าตามที่พระองค์ ตรัสไว้ว่า “ความเป็นพหูสูต การมีศิลปะ การมีวินัยที่ฝึกหัดดีแล้ว การพูดดี (วาจาสุภาษิต) เป็นมงคลอันสูงสุด”

อาจารย์บรรจบ มองว่า ชุดแนวคิดนี้ มีนัยสำคัญที่สัมพันธ์กันไม่ได้แบ่งออกเป็นข้อเดียวแต่มาเป็นชุดโดยไม่แยกจากกัน สามารถวิเคราะห์ได้ว่า การเรียนรู้ให้มาก เพื่อนำเอาองค์ความรู้มาเป็นศิลปะ คือ การแสดงศักยภาพความสามารถออกมาให้เป็นที่ยอมรับได้จริง ประกอบกับมีความประพฤติอันดีงาม คือ การมีวินัยในชีวิต เน้นวินัยตามหลักศีล 5 ประการ โดยมีคุณธรรมควบคุมการใช้ศีล 5 คือ หลักกุศลกรรรมบถ 10 ประการ

ดังนั้น การแสดงออกทางกายใจด้วย ต้องแสดงออกให้ถึงความสุจริต เป็นการใช้ความรู้สู่ความสุจริต คนมีความรู้แล้วแสดงองค์ความรู้ออกไปด้วยการสื่อสารผ่านคำพูด บ้านเรามีปัญหามากมาย ก็มาจากคำพูดทั้งนั้น โดยเฉพาะการพูดที่ทำให้เกิดความโต้แย้งกัน อีกทั้ง ปัจจุบันปัญหาบ้านเราคอรัปชั่นมาก ก็เพราะความหายนะมาจากคนที่มีการศึกษาทั้งนั้นเลย เพราะการศึกษานั้นยังไปไม่ถึงความสุจริตนั่นเอง 

ดังนั้น จะแก้ปัญหาได้ต้องมีการศึกษาที่มีองค์ประกอบครบชุดความรู้ตามแนวคิดที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ คือ ความเป็นพหูสูต การมีศิลปะ การมีวินัยที่ฝึกหัดดีแล้ว การพูดดี ชุดความคิดนี้แหละที่เป็นมงคลอันสูงสุด


 

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระรูป-พระคติธรรมวันขึ้นปีใหม่ "ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้"


วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564 เฟซบุ๊ก สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โพสต์รูปภาพพร้อมข้อความว่า เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๕ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานพระรูป พร้อมลายพระหัตถ์เชิญพระพุทธภาษิต เป็นพระคติธรรม ประทานพรสำหรับความสุขปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ขอท่านจงเจริญเมตตาจิต แบ่งปัน เพื่อความผาสุกร่วมกันของประชาชาติไทย เทอญ


ขออำนวยพร


“ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ


ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้”

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สถาบันภาษา"มจร" ดำเนินการเชิงรุกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษนิสิตอาเซียน



วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) มีคำสั่งที่ 1683/2564 เรือง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตอาเซียน ลงนามโดย พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. ,อธิการบดี โดยโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการร่วมกันของมหาวิทยาลัยคือสถาบันภาษา, สำนักทะเบียน,คณะมนุษยศาสตร์,คณะสังคมศาสตร์,คณะพุทธศาสตร์และศูนย์อาเซียนศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตอาเซียนโดยมุ่งเน้นการเสริมทักษะที่จำเป็นได้แก่ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งเเต่ระดับพื้นฐานถึงระดับสูง ในฐานะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง (Working Language) ของประชาคมอาเซียน และมุ่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิตให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ



พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน,ผศ.ดร.,ผู้อำนวยการสถาบันภาษา กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักและเป้าหมายของโครงการคือ การเสริมทักษะและสมรรถนะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนิสิต สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาสื่อสารในระดับชาติและนานาชาติได้ 

ด้าน พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,ผศ,ดร. ,รองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา กล่าวเสริมว่า ศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย การทำหน้าที่สนับสนุนนิสิตให้มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในระดับประชาคมอาเซียนจึงเป็นหน้าที่โดยตรงที่จะดำเนินการร่วมกันกับสถาบันภาษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้

ในการนี้ พระมหาอาชิระ วชิรนาโค อาจารย์ประจำสถาบันภาษา กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการจะผลิตสื่อ การเรียนการสอนทางด้านภาษาอังกฤษให้กับนิสิตและจะออกแบบนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกเพศ ทุกช่วงชั้นและวัย ซึ่งจะสามารถนำไปใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ โดยในชุดแรกจะเป็นสื่อการสอนหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammar) ในรูปแบบวิดีโอ และภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น การสอนวิปัสสนา การสื่อสารกับชาวต่างประเทศ และในอนาคตจะต่อยอดไปสู่หัวข้อการเรียนอื่น ๆ ต่อไป

ทั้งนี้ พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที กล่าวในนามคณะกรรมการและผู้ประสานงานของศูนย์อาเซียนศึกษาว่าขอเชิญชวนนิสิตทุกชั้นปีเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งในวันที่ 4 มกราคม 2565 ที่จะถึงนี้ คณะกรรมการจะประชุมหารือครั้งแรก โดยมีผู้อำนวยการสถาบันภาษา, ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและวัดผล,ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิตและผู้บริหารจากคณะทั้ง ๔ คณะ โดยสามารถติดตามข่าวสาร รายละเอียดและรายงานโครงการตลอดทั้งกิจกรรมอื่นๆ ของสถาบันภาษาได้ที่ ห้อง D300 อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา หรือทาง Facebook Fanpage :Limcu FC

เกษตรฯ คิกออฟพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่วัดกลางกรุง ( Green Temple )


วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด (Green Temple) ณ โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน จึงได้วางแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์  ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 2. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0              3. ยุทธศาสตร์ “3’s” (Safety-Security-Sustainability- เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน)          4. ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล “เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย” และ   5. ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา 

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค จากแนวนโยบายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองที่มีการจัดสรรและใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องส่งเสริม สนับสนุน ให้ประชาชนในชุมชนเมืองได้เรียนรู้การทำเกษตรปลอดภัย ตามวิถีพอเพียง และคนในชุมชนมีอาหารบริโภคผลผลิตปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ในด้านการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัดเพื่อผลิตอาหารเพียงพอปลอดภัยให้กับชุมชนในเมืองใกล้วัด และโรงเรียนเพื่อสร้างเป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค และสร้างรายได้ รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวสอดคล้องกับ BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ 1) Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ 2) Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน การมุ่งสร้างมูลค่าสูงสุดจากทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการลดของเสีย เช่น การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักจากเศษอาหาร เป็นต้น และ 3) Green Economy เศรษฐกิจสีเขียวหรือเศรษฐกิจที่พัฒนาด้วยความคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมยั่งยืน นอกจากนี้ คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีตนเป็นประธาน ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานให้ครบทั้ง 50 เขตเป็นกลไกขับเคลื่อนระดับพื้นที่ โดยในวันนี้ได้คิกออฟโครงการวัดสีเขียว คลองสามวาสีเขียว ที่วัดพระยาสุเรนทร์ เป็นที่แรก บนความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน (บ.ว.ร.) ในเขตคลองสามวา

 “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ ตลอดจนร่วมบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ สำนักงานเขตคลองสามวา สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. สำนักพัฒนาสังคม กทม. วัดพระยาสุเรนทร์ โรงเรียน นักเรียน และชุมชน โดยขอความร่วมมือให้ช่วยกันดูแลแปลงพืชผัก สมุนไพร รวมทั้งต้นไม้ที่ปลูกในวันนี้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจังที่จะช่วยกันผลิตพืชผักปลอดภัยและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม หากเราร่วมมือกันก็จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันคิด ร่วมกันทำเพื่อพี่น้องประชาชนก็จะได้กินดีอยู่ดีในอนาคตด้วย” นายอลงกรณ์ กล่าว 

ขณะที่นายโฆสิต สุวินิจจิต ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด (Green Temple) กล่าวว่า สำหรับโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด (Green Temple) มีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้กับคนในชุมชนเมือง เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเมืองใกล้วัดเข้าถึงอาหารปลอดภัยรวมถึงเป็นรายได้ให้แก่ชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียวในวัด โรงเรียน ชุมชน และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่ วัดโรงเรียน รวมทั้งเพิ่มพื้นที่และกิจกรรมทางสังคมของชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะทำกิจกกรมร่วมกัน เช่น ปลูกผักสวนครัว ไม้ผล ไม้ยืนต้น สมุนไพร การลงแขกช่วยงานในแปลง เป็นต้น โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการในพื้นที่ดังนี้ วัดพระยาสุเรนทร์ เขตคลองสามวา วัดบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน วัดพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร วัดนายโรง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร วัดโซนเหนือกรุงเทพฯ วัดโซนตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ มัสยิดคอยรุดดีน และศาสนสถานของฮินดูและโบสถ์ รวมทั้งสิ้น 9 แห่ง 

โดยในส่วนการดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่ในโรงเรียนและวัดช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล ไม้ยืนต้น เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้เราสามารถบริโภคผลผลิตพืชผัก ผลไม้ที่ปลอดภัย อีกทั้งยังไม่ทำลายสภาพแวดล้อม โดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าในวัดทำแปลงเกษตรเพื่อให้มีอาหารปลอดภัยให้เด็กนักเรียน ให้คนในชุมชนได้บริโภคและมีรายได้จากการนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดชุมชนรวมทั้งสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับวัดและชุมชน รวมถึงให้เป็นศูนย์เรียนรู้แก่ชุมชนและตัวอย่างให้แก่วัดและชุมชนอื่นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564

พระปิดตามหาเสน่ห์หลวงพ่อพัฒน์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมแห่ง ยุค 5G


พระปิดตามหาเสน่ห์ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญฺญกาโมช อาริยะสงฆ์อายุ ๑๐๐ ปี ศิษย์พุทธาคม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมแห่ง ยุค5G  วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์  

"พระปิดตา"  หรือ พระควัมปติ ของเหล่าเกจิคนดังๆ ยังคงเป็นตำนานในวงการพระเครื่องที่หลายคนยังคงกล่าวขาน โดยเฉพาะในเรื่องของความเชื่อในพุทธคุณของแต่ละเกจิในความแตกต่างของงานศิลปะในการสร้างระหว่างเนื้อผงและเนิ้อโลหะ

"พระปิดตา" ตามประวัติว่า เป็น  อัครสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า ชื่อ “พระควัมปติ” หรือ พระมหากัจจายนะท่านมีรูปร่างลักษณะงดงามมาก ผิวพรรณผุดผ่องดุจทองคำ  จนเป็นที่ต้องตา ต้องใจแก่คนทั่วไป จนสตรีเพศทั้งหลายต่างพากันหลงใหล จนเป็นการขัดขวางการปฏิบัติธรรม และกิจต่างๆ  ท่านจึงขออนุญาตจากพระพุทธเจ้า อธิษฐานจิตขอเปลี่ยนสรีระ โดยใช้ฤทธิ์อภิญญาของท่าน ให้ไม่หล่อ ไม่งดงาม ต่ำเตี้ย ขาสั้น อ้วน พุงพลุ้ย 



แต่ก็ขอมีใบหน้าที่ ยิ้มอิ่มเอิบ ด้วยความเมตตาบารมี  แห่งความมีโชค มีลาภ แต่ถึงแม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติยังส่งผลให้พระสังกัจจายนะเป็นที่รักใคร่ นิยม มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะ สรรเสริญตลอดมา เพราะฉะนั้นด้วยความนิยมในพระมหากัจายนะนี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะพระควัมปติ หรือ พระมหากัจจายนะ ในรูปพระเครื่อง โดยการปิดตามี 3 ลักษณะ คือ

1.พระปิดตานั่งขัดสมาธิ ยกมือขึ้นปิดตาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งพุทธคุณเน้นทางด้านเมตตามหานิยม และลาภผลพูนทวี   

2.พระปิดตานั่งขัดสมาธิ ปิดทวารทั้ง 9 คือ ปิดตา 2ข้าง ปิดจมูก 2 ข้าง ปิดปาก 1 ปิดหู 2 ข้าง ปิดทวาร 2 พระปิดทวารทั้ง 9หรือ พระปิดตามหาอุตม์

 มีความหมายถึงการเข้านิโรธสมาบัติ คือ ไม่ยินดี ยินร้ายกับกิเลสทั้งหลาย ดับสนิท กิเลสต่างๆไม่อาจเข้ามาแผ้วผานได้ ด้านพุทธคุณพระปิดทวารทั้ง 9 จะเด่นในทางป้องกันภยันตรายต่างๆ  ทั้งปวง   



3.เป็นพระนั่งยอง ปิดทวารทั้ง 9 พุทธคุณเน้นทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี


ในประเทศไทย มีการจัดชุดเบญจภาคี "พระปิดตา" ประเภทเนื้อผง ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดพระปิดตาที่ไดรับความนิยมมากที่สุด ของนักสะสมทั้งยุคเก่า และยุคปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะเป็นพุทธศิลป์ เนื้อหา มวลสาร รวมถึงกรรมวิธีในการสร้าง และปลุกเสก ก่อให้เกิดพุทธคุณ และประสบการณ์มาตั้งแต่ครั้ง ปู่ย่า ตายาย ว่า เมตตามหานิยม ลาภยศ สรรเสริญ การค้าเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้น 


มวลสารศักดิ์สิทธิ์  ชั้นครูในรุ่น  พระปิดตามหาเสน่ห์  เกศาหลวงพ่อพัฒน์ ประกอบด้วย จีวรหลวงพ่อพัฒน์ ตะกรุดเสก ผงว่านมงคลเสก คำหมากหลวงพ่อพัฒน์ 

ผงพุทธคุณเสก ว่านกาฝากเสก ว่านเครือสาวหลง ผงธูป ศักดิ์สิทธิ์ เเผ่นทองคำเสก  ผงตะใบทองเสก ผงตะใบทองแดง ชนวนเสก ผงงานช้างเสก ว่านสบู่เลือดเสก น้ำมนต์เสก ว่าน108 เสก  เทียนชัย สายสินธุ์ เสกเเละมวลสารต่างๆชั้นครูอีกมาก ที่หลวงพ่อเมตาเสกให้



พระราชมงคลวัชราจารย์ หรือ หลวงปู่พัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ บิดาชื่อพ่อพุฒ มารดาชื่อแม่แก้ว ก้อนจันเทศ ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2489 ณ วัดสระทะเล โดยมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ หรือ หลวงปู่ยอด วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการชั๊ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญฺญกาโม"

หลวงปู่พัฒน์ได้รับสืบทอดวิชาจากหลวงปู่เทศ วัดสระทะเล ซึ่งเป็นทวดผ่านทาง หลวงปู่เดิม วัดหนองโพ หลวงปู่อิน วัดหางน้ำสาคร หลวงปู่หมึก วัดสระทะเล ซึ่งหลวงปู่พัฒน์ มีศักดิ์เป็นหลาน และหลวงปู่โหมด วัดโคกเดื่อ ต่อมาจึงได้ไปเรียนวิชาทางเมตตามหานิยมกับ หลวงปู่ชุบ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งนานถึง 6 ปี ก่อนกลับมาจำพรรษาที่ วัดสระทะเล ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน

ต่อมาบิดามารดาของหลวงปู่พัฒน์ ได้ย้ายไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่บ้านห้วยด้วน หรือบ้านธารทหาร  ในขณะนั้นนายผล กำนันตำบลธารทหาร จึงได้พาบิดามารดาไปอาราธนาให้ท่านมาจำพรรษาและพัฒนาวัดห้วยด้วนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน โดยท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดธารทหาร และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ราชทินนาม พระครูนิวิฐปุญญากร กระทั่งปี พ.ศ. 2526 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลธารทหาร 

ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 20/2545 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2545 มติที่ 310/2545 ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งให้ พระครูนิวิฐปุญญากร เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลธารทหารจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ท่านได้รับพระราชทานพัดรองที่ระลึกงานบรมราชาภิเษก และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะชั้นราชเป็นกรณีพิเศษที่ราชทินนาม "พระราชมงคลวัชราจารย์" พระปิดตาปลดหนี้ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญฺญกาโมช จัดโดยทีมงาน "พี่เสือ" ป้อม สกลนคร  นิภัทร์ สมาร์ท อิมเมจ 

ติดตามข้อมูลการจัดสร้างได้ที่สอบถามได้ที่ "นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ" โทร.086-450-8969 "ป้อมสกลนคร" โทร.089-619-8989  หรือในเพจ"กลุ่มพระผงยอดนิยมทุกรุ่น หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์  คลิปปลุกเสก.... https://youtu.be/yn38ggAKPbs

"วิจัย ป.เอกสันติศึกษา มจร" แนะยึด "วาจาสุภาสิต" หลักสื่อสารเสริมพลังอำนาจผู้นำวิถีชีวิตใหม่



วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. กรรมการร่วมดุษฎีนิพนธ์ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) 

เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้ร่วมสนทนากลุ่มงานวิจัยในฐานะกรรมการร่วมงานดุษฎีนิพนธ์ ของนิสิตระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยผู้วิจัยคือ นางสุนีย์ สว่างศรี รองผู้อำนวยการกองตรวจราชการสำนักปลัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นนิสิตระดับปริญญาเอกหลักสูตร ๒.๑ หลักสูตรสันติศึกษา มจร 

ทำวิจัยภายใต้หัวข้อ “กระบวนการสันตินวัตกรรมการสื่อสารที่เสริมพลังอำนาจของผู้นำวิถีชีวิตใหม่” โดยได้รับความเมตตาจากผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญอย่างดียิ่ง ประกอบด้วย ด้านการสื่อสารอย่างสันติ ด้านผู้บริหารกับการสื่อสาร ด้านกระบวนการสื่อสาร  ด้านพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาการสื่อสาร และด้านออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีอาจารย์ ผศ.ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์  เป็นประธานควบคุมดุษฎีนิพนธ์ 

โดยผู้ทรงคุณวุฒิสะท้อนการพัฒนาผู้นำในองค์กร มองถึงการพัฒนากระบวนการสันตินวัตกรรมการสื่อสารที่เสริมพลังอำนาจของผู้นำวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งการพัฒนาผู้นำด้านการสื่อสารจะต้องยึดตามแนวทางของพระพุทธเจ้าผ่านความจริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา กระบวนการการพัฒนาจะต้องวิเคราะห์ปัญหาออกแบบให้สอดรับกับปัญหาที่แท้จริง โดยต้องบูรณาการระหว่างหลักทฤษฎีสากลกับหลักพุทธสันติวิธีให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยชิ้นนี้จึงสามารถนำไปบูรณาการสู่การพัฒนาผู้นำองค์กรในการสื่อสารให้ทรงพลังต่อไป 

สันติศึกษา "มจร" จัดมอบโคเกษตรกรปรางค์กู่ ตามเจตนารมณ์พระภาวนาเขมคุณ



เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่โคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ได้จัดพิธีมอบโคแก่ชาวเกษตรกร โดยมีพระครูวรรณสารโสภณ เจ้าคณะอำเภอ และจ่าสิบเอกสมควร สิงห์คำ  รักษาการนายอำเภอ พร้อมด้วยข้าราชการท้องที่ท้องถิ่น และผู้แทนพระภาวนาเขมคุณ เจ้าอาวาสวัดมเหยงค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยนายพจน์ และนางเพลินพิศ สืบพาณิช มาร่วมพิธีในครั้งนี้

 


นายพจน์ สืบพาณิช กรรมการวัดมเหยงค์ กล่าวว่า พระภาวนาเขมคุณ มีปณิธานอันแน่วแน่วแน่ในการมอบชีวิตใหม่ให้แก่โคที่กำลังถูกฆ่า จึงได้จัดโครงการไถ่ชีวิตโคกระบือมากว่า 1,000 ตัวแล้ว และปรารถนาจะเห็นชาวเกษตรกรมีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงได้มอบโคให้แก่ชาวอำเภอปรางค์กู่ จำนวน 30 ตัว และจะมอบอย่างต่อเนื่องให้เพียงพอแก่ความต้องการ

พระมหาหรรษา กล่าวว่า เมื่อมอบโคให้แก่ชาวเกษตรดรแล้วจะดำเนินโครงการธนาคารโคกระบือเกิดความยั่งยืน ด้วยการตั้งกองทุนขึ้นมาดูอย่างต่อเนื่อง และจะจัดหลักสูตรพัฒนาและฝึกอบรมผู้ที่ได้รับโคไปเลี้ยงร่วมกับปศุสัตว์อำเภอ เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยตอบโจทย์ประชาชนในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากพิษภัยทางเศรษฐกิจอันเป็นผลจากโควิด



"การตั้งธนาคารโคกระบือครั้งนี้ จะอยู่ภายใต้โครงการโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล ซึ่งมีองค์ประกอบของธนาคารน้ำ ธนาคารข้าว ธนาคารเมล็ดพันธุ์ โดยมีวิสาหกิจชุมชนเข้ามาช่วยสนับสนุน และรองรับการจัดจำหน่ายสินค้าของเกษตรกรในพื้นที่ด้วย" 

อ.ม.รังสิต"แนะสื่อยุค 5 จี คำนึงถึงผลกระทบก่อนเสนอข่าว



หวั่นกระทบสังคมแนะดูแลเด็ก-คนแก่ ครอบครัวร่วมโต๊ะเซ็นเซอร์ข่าวโลกโซเชียลหวั่นเป็นเหยื่อมิตรฉาชีพ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่ศูนย์อบรมพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดให้มีการเสวนา "นั่งคุยเรื่องสื่อในยุค 5G ใครๆก็เป็นสื่อคุณภาพได้"ภายใต้โครงการ"Media Mee Dee ศูนย์รวมความรู้เท่าทันสื่อบนโลกดิจิทัล" โดยผศ.ดร.อานิก ทวิชาชาติ คณะวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในปัจจุบันมีคนทำงานสื่อดิจิทัลหรือโซเชียลมีเดียมากขึ้น เนื่องจากระบบการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และรวดเร็วสะดวก มากขึ้นโดยเฉพาะภาคประชาชนและนักข่าวพลเมือง  การนำเสนอเนื้อหาเหตุการณ์รวดเร็วถือว่าเป็นสิ่งดีที่จะนำเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้สาธารณะชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น แต่คนที่จะมาทำหน้าที่นี้และเรียกตนเองว่าเป็นสื่อต้องละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก่อนนำเสนอเพราะหากไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดที่ชัดเจนจะทำให้เกิดผลเสียอย่างมากเพราะบางข่าว โยงไปถึงชีวิตความเป็นอยู่คนที่เป็นข่าวและผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบในระยะยาวหรือเสียหายประเมินค่าไม่ได้

ทั้งนี้สื่อที่นำเสนอข่าวแยกออกเป็นสองส่วนคือสื่อที่มีต้นสังกัด ที่ในวันนี้ไม่น่าห่วงเพราะมีกรอบจริยธรรมชัดเจน ตรวจสอบได้  ที่ผ่านมาสื่อหลัก ๆ มีองค์กรสื่อ รวมตัวชัดเจนตรวจสอบได้  ก่อนให้บุคคลากรหรือผู้สื่อข่าวทำข่าว ทุกสำนักข่าว มีการฝึกอบรมเรื่องจริยธรรมที่ชัดเจนก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ ส่วนสื่อไม่มีต้นสังกัดโดยเฉพาะสื่อออนไลน์ใหม่ ๆ ทั้ง youtube  tiktok  น่าเป็นห่วงเพราะมีอิสระในการนำเสนอที่ส่วนใหญ่ไม่รู้กฏระเบียบ คนเหล่านี้ไม่ผ่านการอบรม เรื่องระบบการนำเสนอข่าว ไม่มีกรอบ กฏระเบียบ กติการทำสื่อ ทำให้การเสนอเนื้อหาที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบผู้เป็นข่าว ทำเพื่อความสะใจมากกว่า

"ขณะนี้กระแสในโลกโซเชียลเอง ก็ได้ตรวจสอบสื่อด้วยกันเองเช่นกันว่าสื่อประเภทใดเป็นสื่อน้ำดีหรือไม่ดี โดยดูจาก content ของสื่อเหล่านั้นนั่นเอง ฉะนั้นทุกคนที่ต้องการจะเป็นสื่อในยุค5Gต้องคำนึงถึงจริยธรรม ความถูกต้อง การไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล  ปัจจุบันองค์กรที่ผลิตบุคคลากรที่จะมาทำสื่อสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้สร้างจิตสำนึก ปลูกฝัง ให้นักศึกษา ด้วยการยึดหลักจริยธรรม"ผศ.ดร.อานิกกล่าว

ส่วนการรับรู้สื่อของภาคประชาชนควรใช้วิจารณญาณในการรับรู้ หรือรู้เท่าทัน แยกแยะ การติดตามข่าวสารหลายช่องทาง กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือเด็กที่ผู้ปกครองควรเข้ามาดูแลการใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับดูสื่อเพื่อป้องกันการเสพสื่อที่ไม่เหมาะสม อีกกลุ่มที่น่าห่วงคือผู้สูงอายุ ที่อาจตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากการโฆษณาแฝง ดังนั้นครอบครัวต้องมีระบบเซ็นเซอร์ ข่าวสารให้คนในสองกลุ่มมากขึ้น

ข๖ะที่นายสุธี จันทร์แต่งผล"บรรณาธิการบริหาร เว็บไซด์เอ็มไทย กล่าวว่า การนำเสนอข่าวของสื่อควรยึดหลักความจริง ความถูกต้อง มีการกลั่นกรองข่าวสารอย่างละเอียดก่อนนำเสนอ องค์กรสื่อก็ต้องตรวจสอบบุคคลากรตนเองว่าต้องยึดความตรงไปตรงมาในการนำเสนอข่าวเพื่อไม่ให้นำอคติส่วนตัวไปเสนอข่าวสารโดยใช้สื่อองค์กรตนเองเป็นช่องทาง อีกทั้งไม่ควรนำเสนอข่าวในการสร้างสิ่งเร้าใจมากกว่าข้อเท็จจริง ในส่วนสื่อขององค์กรตนนั้นมีกระบวนการกลั่นกรอง และตรวจสอบเน้นความถูกต้องเป็นหลักไม่เน้นความรวดเร็ว รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ก็อาจปฏิบัติเช่นเดียวกัน แทนการนำเสนอข่าวที่รวดเร็วแต่อาจมีการผิดพลาดได้ จนมีผลกระทบในระยะยาวต่อสังคม 

"อยากให้ประชาชนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารควรใช้วิจารณญาณ โดยเฉพาะผู้ปกครองที่จะต้องดูแลบุตรหลาน ต้องให้คำแนะนำ และติดตามอย่างใกล้ชิดด้วย"นายสุธี กล่าว

ด้านนายอิทธิพันธ์ ปิ่นระโรจน์" หัวหน้าข่าว ผู้ประกาศข่าวภาคสนาม เนชั่นทีวี 22 กล่าวว่า การนำเสนอข่าวของสื่อต้องมีวิจารณญาณคำนึงถึงผลกระทบผู้เป็นข่าว โดยเฉพาะข่าวอาชญากรรม จะโยงกับคนที่มีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะกรณีฆาตกรรม ที่อาจถูกสังคมประนาม ไปด้วยแม้ไม่ได้ก่อเหตุก็ตาม สื่อต้องยึดหลักไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น เนื่องจากปัจจุบัน การนำเสนอข่าวทางโซเชียลจะเน้นรวดเร็ว และเรียลไทม์ ส่งผลให้ละเมิดสิทธิคนอื่นโดยไม่รู้ตัว และบางครั้งทำให้เกิดความแตกแยก ฟ้องร้องในภายหลัง จึงมีคำถามว่าทำอย่างไรจะสามารถควบคุมสื่อประเภทนี้ให้ได้  สื่อเองก็ต้องมีการสอดส่องสื่อด้วยกันเองเพื่อป้องกันการละเมิด อย่างไรก็ตามที่น่าเป็นห่วงอีกประด็นคือเยาวชนที่เสพสื่ออาจมีพฤติกรรมการเลียนแบบและก่อให้ความเสียหายได้


วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ระดมสมองปรับโฉมใหม่ หลักสูตร ป.โท สันติศึกษา"มจร" แนะต้องตอบโจทย์คนรุ่นใหม่


วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า ในฐานะเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร เข้าร่วมรับฟังผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา มจร นำการพัฒนาโดย พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรโดย พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร ร่วมกับ อาจารย์ ผศ.ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษาในฐานะกำกับมาตรฐานการประกันคุณภาพของหลักสูตรสันติศึกษาแบบ AUN  ทำให้หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกของสันติศึกษามีคุณภาพอันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญได้สะท้อนถึงการพัฒนาได้อย่างดียิ่ง     

๑)นพ.ดร.บรรพต  ต้นธีรวงค์ สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า ทำไมสันติศึกษา โดยสันติศึกษาจะต้องขยับไปแก้ปัญหาในด้านภาพใหญ่ต้องสามารถตอบโจทย์ผู้เรียนให้มากที่สุด โดยทุกวัยสามารถเข้าถึงสันติศึกษาอนาคตอาจจะพัฒนารตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หลักสูตรสันติศึกษาสามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาประชาธิปไตย เพราะแท้จริงแล้วสันติศึกษาคือประชาธิปไตย มุ่งบูรณาการยุติธรรม และมุ่งบูรณาการสิทธิมนุษยชน  ควรพัฒนาเนื้อหาให้มีความทันสมัยมากขึ้น เข้าใจกับชีวิตวิถีใหม่ให้สอดรับกับวิถีใหม่ ช่องว่างระหว่างวัยรวมถึงเจเนอเรชั่น ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร จะอยู่ร่วมกันอย่างไรอย่างสันติ ควรมีเนื้อหาประเด็นในสันติศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นซึ่งมีประเด็นความขัดแย้ง ส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับท้องถิ่นเข้ามาศึกษาเพิ่มมากขึ้น ส่วนเนื้อหาการพัฒนาเกี่ยวกับสันติศึกษา จึงอยากให้มีทฤษฎีสันติภาพระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม และระหว่างประเทศ ควรมีทฤษฎีองค์รวมอะไรในการบูรณาการได้ในทุกระดับความขัดแย้ง เพื่อสร้างสันติภาพในทุกระดับเพื่อเป็นแนวทางร่วมกัน ย้ำว่าจุดประสงค์ของมหาบัณฑิตคือ นักวิจัย นักเจรจาไกล่เกลี่ย และนักเจรจาสันติภาพ เราจะพัฒนาวิศวกรสันติภาพไปสู่ระดับใด หลักสูตรของเราเน้นไปด้านใดในฐานะเราเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ในการพัฒนาสู่ความเป็นพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ จะต้องใช้แนวทางแบบบูรณาการทั้งศาสตร์สมัยใหม่และพุทธสันติวิธี ในประเด็นการเรียนการสอนจะต้องมองระบบเป็น ให้นิสิตมองอย่างเป็นระบบคิดเชิงระบบ จะต้องมีการถกแถลง ปรับวิธีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ   

๒)ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า สันติศึกษาอยู่ภายใต้หลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตจะต้องรักษาอัตลักษณ์ โดยพระพุทธศาสนามีหลักการเกี่ยวกับสันติอย่างไรบ้างในสมัยพุทธกาล ซึ่งมูลนิธิต่อต้านการทุจริตเข้ามาส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านช่อสะอาดในการนำไปสู่การลงมือปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนได้รับสิ่งที่ดีงาม ซึ่งเวลาพูดถึงสันติจะมองได้หลากหลาย เช่น อนุญาโตตุลาการ        แต่หลักสูตรจะต้องพัฒนาไปถึงวิชาพุทธศาสตร์ให้เกิดการกระทบใจ โดยไม่ได้มุ่งเพียงความรู้แต่ต้องเป็นผู้นำของชุมชน ให้กระบวนการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย มีการจัดของกลุ่มวิชาเป็นวิชาเลือก           นิสิตสามารถเลือกเรียนได้ เช่น กระทรวงต่างประเทศต้องการรู้สันติวิธีเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับต่างประเทศ รวมถึงรู้ถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยในมิติต่าง มุ่งแก้ปัญหาความรุนแรงแบบต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำอย่างไรจะมีกระบวนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติพระพุทธศาสนามีคำสอนหรือหลักการอะไร  เราจะไปแก้ปัญหาของชุมชนอย่างไร ผู้เรียนได้เครื่องมืออะไรในการไปแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เราจะแก้ปัญหาแบบลงรากลึกอย่างไรสามารถแก้ปัญหาแบบถาวร ซึ่งคนที่จะมาแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องมีความเข้มแข็งไม่ใช่คนอ่อนแอ “อ่อนโยนในตัวแต่แข็งแกร่งในหลักการ” โดยญี่ปุ่นใช้หลักจารีตประเพณีในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในออสเตรเลียมีกระบวนการประกาศขอโทษอย่างยิ่งใหญ่กับกลุ่มเมาลี แต่สหรัฐอเมริกาไม่เคยขอโทษอินเดียแดงเลย หลักสูตรสันติศึกษาจะต้องสร้างในสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปไม่เคยทำแต่พระพุทธเจ้าเคยทำคือ กระบวนการขอโทษ กระบวนการให้อภัย ซึ่งกันและกัน ซึ่งมหาจุฬาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์จะต้องพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับเด็กเยาวชนมีการรับฟังอย่างแท้จริง ขอให้นิสิตไปแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ทุกมิติที่มีความขัดแย้ง           

๓)รองศาสตรจารย์ ดร. อำนาจ บัวศิริ สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า เราต้องการคนแบบใด เราต้องการคนที่มองปัญหาเป็น มองสภาพปัญหาให้เป็นแล้วค้นหาสาเหตุและมองวิธีการแก้ไขปัญหาผ่านพุทธสันติวิธี          ซึ่งหลักธรรมทุกหลักสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหา คนที่มาเรียนจะต้องทราบแนวทางพุทธสันติวิธีอย่างลึกซึ้งและบูรณาการ เช่น สร้างการมีส่วนรวม โยนิโสมนสิการ นิสิตจะต้องทราบพุทธสันติวิธีในการไปแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ในการสร้างผลผลิตของสันติศึกษาจะต้องสามารถ “มองปัญหา หาสาเหตุ  เห็นแนวทางแก้ปัญหา   และใช้พุทธวิธีมาบูรณาการได้” ประเด็นสำคัญของสังคมที่เป็นประเด็นร้อนที่เข้ามาบูรณาการคือ ข่าวปลอม จะต้องมีเครื่องมือในการหาสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหา ด้วยการจัดการกับข่าวปลอม อะไรเป็นกระแสหลักในสังคมนิสิตจะต้องรู้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้น       

๔)รองศาสตรจารย์ ดร. โกนิฏฐ์  ศรีทอง สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า การพัฒนาหลักสูตรจะต้องมองว่าเรามีปัญหาอะไร เพราะผ่านมา ๕ ปี ให้นำสิ่งที่สะท้อนมาพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น โดยแบ่งสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่งทฤษฎี เพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์  กลุ่มที่สอง เทคนิควิธีการ ๓๐ เปอร์เซ็นต์  กลุ่มที่สาม ปฏิบัติการ ๕๐   เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้เทคนิควิธีการจะนำไปสู่การปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี ทำอย่างไรจะทำให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีจิตอาสามากกว่าคนทั่วไป อยากให้เน้นกิจกรรมที่เน้นความเป็นจิตอาสาในการเป็นวิศวกรสันติภาพ     

๕)รองศาสตรจารย์ ดร. โคทม  อารียา สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า จากการดูหลักสูตรแล้วมีความประทับใจมีประเด็นลดความเหลื่อมล้ำ และลดความรุนแรง โดยใช้แนวทางพระพุทธศาสนาเป็นฐาน ซึ่งการเรียนการสอนเราใช้นิสิตเป็นศูนย์กลาง โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีกระแสเกี่ยวโควิด ในหลักสูตรจะต้องบูรณาการประเด็นโควิดเข้ามาด้วย ประเด็นความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สันติศึกษา มจร มีท่าทีอย่างไร ประเด็นความขัดแย้งในการเมืองสันติศึกษา มจร มองประเด็นนี้อย่างไร ประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนตาม SDG สันติศึกษา มจร มองประเด็นนี้อย่างไร แต่อย่าลืมจุดเด่นของหลักสูตรคือ พระพุทธศาสนา โดยมีวิชาวิปัสสนากรรมฐานในการพัฒนานิสิตถือว่าดีมาก แต่ต้องบูรณาการทั้งแนวทางเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ซึ่งมีความหลากหลายในทางคำสอนและหลักปฏิบัติ รวมถึงสิทธิมนุษยชนแต่ก็ยากเพราะมีแง่มุมทางการเมืองเข้ามาประกอบด้วย แต่หลักสูตรสันติศึกษาจะต้องบูรณาการในประเด็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ใช่การเรียกร้องกับคนอื่นแต่ควรเรียกร้องกับตนเองด้วย หลักสูตรจะต้องพัฒนาไปสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่พูดถึงพุทธสันติวิธีเท่านั้นแต่อยากให้เพิ่มเครื่องมือปฏิบัติไร้ความรุนแรง การเสวนาหาทางออก สันติสนทนา การรู้จักฟัง  มุ่งเน้นการเรียนการสอนเราจะสอนแบบใด “เอาครูอาจารย์เป็นตัวตั้ง หรือ เอาเนื้อหาเป็นตัวตั้ง”  ควรให้นิสิตมีการค้นคว้าล่วงหน้าเพื่อมาแลกเปลี่ยนกัน อาจารย์จะต้องปรับวิธีการสอนที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปแบบวิถีใหม่  ส่วนวิทยานิพนธ์ควรมุ่งเน้นเนื้อหาและนำไปใช้จริงมากกว่ารูปแบบ วิทยานิพนธ์มีการนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด ข้อเสนอแนะในวิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นตัวชี้วัดได้เป็นอย่างดี  โดยย้ำว่า เรื่องการไกล่เกลี่ยถือว่ามีความสำคัญมากนิสิตจะต้องได้เรียนรู้อย่างยิ่งแบบเรื่องเล่าที่สร้างสรรค์และมานุษยวิทยา ซึ่งนิสิตจะต้องอยู่กับชุมชนให้ระยะยาวนานเพื่อปฏิบัติการอย่างแท้จริง 

๖)รองศาสตรจารย์ ดร. ประพันธ์ ศุภษร  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า จะต้องลงลึกในการปฏิบัติการสำหรับนิสิต จะต้องพัฒนาแนวคิดของมหายานในการช่วยแบบพระโพธิสัตว์ โดยการยึดคำสอนที่มุ่งอยากช่วยเหลือสังคมผ่านศีลกับปัญญาในการช่วยเหลือมนุษย์ แต่ต้องบูรณาการกับเถรวาทโดยพระพุทธเจ้าไม่หนีปัญหาแม้จะเผชิญกับปัญหาต่าง โดยไม่หนีปัญหาจะต้องนำมาบูรณาการของหลักสูตร ซึ่งใน มคอ. ๒ ของหลักสูตรจะต้องออกแบบให้มีพลังมากขึ้นมีการวัดผลประเมินผลให้ทักษะทางปัญญา มีการประเมินรายวิชาอย่างเข้มข้น ผู้เรียนสะท้อนอย่างไรบ้างต้องนำมาพัฒนาให้หลักสูตรดียิ่งขึ้นต่อไป 

๗)พ.ต.ท. ดร. พงษ์ธร ธัญญสิริ  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า การวางรายวิชาจะต้องมีการวางให้มีความเหมาะสม นิสิตควรจะต้องจบภายในสองปีหรือไม่ ซึ่งในวิชาเลือกบางวิชามีคล้ายกันมากเกี่ยวกับวิชายุติธรรม เช่น  ยุติธรรมชุมชน การใช้ความรุนแรง จะต้องมองเจเนอเรชั่นที่มีความเห็นต่างทำอย่างไรจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข ปริญญาโทถือว่าเป็นจุดเริ่มของการปฏิบัติ ซึ่งปริญญาโทเรียน ๑ ได้สองคือ สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมุ่งเน้นให้มีการปฏิบัติ และสนับสนุนให้มีโครงการนิพนธ์ให้มีชีวิตแทนที่จะทำตามรูปแบบเดียวกันทั้งหมด 

๘)อาจารย์อดุลย์ ขันทอง  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า อยากให้เน้นพุทธสันติวิธีให้มากเพราะเราเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งความขัดแย้งไม่หมดแน่นอนแต่เราพยายามพัฒนาวิศวกรสันติภาพออกไปสู่สังคมให้มากขึ้น หรือจะเปิดเรียนตั้งแต่ปริญญาตรีเลยดีไหม ซึ่งทางภาครัฐพยายามมุ่งให้มีไกล่เกลี่ยมากขึ้น ชุมชนมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ ลดการฟ้องคดีเข้าสู่ศาลได้มาก ต่อไปข้อพิพาทใดถ้าไม่มีการพูดคุยก่อน ถ้าไม่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยจะไม่สามารถฟ้องร้องได้ โดยพยายามให้หาโอกาสในการคุยกัน “ฟ้องคดีไม่ได้ถ้าไม่ผ่านการพูดคุยกันก่อน” เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะต้องศึกษาพุทธสันติวิธีอย่างมีความเข้มแข็ง หลักสูตรที่สันติศึกษาจัดดีขึ้นแต่เราจะพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไร ยิ่งในวิถีใหม่จะต้องพัฒนาตลอดจะทำให้หลักสูตรไม่ตกยุค   

๙)ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า สิ่งที่หลักสูตรสันติศึกษา มจร พัฒนาถือว่าดีมาก ซึ่งผลของการเรียนรู้จะต้องนำไปสู่นวัตกรรม ขอให้พัฒนาไปสู่ SOAR ในการนำไปสู่การพัฒนา โดยผ่านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ เราจะต้องมีนวัตกรรมเพื่อสร้างความรู้ใหม่ในการพัฒนา เราจะใช้วิธีเดิมไม่ได้แล้วจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่เพื่อได้ผลลัพธ์ใหม่ เราต้องไม่ถามเพื่อหาว่าใครผิดเพราะเราเน้นพุทธสันติวิธี เพราะถ้าหาว่าใครผิดจะทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ต้องมองว่าเรามีความเด่นเรื่องใด เรามีความแข็งแรงเรื่องใดมุ่งพัฒนาจุดเด่น จะต้องมอง Need ของคนในองค์กรด้วยอย่ามองแต่ Need แต่กลุ่มเป้าหมายของเรา รวมถึงความรู้สึกร่วมของคนในหน่วยงานองค์กร จะต้องค้นหาร่วมกันเพื่อการออกแบบร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งหลักสูตรที่จะออกแบบจะต้องสอดรับกับสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน จึงต้องพัฒนาวิศวกรสันติภาพที่สามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา ส่วนการวิทยานิพนธ์จะต้องมีโครงการรองรับ นิสิตควรทำโครงการนิพนธ์จะทำให้เห็นรูปธรรม สามารถเป็นโครงการที่จับต้องได้ ครูอาจารย์จะต้องทำโครงการนิพนธ์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม เป็นการป้องกันว่าวิทยานิพนธ์ลอกๆ กันมา จะต้องทำโครงการนิพนธ์ของแต่ละนิสิตอย่างแท้จริง ประเด็นสุนทรียสารในที่นี่หมายถึงอะไร โดยไปมองประเด็นรายวิชาแต่ละวิชา อาจจะต้องมีวิชายุติธรรมสมานฉันท์ด้วยในรายวิชาในระดับปริญญาโท            ของหลักสูตรสันติศึกษา มจร รวมถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทถือว่าเป็นรายวิชาที่จะต้องมีในหลักสูตรการเรียนการสอน เพราะการลงโทษไม่เชื่อว่าจะทำให้คนเลิกกระทำผิด อนาคตผู้พิพากษาอาจจะตกงานเพราะการลงโทษไม่สามารถทำให้คนเลิกกระทำผิด          

๑๐)ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร. บรรจบ บรรณรุจิ  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า สันติศึกษา มจร ถือว่าเป็นสันติศึกษาเชิงพุทธ ถือว่าเป็นจุดเด่นของมหาจุฬา เราจะกระจายเนื้อหาของพระพุทธศาสนาอย่างไร     กับ ประเด็นต่างๆทางสังคม ขอให้ทฤษฎีทางพุทธศาสนามีความเด่น ส่วนทฤษฎีอื่นนำมาสนับสนุนส่งเสริมเท่านั้น ซึ่งจิตใจของนิสิตมาเรียนสันติศึกษามุ่งอยากจะเป็นวิศวกรสันติภาพ เราจะพัฒนาไปสู่การเป็นวิศวกรสันติภาพอย่างไร อะไรคือเงื่อนไขของการพัฒนาวิศวกรสันติภาพ โจทย์คือหลักสูตรจะออกแบบอย่างไรให้สามารถเป็นวิศวกรสันติภาพ จึงเสนอว่า เวลาเรียนปริญญาโทแต่สามารถทำวิทยานิพนธ์ให้สมารถยกระดับเป็นปริญญาเอกได้เลย ทำหลักสูตรปริญญาโทให้เชื่อมปริญญาเอกได้เลย “เรียนโทได้เอก” แต่ต้องมีตัวชี้วัด หลักสูตรสันติศึกษาจะต้องทำงานหนักบูรณาการทฤษฎีพุทธ สันติศึกษาเราเป็นพุทธอย่าลืมอัตลักษณ์ของตนเอง เพราะพุทธเน้นความเป็นธรรม เน้นความถูกต้อง  ซึ่งพระพุทธศาสนาสามารถเข้าได้ด้วยทุกทฤษฎี   

๑๑)ดร. จตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า  เราต้องทบทวนว่าเราต้องการคนแบบไหนในการมาเรียนรู้พุทธสันติวิธี การพัฒนาทักษะนิสิตจะต้องมีการปรับนำไปบูรณาการในหลักสูตร เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ พัฒนาอารมณ์ เป็นต้น กระบวนการเรียนรู้จะต้องมีประเด็นหัวข้อการเรียนรู้ที่สนุกสร้างความแตกต่าง และวิทยานิพนธ์ต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์สังคม จึงต้องมีกระบวนการคิดเชิงระบบนิสิตจะต้องมีกระบวนการคิดเชิงระบบ เราจะทำอย่างไรให้นิสิตสามารถคิดเชิงระบบ ซึ่งจบมาจะทำให้มีความสง่างาม 

๑๒)ผศ.ดร. อุทัย สติมั่น   สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า  สันติศึกษาเห็นการพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งการเรียนการสอนนำไปสู่การปฏิบัติไม่ใช่เรียนเพียงในห้องเรียน หันกลับมาดูคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้แบบออนไลน์ จะต้องจับกระแสของสังคม สามารถเข้ากับกระแส ส่วนอื่นสามารถทำได้เป็นอย่างยิ่ง ขอชื่นชมหลักสูตรสันติศึกษาในการขับเคลื่อนงานสันติศึกษา   

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ถวายอาลัย! พระธรรมวงศาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 18


วันนี้ 22 ธันวาคม 2564 เวลา 08.00 น. ร.ต.อ.นุกูล ทองมาก รองสารวัตรสอบสวน สภ.หาดใหญ่ ได้รับแจ้งว่า อดีตเจ้าอาวาสวัดวัดแห่งหนึ่งใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผูกคอตายเสียชีวิตที่กุฏิภายในวัด จึงรีบแจ้งมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) หาดใหญ่เข้าตรวจสอบ พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน สภ.หาดใหญ่และ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลังฐาน 9

ที่เกิด เป็นสำนักงานโครงการภาคฤดูร้อนวัด มี  2 ชั้น อยู่กลางวัดโดยมี พระธรรมวงศาจารย์ (นิมิตร จิตฺตทนฺโต ป.ธ.4.,M.A.)  อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกสมานคุณ (พระอารามหลวง) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาอายุ 87 ปี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 18 กิติมาศักดิ์ ผูกคอเสียชีวิตในกุฏิ ชั้น 2 ของวัดและทางมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) หาดใหญ่ นำร่างส่งชันสูตรพลิกศพที่โรงบาลหาดใหญ่ จากการสอบทราบว่า เกิดจากการเครียดที่มีพระลูกวัดที่ถูกจับสึก เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2564 ที่ผ่ามนมาและทำให้วัดเสื่อมเสียชื่อเสียงและทำให้คณะสงฆ์มัวหมองจึงเกิดอาการเครียด  


ประวัติ


ชาติภูมิ : พระธรรมวงศาจารย์ (นิมิต จิตฺตทนฺโต ป.ธ.4) 

สถานะเดิมชื่อนิมิต นามสกุล วงศ์จันทร์ 

ชาตะเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2479   ณ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ขณะอายุ 21  ปี (10 พฤษภาคม 2500 ) โดยมีเจ้าอธิการทอง คงุฆสุสโร วัดคลองแหเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอรรถธรรมนาถ (บุญ ภาสโร) วัด

คลองแหเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพร้อม รกุขิตธมฺโม วัดคลองแหเป็นพระอนุสาานาจารย์ ได้รับฉายา "จิตฺตทนฺโต" ณ วัดคลองแห ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่

จังหวัดสงขลา


วิทยฐานะ : น.ธ.โท.ป.ธ.4,พธ.บ,M.A.

สมณศักดิ์ : พ.ศ2528  พระครูปริยัติกิตติสุนทร

พ.ศ.2532  พระโสภณปริยัตยาภรณ์

พ.ศ.2540 พระราชวีราภรณ์

พ.ศ.2547 พระเทพวีราภรณ์

พ.ศ.2554  พระธรรมวงศาจารย์

ตำแหน่ง : พ.ศ2518 เจ้าอาวาสวัดกาญจนาราม ประเทศสิงคโปร์

พ.ศ.2532 รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา

พ.ศ.2539 เจ้าคณะจังหวัดสงขลา

พ.ศ.2549 รองเจ้าคณะภาค 18 

พ.ศ.2551 เจ้าคณะภาค.18 

พ.ศ.2557 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 18

 

แหล่งข้อมูล ; พระครูธีรสุตคุณ ขุนอักษร


 

"รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร" ปิดฝึกอบรมการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยฯรุ่นที่ ๔


วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๔   พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จัดฝึกอบรมพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ รุ่นที่ ๔ โดยใช้หลักสูตรตามมาตรฐานของ กพยช. รับรอง และบูรณาการกับพุทธสันติวิธีจำนวน ๑๒ ชั่วโมง รวมเป็น ๔๘ ชั่วโมง โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน ๔๗ รูปคนจากเครือข่ายทั่วประเทศ ทั้งพระสงฆ์ ทนายความ นิสิตปริญญาโทเอกสันติศึกษา ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน รวมถึงผู้มาจากภาครัฐและเอกชนที่ผ่านการพิจารณาว่ามีคุณสมบัติในการเข้ารับการฝึกอบรม 

ได้รับความเมตตาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากสำนักงานศาลยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า  หลักสูตรสันติศึกษา และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยการฝึกอบรมได้รับความสนใจจากอย่างยิ่งจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งมีนิสิตปริญญาโทรุ่น ๘ และนิสิตปริญญาเอกรุ่น ๕  หลักสูตรสันติศึกษาเข้ารับการฝึกอบรมด้วย ซึ่งสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย พ.ศ.๒๕๖๒ ถือว่าเป็นความพิเศษของหลักสูตรสันติศึกษาในการบูรณาการและบริการนิสิตหลักสูตรสันติศึกษา ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข 

ผลการประเมินเครื่องมือของ S M C R ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพึงพอใจอย่างมาก ตั้งแต่วิทยากรฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม การบริหารการฝึกอบรม เนื้อหาการเรียนการสอน  และการสร้างความสัมพันธ์ในการเครือข่าย ถือว่าเป็นผลประเมินที่พึงพอใจอย่างมาก ซึ่งบริหารการฝึกอบรมโดย พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และประธานการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสการปิดการฝึกอบรมได้รับความเมตตายิ่งจากพระเดชพระคุณ พระเทพปวรเมธี, รองศาสตราจารย์ ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และที่ปรึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เป็นประธานมอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมและกล่าวปิดการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ รุ่นที่ ๔ สร้างความปีติให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างดียิ่ง 

"อนุทิน" รับบทผู้ทรงคุณวุฒิสนทนากลุ่ม วิจัยกัญชาทางการแพทย์ นิสิตป.เอก สันติศึกษา "มจร"


วันที่ ๒๑  ธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า เป็นผู้ดำเนินรายการสนทนากลุ่มงานวิจัยระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยนางประทุมพร กำเนิดฤทธิ์  อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๓ เป็นนิสิตระดับปริญญาเอกหลักสูตร ๑.๑ หลักสูตรสันติศึกษา มจร ซึ่งทำวิจัยภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายใช้กัญชาทางการแพทย์โดยพุทธสันติวิธี” โดยได้รับควาเมตตาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างดียิ่ง ประกอบด้วย ด้านพระพุทธศาสนา ด้านพุทธสันติวิธี ด้านกฎหมาย ด้านการวิจัย ด้านการแพทย์ และด้านพุทธเกษตร  โดยมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,  ศาสตราจารย์ ดร. เป็นประธานควบคุมดุษฎีนิพนธ์ 

ได้รับเกียรติจากนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมสนทนากลุ่มด้วย โดยได้กล่าวประเด็นสำคัญเชิงนโยบายว่า  ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จล่วงหน้าในการจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยเริ่มต้นจากคำถามว่า มีการรณรงค์ในการใช้พืชกัญชาเพื่อใช้ในการแพทย์ ซึ่งคนตีตรากัญชาไปแล้วว่าเป็นยาเสพติด จึงต้องมีคำว่าการแพทย์เข้าไปบูรณาการ ซึ่งกัญชามีส่วนที่ดี นำพืชกัญชามาใช้ประโยชน์ในการแพทย์เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คนที่ใช้กัญชาอย่างถูกวิธีสามารถรักษาโรคต่างๆ บรรเทาความเจ็บปวด ทำให้เกิดคุณภาพที่ดี ซึ่งมีสรรพคุณทางการแพทย์ก่อให้เกิดเพื่อสร้างมูลค่า เช่น ครีม สบู่ อาหาร รวมถึงส่วนผสมของยาต่างๆ ถือว่าขยายโอกาสอีกมากมายแต่ในกฎหมายเขียนว่า กัญชาเป็นยาเสพติด 

โดยพยายามมุ่งแก้ไขกฎหมายกัญชา ซึ่งในการแถลงนโยบายของรัฐบาลมีการกล่าวถึงว่าการสนับสนุนให้มีนำพืชกัญชาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อให้ประโยชน์ต่อประชาชน ถือว่าเป็นวาระเร่งด่วน ซึ่งปัจจุบันกัญชาไม่อยู่ในยาเสพติดแล้ว ซึ่งมีการแก้กฎหมาย ให้ต้นให้กิ่งให้ก้านรากใบกัญชา ซึ่งดอกของกัญชานำมาขายไม่ได้ ซึ่งใน ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีผลบังคับใช้ว่าไม่มีกัญชาในการเป็นยาเสพติดอีกต่อไป เพราะมีความเชื่อว่ากัญชามีประโยชน์มาก สิ่งที่น่าห่วงเมื่อกัญชาเข้ามาอาจมีคนเสียผลประโยชน์ ซึ่งกฎหมายมีการบังคับใช้อนาคตสามารถปลูกได้สร้างความเท่าเทียม ผ่านการ “จดแจ้ง” มีการทำสัญญากับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครัวเรือนสามารถปลูกได้ ซึ่งสนับสนุนในทางการแพทย์ โดยประชาชนจะเข้าถึงได้ง่าย กัญชามีผลดีในการรักษา สนับสนุนให้เปิดคลินิกกัญชาโดยมีการผลักดันให้กัญชาอยู่ในบัญชียาหลักต่อไป 

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ป้ามล"แนะคนรุ่นใหม่อย่าหนีปัญหายามเวลายากที่สุดของชีวิต แนะรัฐโครงสร้างเฮงซวยคือระเบิดเวลา



วันที่ ๒๑  ธันวาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  นักศึกษาหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง รุ่น ๑๗ กระทรวงยุติธรรม  เปิดเผยว่า ได้เรียนผ่านระบบออนไลน์ ณ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยภาคเช้าเรียนรู้ “หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง” รุ่น ๑๗ จัดโดย สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ภายใต้หัวข้อ #การสร้างคุณค่าให้เด็กและเยาวชนก่อนคืนสู่สังคม บรรยายโดย อาจารย์ ทิชา  ณ นคร (ป้ามล) ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก กล่าวประเด็นสำคัญว่า เป็นการให้โอกาสเยาวชนเพราะเป็นการตระหนักด้วยไม่สร้างปัญหาเพิ่มให้กับสังคม จึงมีบ้านหลังคำพิพากษาจำนวน ๒๐ แห่ง มีคุก ๑๔๓ แห่งทั่วประเทศ 


การเพิ่มขึ้นบอกถึงความล้มเหลวของการพัฒนาต้นทุนมนุษย์หรือการบริหารจัดการ ซึ่งศาลตัดสินเด็กๆ โดยบ้านกาญจนาภิเษกมีความพิเศษที่เปิดโอกาสให้คนข้างนอกเข้ามาบริหารจัดการ เพราะเริ่มจากบ้านกรุณามีการพังบ้านจึงมีการคิดหาทางออก “จากปัญหาจึงเป็นโอกาส” ทำให้มองว่าการเมืองกับการบริหารบ้านเมืองจึงมีความเกี่ยวข้องกันจากปัญหาเป็นโอกาส ทำให้เกิดศาลเยาวชนมี พรบ. ในปี ๒๔๙๕  โดยมีเจตนารมณ์ที่งดงาม ซึ่งอาจารย์ ทิชา  ณ นคร (ป้ามล) เข้ามาบริหารเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก สร้างจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการบริหารจัดการบ้านกาญจนาภิเษกผ่านสงครามทางความคิด นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยการหาเครื่องมือในการลดกระทำผิดซ้ำ ถือว่าเป็นโจทย์ที่สำคัญโดยมองว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เด็กกระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่เชื่อว่าเด็กเยาวชนจะเกิดมาเพื่อทำความผิด จึงศึกษาปัจจัยร่วมประกอบด้วย ครอบครัว การถูกออกจากโรงเรียนกลางคัน และขาดแคลนแต่เข้าถึงทุกอย่างไม่มีภูมิ โดยเด็กบ้านกาญจนาภิเษกมีเขียนบันทึกก่อนนอน ทำให้เห็นมิติ ๒๒ รูปแบบครอบครัว เช่น “จำแบ้งค์ร้อยมากกว่าพ่อแม่  อบอุ่นแต่โคตรอึดอัด  ตีเส้นตีกรอบ ไม่มีกิจกรรมร่วมกัน ถูกเปรียบเทียบ พ่อพูดแต่ความสำเร็จของตนเอง” จึงนำมาพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นเครื่องมือลดการกระทำผิดซ้ำ “ไม่มีแรงขึ้นที่สูงแต่ไหลลงสู่ที่ต่ำ” จึงมีการพัฒนาต้นกล้าสู่นาเดิม อะไรที่ทำให้เราเป็นผู้รอด หลังจากที่เข้าไปบ้านเยาวชนถึง ๘ ครั้ง จึงทลายกำแพงกับครอบครัวของเด็กและเยาวชน            


มีโอกาสได้ชมเรื่องราวของการทำงานของป้ามลผ่านสื่อออนไลน์ในการรับใช้เพื่อนมนุษย์ผู้เปลี่ยนคุกให้เป็นบ้าน เพราะบ้านโรงเรียนพยายามเปลี่ยนเป็นคุก เพราะโครงสร้างที่เฮงซวย คือระเบิดเวลาอันใหญ่ของประเทศไทย ระบบที่เททิ้งคนที่อ่อนแอเอาไว้ข้างหลังข้างทาง ทำให้ส่วนนี้ตายไป ถ้าเขาไม่ตายเขาจึงแปลงตนเองเป็นซาตาน เพื่อให้ตนเองรอดและให้คนอื่นตายแทน ซึ่งทุกคนต้องยอมรับผลจากการกระทำที่ไปละเมิดคนอื่น ไม่ว่าจะมาจากโครงสร้างที่อัปลักษณ์ โครงสร้างที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิต แต่เมื่อบุคคลนั้นจะได้รับผลนั้นในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง สถานที่แห่งนั้นต้องคืนความเป็นมนุษย์ให้กับบุคคลเหล่านั้น เหมือนป้ามลที่ดูแลเด็กบ้านกาญจนา โดยบ้านกาญจนาเป็นสถานที่ควบคุมเยาวชนที่ทำความผิดตามกฎหมาย เรียกจะเรียกตรงๆคือ คุกเด็ก โดยป้ามลไม่เชื่อในวิธีการที่คุกเคยจัดการกับมนุษย์ จึงมีการเปลี่ยนวิธีการ เพราะการใช้กฎเหล็ก การใช้อำนาจ การใช้กติกาที่เข้มข้น อาจจะเป็นพื้นที่แห่งความปลอดภัยของคนทำงาน แต่พอใช้ไปนานๆ เป็นการเสพติดอันแน่นด้วยพลังความคิดอำนาจนิยมที่ยาวนาน ต่อเนื่อง ส่งต่อ ซึ่งในความเป็นจริงระหว่างมนุษย์กับมนุษย์มีเครื่องมือที่หลากหลาย ซึ่งมีเรื่องของการให้อภัย ความเมตตา การเห็นคุณค่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความทรงพลังมาก การทำงานกับเยาวชนที่เคยก่ออาชญากรรมมันมีบาดแผลต้องการการเยียวยาแก้ไข จึงใช้ทัศนะที่ชัดเจน โดยตั้งคำถามว่า เยาวชนที่ก่ออาชญากรรมเขาเกิดมาเขาเป็นแบบนี้เลยใช่ไหม?  มีมนุษย์คนใดที่Born to be ไหม ? เกิดมาแล้วเป็นเช่นนี้เลย ซึ่งป้ามลไม่เชื่อ แต่เชื่อว่าปัจจัยร่วมในสังคมมีส่วนทำให้คนหนึ่งกลายเป็นคนดำสนิท หรือกลายเป็นเป็นขาวที่สว่าง เราต้องสื่อสารให้สังคมรับทราบคือ #โครงสร้างที่มันเฮงซวย ระบบที่เฮงซวยการทอดทิ้งคนไว้ข้างหลัง ทิ้งคนอ่อนแอไว้ข้างทาง ทำให้แปลงตนเป็นซาตาน เพื่อให้ตนเองรอดและให้คนอื่นตายแทน แต่แน่นอนเราควรได้รับผลการกระทำทุกรูปแบบ แต่เราต้องตระหนักว่า #มนุษย์เป็นผลลัพธ์และผลผลิตของระบบนิเวศทางสังคม เพราะถ้าระบบนิเวศทางสังคมมันเฮงซวย เราแน่ใจนะว่าเราจะรอด การจัดให้เกิดระบบนิเวศที่เหมาะสมมันเป็นภารกิจระดับชาติ เป็นภารกิจของคนที่ดูแลทุนของประเทศ ภาษีอากรของประชาชนมากมายมหาศาล เพื่อให้ออกแบบระบบนิเวศทางสังคม ให้คนได้เติบโตทางระบบนิเวศที่เหมาะสม การเมืองจึงออกระเบียบ ออกกฎหมาย กลไกของรัฐเพื่อทำหน้าที่ แต่ปัจจุบันเหมือนไม่เข้าใจ เราควรตระหนักว่าเราควรเติบโตในระบบนิเวศที่มีความเหมาะสม เราจึงไม่ควรปล่อยให้เยาวชนจมในพื้นที่เทา ดำ มืด จึงต้องมีพื้นที่กิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้เยาวชน ประเทศนี้จึงมีปัญหาเชิงระบบ เชิงโครงสร้าง เพราะเราไม่กล้าแตะ จึงมาด่าปัจเจกบุคคล สิ่งที่เศร้ามากคือ การสร้างคุก สร้างสถานพินิจใช้เงินอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน 



ป้ามลพยายามบอกคนรุ่นใหม่ว่า อย่าผลักช่วงเวลาที่ยากที่สุดของชีวิตออกไปจากชีวิตเรา เพราะมันเข้ามาเพื่อจะเป็นทุนของความแข็งแกร่งในอนาคต เวลาเราเจอเรื่องที่ยากจงอย่าหนี จงรับมือกับมัน แพ้รับมืออย่างแพ้ ชนะอย่าไปทรนงกับมัน ทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นทุนของเรา เราไม่ควรมีชีวิตอยู่ที่ว่าเสียดายจังในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ น่าจะทำในปีที่แล้ว จึงแสดงว่า ป้ามล หรือ ทิชา ณ นคร จึงเป็นผู้หญิงแกร่งที่ทำงานด้านเยาวชนผู้ก้าวพลาดมาอย่างยาวนาน ด้วยความเชื่อว่าเยาวชนไม่มีใครอยากจะเกิดมาเพื่อเป็นอาชญากร และเชื่อว่าทุกคนมีแสงแห่งความดี เพียงแต่ว่าบางสถานการณ์บีบบังคับให้ตัดสินใจทำในสิ่งที่ไม่ดีงามลงไป ด้วยความเชื่อนี้ทำให้ตลอดระยะเวลา ๑๗ ปี เปลี่ยนสถานะที่คุกชังมาเป็นบ้านทดแทนอันอบอุ่น ที่ไม่มีรั้วไม่มีอาวุธไม่มีคนควบคุม มีแต่การเรียนรู้ร่วมกัน ป้ามลจึงเป็นผู้พลิกชีวิตเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก เวลาเกิดเหตุการณ์กับเยาวชนเราควรถอยไปดูว่าทำไมเยาวชนจึงตัดสินใจทำแบบนั้น ? 


ปีหนึ่งเราบริโภคอาชญาของเยาวชนในฐานะเป็นนักเรียนจำนวนมาก เช่น ฆ่าคนเหมือนฆ่ามด คำขอโทษไม่มีค่า ทำให้สังคมตั้งคำถาม อย่าลืมว่า อาชญากรเด็กไม่ได้เป็นได้ด้วยตนเอง ไม่มีใครเกิดมาเพื่อจะเป็น อาชญากรจึงเป็นการตัดสินใจและไม่ตัดสินใจของรัฐ ด้วย  เราทราบว่ามีเด็กจำนวนมากให้ออกจากโรงเรียน แล้วเด็กที่ออกจากโรงเรียนที่ยังไม่มีเป้าหมายเขาจะไปทำอะไร #ในฐานะผู้แพ้ของสังคม การก่ออาชญากรรมจึงเกิดขึ้น ทำให้รัฐต้องจ่ายกับเด็กกลุ่มหนึ่งต้องก่ออาชญากรรม ซึ่งเยาวชนต้องการสร้างตัวตน มีคุณค่า มีความหมาย มีพื้นที่ในสังคม จึงยอมก่ออาชญากรรม ทำให้ราคาแพงมากในการสร้างตัวตน แต่ถ้าผู้ใหญ่ออกแบบสังคมดีๆ เราพยายามมองแต่ปัญหาปัจเจกล้วนๆ แต่เราไม่มองระบบมองโครงสร้างว่ามีความพิการอย่างไร ? ลูกหลานเราเป็นเหยื่อของระบบที่มีความอ่อนแอ 


รัฐควรหันมาสนใจอย่างจริงจัง โดยประเทศไทยมีคุกเด็กจำนวน ๑๙ แห่ง บ้านกาญจนาภิเษกเป็นหนึ่งในนั้น เราจึงมีการทำที่ต่างจากคุก เพราะวัฒนธรรมคุกคือ วัฒนธรรมแห่งอำนาจ จึงไม่รับมรดกวิธีคิดที่ใช้วิธีการของภาครัฐที่ทำกับเด็กเยาวชน เราจึงเปลี่ยนเป็นการ เน้น Soft Power เปลี่ยนอำนาจแนวตั้งเป็นแนวราบ ยิ่งไม่ใช้อำนาจยิ่งมีอำนาจ บ้านกาญจนาภิเษกรับมากกว่า ๘๐ รุ่น วันแรกที่รับเด็กคือ เยาวชนต้องถูกกอด  ผูกข้อมือ  รับขวัญ โดยเชื่อว่าคนดีในตัวเยาวชนที่ก้าวพลาดยังมีอยู่ ความดีคนนั้นมันอ่อนแอ คนดีในตัวเยาวชนทุกคนจะต้องออกมา เราเรียกว่า Soft Power ยิ่งไม่มีอำนาจยิ่งมีอำนาจ สิ่งสำคัญคือ กำแพงคุกไม่สามารถเยียวยาให้กับมนุษยชาติได้ จะขังนานขนาดไหนก็ไม่เปลี่ยน บ้านกาญจนาจึงพยายามให้เยาวชนออกจากสถานควบคุมออกไปทำงานจิตอาสา #จุดเปลี่ยนของมนุษย์คือเสรีภาพข้างนอก รู้สึกว่าเสรีภาพมันหอมหวาน รู้สึกว่าเราเป็นบุคคลหนึ่งในประเทศนี้ การไปอยู่ในพื้นที่จิตอาสามันถูกกอบกู้ขึ้นมาด้วยบริบทเป็นพลังแห่งจิตอาสา ทำให้เราเห็นแววตาของความเป็นมนุษย์ในความห่วงใย ความเศร้า จึงมีบทเพลงจุดเปลี่ยน บ้านกาญจนาภิเษก คือ จุดเปลี่ยน คือโอกาส คือการเริ่มต้นใหม่ ของวัยรุ่นที่ก้าวพลาด ขอบคุณ โอกาสที่สอง หลังก้าวพลาด ใน ๓๖๕ ของหนึ่งปีมี ๑๒๐ วัน ซึ่งมีเด็กจำนวนหนึ่งรับไม่ได้คือวันปิดเทอม เรามีครอบ ๒๒ ล้าน แปดแสนครอบครัว มีครอบครัวบนภูเขาน้ำแข็งนิดเดียวที่พาลูกไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าเราลงทุนด้วยการมีค่ายต้อนรับเด็กทั่วประเทศให้มีความทรงจำที่งดงาม เขาเห็นด้านบวกของตนเอง เราจึงต้องปกป้องจุดยืนของตนเองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าเราไม่สามารถปกป้องจุดยืนของเราได้ เราจะไปปกป้องใครได้อีก แท้จริงเยาวชนที่ตัดสินใจกระทำผิดมีหลายปัจจัย เราจึงต้องมาสร้างปาฏิหาริย์ ถ้าเราย้อนกลับไปได้ในค่ำคืนนั้นเราอาจจะไม่ทำ ถ้าปาฎิหาริย์มีจริง จึงมีภาษาแห่งการกอด เพราะการกอดรักที่สัมผัสได้ เป็นพลังใจอันยิ่งใหญ่ เราจึงต้องมองด้านที่เป็นสีขาว เมื่อขาวกับขาวมาเจอกันจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสใหม่ มิใช่เพียงโอกาสของเด็กเยาวชนแต่เป็นโอกาสของสังคม ป้ามลบอกว่าป้าไม่ได้เก่งขนาดนั้น แต่เด็กเยาวชนไม่ได้เลวขนาดนั้นต่างหาก สิ่งที่ป้ามลภูมิมากคือ ภูมิใจในพ่อแม่ของเด็กเยาวชน พ่อแม่อาจจะหลงลืมบางอย่าง แต่พ่อแม่ไม่ทิ้งเด็กเยาวชนเหล่านั้น พ่อแม่จึงเป็นปาฏิหาริย์แห่งชีวิต จึงควรเลือกปาฏิหาริย์แห่งชีวิต จึงเป็นLife is Learning : พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง                   



โดยอาจารย์ทิชา ณ นคร (ป้ามล) กล่าวว่า เราเห็นปัญหาเชิงปัจเจกแต่แท้จริงเราเห็นปัญหาในระบบเชิงโครงสร้าง ถ้าเราจัดการปัญหาเชิงโครงสร้างรวมถึงนโยบายสาธารณะ เราพยายามนำเยาวชนเข้าคุกเยาวชนแต่ไม่สามารถแก้ปัญหา จึงมีบ้านรับคำพิพากษา จำนวน ๒๐ แห่ง เรามีเรือนจำ ๑๔๓ แห่ง ต่อวันเรามีรายจ่ายวันละ ๒๐ ล้านบาท เป็นการจ่ายเพื่อการเยียวยา แสดงว่าเรามีความล้มเหลวด้านการปกป้อง งานเยียวยาไม่ทำไม่ได้ เพราะจะนำไปสู่การขยายผลในทางลบสู่สังคม ป้ามลอยู่กับเด็กเยาวชนมา ๑๘ ปี เป็นความสัมพันธ์แนวราบสร้างพื้นที่ในการเยียวยา มิใช่ความสัมพันธ์แนวตั้งด้วยการใช้อำนาจ อะไรคือจุดเปลี่ยนบ้านกาญจนาภิเษก คือ ที่นี่มีความเป็นรัฐที่น้อยมาก เพราะรัฐมีความมีจุดอ่อนที่มากและจุดแข็งที่มาก เช่น กรณีของเด็กที่ถูกข่มขื่นจากครู เราพยายามทำให้เหยื่อเป็นพยานที่มีความกล้าหาญ ทุกองค์กรจะต้องร่วมมือกัน ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบ จุดอ่อนของรัฐกับจุดแข็งของภาคประชาสังคมจะต้องร่วมมือกัน เป็นงานข้ามศาสตร์ข้ามองค์กร 


ประเด็นสำคัญคือ เด็กเยาวชนเด็กกลับมาทำผิดซ้ำๆ เป็นจุดเปลี่ยนให้มีการสร้างบ้านกาญจนาภิเษก ทำให้ป้ามลเข้ามาในบ้านกาญจนาภิเษก ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ จึงประกาศว่าจะไม่รับมรดกทางรัฐ ทำให้ พ.ศ.๒๔๙๕ เด็กไม่ต้องไปเข้าคุก แต่ได้รับการเยียวยาเพื่อไปใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งเรามีความเหลื่อมล้ำมองปัญหาเชิงปัจเจกมากกว่าเชิงโครงสร้าง จึงมีเครื่องกระตุ้นให้เราต้องทำ เราไม่ได้ตั้งคำถามด้านอาชญากรรม แต่เราตั้งคำถามว่า เพราะอะไรเด็กจึงมาอยู่ที่นี่ เราทราบด้านปัจเจกแต่ระบบเชิงโครงสร้างสำคัญยิ่งกว่า โจทย์คือ ทำอย่างไรจะไม่ทำให้เด็กเยาวชนกลับมาทำผิดซ้ำอีก ควรจะมีเครื่องมืออะไรที่เหมาะสม ? สสส. พยายามสร้างนวัตกรรมมากมายแต่ข้อจำกัด เราจึงดูแลเด็กเยาวชนอย่างเข้าใจอย่างนุ่มนวล โดยปัจจัยร่วม ๓ ปัจจัยในการทำผิดกฎหมายหรือตกเป็นเหยื่อของเยาวชน ประกอบด้วย 


๑) #สภาพครอบครัว จะมีเด็กที่ถูกเทถูกทิ้งก่อให้เกิดอาชญากรรม แม้เราจะมีกระทรวงศึกษา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็ตาม เด็กมีการบันทึกเขียนจดหมายถึงตนเอง จึงตั้งคำถามว่ารัฐมีไว้ทำไมถ้าไม่ทำให้สังคมดีขึ้น  โดยเด็กสะท้อนอธิบายถึงคำว่า  ๑)อบอุ่นแต่โคตรอึดอัด ๒)ถูกเปรียบเทียบ ๓)ตีเส้นตีกรอบ ๔)ไม่มีกิจกรรมร่วมกัน ๕)พ่อพูดแต่ความสำเร็จของตัวเอง จึงมีโครงการต้นกล้าสู่นาเดิม พ่อแม่จึงควรเปลี่ยน Mindset ซึ่งอยากลูกเป็นตามที่ตนเองต้องการ ทุกครั้งที่เราทำกิจกรรมเราจะเขียนความรู้สึก      


๒) #ทุนนิยมบริโภคนิยม  ผู้ใหญ่พยายามสร้างวัตถุนิยม แต่เราไม่เคยมีวิธีการรับมือกับโลกใบนี้ การมีสิ่งยั่วยุจึงต้องยอมปล้น ยอมขาย เราต้องสร้างเครื่องมือให้เด็กได้ตระหนัก ทำให้เด็กก่ออาชญากรรมเพราะเด็กเข้าถึงสิ่งยั่วยุได้ง่าย เด็กต้องการมีตัวตนในกลุ่มเพื่อนๆ แม้จะทำผิดพลาดก็ตาม เด็กผู้ชายคือก่อคดีส่วนเด็กผู้หญิงคือขายบริการทางเพศ   


๓) #นโยบายการศึกษา เด็กเหมือนกัน ๖๘ % คือ ถูกให้ออกจากระบบการศึกษา โรงเรียนไล่ส่วนคุกเปิดรับ เราจึงพยายามใช้กระบวนการ Empowerment ครอบครัว มีการเปลี่ยน Mindset วิชาชีพ ๕๐% วิชาหนังสือ ๒๕ % วิชาชีพ ๒๕% แสดงว่าการมีอาชีพไม่ยืนยันว่าจะไม่เข้าคุก เราจึงเน้นวิชาชีวิตมากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะเราเชื่อว่าวิชาชีวิตจะช่วยให้เราเปลี่ยนตนเอง เช่น ทุกคนมีบาดแผลที่เจ็บปวดกับครอบครัว ทำให้เด็กเยาวชนเป็นผู้แพ้ทางสังคม เป็นความล้มเหลวเชิงระบบมิใช่ความล้มเหลวเชิงปัจเจก จากมีการพัฒนาการ์ดปัจจัยผลักไสไล่ส่งลูกออกจากบ้าน และ ปัจจัยดึงดูดนอกบ้าน  ต้องมีรัฐที่มีธรรมาภิบาลจึงจะไม่นำปัจจัยดึงดูดนอกบ้าน  


รัฐจึงต้องมีนโยบายสาธารณะที่สามารถตอบโจทย์เด็กเยาวชน เรามีเด็กที่ถูกเทถูกทิ้งจำนวนมาก ถามว่ารัฐควรทำอะไรบ้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเด็กเยาวชน บ้านกาญจนามีกระบวนการระหว่างลูกกับพ่อแม่ อะไรที่จะทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ซึ่งที่ผ่านมาพ่อแม่สอบตก แต่พ่อแม่ของเรามีปาฏิหาริย์ ไม่ว่าสังคมจะไม่เอาหนูแต่พ่อแม่ของเรามีปาฏิหาริย์ พ่อแม่ห่วงใย เราต้องมุมดีของพ่อแม่ จึงมีกระบวนการขอโทษและการให้อภัย       จึงต้องเปลี่ยน Mindset ของเด็กเยาวชนรวมถึงครอบครัว อย่าเอาด้านมืดของพ่อแม่ไปขยี้ด้านมืดของลูก     แต่ต้องพยายามด้านที่สว่าง จึงต้องหาระเบิดเวลาผ่านกระบวนการที่ปลอดภัยและเวลาที่สุกงอม 


มุมส่วนตัวมองว่าประเด็นป้ามลกำลังทำในปัจจุบันถือว่าเป็นปลายทางปลายน้ำแต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำเพราะถ้าไม่ทำจะนำไปสู่ความรุนแรงทุกมิติ คำถามคือ ต้นทางเราจะมีแนวทางป้องกันอย่างไร มีเครื่องมืออะไรจะนำไปสู่การป้องกันอย่างแท้จริง ภาครัฐมองอย่างไร ระบบการศึกษาจะออกแบบอย่างไร สังคมจะช่วยกันอย่างไร ทำให้สอดรับกับหลักของปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย เน้นการป้องกัน (สังวรปธาน)  เน้นการแก้ไข (ปหานปธาน) เน้นการเยียวยา (ภาวนาปธาน) และเน้นการรักษาให้เกิดความยั่งยืน (อนุรักขนาปธาน) โดยป้ามลเสนอว่า เราต้องลงทุนก่อนลงโทษเด็กเยาวชน ลงทุนในการพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง ถามว่าเรามีรัฐไว้ทำไม รัฐควรลงทุนในเชิงนโยบายที่ตอบโจทย์เชิงป้องกันเฝ้าระวัง แต่เรากลับมีทุนสร้างคุกสร้างสถานพินิจมากมายแต่เราไม่มีทุนเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนอย่างแท้จริง จึงเสนอการพัฒนาเด็กเยาวชนจะต้องพัฒนา ๔ ด้านตามหลักภาวนา ๔ ตามแนวทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นฐานการพัฒนาและฝึกอบรม ประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตตภาพ และด้านปัญญาภาพ โดยป้ามลมองว่าการบวชปล่อยไม่เห็นด้วยเหมือนปล่อยภาระให้ศาสนาอย่างเดียว ซึ่งบ้านกาญจนามุ่งพัฒนาวิชาชีวิตมากกว่าวิชาชีพ เพื่อการปรับ Mindset มีกลุ่มสาระต่างๆ ในการเรียนรู้เป็นวิชาชีวิตอย่างแท้จริง เช่น การดูหนังชีวิตเพื่อการสะท้อนชีวิตจริง มีการวิเคราะห์หนังที่ดูฝึกการตีความเชิงสัญลักษณ์ทำให้เด็กเยาวชนเสวนาได้มากขึ้น แต่ยังเชื่อมั่นการแก้ไขปัญหาเชิงระบบแต่ต้องเริ่มจากบุคคลที่มีศรัทธาและกล้าหาญอย่างแท้จริง       

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...