วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"องค์ทะไล ลามะ" แถลงสงครามล้าสมัยแล้ว! วอนยุติขัดแย้ง "รัสเซีย-ยูเครน" ผ่านการเจรจา


วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เฟซบุ๊ก Narong Sangkhawichit พระนักศึกษาไทยที่ประเทศอินเดีย ได้โพสต์ข้อความว่า เช้าวันนี้องค์ทะไลลามะแถลงต่อเหตุการณ์รัสเซีย-ยูเคน  ฉันเสียใจอย่างสุดซึ้งกับความขัดแย้งในยูเครน โลกของเราพึ่งพาอาศัยกันมากจนความขัดแย้งรุนแรงระหว่างสองประเทศส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับส่วนที่เหลือของโลก  สงครามล้าสมัยแล้ว การไม่ใช้ความรุนแรงเป็นวิธีเดียว  เราต้องพัฒนาความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติโดยถือว่ามนุษย์คนอื่นเป็นพี่น้องกัน  นี่คือวิธีที่เราจะสร้างโลกที่สงบสุขมากขึ้น

ปัญหาและความขัดแย้งแก้ไขได้ดีที่สุดผ่านการสนทนา  สันติสุขที่แท้จริงเกิดจากการเข้าใจซึ่งกันและกันและการเคารพในสวัสดิภาพของกันและกัน เราต้องไม่สิ้นหวัง  ศตวรรษที่ 20 เป็นศตวรรษแห่งสงครามและการนองเลือด  ศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นศตวรรษแห่งการเจรจา  ฉันอธิษฐานขอให้ความสงบสุขกลับคืนมาอย่างรวดเร็วในยูเครน


 องค์ดาไลลามะ

 28 กุมภาพันธ์ 2565


I have been deeply saddened by the conflict in Ukraine.

Our world has become so interdependent that violent conflict between two countries inevitably impacts the rest of the world. War is out-dated – non-violence is the only way. We need to develop a sense of the oneness of humanity by considering other human beings as brothers and sisters. This is how we will build a more peaceful world.

Problems and disagreements are best resolved through dialogue. Genuine peace comes about through mutual understanding and respect for each other’s wellbeing.

We must not lose hope. The 20th century was a century of war and bloodshed. The 21st century must be a century of dialogue.

I pray that peace is swiftly restored ​in Ukraine.

The Dalai Lama

February 28, 2022

Dalai lama Facebook

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เยาวชนแม่สายใช้ MIDL เป็นสื่อกลาง ลดบูลลี่ชาติพันธุ์-ชูจุดเด่นพหุวัฒนธรรม



เยาวชนแม่สาย เชียงราย ใช้ MIDL เป็นสื่อกลาง “เด็กร่วมสร้าง ผู้ใหญ่ร่วมพัฒนา” เปิดเส้นทางพหุวัฒนธรรม ลดปัญหาบูลลี่ชาติพันธุ์-ชูจุดเด่นอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลาย

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายโครงการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลเพื่อสร้างเมืองของทุกคนในพื้นที่ภาคเหนือ จัดงานเทศกาลรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ปี 2565 ภายใต้แนวคิด “MIDL for Inclusive Cities : ละอ่อน ฮ่วมใจ๋ ตีฆ้อง แป๋งเมือง” โดยในปีนี้ เยาวชนจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้เปิดเส้นทางเดินเมืองเพื่อการเรียนรู้ในชุมชน 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ เส้นทางอาหารและวิถีชีวิตสังคมพหุวัฒนธรรม เส้นทางความเชื่อ การละเล่น และวิถีชาติพันธุ์ และเส้นทางเศรษฐกิจและชายแดน ใช้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล หรือ MIDL (Media Information Digital Literacy) ในการเรียนรู้ ตระหนัก เห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ วิถีชุมชน วัฒนธรรมที่อยู่รอบตัว นำสู่การร่วมออกแบบบเมืองสุขภาวะในพื้นที่ให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน 

ดร.อนุชิต วัฒนาพร หัวหน้าคณะทำงานโครงการเมืองฮ่วมใจ๋เชียงราย 2021 และประธานโปรแกรมวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่า “หน้าที่ของคณะครุศาสตร์คือการผลิตครู แต่พอนักศึกษาของเราจบไปทำหน้าที่ครูในโรงเรียนจริงๆ แล้วเราพบปัญหาว่าโครงสร้างการสอนแบบเดิมๆ ในโรงเรียนทำให้เด็กนักเรียนทุกวันนี้ยังคงเรียนรู้อยู่แต่ในห้องเรียน พอมาเจอโครงการ MIDL เรามองเห็นว่ามันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยครูรุ่นใหม่ ให้ได้ชักชวนลูกศิษย์ของเขาออกมาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกห้องเรียนร่วมกัน เพราะฉะนั้นโครงการนี้เราจึงทำงานบนเป้าหมายที่เป็นคู่ขนาน คือในขณะที่เราหวังการเปลี่ยนแปลงในตัวเด็ก เราก็หวังการเปลี่ยนแปลงในตัวครูคู่ขนานกันไปด้วย เพราะที่ผ่านมาเราไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ในตัวครูเลย”

“อีกด้านหนึ่งคือพื้นที่จังหวัดเชียงรายเรายังมีปัญหาเรื่องของการแบ่งแยกกลุ่มชาติพันธุ์ซ่อนอยู่ เด็กในบางพื้นที่ยังรู้สึกอายที่พูดไม่ชัด ขาดโอกาสในการแสดงออก แต่โครงการ MIDL นี้ทำให้เด็กรู้สึกว่าเขามีตัวตน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เราเคยเปิดพื้นที่ให้เด็กได้นำเสนอสิ่งที่เขาคิดให้ชุมชนฟัง มีเด็กเสนอให้ชุมชนมีตลาด ปีต่อมาพอมีงบประมาณสามารถทำได้ ชุมชนก็สร้างตลาดขึ้นมา พ่อหลวงเขาพูดว่าได้ฟังจากเด็กๆ    แล้วก็เลยจุดประกายขึ้นมา นั่นทำให้เราได้มองเห็นชัดเจนเลยว่า อย่าคิดว่าสิ่งที่เด็กคิดหรือพูดจะเป็นจริงไม่ได้ มันเป็นไปได้หากผู้ใหญ่มองเห็นและให้เขาได้เข้ามามีส่วนร่วม ให้ทุกคนในเมืองมีสิทธิ์และมีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอย่างเท่าเทียม”

ด้าน คุณครูคมเพชร ราชคม ครูที่ปรึกษาโครงการเยาวชนพลเมืองแม่สาย “แม่สายเมืองพหุวัฒนธรรม” โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ กล่าวว่า “ผมเป็นครูสอนประวัติศาสตร์สากลและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของโรงเรียน เวลาเราสอนเรื่องวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ที่ผ่านมาเรามักไปติดอยู่ที่เรื่องของศาสนา ทำให้เด็กบางคนไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ แต่พอเรามาใช้ MIDL ใช้กิจกรรมเดินเมืองเข้ามา ทำให้การเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีเปิดกว้าง

มากขึ้น เราใช้อาหารเป็นตัวเชื่อมโยงวิถีชุมชนกับวัฒนธรรมประเพณี เราเรียนรู้อัตลักษณ์ชาชนจากข้าวซอยน้อย ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นที่เด็กทุกคนรู้จัก เรียนรู้ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจากการทำสะตวงที่ใช้ในการสะเดาะเคราะห์ มันเป็นการจุดประเด็นในการใช้สื่อรอบตัวมาช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เด็กคิดออกนอกกรอบ ต่อยอดให้ครู นักเรียน ชุมชน ได้ทำงานออกแบบเมืองร่วมกันโดยใช้ต้นทุนอัตลักษณ์ของเราเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปเอาวัฒนธรรมจากข้างนอกเข้ามา”

ในส่วนของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ น้องแพรว - นางสาวแพรวฤทัย ศรีใจปลูก ปัจจุบันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า “หนูเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ตอนเรียน ม.6 ที่โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ได้ไปเดินเมืองกับเพื่อนๆ พี่ๆ มันเหมือนเปิดโลกใหม่ให้เราเลย ถึงแม้จะเป็นเส้นทางเดินที่เราคุ้นเคยอยู่ทุกวัน แต่พอเราได้เจาะลึกลงไป เข้าไปหาต้นตอความเป็นมา มันทำให้สิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวันมีคุณค่ามากขึ้น งานที่จัดขึ้นวันนี้พวกเราเด็กๆ เยาวชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เราออกเดินเมืองใหม่ เก็บข้อมูลใหม่ทั้งหมด จากนั้นค่อยเอามาวางแผนเป็นการเดินเมือง 3 เส้นทางเพื่อเล่าเรื่องเมืองของเราให้ทุกคนรู้จัก มันเป็นการเรียนรู้ที่สนุกมาก เพราะไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่มันคือการลงมือปฏิบัติเองจริง ๆ ได้นำเสนอในสิ่งที่เราอยากทำจริงๆ คนข้างนอกอาจมองเห็นคนชาติพันธุ์เป็นแค่คนใช้แรงงาน ไม่มีการศึกษา แต่โครงการนี้ทำให้เรารู้สึกว่าทุกคนเท่าเทียมกัน เราอยู่ร่วมกันได้แม้เราจะมีความหลากหลายแตกต่างกันค่ะ”


สองผู้นำศาสนาโลกวิพากษ์ปมรัสเซียบุกยูเครน "โป๊ป" วอน "ปูติน" ยุติสงคราม

 


สองผู้นำศาสนาโลกวิพากษ์ปมรัสเซียบุกยูเครน "โป๊ป" วอน "ปูติน" ยุติสงคราม "องค์ดาไล ลามะ"ผู้นำรัสเซียต้องการสร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นใหม่  

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565   จากเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งประเทศรัสเซีย แถลงด่วนผ่านสถานีโทรทัศน์ เมื่อก่อน เวลา 6.00 น.ของวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ตามเวลาท้องถิ่นเล็กน้อยหรือก่อน 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทยว่า “ผมตัดสินใจปฏิบัติการทางทหาร” ต่อประเทศยูเครน ขณะนี้สามารถยึดพื้นที่ได้หลายแห่งพร้อมกำลังรุกคืบเข้าไปยังเมืองหลวงของยูเครนอย่างต่อเนื่องนั้น  

สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ได้ออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานด้านมนุษยธรรมให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ต้องหนีภัยสงครามออกจากประเทศยูเครน พร้อมทั้ง ระบุว่า ผู้ที่เริ่มต้นสงครามไม่ควรหลอกตัวเองว่าพระเจ้าจะเข้าข้าง

ทั้งนี้สมเด็จพระสันตะปาปา ตรัสกับบรรดาคริสตศาสนิกชนจำนวนมากที่มารวมตัวกันพร้อมกับธงยูเครนขนาดใหญ่ ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ โดยสมเด็จพระสันตะปาปา ตรัสว่าพระองค์ทรง "หัวใจสลาย" และขอให้มีการอธิฐานเพื่อให้เกิดสันติขึ้นในวันที่ 2 มีนาคม 

สมเด็จพระสันตะปาปายัง ประณามผู้ก่อสงครามว่าลืมความเป็นมนุษย์ และคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของพวกพ้อง และว่าพระองค์ทรงเสียใจที่เห็นผู้สูงอายุ และแม่ที่ต้องลี้ภัยออกจากประเทศยูเครนด้วย 

ขณะที่รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ประทานพรในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 ที่จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งผู้คนจำนวนมากด้านล่างพากันถือและกางธงชาติยูเครน เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวยูเครน โดยโป๊ปตรัสว่า พระองค์ใจสลาย และสะเทือนใจเมื่อได้เห็นภาพที่คนแก่ชราต้องหาที่หลบภัย และแม่ที่หนีภัยออกมาพร้อมกับลูก 

"ขอให้อาวุธเงียบเสียงลง พระเจ้าทรงอยู่กับผู้สร้างสันติ ไม่ใช่กับผู้ที่ใช้ความรุนแรง" โป๊ปตรัสวิงวอน พร้อมกับทรงเรียกร้องให้จัดตั้งระเบียงมนุษยธรรมอย่าง "เร่งด่วน" เพื่อเปิดทางให้พลเรือนสามารถหลบหนี

ขณะเฟซบุ๊ก Narong Sangkhawichit พระนักศึกษาไทยที่ประเทศอินเดีย เปิดเผยว่า องค์ดาไล ลามะ ผู้นำฝ่ายจิตวิญญาณพลัดถิ่นของทิเบต ได้วิจารณ์ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียว่า "เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง" ในการสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ของเยอรมนีเมื่อวันอาทิตย์ (23) โดยกล่าวว่าปูตินดูเหมือนจะต้องการ "สร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นใหม่"

“ทัศนคติของเขาคือ 'ฉัน ฉัน ฉัน'” ดาไล ลามะ กล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าปูตินเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียจากนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง “นั่นมากเกินไปหน่อย” เขาบอกกับหนังสือพิมพ์ Welt am Sonntag "นี่คือการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางมาก"

ผู้นำชาวพุทธยังวิจารณ์รัสเซียด้วยว่า "ตอนนี้เป็นการขัดแย้งที่แย่ที่สุดกับตะวันตกนับตั้งแต่สงครามเย็น มากกว่าจีนซึ่งปกครองทิเบตตั้งแต่การรุกรานในปี 1950"  ทั้งนี้ "จีนและรัสเซีย เป็นสองกรณีที่แตกต่างกันมาก"  องค์ดาไล ลามะ กล่าว พร้อมแสดงความหวังว่า "โลกสมัยใหม่สนับสนุนให้จีนกลายเป็นประเทศประชาธิปไตย จีนต้องการเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองระดับโลก และพร้อมที่จะยอมรับกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศในระยะยาว" 

"เจ้าคุณพิมพ์" ชื่นชม "โทนี่" เรียนบาลีออนไลน์สอบ ป.ธ.1-2



วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 สมาคมมหาเปรียญและคนเรียนบาลี บาลีศึกษา เพื่อรักษาพุทธพจน์  โดย Milan Shrestha ได้โพสต์ข้อความเมื่อวันที่  26 กุมภาพันธ์  ความว่า 

"เด็กชาย โทนี่ อายุ ๙ ขวบ มาสอบบาลีศึกษา ๑-๒ ที่สนามสอบวัดพระสิงห์ เชียงใหม่  พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค ๗ ได้เมตตาให้กำลังใจ แล้วก็สอบถามว่าเรียนอย่างไร  ดช. โทนี่ ก็พนมมือตอบว่า เรียนออนไลน์ครับ พร้อมกับตอบคำถามบาลีอื่นๆ ด้วยความฉะฉานมาก ทุกคนที่ได้พบเห็นก็มีความดีใจและชื่นชมเป็นอย่างมาก 

     

พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ก็ได้เอาเรื่องเรียนบาลีของ ดช. โทนี่ เป็นตัวอย่างให้พระสงฆ์สามเณรได้พากเพียรศึกษาพระบาลี โดยไม่ท้อถอย เพราะขนาดเด็กน้อยยังสนใจเรียน และเรียนทางออนไลน์ด้วย อันนี้ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างของ ปุพเพกตปุญญตา คงเคยสั่งสมอุปนิสัยทางคันถธุระมาก่อน ถือว่าเป็นไฮไลต์ ของการสอบบาลีปีนี้ที่เชียงใหม่" 

มหาดไทยจับมือ "KMITL-สถาบันทิวา" แก้จนตามแนวพอเพียง



มหาดไทยจับมือ KMITL และสถาบันทิวา ขับเคลื่อน “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่” เพื่อขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565   นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย ได้ขับเคลื่อน “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ SEDZ” ซึ่งเป็นแนวทางที่ภาครัฐสนับสนุนการจ้างงาน โครงสร้างพื้นฐาน วัสดุอุปกรณ์พื้นฐาน และการอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ด้วยการดึงภาควิชาการมาร่วมพัฒนาและยกระดับศักยภาพ ภาคเอกชนร่วมสนับสนุน วางแผน พัฒนา และต่อยอด ให้เกิดความสมบูรณ์ของการพัฒนาพื้นที่ เกิดการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา พื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติซ้ำซาก ใช้โอกาสจากภาคแรงงานที่มีทักษะและศักยภาพที่ประสบปัญหาว่างงานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และกลับไปยังบ้านเกิด มาร่วมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า โดยเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และนายชยดิฐ หุตานุวัชร์ นายกสมาคมสถาบันทิวา โดยได้รับเมตตาจาก พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมเป็นเกียรติและแสดงสัมโมทนียกถา โดยมี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศิลปะและการออกแบบ KMITL รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารสถานบันทิวา สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และสื่อมวลชน ร่วมในพิธี

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ขอขอบคุณ KMITL ในฐานะภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ที่ได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนขับเคลื่อนงานเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุญาตให้ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล เป็นที่ปรึกษาการดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล ที่ถือเป็นผลงานของทั้งสองท่านในนามของสถาบันฯ ที่เป็นผู้นำทางปัญญาและการปฏิบัติ ทำให้สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ และยังได้รับเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี เป็นผู้นำในสังคมขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และเป็นผู้นำในเรื่องพลังงานหมุนเวียน “โคกอีโด่ยวัลเล่ย์” ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็นต้นแบบบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน เพื่อเกิดชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง 

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวต่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายอยากเห็นสังคมของไทยเต็มไปด้วยผู้ที่มีจิตอาสา ซึ่งในวันนี้ กระทรวงมหาดไทยได้มีผู้มีจิตใจเสียสละเป็นจิตอาสาภาควิชาการ ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญยิ่ง เป็นผู้นำทางปัญญาที่เป็นต้นแบบในการลงไปสัมผัส ลงไปช่วยเหลือ คลุกคลีตีโมงกับพี่น้องในต่างจังหวัดและชุมชนเมือง ทำให้เขาเหล่านั้นสามารถดูแลครอบครัว ตนเอง และสังคม เป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่สำคัญ “สถาบันทิวา” ในฐานะภาคประชาสังคม มาช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง นำเอาสิ่งที่เป็นปัญญาของสังคมที่ภาควิชาการและภาคศาสนา มาขับเคลื่อนสู่พี่น้องประชาชน เพื่อให้สังคมของพวกเราเป็นสังคมที่ผู้คนมีความสุขอย่างยั่งยืน

“กระทรวงมหาดไทยคือผู้ที่รับใช้พี่น้องประชาชนทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และพร้อมที่จะร่วมกับ KMITL สมาคมสถาบันทิวา รวมถึงท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี และภาคีเครือข่าย นำความปรารถนาดีในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะได้ร่วมกันสนองพระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์ไปสู่พี่น้องประชาชน ดังภาพวาดฝีพระหัตถ์ “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจ และความหวัง” ที่ได้พระราชทานให้กับพวกเราทุกคน สอดคล้องกับวาระ 130 ปี กระทรวงมหาดไทย ในปีนี้ “พวกเราทุกคนต่างมุ่งมาดปรารถนาที่จะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อย่างเต็มกำลังความสามารถ ให้บังเกิดผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้น เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ พี่น้องประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน”” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ

ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย กล่าวว่า KMITL มีความยินดีและเต็มใจอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย ขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่ง KMITL มีวิสัยทัศน์เป็น Master of Innovation ที่สร้าง Impact ให้กับประเทศไทย ทั้งด้านการศึกษา การวิจัย การพัฒนาอุตสาหกรรม และที่สำคัญที่สุดคือ ภาคสังคม โดยที่ผ่านมา เราประยุกต์ทฤษฎี Quadruple helix Model 4 ส่วน คือ 1) ภาคราชการ ทำให้เราลงไปขับเคลื่อนงานในพื้นที่ได้มากขึ้น 2) ภาคเอกชน ขยายผลต่อยอดการทำงานเดิมที่สำเร็จแล้วให้เกิดความยั่งยืน 3) ชุมชน/ท้องถิ่น (Local community) ด้วยความร่วมมือของประชาชน และ 4) วัด (ภาคศาสนา) ศูนย์รวมของชุมชน เพื่อให้นำองค์ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย ไปทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งในหลายโครงการที่ผ่านมา ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติจริง ทำให้เกิดกระแสในชุมชน อันทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนเกิดเป็นรูปธรรม ดังปณิธานของกระทรวงมหาดไทยที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดย KMITL จะมุ่งพัฒนานวัตกรรมให้เป็น The Master สานต่อพลังความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยและสถาบันทิวา เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ก้าวเดินไปข้างหน้า ให้คนเข้าใจ ศรัทธา และลงมือทำ อันจะเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน

นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ กล่าวว่า สถาบันทิวา มีความตั้งใจและมีแนวทางการทำงานในการแปลงภาคธุรกิจ เป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise Community) ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้ร่วมกับท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษาฯ ขับเคลื่อนงานโคก หนอง นา โมเดล และกำลังจะต่อยอดสู่การขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นความหวังของประเทศ ในการฟันฝ่าความยากลำบากของประชาชนในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตประเทศจากโรคโควิด-19 ที่เราไม่ได้ตั้งตัว และสังคมจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ ดังนั้น หัวใจสำคัญ คือ ต้องทำให้พี่น้องประชาชนที่กลับไปยังบ้านเกิดได้ใช้ชีวิตที่บ้านอย่างมีความสุข ระบบการศึกษาต้องปรับวิธีคิดให้คนกลับไปทำงานที่บ้านเกิดได้อย่างมีความสุข วิกฤตในตอนนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาทำให้เกิดคุณประโยชน์กับประเทศชาติ ด้วยการบูรณาการเชื่อมโยงภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้เกิดความยั่งยืนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ซึ่งถือเป็นภาคที่มีความคล่องตัวสูงในการสนับสนุนงานของภาครัฐ โดยเราจะร่วมมือกันสร้างสิ่งที่ขาดหายไปในสังคม นั่นคือ “ความไว้วางใจ (Trust)” ของรัฐต่อพี่น้องประชาชน และต่อนักธุรกิจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ขับเคลื่อนสังคมด้วยกลไกกระทรวงมหาดไทยที่มีในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

โอกาสนี้ พระปัญญาวชิรโมลี ได้กล่าวสัมโมทนียกถา ความว่า อาตมามีความเต็มใจมากที่รับเป็นที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อร่วมขับเคลื่อนการทำงานสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน ดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวว่า “เราอนุญาตให้พวกท่านจาริกไปเพื่อประโยชน์ของหมู่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของมนุษย์และเทวดา” ซึ่งสิ่งที่กระทรวงมหาดไทย KMITL และสถาบันทิวา ได้ทำ นับเป็นประโยชน์ของมหาชนเป็นอันมาก ทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ดังปณิธาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทั้งนี้ การคบคนดีย่อมสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำตอนนี้ทำเพื่อประเทศชาติ ทำเพื่อส่วนรวม ทุกคนมีความเสียสละตนเอง มีธรรมะ มีธรรมทาน มีการชักชวน มีคำพูด มีการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ต่อมหาชนเป็นอันมาก การเผยแพร่ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่ต้องลังเลว่าผิดหรือถูก เพราะเจตนาที่ทำ ที่มาเจอกัน เป็นการปฏิบัติตนเป็นคนดี เป็นแบบอย่างผู้นำ แบบอย่างการทำงาน แบบอย่างการเสียสละให้เกิดขึ้นในองค์กรนี้ และประการสำคัญ ทุกคนที่มาวันนี้ต่างร่วมกันมองไปถึงความยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางของความเจริญ ผู้รับธรรมย่อมเจริญ และนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญ”

รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ กล่าวว่า นับเป็นโชคดีที่ได้รับโอกาสในการทำงานสนองพระบรมราชปณิธานและพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักวิชาการ ข้าราชการบำนาญ และประชาชนคนหนึ่ง ที่มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาประเทศ และลุกขึ้นมาช่วยในจุดเล็ก ๆ โดยใช้ความรู้ของครูบาอาจารย์และความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง สร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับประเทศชาติ โดยทุกลมหายใจคิดเสมอว่า จะทำอย่างไรให้ลูกศิษย์ของเราได้เข้าใจและนำไปปฏิบัติ ทำอย่างไรให้เพื่อนฝูง มิตรสหายได้มีความสุข และช่วยกันสร้างสิ่งดีงาม และแม้ว่าการขับเคลื่อนฯ จะมีขั้นตอนการทำงานหลากหลายชั้น แต่ความร่วมมือในวันนี้เป็นนิมิตหมายอันดีมากที่เราจะก้าวเดินไปด้วยกัน แม้ว่าหนทางการขับเคลื่อนจะเหนื่อยแต่เราก็มีความสุข และนับเป็นเมตตาบารมีจากท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์วชิโรภาสและท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี ที่มาเสริมเติมให้หัวใจเต็มไปด้วยพลังอันเปี่ยมล้นในการพัฒนาประเทศ เราจะทำให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sufficiency Economy Development Zones for Sustainable Development Goals (SEDZ for SDGs)) เราจะเริ่มต้นอย่าง Local ทำให้เกิดการพัฒนาสู่ Global ด้วยการทำให้พี่น้องประชาชนร่วมกันทำอย่างจริงจัง ยึดสิ่งที่พระองค์พระราชทานไว้ คือ “สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนไทย” ให้ทุกองคาพยพพัฒนาประเทศไปพร้อมกัน

ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล กล่าวว่า การลงนาม MOU ในครั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมกันอธิษฐานจิตในการทำงาน เราจะมองปัจจุบันและก้าวต่อไปในวาระ 130 ปีกระทรวงมหาดไทย คนมหาดไทยเป็นความหวัง เป็นที่พึ่งของสังคมไทย เราจะต้องพิสูจน์ให้เป็นจริงว่าสิ่งที่เราจะก้าวต่อไปเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ เป็นการยกระดับการพัฒนาพื้นที่จากรายย่อย ที่สำคัญมาก คือ “การเปลี่ยนแปลงคน” ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงพื้นที่ การที่เราสามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีใจพัฒนาคนขึ้นมาได้ ทำให้พวกเขาเหล่านั้นไปพัฒนาพื้นที่ ดูแลพื้นที่ ดิน น้ำ ป่า ให้สมบูรณ์ขึ้น เมื่อประชาชนรายย่อยรวมเป็นรายใหญ่ จะทำให้เกิดการพัฒนาที่กว้างขวาง นำไปสู่เขตเศรษฐกิจพอเพียง ดังทฤษฎีใหม่ทั้ง 3 ขั้น คือ 1) ขั้นพื้นฐาน “ระดับครัวเรือน”  2) ขั้นกลาง “ระดับชุมชน” ผ่านโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”  40,000 กว่าแปลงทั่วประเทศ นำไปสู่ 3) ขั้นก้าวหน้า “ระดับพื้นที่” ซึ่งในขณะนี้ ทุกจังหวัดได้สำรวจพื้นที่เข้าร่วม SEDZ 300,000 กว่าไร่ ภายในเดือนเดียว ดังนั้น การที่เราจะทำให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงสำเร็จได้ ทุกภาคีเครือข่ายต้องร่วมกันขับเคลื่อนงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

รองผู้ว่าฯศรีสะเกษร่วมพิธีมอบรางวัลคนดีศรีสะเกษ


วันที่ ๒๖  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร   รายงานว่า วันนี้(๒๖ก.พ.) พระราชกิตติรังษี  ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐  เจ้าอาวาสวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม  จังหวัดศรีสะเกษ   เป็นประธานมอบรางวัลคนดีศรีสะเกษ พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษร่วมด้วย ที่วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต)   จังหวัดศรีสะเกษ 

ในการนี้ พระราชกิตติรังษีมองว่าคนดีศรีสะเกษมีจาก ๓ ดี ประกอบ  ๑) ดีงาม มีความดีงามงดงามเป็นต้นแบบในการประพฤติปฏิบัติ  ๒) ดีทำ  ในการทำหน้าที่สมบูรณ์แบบในบริบทต่างๆ ผ่านการทำการปฏิบัติ  ๓) ดีนำ เป็นผู้นำในการลงมือทำในความดีต่างๆ    




ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ คปศ. มูลนิธิพศช.และองค์กรเครือข่าย ได้พิจารณาสรรหาองค์กร บุคคล ที่อุทิศตน และทำความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมมาด้วยดีตลอด เพื่อรับโล่เชิดชูเกียรติ “คนดีศรีสะเกษ” ประจำปี ๒๕๖๓ เพื่อส่งเสริมให้บุคคล องค์กร ทำความดี และเป็นแบบอย่างให้แก่สังคม ซึ่งการดำเนินการได้เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น โดยมีพระสงฆ์ ๒ รูป ซึ่งเป็นชาวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้บริหารและคณาจารย์ของ มจร 


๑) #พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์  (พระมหาหรรษา ธัมมฺหาโส) ปธ.๖  ศ.ดร.ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพฯ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร พัฒนาหมู่บ้านท่าคอยนางเป็น “หมู่บ้านช่อสะอาด” สร้างศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโมเดล ที่บ้านท่าคอยนาง  อำเภอปรางค์กู่ จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ


๒) #พระครูปลัดอดิศักดิ์_วชิรปญฺโญ ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เจ้าอาวาสวัดสารอด  เขตราษฎร์บูรณะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) เพื่อการศึกษา ศาสนาและชุมชน สร้างศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโมเดล  โดยใช้ “บวร”บ้าน/วัด/โรงเรียน ขับเคลื่อนในการพัฒนา  จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ


ถวายรางวัลยกย่องเชิดชูคนดีศรีสะเกษ ในวันเสาร์ที่  ๒๖ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕  เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองศรีสะเกษ  จังหวัดศรีสะเกษ  ในนามหลักสูตรหลักสันติศึกษาขอมุทิตาในรางวัลอันทรงคุณค่าในการนำธรรมลงไปทำ "สาขาพระสงฆ์นักพัฒนา" พัฒนาด้านกายภาพ  พัฒนาด้านพฤติภาพ พัฒนาด้านจิตภาพ และพัฒนาด้านปัญญาภาพในชุมชนอย่างแท้จริง  


วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"อ.สันติศึกษา มจร" รับมอบป้ายศูนย์! "บิ๊กตู่" ขออนุโมทนาพระสงฆ์ ร่วมงานเปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้


เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565  เวลา 10.00 น. ที่ห้องภิรัชฮอลล์ 1-3 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้บริหาร และประชาชนเข้าร่วมงาน


ทั้งนี้ช่วงท้ายของการกล่าวเปิดงาน ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้หันไปกล่าวกับพระสงฆ์ด้านหน้าที่มาร่วมงาน ว่า" ขออนุโมทนาสาธุ และกำลังใช้ธรรมะข่มใจอยู่ และถึงเวลาขอเปิดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 ณ บัดนี้" 

ต่อมา พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร. เจ้าอาวาสวัดสารอด ประธานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (2) แขวงราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว" Adisak Pimnon" ความว่า ในนามศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (2) แขวงราษฎร์บูรณะ ตั้งอยู่ ณ วัดสารอด แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ได้เข้าร่วมงาน “สังคมสมานฉันท์ สร้างวัฒนธรรมการไกล่เกลี่ย” และรับป้ายศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน #จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร 

"เลขาฯศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร" เสนอแนวป้องกันการเป็นหนี้วิถีพุทธสันติวิธี

 


ขณะที่พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขาฯศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ได้เสนอว่า ปัจจุบันมีการไกล่เกลี่ยหนี้ มีผู้คนเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นนโยบายที่ดีในการหาทางออกร่วมกัน โดยการเป็นหนี้ของแต่ละคนย่อมมีเหตุผลมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน โดยการเป็นหนี้นำมาซึ่งการเป็นทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า อิณาทานํ ทุกขํ โลเก (อ่านว่า-อินาทานัง ทุกขัง โลเก) แปลว่าการเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก 


สอดรับกับคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องสุขของคฤหัสถ์ หรือ คิหิสุข สุขของชาวบ้าน, สุขที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้สม่ำเสมอ, สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี ประกอบด้วย 

1)อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม 

2)โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์ 

3)อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร

4)อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยในบรรดาสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด


การไม่เป็นหนี้จะต้องไม่พึ่งพาระบบแต่มีการพึ่งพาตนเอง อะไรคือความมั่นคงที่แท้จริง ? เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบในชาตินี้ ใครที่สามารถพึ่งตนเองได้จะไม่ทุกข์มากนักแม้ในสถานการณ์ของโรคโควิด จะมีความมั่นคง แต่ระบบการศึกษาของเราไม่ได้สอนให้เราพึ่งพาตนเอง แต่พยายามมุ่งสอนให้เราพึ่งระบบเงิน ระบบธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง พอระบบเหล่านี้มีปัญหาระบบขัดข้องหยุดนิ่ง เราต่างได้รับผลกระทบเหมือนกัน เราจึงต้องสร้างความมั่นคงทางปัจจัย ๔ โดยเฉพาะความมั่นคงทางอาหาร ชีวิตต้องกลับไปหารากคือ ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต จงสร้างความมั่นคงมีอิสรภาพของชีวิตอย่างแท้จริง


ถ้าเรามัวแต่พึ่งระบบต่างๆ พอเจอสถานการณ์ของโควิดทำให้บุคคลที่มีความฉลาดที่สุดต้องมีความทุกข์ เพราะระบบกระทบชีวิตก็กระเทือนเช่นกัน ทำให้คนตกงาน ขาดรายได้ ทำให้คนมีความเครียด เก็บกด กดดัน หนี้สิน ซึ่งในอนาคตอาจจะเกิดวิกฤตเกี่ยวกับเงินเพ้อ สงคราม พายุ ไฟฟ้า พลังงาน ถือว่าเป็นระบบส่งผลต่อชีวิต เรียกว่า  "กระทบระบบกระเทือนชีวิต" ทำอย่างไรเราจะขยับห่างออกจากการพึ่งระบบให้น้อยลง แล้วพึ่งตนเองให้มากขึ้น แม้ระบบมีปัญหาจะกระทบชีวิตของเราน้อยลง ถ้าพึ่งตนเองได้ปัญหาจะน้อยลง อย่างน้อยเราสามารถทำมาหากินได้ พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ผู้ที่มีฐานทางทรัพยากรจะทำให้ชีวิตมีความสุข เราจึงต้องมีฐานหลักของชีวิตให้มีความมั่นคงให้ตนเองกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด สดชื่นเบิกบานใจ จงพึ่งพาระบบให้น้อยลง แล้วหันมาพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ด้วยการออกไปสร้างโมเดลของชีวิตอย่างแท้จริง แม้กระทบระบบจะไม่กระเทือนต่อชีวิต เพราะจุดอ่อนของระบบการศึกษาจะไม่ได้สอนให้เราพึ่งตนเองมุ่งให้เราพึ่งพาเพียงระบบเท่านั้น

จงกระตุ้นให้ตนเองมี Self Motivation ให้เราสามารถกระตุ้นตนเองได้ ให้มี Growth Mindset พร้อมที่จะเติบโตภายนอกและเติบโตภายใน แต่จงห่างจากบุคคลที่มี Loser Mindset จะเป็นคนขี้แพ้ตลอดปี คำว่า #Loser_Mindset สะท้อนถึงกาลเวลาล่วงเลยไปพฤติกรรมการกระทำของเรายังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลง จะอยู่แบบผู้ชนะหรือจะอยู่แบบผู้แพ้ ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้คือ เงิน อันเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเผาเงินทิ้งเกิดจาก Loser Mindset อันหมายถึง #เป็นความคิดของคนขี้แพ้หรือไอ้ขี้แพ้ จะมีแนวโน้มพฤติกรรมที่จะเผาเงินทิ้ง เป็นหนี้มีความทุกข์ ด้วยพฤติกรรม 5 ประการ คือ  


1) #เล่นหวยล็อตเตอรี่  โอกาสในการถูกรางวัลถือว่าเป็นหนึ่งในล้าน เพราะมีเลขหกหลัก ทุกครั้งที่เราเล่นหวยล็อตเตอรี่เรากำลังจะบอกว่าเราคือคนขี้แพ้ เพราะเราไม่สามารถสร้างเงินได้ด้วยตนเอง จึงต้องหวังพึ่งโชคชะตาและพึ่งดวง กำลังจะบอกว่าตนเองไม่มีความสามารถไม่มีศักยภาพ สมองไม่มีความสามารถจะสร้างเงินด้วยตนเอง จงสร้างรางวัลที่หนึ่ง ด้วยหนึ่งสมองและสองมือของเราเอง ซึ่งถ้าแปลความหมายออกมา ห คือ หายนะ ว คือ วอดวาย ย คือ ยับเยิน หวยจึงเป็นเพียงความน่าจะเป็น แต่ที่เห็นในปัจจุบันคือ "ความน่าจะจนมากกว่ารวย" 


2) #ซื้อของเพื่ออวดคนอื่น  ชอบใช้เงินที่เราไม่มีเพื่อซื้อของในสิ่งที่เราไม่อยากได้  เพื่ออวดคนที่เราไม่ชอบหน้า เรามักจะใช้เงินอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเงินจากบัตรเครดิต เงินยืมคนอื่นมา เพื่อซื้อของอวดคนที่เราไม่ชอบ ความจริงแล้วเป็น Loser Mindset กำลังจะบอกว่าเรามี #ความรักตนเองที่ต่ำ เราจะรักตนเองได้เมื่อเราจะชนะใครบางคน เพื่อให้เหนือคนอื่น ถือว่าเป็นพฤติกรรมขี้แพ้ จึงย้ำว่า ของมีไว้ใช้กับมีไว้โชว์ คุณค่ามันต่างกัน จงมีไว้ใช้เพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุด  


3) #ซื้อเหล้าซื้อบุหรี่  แสดงเราไม่สามารถควบคุมตนเองได้ อนาคตเราจะเป็นผู้นำแค่ตัวเราเอง เรายังไม่สามารถควบคุมได้ แล้วเราจะสามารถคุมใครได้ ขนาดสุขภาพของตนเองเรายังไม่สามารถรักได้ แล้วเราจะสามารถรักใครได้ ถือว่าเป็น Loser_Mindset สุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในชีวิต ขนาดชีวิตตนเองเรายังไม่รักแล้วเราจะไปรักชีวิตใครได้ จงหลีกเว้นจากอบายมุขทั้งปวง  


4) #การลงทุนแบบไม่มีความรู้  สมการของโลกนี้คือ เราต้องมีความรู้จึงนำไปสู่ความสำเร็จหรือความร่ำรวยได้  แต่มีคนพยายามบอกว่าไม่ต้องมีความรู้แต่สามารถไปสู่ความร่ำรวยได้คือ แชร์ ลูกโซ่ มีการถูกหลอกมากมาย เพราะเรามีความเชื่อว่าไม่ต้องมีความรู้แต่สามารถไปสู่ความร่ำรวยได้ แชร์ลูกโซ่จึงทำขึ้นมาเพราะเป็นจุดอ่อนของผู้คน ว่า ไม่ต้องมีความรู้ใดๆ หรือ ไม่ต้องมีความรู้เพียงมีเครื่องลางของขลังก็สามารถรวยได้ ความรู้จึงเป็นทุนเพื่อเป็นฐานไปสู่ความสำเร็จ อย่าลงมือทำอะไรโดยไม่มีการทบทวนวรรณกรรม  


5) #ให้คนอื่นยืมเงิน การที่บุคคลหนึ่งไปให้คนอื่นยืมเงินนั้น เพราะเขาต้องการการยอมรับจากผู้คนต่างๆ ถือว่าเป็น Loser Mindset เพราะต้องการให้คนอื่นยอมรับตนเองตลอดเวลา เพราะเราไม่สามารถยอมรับตนเองได้ สรุปคนให้ยืมโง่หรือคนยืมโง่ ง่ายเวลาให้ยืมและยากเวลาใช้คืน มิตรภาพล้มสลายนับตั้งแต่วินาทีที่ให้คืนไม่ตรงเวลา จึงเป็นความยากมากที่เราจะได้เงินคืน 


ดังนั้น Loser Mindset จึงเป็นความคิดของคนขี้แพ้ จึงควรหยุดพฤติกรรมการเผาเงินทิ้ง การเป็นหนี้ จงมีสติในการใช้ชีวิตและการทำงานจงหลีกเลี่ยง 5 พฤติกรรม มีการบริหารเงินที่ดี ชีวิตจะนำไปสู่ความสุข จึงต้องมีการ Self Motivation เป็นการกระตุ้นตนเองให้ห่างจาก Loser Mindset จงเข้าใกล้ Growth  Mindset จงใช้ชีวิตพออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น พอแบ่งปัน ไม่ขัดสน เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย มีความมั่นคงทางด้านอาหารและมีความมั่นคงทางด้านจิตใจ จะนำไปสู่ความมั่นคงทางด้านชีวิตตลอดไป     

นายกสมาคมปกป้องพุทธค้าน ส.ส.เสนอร่างแก้ไขกม.ปมวิพากษ์วิจารณ์ศาสนา


เมื่อเมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565  เวลา 10.50 น. ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น1(โซนกลาง) อาคารรัฐสภา น.ส. ผ่องศรี ธาราภูมิ  ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  รับยื่นหนังสือจาก  น.ส.พาศิกา  สุวจันทร์  นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา เรื่อง ขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ และขอแก้ไขเพิมเติ่มประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206/1 และมาตรา 206/2 โดยขอให้ทบทวนและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชนในชาติ  เพราะพระพุทธศาสนาเป็นความศรัทธาของประชาชน ซึ่งประชาชนจะมีการบันทึกภาพ และวิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนาตามความคิดเห็นของประชาชน แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะต้องมีการตีความว่า ภาพ หรือการวิพากษ์วิจารณ์ใดเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นพระพุทธศาสนา  และมีการระบุโทษด้วย ซึ่งการแก้ไขกฎหมายนั้นควร สอบถามประชาชน และขอข้อเสนอแนะจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก่อน 

ด้าน น.ส. ผ่องศรี กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวดำเนินการกระบวนการตามขั้นตอน และนำกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากล่าสุดนายสุพจน์ อาวาส โฆษกพรรคประชาชาติ กล่าวเรื่องการให้ความสำคัญกับการยื่นขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งอาจมีการใช้ถ้อยคำที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือ เคลือบแคลงสงสัยในเจตนารมณ์ จึงขอ อธิบายเหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206/1 และ มาตรา 206/2 ว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา กรณีการลบหลู่หรือ เหยียดหยามในประการที่น่าจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนา ตามที่ทราบกันโดยทั่วกัน และมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง หรือ มี เหตุผล ตลอดจน ความจำเป็นในการเสนอกฎหมายฉบับนี้ รวม 3 ข้อ ประกอบด้วย

ข้อ 1. บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกลียดชังในสังคม" และ หมวด 6 แนวนโยบาบแห่งรัฐ มาตรา 67 กำหนด "ให้รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกใน พ.ศ.2560

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมาตรา 31 กำหนด (ว่า) "บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและ หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 (6) กำหนด "ให้บุคคลมีหน้าที่เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใดและพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย"

ข้อ 2. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นข้อมูลเท็จที่มีลักษณะลบหลู่ เหยียดหยามคำสอนและศาสดาของศาสนาที่เป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนในประเทศกันอย่างกว้างขวาง อันอาจให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐและความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนรวม

"ปัจจุบันมีบุคคลและกลุ่มบุคคลบางกลุ่มใช้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนเองก่อให้เกิดความแตกแยก ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จมีลักษณะ ลบหลู่ และเหยียดหยามคำสอนและศาสดาของศาสนาที่มีหมู่ชนจำนวนมากเลื่อมใสศรัทธาเคารพนับถือ

ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเกลียดชังกันหมู่ของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐและเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้ง เป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นในการนับถือศาสนาและการประกอบพิธีกรรมตามหลักความเชื่อตามหลักการทางศาสนาของตน

พฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลดังกล่าว มีการเจตนาเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ ใส่ความ บิดเบือนเกี่ยวกับเนื้อหาคำสอนของศาสดาของศาสนาบางศาสนา การเผยแพร่ข้อความอันเป็นความเท็จดังกล่าวทำให้ประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารนั้นหลงเชื่อ ทำให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาที่ถูกใส่ความ บิดเบือน ลบหลู่ หรือ เหยียดหยามได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ของประชาชนภายในประเทศ เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ ประกอบกับประมวลกฏหมายอาญาซึ่งเป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก

ยังไม่มีบทกำหนดโทษผู้กระทำการลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยามศาสนาไว้เป็นการเฉพาะ ต่างกับที่กฏหมายอาญาได้กำหนดโทษผู้กระทำความผิดฐาน ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาไว้ในมาตรา 326 และมาตรา 328 เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่บุคคลอื่นจะละเมิดมิได้ไว้อย่างชัดเจน "

ข้อ 3. เนื้อหาสาระสำคัญของร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้

"ร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาฉบับนี้ เป็นการเพิ่มเติมมาตรา 206 เป็นมาตรา206/1 และมาตรา 206/2 สำหรับมาตรา 206 เป็นมาตราอยู่ในลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนาซึ่งมีบทบัญญัติว่า " ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางดทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือรับตั้งแต่สองพันบาทถีงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในมาตรา206 นี้ กฏหมายบัญญัติไว้เฉพาะมีการกระทำละเมิดต่อวัตถุหรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนเท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงการลบหลู่ เหยียดหยามศาสดา และคำสอนของศาสนาที่เป็นที่เคารพของหมู่ชนใดด้วย จึงยังเป็นช่องว่างของกฏหมายที่ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มไปละเมิดสิทธิของ บุคคลอื่นด้วยการลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยาม ศาสนาของหมู่ชนที่เขานับถือศาสนาของตน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง และเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ

และมาตราที่เพิ่มเติม คือ มาตรา 206/1 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆที่เป็นการลบหลู่หรือเหยียดหยามหรือในประการที่น่าจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

อนึ่ง รายละเอียดในมาตรานี้ มีสาระสำคัญตรงกันกับ มาตรา 326 การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา รวมทั้งบทกำหนดโทษที่มีอัตราโทษเท่าเทียมกันกับมาตรา 326

"ส่วนมาตรา 206/2 บัญญัติว่า 'ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนาได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆแผ่นเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพหรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียงหรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" และรายละเอียดในมาตรานี้ มีสาระสำคัญตรงกันกับ มาตรา 328 คือการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาด้วยการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่มีอัตราโทษเท่าเทียมกันกับมาตรา 328 "

ทั้งนี้ ขอเรียนเพิ่มเติมว่า "คณะกรรมการบริหาร รวมถึง คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาชาติ ตระหนักถึงความรู้สึกและความเข้าใจของพี่น้องประชาชนทุกศาสนิก ตลอดจน ภาคีและพันธมิตรทางการเมืองที่ร่วมกันต่อสู้เชิงประเด็นต่างๆมาโดยตลอด พร้อมทั้ง ขออภัยที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ อีกทั้ง ขอยืนยันอีกคำรบหนึ่งว่า การต่างๆ ทั้งหมด

เป็นการปกป้องและป้องกันสิ่งที่ไม่บังควรที่เกิดขึ้น หรือ อันอาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างของ 'สังคมพหุวัฒนธรรม' " นาย สุพจน์อาวาส กล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"สภามหาวิทยาลัย มจร" มีมติมอบ-ถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ "ชวน-ปลัดมท.-หลวงพ่อพัฒน์"

 


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ในฐานะอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นประประธานการประชุมประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี มจร  พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร   พร้อมด้วยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณารายชื่อ ผู้สมควรได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และเข็มเกียรติคุณประจำปีพุทธศักราช 2565  จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


พระเทพปวรเมธี   ในฐานะเลขานุการสภามหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงมติที่ประชุมว่า  การมอบปริญญากิตติมศักดิ์และเข้มเกียรติคุณของ มจร ปีนี้ โดยพิจารณาจากบุคคลหลากหลายอาชีพ ทั้งคณะสงฆ์และฆราวาส เน้นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคม ปีนี้คณะกรรมการมีมติมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 64 รูป/คน   มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน  2  รูป/คน และเข็มเกียรติคุณอีก  56  รูป คน

“สำหรับพระสงฆ์มีทั้งต่างประเทศ เช่น สังฆราชประเทศเมียนมา,ประเทศลาว ส่วนในประเทศ  อาทิ พระเทพโสภณ เจ้าคณะภาค 8 วัดราชบูรณะ กรุงเทพมหานคร  พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวั ดนครราชสีมา พระเทพวัชรเมธี อธิการมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มมร)  พระราชปัญญาเมธี (สมชัย กุสลจิตฺโต) พระราชมงคลวัชราจารย์ (หลวงพ่อพัฒน์)   วัดห้วยด้วน จังหวัดนครสวรรค์ พระกิตติโสภณวิเทศ เจ้าอาวาสวัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร พระมหาธรรมทส ขันติพโล เจ้าอาวาสวัดตะโก (วัดหลวงพ่อรวย ) จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น 

ในส่วนของฆราวาส อาทิ นายชวน หลีกภัย  ประธานรัฐสภา   นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ (ปลัดเก่ง)  ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี  ประธานกรรมการบริหารไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นายพินิจ จารุสมบัติ  นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย -จีน,อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี จำกัด (มหาชน) และนายวิรัช ชินวินิจกุล อดีตรองประธานศาลฏีกา  ผู้ร่วมบุกเบิกหลักสูตรสาขาสันติศึกษา มจรเป็นต้น สำหรับวันมอบวันไหนทางสภามหาวิทยาลัยจะต้องประเมินสถานการณ์ร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งเราจะต้องปรึกษาร่วมกับหลายฝ่ายทั้งคณะสงฆ์ ฝ่ายการเมือง และท้องถิ่น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 นั่นเอง..” พระเทพปวรเมธี กล่าว

ส.ว.ชำแหละปมฉุดรั้งแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากไม่สำเร็จ



“ส.ว.อภิชาติ” ชำแหละปมฉุดรั้งแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากไม่สำเร็จ สับระบบราชการล้าหลังสั่งการเหมือนตัดเสื้อโหลให้ท้องถิ่นทั้งที่ปัญหาแตกต่างกันทำให้ปัญหาวนในอ่างซ้ำซาก ชี้แก้ความยากจนไม่ได้เพราะติดกับดับชุมชนมีรายได้จากผลิตภัณฑ์น้อยกว่าพ่อค้าคนกลางหลายเท่าตัว

ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2565 นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ รองประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา และอดีตอธิบดีกรมการการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2558-2561) ได้อภิปรายรายงานฯเรื่อง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานราก โดยระบุในฐานะที่เป็นอดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทยที่เคยทำงานในพื้นที่มี 3 ประเด็นที่ขอเรียน คือ ประเด็นแรก สภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่เราทำงานอยู่ในพื้นที่ชุมชนก็จะพบมีคนอยู่ 4 กลุ่มที่ทำงานท้องที่คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส่วนท้องถิ่น คือนายก อบต. ส่วนท้องทุ่ง คือ NGO หรือ ภาคประชาสังคม และหน่วยข้าราชการที่อยู่ในพื้นที่คือ หมอ หรือ ครู ซึ่ง 4 คน 4 กลุ่มเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ และมีข้างหลังคือเจ้านาย ถ้าเราไม่ตระหนักในเรื่องนี้จะเห็นว่าชนบทเราส่วนใหญ่ตัดเสื้อโหลคือถูกสั่งมาจากกรมลงไปจังหวัดและลงไปอำเภอ ก็จะเป็นแพตเทิร์นเดียวกันหมด เพราะฉะนั้นจะเกิดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ทำลายชุมชนโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะชุมชนไม่ได้คิดเอง ส่วนใหญ่ก็จะ Copy กันลงไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรียนว่า Supply Chain ในกระบวนการผลิต ได้แก่ หนึ่งการผลิต สองยกระดับคุณค่ามาตรฐานให้ได้มาตรฐาน สามต้องให้มาตรฐานเช่น GI หรือ มผช. หรือ ฯลฯ สี่เชื่อมโยงตลาดให้ได้ และประการสุดท้ายเกิดธุรกิจใหม่ แต่ที่เราทำมาเป็น 10 ปีส่วนใหญ่ทำอยู่ 2 เรื่องกระบวนการผลิต และยกระดับให้ได้มาตรฐาน แต่ต่อไม่ครบห่วงโซ่คุณค่า ชาวบ้านก็วนเวียนในเรื่องการพัฒนาสภาพการทำงานในพื้นที่เป็นอย่างนี้มาโดยตลอด

ประเด็นที่ 2 ยังมีกับดักซึ่งเราไม่ค่อยคำนึงถึง แต่เป็นตัวแปรที่สำคัญมาก กับดักในที่นี้ก็คือ เป็นงานวิจัยของ สกว. เราทำอยู่ 8 จังหวัดใช้งบประมาณไป 30 กว่าล้านบาท ทำเรื่อง OTOP คือ สมัยเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผมอยากรู้ว่า OTOP 16 ปีที่ผ่านมารายได้จาก OTOP เราไม่เคยทะลุ 1 แสนล้าน แต่เราทำเพียง 2 ปี (2560-2561) ทะลุมา 1 แสน 9 หมื่นล้าน ซึ่งผมอยากรู้จริงๆว่าชาวบ้านได้ประโยชน์จริงหรือเปล่าได้ประโยชน์และเท่าไหร่ จึงให้ สกว.ช่วยทำวิจัย เราอยากรู้ Margin คือผลกำไรจากกระบวนการผลิตทั้งหมดหนึ่งผู้ผลิต คือ ชาวบ้าน สองคือตรงกลางน้ำมีคนเล่นอยู่ 4 คน 4 กลุ่ม คือคนกลาง นักแปรรูป คนรวบรวมสินค้า และคนขาย และมาถึงผู้ซื้อคือปลายน้ำ ผลงานวิจัย 8 จังหวัดที่ทำออกมาตรงกันก็คือ ผู้ผลิตคือชาวบ้านได้ Margin 2 - 5 % ส่วนอีก 95 % ไปอยู่ตรงกลาง แต่ไม่ได้หมายความคนเหล่านี้ได้กำไรเยอะ เพราะเขาลงทุนเยอะก็ได้กำไรเยอะ แต่ถ้าเรามองไม่เห็นกับดักตรงนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือเราแก้ปัญหาความยากจนให้กับพี่น้องประชาชนไม่ได้ เพราะติดกับดักตัวนี้ Margin ได้แค่ 2-5 % ผมดูผลงานวิจัยผมยังตกใจว่าได้เงิน 2 แสนล้านของ OTOP กลับไปให้ประชาชนจริงๆไม่ถึง 5 % อันนี้เป็นงานวิจัยที่มีผลรองรับในปี 2561

ประเด็นสุดท้ายคือรูปแบบการแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจฐานรากมีอยู่ 5 มิติใหญ่ในปี 2540 เราเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตอนนั้นเรากู้เงิน IMF สิ่งที่เกี่ยวข้องคือธนาคารโลกเข้ามาถามว่าประเทศไทยจะแก้วิกฤตเศรษฐกิจอย่างไร เศรษฐกิจฐานรากคนข้างบนยังเอาตัวรอดได้ แต่ข้างล่างขอทราบแผนแม่บทในเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยในปี 2540 ผลออกมามีอยู่ 5 มิติที่เขาเสนอแนะโดย World Bank ทำร่วมกับสภาพัฒน์ เมื่อปี 2540 ขณะนี้ที่นำเรื่องนี้มาเพราะเราก็กำลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจย้อนกลับมาอีก โดย 5 เรื่องที่เขาเสนอให้ทำทันทีก็คือ หาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ไปถึงประชาชนกรมชลประทานทำมา 60 ปี ได้น้ำแค่ 22 % พื้นที่เกษตรบ้านเรา 130 ล้านไร่ ขณะนี้มีระบบชลประทานในพื้นที่การเกษตรแค่ 30 ล้านไร่ อีกร้อยกว่าล้านไร่ทำนาฤดูฝน ปัญหาคือชาวบ้านจน เศรษฐกิจฐานรากไปไม่ได้ เพราะรอทำการเกษตร 4 เดือนอีก 8 เดือน ชาวบ้านหลบเข้ามาในเมือง เรื่องที่ 2 ที่เขาแนะนำให้ทำก็คือ เศรษฐกิจเกษตรคุณภาพสูง เราทำนากันมานานตั้งแต่ผมเป็นเด็ก ชาวนาก้มก้มปลูกข้าวปวดหลังปลูกข้าวมา 60 ปี แต่ที่เวียดนามชาวนายืนปลูกข้าว เพราะเขามีนวัตกรรมใช้เหยียบ เรื่องที่ 3 อาชีพนอกไร่นา ต้องไปดูมิติอันนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องเที่ยวการให้บริการ เรื่องที่ 4 คือหนี้สินและสินเชื่อกองทุนต่างๆจึงเกิดขึ้นในชนบท เพราะเห็นแล้วว่าถ้าไม่มีกองทุนจะไม่มีปัจจัยที่เพิ่มผลผลิตได้ และเรื่องสุดท้าย คือ การรวมกลุ่มพี่น้องประชาชนมีข้อมูลวิสาหกิจชุมชนที่เราศึกษา 86,611 แห่ง ที่จดทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ ไม่เคยประกอบกิจการ 56,292 แห่งคิดเป็น 65 % และเคยประกอบกิจการ 31,000 กว่าแห่งคิดเป็น 35 % ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือถ้าเขาแข็งแรงช่วยเหลือตัวเองได้คือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลทำมา 16 ปี พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนมีอยู่ 520 แห่ง ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 16 ปีผ่านไปถ้าอย่างนี้เราก็ไม่เห็นอนาคตว่าวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นตัวยอดพีระมิดที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากไปไม่ได้ เพราะประชาชนรวมกลุ่มกันไม่ได้ ผมขอฝากเป็นประเด็นไว้ที่ที่ประชุมรับทราบดำเนินการต่อไป

ที่มา -  https://www.banmuang.co.th/news/politic/270669

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"สมเด็จพระมหาธีราจารย์-ปลัดมท." นำลงนาม MOU บทบาทเกื้อหนุน ระหว่างวัดและชุมชนเสริมสุขอย่างยั่งยืน

 


เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และรองอธิการบดี สจล. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน มุ่งหนุนเสริม “เสาหลักของประเทศชาติ” คือ ชาติ ศาสนา และมหากษัตริย์ ให้เป็นสถาบันหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00 น. ที่พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ คำฝอย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยมี พระธรรมวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดยานนาวา รองประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศของมหาเถรสมาคม พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระเถรานุเถระ รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ร่วมในพิธี



เนื่องโอกาสอันเป็นมงคลนี้ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เมตตาแสดงสัมโมทนียกถา ความว่า วันนี้เป็นโอกาสดี เป็นนิมิตมงคลที่ดีอย่างสำคัญยิ่ง ที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายได้ตั้งกุศลและเจตนาในการที่จะสนองงานภารกิจของคณะสงฆ์ ในฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม โดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนในประเทศ พร้อมด้วยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์มาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน และเป็นสักขีพยาน ซึ่งพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย 

เนื่องด้วยชนชาติไทยนับตั้งแต่มีประวัติความเป็นชาติมาได้นับถือและยกย่องเทิดทูนพระพุทธศาสนาเป็นสรณะชีวิต พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงให้ความสำคัญและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาตลอดมา  สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการทรงงานเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวพระราชดำริต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน สร้างความมั่นคงและความวัฒนาสถาพรให้กับประเทศชาติ ซึ่งฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ได้ขับเคลื่อนงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ด้วยการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์ 2 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือข่าย และโครงการสาธารณสงเคราะห์เพื่อสังคมที่ยั่งยืน ตามหลักการดำเนินการ 4 ประการ คือ 1) สงเคราะห์ 2) เกื้อกูล 3) พัฒนา และ 4) บูรณาการ โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเมตตาประทานคติธรรม ในการประชุมสัมมนาขับเคลื่อนงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ตามแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา จากนโยบายสู่การปฏิบัติงานระดับจังหวัด ความตอนหนึ่งว่า “บุคคลพึงบำเพ็ญกรณียกิจเพื่อเกื้อกูลกันและกัน ด้วยการละคลายความเป็นตัวตนให้มากที่สุด ให้สมดังพุทธศาสนีที่ว่า “ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ” แปลความว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรเกื้อกูลกัน” 

เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ แสดงสัมโมทนียกถาต่อว่า คณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม มีหน้าที่ในการสนองงานคณะสงฆ์ ด้วยการดำเนินการ กำกับ สอดส่อง ดูแล สนับสนุน ส่งเสริม แนะนำ การสาธารณสงเคราะห์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม เหมาะสมแก่ท้องถิ่น และสอดคล้องกับพระธรรมวินัยและวัตรปฏิบัติ รับเป็นธุระนำหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการทำงานทางพระพุทธศาสนาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ประชาชนโดยส่วนรวม พัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์และบูรณาการงานอบรมประชาชนกลาง หรือ อ.ป.ก. โดยความร่วมมือของวัด ชุมชน โรงเรียน และส่วนราชการ อีกครั้งได้ช่วยกันพัฒนาสร้างสังคมสุขภาวะสู่นโยบายระดับชาติ ระดับหน ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ ให้มีการรับรู้และทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อเป็นแผนปฏิบัติงานในระยะยาวต่อไป ซึ่งการเข้าร่วมพัฒนาชุมชนของคณะสงฆ์ถือเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของพระบรมศาสดา ซึ่งทรงมุ่งหวังให้พระสงฆ์เข้าไปช่วยเหลือสังคมเท่าที่จะทำได้ ดังพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ในคราวส่งพระภิกษุเป็นพระธรรมทูตชุดแรกออกไปประกาศพระศาสนาว่า “พระภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อการบำเพ็ญประโยชน์ต่อปวงชน เพื่อการเสริมสร้างความสุขต่อปวงชน และเพื่อเมตตานุเคราะห์ต่อประชาชนชาวโลกทั้งปวง”



“ในการลงนาม MOU ร่วมกันในวันนี้เป็นการประสานพลังความร่วมมือเพื่อสนับสนุนส่งเสริมบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน โดยใช้หลักแห่งความเมตตาธรรม คือความหวังดี ความปรารถนาดีต่อกัน ในการจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกันบรรเทาทุกข์ ทั้งในส่วนของวิชาการและพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ อันหมายถึงประโยชน์ในปัจจุบัน ประกอบด้วย 1) อุฏฐานสัมปทา คือ ความถึงพร้อมในการขยันหา ทั้งในความรู้และการทำหน้าที่ 2) อารักขสัมปทา มีความพร้อมในการรักษาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาโดยถูกวิธี รู้จักประหยัด รู้จักเก็บ อดออม 3) กัลยาณมิตตตา รู้จักคบคนดีเป็นมิตร 4) สมชีวิตา ประกอบสัมมาอาชีพ เลี้ยงชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะ โดยอาศัยหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นต้นทาง สร้างสังคมชุมชนให้เอื้อต่อการพัฒนา ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดและสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงประกาศเป็นปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร” ตลอดไป  เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์  กล่าวในช่วงท้าย


โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนแพถวายราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายสักการะเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ พร้อมกล่าวถวายรายงาน ความว่า “วันนี้เป็นวันที่สำคัญยิ่งของชีวิตของพวกเราชาวมหาดไทย และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ได้เมตตา ให้พวกเราชาวมหาดไทยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีโอกาสดีของชีวิตในการมาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมฟื้นฟูภูมิปัญญาในเรื่องการหาเลี้ยงชีพของประชาชนคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ทั่วโลกเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในขณะนี้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประยุกต์สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้ดียิ่งขึ้น อันเป็นการสนองพระบรมราชปณิธานในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ที่ทรงพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ โคก หนอง นาแห่งน้ำใจและความหวัง ให้กับพสกนิกรชาวไทย


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อว่า เจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ เพื่อให้คณะสงฆ์ซึ่งเป็นฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ได้หนุนเสริมความหวังของประเทศชาติ  คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้เป็นสถาบันหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุข ตลอดจนพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน วัดและพระสงฆ์ได้ดำเนินงานด้านสาธารณะสงเคราะห์ คือ เป็นครู คลัง ช่าง หมอ ด้วยการอบรมสั่งสอน เป็นคลังอาหาร สรรพวิทยาการ โดยพระสงฆ์ที่มีความสามารถทางด้านงานช่าง และวัดเป็นศูนย์กลางของความรู้ทางด้านยาสมุนไพร แพทย์ทางเลือก ดังเช่นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร แห่งนี้ โดยที่จะนำองค์ความรู้นวัตกรรมของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการหนุนเกื้อนำมาใช้นำแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในหลากหลายมิติ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่เป็นภารกิจหลักของกระทรวงมหาดไทยในการหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยพร้อมที่จะขับเคลื่อนและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน


“ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งในความเมตตาของพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ที่เมตตาส่งลูกศิษย์เอก คือ พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม และพระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ มาเป็นที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย และได้เมตตาที่มาช่วยขับเคลื่อนผลักดันให้เกิด Change for good สร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมไทย โดยกระทรวงมหาดไทยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตลอดจนภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ทั้งข้าราชการฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครต่าง ๆ และภาคประชาชนในทุกจังหวัด จะได้ร่วมกันขับเคลื่อน สิ่งที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ และคณะสงฆ์ ได้ตั้งใจในการที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนอย่างเต็มสติกำลัง ร่วมแรง ร่วมใจ สานพลังร่วมกันระหว่างภาครัฐ วัด และชุมชน เพื่อเกื้อหนุนส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง และสามารถปรับตัวได้ต่อบริบทความเปลี่ยนแปลงท่ามกลางภาวะวิกฤตในปัจจุบัน ด้วยการน้อมนำเอาแนวพระราชดำริและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการทำงาน ซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนจากภายในนี้ จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะขยายผลไปสู่การพัฒนาสังคมไทยและสังคมโลกด้วยความเมตตาของพระเดชพระคุณคณะสงฆ์ต่อไปอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ


จากนั้นเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ คำฝอย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยพระสงฆ์ทั้งนั้นเจริญชัยมงคลคาถา เป็นอันเสร็จพิธี

"สนธิรัตน์" เผยแนวพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เริ่มที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง



เมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565   นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ แกนนำและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสร้างอนาคตไทย  ได้เปิดเผยถึงการพัฒนาประเทศโดยเริ่มจากการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแบบยั่งยืนผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า ทุกท่านเคยได้ยินได้ฟังการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแบบน้ำพุไหมครับ


(CR..https://www.youtube.com/watch?v=87VJb0UkA2g) 

ผมขอมาเล่าให้ฟังกันครับว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืนนั้น หัวใจสำคัญคือ องค์ความรู้และประสบการณ์ของชุมชน ชาวบ้าน ประกอบกับการส่งเสริมองค์ความรู้ให้พวกเขา และรัฐมีหน้าที่เพียงสนับสนุนงานและนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาสร้างให้เกิดเป็นงาน เป็นนโยบายที่มาจากฐานรากขึ้นสู่ด้านบน มิใช่มาจากด้านบนลงสู่ด้านล่างเหมือนอย่างที่ผ่านมา

การไม่เข้าใจไม่รู้วิธีการแก้ปัญหา ในลักษณะของพื้นที่ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน นำมาสู่การออกแบบและสร้างนโยบายจากภาครัฐที่มีลักษณะแบบทฤษฎีน้ำตก (Top-Down)  ที่สั่งการจากหน่วยงานภาครัฐลงมาสู่ท้องถิ่น 

การรับฟังและรู้ปัญหาจึงขาดองค์ประกอบสำคัญนั่นคือ ท้องถิ่น/ ชุมชน นโยบายที่ไม่ตอบโจทย์นี้เองที่ทำให้การขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีปัญหามาโดยตลอด เปรียบเสมือน การแก้เงื่อนเชือกเพียงแค่ไม่กี่ปมแต่ไม่ได้แก้ไม่ได้รื้อโครงสร้างทั้งหมดว่าปมปัญหามาจากจุดไหน 

การจะแก้ปมเงื่อนและรื้อโครงสร้างจะอาศัยฐานคิดแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป จำเป็นต้องปรับฐานคิดและเปลี่ยนการสั่งการ จากการสั่งการที่มีลักษณะแบบน้ำตก (Top-Down)  ให้มาเป็นการสั่งการแบบน้ำพุ (Bottom-up) ที่เป็นการสั่งการมาจากประชาชนแทน 

การสั่งการจากประชาชนต้องอาศัยความต่อเนื่อง มิใช่ชั่วครั้งคราว ต้องเข้าไปรับฟังวิถีชีวิต ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเขามีบุคลากรอย่าง ปราญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน ที่เป็นหัวหอกในการพัฒนาโดยอาศัยศาสตร์และศิลป์ในการสร้างงาน สร้างผลิตภัณฑ์ สร้างนโยบายของตัวเอง รวมทั้งยังมีวิธีในการแก้ไขปัญหาในลักษณะของภูมิปัญญาที่ตกทอดมายังรุ่นสู่รุ่น 

ตัวอย่างในกรณีอย่างวิสาหกิจชุมชนทำนาหนองสาหร่าย ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอีกกรณีที่น่าศึกษาและนำมาขยายต่อยอดเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของภาครัฐอย่างยิ่ง

หัวใจหลักของการพัฒนาที่นี้เน้นการพัฒนาโดยการจัดการตนเองของชุมชนเป็นหลัก การมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างแผนเศรษฐกิจและแผนพัฒนาชุมชนของตนเอง อาทิ ธนาคารชุมชน สวัสดิการของชุมชน ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่ปรับใช้ไปสู่กระบวนการผลิตและแปรรูป 

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ที่ชุมชนแห่งนี้และจะยิ่งต่อยอดได้อีกหากภาครัฐเปิดใจยอมรับและเข้าใจในวิถีของพวกเขา เปิดกระบวนการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี สนับสนุนทุนและบุคลากรในการส่งเสริมงานหรือนโยบายของชุมชนผ่านตัวแทนภาควิชาการหรือภาครัฐในการเข้าไปอำนวยความสะดวก แต่ไม่ใช่การสั่งการ หากทำได้ในลักษณะดังกล่าวจะทำให้การขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศด้วยนโยบายที่มาจากประชาชนให้ยั่งยืนได้นั้น ไม่ยาก และไม่ไกลเกินเอื้อมครับ

ผมเชื่อและย้ำเสมอว่าประเทศจะแข็งแรงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และสังคม เราจะต้องทำให้ฐานรากเข้มแข็ง  ซึ่งการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากนอกจากจะต้องรับฟังและผสานการมีส่วนร่วมจากพี่น้องในพื้นที่ เราก็จำเป็นต้องได้คนทำงานด้านนี้โดยตรงเข้ามาช่วยในการวางทิศทางนโยบายที่ครอบคลุมทั้งมิติการพัฒนา การแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับท้องถิ่นจริงๆ ครับ


วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"อ.ไข่ มาลีฮวนน่า" ยื่น "อนุชา-สมศักดิ์" ช่วยกำจัดเหลือบวงการผ้าเหลือง

 


“อนุชา-สมศักดิ์” รับข้อห่วงใย “สมาพันธ์คนบันเทิง” หวั่นวงการผ้าเหลือง มัวหมอง เพราะพระบางรูปประพฤติตัวไม่เหมาะสม เร่งส่งให้ ส.พุทธ-มหาเถรสมาคม พิจารณาเร่งด่วน

เมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.20 น.ที่รัฐสภา นายคฑาวุธ ทองไทย หรือ อ.ไข่ มาลีฮวนน่า ฐานะประธานสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงอาชีพแห่งประเทศไทย  ยื่นหนังสือ ถึง นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เพื่อขอให้พิจารณาต่อมาตรการและแนวทางทางกฎหมาย เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา หลังจากที่พบการกระทำของผู้ที่บวชในพุทธศาสนาประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำให้ศาสนามัวหมอง 


นายคฑาวุธ กล่าวว่าจากการพูดคุยกับพระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติปฏิบัติดี ทราบถึงข้อสังกังวลต่อการประพฤติตนไม่เหมาะสมของผู้ที่อาศัยบวช ทำให้วงการพระสงฆ์เสื่อมเสียและไม่ได้รับศรัทธาจากประชาชน ทั้งนี้ตนมีข้อเรียกร้อง 2 ประเด็น คือ 1. แนวทางปกป้องพระพุทธศาสนา และ 2.  ร่างกฎหมายเพื่อให้ติดตามบุคคลที่เคยบวชเป็นภิกษุ ซึ่งมีความประพฤติไม่เหมาะสม และถูกจับสึก ถูกติดตามควบคุมภายหลังจากที่จับสึกแล้ว

ทั้งนี้นายอนุชา กล่าวว่า ข้อห่วงใยของสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงอาชีพแห่งประเทศไทย และความห่วงใยของประชาชน ตนจะรับไปดำเนินการ โดยส่งให้สำนักพระพุทธศาสนา และมหาเถรสมาคมพิจารณา อีกทั้งประเด็นดังกล่าวตนมองว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้นต้องใช้การพิจารณาที่รอบคอบ นอกจากนั้นในประเด็นที่ประชาชนห่วงใยถึงความประพฤติของพระสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติตามแนวพระธรรมวินัยนั้น เป็นประเด็นที่ตนสั่งการให้สำนักพระพุทธศาสนาและผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกจังหวัดช่วยดูแล แต่ยอมรับว่ามาตรการดังกล่าวยังทำได้ไม่เต็มที่ เพราะขาดการแจ้งเบาะแสที่ชัดเจนจากประชาชน 

“ผมยอมรับว่าเรื่องพระสงฆ์เป็นความละเอียดอ่อน หากให้ความเห็นหรือวิจารณ์ในประเด็นต่างๆ อาจไม่เหมาะสม ดังนั้นข้อห่วงใยที่ประชาชนเสนอ ถือเป็นประเด็นที่ผมให้ความสำคัญที่จะรับไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา และมีมาตรการรวมถึงแนวทางคลี่คลายปัญหาต่อไป” นายอนุชา กล่าว

พุทธคุณเข้มขลังรุ่นพุทธาภิเษก 5 วาระ พระสมเด็จ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ เเห่งวัดห้วยด้วน รถ 6 ล้อคว่ำ หมุน 3 ตลบ ไม่เป็นไร รอดน่าเหลือเชื่อ



เมื่อวันที่ 21   กุมภาพันธ์ 2565 เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า ก๊อตซิล่าน้อย สิบสองนิ้ว พอฟัง ได้โพสต์ภาพอุบัติเหตุรถบรรทุก 6 ล้อผลิกคว่ำ โดยที่มีใจความว่า "เช้าวันนี้รถบรรทุก 6 ล้อบรรทุกเต็มคันวิ่งมาด้วยความเร็ว 80-90 รถหมุน 2-3 ตลบไม่ชนคันอื่น หมุนไปพิงที่ต้นไม้เล็กไม่หักน้ำหนักรถหลายตัน  รถคันนี้ไปปลุกเสกพระหลงฝวงพ่อพัฒน์ที่วัดห้วย จ.นครสวรรค์ด้วยหลายครั้ง  โดคยรั้งล่าสุดคือพระสมเด็จเเละท้าวเวสหลวงพ่อทองบ้านไร่ที่เอาไว้หน้ารถ" 



ทั้งนี้ พระสมเด็จ100ปี  ฉลองอายุ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์จัดสร้างขึ้นในวาระครบรอบอายุหลวงพ่อพัฒน์100ปี   หลวงพ่อพัฒน์ ท่านเสกให้เเล้วถึง 4 วาระ พุทธคุณเข้มขลัง  เสกวาระที่1 วัดห้วยด้วน วันที่ 14 ตุลาคม 2564  โดยหลวงพ่อพัฒน์ เสกวาระที่2 วัดห้วยด้วน วันที่ 30 ตุลาคม 2564 โดยหลวงพ่อพัฒน์ เสกวาระที่3 วัดห้วยด้วน  วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 โดยหลวงพ่อพัฒน์ เสกวาระที่4 วัดห้วยด้วน วันที่ 23 ธันวาคม 2564 โดยหลวงพ่อพัฒน์ และจะพุทธาภิเษก พิธียิ่งใหญ่อีกครั้ง  


ส่วนวาระที่ 5 วันที่ 6 ก.พ.2565  ที่วัดวรนาถพรรพต (วัดกบ) ในเมืองนครสวรรค์  จ.นครสวรรค์  โดยมีพระเกจิที่ร่วมพิธี พุทธาภิเษก พระสมเด็จ100ปี วาระที่5 เป็นพิธีมหามงคล โดยมีพระเกจิดัง  8 รูป ดังนี้  1. หลวงปู่บุญมา สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง 2.พระอาจารสุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น 3.หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่ 4.หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด 5.หลวงพ่อช้าง วัดจุกเฌอ 6. หลวงปู่ฝั้น วัดศรีถมอรัตน์ 7.หลวงพ่อแสวง วัดโพธิ์แดน 8.หลวงพ่อยนต์ วัดหลายหนองหมี  เสร็จพิธี รับพระรายการลุ้น ส่วนรายการจอง ส่งให้ไม่เกิน3วันหลังเสก เสร็จ

พระสมเด็จ100ปี ฉลองอายุ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์จัดสร้างโดย ทีมพี่เสืสร้างการันตี  มีป้อม สกล และ นิภัทร์ สมาทร์อิมเมจ เป็นหัวแรงสำคัญ ชมพิธีกรรมวงสรวงปลุกเสกวาระที่ 5 ได้ที่ https://youtu.be/nYXf1Ov9CYo ติดตามความเคลื่อนไหวพระผงหลวงพ่อได้ที่ เฟส:ภัทร์ สมาทร์อิมเมจ สอบถามได้ที่ "นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ" โทร.086-4508969  "ป้อม สกลนคร"โทร.089-6198989 หรือในเพจ"กลุ่มพระผงยอดนิยมทุกรุ่น หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์ หรือติดตามได้ที่คลิป https://youtu.be/AFd7yAYZXOk


"ปลัดมท."หารือ "เอกอัครราชทูต กต." เดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่สากล

 


ปลัดกระทรวงมหาดไทยหารือร่วมเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าขับเคลื่อนกลไกที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดประจำภาคและการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่สากล

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565   เวลา 10.00 น. ณ ห้องรับรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับ นางสาวนิธิวดี มานิตกุล เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ ในโอกาสเข้าหารือข้อราชการด้านการระหว่างประเทศและการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมี นางสาววริษฐา สงวนเสริมศรี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน นายกฤษณะ พินิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมบริหารราชการจังหวัด นายบุญธรรม ถาวรทัศนกิจ ผู้อำนวยการสถาบันดำรงราชานุภาพ ร้อยตรี สรมงคล มงคละสิริ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมให้การต้อนรับ และหารือ



นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมาอย่างยาวนาน และมีการสนับสนุนและประสานการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด ซึ่งในวันนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้หารือการขับเคลื่อนกลไก "ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของผู้ว่าราชการจังหวัดประจำภาค" ที่กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกันริเริ่มไว้ เพื่อให้การประสานงานระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยในระดับภูมิภาคเกิดประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน.

     นางสาวนิธิวดี มานิตกุล เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การขับเคลื่อนกลไกที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของผู้ว่าราชการจังหวัดประจำภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศ บูรณาการการทำงานร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดน การพัฒนาพื้นที่ชายแดน การสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง เมืองคู่มิตร (Sister City)  การเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเด็นการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ในอนาคต



นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศในการขับเคลื่อนการดำเนินงานความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนา และการรักษาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนตามกรอบยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาจังหวัดชายแดนของไทย รวมไปถึงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง การพัฒนาเมืองคู่มิตร (Sister City)  เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและไมตรีจิตระหว่างประเทศไทยกับมิตรประเทศ และพัฒนาความร่วมมือซึ่งกันและกัน อันจะส่งเสริมความมั่งคั่งและการพัฒนาบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกันในด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและพันธกรณีระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งจะได้มีการประชุมติดตามและประเมินผลการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อติดตามความก้าวหน้า และประโยชน์ของประเทศไทยและมิตรประเทศอย่างจริงจัง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งด้านการทำงาน การเรียนรู้ขนบธรรมเนียม ศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ของท้องถิ่นไปสู่ต่างประเทศได้ โดยในปัจจุบันมีเมืองคู่มิตรอยู่กว่า 85 คู่

 "นอกจากนี้ ยังนับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมไปถึงนายอำเภอ และส่วนราชการในระดับพื้นที่ จะได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านพิธีการทูต ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและถือเป็นภาพลักษณ์ของประเทศ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ และองค์กรระหว่างประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทกับประชาชนในระดับพื้นที่เป็นอย่างมาก และในอนาคตกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศจะได้ร่วมกันเผยแพร่อัตลักษณ์ของท้องถิ่นไทยให้ก้าวไปสู่ระดับสากล เช่น ผ้าไทย สินค้า OTOP ต่าง ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยสู่สายตาชาวโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้" นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวทิ้งท้าย

อุบลฯยึดหลัก "บวร" เปิด Quick Win "จานใบไม้รักษ์โลก" สู่ต้นแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง

 


เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอบุลราชธานี ในนามผู้อำนวยการศูนย์จิตอาสาจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในนามรองผู้อำนวยการศูนย์จิตอาสาจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี

โดยได้รับความเมตตาจากพระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ป่าดงใหญ่วังอ้อ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระนักพัฒนาที่ช่วยเหลือและเสียสละในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมาโดยตลอดตามหลัก "บวร" หรือบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ 2565 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมไปถึงนายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นายสันติพงษ์ สมศรี นายอำเภอเขื่องใน นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางวริชา เสาทอง พัฒนาการอำเภอเขื่องใน เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานีและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขื่องใน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่ ผู้นำชุมชน คณะวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจากทั้ง 25 อำเภอ ในจังหวัดอุบลราชธานี รวม 25 คน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ

โดยกิจกรรมตามโครงการฯ ในครั้งนี้ กำหนดดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2565 ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด / "การพัฒนาศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน" และกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคี เราทำความดีด้วยหัวใจ นำโดย นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี / Quick Win การปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ณ แปลงพื้นที่ต้นแบบ "โคก หนอง นา โมเดล" นำโดย พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย / การบรรยายพิเศษ เรื่อง "บทบาทของผู้นำฯในการขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน โดย นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี / การประกาศเจตนารมณ์เราทำความดีด้วยหัวใจ (วิทยากรจิตอาสา904) / การวิเคราะห์ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน“เหลียวหลัง แลหน้า ท้าทาย อนาคต ศูนย์ผู้นำฯ” / วิเคราะห์ศักยภาพในการรองรับวิกฤตทางด้านอาหาร นำโดย นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน และคณะวิทยากรกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี / เทคนิคการเป็นวิทยากรกระบวนการ วิทยากรประจำศูนย์ฯ" โดยวิทยากรให้ความรู้จากศูนย์จิตอาสาจังหวัดอุบลราชธานี และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี นำโดยนายวิลาศ บุญโต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี และคณะฯ

โอกาสนี้ นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวในพิธีเปิดโครงการฯ ว่า "กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการสร้างการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน และสร้างพลังชุมชนของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้วยการขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ดำเนินการในพื้นที่ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด ผมเชื่อมั่นว่า ผู้นำชุมชนมีความสามารถในการขับเคลื่อน บูรณาการงาน สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน ชุมชนมีการบริหารจัดการให้เกิดความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวันนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้นำชุมชน จะสามารถพัฒนาชุมชนของตนเอง บูรณาการงาน และเป็นแกนหลักในการบริหารจัดการชุมชน ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้และสร้างชุมชนให้มีความมั่นคงทางด้านอาหาร มีภูมิคุ้มกันและสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"

นอกจากนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมคณะฯ ยังได้เยี่ยมชมและเปิดกิจกรรมจังหวัดอุบลราชธานี Quick Win เสริมองค์ความรู้ พัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ สร้างรายได้ผลิต "จานใบไม้รักษ์โลก" เพื่อหนุนเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ก่อนขยายผลและเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนงานในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ณ ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้ด้วย

ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220222181734042

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

มูลนิธิต่อต้านการทุจริต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) "การยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของ กฟภ."

 


เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565  มูลนิธิต่อต้านการทุจริต โดย ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) "การยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของ กฟภ." ในพิธีประกาศเจตจำนงการป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชันของ กฟภ. ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance ชาว PEA ไม่ทนต่อการทุจริต" พร้อมกันนี้ มีคณะกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต และคณะอนุกรรมการฝ่านวิชาการฯ ร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมสุวรรณภูมิ ชั้น 6 อาคาร LED การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่) และผ่านทางระบบ VDO Conference ไปยังสำนักงานการไฟฟ้าเขต และการไฟฟ้า ชั้น 1 - 3 ทั่วประเทศ



ภายในงาน เริ่มต้นด้วย การกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน โดย นายภาณุมาศ ลิ้มสุวรรณ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์/ประธานการจัดงานฯ  การกล่าวเปิดงาน โดย นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามด้วย การรับชมวิดีทัศน์ "การป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชันของ กฟภ. และโครงการ PEA หมู่บ้านช่อสะอาด" จากนั้น เป็นพิธีประกาศเจตจำนงการป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชันของ กฟภ. ประจำปี 2565 " ภายใต้แนวคิด "Zero Tolerance ชาว PEA ไม่ทนต่อการทุจริต" ด้วยการกล่าวนำประกาศเจตจำนงฯ โดย ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ต่อด้วย การลงนามประกาศเจตจำนงฯ 

โดย ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต  นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ประธานกรรมการธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)  นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  และรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้อำนวยการสำนัก และผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 12 เขต  ตามด้วย การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) "การยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของ กฟภ." ระหว่าง ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต กับ ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีผู้แทนหมู่บ้าน "โครงการ PEA หมู่บ้านช่อสะอาด" ทั้ง 4 ภาค ประกอบด้วย บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี บ้านลาดบัวขาว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก บ้านนาพรม-ดอนหัวกรด อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี  และบ้านท่าคอยนาง อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมลงนามผ่านระบบออนไลน์.

"มหานิยม" ตั้งกระทู้ถาม "บิ๊กตู่" ปมแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดหลวง 50 แห่ง

 


เมื่อวันที่  22  กุมภาพันธ์ 2565 ดร.นิยม เวชกามา ส.ส. จังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามคำถามถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีมติแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดหลวง จำนวน 50 รูป ใช้หลักเกณฑ์ใดมาตัดสินแต่งตั้ง  เนื่องจากตนเป็นห่วงพระพุทธศาสนาจึงได้ตั้งกระทู้ถามนายกฯ ประยุทธ ว่าก่อนที่นายกฯ จะนำเสนอชื่อเจ้าอาวาสวัดหลวงให้สมเด็จพระสังฆราชมีพระลิขิตนำความกราบบังคมทูลนั้น ได้ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างละเอียดรอบคอบแล้วหรือไม่ เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่สามารถจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้  

"นอกจากนั้น การจะย้ายพระสังฆาธิการจากวัดหนึ่ง ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงอีกวัดหนึ่ง ทั้งๆ ที่วัดนั้นๆ มีพระที่มีความรู้ความสามารถ มีวัตรปฏิบัติเป็นที่ยอมรับของพระภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาอยู่แล้ว การกระทำเช่นนี้ ก่อให้เกิดความแตกแยกร้าวฉานในหมู่พระภิกษุสามเณร เป็นสังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกแยกจากกัน เป็นอนันตริยกรรม ดังกรณีที่เกิดขึ้นในคณะสงฆ์จังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) จนถึงวันนี้ ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งที่มีตัวอย่างเลวร้ายอยู่แล้ว แต่ยังดันทุรังทำผิดซ้ำอีก" ดร.นิยม กล่าวและว่า 

พลเอกประยุทธ์รู้บ้างหรือไม่ว่า การจะเป็นเจ้าอาวาสของพระอารามต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้น ต้องนึกถึงความผูกพันของญาติโยมกับพระที่เติบโตมาในวัด ซึ่งอุปัชฌาย์อาจารย์บวชให้ สืบต่อกันมาตามลำดับ ไม่ใช่จะโยกย้ายใครไป ใครมา ตามอำเภอใจ ก็ได้ ดังนั้นการจะแต่งตั้งพระสังฆาธิการรูปใด ก็แล้วแต่ให้มาปกครองพระอารามต่างๆ ต้องคำนึงถึงสายใยที่แนบแน่นในความสัมพันธ์ของพระอารามกับชุมชนนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกินกว่าที่คนอย่างนายกฯประยุทธ์ จะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง หากไม่เคยรู้มาก่อน ก็ขอให้รู้เสียเลยในเวลานี้ และเมื่อรู้แล้วจะมีวิธีการอย่างไรแจ้งให้กรรมการมหาเถรทุกรูป ได้สำเหนียกในเรื่องนี้ ก่อนที่มหาเถรจะเพลี่ยงพล้ำเสียหลัก จนชาวบ้านชาวเมืองหมดศรัทธาต่อมหาเถรไปมากกว่านี้ 

"เห็นว่า บ้านกับวัดต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะทำให้ชุมชนนั้นๆ มีความเข้มแข็ง เป็นภูมิคุ้มกันความมั่นคงแห่งชาติ และความผาสุกของประชาชน แต่วันนี้กลับตาลปัตร การตั้งเจ้าอาวาสโดยไม่คิดถึงหัวอกชาวบ้านที่อุปัฏฐากวัด เป็นการทำลายภูมิคุ้มกันของชาติ สร้างความหวาดระแวงของสังคม นับเป็นสัญญาอันตรายอย่างยิ่งต่อสถาบันหลักของชาติ" ดร.นิยม กล่าวและว่า

หากพระสังฆาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวง จำนวน 50 วัด ตามมติมหาเถรสมาคมที่ผ่านมา ไม่สามารถจะเข้ามารับหน้าที่ได้  หรือรับหน้าที่ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจะปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ จะด้วยเหตุใดๆ ก็สุดแล้วแต่ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุติ) นายกฯประยุทธ์ ซึ่งเป็นหัวหน้า ฝ่ายบริหารในท่ามกลางการแตกแยกมากที่สุดของวงการคณะสงฆ์ในประวัติศาสตร์ชาติไทย จะแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ ด้วยวิธีการใด และอย่างไร ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายไปมากกว่านี้ หัวหน้ารัฐบาลชุดนี้จะต้องถูกจารึก ในประวัติศาสตร์ชาติไทยว่า เป็นรัฐบาลเดียวที่สร้างความระส่ำระสาย กลายเป็นตราบาปในวงการคณะสงฆ์ไทย ไปอีกนานเท่านาน  

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...