คำว่า "จ้วง" คนไทยส่วนใหญ่แล้วมักจะคุ้นเคยกับคำกิริยาที่ว่า "จ้วงแทง" หรือ "จาบจ้วง" แต่ถ้าเป็นคำนามแล้วไม่ค่อยรู้จักว่าหมายถึงอะไร หรือจะรู้บ้างก็เพียงว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในมณฑลกวางสี จากข่าวที่ผู้บริหารเขตปกครองตนเองกวางสีและชนกลุ่มน้อยชาวจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อกระซับความสัมพันธ์จบเพียงแค่นั้น
ความจริงแล้วชาวจ้วงที่มณฑลกวางสีทางใต้ของจีนนี้นับได้ว่าเป็นเครือญาติของคนไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด ที่รวมกลุ่มกันอยู่ก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) กว่า 10 ล้านคน พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง ก็พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย ฉันทลักษณ์ในบทร้อยกรองของจ้วงกับของไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีพื้นฐานจากคำคล้องจองเช่นเดียวกัน กลองหรือฆ้องมโหระทึกนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ชาวจ้วงสื่อกับเครื่อญาติไทย ทุกวันนี้ชาวจ้วงทุกวันนี้ยังมีกลองมโหระทึกประจำตระกูลกับประจำหมู่บ้านใช้งานในพิธีกรรมที่ทำสืบเนื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์อีกรวมนับพันๆ ใบ ชาวจ้วงกับคนไทยก็มีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง
ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวผู้บริหารไทยบางยุคจึงเห็นความสำคัญเป็นตัวเชื่อมในความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และการพัฒนาในด้านต่างๆ และเชื่อแน่ว่าคนไทยปัจจุบันนี้อาจจะเป็นคนจ้วงที่อพยพมาจากมณฑลกวางสีก็เป็นได้อย่างเช่นกลุ่มบริษัทซีโน-ไท ที่ได้การสนับสนุนตั้งโรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่มีนายชาญ เนียมประดิษฐ์ ประธานบริหาร
"เพราะชาติพันธุ์หรือรากเหง้าต้นกำเนิดเผ่าพันธุ์ของชนชาติไทย ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ของไทย มีหลายหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สนับสนุนและทำให้เชื่อว่า คนไทยเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น เนื่องจากคนไทยมีลักษณะคล้ายกับชนชาติจ้วงแห่งมณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ปัจจุบันทางการจีนได้รวมข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ มากกว่า 30 กลุ่มที่ใช้ภาษาจ้วงเข้าด้วยกัน" นายชาญ เคยกล่าวไว้และว่า
น่าสังเกตว่า ภาษาจ้วงเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย มีคำศัพท์ร่วมกันหลายคำที่คนไทยสามารถสื่อสารเป็นคำๆ กับชาวจ้วงได้ แต่ไม่อาจเข้าใจเป็นประโยคได้เพราะชาวจ้วงรับเอาภาษาจีนมาใช้กันมาก แต่เมื่อเทียบกับภาษาลาวคนไทยสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องมีล่ามแม้ว่าศัพท์บางคำจะไม่เหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อประวัติศาสตร์ภาษาไทยไปรับเอาบาลี - สันสกฤตเข้ามามาก ชาวจ้วงจึงไม่เข้าใจภาษาไทยทุกวันนี้ นักภาษาศาสตร์จึงใช้หลักการด้านการพัฒนากำเนิดภาษาสรุปว่า ภาษาจ้วงเป็นต้นกำเนิดของชนชาติและตระกูลไทย
ดังนั้นในช่วงสงกรานต์ระหว่าง 10-16 เมษายนนี้ หากสนใจร่วมทัศนศึกษาดูงานวัฒนธรรมชนชาติจ้วง - กวางสี ฟื้นความสัมพันธ์ในอดีต "มูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล" อาสาพาชมสถานที่ต่างๆ เช่น ถิ่นต้นตอของชนเผ่าจ้วง – ดอยก่านจ้วงซานถิ่น กำเนิดของผู้หลวกทั่ว(ปู้ลัวทัว) ปู้ลัวทัวเป็นบรรพชนของชนเผ่าพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ดอยก่านจ้วงซานเป็นสถานที่รำลึกถึงปู้ลัวทัวบรรพชนของชนพื้น เมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง เป็นแหล่งศูนย์กลางของต้นเค้าวัฒนธรรมจ้วงอันมีเรื่องราวของปู้ลัวทัวเป็นแก่นแกน เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง
เดินทางเลียบแม่น้ำผานหยางเหอ-แม่น้ำอายุยืนท่องเที่ยวอุทยานถ้ำไป่หวงต้ง นั่งเรือท่องเที่ยว”เทียนคังฉวิน”(บ่อฟ้า)อุทยานภุมิศาสตร์โลก-ซานเหมินไหจิ่งชฺวี ไม่ย้อนกลับทางเก่า ลงจากเรือที่บ่อฟ้าสุดท้าย แล้วเข้าถ้ำจั่งหลงต้ง(ถ้ำซ่อนมังกร) ถ้ำอัศจรรย์ หมู่บ้านปาผานตุน-หมู่บ้านคนจ้วงอายุร้อยกว่าปี สนทนากับผู้เฒ่ารับรู้เคล็ดลับอายุยืน
ประเพณี”จ้วงชุดดำ” ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “ฟอสซิลมีชีวิต” ฟังเพลงพื้นบ้าน”ข้ามเขา”-กั้วซานเชียง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เยี่ยมชม”เรือนจ้วง” (กานหล่าน)สัมผัสวิถีชีวิตชาวจ้วง ร่วมสังสรรสุรา”เหล้าข้าว” ลิ้มลองอาหารตำรับชาวจ้วง เนื้อเค็ม ขาหมูเค็ม (แฮม) แหนม(เนื้อส้ม) ข้าวสาลีสามเหลี่ยมไก่บ้านชนบท ซุปข้าวโพดดอยสูง เป็นต้น
ชมการแสดงพื้นบ้าน สัมผัสการทอผ้า ย้อมผ้า ตีผ้า ผลักโม่หิน หมักเหล้า ทำเต้าหู้ สัมผัสวิถีชีวิตดึกดำบรรพ์ของชาวจ้วงชุดดำ เปิดเผยความลับเรื่องสีดำ
พิพิธภัณฑ์ชนชาติแห่งกวางสีชม มิวเซียมที่ออกแบบเป็นรูปกลองมโหระลึก นำชมนิทรรศการจัดแสดงวัฒนธรรมสัมฤทธิ์ หรือ กลองมโหระทึก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นรากร่วมวัฒนธรรมอาเซียน ชมนิทรรศการจำลองหมู่บ้านชนชาติต่างๆ ในมณฑลกวางสี
หากสนใจติดต่อสอบถาม นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต (มหา) รองเลขาธิการมูลนิธิฯ โทร. 0851666473 mahashin19@gmail.com ได้เลยจนถึงสิ้นเดือนนี้
.....................................
(หมายเหตุ : 'จ้วง'ญาติที่คนไทยลืม สายสัมพันธ์ที่จางหาย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong))
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น