"พ่อไม่มีสมบัติอะไรให้เจ้า ถ้าอยากได้ต้องขยันเรียนแล้วหาเอา" นี้เป็นคำที่พ่อสอนตั้งแต่เป็นเด็ก
"พ่อ" ของผมก็ไม่ต่างอะไรกับพ่อของชาวบ้านทั่วไป ที่มีฐานะยากจนคนหนึ่ง มีหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัว แต่การทำหน้าที่ของพ่อดูจะไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก เพราะต้องทำหน้าที่ดูแลแม่ที่ป่วยเป็นโรคเลือดต้องพาเข้ากรุงเทพฯรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาตั้งแต่จำความได้ โดยฝากผมและน้องอีกสองคนอยู่กับญาติ
เพราะการมีปัญหาชีวิตในครอบครัวดังกล่าวทำให้ "พ่อ" ต้องดื่มสุราและมีปัญหาต้องหนีคดี และแล้วครอบครัวก็แตกสลาย พ่อแม่ลูกไปคนละทาง ทำให้เท่าที่จำได้ชีวิตของผมและน้องต้องพึ่งญาติมาตลอด
และที่พึ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กครอบครัวแตกแยกคนหนึ่งก็คือ "วัด" ที่หลวงปู่ที่เป็นญาติห่างๆนำมาเลี้ยงให้เป็นเด็กวัดเรียนหนังสือจนได้คำว่า "มหา" จบปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต เอกปรัชญา จาก "มจร"
หลวงปู่ได้ติดตามถามข่าวพ่อตลอดและในที่สุดหลวงปู่ก็ได้กล่อมให้พ่อบวชเป็นพระตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปัจจุบัน โดยที่ขณะนั้นผมกำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถมสอง ดังนั้นภาพของคำว่า "พ่อ"ของผมก็คือภาพของคำว่า "หลวงพ่อ"มาโดยตลอด
หลังจากเรียนหนังสือจบป.4 บวชเณรสอบได้นักธรรมชั้นโท หลวงปู่ก็พาเข้ากรุงเทพฯมาฝากกับหลวงลุงที่เป็นญาติห่างๆอีกเช่นกัน
หากมีเวลาก็จะกลับไปต่างจังหวัดเยี่ยม "หลวงปู-พ่อ" ปีละสองสามครั้ง จะคุยกับ"หลวงพ่อ"จนดึกดื่น ท่านก็จะเล่าถึงประวัติความเป็นมาของชีวิตที่ช่วงที่ผจญภัย และก็มีคำสอบสอดแทรกเข้ามาบ้าง แต่กินใจและไม่เคยลืมก็คือคำสอนนี้
จากคำสอนดังกล่าวทำให้ผมสร้างชีวิตมาได้จนถึงทุกวันนี้ ไม่เคยคิดอิจฉาคนที่รวยกว่า และไม่เคยเห็น"เงินใหญ่" หรือเห็นเงินดีกว่าความถูกต้อง มีคำว่า "รู้จักพอ"
และคำว่า "รู้จักพอ" นี้ทำให้ผมไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนจากการทำงานต้นสังกัด เมื่อเงินเดือนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้เราภูมิใจ เพราะหากเปรียบเทียบกับคนอีกจำนวนมากผมยังดีกว่าคนอื่นเยอะ
พร้อมกันนี้ก็ไม่เคยดูหมิ่นเงินน้อย อย่างเช่นช่วงน้ำท่วมเวลาที่ว่างจากการทำงานก็จะพายแพโฟมไปหาเก็บขวดน้ำที่ลอยมากับสายน้ำ หรือเศษเหล็กจากตู้เสียหาจากแช่น้ำตอนนี้ก็มีปริมาณมากพอสมควร พอน้ำลดแล้วก็คงจะขายได้หลายบาท เก็บเศษไม้ที่พอจะนำมาประกอบเป็นเครื่องใช่สอยได้มาสะสมไว้เต็มหลังคาบ้านแล้ว จึงทำให้มีความรู้สึกว่าน้ำท่วมครั้งนี้ผมมีแต่ได้กับได้ ได้เห็นน้ำใจเพื่อน ญาติ และคนไทย
ชีวิตที่ก้าวมาได้จนถึงทุกวันนี้และมีความมั่นคงในชีวิตและครอบครัวพอสมควร ก็คงได้มาจากคำสอนของ"หลวงพ่อ" ที่ว่า "พ่อไม่มีสมบัติอะไรให้เจ้า ถ้าอยากได้ต้องขยันเรียนแล้วหาเอา" และไม่เคยคิดน้อยเนื้อต่ำใจ ที่มี "พ่อ" เป็น "หลวงพ่อ" มากว่า 30 ปี และคอยดูแลท่านตอนนี้ก็อายุ 70 ปีกว่าแล้ว
จึงทำให้เกิดความคิดว่า "คำสอนของพ่อจะสั้นหรือยาวก็มีความหมายถ้าลูกทำตาม"
สำราญ สมพงษ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ ๊4. สติวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ ๊4. สติวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ ในปริบทพ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น