วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

"เจ้าคุณหรรษา"แนะวิธีเรียนให้ "เข้าถึงพระไตรปิฏก" อย่างครอบคลุมและตรงจุด



วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ ป.โท อายุ 20 ปี พร้อมแนะเรียนอย่างไรให้ "เข้าถึงพระไตรปิฏก" อย่างครอบคลุมและตรงจุด? 

@siampongs

เปิดประวัติ #นาคหลวง อายุน้อยสุดในประวัติศาสตร์ พระมหาเด็กกำพร้า ชาวเมียนมาสอบได้ #ป.ธ.9 #เณรออกัส ไม่พลาด สอบป.ธ. 4 ได้ #ข่าวtiktok #tiktokshop สนใจหนังสือบาลี คลิกที่ตะกร้าด้านล่างได้เลย

♬ เสียงต้นฉบับ - สยามพงษ์ช้อป

วันที่ 2 เมษายน 2567 หลังจากแม่กองบาลีสนามหลวงได้ประกาศผลสอบประจำปี 2567  โดยเฉพาะมีพระภิกษุและสามเณรสอบได้มากถึง 76 รูปในจำนวนนั้นมีสามเณรอายุ 17 ปีรวมอยู่ด้วยถือว่า เป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่สอบบาลีสนามหลวงได้ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ถึงหลักสูตรบาลีสนามหลวงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง อย่างเช่น พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, ป.ธ.9, ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตร บาลีพุทธศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์เฟชบุ๊คส่วนตัว “Wat Pan Ken” ตั้งคำถามว่า หลักสูตรบาลีสนามหลวง  เรียนพระไตรปิฎก เล่มไหน หน้าไหน ซึ่งสรุปความว่า  พระไตรปิฎก มี 27,289 หน้า  หลักสูตรบาลีสนามหลวง เรียน 149 หน้า  คิดเป็น 0.54% ของจำนวนหน้า  หรือ คิดเป็น 0.44% ของจำนวน 45 เล่ม พร้อมฝาก “แม่กองบาลี” พิจารณา 

ขณะที่พระเมธีวัชรบัณฑิต (ป.ธ.6,ศ.ดร.)  หรือ “เจ้าคุณหรรษา” ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความแสดงความยินดีกับสามเณร 2 รูป คือ สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน และสามเณรรัชชานนท์ โพธิ์สังข์ รูปแรกกลายเป็นบุคคลประวัติศาสตร์การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยที่สอบประโยค ป.ธ. 9 ได้อายุน้อยที่สุด ส่วนอีกรูปเรียนจบปริญญาโท กำลังจะศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในสหรัฐอเมริกา

ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้จารึกไว้ว่า สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน กลายเป็นสามเณรอายุน้อยที่สุดที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดที่จัดโดยคณะสงฆ์ไทย (ในขณะนี้) ในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อวานนี้ ก็มีสามเณรอีกรูปหนึ่ง คือสามเณรรัชชานนท์ โพธิ์สังข์ ได้สอบจบการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร

สามเณรรูปที่ 2 ซึ่งอดีตได้จบเปรียญธรรม 3 ประโยคจากวัดดาวดึงส์ กำลังจะเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจำพรรษาอยู่ ณ วัดปากน้ำโอไฮโอ กับอาจารย์เจ้าคุณสมัคร (พระวิเทศวิสุทธิคุณ) เพื่อเตรียมภาษาสำหรับการเรียนต่อในระดับปริญญาเอก และต่อยอดองค์ความรู้แล้วนำมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับสากล ในขณะที่ลูกเณรนนท์ทราบว่า กำลังต่อยอดด้วยการพัฒนาทักษะทรงจำพระปาติโมกข์ต่อไป

ข้อสังเกตต่อเส้นทางการเรียนรู้ของทั้งสองนั้น คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยสนใจสามเณรรูปแรกสักเท่าไร แต่ที่ผู้คนกำลังสนใจและอยู่ในกระแสในขณะนี้ คือ สามเณรรูปที่สอง ได้แก่ สามเณรภานุวัฒน์ ซึ่งให้ความสนใจต่อสถานีการเรียนรู้ต่อไป กับการศึกษาบาลีที่ลูกเณรได้คร่ำหวอดมาตั้งแต่เยาว์วัย ภายใต้การประคบประหงมของพระเดชพระคุณพระธรรมราชานุวัตร

1: ลูกเณรนนท์อายุ 17 ปี จบเปรียญธรรม 9 ประโยค ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาในระดับสูงสุดที่คณะสงฆ์จัดการศึกษาอยู่ในขณะนี้ คำถามคือ แล้วลูกเณรนนท์ หรือลูกเณรรูปอื่นๆ รวมถึงพระภิกษุ ที่จบ ป.ธ.9 ประโยค จะเรียนอะไรต่อไปเพื่อยกระดับการเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ คำตอบนี้อยู่ใน พ.ร.บ.พระปริยัติธรรม 2562 มาตรา 24 วรรค 2 ได้เปิดทางให้คณะสงฆ์ได้ทำหลักสูตรขยายการเรียนรู้ภาษาบาลีไปจนถึงระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอุดมศึกษา

2: การดำเนินการตามข้อที่ 1 จะตอบโจทย์การเรียนบาลีกระแสหลักในสังคมไทย ให้สามารถเข้าถึงพระไตรปิฏกได้อย่างครอบคลุมและตรงจุดว่า เป้าหมายสำคัญของการเรียนบาลีคือการพาผู้เรียนไปศึกษา เรียนรู้ คัมภีร์ชั้นบาลีจริง ๆ ซึ่งก็คือ พระไตรปิฏกทั้ง 45 เล่ม เพราะอาจารย์ มจร บางรูปตั้งข้อสังเกตว่า ผู้จบ ปธ.9 เรียนบาลี 149 หน้า จาก 27,289 หน้า คิดเป็น 0.54% ของจำนวนหน้า หรือคิดเป็น 0.44% ของจำนวน 45 เล่ม

3: การดำเนินตามข้อ 1 และข้อ 2 จะช่วยตอบคำถามว่า เราเน้นศึกษาไวยากรณ์นั้น แม้จะมุ่งทักษะการอ่านและการเขียนบาลี แต่กล่าวในเชิงลึกหากนำไปเปรีบการศึกษาเช่นเดียวกับหลักสูตรฝรั่งศึกษา เช่น Pali Text Society แนวทางฝรั่งจะลึกซึ้ง และเข้าถึงภาษาบาลีดั้งเดิมได้ประสิทธิผลดีกว่า รวมถึงทักษะการฟัง และการพูด สามารถสื่อสารด้วยภาษาบาลี ระบบการเรียนรู้ของประเทศศรีลังกา และพม่า สามารถทำให้ผู้เรียนสื่อสารได้อย่างคล่องแคล้วด้วยภาษาบาลี

ทั้งหมดเป็นข้อสังเกตที่นักวิชาการจำนวนไม่น้อยพากันตั้งคำถามในเชิงวิชาการค่อระบบและกลไกการเรียนภาษาบาลีกระแสหลักในสังคมไทย และเชื่อว่าทุกท่านล้วนมีเจตนาที่ดี ทั้งคณะสงฆ์ที่ดำเนินการจัดการศึกษาด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจมาอย่างยาวนาน รวมถึงพุทธศาสนิกชนกลุ่มอื่น ๆ ที่ปรารถนาจะเห็นการศึกษาภาษาบาลีที่ตอบโจทย์ในมิติที่หลากหลายอันจะเอื้อต่อการรักษาพระศาสนาและส่งมอบคำสอนให้สอดคล้องกับวิถีความเป็นไปของสังคมในยุคปัจจุบัน..

ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญณรงค์ บุญหนุน อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว"Channarong Boonnoon" สอบบาลีได้ 6 ประโยค เพิ่งเข้าใจว่า การเรียน อักขวิธี วจีวิภาค ที่สอนกันแบบท่องจำนั้น มันคือหลักภาษาศาสตร์ภาษาบาลี เมื่อไม่นานมานี้ รู้สึกเสียดายว่าพอเรียนกันแบบเน้นไวยากรณ์ ท่องและแปลอย่างเดียว ก็เลยเป็นนกแก้วนกขุนทอง เรียนไปแล้วก็ลืม ไม่รู้ว่ามันคือพื้นฐานสำคัญของการเรียนภาษาบาลี วรรณกรรมระดับโลกอย่างอรรถกถาธรรมบทก็ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าการเรียนธรรมสุภาษิต วิธีที่เราเรียนโดยสืบทอดกันมาร่วมร้อยปีทำให้เราเข้าใจเพียงว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธเจ้า  

ฝรั่งเขามีวิธีศึกษาบาลีที่ดีกว่าเรามาก แต่เราถือตนว่าเป็นชาวพุทธ รู้มากกว่าฝรั่ง รู้มากกว่าฆราวาส ก็เลยไม่ได้ปรับมีวิธีเรียนภาษาบาลีในแบบที่ให้ความรู้กว้างขวาง ไม่ได้เรียนโดยใช้ศาสตร์ แต่ใช้ศรัทธาเข้าว่า มันก็เลยดราม่ากันหนักเมื่อการสอบได้บาลีระดับสูงถูกยกย่องเชิดชูเป็นพิเศษ น่าสงสัยว่าการเรียนบาลีแบบพระคุณเจ้าเรียนกันอยู่ในวัดนั้น กับการเรียนแบบฝรั่งที่สามารถแปล พระไตรปิฎกบาลีเป็นพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ อย่างเช่น Pali Text  Society หรือพระอนาลโยภิกขุ นั้น แบบไหนทำให้เข้าใจภาษาบาลีและคำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่ากัน

ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์  มองว่า พระไตรปิฎก  84,000 พระธรรมขันธ์ 17  หมุดหมายสำคัญ. (SDGs ความยั่งยืนวิถีพุทธ).... โดยจัดการศึกษา  ดังนี้ 

1)  เปรียญตรี  ศึกษาหลักธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิต/สังคม ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก  21,000 พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ  5  หมุดหมาย ( ที  ม สํ องฺ  ขุ )หลักสูตร 3  ปี     

2) เปรียญโท ศึกษาการพัฒนาและการจัดระเบียบเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตตามหลักอริยวินัยและอภิสมาจาริยสิกขา  เพื่อการขัดเกลาตนเองและเคารพกติกาสังคมเพื่อชึวิตและสังคมสันติสุข ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก  21,000 พระธรรมขันธ์  ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ 5  หมุดหมาย ( อา ปา ม จุ ป)   หลักสูตร 3  ปี                                                                   

3) เปรียญเอก ศึกษาการพัฒนาคุณภาพจิตและการยกระดับคุณภาพจิต ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก 42,000 พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ 7 หมุดหมาย ( สํ วิ ธา ปุ ก ย ป)หลักสูตร 3 ปี  

 ขณะที่เฟซบุ๊ก "Apinyawat Phosan" ได้โพสต์ข้อความว่า  เสียง 2 เสียงในเรื่องเรียนบาลี  ฝ่ายอนุรักษ์นิยมบาลี มักอ้างว่า เรียนบาลีถึง ป.ธ.9  ก็เพื่อเรียนภาษาให้เชี่ยวชาญ ให้เป็นอุปกรณ์ไขตู้พระไตรปิฏกออกอ่านและสืบต่อคำสอนพุทธะจึงเรียนคัมภีร์อรรถกถา ปกรณ์วิเสส และสังคหะก่อน ให้เชี่ยวชาญภาษาแล้ว จึงค่อยไขตู้พระไตรปิฏกภายหลัง

ฝ่ายวิพากษ์การเรียนบาลีถึง ป.ธ.9 ที่ถือว่าเป็นผู้มีภูมิรู้สูงและสุดยอดในพุทธศาสนาในสายตาของคณะสงฆ์ไทย จึงถามว่า ป.ธ.9 ที่จบมาแล้วนับพันๆ รูป/คนในประเทศไทย นำความรู้ด้านภาษาบาลีที่เรียนรู้มาแล้วนั้นไปไขตู้พระไตรปิฏกออกอ่านกี่เล่มแล้วละหลังจบมา? และมีจำนวนมากเท่าใดในสถิติผู้จบ ป.ธ.9 แล้วที่นำความรู้บาลีมาไขตู้พระไตรปิฏกต่อดังที่อ้างกันนั้น? การจะไขตู้พระไตรปิฏกออกอ่าน จำเป็นต้องเรียนจบ ป.ธ.9 ก่อนด้วยหรือ? ทำไมหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุจบแค่ ป.ธ.3 เท่านั้น ก็เห็นไขตู้พระไตรปิฏกออกอ่านและกลายเป็นปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาได้เล่า?  

เสียงต่างโต้แย้งกันไปมาระหว่าง 2 ฝ่าย คือฝ่ายอนุรักษ์นิยมบาลีและฝ่ายผู้วิพากษ์การเรียนบาลีถึง ป.ธ.9 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กกต.เปิดให้ตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง เตรียมพร้อมสมัครเลือกสว.

  เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567    สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดการประชุมชี้แจงให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังห...