วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

‘สื่อหิวข่าว’ จากเหตุกราดยิงโคราช ในทัศนะของนักวิชาการสื่อ ‘วิไลวรรณ จงวิไลเกษม’


ปกติสื่อทำหน้าที่ในการรายงานข่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้สื่อข่าว ผู้รายงานข่าว หรืออะไรก็ตาม คุณก็คือคนทำข่าว แล้ว

ข่าวคือ ข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ควรมีความน่าสนใจ มีความสำคัญ มีคุณค่าของความเป็นข่าว

หน้าที่ของสื่อคือต้องคิดว่าสิ่งไหนควรจะเป็นข่าว ไม่เช่นนั้นจะมีการนำสิ่งที่ไม่ใช่ข่าวมาเป็นข่าว

เหตุการณ์โคราชเป็นข่าว แต่อยู่ที่ว่าจะเสนออย่างไรถึงจะเกิดประโยชน์ เพียงใดมติใด ถือเป็นข่าวภาวะวิกฤติ สื่อมีหน้าที่ในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริง เตือนภัย ลดช่องว่างของข้อมูลข่าวสาร

ไม่ควรรายงานเป็นการแจ้งข้อมูลแก่ผู้ก่อเหตุ  ไม่ใช่รายงานว่า who what where when why  แต่ไม่มีใครบอกเลยว่าผู้เคราะห์ร้ายต้องทำตัวยังไงกับเหตุการณ์แบบนี้ คือ how  ควรจะรู้ว่าจำเป็นเพียงใดที่จะต้องรายงานเรื่องนั้นๆ แค่ไหนที่มันจะไม่ทำให้เราบกพร่องในหน้าที่ของตัวเอง และขณะเดียวกันคุณก็ต้องไม่ก้าวล่วงการละเมิดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้เคราะห์ร้าย การรายงานข่าวแบบนี้เรียกว่าการรายงานข่าวเชิงข้อมูล

สื่อไทยมีปัญหามากกับการรายงานข่าวเชิงข้อมูล มีปัญหามากกับการให้ข้อมูลกับคนดู ไม่เป็น gatekeeper (นายประตูที่คอยคัดกรองข่าวสาร) คัดเลือกประเด็นที่ควรนำเสนอ  ควรทำงานเป็นทีม สิ่งที่สำคัญก็คือคนที่อยู่เบื้องหลัง ก็คือกองบรรณาธิการที่ควรป้อนข้อมูลให้ผู้สื่อข่าวภาคสนาม

ควรศึกษาจากนักข่าวต่างประเทศ บริหารข้อมูลอย่างไร  มี database เก็บไว้ไหม data analytics, data journalism

นักข่าวมีปัญหามากเรื่องความรู้ในการรายงานข่าวแต่ละประเภท นักข่าวส่วนมากให้ความสำคัญกับเรื่องทักษะในการรายงานข่าว ต้องการคนที่จะมายืนเปิดหน้ากล้อง ยืนรายงานได้ แต่ไม่ได้ดูว่าคนคนนั้นมีความรู้พอไหม แล้วพอเกิดวิกฤติเขาก็เอาทักษะในสถานการณ์ปกติของเขามาใช้ในสถานการณ์วิกฤติ กลายเป็นสื่อทำให้คนรู้สึกไม่ปลอดภัยเสียเอง

ทัศนคติ ปัญหาคือนักข่าวภาคสนามส่วนใหญ่เป็นเด็กรุ่นใหม่ ถ้าคุณดูพวกสำนักข่าวต่างประเทศเขาจะเอาพวกมืออาชีพ ระดับมือโปรลงไปในสนาม ยิ่งถ้าคุณบอกว่าต้อง real time วินาทีต่อวินาทีแข่งกับช่องอื่น ดังนั้นมันต้องใช้สติ ใช้ปัญญาอย่างสูงมากๆ ในการตัดสินใจ เพราะทุกอย่างมันจะถูก gatekeeper รอบแรกจากผู้สื่อข่าวภาคสนาม ระบบนิเวศสื่อเปลี่ยน media ecology เปลี่ยน ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสื่อมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นอีก ทุกสื่อเป็นคู่แข่งหมด
ระบบนิเวศสื่อมันซับซ้อนมากมายเลย แล้วสื่อใหม่พวกนั้นมันไม่ต้องใช้งบประมาณที่เยอะหรือพลังงานมหาศาล ระบบธุรกิจสื่อ ที่ใช้เรื่องของสปอนเซอร์ แล้วสปอนเซอร์นั้นมันใช้มาตรวัดด้วยเรตติ้ง ดังนั้น เขาอยากให้สปอนเซอร์เข้า เขาก็ต้องทำเรตติ้งให้ได้ คือทุกอย่างมันบิดเบี้ยว โครงสร้างสื่อประเทศไทยมันบิดเบี้ยว แล้วยิ่งมาแข่งกับเพจต่างๆ ที่อยู่บนออนไลน์ ที่ กสทช. ก็ยังเข้าไปไม่ถึง เข้าไปควบคุมไม่ได้อีก และคนดูก็รู้เท่าทัน ก็อยากที่จะดูเรื่องความถูกต้อง อยากจะเห็นสื่อที่เป็นสื่อที่ดี ซึ่งสิ่งนี้ไงที่พิสูจน์ว่าคนอยากเห็นสื่อที่มีคุณภาพ พอเกิดเหตุการณ์วิกฤติแบบนี้ลองสังเกตนะ ดูอย่าง ThaiPBS ที่เรตติ้งจากต่ำในวันแรกแต่ขยับขึ้นตามลำดับ
ต้องเหมือน ทันเท่าเขา ตกข่าวไม่ได้  เพราะงั้นไม่ใช่ว่านักข่าวหิวข่าวหรอก บก. นั่นแหละหิวข่าว หิวขยะเน่าด้วย (หัวเราะ)

ละเลยว่าผลกระทบจากการรายงานของคุณกำลังให้ข้อมูลกับผู้ก่อเหตุด้วย

ทีม กองบรรณาธิการข้างในควรจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการวางตำแหน่งการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานมากขึ้น ยืนยันเลยว่านักข่าวไม่ได้ใช้โสตประสาทแค่ตาเห็นแล้วหูได้ยิน นักข่าวจะต้องใช้ปัญญาสติที่ไตร่ตรองอย่างมาก แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องอาศัยประสบการณ์ด้วย แต่ว่าลองไปดูสินักข่าวภาคสนามหลายคน ก็เป็นนักข่าวที่ประสบการณ์น้อย เคยผ่านเหตุการณ์วิกฤติมากันบ้างไหม ดังนั้นเรามองว่าการทำงานต้องทำงานเป็นทีม เพราะบางทีกองหนุนข้างในก็ใจร้าย ผลักนักข่าวตัวเองลงสนามเพื่อลงไปเจอกับวิกฤติ

สื่อต้องให้ความรู้ ให้ข้อเท็จจริง ให้คนรู้เท่าทันสถานการณ์ ไว้เป็นข้อมูลสำหรับช่วยในเวลาเกิดวิกฤติ ในการอุดช่องโหว่
 กสทช. ถามว่า กสทช. จริงจังและชัดเจนกับการกำกับขนาดไหน ปัญหาคือไม่เคยชัดเจน กสทช. ไม่มีความพร้อม แล้วโทรทัศน์ดิจิตอลเราพร้อมหรือยัง และนอกจากนั้นไม่ใช่แค่การกำกับอย่างเดียว แต่ควรส่งเสริมและสนับสนุนด้วย การกำกับก็ไม่ชัดเจน แล้วก็ไม่เคยส่งเสริม ไม่เคยสนับสนุน สทช. เป็นฝ่ายสนับสนุนให้ความรู้ ควรที่จะจัดอบรมเรื่องนี้ไหม กสทช. มีเงินอยู่ในมือ เอาเงินเขาไปตั้งเยอะแล้ว ระบบความปลอดภัย ระบบการป้องกันอาวุธที่เป็นอาวุธร้ายแรง อาวุธสงคราม มีปัญหา แล้วนักข่าวแทบไม่ไปตามเลย

ข่าวเชิงข้อมูล ข่าว investigative หรือข่าวสืบสวน(โยนิโส)





 หลักสูตรทางด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ที่จะผลิตคนทำสื่อออกไปก็ต้องมีการปรับตัว


ดังนั้น ณ ตอนนี้เขาพูดกันถึงเรื่องนี้แล้วนะว่า จริงๆ หลักสูตรที่เราเรียนกันตั้งเยอะมันไม่จำเป็นแล้วนะ จะเรียนทำไมกันนานขนาดนั้น 4 ปีนี่เหมือนหลอกเด็กนะ จบออกมาความรู้ที่เรียนเอามาใช้ไม่ได้แล้ว มัน out แล้ว แต่ท้ายที่สุดก็ให้ know how บางอย่างนะ ไม่ใช่ว่าเรียนแล้วไม่มีประโยชน์ อย่างน้อยคุณมีแบคกราวด์แล้ว คุณก็จะรู้จักการปรับใช้ ในการเรียนรู้เพิ่ม ยังไงนิเทศ วารสาร สื่อสารมวลชน ก็ต้องเรียนอยู่ อาจารย์ว่ามันก็ยังเป็นประโยชน์อยู่ แต่ขณะเดียวกัน พวกเราก็ควรที่จะเติมความรู้จากศาสตร์อื่นเข้ามาด้วย ไม่งั้นเขาก็จะบอกว่า พวกคุณมีแต่ทักษะ แต่ไม่มี knowledge ไม่มี content (หัวเราะ) กลวงอย่างเดียว มีแต่ function พูดเป็นอย่างเดียว พูดแล้วทำร้ายสังคมด้วย

https://waymagazine.org/crisis-journalism-in-case-korat-mass-shooting/

แนวทางการสื่อสารพุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/387-25600830171031.pdf 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลงแบกฮัก

คลิก ฟังเพลงที่นี่ เพลง: แบกฮัก ศิลปิน: Suno (ท่อนแรก) เอาไปเถอะลูก บ่ต้องซื้อเขากิน ถุงข้าวที่แบกมา เต็มไปด้วยฮักอ้าย บ่แม่นแค่ข้าวสารเม็ดง...