วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

พระสงฆ์ยังมึน! “Online Learning: อะไร? อย่างไร?”ฝ่าวิกฤติโควิด-19




Course of Digital literacy for E-Learning  have Use Understand  create,Access 5W1H ” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?
>Virtual Education  
>Cloud Computing 
>Tech Company
>DingTalk
>Google Hangout Meet 
>Google Classroom
>Augmented Reality – AR
>Visual Reality – VR
>Artificial Intelligence – AI
>Tencent
>Intelligent Video Collaboration
>Blackboard
>Zoom Room
> “...ฯลฯ...” 
สำหรับการประชุมและเรียนออนไลน์ ได้แก่ Zoom, Google Hangouts, Skype, Line, FaceTime, Facebook Messenger, Microsoft Team และ True VWORLD

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563 เฟซบุ๊กเพจ Phramaha Boonchuay Doojai  ของพระครูพิพิธสุตาทร (พระมหา ดร.บุญช่วย สิรินธโร) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความว่า 

“Online Learning: อะไร ? อย่างไร ?”

@ สืบเนื่องจากการ “สานเสวนา” กลุ่มผู้บริหารศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โซนภาคเหนือ เรื่อง “บัณฑิตศึกษาในยุค Disruption” ในโครงการสัมมนาร่วมกับศูนย์บัณฑิตศึกษา ภายในประเทศ โซนภาคเหนือ จัดโดย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ส่วนกลาง ณ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน จังหวัดน่าน ได้มีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการจัด “กระบวนการเรียนรู้” ในยุค Disruption นี้โดยการนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาใช้ที่เรียกกันว่าเป็น “ระบบการเรียนการสอนออนไลน์”

@ กรอปรกับในภาวะที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤต “COVID-19” ณ เวลานี้ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization – UNESCO) ได้คาดการณ์ว่ามีนักเรียน-นักศึกษากว่า 363 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบ และประมาณการณ์ว่ามีสถาบันการศึกษาใน 15 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ ได้ปิดการเรียนการสอนปกติที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย และมีสถาบันการศึกษาในหลายประเทศ ได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เพื่อเปิดการเรียนการสอนผ่าน “ออนไลน์”

@ “ประเทศจีน” ต้นตอของการแพร่ระบาด เป็นประเทศแรกที่ประกาศหยุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่โรงเรียน และมหาวิทยาลัย ทั้ง “ครู และนักเรียน – นักศึกษา” หันไปเปิดการเรียนการสอนทาง “ออนไลน์” ด้าน“สหรัฐอเมริกา” เริ่มปิดโรงเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสหรัฐอเมริกา เช่น “Harvard” ประกาศจะใช้การเรียนการสอนเสมือนจริง (Virtual Education) ในขณะที่เกิดสถานการณ์ COVID-19 โดยจะเริ่มตั้งแต่ 23 มีนาคมนี้ และล่าสุดเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐที่ให้ปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ได้ออกประกาศให้สถาบันการศึกษาได้นำการเรียนการสอนรูปแบบ “ออนไลน์” มาใช้

@ จึงมีคำถามเกิดขึ้นกับ “ตัวเอง” ซึ่งเป็นคนรุ่น “Silver Gen” หรือ “Baby Boomers” ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชากรสูงวัย และยังขาด “Digital literacy” ว่า “เอาไงดี หว่า ???” ที่จะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนรุ่น “Gen Y” และ “Gen Z” ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้านเรียนรู้การดำเนินชีวิตในสังคมแบบ “ดิจิทัล” จะมีกลุ่ม “Gen X” อยู่บ้างก็น่าจะน้อยนิด ซึ่งก็ไม่ทราบว่าคนอื่นเขามี “คำถาม” กันหรือไม่ ตอนนี้ก็เริ่มรู้สึกว่ามีความ “กังวล” เกิดขึ้นแล้วล่ะสิ

@ เหตุที่กังวลก็เพราะรู้ตัวดีว่า “ตัวเอง” ยังขาด “ทักษะ” ในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน (คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะที่ว่านี้ครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ คือ 1) การใช้ (Use) 2) เข้าใจ (Understand) 3) การสร้าง (create) 4) เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

@ จากความ “กังวล” ใน “Digital Literacy” ของตัวเอง ก็เลยต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง “Online Learning” เผื่อว่าจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ได้บ้าง แต่เมื่อยิ่งค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจ ก็ยิ่งรู้ว่าตัวเองยังอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “Digital Illiteracy” แล้วเราจะจัดการเรียนรู้ “ออนไลน์” ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ???? เพราะยังไม่รู้เลยว่า ....

> “Virtual Education” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Cloud Computing” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Tech Company” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “DingTalk” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Google Hangout Meet” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Google Classroom” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Augmented Reality – AR” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Visual Reality – VR” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Artificial Intelligence – AI” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Tencent” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Intelligent Video Collaboration” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Blackboard” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Zoom Room” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “...ฯลฯ...” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

@ ปกติสถาบันการศึกษาทุกแห่งจะต้องมีส่วนงานที่ทำหน้าที่ด้าน “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นส่วนงานที่ทำพันธกิจในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ถ้าจำไม่ผิดมหาวิทยาลัยที่ทำงานอยู่ตอนนี้ก็มีส่วนงานระดับคณะชื่อ “สำนักห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ” มีภารกิจเกี่ยวกับ “งานพัฒนาและให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ‘เทคโนโลยีการศึกษา’ ส่งเสริม พัฒนาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ” และมี “กลุ่มงานเทคโนโลยีการศึกษา” ซึ่งมีภารกิจในการปฏิบัติงานจัดอบรมบุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ งานบริหารจัดการเว็บไซต์ งานบริการการเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

@ แต่เท่าที่ “จำความได้” ยังไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม “Course” ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) แม้แต่ครั้งเดียว จึงทำให้ตัดสินใจได้อย่างไม่ต้องลังเลว่าตัวเองนั้นอยู่ในกลุ่ม “Digital Illiteracy” เลยมีคำถามตามมาว่า ทำไมเราจึงไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม มีคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้หลายคำตอบ ว่า

> เพราะ “เราไม่รู้” ว่ามี Course(s) ฝึกอบรมตลอดเวลา หรือว่า

> เพราะ “เรามัวแต่เดินทางท่องเที่ยว” ทั้งในและต่างประเทศ (เจอหลายคนชอบทักแบบนี้) จนไม่มีเวลาเข้ารับการฝึกอบรม หรือว่า

> เพราะ “เราไม่สนใจ” ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม หรือว่า

> เพราะ “มหาวิทยาลัยยังไม่เคยจัด Course(s) ฝึกอบรม” ให้แก่คณาจารย์ (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้) หรือว่า

> เพราะ ที่ผ่านมา “มหาวิทยาลัยไม่มีงบประมาณสนับสนุนการจัด Course(s) ฝึกอบรม” ให้แก่คณาจารย์ (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ อีกนั่นแหละ)

@ ยิ่งทำให้เป็นที่น่ากังวลว่า “คณาจารย์” ของมหาวิทยาลัย จะมีทักษะในการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตามนโยบายของรัฐและประกาศของมหาวิทยาลัยได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร

@ ดูเหมือนว่า “มหาวิทยาลัย” ไม่ได้ “เตรียมการ” ในเรื่องนี้เป็นอย่างดีมาก่อนที่จะเกิดผลกระทบจากวิกฤต COVID-19

@ เอาเป็นว่า ที่ผ่านมาก็ควรให้มันผ่านไป ใช้มันให้เป็นบทเรียน เพื่อก้าวข้ามไปให้ได้ในยุค “Disruption” โดยมีสิ่งที่ต้องจัดการเป็นการ “เร่งด่วน” อย่างน้อย 4 เรื่อง ได้แก่

> การลงทุนเกี่ยวกับ “Educational Technology” ที่เหมาะสมกับ "บริบทของมหาวิทยาลัย"

> ภาวะผู้นำ ของ “ผู้บริหารมหาวิทยาลัย” ทุกระดับ

> กลไก “การบริหารจัดการ” เฉพาะด้าน “Educational Technology” ที่สามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

> การพัฒนา “อาจารย์” ให้เข้าสู่กลุ่ม “Digital literacy” อย่างเป็นรูปธรรม

@ แม้จะเป็นข้อเสนอจากคนที่ไม่ใช่ “ผู้เล่นหลัก” แต่ก็เป็นไปด้วยจิตแห่งความห่วงใย ที่สำคัญคือไม่ใช่ความห่วงใยในสถานะของตนเอง แต่ห่วงใยใน “ผู้เรียน” ที่มีความคาดหวังว่าจะได้เป็นบัณฑิตในอุดมคติของมหาวิทยาลัย รวมถึง “ความอยู่รอดของมหาวิทยาลัย “ในยุค “Disruption” 

ขอบคุณภาพ และศึกษาเพิ่มเติมที่:

https://www.marketingoops.com/…/covid-19-reinvent-global-e…/
https://www.educatorroundtable.org/การเรียนการสอนแบบออนไล/
http://www.edit.psu.ac.th/…/e-learning%20book-AW-edit%20(fi…
https://www.skilllane.com/…/make%20an%20online%20course%20i…
https://www.chula.ac.th/news/28319/
https://www.thaipost.net/main/detail/60276
https://www.posttoday.com/life/healthy/587633
https://techsauce.co/…/collaboration-is-the-new-innovation-…
http://www.todayhighlightnews.com/…/smart-connected-healthc…
https://www.nexttopbrand.com/…/smart-connected-healthcare-c…
http://www.sevenminutescientist.com/…/Online-Learning-1024x…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือเพลง: ตื่นธรรม (Awakening to Dharma)

คิดเขียนโดย ดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา)   แนวคิดหลัก:  "ตื่นธรรม" เป็นหนังสือที่ช่วยปลุกจิตให้เข้าใจและสัมผัสธรรมช...