วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

ข้อเสนอสันติภาพ'ไดซาขุ อิเคดะ'


เมื่อไม่นานนี้ ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล หรือเอสจีไอ (Soka Gakkai International: SGI) ซึ่งมีเครือข่ายชุมชนชาวพุทธที่มุ่งส่งเสริมสันติภาพ วัฒนธรรม และการศึกษา กว่า 12 ล้านคนทั่วโลก ได้เผยแพร่ข้อเสนอเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นการเสนอวิธีแก้ปัญหาทั่วโลกจากมุมมองของชาวพุทธคนหนึ่ง ในวันที่ 26 มกราคมของทุกปี และในวาระครบรอบการก่อตั้งสมาคม
         
เอสจีไอ (ปี 2020 ครบรอบ 90 ปีการก่อตั้ง สมาคมสร้างคุณค่า และครบรอบ 45 ปีการก่อตั้งสมาคมสร้างคุณค่าสากล) ประเด็นที่อิเคดะให้ความสำคัญคือ การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและการขจัดอาวุธนิวเคลียร์ โดยเน้นที่ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและความทุกข์ทรมานที่มักซ่อนอยู่เบื้องหลังดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาค  เขาอธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็น "ความท้าทายสำคัญที่ชี้ชะตามนุษยชาติ" พร้อมกับย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจทำให้ความพยายามของทั่วโลกในการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กลายเป็นเรื่องสูญเปล่า
         
นอกจากนี้ เขายังยกย่องพลังของเยาวชนนักเคลื่อนไหวด้านภูมิอากาศ โดยกล่าวว่า "ความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงความจริงและการมองโลกในแง่ดีอย่าง ไม่ย่อท้อของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ก่อให้เกิดความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัด"

อิเคดะเสนอให้จัดการประชุม UN Youth Climate Summit ทุกปี  ไปจนถึงปี 2030 และเรียกร้องให้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ
         
สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหว เพื่อขจัดอาวุธนิวเคลียร์ตลอดหลายสิบปี ที่ผ่านมา อิเคดะได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายพยายามร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่า สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW)จะมีรัฐภาคีให้สัตยาบันถึง 50 รัฐ เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้ในปีนี้ซึ่งเป็นวาระ ครบรอบ 75 ปีเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ
         
เขาเสนอให้จัดการประชุม People's Forum for a World Without Nuclear Weapons สำหรับผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู (ฮิบากุฉะ) และภาคประชาสังคมในฮิโรชิมาหรือนางาซากิ เพื่อติดตามความคืบหน้าของการบังคับใช้สนธิสัญญาดังกล่าว พร้อมกันนี้ เขาเรียกร้องให้มีการขยายสนธิสัญญา New START  Treaty ระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียออกไปอีกห้าปี เพื่อเป็นก้าวแรกสู่การเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ในระดับพหุภาคี
         
นอกจากนี้ เขากังวลว่า การโจมตีทางไซเบอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาจสั่นคลอนระบบอาวุธนิวเคลียร์ เขาจึงกระตุ้นให้มีการเริ่มพิจารณาหลักเกณฑ์การห้ามโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบนิวเคลียร์  รวมถึงAIและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการประชุมทบทวนสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ที่จะจัดขึ้นในเดือนเมษายน ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนิวยอร์ก อิเคดะยังเน้นย้ำถึงสถานการณ์ อันเลวร้ายของเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาอันเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางอาวุธหรือภัยธรรมชาติ พร้อมกับเรียกร้องให้มีการยกระดับความแข็งแกร่งทางการเงินของกองทุน Education Cannot Wait ของยูนิเซฟ
         
เขาปิดท้ายด้วยการให้คำมั่นสัญญาว่าจะสานต่อการดำเนินการในระดับรากหญ้า โดยกล่าวว่า "สมาคมเอสจีไอจะเดินหน้าส่งเสริมการสร้างพลังอำนาจโดยประชาชนเพื่อประชาชน พร้อมจัดการกับวิกฤติสภาพภูมิอากาศและความท้าทายอื่นๆ ด้วยการเคลื่อนไหวในวงกว้างอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั่วโลก"

          บรรยายใต้ภาพ
          ไดซาขุ อิเคดะ
          ส่วนหนึ่งของกิจกรรมสมาคมสร้างคุณค่า

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 ม.ค. 2563

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

Data เขย่าโลก ชวนคนวงการสื่ออัปสกิล พัฒนางาน Data Journalism

Data เขย่าโลก ชวนคนวงการสื่ออัปสกิล พัฒนางาน Data Journalism
 https://themomentum.co/data-journalism-open-house/?fbclid=IwAR2QbqGMRkZRLJM8_k5_iHTruESHI-POHpr3-ysSmnovhmTiMZX4uuKOrlI

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563

กูรูชี้ทางรอด! ทักษะมนุษย์ในโลก AI กับ “การศึกษา” ที่ต้อง Transform


 ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะนายกสมาคม AI บอกว่า ทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ อาจจัดเป็นหมวดกว้างๆ ได้แก่

1.ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Skill) คือสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่มีมาประยุกต์และสร้างเป็นไอเดียจำนวนมาก ซึ่งต้องใหม่และสามารถใช้แก้ปัญหาที่แต่ละธุรกิจเจอได้

2.ทักษะการบูรณาการเทคโนโลยี (Integration Skill) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี แอพพลิเคชันที่มีหลากหลาย กระจัดกระจาย มาหลอมรวมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ได้ สามารถมองเป็นคอนเซ็ปต์ที่ตอบสนองทั้งเทคโนโลยี การตลาด และประโยชน์ของสังคม

3.ทักษะแบบอ่อน (Soft Skill) ซึ่งเน้นไปในทางการสื่อสาร การปรับตัว การแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ซึ่งช่วยให้ย่อยข้อมูลจำนวนมากได้ โดยต้องรู้จักตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์ ตีความ ประเมินทางเลือกและตัดสินใจ

4.ทักษะการคิดแบบกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า (Value-Added Development Skill) ทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น สร้างสรรค์ขึ้น สร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ

5.ทักษะการสร้างความสุข (Well-Being Skill) ที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข โดยทักษะทั้งหมดนี้สามารถประยุกต์เข้ากับทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นในสายเทคโนโลยี การบริการ การท่องเที่ยว การทำธุรกิจ
https://www.thaiquote.org/content/231549

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563

สันติภาพหลบในประชาธิปไตยจอมปลอม



โลกตบหน้ากันด้วยความรัก
โลกเขาทักทายกันด้วยโดรนไซร้
โลกเขาหอมกันด้วยมิสไซล์
โลกคงแสนศิวิไลย์ด้วยเฟคสันติภาพเอย

สันติภาพแขวนปลายโดรน
หวังโค่นปัจจามิตร
มีสติคุมปัญญาประดิษฐ์สักนิด
พวกประโยชน์นิยม

เปลวเพลิงพวยพุ่ง
ท้องทุ่งแดงฉาน
โลกคงอันตรธาน
เพราะปชต.สันติภาพจอมปลอม

ประชาธิปไตยต้องฆ่า
สันติภาพต้องทำลาย
โลกคงจะบรรลัย
เพราะปชต.สันติภาพจอมปลอม

อย่าได้หวังเลยนะสปีริต
กับพวกลิ้นสองแฉกดิ้นได้
เป็นดุจไม้หลักปักเลนไว้
ดูดิ้นได้ด้วยด้านดี

ไทยเพ้อกับเหยื่อหล่อ
ไทยลำพันกับเหยื่อให้
เขาหวังกลบทุกข์เศรษฐกิจภัย
เขาปลาชิวหล่อปลาชะโดรู้ยัง

จรรยาบรรณที่หิวโหย
โชยกลิ่นสีเทาชั่งแสบสัน
พวกคนดีเขาอ้างกัน
ดูปากจะมันมันนะเออ

วิ่งไล่ลุงฉันไม่ยุ่ง
วิ่งเชลียร์ลุงฉันไม่สน
วิ่งไล่ยุงดูชอบกล
วิ่งลดละเลิกสุดโต่งสองทางมีสุขจริง

จีนสร้างคลอง
พี่ไทยสร้างถนน
หวังสร้างไทยให้หายจน
ก็ชอบกลอยู่หนอพี่ไทย

สร้างดาวคนละดวงชั่งโชติช่วง
สรรพสัตว์ใหญ่น้อยได้อาศัย
สิงสาราสัตว์นานาได้พ้นภัย
สุดชั่งแสนศิวิไลย์ประเทศกูมี

ปรากฏการณ์ทางการเมือง
จนถึงปัจจุบันและต่อไป
นี้คือผลงานปฏิรูปการเมือง

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...