ยังคงดุดันเหมือนเดิมสำหรับ "ดำดอทคอม" สมบัติ บัญชาเมฆ หรือ บัวขาว ป.ประมุข ในศึกไทยไฟท์ 2012 ณ อาคารชาญชัยอะเคเดียม ภายใน ม.กรุงเทพธนบุรี เมื่อวันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีแฟนมวยเข้าชมกันเนืองแน่น โดยประเคนอาวุธเข้าใส่ เมาโร เซอร์นา นักชกจากอิตาลีจอดในยก 3 ชนิดที่ผู้แพ้ปากแตกหัวบวมปูดเป็นลูกมะนาว แต่นั้นก็คือหน้าฉาก
คนส่วนใหญ่จะรู้แต่เพียงว่า นักมวยต้องซ้อมๆๆๆแล้วก็ซ้อมทั้งร่างกายจะจิตใจถึงจะชนะ
ร่างกายดีแต่สภาพจิตใจไม่ดีไม่เข้มแข็งพอหรือเกิดปัญหาก่อนชกก็อาจจะเกิดความทำท้อแท้หมดกำลังใจที่จะชกได้
บัวขาว ก็อยู่ในภาพเช่นนั้นคือจากลงเวทีก็ถือเวทีซ้อมนั้นเป็นการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ส่วนจิตใจหละ บัวขาว ทำอย่างไร
น้อยคนนักจะรู้ว่า บัวขาว นั้นยังซ้อมจิตใจให้เข้มแข็งด้วยๆ การนั่งสมาธิทำจิตใจให้สงบอยู่เสมอ
ทุกครั้งที่ บัวขาว จะขึ้นชกจะเดินทางไปที่วัดสุเทพนิมิต สระกำแพงใหญ่ (หลวงปู่เครื่องอุปถัมภ์ ) อ.อุทุมพรสัย จ.ศรีสะเกษ ฝึกสมาธิขอพรและขอบารมีธรรมจากหลวงปู่สุข โกวิโท หรือพระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร อายุ 81 ปี รักษาการแทนเจ้าอาวาส เกจิอาจารย์ชื่อดังจังหวัดศรีสะเกษ
ทั้งนี้ได้รับการเปิดเผยจากพระมหาติ่ง มหิสสโร พระเลขานุการ ซึ่งจบปริญญาตรี - โท ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และกำลังทำเรื่องเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอินเดียด้วยการสนับสนุนของหลวงปู่สุขว่า บัวขาว นับถือหลวงปู่มานานแล้ว ทุกครั้งที่จะขึ้นชกก็จะมาขอให้หลวงปู่พรมน้ำมนต์ให้และนั่งสมาธิเพื่อทำจิตใจให้เข็มแข็ง
พร้อมกันนี้พระมหาติ่งยังบอกว่า นอกจากนี้หลวงปู่ยังให้ของดีหายากมากกับ บัวขาว เอาไว้ติดตัวเวลาเดินทางและขึ้นชกด้วย
บัวขาว นับเป็นนักกีฬาคนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตก่อนที่ขึ้นชก ส่วนผลออกมาจะเป็นอย่างไรนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มีน้ำใจเป็นนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย
.................
(หมายเหตุ : ฮือฮา!'บัวขาว'ก่อนขึ้นชกทุกครั้ง เข้าวัดนั่งสมาธิพรมน้ำมนต์ : สำราญ สมพงษ์รายงาน ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Phramahathing Mahitsaro)
วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นศ.ตระกูลดังอบรมจูมล่า'มจร' หวังทำเว็บไซต์ครูสอนคณิต
"สนใจทำเว็บไซต์จึงได้เข้าไปค้นหาข้อมูลในกูเกิ้ล ทราบว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดอบรมการสร้างและการจัดการเว็บไซต์องค์กรด้วยโปรแกรมจูมล่า (Joomla) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอบรมฟรี จึงได้สมัคร"
นี้เป็นคำบอกเล่าของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีตระกูลดังนามว่านางสาวไอริณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขณะเดียวกันเธอก็เป็นครูสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ที่สถาบันติวเตอร์แห่งหนึ่งด้วย
นางสาวไอริณตั้งความหวังว่าเมื่ออบรมเสร็จแล้วจะนำความรู้ไปทำเว็บไซต์เก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ที่สอนพิเศษอยู่ ขณะเดียวกันก็จะช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ "มจร" เป็นการตอบแทนคุณ
เมื่อนางสาวไอริณอบรมการสร้างและการจัดการเว็บไซต์องค์กรด้วยโปรแกรมจูมล่าเสร็จแล้ว ยังได้ลงชื่อเข้ารุมอบรม Joomla Advance Extention Workshop รุ่นที่ 1 ต่ออีกด้วย
นี้เป็นรุ่นที่ 2 แล้วที่ "มจร" ภายใต้การดำเนินการของส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดอบรมการทำเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมจูมล่าให้กับพระนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปรุ่นละ 40 คนครั้งละ 2 วัน
นอกจากนี้ "มจร" ยังเปิดอบรมในระดับต่างๆที่สูงขึ้นไปและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น การออแบบเว็บไชต์ด้วย joomla CMS understanding(network) การจัดสร้างและปรับแต่งเทมเพลทจูมล่า Deamweaver และ Photoshop ตัดต่อวิดีโอ ด้วย camtasia studio Photoshop workshop microsoft office illustrator workshop สร้างระบบ e-Learning ด้วย Moodle ทั้งนี้อาจจะต้องจ่ายค่าอบรมบ้างแต่ในอัตราที่ไม่แพง
สำหรับผู้ที่สนใจการอบรมการสร้างเว็บไซต์เบื้องต้นยังสามารถสมัครได้อีก ซึ่งทางส่วนเทคโนฯ จะจัดขึ้นอีกครั้งเป็นรุ่นที่ 3 ส่วนผู้ที่ผ่านการอบรมมาแล้ว ต้องการได้ความรู้เพิ่มเติม สามารถสมัครจองที่นั่งหลักสูตรการสร้างเว็บไซต์ระดับสูง ได้ทางเว็บไซต์ http://training.mcu.ac.th
นอกจากผู้เข้ารับการอบรมแบบฟรีแล้ว ยังได้รับประทานอาหารฟรีด้วย เนื่องจากทาง "มจร" ได้รับแรงศรัทธาจากญาติโยมบริจาคทุนทรัพย์จัดทำภัตตาหารเพลถวายแก่พระภิกษุสามเณรที่เป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และพระนิสิตนักศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ ส่วนฆราวาสที่เกี่ยวข้องก็ได้รับอานิสงส์จากส่วนนี้ด้วย
นับได้ว่าเป็นการให้บริการสังคมอีกแนวทางหนึ่งของ "มจร" ทั้งนี้ด้วยตั้งความหวังว่าจะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยการอาศัยไอทีเป็นตัวช่วย
.................
(หมายเหตุ : นศ.ตระกูลดังอบรมจูมล่า'มจร' หวังทำเว็บไซต์ครูสอนคณิต : สำราญ สมพงษ์รายงาน)
นี้เป็นคำบอกเล่าของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีตระกูลดังนามว่านางสาวไอริณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขณะเดียวกันเธอก็เป็นครูสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ที่สถาบันติวเตอร์แห่งหนึ่งด้วย
นางสาวไอริณตั้งความหวังว่าเมื่ออบรมเสร็จแล้วจะนำความรู้ไปทำเว็บไซต์เก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ที่สอนพิเศษอยู่ ขณะเดียวกันก็จะช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ "มจร" เป็นการตอบแทนคุณ
เมื่อนางสาวไอริณอบรมการสร้างและการจัดการเว็บไซต์องค์กรด้วยโปรแกรมจูมล่าเสร็จแล้ว ยังได้ลงชื่อเข้ารุมอบรม Joomla Advance Extention Workshop รุ่นที่ 1 ต่ออีกด้วย
นี้เป็นรุ่นที่ 2 แล้วที่ "มจร" ภายใต้การดำเนินการของส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดอบรมการทำเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมจูมล่าให้กับพระนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปรุ่นละ 40 คนครั้งละ 2 วัน
นอกจากนี้ "มจร" ยังเปิดอบรมในระดับต่างๆที่สูงขึ้นไปและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น การออแบบเว็บไชต์ด้วย joomla CMS understanding(network) การจัดสร้างและปรับแต่งเทมเพลทจูมล่า Deamweaver และ Photoshop ตัดต่อวิดีโอ ด้วย camtasia studio Photoshop workshop microsoft office illustrator workshop สร้างระบบ e-Learning ด้วย Moodle ทั้งนี้อาจจะต้องจ่ายค่าอบรมบ้างแต่ในอัตราที่ไม่แพง
สำหรับผู้ที่สนใจการอบรมการสร้างเว็บไซต์เบื้องต้นยังสามารถสมัครได้อีก ซึ่งทางส่วนเทคโนฯ จะจัดขึ้นอีกครั้งเป็นรุ่นที่ 3 ส่วนผู้ที่ผ่านการอบรมมาแล้ว ต้องการได้ความรู้เพิ่มเติม สามารถสมัครจองที่นั่งหลักสูตรการสร้างเว็บไซต์ระดับสูง ได้ทางเว็บไซต์ http://training.mcu.ac.th
นอกจากผู้เข้ารับการอบรมแบบฟรีแล้ว ยังได้รับประทานอาหารฟรีด้วย เนื่องจากทาง "มจร" ได้รับแรงศรัทธาจากญาติโยมบริจาคทุนทรัพย์จัดทำภัตตาหารเพลถวายแก่พระภิกษุสามเณรที่เป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และพระนิสิตนักศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ ส่วนฆราวาสที่เกี่ยวข้องก็ได้รับอานิสงส์จากส่วนนี้ด้วย
นับได้ว่าเป็นการให้บริการสังคมอีกแนวทางหนึ่งของ "มจร" ทั้งนี้ด้วยตั้งความหวังว่าจะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยการอาศัยไอทีเป็นตัวช่วย
.................
(หมายเหตุ : นศ.ตระกูลดังอบรมจูมล่า'มจร' หวังทำเว็บไซต์ครูสอนคณิต : สำราญ สมพงษ์รายงาน)
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สาววัยใส'ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น'ใฝ่ธรรมเรียนป.โท'มจร'
คำว่า "ยูมิโก๊ะ" คงจะเป็นที่คุ้นเคยสำหรับคนคอการ์ตูนญี่ปุ่นจากเรื่อง "ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน" เพราะเป็นแม่ของโคนันตัวเอกของเรื่องนั่นเอง
แต่ในที่นี้หมายถึงลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ที่จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดลและเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่ใช้นามทางเฟซบุ๊กว่า "Yuko Fc"
หากดูจากหน้าตาเธอแล้วต้องบอกว่าไม่แพ้ดาราญี่ปุ่นหลายๆ คนเลยที่เดียว แต่การมองคนนั้นไม่ควรที่จะดูที่ใบหน้าควรจะมองไปถึงจิตใจด้วย และในที่นี้จะมองเธอที่จุดนี้
"ยูมิโก๊ะ" นอกจากจะทำหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว เธอยังสนใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) สาขาพระพุทธศาสนา ประดับปริญญาโทปี 2 ขณะนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์ และทำรายการธรรมะแนว "กบนอกกะลา" เพราะอะไรเธอถึงสนใจด้านนี้
"รังษี สุทนต์" อาจารย์อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มจร ผู้ได้ฉายาว่า "พระไตรปิฎกเคลื่อนที่" ให้คำตอบว่า เนื่องจาก "ยูมิโก๊ะ" นับถือพระพุทธศาสนามหายานนิกายนิชิเรนในประเทศญี่ปุ่นตามครอบครัวโดยแม่เป็นคนไทย
ทั้งนี้เธอสนใจใฝ่รู้และศรัทธาในพระพุทธศาสนานิยายเถรวาทมาก จึงต้องการทำวิทยานิพนธ์เปรียบเทียบระหว่างนิชิเรนกับเถรวาท แต่กรรมการสอบวิทยานิพนธ์มองว่าหนักไปจึงทำให้เธอทำในเชิงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามหายานนิกายนิชิเรนเท่านั้น
"ผมมองว่า เขาจะเป็นกำลังสำคัญในการเชื่อต่อมหายานแบบนิชิเรนให้ชาว มจร ได้ศึกษา และพระไตรปิฎกเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญา ทั้งนำมาใช้แสวงหาทรัพย์และนำมาใช้ปฏิบัติดำเนินชีวิต" อาจารย์รังษีระบุ
ที่นี้มาดูว่า ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ปุจฉา-วิสัชนาธรรมในหน้าเฟซบุ๊กเป็นอย่างไรบ้าง
"Yuko Fc สวัสดีค่ะ อ.รังษี พอดีหนูอยากตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่อง กาลามสูตร ในหนังสือ พระไตรปิฎกวิเคราะห์ว่า ข้ออื่นๆ ที่นอกเหนือจาก "อย่าปลงใจเชื่อตามตำรา" นั้น ถือว่า เป็นพุทธพจน์จริงๆ ใช่มั้ยคะ
หนูมีคำถามสงสัยอยากจะเรียนถามอ.คะ ว่า : -พระไตรปิฎกมีข้อความใดบ้าง ที่ถือว่าไม่เป็นพุทธพจน์บ้างคะ (เช่นอะไรบ้างคะ?) -มีพุทธพจน์ที่อยู่ในตำราที่ไม่ไช่พระไตรปิฎกที่ทางเถรวาทยอมรับบ้างมั้ยคะ ถ้ามี มีในตำราอะไรบ้างคะ"
ดูจากคำถามเธอประเด็นหลังแล้วหลายคนคงจะทึ่งเพราะว่าวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่คงจะไม่คิดจะถามคำถามเช่นนี้ ส่วนคำตอบของอาจารย์รังษีเป็นอย่างไรนั้นคงต้องติดตามได้ที่เฟซบุ๊กของอาจารย์ที่ http://www.facebook.com/arjarn.rangsi เพราะอย่างเรื่องกาลามสูตรก็มีถึง 16 ตอนและยังไม่จบ ส่วนประเด็นพระไตรปิฎกมีข้อความใดบ้างที่ถือว่าไม่เป็นพุทธพจน์บ้างก็ถึง 5 ตอนด้วยกัน
นับได้ว่าสาววัยใสลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่นนาม "ยูมิโก๊ะ" คงจะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สนในศึกษาพระพุทธศาสนาในเชิงลึกซึ้ง
.................
(หมายเหตุ : สาววัยใส'ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น'ใฝ่ธรรมเรียนป.โท'มจร' : สำราญ สมพงษ์รายงาน)
แต่ในที่นี้หมายถึงลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ที่จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดลและเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่ใช้นามทางเฟซบุ๊กว่า "Yuko Fc"
หากดูจากหน้าตาเธอแล้วต้องบอกว่าไม่แพ้ดาราญี่ปุ่นหลายๆ คนเลยที่เดียว แต่การมองคนนั้นไม่ควรที่จะดูที่ใบหน้าควรจะมองไปถึงจิตใจด้วย และในที่นี้จะมองเธอที่จุดนี้
"ยูมิโก๊ะ" นอกจากจะทำหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว เธอยังสนใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) สาขาพระพุทธศาสนา ประดับปริญญาโทปี 2 ขณะนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์ และทำรายการธรรมะแนว "กบนอกกะลา" เพราะอะไรเธอถึงสนใจด้านนี้
"รังษี สุทนต์" อาจารย์อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มจร ผู้ได้ฉายาว่า "พระไตรปิฎกเคลื่อนที่" ให้คำตอบว่า เนื่องจาก "ยูมิโก๊ะ" นับถือพระพุทธศาสนามหายานนิกายนิชิเรนในประเทศญี่ปุ่นตามครอบครัวโดยแม่เป็นคนไทย
ทั้งนี้เธอสนใจใฝ่รู้และศรัทธาในพระพุทธศาสนานิยายเถรวาทมาก จึงต้องการทำวิทยานิพนธ์เปรียบเทียบระหว่างนิชิเรนกับเถรวาท แต่กรรมการสอบวิทยานิพนธ์มองว่าหนักไปจึงทำให้เธอทำในเชิงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามหายานนิกายนิชิเรนเท่านั้น
"ผมมองว่า เขาจะเป็นกำลังสำคัญในการเชื่อต่อมหายานแบบนิชิเรนให้ชาว มจร ได้ศึกษา และพระไตรปิฎกเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญา ทั้งนำมาใช้แสวงหาทรัพย์และนำมาใช้ปฏิบัติดำเนินชีวิต" อาจารย์รังษีระบุ
ที่นี้มาดูว่า ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ปุจฉา-วิสัชนาธรรมในหน้าเฟซบุ๊กเป็นอย่างไรบ้าง
"Yuko Fc สวัสดีค่ะ อ.รังษี พอดีหนูอยากตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่อง กาลามสูตร ในหนังสือ พระไตรปิฎกวิเคราะห์ว่า ข้ออื่นๆ ที่นอกเหนือจาก "อย่าปลงใจเชื่อตามตำรา" นั้น ถือว่า เป็นพุทธพจน์จริงๆ ใช่มั้ยคะ
หนูมีคำถามสงสัยอยากจะเรียนถามอ.คะ ว่า : -พระไตรปิฎกมีข้อความใดบ้าง ที่ถือว่าไม่เป็นพุทธพจน์บ้างคะ (เช่นอะไรบ้างคะ?) -มีพุทธพจน์ที่อยู่ในตำราที่ไม่ไช่พระไตรปิฎกที่ทางเถรวาทยอมรับบ้างมั้ยคะ ถ้ามี มีในตำราอะไรบ้างคะ"
ดูจากคำถามเธอประเด็นหลังแล้วหลายคนคงจะทึ่งเพราะว่าวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่คงจะไม่คิดจะถามคำถามเช่นนี้ ส่วนคำตอบของอาจารย์รังษีเป็นอย่างไรนั้นคงต้องติดตามได้ที่เฟซบุ๊กของอาจารย์ที่ http://www.facebook.com/arjarn.rangsi เพราะอย่างเรื่องกาลามสูตรก็มีถึง 16 ตอนและยังไม่จบ ส่วนประเด็นพระไตรปิฎกมีข้อความใดบ้างที่ถือว่าไม่เป็นพุทธพจน์บ้างก็ถึง 5 ตอนด้วยกัน
นับได้ว่าสาววัยใสลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่นนาม "ยูมิโก๊ะ" คงจะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สนในศึกษาพระพุทธศาสนาในเชิงลึกซึ้ง
.................
(หมายเหตุ : สาววัยใส'ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น'ใฝ่ธรรมเรียนป.โท'มจร' : สำราญ สมพงษ์รายงาน)
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555
'มหานิกาย'มอบป.เอก'ธรรมยุต' ย้ำภาพทำลายกำแพงนิกาย
ภาพความร่วมมือระหว่างพระนิกายทั้งสองในประเทศไทยคือมหานิกายกับธรรมยุตไม่ได้ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนเท่าใดนัก ทั้งๆที่มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ทราบกันก็เฉพาะในวงในเท่านั้น
อย่างภาพที่พระธรรมสุธี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ฝ่ายมหานิยาย พร้อมด้วยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ได้ร่วมพิธีถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺสาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16,17,18 ฝ่ายธรรมยุต และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) วิทยาเขตสิรินธร อ้อมใหญ่ จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา
หรืออย่างเช่นกรณีประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน โดยได้พิจารณารายชื่อพระเถรานุเถระที่จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ประจำปี 2555 ซึ่งปีนี้มีตำแหน่งชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกาย ว่างจำนวน 1 ตำแหน่ง
ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้พิจารณาเห็นควรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และอธิการบดี มจร ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะรูปใหม่ มีราชทินนามว่า “พระพรหมบัณฑิต” สร้างความปลาบปลื้มให้กับชาว มจร และชาวพุทธไม่น้อย
ข้อมูลเช่นนี้ก็ทราบอยู่เฉพาะในวงจำกัดเช่นเดียวกัน ไม่เหมือนกับกรณีพฤติกรรมของพระสงฆ์ที่ผิดพระธรรมวินัย มั่วสีกา ค้ายาเสพติด เต้นโคโยตี้เป็นต้น เมื่อมีข้อมูลทางลบเช่นนี้ถูกเผยแพร่ออกมา จะมีการเผยแพร่ต่อทางสังคมออนไลน์โดยเฉพาะทางเฟซบุ๊กอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีเสียงเรียกร้องจากพระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดี มจร ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ต้องการให้ มส.ตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบควบคุม
ความจริงแล้วความร่วมมือของพระทั้งสองนิยายหรือแม้นแต่พระนิกายต่างๆในต่างประเทศ ก็มีมาอย่างต่อเนื่องดูการจัดงานวันวิสาขะโลกเป็นตัวอย่าง ทั้งการปกครองและการศึกษา มมร.ก็เคยพิจารณาพิธีถวายปริญาดุษฏีบัณฑิตแก่พระเถระฝ่ายมหานิกายเช่นเดียวกัน
ต่อกรณีนี้ "สมหมาย สุภาษิต" รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังมคม มจร ชี้แจงว่า การที่ มจร ถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ ฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะมีกิจกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกระบวนการการเสนอชื่อให้สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติไปตามคุณสมบัติอย่างแท้จริง โดยไม่มีสี การเมืองหรือนิกายเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
"ส่วนการการที่ มส.พิจารณาเห็นชอบให้พระธรรมโกศาจารย์เลื่อนสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกายนั้น ก็เป็นพระราชาคณะที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 1 ใน 3 รูปที่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการ มส. เสนอให้ที่ประชุม มส.พิจารณา" "สมหมาย" ระบุ
ภาพ มจร พิธีถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระธรรมวราจารย์ พระเถระฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการย้ำการทุบกำแพงนิกายโดยแท้ ทั้งนี้เพราะทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งบนหลักของ "วิชชา" ไม่ยึดฝักฝ่ายหรือนิกายเป็นที่ตั้ง
หากยังมี "อวิชชา" ความเป็นนิกาย สี หรือแม้นแต่ความเป็นศาสนาจนทำให้เห็นภาพวัดพุทธในบังคลาเทศถูกเผา ทำให้ชาวพุทธต้องรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้ยุติพฤติกรรมการทำลายล้างเพราะศาสนาเป็นต้นเหตุ ภาพความร่วมมือของทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็คงไม่เกิด ฝ่ายการเมืองจะเอาเป็นแบบอย่างความปรองดองก็คงจะเกิดขึ้นได้
สำราญ สมพงษ์รายงาน
อย่างภาพที่พระธรรมสุธี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ฝ่ายมหานิยาย พร้อมด้วยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ได้ร่วมพิธีถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺสาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16,17,18 ฝ่ายธรรมยุต และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) วิทยาเขตสิรินธร อ้อมใหญ่ จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา
หรืออย่างเช่นกรณีประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน โดยได้พิจารณารายชื่อพระเถรานุเถระที่จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ประจำปี 2555 ซึ่งปีนี้มีตำแหน่งชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกาย ว่างจำนวน 1 ตำแหน่ง
ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้พิจารณาเห็นควรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และอธิการบดี มจร ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะรูปใหม่ มีราชทินนามว่า “พระพรหมบัณฑิต” สร้างความปลาบปลื้มให้กับชาว มจร และชาวพุทธไม่น้อย
ข้อมูลเช่นนี้ก็ทราบอยู่เฉพาะในวงจำกัดเช่นเดียวกัน ไม่เหมือนกับกรณีพฤติกรรมของพระสงฆ์ที่ผิดพระธรรมวินัย มั่วสีกา ค้ายาเสพติด เต้นโคโยตี้เป็นต้น เมื่อมีข้อมูลทางลบเช่นนี้ถูกเผยแพร่ออกมา จะมีการเผยแพร่ต่อทางสังคมออนไลน์โดยเฉพาะทางเฟซบุ๊กอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีเสียงเรียกร้องจากพระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดี มจร ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ต้องการให้ มส.ตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบควบคุม
ความจริงแล้วความร่วมมือของพระทั้งสองนิยายหรือแม้นแต่พระนิกายต่างๆในต่างประเทศ ก็มีมาอย่างต่อเนื่องดูการจัดงานวันวิสาขะโลกเป็นตัวอย่าง ทั้งการปกครองและการศึกษา มมร.ก็เคยพิจารณาพิธีถวายปริญาดุษฏีบัณฑิตแก่พระเถระฝ่ายมหานิกายเช่นเดียวกัน
ต่อกรณีนี้ "สมหมาย สุภาษิต" รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังมคม มจร ชี้แจงว่า การที่ มจร ถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจักการเชิงพุทธ แด่พระธรรมวราจารย์ ฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะมีกิจกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกระบวนการการเสนอชื่อให้สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติไปตามคุณสมบัติอย่างแท้จริง โดยไม่มีสี การเมืองหรือนิกายเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
"ส่วนการการที่ มส.พิจารณาเห็นชอบให้พระธรรมโกศาจารย์เลื่อนสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกายนั้น ก็เป็นพระราชาคณะที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 1 ใน 3 รูปที่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการ มส. เสนอให้ที่ประชุม มส.พิจารณา" "สมหมาย" ระบุ
ภาพ มจร พิธีถวายปริญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระธรรมวราจารย์ พระเถระฝ่ายธรรมยุตดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการย้ำการทุบกำแพงนิกายโดยแท้ ทั้งนี้เพราะทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งบนหลักของ "วิชชา" ไม่ยึดฝักฝ่ายหรือนิกายเป็นที่ตั้ง
หากยังมี "อวิชชา" ความเป็นนิกาย สี หรือแม้นแต่ความเป็นศาสนาจนทำให้เห็นภาพวัดพุทธในบังคลาเทศถูกเผา ทำให้ชาวพุทธต้องรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้ยุติพฤติกรรมการทำลายล้างเพราะศาสนาเป็นต้นเหตุ ภาพความร่วมมือของทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็คงไม่เกิด ฝ่ายการเมืองจะเอาเป็นแบบอย่างความปรองดองก็คงจะเกิดขึ้นได้
สำราญ สมพงษ์รายงาน
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555
จุฬาฯถวายทุน'พระมหาจุฬาฯ' ทำวิจัย'พระกับการเมือง'
สภาพการเมืองไทยทุกวันนี้พูดได้เต็มปากว่ามีการแบ่งฝ่ายเล่นกันอย่างชัดเจนแบบไม่มีกติกา ไม่มีน้ำใจนักกีฬา ไม่รู้จักแพ้ ไม่รู้จักชนะ ไม่รู้จักให้อภัย ต่างชี้หน้าด่ากัน "เลว" ทำดีก็ด่าว่า "สร้างภาพ" ทำชั่วก็ทับถม ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า "สนับสนุนคนชั่ว"
ไม่ขีดวงในการเล่น ไม่รู้ว่าการเมืองไหนในเป็นการเมืองในประเทศ การเมืองไหนเป็นการเมืองระหว่างประเทศที่คนทั้งชาติต้องร่วมมือกัน
ไม่นึกถึงคำของพระพุทธทาสที่ว่า "เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่ เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย"
ตอนนี้มีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นักการเมืองไทยก็รู้เพียงแค่ผลว่าจะออกมาอย่างไรเท่านั้น แต่ไม่สนใจว่าหลังจากนั้นเขาร่วมมือกันพัฒนาประเทศอย่างไร
นักการเมืองไทยไม่อยากได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพกันบ้างหรืออย่างไร ดูอย่างพม่าที่นักการเมืองไทยมองอย่างเหยียดหยามว่าด้อยพัฒนา หล้าหลังไทย
แต่พม่าก็มีนักการเมืองที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อ 20 ปีก่อนคือ "อองซาน ซูจี" และปีนี้ก็กำลังมีการเสนอชื่อผู้นำพม่าเพื่อรับรางวัลนี้ หากผลออกมาว่า "ได้" และมีแนวโน้มจะเป็นจริงด้วย แล้วนักการเมืองไทยจะเอาหน้าไปไว้ไหน แล้วไม่คิดสร้างชื่อกันบ้างหรืออย่างไร
ขณะเดียวกันการเมืองไทยมาช่วง 6 ปีที่ผ่านมาก็ได้เห็นภาพพระสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมของน้ำคลำการเมืองเน่าๆนั้นด้วย จนกระทั้งมีผู้เสนอความคิดให้พระสงฆ์ไทยมีสิทธิ์เลือกตั้งได้อย่างประเทศศรีลังกาและพม่า
นี้คงเป็นเหตุผลบางส่วนที่ทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถวายทุนทำวิจัย "พระกับการเมือง" ให้กับพระจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เชื่อว่าคงจะสร้างภาพลักษณ์ให้กับพระที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและนักการเมืองไทยได้บ้าง
ทั้งนี้การทำวิจัยดังกล่าวภายใต้การนำของ "ปรีชา ช้างขวัญยืน" ผู้อำนวยการพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนละ 150,000 บาท
แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อเรื่องคือ "แนวโน้วบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า" พระที่รับทุนคือ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี และเรื่อง "พระสงฆ์กับสงคราที่ยุติธรรม" พระที่รับทุนคือพระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
พระมหาหรรษาเปิดเผยผ่านทางเฟซบุ๊กนาม "Hansa Dhammahaso" ความว่า สำหรับงานวิจัยเรื่อง "บทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า" นั้น ได้เริ่มต้นศึกษาและรวบรวมข้อมูลมาตั้งแต่ตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรการเมืองการปกครองในระดับประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 15 สถาบันพระปกเกล้าแล้ว โดยได้เจริญพร ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการตัดสินใจเข้าศึกษาหลักสูตรดังกล่าว เพื่อจะได้นำข้อมูลจากเพื่อนร่วมรุ่นที่เป็น ส.ส. ส.ว. และข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนมาประมวลเป็นข้อมูลในการทำวิจัยเรื่องนี้
การทำวิจัยเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเดินทางไปศึกษา และสัมภาษณ์นักการศาสนา นักการเมือง และประชาชนบางส่วนในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นกรอบในการกำหนด และตั้งคำถามว่า การเมืองคืออะไร พระสงฆ์ไทยว่าควรจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองได้หรือไม่ หรือเกี่ยวของในลักษณะใด จึงจะทำให้พระสงฆ์ได้วางบทบาทและสถานะของตนเองให้สอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสมกับบริบท และสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
เชื่อมั่นว่างานวิจัยเรื่องนี้จะทำให้ได้อีกหนึ่งคำตอบ หรือหนึ่งทางเลือกเพื่อที่จะบอกพระสงฆ์และสังคมไทยว่า แนวโนมบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า" ควรจะมีทิศทางและแนวทางอย่างไร การตอบคำถามเหล่านี้ มิได้มีนัยเพื่อตัวพระสงฆ์หรือนักการเมืองไทยเท่านั้น หากแต่เป็นการวางสถานะ และจุดยืนของพระพุทธศาสนา เพื่อความตั้งมั่นและยั่งยืนของพระพุทธศาสนาทั้งในปัจจุบัน และอนาคตต่อไป
ส่วนหัวข้อเรื่อง "พระสงฆ์กับสงครามที่ยุติธรรม" ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวข้อที่ร่วมสมัย และกลุ่มคนจำนวนมากกำลังอยากจะได้คำตอบว่า "พระสงฆ์สามารถทำสงครามเพื่อนำมาซึ่งความยุติธรรมได้หรือไม่?"
"จะเห็นว่า หัวข้องานวิจัยทั้งสองเรื่องนี้ มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก" พระมหาหรรษาระบุ
เชื่อแน่ว่าผลงานวิจัยทั้ง 2 หัวข้อนี้จะได้เห็นภาพของนักการเมืองไทยเชิงพุทธเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นแบบอย่างของการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในไทยและทั่วโลกได้
.................
(หมายเหตุ : จุฬาฯถวายทุน'พระมหาจุฬาฯ' ทำวิจัย'พระกับการเมือง' : สำราญ สมพงษ์รายงาน)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...