วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

ปัญญากับสติจะพาเราผ่านวิกฤติ

วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563  เพจ Workpoint News ได้โพสต์ข้อความว่า นพ.ธนรักษ์ ย้ำการคาดประมาณตัวเลขผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมาก เพื่อความพร้อมรับมือ ไม่ได้ขู่ให้กลัว วันนี้ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อจะทำให้เกิดปัญญา ตระหนักรู้

วันที่ 31 มี.ค. 2563 นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงตัวเลขการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ถึงวันที่ 15 เม.ย.ว่า อย่ามองแค่ตัวเลข ให้มองเหตุผลการคาดการณ์ว่า เพื่อวางแผน เตรียมเครื่องมือ หอผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนัก ตัวเลขค่าประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ มาจากการคิดค่าประมาณโดยทีมนักระบาดวิทยา

หากสถานการณ์ที่ไม่ทำอะไรมากมาย ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 คน ถ้าสามารถเพิ่มระยะห่างทางสังคม หรือระยะห่างบุคคลได้ประมาณ 50% จะมีผู้ป่วยประมาณ 17,000 คน และถ้าสามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้เพิ่มขึ้นจะมีผู้ป่วยประมาณ 7,000 คน ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ห่างจาก 3.5 แสนคนซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้เสียชีวิต 7,000 คน เป็นตัวเลขค่อนข้างมาก

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า หากเราไม่ทำอะไรเลย ไม่ปิดเมือง จะมีผู้ป่วยประมาณ 3.5 แสนคน แต่ถ้าปิดเมืองจะมีผู้ป่วยประมาณ 24,000 คน เสียชีวิตประมาณ 500 คน ตัวเลขคาดการณ์จะสูงกว่าความเป็นจริงทุกตัว ไม่ว่าจะปิดเมืองหรือไม่ปิดเมืองก็ตาม หากถามว่าตอนนี้เราปิดเมืองหรือยัง ตอนนี้ปิดแค่สถานที่บางแห่ง ประชาชนสามรถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งความจริงเราต้องการให้คนออกจากบ้านให้น้อยลง เพื่อประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่

นพ.ธนรักษ์ ยืนยันว่า ตัวเลขที่มีการคาดประมาณก็เพื่อนำไปใช้ในการเตรียมทรัพยากรต่างๆ เราอาจจะตั้งความหวังได้ว่าจะมีผู้ป่วยไม่มากนัก แต่เวลาเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ เราจะต้องเตรียมในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ถ้ามัวแต่หวังว่าจะมีผู้ป่วยน้อย เมื่อเวลาผู้ป่วยมากจะกลายเป็นว่า ไม่เตรียมการไม่ทัน ส่งผลให้มีคนเดือนร้อนจำนวนมาก

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เคยมีคนตั้งข้อคำถามว่า ตัวเลขคาดการณ์จำนวนมากต้องการขู่ให้กลัวหรือเปล่าว่า ตัวเลขค่าประมาณที่คาดการณ์ไว้มีจำนวนผู้ป่วยมาก ไม่ใช้ต้องการให้คนตกใจ เพราะการพยายามขู่ให้คนกลัวกับโรคภัย ไม่ใช้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เพราะเมื่อคนกลัวจะเกิดความกังวลตามมา จากนั้นเขาจะไม่ปฏิบัติตัวอย่างมีเหตุ มีผล จะเกิดการรังเกลียดกันในสังคม ตัวอย่างเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วไม่ใช่เฉพาะกรณีที่บางบอน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นคนไข้จะไม่ยอมเปิดตัว ปกปิดข้อมูลกับแพทย์
“ยิ่งสร้างความกลัว สร้างความกังวลขึ้นในสังคม ยิ่งเพิ่มโอกาสให้โรคแพร่ได้ง่ายขึ้น วิธีที่ถูกต้อง คือ วิธีการให้ความจริง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดปัญญา ตระหนักรู้ ปัญญากับสติจะพาเราผ่านวิกฤติ แต่ความกลัวไม่ เราต้องสร้างความรู้ให้กับคนไทยเร็วที่และมากที่สุด เราถึงจะก้าวข้ามปัญหานี้ไปได้” นพ.ธนรักษ์ กล่าว
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2107210?fbclid=IwAR1oLWX0iFFkkFqmmXq-m6FR-rpfdwXJnwaqJ_T0UOA1nDoSa3ml1QFj0GU

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลขับเคลื่อนการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวลเนส ดัน "นวดไทย-อาหารไทย-สมุนไพรไทย" เป็น Soft Power

วันที่ 20 เมษายน 2567 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐม...