วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นศ.ตระกูลดังอบรมจูมล่า'มจร' หวังทำเว็บไซต์ครูสอนคณิต

               "สนใจทำเว็บไซต์จึงได้เข้าไปค้นหาข้อมูลในกูเกิ้ล ทราบว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดอบรมการสร้างและการจัดการเว็บไซต์องค์กรด้วยโปรแกรมจูมล่า (Joomla)   โดยเฉพาะอย่างยิ่งอบรมฟรี จึงได้สมัคร"

               นี้เป็นคำบอกเล่าของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีตระกูลดังนามว่านางสาวไอริณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขณะเดียวกันเธอก็เป็นครูสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ที่สถาบันติวเตอร์แห่งหนึ่งด้วย

               นางสาวไอริณตั้งความหวังว่าเมื่ออบรมเสร็จแล้วจะนำความรู้ไปทำเว็บไซต์เก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ที่สอนพิเศษอยู่ ขณะเดียวกันก็จะช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ "มจร" เป็นการตอบแทนคุณ

               เมื่อนางสาวไอริณอบรมการสร้างและการจัดการเว็บไซต์องค์กรด้วยโปรแกรมจูมล่าเสร็จแล้ว ยังได้ลงชื่อเข้ารุมอบรม Joomla Advance Extention Workshop รุ่นที่ 1 ต่ออีกด้วย

               นี้เป็นรุ่นที่ 2 แล้วที่ "มจร" ภายใต้การดำเนินการของส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดอบรมการทำเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมจูมล่าให้กับพระนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปรุ่นละ 40 คนครั้งละ 2 วัน

               นอกจากนี้ "มจร" ยังเปิดอบรมในระดับต่างๆที่สูงขึ้นไปและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น  การออแบบเว็บไชต์ด้วย joomla CMS  understanding(network)  การจัดสร้างและปรับแต่งเทมเพลทจูมล่า Deamweaver และ Photoshop  ตัดต่อวิดีโอ ด้วย camtasia studio  Photoshop workshop microsoft office illustrator workshop สร้างระบบ e-Learning ด้วย Moodle ทั้งนี้อาจจะต้องจ่ายค่าอบรมบ้างแต่ในอัตราที่ไม่แพง

               สำหรับผู้ที่สนใจการอบรมการสร้างเว็บไซต์เบื้องต้นยังสามารถสมัครได้อีก ซึ่งทางส่วนเทคโนฯ จะจัดขึ้นอีกครั้งเป็นรุ่นที่ 3 ส่วนผู้ที่ผ่านการอบรมมาแล้ว ต้องการได้ความรู้เพิ่มเติม สามารถสมัครจองที่นั่งหลักสูตรการสร้างเว็บไซต์ระดับสูง ได้ทางเว็บไซต์ http://training.mcu.ac.th

               นอกจากผู้เข้ารับการอบรมแบบฟรีแล้ว ยังได้รับประทานอาหารฟรีด้วย เนื่องจากทาง "มจร" ได้รับแรงศรัทธาจากญาติโยมบริจาคทุนทรัพย์จัดทำภัตตาหารเพลถวายแก่พระภิกษุสามเณรที่เป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และพระนิสิตนักศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ  ส่วนฆราวาสที่เกี่ยวข้องก็ได้รับอานิสงส์จากส่วนนี้ด้วย

               นับได้ว่าเป็นการให้บริการสังคมอีกแนวทางหนึ่งของ "มจร" ทั้งนี้ด้วยตั้งความหวังว่าจะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยการอาศัยไอทีเป็นตัวช่วย

.................

(หมายเหตุ : นศ.ตระกูลดังอบรมจูมล่า'มจร' หวังทำเว็บไซต์ครูสอนคณิต : สำราญ สมพงษ์รายงาน)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...