วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

พระศักดาไลฟ์สด! เตือนสติเหตุกราดยิงโคราช



เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์​  พ.ศ. 2563  จาเหตุการณ์ กราดยิงคนในห้างเทอร์มินอล 21 จังหวัดนครราชสีมา พระศักดา สุนฺทโร ได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กพระศักดา สุนฺทโร เตือนสติ

แนวปฏิบัติของสื่อมวลชนในสถานการณ์วิกฤต เน้นเฉพาะการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในสถานการณ์ก่อวินาศกรรมหรือก่อการร้าย
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวต้องไม่นำเสนอข่าวหรือภาพข่าวที่เป็นการเปิดเผย ข้อมูล รายละเอียดทางยุทธศาสตร์ หรือยุทธวิธีที่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างทางการเมือง ศาสนา สังคม วัฒนธรรม และภาษาถิ่น ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงระมัดระวังการนำเสนอประเด็น ข้อเท็จจริงหรือภาษาที่กระตุ้นให้สถานการณ์ขยายความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
- ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงหลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับต้นเหตุ แรงจูงใจ องค์ประกอบในการก่อวินาศกรรมหรือการก่อการร้าย รวมถึงการขยายขอบเขตในการก่อวินาศกรรมหรือการก่อการร้ายโดยปราศจากข้อมูลหรือการยืนยันจากฝ่ายความมั่นคงของรัฐ อันอาจกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นเหตุให้เกิดความตื่นตระหนกของประชาชน หรือกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
บทเรียนจากสหรัฐ: พฤติกรรมเลียนแบบก่อเหตุรุนแรงผ่านสื่อ?
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12:46 น.เขียนโดยลดา ตรีศักดิ์ศรีสกุล แปลหมวดหมู่เวทีทัศน์Tagsพฤติกรรมเลียนแบบ | บทเรียน | สื่อ | เหตุรุนแรง | สหรัฐอเมริกา
 Share Tweet
"...องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้เคยเผยแพร่เทคนิคการลดอัตราการเลียนแบบทั่วไปซึ่งได้ผลมาแล้วกับอัตราการฆ่าตัวตายคือ ลดระดับความเข้มข้นของพาดหัวข่าว การลดรายละเอียดที่นำเสนอในข่าวหรือการรายงานข่าวซ้ำไปซ้ำมา ยุติการนำเสนอขั้นตอนการก่อเหตุ และควบคุมจำนวนภาพหรือวิดีโอที่เผยแพร่ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ก่อเหตุเป็นผู้มีชื่อเสียง..."

 isratical0902631

เมื่อพูดถึงเหตุการณ์กราดยิงสิ่งแรกที่เข้ามาในความคิดของใครหลายคนก็คงจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ปรากฏข้อมูลจาก Gun Violence Archive (GVA) ว่าในปี 2562 ประเทศสหรัฐอเมริกามีเหตุการณ์กราดยิงเกิดขึ้น 417 ครั้ง ซึ่ง 31 ครั้งเป็นการสังหารหมู่ โดยตัวเลขดังกล่าวนับได้ว่าสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปี 2557

GVA รวมทั้งสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกาหรือ FBI นิยามการกราดยิงอย่างไม่เป็นทางการคือ เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงอย่างน้อย 4 คนยกเว้นผู้ก่อเหตุ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการหยิบยกขึ้นเพื่ออธิบายเหตุผลของตัวเลขที่สูงขึ้นคือเรื่องของพฤติกรรมเลียนแบบ (copycat) โดยพฤติกรรมทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นจากการเลียนแบบทั่วไปหรือ Generalized Imitaion หรือความสามารถในการแสดงพฤติกรรมที่เหมือนกับพฤติกรรมที่ถูกสังเกตหรืออธิบายไว้ ซึ่งเป็นทักษะที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กและค่อย ๆ พัฒนาทักษะจากประสบการณ์ชีวิตของผู้เลียนแบบ นอกจากนี้ ยังเปรียบเทียบพฤติกรรมกับโรคติดต่อ (contagion) ถึงแม้ว่าการกราดยิงจะไม่ใช่เชื้อโรคที่ติดต่อได้จากการสัมผัส แต่ผลลัพธ์คือการคาดการณ์ได้ว่าเมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ ได้มีการวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมที่ถูกเลียนแบบนั้น โดยทั่วไปมักจะไม่ได้มาจากการสังเกตการณ์ในชีวิตจริงของผู้ก่อเหตุเอง แต่มักจะเป็นข้อมูลที่ได้รับผ่านรายงานข่าวของสื่อไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวหรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ 

วิธีการรายงานข่าวของสื่อยังอาจเป็นอีกปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเลียนแบบเนื่องจากปริมาณการนำเสนอข่าวของสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งภาพ ข้อมูลส่วนตัวของผู้ก่อเหตุ รวมถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ ซึ่งส่งผลโดยตรงให้เกิดการเลียนแบบ

เหตุการณ์แต่ละครั้งยิ่งเกิดความอื้อฉาวมากเท่าไหร่ก็อาจยิ่งแปลความได้ถึงความสำคัญของผู้ก่อเหตุมากขึ้นเท่านั้น การเผยแพร่ภาพผู้ก่อเหตุถือปืนแสดงให้เห็นถึงความแกร่งและอันตราย จำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับการรายงานยิ่งแสดงถึงความสำเร็จของการก่อเหตุ การรายงานลำดับเหตุการณ์สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติการของผู้ก่อเหตุ ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบรวมกันเป็นแรงผลักดันให้เกิดบุคคลอื่นทำการเลียนแบบพฤติกรรม

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้เคยเผยแพร่เทคนิคการลดอัตราการเลียนแบบทั่วไปซึ่งได้ผลมาแล้วกับอัตราการฆ่าตัวตายคือ ลดระดับความเข้มข้นของพาดหัวข่าว การลดรายละเอียดที่นำเสนอในข่าวหรือการรายงานข่าวซ้ำไปซ้ำมา ยุติการนำเสนอขั้นตอนการก่อเหตุ และควบคุมจำนวนภาพหรือวิดีโอที่เผยแพร่ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ก่อเหตุเป็นผู้มีชื่อเสียง นอกจากนี้ในกรณีของผู้ก่อเหตุกราดยิงนั้น FBI ยังได้มีการเพิ่มนโยบายไม่เผยแพร่ชื่อ หรือ "Don’t Name Them" เพื่อลดการให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ และรวมไปถึงการปฏิเสธการเผยแพร่ข้อความหรือวิดีโอใด ๆ ของผู้ก่อเหตุ
ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีข้อเสนอแนะให้รายงานพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุในแง่ลบ เผยแพร่การกระทำของผู้ก่อเหตุในลักษณะที่เป็นเรื่องน่าอายหรือขี้ขลาด รวมทั้งให้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษอีกด้วย ซึ่งโดยความน่าอายทั้งหลายนั้นมักจะส่งผลแง่ลบต่อความพยายามเลียนแบบพฤติกรรมด้วย

การลดการให้ข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับสาเหตุของการก่อเหตุก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง เพื่อลดความเชื่อมโยงทางอารมณ์ความรู้สึกระหว่างผู้ก่อเหตุและผู้สังเกตการณ์ลง

การรายงานข่าวของสื่อเองจะต้องลดจำนวนลงทั้งในการนำเสนอข่าวสดหรือการติดตามข้อมูลต่อเนื่องซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลาหลายสัปดาห์ รวมไปถึงการนำเสนอข่าวแต่เพียงข้อเท็จจริงโดยไม่เพิ่มสีสัน รายละเอียดเชิงลึก "ดราม่า" หรือสิ่งกระตุ้นความน่าสนใจอื่น ๆ ลงในเหตุการณ์ที่นำเสนอ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการลดความ "กระหายข้อมูล" ของบุคคลทั่วไปรวมไปถึงผู้ใช้โซเชียลมีเดียทุกคนด้วย

ทั้งนี้ เมื่อปี 2558 ยังได้มีกลุ่มนักวิจัยทำการพิสูจน์ในเชิงคณิตศาสตร์ถึงสภาวะติดต่อของการสังหารหมู่และการกราดยิงในโรงเรียนอีกด้วย โดยผลวิจัยได้ข้อสรุปว่า การกราดยิงครั้งหนึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นไปได้ที่เกิดเหตุการณ์ครั้งต่อไปภายในระยะเวลา 13 วันและการกราดยิงในโรงเรียนหนึ่งครั้งอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ครั้งต่อไปเฉลี่ยอยู่ที่ 0.22 เหตุการณ์ ซึ่งการรายงานข่าวอย่างหนักของสื่อมีผลต่อตัวเลขด้วย (ที่มา: https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0117259)

ในท้ายที่สุด ถึงแม้สื่อจะไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวในเหตุการณ์กราดยิงและมีอีกหลายแนวทางที่ต้องนำมาปฏิบัติเพื่อป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน แต่ก็ได้มีการค้นพบว่าสื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลอันนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรายงานข่าวของสื่อและการวางหลักเกณฑ์วิธีการนำเสนอข่าว การสร้างความตระหนักรู้ให้กับโลกออนไลน์ รวมถึงกระแสสังคมที่ช่วยกันสร้างความเข้าใจร่วมกันย่อมเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้



เรียบเรียงจาก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5296697/ 
https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0117259 
https://www.latimes.com/california/story/2019-08-11/mass-shooters-seek-notoriety-in-media 



ทางเลือกและทางรอดหลังกรณีสังหารหมู่
Surviving the Mass Shootings
“การก่อเหตุร้ายเป็นวงกว้าง” หรือ “การสังหารหมู่” หรือ การสังหารผู้คนเป็นจำนวนมาก ๆ ในครั้งเดียวกัน นอกจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวผู้ที่สูญเสียแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและความเชื่อมั่นของประชาชนโดยทั่วไปด้วย อีกทั้งยังอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศในระยะยาว จึงจำเป็นจะต้องมีมาตราการที่เหมาะสมมาป้องกันหรือรองรับ
ในสหรัฐอเมริกา การสังหารหมู่โดยการใช้อาวุธปืน ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเกิดขึ้นทุก ๆ 12-13 วันจากการศึกษาของ Lankford ที่ไปศึกษาเหตุการณ์ใน 171 ประเทศ เมื่อปี 2016 ซึ่งของอเมริกานับเป็นสัดส่วนกว่า 30% เมื่อเทียบกับของทั้งโลก
ในประเทศไทย ยังไม่มีการรวบรวมสถิติแบบเดียวกัน และเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่โคราช ก็ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย แต่เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องถอดบทเรียนของเราเองและนำเอาบทเรียนของประเทศอื่น ๆ ที่คล้ายกับเรามาปรับใช้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายแบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันขึ้นอีก
มาตรการของหลาย ๆ ประเทศที่น่าสนใจ ก็คือ
1. เร่งรัดยกระดับมาตรการการรักษาความปลอดภัย การควบคุมอาวุธปืน ทั้งในเมือง ในศูนย์การค้า และในชุมชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย หรือเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ
2. เยียวยาผู้ที่สูญเสียและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างรวดเร็ว
3. บรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยาของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
4. เริ่มดำเนินการระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ รวมทั้งการปรับแนวทางการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน และการสื่อสารสมัยใหม่ของบุคคล
สิ่งที่พูดกันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในเวลานี้ ก็คือการสื่อสารในยามวิกฤต ซึ่ง James Meindl และ Jonathan Ivy (ในวารสาร American Journal of Public Health เมื่อสามปีก่อน) ได้ชี้ให้เห็นว่าองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ได้ศึกษาเรื่องนี้มากว่า 50 ปีแล้ว และก็มีข้อแนะนำที่น่าสนใจว่า
1. ไม่ควรใส่อารมณ์ความรู้สึกเข้าไปในการรายงานข่าว
2. ไม่ควรพาดหัวข่าวใหญ่โตเกินไป
3. ไม่ควรด่วนสรุปว่าเป็นเพราะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เพราะในความเป็นจริง จะมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน
4. ไม่ควรจะรายงานซ้ำ ๆ หรือย้ำบ่อย ๆ
5. ไม่ควรจะนำเสนอขั้นตอนการสังหารโดยละเอียด อันจะนำไปสู่การลอกเลียนแบบ หรือการเรียนรู้ได้ง่าย
6. จำกัดการนำเสนอของรูปภาพและคลิปวีดิโอให้น้อย เพื่อลดผลกระทบลง
7. ระมัดระวังในการนำเสนอ ไม่ให้ผู้กระทำผิดถูกยกย่องชื่นชมหรือเป็นแบบอย่าง รวมทั้งเรื่องการสังหารตัวเอง
ซึ่งข้อแนะนำดังกล่าว ทางรัฐบาลอเมริกัน โดย FBI ได้นำไปเป็นนโยบายในการสื่อสารชื่อว่า “อย่าไปเอ่ยชื่อเขา” (Don’t Name Them) และได้นำไปใช้ในกรณีที่อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของเรือนจำชาวอเมริกันที่มีพ่อแม่อพยพมาจากอัฟกานิสถานได้สังหารคนที่มาเที่ยวไนต์คลับไป 49 คนและบาดเจ็บอีก 53 คน ที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา เมื่อหลายปีก่อน
นอกจากนี้ James Meindl และ Jonathan Ivy ยังได้มีข้อเสนอที่น่าสนใจในการสื่อสารอีก 5 ประการ คือ
1. สื่อสารให้เห็นถึงความน่าละอาย การละเมิดศีลธรรม จรรยาบรรณ ความขลาดกลัวของมือสังหาร ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ผู้ทำผิดถูกชื่นชมหรือยกย่อง
2. หลีกเลี่ยงการอธิบายเหตุผลของมือสังหาร เพราะซับซ้อน และจะทำให้คนอื่นที่มีปัญหาคล้าย ๆ กัน อาจเลือกแนวทางรุนแรงเป็นทางออกได้
3. ลดเวลาออกอากาศให้สั้นหรือให้พื้นที่การสื่อสารให้น้อย เพราะการให้เวลาหรือให้พื้นที่สื่อมาก ๆ จะเป็นการให้รางวัลและเพิ่มสถานะทางสังคมของผู้ทำผิด
4. ควบคุมการให้ข่าวและการแถลงข่าวสดหลังเหตุการณ์ ถึงแม้ว่าอาจจะมีความต้องการบริโภคข้อมูลเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เกิดความน่าสนใจหรือ “ความตื่นเต้น” เกินความจำเป็น
5. นำเสนอแต่ข้อเท็จจริงสั้น ๆ อย่าผลิตหรือทำซ้ำอะไรที่เป็น “ดราม่า” โดยเฉพาะไม่ควรพาดหัวว่า “Breaking News” เพื่อสร้างความเร้าใจเพิ่มขึ้น
6. ไม่ควรลำดับเหตุการณ์โดยละเอียดทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการสังหาร เพราะรายละเอียดเหล่านี้จะถูกนำไปลอกเลียนแบบได้ง่าย
ทั้งหมดนี้ สังคมไทยก็คงจะต้องพิจารณากันว่า อะไรจะเป็นทางเลือก อะไรจะเป็นทางรอดของเรา จากความรุนแรงที่น่ารังเกียจและสมควรได้รับการประณามเช่นนี้

อันมาก
ดังนั้นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวในรูปแบบต่างๆ ของเหตุการณ์ควรต้องมีความระมัดระวัง และยึดหลักการนำเสนอข่าวในภาวะวิกฤติทั้งในขณะที่กำลังเกิดเหตุ และหลังการเกิดเหตุ ที่การนำเสนอข่าวนั้นจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนยืนยันในสิ่งที่ที่เกิดขึ้น ไม่ซ้ำเติมสถานการณ์ หรือเสนอข่าวที่จะก่อให้เกิดอันตรายตัวต่อประกัน และจะต้องไม่ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ประสบเหตุ
ทางสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการนำเสนอข่าวในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นองค์กรสมาชิกของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาชิกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย รวมถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อทุกภาคส่วน คงจะตระหนักและยึดมั่นต่อจริยธรรมทางวิชาชีพและไม่ก้าวล่วงสู่การระทำผิดทางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ และให้ความเคารพต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัว รวมถึงผู้บาดเจ็บและคนที่ถูกควบคุมเป็นตัวประกัน
ทั้งนี้ทางสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จะเร่งประสานองค์กรวิชาชีพสื่อและผู้ประกอบการสื่อรวมไปจนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกับดูแลสื่อต่างเข้าร่วมประชุมเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการกำกับดูแลการนำเสนอข่าวต่อไป
ด้วยความเคารพต่อจริยธรรมทางวิชาชีพของสื่อมวลชน
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
8 กุมภาพันธ์ 2563
ในสถานการณ์ข่าวอ่อนไหว ข่าวที่สุ่มเสี่ยงต่อความเป็นความตายของเพื่อนมนุษย์ ย่อมมีหลัก มีวิธีคิดในการรายงานข่าวแตกต่างจากข่าวทั่วไป ไม่เพียงรายงานปรากฎการณ์ หรือเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น คนทำข่าวยังต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบที่จะไม่ช้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงอีกด้วย
โดยเฉพาะเมื่อเกิดการสูญเสีย คนข่าวต้องตระหนักว่า ไม่ควรไปซ้ำเติมชะตากรรมผู้ที่สูญเสีย ด้วยการตั้งคำถามที่กระทบจิตใจผู้ที่เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นญาติพี่น้องของเขา ว่ารู้สึกอย่างไร อีกทั้งไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชนที่จะต้องไปแจ้งข่าวความตายของเขา แทนที่เขาจะได้รับรู้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ปรากฎการณ์ข่าวอ่อนไหวที่โคราช เสนอคำถามในวิธีคิด วิธีทำงานของสื่อมวลชนหนักหน่วงยิ่ง พวกเขาต้องการเพียงขายข่าว ตอบสนองสัญชาติญาณความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ สร้างเรทติ้ง หรือนับว่าตนเองก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบสังคมนี้ เช่นเดียวกับคนไทยคนอื่นๆ
แน่นอนว่า ในการรายงานข่าวไม่ว่าจะเป็นข่าวประเภทใด นักข่าวยังต้องรายงานข้อเท็จจริง อย่างครบถ้วน และรอบด้าน ต้องเคารพ “สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร” ของประชาชน แต่ขณะเดียวกัน ในปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจมีข้อมูล ข้อเท็จจริง บางเรื่องที่ไม่สมควรรายงานขณะนั้น เพราะอาจเป็นปัญหาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ จึงต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ
ต้องชั่งน้ำหนัก และให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบ มากกว่าการขายข่าว
ปฏิบัติการทหารกราดยิงผู้คนที่โคราช เป็นข่าวอ่อนไหว ที่มีความละเอียดอ่อนยิ่ง สำคัญยิ่งคือการไม่ไปซ้ำเติมชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ด้วยจิตสำนึกความเป็นมนุษย์เท่านั้น ที่จะคิดเช่นนี้ได้

                                                      จอกอ

นายกฯกระตุกจิตสำนึกสื่อ ติงออกอากาศหมดทุกอย่าง คนร้ายรู้ตัวหมด-จนท.ทำงานยาก
Source - มติชนออนไลน์
Sunday, February 09, 2020 15:25
          นายกฯ สั่งจิตแพทย์เข้าประเมินทหารในค่าย พร้อมกำชับผู้บังคับบัญชาเอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ลูกน้อง ยืนยันเยียวยาจนท.-ปชช.ที่ได้รับผลกระทบ ขอสังคมสื่อ-โซเชียลลดแรงกดดันหวั่นเป็นแรงส่งซ้ำเติมสุขภาพจิต ติงสื่อ ออกอากาศหมด ทำคนร้ายรู้ จนท.แก้ปัญหายาก
          เวลา? 13.35 น.? ที่? พล.ม.2? พล.อ.ประยุทธ์? จันทร์โอชา? นายกรัฐมนตรี? และรมว.กลาโหม? แถลงข่าวภายหลังเดินทางกลับจาก? จ.นครราชสีมา? ทันที? ว่า?
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายและการดูแลต่างๆ ในขั้นต้นทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้าไปดูแลและสำรวจ ซึ่งมีงบประมาณส่วนหนึ่งอยู่แล้วในการใช้ฉุกเฉิน รวมถึงกระทรวงต่างๆที่จะเข้าไปดูแล ดังนั้นประชาชน ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลจะไม่ต้องเสียเงิน เพราะรัฐบาลจะดูแลทั้งหมดไม่ว่าจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน ในส่วนผู้เสียชีวิตก็จะมีเงินช่วยเหลือในการจัดงานศพและต้องดูแลเป็นพิเศษ ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตก็เป็นไปตามกฎระเบียบมีการเลื่อนขั้นชั้นยศตามระเบียบที่มีอยู่แล้วเดิม ซึ่งครอบครัวก็เสียใจแต่ก็คงภูมิใจในการทำหน้าที่ อีกทั้งสิ่งเหล่านี้ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่ามีอะไรอยู่แล้วบ้าง โดยรัฐบาลต้องดูแลและทำตามมาตรฐานที่มีอยู่แล้วเดิม หากจะไปปรับปรุงก็ต้องไปดูวงเงินงบประมาณว่าพอเพียงหรือไม่
เมื่อถามว่าจะมีการส่งจิตแพทย์เข้าไปพูดคุยในค่ายทหารหรือไม่ เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เป็นภาพลบกับทหาร นายกฯ กล่าวว่า ตนได้สั่งไปแล้วและกรมสุขภาพจิตได้เข้าไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานไปดูแลประชาชน ดูแลผู้บาดเจ็บ และเข้าไปประเมินในค่ายทหาร รวมถึงได้สั่งการให้ผู้บังคับบัญชาดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากขึ้น ให้สอบถามถึงครอบครัวเพราะทุกคนต่างมีภาระทั้งหมด ไม่ว่าจะหนี้สิน ความกดกัน ไม่ว่าทหารหรือพลเรือนก็มีเหมือนกัน ตนเองก็มี แต่ถ้าเรามีเพื่อนหรือผู้บังคับบัญชาที่เอาใจใส่ เข้าไปพูดคุยก็ดี เช่นในกรณีนี้เพื่อนผู้ก่อเหตุก็ไม่รู้ว่าผู้ก่อเหตุ มีปัญหาอะไรมาก่อน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดมา 2-3 วันแล้ว แต่เขาก็ไม่พูดคุยกับใครนั่นคือแรงกดดันที่เกิดขึ้น ทั้งนี้สุขภาพจิตของคนเราจะมากหรือน้อยอยู่ที่แรงกดดันและแรงส่งจากภายนอก ทั้งจากการใช้สื่อและการเสพโซเชียลที่ทำให้แรงขึ้น เราจึงต้องช่วยกันลดจะไปโทษใครไม่ได้
นายกฯ กล่าวว่า สิ่งที่คนเป็นห่วงอีกอย่างคือ ประชาชนโพสต์เข้ามาขอให้มีการปฏิรูปสื่อ ซึ่งตนคงไปแตะต้องท่านไม่ได้มากนักหรอก เป็นเรื่องของสื่อเองที่จะทำจิตสำนึกได้อย่างไร หลายอย่างจะเห็นได้ว่าทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่ทำออกสื่อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาพ ข่าว หรือการเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ ขณะนั้นการใช้โทรศัพท์ เฟสบุ๊คของผู้ก่อเหตุยังปิดไม่ได้ เห็นหรือไม่ เขาจึงรู้หมดเจ้าหน้าที่กำลังทำอะไร นี่คืออันตรายที่มันจะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ขอให้ฟังเจ้าหน้าที่ และสอบถามเป็นขั้นเป็นตอน เพราะการไปสอบถามคนนั้นคนนี่ไปออกอากาศบางทีมันพัลวันพัลเกกันไปหมด ส่งผลให้แก้ปัญหายากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราควรร่วมมือกันใช่หรือไม่
“ทุกอย่างต้องมีบทเรียน ผมก็มีบทเรียนของผม สื่อก็มีบทเรียนของสื่อ เข้าใจหรือไม่ ประชาชนก็มีบทเรียนว่าต้องทำอย่างไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ มันเรียกกลับมาไม่ได้ สิ่งที่เราต้องทำต่อคือแก้ปัญหาเหล่านี้ต่อไปอย่างไรด้วยความรัก ความสามัคคี ความห่วงใย หยุดสร้างความเกลียดชังเหล่านี้สำคัญสุดในวาระนี้ และวาระต่อไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_1958679

"วรัชญ์" นักวิชาการชื่อดังแนะ "6สิ่ง"ที่ "สื่อ" ควรทำหลังวิสามัญคนร้าย
วันนี้ (9 ก.พ.63) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุคระบุถึงสิ่งที่สื่อมวลชนควรปฏิบัติ ดังนี้


"สิ่งที่สื่อควรทำต่อจากนี้ หลังจากวิสามัญคนร้ายแล้ว
1. หลีกเลี่ยงการพูดชื่อคนร้ายให้มีเอ่ยถึงน้อยที่สุด และไม่ควรนำเสนอภาพของคนร้ายประกอบข่าว ไม่ว่าจะภาพเป็นหรือภาพตาย โดยเฉพาะภาพจาก Facebook ของคนร้าย เพราะภาพใน Facebook ของคนร้าย คือภาพที่คนร้ายต้องการจะโชว์ อย่าทำความต้องการของคนร้าย ถ้าลงไปแล้วควรจะลบ ถ้าจะใช้ อาจใช้เพียงภาพบัตรประชาชน และไม่ควรใช้บ่อย อย่าสร้างคนร้ายให้เป็นซูเปอร์สตาร์ แต่ให้กลายเป็นเพียงคนเลวคนหนึ่งที่จะไม่มีใครจดจำได้อีก
2. ให้เกียรติผู้เสียชีวิต อย่านำเสนอภาพผู้เสียชีวิต ไม่ว่าจะเบลอหรือไม่เบลอ หากจะนำเสนอ ให้นำเสนอภาพที่ดี ที่ได้จากญาติ หรือได้รับอนุญาตในการใช้แล้ว

3. อย่าคาดเดา หรือเอาไมค์ไปจ่อปากเพื่อน แม่ หรือญาติคนร้าย ให้พูดแก้ตัวแทนคนร้ายถึงเหตุผลในการฆ่าคน รายงานเฉพาะข้อมูลที่ทางการแถลงแล้วเท่านั้น

4. อย่าอธิบายรายละเอียดในการก่อเหตุอย่างละเอียด เพราะมันจะกลายเป็นการก่อให้เกิดการเลียนแบบ และอาจมีข้อมูลผิดพลาด โดยเฉพาะลักษณะของการวางแผนและการต่อสู้

5. อย่าละเมิดสิทธิผู้อื่นในการทำข่าว โดยเฉพาะญาติผู้เสียชีวิต อย่าทำอะไรที่จะเป็นการซ้ำเติมความโศกเศร้า อย่ามองเห็นพวกเขาเป็นเพียงแค่แหล่งข่าว แต่แสดงความเห็นอกเห็นใจในฐานะเพื่อนมนุษย์ผู้กำลังประสบความทุกข์อย่างยิ่ง

6. อย่าวนเวียนเอาแต่นำเสนอข่าวความสูญเสีย หรือดรามาต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากช่วงเวลาที่ก่อเหตุ ที่ก่อให้เกิดความโศกเศร้า จิตตก หวาดกลัว แต่ควรคิดและสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ให้กำลังใจ และช่วยกันสร้างสังคมเราให้ดีขึ้น ป้องกันและเฝ้าระวัง นำเสนอเรื่องดีๆ น่าประทับใจที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนกล้า คนเสียสละ คนทำดี คนเหล่านี้ต่างหากที่เราทุกคนต้องจดจำ ไม่ใช่คนร้าย
เราทุกคนก็เช่นกันครับ ช่วยกันให้กำลังใจผู้ประสบเหตุ เจ้าหน้าที่ ช่วยกันคิดว่าจะสร้างสังคมเราให้ดีขึ้นได้

อย่างไร ถ้าพบเห็นการทำผิดข้อใดข้อหนึ่ง ช่วยกันเข้าไปทักท้วง ใครส่งภาพโหดเหี้ยมสยดสยองมาต้องบอกว่าอย่าทำแบบนี้

แต่ก็เชื่อได้เลยว่า พูดยังไง สื่อก็จะทำข้อใดข้อหนึ่งอย่างแน่นอน แต่ขอให้สื่อรู้ไว้ว่า ต่อจากนี้เค้าจะไม่ด่าคนร้ายแล้ว เค้าจะด่าสื่อ"

https://siamrath.co.th/n/131728?fbclid=IwAR06Q4Z-EShKemIUdMwfMhq7ekIEsetuowoBXhRVFrDWkD66xLjdAoNlJlw

ติพี่น้องของผู้เสียชีวิตหรือไม่ – ไม่มีกฎหมายใดระบุไว้ว่าทำไม่ได้ แต่จริยธรรมวิชาชีพสื่อสากล ระบุว่าไม่ใช่หน้าที่ของสื่อ เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหว ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเป็นผู้แจ้งข่าว
.
ประเด็นมีต่อไปว่า ที่ผ่านมา สื่อก็รายงานชี่อผู้เสียชีวิตกันเป็นเรื่องปกติ ต่างกันตรงไหน กรณีนี้มีข้อถกเถียงได้ว่า เพราะเจ้าหน้าที่เป็นผู้เปิดเผยรายชื่อให้สื่อไปรายงาน เพื่อให้ญาติผู้เสียชีวิตได้ทราบ - จึงไม่มีข้อยุติในทางจริยธรรมที่ชัดเจนของสื่อบ้านเรา
.
อย่างไรก็ตาม หากดูผลจากวิธีที่สื่อโทรทัศน์ติดต่อสองต่อสอง ผลที่ได้รับคือเสียงร้องออกอากาศ กับวิธีรายงานชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมดไปพร้อมกัน อันเป็นการสื่อสารทางเดียว เมื่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้ทราบจากข่าวที่ประกาศ ผู้ชมอื่น ๆ ก็ไม่รู้สึกสะเทือนใจไปกับเสียงร้อง – จากความแตกต่างนี้ น่าจะทำให้มีข้อพิจารณาในการกำหนดแนวปฏิบัติในโอกาสต่อไป
.
หมายุเหต: มีข้อสังเกตว่า ผู้จัดรายการโทรทัศน์ช่องนี้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝงที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วหรือไม่ เช่นนั้น ก็เป็นเรื่องที่สังคมผู้รับสารควรร่วมกันพิจารณาแล้ว
สื่อ “แหกคอก” ใครบอกก็ไม่ฟัง
https://www.thansettakij.com/content/normal_news/421197?fbclid=IwAR1gxxOA0GbStxwAjvhb29xP6FhcfwopKsBJ9Pcvqp4TUVGWWutN-Jo9YBs#.XkDYSUOhFJI.facebook
Anjira Assavanonda
4 ชม. · 

จากเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช เห็นเพื่อนสื่อหลายคน พยายามหาสาหตุ และตั้งคำถามกับระบบโน้นนี้มากมาย แต่กลับไม่เคยย้อนมองดูตัวเอง อยากให้สละเวลาอ่านข้อเขียนนี้กันสักนิด ปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุรุนแรงครั้งนี้ขึ้น คงไม่ใช่เพียงแค่ความไม่เป็นธรรมในระบบทหาร แต่มีอีกมากมายหลายสิ่งประกอบกัน และสื่อก็เป็นสาเหตุหลักหนึ่งในนั้น นอกจากมีส่วนกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ การนำเสนอข่าวแบบไร้มโนสำนึก ยังทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานลำบาก นำไปสู่เหตุการณ์ที่ยืดเยื้อและความสูญเสียที่มากขึ้นโดยไม่จำเป็น ทุกสิ่งและทุกฝ่ายที่แวดล้อมล้วนมีส่วนผลักดันและต้องรับผิดชอบร่วมกัน ก่อนที่จะเรียกร้องให้กวาดล้างระบบที่อื่น สื่อควรกวาดบ้านตัวเองก่อนไหม เปิดหูเปิดตา ฟังเสียงก่นด่าของสังคมกันบ้าง แต่ละเสียงไม่ใช่เบาๆ นะจ๊ะ
เห็นด้วยอย่างยิ่งคะ สื่อสมัยนี้ เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ไม่ต้องอะไรอื่นไกล การโฆษณาสินค้า ความสวยงาม ทำเกินพอดี อนาคตต่อไป เราจะเห็นแต่คนสวยหล่อ แบบเกาหลี บล็อคเดียวกันหมดเลย 55555

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
19 นาที · 
#มายาคติว่าด้วยสื่อละเมิดจริยธรรม

เหตุใดคำเตือนถึงสื่อที่ละเมิดจริยธรรม จึงคล้ายย่ำรอยเท้าลงไปบนผืนทราย สื่อที่ละเมิดก็ยังคงละเมิดต่อไป วนเวียนเช่นนี้ไม่รู้จบสิ้น

มีความจริงบางด้านที่เราอาจมองข้ามไป มีความจริงอีกบางด้านที่เราอาจไม่แฟร์ สำหรับคนทำงานสื่อ ที่มีความตั้งใจจริง เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อให้ได้ภาพ ได้ข่าวที่ดีที่สุด เพื่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน แม้ความเป็นจริง หากพวกเขาที่อยู่แนวหน้า ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ก็แทบไม่มีหลักประกันใดๆเลยสำหรับคนที่อยู่ข้างหลัง

เพราะการแข่งขันสูง เพราะเรทติ้งเป็นตัววัดความสำเร็จ คนตายได้ แต่เรทติ้งต้องไม่ตาย ผู้บริหารข่าว หรือนักข่าวภาคสนาม ที่เปรียบเสมือนคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมข่าว จึงต้องผลิตข่าวจำนวนมาก เพื่อช่วงชิงพื้นที่หน้าจอ และคิดถึงข่าวที่ขายได้ มากกว่าข่าวที่ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบ

ไม่ใช่เรื่องยาก ที่เราจะด่าสถานีข่าวสัก 2-3 ช่อง ที่นักวิชาการ องค์กรวิชาชีพสื่อที่มีกรรมการสังกัดอยู่ในสถานีที่ละเมิดจริยธรรมนั้นเอง ต่างวิพากษ์ ต่างมีคำเตือนถึงเพื่อนสื่อให้ระมัดระวังในการทำงาน แต่เสียงเหล่านั้นแผ่วเบาอย่างยิ่ง เพราะถึงสิ้นเดือน เขาต้องรับเงินเดือนจากสถานี ไม่ใช่นักวิชาการ หรือองค์กรวิชาชีพสื่อ

สังคมโทษสื่อ สื่อก็อาจบอกว่า ก็เพราะสังคมนิยมบริโภคข่าวสารเช่นนี้เอง เขาถึงต้องผลิตข่าวเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ และสำคัญที่สุดคือเรทติ้ง ที่จะมีผลต่อโบนัส และการปรับเงินเดือนประจำปี

เราอาจคาดหวังในสังคมอุดมคติสูงเกินไป เราอาจคาดหวังสถาบันสื่อ ซึ่งต้องนับว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่มีกำไร ขาดทุนเป็นตัววัดความสำเร็จ มากเกินไป แต่เราอาจลืมที่จะบอกตัวเอง บอกสังคมว่า หากพฤติกรรมการรับสารของคุณเปลี่ยนแปลง ลงโทษพวกเขา ด้วยมาตรการทางสังคม ไม่ดู ไม่ฟัง ต่อไป สื่อก็จะกลับมาตอบโจทย์ ความเป็นสื่อคุณภาพ สื่อน้ำดีได้


เข้าใจสังคม แต่สังคมก็ควรเข้าใจสื่อบ้าง เป็นกำลังใจให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ต่อไป ใช้เมตตาธรรมช่วยให้พวกเขาได้เปลี่ยนแปลง แทนที่จะเอาแต่ก่นด่า ซึ่งไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย

กสทช.เสนอแนวทางรายงานข่าวตามสื่อ USA “ไม่เสนอภาพ-ไม่ให้พื้นที่สื่อคนร้าย-ไม่รายงานสด”

https://positioningmag.com/1263786?fbclid=IwAR3G6unOw2lfHv37YTveVuvejwk_0OqAtXXBhZwQU0jipSh2BJky5_wqbks


คู่มือ “จรรยาบรรณสื่อ” ขั้นพื้นฐาน จ.บ.ส. 101 แชร์ไปให้ถึงนักข่าว https://www.mangozero.com/ethics-of-news-reporter/?fbclid=IwAR2kXs124c8p_3CT1qTDtHjhvbeS7QqOLRbQUCVBefbjV6SvquY_Ez_Zf_U

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บิ๊กเนมเพียบทั้ง "อดีต รมต. - สว." สนใจสมัครหลักสูตรดับทุกข์ผู้บริหาร

มูลนิธิสุญญตาวิหารเผยหลักสูตรการดับทุกข์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นแรก มีผู้สนใจในช่วงสองอย่างล้นหลาม รองประธานมูลนิธิฯเผยมีทั้งอดีตรัฐมนตรี...