วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

"อธิการบดีม.สงฆ์ มจร"พร้อมผู้บริหาร บริจาคเงินเดือนเม.ย.เข้ากองทุนสู้ภัยโควิด-19



วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2563 พระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  บริจาคเงินเดือน บวกเงินตำแหน่งบริหาร และเงินวิชาการ เดือนเมษายน 2563 ดังนี้ -50 % บริจาคเข้าบัญชีกองทุน ศปค.19 มจร  และ 50 % บริจาคเข้าบัญชีกองทุนสงเคราะห์วัดที่ จ.บุรีรัมย์

ทางด้านพระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร และ รักษาการเจ้าอาวาสวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ บริจาคเงินเดือน บวกเงินตำแหน่งบริหาร และ วิชาการ เดือนเมษายน-พฤษภาคม  2563 ดังนี้  50 % บริจาคเข้าบัญชีกองทุน ศปค.19 มจร และ 50 % บริจาคเข้าบัญชีกองทุนวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา



ขณะที่พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บริจาคเงินเดือน บวกเงินตำแหน่งบริหาร และเงินวิชาการ เดือนเมษายน 2563 ดังนี้  50 % บริจาคเข้าบัญชีกองทุน ศปค.19 มจร แบะ  50 % บริจาคเข้าบัญชีโรงพยาบาลปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

"สุริยะ"มาแล้ว! สั่งแจกหน้ากากผ้า 10 ล้านชิ้นทางไปรษณีย์ไทย



​วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2563 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ได้เห็นชอบจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง จำนวน 65 ล้านบาท ให้กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อผลิตหน้ากากผ้าและแจกจ่ายให้ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงพื้นที่เสี่ยงอื่น จำนวน 10 ล้านชิ้น เพิ่มเติมจากที่กระทรวงมหาดไทยได้รับมอบหมายให้ผลิตหน้ากากสำหรับแจกจ่ายให้ประชาชนในส่วนภูมิภาค จำนวน 50 ล้านชิ้น เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย และป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยความร่วมมือกับ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและภาคเอกชน โดยได้มีการคัดเลือกโรงงานที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสามารถจัดหาวัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งมีคุณลักษณะผ้าและหน้ากากผ้าตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด เรื่องข้อแนะนำคุณลักษณะผ้าที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัยสำหรับประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยผ่านการรับรองมาตรฐานจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีกระบวนการตรวจสอบคุณลักษณะและคุณภาพทั้งก่อนและหลังการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตหน้ากากผ้าที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี ซักแล้วใช้ซ้ำได้ ทันต่อสถานการณ์ที่เร่งด่วนในขณะนี้

​ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะเริ่มแจกจ่ายหน้ากากผ้าล็อตแรก จำนวน 1 ล้านชิ้น ให้ถึงมือประชาชนภายในวันที่ 11 เมษายนนี้ โดยจัดส่งผ่านไปรษณีย์ไทยตามข้อมูลทะเบียนบ้านทุกครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวนกว่า 3,050,000 ครัวเรือน จำนวนรวมกว่า 5,600,000 ชิ้น ตามบัญชีรายชื่อในทะเบียนบ้าน 1 คนต่อ 1 ชิ้น โดยครัวเรือนที่จะรับหน้ากากเป็นลำดับแรก จะเริ่มจากเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ รหัสไปรษณีย์ 10100 และจัดส่งจนครบทั้ง 50 เขตของกรุงเทพฯ และเขตสุดท้ายจะได้รับไม่เกินต้นเดือนพฤษภาคมนี้

สำหรับในส่วนที่เหลือจำนวน 4,400,000 ชิ้น จะแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่เขตปริมณฑลและพื้นที่อื่นที่มีความเสี่ยง เช่น จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ จังหวัดภาคใต้และภาคใต้ชายแดน เป็นต้น รวมถึงพนักงานบริการที่มีความเสี่ยง เช่น พนักงานขนส่งมวลชน พนักงานสถานีรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน พนักงานไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีการพิจารณาจัดสรรการแจกจ่ายหน้ากากผ้าโดยคณะกรรมการกำกับและบริหารโครงการผลิตหน้ากากผ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย และป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แก่ประชาชน ของกระทรวงอุตสาหกรรม

​สำหรับการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยแบบผ้า โดยวิธีการส่งทางไปรษณีย์นั้น เพื่ออำนวยความสะดวกและสามารถตรวจสอบได้ว่าประชาชนที่มีทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ ทุกหลังคาเรือนจะได้รับหน้ากากผ้าถึงมือจริง ซึ่งหากพัสดุตกหล่นไม่ถึงมือผู้รับก็สามารถตรวจเช็คผ่านทางเว็บไซต์ www. หน้ากากไทยต้านโควิด.com โดยร่วมกับธนาคารกรุงไทย เพื่อสามารถแจ้งในกรณีไม่ได้รับพัสดุหรือพัสดุตกหล่นไม่ถึงมือผู้รับได้อีกด้วย นายสุริยะ กล่าวปิดท้าย

"ชัชวาลล์ คงอุดม" มอง COVID-19 ทำโลกสะเทือน ไทยยังมีกินมีใช้เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง




วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2563  นายชัชวาลล์ คงอุดม หัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า COVID-19 ทำให้โลกสั่นสะเทือน หลายประเทศต้องปิดประเทศ

ผมมองว่าในช่วงวิกฤต covid-19 ที่ทำให้โลกสั่นสะท้านไปทุกหย่อมหญ้า เราได้รับความลำบากแสนสาหัส ต้องหยุดงาน ต้องกักกันตัวเอง เศรษฐกิจพังทลาย ถึงขนาดต้องปิดประเทศ แต่ถึงอย่างไรประเทศเราก็ยังมีกินมีใช้ เพราะเรามีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะด้วยว่าประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเกษตรกรกว่า 15 ล้านคน หรือ 7 ล้านกว่าครัวเรือน รวมจำนวนเกือบ 120 ล้านไร่ หรือ ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ 

ผมเห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐที่ออกมา เช่น การช่วยเหลือภาคแรงงานที่ต้องหยุดงาน โดยแจกเงิน 5,000 บาทตลอดช่วง 3 เดือนนี้ หรือ การลดดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับ SME ภาคเอกชน แต่กลุ่มที่ภาครัฐน่าจะให้โอกาสและลงทุนมากกว่านี้ ซึ่งจะสามารถพลิกวิกฤตของโลกให้เป็นโอกาสของประเทศไทยได้เลย ก็คือ ภาคเกษตรกร ที่สามารถทำให้ประเทศไทยเราเป็น "ครัวโลก"ได้ตามความฝันของคนไทยทุกคน ถึงแม้วิกฤตนี้จะต้องปิดประเทศ แต่เราก็ยังอยู่รอดกันได้ เพราะการดำรงอยู่ของเกษตรกรไทย ที่เป็นจุดแข็งไม่เหมือนบางประเทศที่ต้องนำเข้าสินค้าอุปโภค บริโภคจากต่างประเทศอย่างเดียว

ผมมีความเห็นว่ารัฐบาลต้องช่วยเหลือด้านงบประมาณ วิชาการ การวิจัยให้แก่เกษตรกรในแต่ละท้องถิ่นลงไปเต็มที่ ในวันหลังผมจะแนะนำว่าต้องใช้งบประมาณจากส่วนไหนมาช่วยเหลือ ผมว่าเรื่องหนี้สินเกษตรกรจะได้ไม่ต้องมานั่งแบกรับภาระหนักกันขนาดนี้ 

ผมรู้สึกน่าเห็นใจมากๆ แต่ผมได้แค่แนะแนวทางให้รัฐบาล ฝ่ายบริหาร ดำเนินการ รัฐบาลต้องช่วยหาช่องทางการตลาดส่งออกหรือ ช่องทางออนไลน์ ไม่แย่งกันปลูกพืชชนิดเดียวกัน เพื่อให้ราคานั้นไม่ต่ำลงไปตามหลักดีมานด์ ซัพพลาย (Demand-Supply) 

สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ผมคิดถึงเสมอและตั้งใจอยากให้คนไทยได้อยู่รอดได้ในทุกวิกฤตและต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของประเทศ ผมเชื่อว่าแม้เราจะต้องปิดประเทศ เราก็ต้องอยู่รอดได้..และเราจะเป็น ครัวโลกได้อย่างแท้จริง ถ้ารัฐบาลมีงบประมาณอุดหนุนให้กับเกษตกร "ฟ้าหลังฝนย่อมสดใส" จากใจ ชัช เตาปูน 1 เมษายน 2020

ดร.มหาสำราญแนะวิธีป้องกันไวรัสโควิด-19ด้วยการนึ้งแมสก์ที่ซักได้


https://youtu.be/bOm8g_e6WKo

ผู้นำฝ่ายค้านร่อนสารยันพร้อมร่วมมือรัฐบาล "เราฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน"



"สมพงษ์ อมรวิวัฒน์"  หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อนสารยันพร้อมร่วมมือรัฐบาล "เราฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน"

วันที่ 1 เมษายน 2563 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์  หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า สถานการณ์ของบ้านเมืองเราวันนี้เจอโจทย์ปัญหาที่ใหญ่และหนักหนาสาหัสจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ซึ่งกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ทั้งทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง เป็นเรื่องที่ท้าทายพวกเราทุกคนในชาติว่าเราจะสามารถฟันฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้หรือไม่ ทั้งนี้ผมมองว่าชีวิตของพี่น้องประชาชนสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง เราต้องร่วมกันทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิตของประชาชนไว้ด้วยวิธีที่ชาญฉลาด และสร้างบาดแผลให้กับประเทศน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผมและพรรคร่วมฝ่ายค้านพร้อมอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณ การออกกฎหมายเร่งด่วน และการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อเราจะได้ฟันฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

วันนี้หมอ พยาบาล และบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเป็นนักรบแนวหน้าให้กับพวกเรา กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะเอาชนะกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทุกฝ่ายในสังคมต่างช่วยสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ ในขณะที่รัฐบาลก็พยายามทำงานอย่างหนักเช่นกัน แม้ว่าแนวทางการรับมือของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมายังขาดความเป็นระบบและขาดการมองปัญหาให้ครบทุกมิติ ทุกมาตรการหรือคำสั่งการล้วนเป็นการแก้ปัญหาหนึ่ง และสร้างอีกปัญหาหนึ่งขึ้นมา  

การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา นอกจากต้องมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาให้รอบด้านแล้ว ยังต้องคำนึงถึงมิติของการเคารพในความเป็นมนุษย์ เคารพในการมีส่วนร่วมรับรู้ร่วมชะตากรรมร่วมกันของทั้งสังคม ยึดหลักการจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน และคำนึงถึงหลักการจัดการที่ให้เกิดความยุติธรรมและทั่วถึงกับคนทุกส่วนในสังคม

วันนี้ผมคิดว่ารัฐบาลต้องมีความเด็ดขาด และชัดเจนโปร่งใส เพื่อยับยั้งไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ลุกลามมากจนระบบสาธารณสุขไม่สามารถรับมืออย่างเช่นในประเทศอิตาลี นั่นหมายความว่าหมอ พยาบาล ซึ่งเป็นนักรบแนวหน้าของเราต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันที่พรั่งพร้อมไม่ขาดแคลนจนต้องออกมาขอรับบริจาค 

การรณรงค์เรื่อง "การสร้างระยะห่างทางสังคม"  (Social Distancing) และการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันตัวเองของประชาชน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่จะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น…จำเป็นที่จะต้องเสริมความเข้าใจให้กระจ่างชัดและทั่วถึง เพราะนี่ถือเป็นการลงทุนป้องกันที่มีค่าใช้จ่ายน้อยสุด หากสามารถทำได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพจะส่งผลสำเร็จต่อการหยุดยั้งโรคร้าย ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด กระจายตัวออกไปได้ในวงกว้างจนเกินการควบคุม

นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจอันเป็นสืบเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 ก็เป็นโจทย์ใหญ่ที่หนักหนาไม่แพ้กัน ที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการและแผนรองรับที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งบประมาณปี 2563 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งพวกเราพรรคร่วมฝ่ายค้านพร้อมที่จะให้ความร่วมมือหากสิ่งที่รัฐบาลต้องการสามารถช่วยเหลือประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศไม่ให้จมดิ่งลงไปในเหวลึกมากกว่าที่เป็นอยู่  

ประเทศยามนี้มีปัญหาหลายสิ่งที่ถาโถมเข้ามารอบด้าน ทั้งโควิด-19 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาไฟป่าทางภาคเหนือ ปัญหาภัยแล้ง เป็นบทพิสูจน์ความร่วมมือร่วมใจของพวกเราคนไทยทุกคน ในการเอาชนะวิกฤติการณ์ที่หนักหนาสาหัสครั้งนี้ 

ในฐานะของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผมเรียกร้องให้รัฐบาลรับฟังเสียงของประชาชน ประชาชนเองก็ต้องร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเคร่งครัด และฝ่ายค้านพร้อมร่วมมือกับรัฐบาลในอย่างเต็มที่

"นี่คือเวลาที่จะหันหน้าเข้ามาร่วมมือกัน ช่วยนำพาประเทศ ให้พ้นจากวิกฤติ" 

ไฟล์ PDF คู่มือการใช้งานโปรแกรม zoom cloud meeting

ไฟล์ PDF คู่มือการใช้งานโปรแกรม zoom cloud meeting
อธิบายเมนูการใช้งานได้ครบถ้วน เหมาะกับการสอน Online

Credit : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี🥰 http://www.teched.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2020/03/Zoom-Application-by-Computer-Engineering.pdf?fbclid=IwAR1jtF7L321f7N8kJKb4WHXahVpSMEIC_wBJwkJEAvXSHJYvGf3cOXNj2QI

อานุภาพของปัญญาประดิษฐ์ : เราจะตกงานกันหมดจริงหรือ?

อานุภาพของปัญญาประดิษฐ์ : เราจะตกงานกันหมดจริงหรือ? https://thaipublica.org/2020/03/pitikhun-nilthanom-07/?fbclid=IwAR2zrSq4LpDFGquHfqkeDvoWXqXj9VjhgYvL6oWT9eN4NPwjD4CD8SPE9so

กระทรวงดีอีเอสนำ AI สู้โควิด-19 เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาไวรัสรู้ผลหลักวินาที



วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประสานความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย (จำกัด)  นำ CD เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ส่งมอบโซลูชันผู้ช่วย AI วิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณสำหรับรายงานผลตรวจภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) โควิด-19 ในหลักวินาที ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี  โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้รับมอบ

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ทางกระทรวงดีอีเอส ให้ความสำคัญกับประชาชนและสถานการณ์แพร่กระจายของโควิด-19 มากที่สุด จึงได้ประสานความร่วมมือกับหัวเว่ย ส่งมอบพร้อมติดตั้งโซลูชัน AI สำหรับการตรวจโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นที่เรียบร้อย  ซึ่งเทคโนโลยี AI จาก HUAWEI CLOUD จะทำหน้าที่วิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณจากการตรวจวินิจฉัยทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ปอดของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Novel coronavirus, SARS หรือ COV) และผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19) โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) แพลตฟอร์มที่ได้รับการเทรนจากข้อมูลของผู้ป่วยจริงในประเทศจีน โดยมีประมาณ 20000 เคส โดยจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ยืนยันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19(COVID-19) มากกว่า 4000 เคส  ซึ่งเป็นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และ สามารถวิเคราะห์ผลได้ภายในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อ 1 เคส โดยมีความแม่นยำในการวินิจฉัยสูงถึง 96%   นับว่ามีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง   โดยนวัตกรรมนี้จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัย  โดยไม่ต้องใช้สารคัดหลั่งในการตรวจ  ช่วยลดจำนวนชุดตรวจโควิด  และแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และช่วยให้บุคลากรหลายๆ ท่านสามารถกระจายตัวไปดูแลเคสผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือสถานการณ์ระบาดในขณะนี้ได้ดียิ่งขึ้น  
  
ในด้านรายละเอียดการทำงานเพิ่มเติมของโซลูชันดังกล่าว HUAWEI CLOUD จะใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์และการวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เพื่อแยกแยะระหว่างจุดขาวพร่าในปอด (ground glass opacities - GGOs) จำนวนมาก กับการรวมตัวกันของเนื้อปอด (consolidation) แล้ววิเคราะห์ผลเชิงปริมาณจากผลการตรวจ CT ปอดผู้ป่วย กระบวนการดังกล่าวเป็นการรวมข้อมูลทางอายุรกรรมและผลแล็บเพื่อช่วยให้แพทย์ระบุได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในระยะเริ่มต้น ระยะลุกลาม หรือระยะรุนแรง

ปัญญากับสติจะพาเราผ่านวิกฤติ

วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563  เพจ Workpoint News ได้โพสต์ข้อความว่า นพ.ธนรักษ์ ย้ำการคาดประมาณตัวเลขผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมาก เพื่อความพร้อมรับมือ ไม่ได้ขู่ให้กลัว วันนี้ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อจะทำให้เกิดปัญญา ตระหนักรู้

วันที่ 31 มี.ค. 2563 นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงตัวเลขการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ถึงวันที่ 15 เม.ย.ว่า อย่ามองแค่ตัวเลข ให้มองเหตุผลการคาดการณ์ว่า เพื่อวางแผน เตรียมเครื่องมือ หอผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนัก ตัวเลขค่าประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ มาจากการคิดค่าประมาณโดยทีมนักระบาดวิทยา

หากสถานการณ์ที่ไม่ทำอะไรมากมาย ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 คน ถ้าสามารถเพิ่มระยะห่างทางสังคม หรือระยะห่างบุคคลได้ประมาณ 50% จะมีผู้ป่วยประมาณ 17,000 คน และถ้าสามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้เพิ่มขึ้นจะมีผู้ป่วยประมาณ 7,000 คน ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ห่างจาก 3.5 แสนคนซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้เสียชีวิต 7,000 คน เป็นตัวเลขค่อนข้างมาก

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า หากเราไม่ทำอะไรเลย ไม่ปิดเมือง จะมีผู้ป่วยประมาณ 3.5 แสนคน แต่ถ้าปิดเมืองจะมีผู้ป่วยประมาณ 24,000 คน เสียชีวิตประมาณ 500 คน ตัวเลขคาดการณ์จะสูงกว่าความเป็นจริงทุกตัว ไม่ว่าจะปิดเมืองหรือไม่ปิดเมืองก็ตาม หากถามว่าตอนนี้เราปิดเมืองหรือยัง ตอนนี้ปิดแค่สถานที่บางแห่ง ประชาชนสามรถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งความจริงเราต้องการให้คนออกจากบ้านให้น้อยลง เพื่อประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่

นพ.ธนรักษ์ ยืนยันว่า ตัวเลขที่มีการคาดประมาณก็เพื่อนำไปใช้ในการเตรียมทรัพยากรต่างๆ เราอาจจะตั้งความหวังได้ว่าจะมีผู้ป่วยไม่มากนัก แต่เวลาเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ เราจะต้องเตรียมในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ถ้ามัวแต่หวังว่าจะมีผู้ป่วยน้อย เมื่อเวลาผู้ป่วยมากจะกลายเป็นว่า ไม่เตรียมการไม่ทัน ส่งผลให้มีคนเดือนร้อนจำนวนมาก

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เคยมีคนตั้งข้อคำถามว่า ตัวเลขคาดการณ์จำนวนมากต้องการขู่ให้กลัวหรือเปล่าว่า ตัวเลขค่าประมาณที่คาดการณ์ไว้มีจำนวนผู้ป่วยมาก ไม่ใช้ต้องการให้คนตกใจ เพราะการพยายามขู่ให้คนกลัวกับโรคภัย ไม่ใช้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เพราะเมื่อคนกลัวจะเกิดความกังวลตามมา จากนั้นเขาจะไม่ปฏิบัติตัวอย่างมีเหตุ มีผล จะเกิดการรังเกลียดกันในสังคม ตัวอย่างเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วไม่ใช่เฉพาะกรณีที่บางบอน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นคนไข้จะไม่ยอมเปิดตัว ปกปิดข้อมูลกับแพทย์
“ยิ่งสร้างความกลัว สร้างความกังวลขึ้นในสังคม ยิ่งเพิ่มโอกาสให้โรคแพร่ได้ง่ายขึ้น วิธีที่ถูกต้อง คือ วิธีการให้ความจริง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดปัญญา ตระหนักรู้ ปัญญากับสติจะพาเราผ่านวิกฤติ แต่ความกลัวไม่ เราต้องสร้างความรู้ให้กับคนไทยเร็วที่และมากที่สุด เราถึงจะก้าวข้ามปัญหานี้ไปได้” นพ.ธนรักษ์ กล่าว
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2107210?fbclid=IwAR1oLWX0iFFkkFqmmXq-m6FR-rpfdwXJnwaqJ_T0UOA1nDoSa3ml1QFj0GU

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

5 ประโยชน์ข้าวโพดแดง "ทับทิมสยาม" ผู้หญิงกินแล้วไม่แก่!

https://www.thairath.co.th/women/beauty/health/1540098

5 ประโยชน์ข้าวโพดแดง "ทับทิมสยาม" ผู้หญิงกินแล้วไม่แก่!

11 เม.ย. 2562 14:41 น.

อะไรเอ่ย? "ผู้หญิง" กินแล้วหน้าเด็ก ชะลอความแก่ คำตอบคือ..."ข้าวโพดแดง" หรือ "ข้าวโพดทับทิมสยาม" ว่ากันว่ากินสดก็ได้ กินสุกก็ดี รสชาติอร่อยสุดๆ แถมมีประโยชน์ช่วยบำรุง "สุขภาพ" ให้ผู้หญิงได้อีกต่างหาก...('หวาน มัน เค็ม' ต้นตอโรคร้ายคนทำงานวัย 30+)
ไลฟ์สไตล์ไทยรัฐ มีประโยชน์ดีๆ ของข้าวโพดหวานแดง ข้าวโพดทับทิมสยาม มาฝากสาวๆ กันค่ะ 

5 ประโยชน์ "ข้าวโพดแดง"

หนึ่งใน "อาหารสุขภาพ" ที่เป็นเทรนด์กำลังมาแรงในนาทีนี้ คงหนีไม่พ้น "ข้าวโพดแดง" หรือ "ข้าวโพดทับทิมสยาม" โดย "ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ" อดีตอาจารย์ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคนไทยที่คิดค้นวิจัยสายพันธุ์นี้คนแรกของโลก! ตอนนี้สาวๆ สายสุขภาพกำลังพูดถึงเจ้าข้าวโพดหวานแดงชนิดนี้กันมาก เพราะมีประโยชน์เยอะจริงๆ ได้แก่ 
1. ช่วยชะลอความแก่
ในข้าวโพดแดง มีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) สูงมาก มีสารสำคัญ สีม่วง-แดง ที่มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่
2. ป้องกันมะเร็งชนิดเนื้องอก
ในสารแอนโทไซยานิน ยังมีคุณสมบัติช่วยรักษาโรคได้ด้วย เช่น ลดโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก ช่วยต่อต้านเชื้อโรค ช่วยในการสมานแผล ช่วยเสริมระบบการทำงานของเม็ดเลือดแดง ช่วยลดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
3. มีไลโคปีนสูง
อุดมไปด้วยสารไลโคปีน ไฟเบอร์ เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ โดยเฉพาะสารไลโคปีน มีประโยชน์มากมาย เช่น บำรุงผิวพรรณ ชะลอริ้วรอยก่อนวัย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดอัตราเสี่ยงมะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เป็นต้น
4. ช่วย "ลดน้ำหนัก" 
ในเนื้อข้าวโพดแดง 100 กรัม มีพลังงานเพียง 86 กิโลแคลอรีเท่านั้น ถ้ากินให้อิ่มท้องก็กินประมาณ 300 กรัม ก็ได้พลังงานประมาณ 250 กิโลแคลอรีเท่านั้น เป็นเมนูที่ช่วย "ลดน้ำหนัก" ได้ดี แถมยังมีไฟเบอร์เยอะ ช่วยระบบขับถ่ายอีกด้วย
5. ต้านไวรัสได้
ผักผลไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง อย่าง "ข้าวโพดแดง" ช่วยต่อต้านไวรัส ทำให้ป้องกันโรคหวัดได้ และช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสียได้อีกด้วย
รู้อย่างนี้แล้ว สาวๆ ลองไปหาข้าวโพดแดงมารับประทานกันดูนะคะ.
อ่านเพิ่มเติม : 

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

พระสงฆ์ยังมึน! “Online Learning: อะไร? อย่างไร?”ฝ่าวิกฤติโควิด-19




Course of Digital literacy for E-Learning  have Use Understand  create,Access 5W1H ” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?
>Virtual Education  
>Cloud Computing 
>Tech Company
>DingTalk
>Google Hangout Meet 
>Google Classroom
>Augmented Reality – AR
>Visual Reality – VR
>Artificial Intelligence – AI
>Tencent
>Intelligent Video Collaboration
>Blackboard
>Zoom Room
> “...ฯลฯ...” 
สำหรับการประชุมและเรียนออนไลน์ ได้แก่ Zoom, Google Hangouts, Skype, Line, FaceTime, Facebook Messenger, Microsoft Team และ True VWORLD

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563 เฟซบุ๊กเพจ Phramaha Boonchuay Doojai  ของพระครูพิพิธสุตาทร (พระมหา ดร.บุญช่วย สิรินธโร) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความว่า 

“Online Learning: อะไร ? อย่างไร ?”

@ สืบเนื่องจากการ “สานเสวนา” กลุ่มผู้บริหารศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โซนภาคเหนือ เรื่อง “บัณฑิตศึกษาในยุค Disruption” ในโครงการสัมมนาร่วมกับศูนย์บัณฑิตศึกษา ภายในประเทศ โซนภาคเหนือ จัดโดย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ส่วนกลาง ณ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน จังหวัดน่าน ได้มีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการจัด “กระบวนการเรียนรู้” ในยุค Disruption นี้โดยการนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาใช้ที่เรียกกันว่าเป็น “ระบบการเรียนการสอนออนไลน์”

@ กรอปรกับในภาวะที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤต “COVID-19” ณ เวลานี้ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization – UNESCO) ได้คาดการณ์ว่ามีนักเรียน-นักศึกษากว่า 363 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบ และประมาณการณ์ว่ามีสถาบันการศึกษาใน 15 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ ได้ปิดการเรียนการสอนปกติที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย และมีสถาบันการศึกษาในหลายประเทศ ได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เพื่อเปิดการเรียนการสอนผ่าน “ออนไลน์”

@ “ประเทศจีน” ต้นตอของการแพร่ระบาด เป็นประเทศแรกที่ประกาศหยุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่โรงเรียน และมหาวิทยาลัย ทั้ง “ครู และนักเรียน – นักศึกษา” หันไปเปิดการเรียนการสอนทาง “ออนไลน์” ด้าน“สหรัฐอเมริกา” เริ่มปิดโรงเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสหรัฐอเมริกา เช่น “Harvard” ประกาศจะใช้การเรียนการสอนเสมือนจริง (Virtual Education) ในขณะที่เกิดสถานการณ์ COVID-19 โดยจะเริ่มตั้งแต่ 23 มีนาคมนี้ และล่าสุดเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐที่ให้ปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ได้ออกประกาศให้สถาบันการศึกษาได้นำการเรียนการสอนรูปแบบ “ออนไลน์” มาใช้

@ จึงมีคำถามเกิดขึ้นกับ “ตัวเอง” ซึ่งเป็นคนรุ่น “Silver Gen” หรือ “Baby Boomers” ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชากรสูงวัย และยังขาด “Digital literacy” ว่า “เอาไงดี หว่า ???” ที่จะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนรุ่น “Gen Y” และ “Gen Z” ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้านเรียนรู้การดำเนินชีวิตในสังคมแบบ “ดิจิทัล” จะมีกลุ่ม “Gen X” อยู่บ้างก็น่าจะน้อยนิด ซึ่งก็ไม่ทราบว่าคนอื่นเขามี “คำถาม” กันหรือไม่ ตอนนี้ก็เริ่มรู้สึกว่ามีความ “กังวล” เกิดขึ้นแล้วล่ะสิ

@ เหตุที่กังวลก็เพราะรู้ตัวดีว่า “ตัวเอง” ยังขาด “ทักษะ” ในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน (คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะที่ว่านี้ครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ คือ 1) การใช้ (Use) 2) เข้าใจ (Understand) 3) การสร้าง (create) 4) เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

@ จากความ “กังวล” ใน “Digital Literacy” ของตัวเอง ก็เลยต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง “Online Learning” เผื่อว่าจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ได้บ้าง แต่เมื่อยิ่งค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจ ก็ยิ่งรู้ว่าตัวเองยังอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “Digital Illiteracy” แล้วเราจะจัดการเรียนรู้ “ออนไลน์” ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ???? เพราะยังไม่รู้เลยว่า ....

> “Virtual Education” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Cloud Computing” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Tech Company” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “DingTalk” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Google Hangout Meet” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Google Classroom” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Augmented Reality – AR” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Visual Reality – VR” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Artificial Intelligence – AI” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Tencent” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Intelligent Video Collaboration” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Blackboard” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Zoom Room” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “...ฯลฯ...” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

@ ปกติสถาบันการศึกษาทุกแห่งจะต้องมีส่วนงานที่ทำหน้าที่ด้าน “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นส่วนงานที่ทำพันธกิจในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ถ้าจำไม่ผิดมหาวิทยาลัยที่ทำงานอยู่ตอนนี้ก็มีส่วนงานระดับคณะชื่อ “สำนักห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ” มีภารกิจเกี่ยวกับ “งานพัฒนาและให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ‘เทคโนโลยีการศึกษา’ ส่งเสริม พัฒนาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ” และมี “กลุ่มงานเทคโนโลยีการศึกษา” ซึ่งมีภารกิจในการปฏิบัติงานจัดอบรมบุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ งานบริหารจัดการเว็บไซต์ งานบริการการเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

@ แต่เท่าที่ “จำความได้” ยังไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม “Course” ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) แม้แต่ครั้งเดียว จึงทำให้ตัดสินใจได้อย่างไม่ต้องลังเลว่าตัวเองนั้นอยู่ในกลุ่ม “Digital Illiteracy” เลยมีคำถามตามมาว่า ทำไมเราจึงไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม มีคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้หลายคำตอบ ว่า

> เพราะ “เราไม่รู้” ว่ามี Course(s) ฝึกอบรมตลอดเวลา หรือว่า

> เพราะ “เรามัวแต่เดินทางท่องเที่ยว” ทั้งในและต่างประเทศ (เจอหลายคนชอบทักแบบนี้) จนไม่มีเวลาเข้ารับการฝึกอบรม หรือว่า

> เพราะ “เราไม่สนใจ” ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม หรือว่า

> เพราะ “มหาวิทยาลัยยังไม่เคยจัด Course(s) ฝึกอบรม” ให้แก่คณาจารย์ (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้) หรือว่า

> เพราะ ที่ผ่านมา “มหาวิทยาลัยไม่มีงบประมาณสนับสนุนการจัด Course(s) ฝึกอบรม” ให้แก่คณาจารย์ (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ อีกนั่นแหละ)

@ ยิ่งทำให้เป็นที่น่ากังวลว่า “คณาจารย์” ของมหาวิทยาลัย จะมีทักษะในการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตามนโยบายของรัฐและประกาศของมหาวิทยาลัยได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร

@ ดูเหมือนว่า “มหาวิทยาลัย” ไม่ได้ “เตรียมการ” ในเรื่องนี้เป็นอย่างดีมาก่อนที่จะเกิดผลกระทบจากวิกฤต COVID-19

@ เอาเป็นว่า ที่ผ่านมาก็ควรให้มันผ่านไป ใช้มันให้เป็นบทเรียน เพื่อก้าวข้ามไปให้ได้ในยุค “Disruption” โดยมีสิ่งที่ต้องจัดการเป็นการ “เร่งด่วน” อย่างน้อย 4 เรื่อง ได้แก่

> การลงทุนเกี่ยวกับ “Educational Technology” ที่เหมาะสมกับ "บริบทของมหาวิทยาลัย"

> ภาวะผู้นำ ของ “ผู้บริหารมหาวิทยาลัย” ทุกระดับ

> กลไก “การบริหารจัดการ” เฉพาะด้าน “Educational Technology” ที่สามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

> การพัฒนา “อาจารย์” ให้เข้าสู่กลุ่ม “Digital literacy” อย่างเป็นรูปธรรม

@ แม้จะเป็นข้อเสนอจากคนที่ไม่ใช่ “ผู้เล่นหลัก” แต่ก็เป็นไปด้วยจิตแห่งความห่วงใย ที่สำคัญคือไม่ใช่ความห่วงใยในสถานะของตนเอง แต่ห่วงใยใน “ผู้เรียน” ที่มีความคาดหวังว่าจะได้เป็นบัณฑิตในอุดมคติของมหาวิทยาลัย รวมถึง “ความอยู่รอดของมหาวิทยาลัย “ในยุค “Disruption” 

ขอบคุณภาพ และศึกษาเพิ่มเติมที่:

https://www.marketingoops.com/…/covid-19-reinvent-global-e…/
https://www.educatorroundtable.org/การเรียนการสอนแบบออนไล/
http://www.edit.psu.ac.th/…/e-learning%20book-AW-edit%20(fi…
https://www.skilllane.com/…/make%20an%20online%20course%20i…
https://www.chula.ac.th/news/28319/
https://www.thaipost.net/main/detail/60276
https://www.posttoday.com/life/healthy/587633
https://techsauce.co/…/collaboration-is-the-new-innovation-…
http://www.todayhighlightnews.com/…/smart-connected-healthc…
https://www.nexttopbrand.com/…/smart-connected-healthcare-c…
http://www.sevenminutescientist.com/…/Online-Learning-1024x…

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...