วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557
ฝึก'พระธรรมทูต'เทียบชั้น'มิชชันนารีวาติกัน'
การท่องแดนพุทธภูมิประเทศอินเดียของคนไทยพุทธส่วนใหญ่แล้ว ต้องการที่จะสัมผัสพื้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ปฏิบัติธรรมทวีคูณขึ้นไป
หลังจากร่วมคณะนิสิตปริญญาโทสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร ) รุ่นที่ 1 (และกำลังรับสมัครรุ่นที่ 2 ถึงวันที่ 30 มี.ค.นี้) ได้จัดโครงการ "จาริกสันติธรรม สู่ดินแดนแห่งพุทธภูมิ" ประเทศอินเดีย-เนปาล จำนวน 40 รูป/คน ระหว่างวันที่ 16-26 มกราคมที่ผ่านมา ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตร จึงทำให้ได้ติดตามการเคลื่อนไหวของพุทธศาสนิกชนที่เดินทางไปแสวงบุญคณะต่างๆผ่านทางเฟซบุ๊กวัดไทยในประเทศอินเดีย
ได้เห็นกิจกรรมต่างๆ ที่น่าอนุโมทนายิ่งอย่างเช่น กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้การนำของนายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดี ได้จัดโครงการส่งพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นรุ่นที่ 2 แล้วประกอบด้วย พระสังฆาธิการ พระธรรมวิทยากร จำนวน 100 รูป และฆราวาสผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จำนวน 35 คน หรือโครงการเดินธุดงค์ตามรอยบาทพระศาสดา จำนวน 56 รูป ฤาษี 1 ตน ระยะทาง 1,000 กิโลเมตรกว่า
รวมถึงกิจกรรมล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา พระเทพโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประธานพระธรรมทูตไทยอินเดีย – เนปาล เป็นประธานเ ปิดงานและบรรยายพิเศษโครงการอบรมพระธรรมทูตไทยสายต่างประเทศ รุ่นที่ 20 ถวายเป็นพระราชกุศล ศึกษาดูงานอินเดีย – เนปาล ณ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ภายใต้การนำของพระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ในการนี้มีผู้บริหาร มจร พระธรรมทูต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และ แขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน 120 รูป/คน
ในโอกาสนี้พระเทพโพธิวิเทศได้ให้คำแนะนำความว่า เจ้าชายสิทธัตถะมหาบุรุษทิ้งถาดทองคำเปรียบด้วยลาภสักการะที่คอยบังตา มาคว้าภาชนะทองธรรม การต่อสู้ครั้งนี้เดิมพันด้วยชีวิต "ตายเป็นตาย" ไม่ตรัสรู้ไม่ลุกหนี สุดท้ายชัยชนะที่ได้คือ "โพทธิปัญญ"
"งานพระธรรมทูตเป็นงานที่ทำด้วย "ฉันทะ" ไม่ใช่งานที่อยากได้อยากเป็นด้วย "ตัณหา" มองอะไรให้เข้าถึงพระพุทธเจ้าแม้นถนนจะขรุขระเห็นข้างนอกดูวุ่นวายแล้วปฏิบัติธรรมภายในใจ ให้สติสงบปัญญาสว่างให้รู้ทันนี้แหละ "แสวงบุญ" ศรัทธาอ่อนแต่ปัญญาไม่อ่อนพระพุทธศาสนาอยู่รอด หากปัญญาอ่อนศรัทธาไม่เข้มแข็งพระพุทธศาสนาไปไม่รอดแน่" ประธานพระธรรมทูตไทยอินเดีย – เนปาลให้คำแนะนำ
อย่างไรก็ตามคณะผู้แสวงบุญที่เดินทางไปที่วัดไทยพุทธคยาคงจะได้เห็นอาคารวิปัสสนาวิรภุชงค์กำลังก่อสร้างอยู่ที่พระเทพโพธิวิเทศได้ตั้งความหวังไว้ว่า จะพัฒนาวัดไทยพุทธคยาให้เป็นศูนย์ฝึกพระธรรมทูตมีความรู้ความสามารถเทียบชั้นสำนักวาติกัน
พระธรรมทูตไทยสายต่างประเทศรุ่นที่ 20 ที่เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศอินเดียภายใต้การดำเนินการของ มจร ครั้งนี้ หลังจากที่สมัครและเปิดการอบรมตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยได้รับความรู้ในแง่มุมต่างๆจากวิทยากรที่ทำหน้าที่บรรยาอย่างเช่น เรื่อง "ภาษาอังกฤษกับการพัฒนาศักยภาพพระธรรมทูต" "พระธรรมทูต ทูตแห่งสันติภาพ" โดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผอ.หลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา มจร
"ประสบการณ์การเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในต่างแดน" โดยพระครูวิเทศปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แคลลีฟฟอเนีย สหรัฐอเมริกา "เทคโนโลยีทางอาคารและความรู้ในด้านวัสดุ ก่อสร้าง" โดยผศ.สมศักดิ์ ธรรมเวชวิถี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง "ประสบการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา" โดยพระราชปริยัติเวที เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร "พระไตรปิฏกวิเคราะห์" โดยพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม รวมถึงเรื่อง "พระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน" โดยพระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายรองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร
ขณะเดียวกันเคยแสดงความเห็นไว้ว่า ควรจะมีเรื่อง "เทศน์หรือโพสต์เฟซบุ๊กอย่างไรให้เป็นข่าว" ด้วย โดยเอาหลักนิเทศศาสตร์เข้าไปจับบวกด้วยหลักสัปปริสธรรม 7 ประการ เพราะธรรมชาติของข่าวอันดับแรกคือประเด็นต้องใหม่น่าสนใจและผลประโยชน์ตามมา เข้าหลัก "ธัมมัญญุตา" เป็นผู้รู้จักเหตุ "อัตถัญญุตา" เป็นผู้รู้จักผล และที่สำคัญคือกาลัญญุตาต้องทันกาล เกิดเหตุวันนี้วินาทีนี้แล้วไปโต้อีกวันแบบนี้ถือว่าไม่ทันกาล ธรรมชาติของข่าวต้องปัจจุบันขณะ และ"ปุคคลปโรปรัญญุตา" ก็สำคัญเมื่อบุคคลสำคัญคนดังไปที่วัดก็เป็นข่าวแล้ว
หลังจากนั้นนำหลักการทำ SEO เข้ามาประกอบ "คีย์เวิร์ด" จะต้องฮิตเพื่อให้กูเกิ้ลจับเพื่อจะได้อยู่อันดับแรกของการค้นหา ต่อจากนั้นนำหลักโซเชียลเน็ตเวิร์คเข้ามาช่วยสร้างยอดคนอ่าน ดังนั้น ข่าวหนึ่งชิ้นจะต้องแชร์ไปที่ระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ กูเกิ้ลพลัต หรือแท้งโก้ ก็จะช่วยในการเผยแผ่ธรรมได้เป็นอย่างดี
"มจร"อนุมัติตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูต
ด้านพระโสภณวชิราภรณ์ กล่าวว่า มจร ได้อนุมัติตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูตขึ้นมาเพื่อสร้างพระธรรมทูตให้มีคุณภาพและสานความร่วมมือกับคณะสงฆ์พุทธศาสนาประเทศต่างๆด้วย ซึ่งต่อไปนี้ไม่ใช่เฉพาะการเปิดการอบรมเท่านั้น ซึ่งจะทำให้งานมีระบบมากขึ้นและถือเป็นงานของมหาเถรสมาคม พร้อมกันนี้ให้มีสมณศักดิ์สายต่างประเทศด้วยเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ผลงานเหล่านี้สืบเนื่องมาจากงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ที่ได้สร้างมา
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร กล่าวต่อว่า วิทยาลัยพระธรรมทูตนี้จะเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยจะเริ่มปีการศึกษา 2557 นี้ ซึ่งจะรับทั้งพระและฆราวาส แต่รุ่นแรกนี้คงจะรับเฉพาะพระก่อน ส่วนหลักสูตรนั้นก็จะเกี่ยวกับวิธีการเผยแพร่ ภาษา ศาสนาพิธี และประเทศที่จะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ
"จะแบ่งเป็นช่วงๆ สลับกันคือปีแรกเรียนวิชาการ ปีที่สองจะต้องเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศต่างๆ โดยจะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ด้านต่างๆ รวมถึงการเขียนบทความ รายงาน เผยแพร่ผ่านสื่อประเทศนั้นๆ ปีที่สามกลับมาเรียนที่ประเทศไทยและปีที่สี่ก็กลับไปปฏิบัติที่ประเทศนั้นๆอีก ดังนั้น พระธรรมทูตจะต้องเรียนรู้ภาษาของประเทศที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจถือเป็นภาคบังคับ" พระโสภณวชิราภรณ์ กล่าว
.....................................
ฝึก'พระธรรมทูต'เทียบชั้น'มิช
ชันนารีวาติกัน' 'มจร'ตั้งวิทยาลัยสอนป.โท-เอกรองรับงานคณะสงฆ์ : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong)
วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557
'มจร'สานงาน'สมเด็จเกี่ยว'พัฒนาชาวเขา
"ขอให้ทุกคนภูมิใจว่า เราเกิดบนแผ่นดินไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นหลักใจ จะเป็นชาวเขาหรือชาวเรา ทุกคนก็เป็นคนเสมอกัน คือ เราเป็นคนไทย ขอให้พวกเราอาศรัยแผ่นดินแห่งนี้สร้างชีวิต สร้างความดีงาม ให้สมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย"
นี้เป็นโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ที่ระบุในหนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก ที่อยู่ในถุงที่พุทธศาสนิกชนที่ได้รับในวาระพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 17.00 น.ที่ผ่านมา
หนังสือเล่มนี้รัฐบาลจัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการดังกล่าว ที่ได้รวบรวมภาพเหตุการณ์ตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพจนกระทั้งพิธีพระราชทานเพลิงศพ พร้อมทั้งประวัติและผลงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านบริการสังคมและเผยแพร่ ซึ่งอยู่ช่วงท้ายเล่มบทที่ 19 สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่เปิดสำนักงานที่มีกิจกรรมเช่นจริยธรรมแชนแนลสื่ออาสานำธรรมดี ธรรมทูตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้ พระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา โรงเรียนวิถีพุทธและอาชีววิถีพุทธ จัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์พระพุทธศาสนา ตั้งศูนย์ช่วยเหลือวัดและผู้ประสบภัยน้ำท่วม ริเริ่มให้มีพิธีสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะมีภาพและโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จประกอบ
สำหรับงานพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขานอกจากจะเป็นกิจกรรมหรือโครงการภายในวัดสระเกศแล้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ที่เจ้าประคุณสมเด็จเคยดำรงแหน่งอธิการบดี ก็ได้สนองงานด้านนี้ โดยเริ่มนำพระสงฆ์ที่สำเร็จการศึกษาแล้วแต่อยู่ในช่วงการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักสูตร จาริกไปเพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงหรือชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังมีภารกิจรองอีกมากมายเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในทางที่ดี เช่น ทำให้คนในชุมชนบนพื้นที่สูงมีความสำนึกในคุณแผ่นดิน สำนึกรักในประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น โดยได้ดำเนินการมา 10 ปีกว่าแล้ว
พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ (ธีรพงษ์) สิรินฺธโร ยะอุตม์ รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ บอกว่า การเข้าไปอยู่ของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงก็เปรียบเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งที่เข้าไปมีบทบาทมีส่วนร่วมในชุมชน คอยเก็บข้อมูลศึกษาสภาพทางด้านต่างๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาไปในที่ถูกที่ควรและเหมาะสม นับว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงหรือพระบัณฑิตอาสาก็มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง
เมื่อเข้าไปอยู่ชุมชนแล้วจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านวัตถุบ้าง มิใช่เน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการพัฒนาทางด้านวัตถุนั้นจะโดดเด่น และสามารถเห็นภาพได้จริง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปกระทำ แต่ควรที่จะเป็นไปโดยพอดีพองาม ไม่เบียดเบียนกำลังศรัทธามากจนเกินไป เราต่างรู้กันดีว่าสภาพของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากยากจนอยู่แล้ว การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้นควรจะเน้นให้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ ซึ่งจะทำให้ชุมชนพัฒนาไปอย่างมั่นคงยั่งยืน
พระบัณฑิตอาสาจะทำงาน 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 1.ด้านจิตใจ โดยใช้ธรรมะชะล้างความสกปรกของจิตใจ เป็นภูมิคุ้มกันจากสิ่งยั่วยุไปในทางที่เสื่อมทั้งหลาย พระบัณฑิตอาสาเองก็เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้มีการทำงานในเชิงรุกโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยใช้ธรรมะเป็นตัวหล่อหลอมให้เด็กเยาวชน คนในชุมชนเป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดจิตสำนึก ละอายต่อการทำชั่ว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนซึ่งจะเป็นขุมกำลังอนาคตของชาติ
2.รักษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละชาติพันธุ์ ถือเป็นสิ่งมีค่าและสำคัญ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ เป็นการสื่อถึงอารยธรรม สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสู่รุ่นลูกจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้มีคุณค่ายากที่จะประเมินค่า อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความรู้ภูมิปัญญาของคนในอดีต เช่น การมัดมือของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งจะทำกันปีละ 2 ครั้ง โดยความเชื่อของชาติพันธุกะเหรี่ยง คือ เป็นการเรียกขวัญให้ลูกหลานในครอบครัว ทั้งนี้หากมองลึกๆ ลงไปจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเหล่านี้แฝงไปด้วยภูมิปัญญา นั่นก็คือทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ ครอบครัว ทำให้เครือญาติได้มาพบปะกัน
และ 3.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม่ธรรมชาติ เช่นเดียวกับการทำงานของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่เองที่นำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ป่าไม้ เช่น การบวชป่า การปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ป่าไม่ให้อยู่คู่กับชุมชน
"ปัจจุบันเองพระสงฆ์ก็ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและจิตใจ ก็เหมือนพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่ไปเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจแก่คนในถิ่นทุรกันดาร แต่การเข้าไปอยู่ในอาศรมต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงนั้นมิใช่เพียงแค่การเข้าไปอยู่เฝ้าอาศรม หรือสร้างศาสนะวัตถุจนใหญ่โตมโหฬาร โดยมิได้ใส่ใจเรื่องอื่นๆ ไม่เหลียวแลสภาพทางสังคมความเป็นอยู่ของคนในชุมชน แต่ได้ทำหน้าที่เป็นพระนักเผยแผ่โดยมิได้มีวันหยุดนิ่ง" พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ กล่าว
พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร กล่าวว่า บอกว่า แม้บทบาทของพระธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จะไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาผู้คนทั่วไปมากนัก แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้เสียสละเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่ายกย่อง ชมเชยและสาธุการเป็นอย่างยิ่ง จึงขอสะท้อนภาพแห่งความยิ่งใหญ่ของผู้นำแห่งขุนเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล ให้ผู้คนได้รับทราบเพื่อร่วมให้กำลังใจในการปฏิบัติงานของท่านตามที่ได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นผู้สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำงานที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ต่อไป" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
ระหว่างวันที่ 27 – 30 มีนาคมนี้ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร พร้อมคณะจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมอาศรมพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา วัดบ้านห้วยบง ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายให้ดำเนินการสร้างวัดเพิ่มให้ครบ 9 วัด ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กำลังดำเนินการเสนอขอจดทะเบียนวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ต่อมหาเถรสมาคมพิจาณาอนุมัติแล้ว เพื่อให้มีวัดในเขตปกครองของคณะสงฆ์ในอำเภอกัลยาณิวัฒนาในอนาคต
ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทั้งคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาวัดเขตอำเภอดังกล่าว และ มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา ผลิตบุคลากรและการพัฒนาสังคมทั้งพื้นราบและบนพื้นที่สูง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาด้านจิตใจให้กับชุมชนทั้งเด็กเยาวชน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ในด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่า เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพให้กับพระบัณฑิตอาสาและพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงสืบไป
ในโอกาสนี้พระพรหมบัณฑิตจะเป็นประธานในพิธีกลุ่มชาติพันธุ์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ จำนวน 300 หลังคาเรือน ทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนเพื่อสร้างวัดห้วยบง ซึ่งเป็นวัดสังกัดมหาวิทยาลัย โดยมีการวางผังแม่บทสร้างวัดห้วยบง ประกอบด้วย: เขตพื้นที่สร้างถาวรวัตถุ อุทยานการศึกษา ศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า ป่าอนุรักษ์ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง (ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน) และเขตพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาอาชีพของชนเผ่า
ผลงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีแนวความคิดริเริ่มบริการสังคมของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) ซึ่งสามารถติดตามกิจกรรมของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาได้ที่เฟซบุ๊ก "พระอาสา พัฒนาชาวเขา" หรือที่ "โครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา มจร วิทยาเขตเชียงใหม่"
.............................
'มจร'สานงาน'สมเด็จเกี่ยว'พัฒนาชาวเขา อธิการบดีเยี่ยมวัดห้วยบงเชียงใหม่ให้กำลังใจ : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong)
นี้เป็นโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ที่ระบุในหนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก ที่อยู่ในถุงที่พุทธศาสนิกชนที่ได้รับในวาระพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 17.00 น.ที่ผ่านมา
หนังสือเล่มนี้รัฐบาลจัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการดังกล่าว ที่ได้รวบรวมภาพเหตุการณ์ตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพจนกระทั้งพิธีพระราชทานเพลิงศพ พร้อมทั้งประวัติและผลงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านบริการสังคมและเผยแพร่ ซึ่งอยู่ช่วงท้ายเล่มบทที่ 19 สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่เปิดสำนักงานที่มีกิจกรรมเช่นจริยธรรมแชนแนลสื่ออาสานำธรรมดี ธรรมทูตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้ พระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา โรงเรียนวิถีพุทธและอาชีววิถีพุทธ จัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์พระพุทธศาสนา ตั้งศูนย์ช่วยเหลือวัดและผู้ประสบภัยน้ำท่วม ริเริ่มให้มีพิธีสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะมีภาพและโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จประกอบ
สำหรับงานพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขานอกจากจะเป็นกิจกรรมหรือโครงการภายในวัดสระเกศแล้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ที่เจ้าประคุณสมเด็จเคยดำรงแหน่งอธิการบดี ก็ได้สนองงานด้านนี้ โดยเริ่มนำพระสงฆ์ที่สำเร็จการศึกษาแล้วแต่อยู่ในช่วงการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักสูตร จาริกไปเพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงหรือชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังมีภารกิจรองอีกมากมายเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในทางที่ดี เช่น ทำให้คนในชุมชนบนพื้นที่สูงมีความสำนึกในคุณแผ่นดิน สำนึกรักในประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น โดยได้ดำเนินการมา 10 ปีกว่าแล้ว
พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ (ธีรพงษ์) สิรินฺธโร ยะอุตม์ รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ บอกว่า การเข้าไปอยู่ของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงก็เปรียบเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งที่เข้าไปมีบทบาทมีส่วนร่วมในชุมชน คอยเก็บข้อมูลศึกษาสภาพทางด้านต่างๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาไปในที่ถูกที่ควรและเหมาะสม นับว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงหรือพระบัณฑิตอาสาก็มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง
เมื่อเข้าไปอยู่ชุมชนแล้วจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านวัตถุบ้าง มิใช่เน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการพัฒนาทางด้านวัตถุนั้นจะโดดเด่น และสามารถเห็นภาพได้จริง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปกระทำ แต่ควรที่จะเป็นไปโดยพอดีพองาม ไม่เบียดเบียนกำลังศรัทธามากจนเกินไป เราต่างรู้กันดีว่าสภาพของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากยากจนอยู่แล้ว การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้นควรจะเน้นให้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ ซึ่งจะทำให้ชุมชนพัฒนาไปอย่างมั่นคงยั่งยืน
พระบัณฑิตอาสาจะทำงาน 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 1.ด้านจิตใจ โดยใช้ธรรมะชะล้างความสกปรกของจิตใจ เป็นภูมิคุ้มกันจากสิ่งยั่วยุไปในทางที่เสื่อมทั้งหลาย พระบัณฑิตอาสาเองก็เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้มีการทำงานในเชิงรุกโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยใช้ธรรมะเป็นตัวหล่อหลอมให้เด็กเยาวชน คนในชุมชนเป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดจิตสำนึก ละอายต่อการทำชั่ว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนซึ่งจะเป็นขุมกำลังอนาคตของชาติ
2.รักษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละชาติพันธุ์ ถือเป็นสิ่งมีค่าและสำคัญ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ เป็นการสื่อถึงอารยธรรม สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสู่รุ่นลูกจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้มีคุณค่ายากที่จะประเมินค่า อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความรู้ภูมิปัญญาของคนในอดีต เช่น การมัดมือของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งจะทำกันปีละ 2 ครั้ง โดยความเชื่อของชาติพันธุกะเหรี่ยง คือ เป็นการเรียกขวัญให้ลูกหลานในครอบครัว ทั้งนี้หากมองลึกๆ ลงไปจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเหล่านี้แฝงไปด้วยภูมิปัญญา นั่นก็คือทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ ครอบครัว ทำให้เครือญาติได้มาพบปะกัน
และ 3.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม่ธรรมชาติ เช่นเดียวกับการทำงานของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่เองที่นำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ป่าไม้ เช่น การบวชป่า การปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ป่าไม่ให้อยู่คู่กับชุมชน
"ปัจจุบันเองพระสงฆ์ก็ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและจิตใจ ก็เหมือนพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่ไปเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจแก่คนในถิ่นทุรกันดาร แต่การเข้าไปอยู่ในอาศรมต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงนั้นมิใช่เพียงแค่การเข้าไปอยู่เฝ้าอาศรม หรือสร้างศาสนะวัตถุจนใหญ่โตมโหฬาร โดยมิได้ใส่ใจเรื่องอื่นๆ ไม่เหลียวแลสภาพทางสังคมความเป็นอยู่ของคนในชุมชน แต่ได้ทำหน้าที่เป็นพระนักเผยแผ่โดยมิได้มีวันหยุดนิ่ง" พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ กล่าว
พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร กล่าวว่า บอกว่า แม้บทบาทของพระธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จะไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาผู้คนทั่วไปมากนัก แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้เสียสละเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่ายกย่อง ชมเชยและสาธุการเป็นอย่างยิ่ง จึงขอสะท้อนภาพแห่งความยิ่งใหญ่ของผู้นำแห่งขุนเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล ให้ผู้คนได้รับทราบเพื่อร่วมให้กำลังใจในการปฏิบัติงานของท่านตามที่ได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นผู้สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำงานที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ต่อไป" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
ระหว่างวันที่ 27 – 30 มีนาคมนี้ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร พร้อมคณะจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมอาศรมพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา วัดบ้านห้วยบง ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายให้ดำเนินการสร้างวัดเพิ่มให้ครบ 9 วัด ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กำลังดำเนินการเสนอขอจดทะเบียนวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ต่อมหาเถรสมาคมพิจาณาอนุมัติแล้ว เพื่อให้มีวัดในเขตปกครองของคณะสงฆ์ในอำเภอกัลยาณิวัฒนาในอนาคต
ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทั้งคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาวัดเขตอำเภอดังกล่าว และ มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา ผลิตบุคลากรและการพัฒนาสังคมทั้งพื้นราบและบนพื้นที่สูง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาด้านจิตใจให้กับชุมชนทั้งเด็กเยาวชน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ในด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่า เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพให้กับพระบัณฑิตอาสาและพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงสืบไป
ในโอกาสนี้พระพรหมบัณฑิตจะเป็นประธานในพิธีกลุ่มชาติพันธุ์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ จำนวน 300 หลังคาเรือน ทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนเพื่อสร้างวัดห้วยบง ซึ่งเป็นวัดสังกัดมหาวิทยาลัย โดยมีการวางผังแม่บทสร้างวัดห้วยบง ประกอบด้วย: เขตพื้นที่สร้างถาวรวัตถุ อุทยานการศึกษา ศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า ป่าอนุรักษ์ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง (ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน) และเขตพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาอาชีพของชนเผ่า
ผลงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีแนวความคิดริเริ่มบริการสังคมของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) ซึ่งสามารถติดตามกิจกรรมของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาได้ที่เฟซบุ๊ก "พระอาสา พัฒนาชาวเขา" หรือที่ "โครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา มจร วิทยาเขตเชียงใหม่"
.............................
'มจร'สานงาน'สมเด็จเกี่ยว'พัฒนาชาวเขา อธิการบดีเยี่ยมวัดห้วยบงเชียงใหม่ให้กำลังใจ : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong)
วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557
'จ้วง'ญาติที่คนไทยลืมสายสัมพันธ์ที่จางหาย
คำว่า "จ้วง" คนไทยส่วนใหญ่แล้วมักจะคุ้นเคยกับคำกิริยาที่ว่า "จ้วงแทง" หรือ "จาบจ้วง" แต่ถ้าเป็นคำนามแล้วไม่ค่อยรู้จักว่าหมายถึงอะไร หรือจะรู้บ้างก็เพียงว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในมณฑลกวางสี จากข่าวที่ผู้บริหารเขตปกครองตนเองกวางสีและชนกลุ่มน้อยชาวจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อกระซับความสัมพันธ์จบเพียงแค่นั้น
ความจริงแล้วชาวจ้วงที่มณฑลกวางสีทางใต้ของจีนนี้นับได้ว่าเป็นเครือญาติของคนไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด ที่รวมกลุ่มกันอยู่ก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) กว่า 10 ล้านคน พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง ก็พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย ฉันทลักษณ์ในบทร้อยกรองของจ้วงกับของไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีพื้นฐานจากคำคล้องจองเช่นเดียวกัน กลองหรือฆ้องมโหระทึกนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ชาวจ้วงสื่อกับเครื่อญาติไทย ทุกวันนี้ชาวจ้วงทุกวันนี้ยังมีกลองมโหระทึกประจำตระกูลกับประจำหมู่บ้านใช้งานในพิธีกรรมที่ทำสืบเนื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์อีกรวมนับพันๆ ใบ ชาวจ้วงกับคนไทยก็มีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง
ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวผู้บริหารไทยบางยุคจึงเห็นความสำคัญเป็นตัวเชื่อมในความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และการพัฒนาในด้านต่างๆ และเชื่อแน่ว่าคนไทยปัจจุบันนี้อาจจะเป็นคนจ้วงที่อพยพมาจากมณฑลกวางสีก็เป็นได้อย่างเช่นกลุ่มบริษัทซีโน-ไท ที่ได้การสนับสนุนตั้งโรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่มีนายชาญ เนียมประดิษฐ์ ประธานบริหาร
"เพราะชาติพันธุ์หรือรากเหง้าต้นกำเนิดเผ่าพันธุ์ของชนชาติไทย ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ของไทย มีหลายหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สนับสนุนและทำให้เชื่อว่า คนไทยเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น เนื่องจากคนไทยมีลักษณะคล้ายกับชนชาติจ้วงแห่งมณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ปัจจุบันทางการจีนได้รวมข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ มากกว่า 30 กลุ่มที่ใช้ภาษาจ้วงเข้าด้วยกัน" นายชาญ เคยกล่าวไว้และว่า
น่าสังเกตว่า ภาษาจ้วงเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย มีคำศัพท์ร่วมกันหลายคำที่คนไทยสามารถสื่อสารเป็นคำๆ กับชาวจ้วงได้ แต่ไม่อาจเข้าใจเป็นประโยคได้เพราะชาวจ้วงรับเอาภาษาจีนมาใช้กันมาก แต่เมื่อเทียบกับภาษาลาวคนไทยสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องมีล่ามแม้ว่าศัพท์บางคำจะไม่เหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อประวัติศาสตร์ภาษาไทยไปรับเอาบาลี - สันสกฤตเข้ามามาก ชาวจ้วงจึงไม่เข้าใจภาษาไทยทุกวันนี้ นักภาษาศาสตร์จึงใช้หลักการด้านการพัฒนากำเนิดภาษาสรุปว่า ภาษาจ้วงเป็นต้นกำเนิดของชนชาติและตระกูลไทย
ดังนั้นในช่วงสงกรานต์ระหว่าง 10-16 เมษายนนี้ หากสนใจร่วมทัศนศึกษาดูงานวัฒนธรรมชนชาติจ้วง - กวางสี ฟื้นความสัมพันธ์ในอดีต "มูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล" อาสาพาชมสถานที่ต่างๆ เช่น ถิ่นต้นตอของชนเผ่าจ้วง – ดอยก่านจ้วงซานถิ่น กำเนิดของผู้หลวกทั่ว(ปู้ลัวทัว) ปู้ลัวทัวเป็นบรรพชนของชนเผ่าพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ดอยก่านจ้วงซานเป็นสถานที่รำลึกถึงปู้ลัวทัวบรรพชนของชนพื้น เมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง เป็นแหล่งศูนย์กลางของต้นเค้าวัฒนธรรมจ้วงอันมีเรื่องราวของปู้ลัวทัวเป็นแก่นแกน เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง
เดินทางเลียบแม่น้ำผานหยางเหอ-แม่น้ำอายุยืนท่องเที่ยวอุทยานถ้ำไป่หวงต้ง นั่งเรือท่องเที่ยว”เทียนคังฉวิน”(บ่อฟ้า)อุทยานภุมิศาสตร์โลก-ซานเหมินไหจิ่งชฺวี ไม่ย้อนกลับทางเก่า ลงจากเรือที่บ่อฟ้าสุดท้าย แล้วเข้าถ้ำจั่งหลงต้ง(ถ้ำซ่อนมังกร) ถ้ำอัศจรรย์ หมู่บ้านปาผานตุน-หมู่บ้านคนจ้วงอายุร้อยกว่าปี สนทนากับผู้เฒ่ารับรู้เคล็ดลับอายุยืน
ประเพณี”จ้วงชุดดำ” ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “ฟอสซิลมีชีวิต” ฟังเพลงพื้นบ้าน”ข้ามเขา”-กั้วซานเชียง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เยี่ยมชม”เรือนจ้วง” (กานหล่าน)สัมผัสวิถีชีวิตชาวจ้วง ร่วมสังสรรสุรา”เหล้าข้าว” ลิ้มลองอาหารตำรับชาวจ้วง เนื้อเค็ม ขาหมูเค็ม (แฮม) แหนม(เนื้อส้ม) ข้าวสาลีสามเหลี่ยมไก่บ้านชนบท ซุปข้าวโพดดอยสูง เป็นต้น
ชมการแสดงพื้นบ้าน สัมผัสการทอผ้า ย้อมผ้า ตีผ้า ผลักโม่หิน หมักเหล้า ทำเต้าหู้ สัมผัสวิถีชีวิตดึกดำบรรพ์ของชาวจ้วงชุดดำ เปิดเผยความลับเรื่องสีดำ
พิพิธภัณฑ์ชนชาติแห่งกวางสีชม มิวเซียมที่ออกแบบเป็นรูปกลองมโหระลึก นำชมนิทรรศการจัดแสดงวัฒนธรรมสัมฤทธิ์ หรือ กลองมโหระทึก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นรากร่วมวัฒนธรรมอาเซียน ชมนิทรรศการจำลองหมู่บ้านชนชาติต่างๆ ในมณฑลกวางสี
หากสนใจติดต่อสอบถาม นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต (มหา) รองเลขาธิการมูลนิธิฯ โทร. 0851666473 mahashin19@gmail.com ได้เลยจนถึงสิ้นเดือนนี้
.....................................
(หมายเหตุ : 'จ้วง'ญาติที่คนไทยลืม สายสัมพันธ์ที่จางหาย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong))
ความจริงแล้วชาวจ้วงที่มณฑลกวางสีทางใต้ของจีนนี้นับได้ว่าเป็นเครือญาติของคนไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด ที่รวมกลุ่มกันอยู่ก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) กว่า 10 ล้านคน พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง ก็พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย ฉันทลักษณ์ในบทร้อยกรองของจ้วงกับของไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีพื้นฐานจากคำคล้องจองเช่นเดียวกัน กลองหรือฆ้องมโหระทึกนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ชาวจ้วงสื่อกับเครื่อญาติไทย ทุกวันนี้ชาวจ้วงทุกวันนี้ยังมีกลองมโหระทึกประจำตระกูลกับประจำหมู่บ้านใช้งานในพิธีกรรมที่ทำสืบเนื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์อีกรวมนับพันๆ ใบ ชาวจ้วงกับคนไทยก็มีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง
ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวผู้บริหารไทยบางยุคจึงเห็นความสำคัญเป็นตัวเชื่อมในความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และการพัฒนาในด้านต่างๆ และเชื่อแน่ว่าคนไทยปัจจุบันนี้อาจจะเป็นคนจ้วงที่อพยพมาจากมณฑลกวางสีก็เป็นได้อย่างเช่นกลุ่มบริษัทซีโน-ไท ที่ได้การสนับสนุนตั้งโรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่มีนายชาญ เนียมประดิษฐ์ ประธานบริหาร
"เพราะชาติพันธุ์หรือรากเหง้าต้นกำเนิดเผ่าพันธุ์ของชนชาติไทย ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ของไทย มีหลายหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สนับสนุนและทำให้เชื่อว่า คนไทยเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น เนื่องจากคนไทยมีลักษณะคล้ายกับชนชาติจ้วงแห่งมณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ปัจจุบันทางการจีนได้รวมข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ มากกว่า 30 กลุ่มที่ใช้ภาษาจ้วงเข้าด้วยกัน" นายชาญ เคยกล่าวไว้และว่า
น่าสังเกตว่า ภาษาจ้วงเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย มีคำศัพท์ร่วมกันหลายคำที่คนไทยสามารถสื่อสารเป็นคำๆ กับชาวจ้วงได้ แต่ไม่อาจเข้าใจเป็นประโยคได้เพราะชาวจ้วงรับเอาภาษาจีนมาใช้กันมาก แต่เมื่อเทียบกับภาษาลาวคนไทยสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องมีล่ามแม้ว่าศัพท์บางคำจะไม่เหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อประวัติศาสตร์ภาษาไทยไปรับเอาบาลี - สันสกฤตเข้ามามาก ชาวจ้วงจึงไม่เข้าใจภาษาไทยทุกวันนี้ นักภาษาศาสตร์จึงใช้หลักการด้านการพัฒนากำเนิดภาษาสรุปว่า ภาษาจ้วงเป็นต้นกำเนิดของชนชาติและตระกูลไทย
ดังนั้นในช่วงสงกรานต์ระหว่าง 10-16 เมษายนนี้ หากสนใจร่วมทัศนศึกษาดูงานวัฒนธรรมชนชาติจ้วง - กวางสี ฟื้นความสัมพันธ์ในอดีต "มูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล" อาสาพาชมสถานที่ต่างๆ เช่น ถิ่นต้นตอของชนเผ่าจ้วง – ดอยก่านจ้วงซานถิ่น กำเนิดของผู้หลวกทั่ว(ปู้ลัวทัว) ปู้ลัวทัวเป็นบรรพชนของชนเผ่าพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ดอยก่านจ้วงซานเป็นสถานที่รำลึกถึงปู้ลัวทัวบรรพชนของชนพื้น เมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง เป็นแหล่งศูนย์กลางของต้นเค้าวัฒนธรรมจ้วงอันมีเรื่องราวของปู้ลัวทัวเป็นแก่นแกน เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง
เดินทางเลียบแม่น้ำผานหยางเหอ-แม่น้ำอายุยืนท่องเที่ยวอุทยานถ้ำไป่หวงต้ง นั่งเรือท่องเที่ยว”เทียนคังฉวิน”(บ่อฟ้า)อุทยานภุมิศาสตร์โลก-ซานเหมินไหจิ่งชฺวี ไม่ย้อนกลับทางเก่า ลงจากเรือที่บ่อฟ้าสุดท้าย แล้วเข้าถ้ำจั่งหลงต้ง(ถ้ำซ่อนมังกร) ถ้ำอัศจรรย์ หมู่บ้านปาผานตุน-หมู่บ้านคนจ้วงอายุร้อยกว่าปี สนทนากับผู้เฒ่ารับรู้เคล็ดลับอายุยืน
ประเพณี”จ้วงชุดดำ” ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “ฟอสซิลมีชีวิต” ฟังเพลงพื้นบ้าน”ข้ามเขา”-กั้วซานเชียง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เยี่ยมชม”เรือนจ้วง” (กานหล่าน)สัมผัสวิถีชีวิตชาวจ้วง ร่วมสังสรรสุรา”เหล้าข้าว” ลิ้มลองอาหารตำรับชาวจ้วง เนื้อเค็ม ขาหมูเค็ม (แฮม) แหนม(เนื้อส้ม) ข้าวสาลีสามเหลี่ยมไก่บ้านชนบท ซุปข้าวโพดดอยสูง เป็นต้น
ชมการแสดงพื้นบ้าน สัมผัสการทอผ้า ย้อมผ้า ตีผ้า ผลักโม่หิน หมักเหล้า ทำเต้าหู้ สัมผัสวิถีชีวิตดึกดำบรรพ์ของชาวจ้วงชุดดำ เปิดเผยความลับเรื่องสีดำ
พิพิธภัณฑ์ชนชาติแห่งกวางสีชม มิวเซียมที่ออกแบบเป็นรูปกลองมโหระลึก นำชมนิทรรศการจัดแสดงวัฒนธรรมสัมฤทธิ์ หรือ กลองมโหระทึก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นรากร่วมวัฒนธรรมอาเซียน ชมนิทรรศการจำลองหมู่บ้านชนชาติต่างๆ ในมณฑลกวางสี
หากสนใจติดต่อสอบถาม นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต (มหา) รองเลขาธิการมูลนิธิฯ โทร. 0851666473 mahashin19@gmail.com ได้เลยจนถึงสิ้นเดือนนี้
.....................................
(หมายเหตุ : 'จ้วง'ญาติที่คนไทยลืม สายสัมพันธ์ที่จางหาย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong))
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...