วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 จักร์กฤษ เพิ่มพูล
4 ชม. ·
#มายาคติจริยธรรมสื่อ
ซับซ้อน และซ่อนเงื่อน
ปรากฎการณ์การรายงานข่าวในสถานการณ์อ่อนไหว ที่จังหวัดนครราชสีมา เสนอคำถามว่าด้วยจริยธรรมสื่อที่แหลมคมยิ่ง ขณะเดียวกัน ก็มีข้อเสนอที่หลากหลายจากสังคม ทั้งนักจิตวิทยา นักอาชญาวิทยา สื่อมวลชน นักวิชาการ ทั้งข้อเสนอในแง่ทฤษฎี แนวปฎิบัติ รวมทั้งกฎหมายที่มี “สภาพบังคับ” และเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนปฎิเสธมาโดยตลอด
ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการกำกับการทำงานของสื่อ ก็มีข้อเสนอให้ใช้สถานะคู่สัญญาระหว่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กับสถานีโทรทัศน์ดิจิตอล ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ จัดการสื่อที่ละเมิด
โดยเฉพาะมาตรการเข้มให้สั่งพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต หรือระงับการออกอากาศชั่วคราว
ตามกฎหมายมีเพียงกรณีเดียวที่จะใช้อำนาจตามมาตรการนี้ คือเนื้อหาที่เกี่ยวกับความมั่นคง และต้องเป็นกรณีที่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แต่หากเป็นกรณีที่คาบเกี่ยวกับจริยธรรม ไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายโดยตรง เช่น การรายงานข่าวที่เป็นปัญหาในการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจ การซ้ำเติมชะตากรรมของผู้สูญเสีย การเสนอภาพข่าวที่สยดสยอง หรือการเสนอข่าวที่เป็นการลดทอนเกียรติยศ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น กฎหมาย กสทช.ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการองค์กรวิชาชีพพิจารณา
แปลว่า ถ้าเป็นเรื่องผิดจริยธรรม ก็ยังต้องกลับมาที่องค์กรวิชาชีพ ที่เป็นองค์กรออกคำเตือนไม่ให้สื่อละเมิดจริยธรรมในตอนต้น และเป็นองค์กรเดียวกับที่กรรมการเป็นผู้ปฎิบัติงานในองค์กรสื่อที่ละเมิดจริยธรรมนั้นเอง
ดังนั้น จึงไม่ควรคาดหวัง กสทช.ว่าจะเป็นยาวิเศษแก้โรคร้ายเรื่องการละเมิดจริยธรรมของสื่อได้
คำถามจึงมีว่า เช่นนั้น ควรมีกฎหมายมากำกับ ดูแลจริยธรรมสื่อโดยตรงหรือไม่
โดยหลักการกำกับ ดูเรื่องเรื่องจริยธรรมสื่อ ไม่มีประเทศไหนในโลกใช้กฎหมายกำกับสื่อ นอกจากประเทศสังคมนิยม แต่สำหรับประเทศไทย บทเรียนการละเมิดจริยธรรมของสื่อที่ผ่านมา โดยเฉพาะในยุคที่ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไป มีสื่อที่หลากหลายมากขึ้น คนๆเดียวที่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือก็อ้างความเป็นสื่อได้ เป็นเจ้าของเพจที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องหลักการที่มีความรับผิดชอบก็เป็นสื่อได้ อาจมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายกำกับสื่อ แต่เป็นกฎหมายที่เป็นเพียง “กลไกเสริม”มิใช่ “กลไกหลัก” ในการกำกับสื่อ
การกำกับดูแลโดยมาตรการทางสังคม ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องจริยธรรม และการกำกับโดยองค์กรวิชาชีพ หรือการกำกับกันเอง ก็ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในบริบทของสังคมไทย การส่งเสริมการรวมกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นมาดูแลกันเอง ผลักให้ผู้ที่แอบแฝงมาใช้สถานะความเป็นสื่อ ออกไปอยู่นอกวง และใช้กฎหมายกำกับโดยตรงอย่างเข้มงวด คือวิธีการที่อาจเป็นความหวังในการกำราบสื่อนอกคอกได้
หาไม่แล้ว เราก็จะวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกันไม่รู้จบ ในเรื่องที่ต่างคน ต่างมอง ต่างคน ต่างคิด ตามความรู้และพื้นฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่มีใครผิด ใครถูก
ผมขอเสนอให้ ทบทวนร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ...ซึ่งได้เสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณา และผ่านความเห็นชอบแล้ว มาทบทวน และเสนอเป็นทางออกอีกทางหนึ่งให้กับสังคมไทย ในยามที่เรามองว่าสถาบันสื่อคือจำเลยของสังคมวันนี้
มีสื่ออีกจำนวนมาก ที่เป็นสื่อน้ำดี และทำงานตามวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ไม่ต้องชื่นชมยินดีก็ได้ แต่ขอให้เข้าใจเขาและใช้ความเมตตาหาทางออกสำหรับสื่อที่ละเมิด มากกว่าจะเพ่งโทษคนอื่นแต่ฝ่ายเดียว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
พระเครื่องเสริมโชคลาภ: เคล็ดลับความเชื่อและการบูชาสำหรับธุรกิจรุ่งเรือง
ความเชื่อและการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีมาเนิ่นนานและเป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจค้าขาย โดยเจ้าของกิจการมักนำเครื่องรางมาบูชาเพื่อเสริมความเจริญ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น