วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เกลี้ยงแผงไต้หวัน!เปิดตัวหนังสือ'ธรรมราชา' สุดล้ำทำแอพพลิเคชั่นแผ่ธรรมผ่านมือถือ
เกลี้ยงแผงไต้หวัน!เปิดตัวหนังสือ'ธรรมราชา' สุดล้ำทำแอพพลิเคชั่นแผ่ธรรมผ่านมือถือ : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
ระหว่างวันที่ 11 - 15 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และพระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ พร้อมคณะผู้บริหาร เดินทางไปยังเมืองเกาสง สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน นอกจากเพื่อร่วมพิธีประสาทปริญญาแก่นิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ จิ้งเจวี๋ย ไต้หวัน และประชุมคณะกรรมการสถาบันสมทบมหาวิทยาบัยมหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัยแล้ว
พระพรหมบัณฑิตยังได้แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ "ธรรมราชา" ภาคภาษาจีน ณ ศูนย์หนังสือเมืองไทเป โดยมีพระธรรมาจารย์จิ้งสิน จากวัดกวงเต๋อเมืองเกาสง วิทยาลัยสงฆ์จิ้งเจวี๋ย สถาบันสมทบ มจร ท่านชิมิงยี่ และผู้ร่วมดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือร่วมในการแถลงข่าวดังกล่าว
ทั้งนี้ายสมหมาย สุภาษิต รอง ผอ.สำนักงานบริหารสำนักส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาและบริการสังคม มจร ได้เปิดเผยว่า กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากชาวไต้หวันอย่างยิ่งต่างนำหนังสือให้พระพรหมบัณฑิตลงนามเป็นที่ระลึก เมื่อเดินสำรวจในแผงวางจำหน่ายปรากฏหมดในช่วงระยะเวลาอันสั้น ฝ่ายจัดจำหน่ายจึงได้นำมาวางในแผงเพิ่มเติมทันที
ไม่ใช่เพียงเท่านั้น มจร ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ จิ้งเจวี๋ย ไต้หวัน พัฒนาเว็บไซต์เผยแพร่กิจกรรมระหว่างสถานการศึกษาทั้งสองแห่งอย่างเช่นเนื้อหาของกิจกรรมครั้งนี้ รวมถึงข้อมูลภายในหนังสือ"ธรรมราชา" พร้อมกันนี้ยังได้มีการจัดทำแอพพลิเคชั่นสามารถดูได้ผ่านทางมือถือระบบต่างๆ
สำหรับเนื้อหาในหนังสือเรื่อง "ธรรมราชา" นั้นเป็นบทบรรยายของพระพรหมบัณฑิตในหลายๆสถานการณ์ล่าสุดบรรยายในการประชุมวิชาการสถานบันพระปกเกล้าครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 7-8 เมื่อปี 2557 โดยระบุว่า ประเทศไทยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเอาแต่พระราชอำนาจมาแต่ไม่ได้ "ธรรมราช" มาปฏิบัติด้วย
และในงานเดียวกันนั้นนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีปัจจุบัน กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง "ธรรมราชา คุณธรรมผู้ปกครองกับสังคมไทย" ในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 15 ความว่า ตนไม่เคยเห็นว่าผู้นำใดถ้าทำให้ผู้ตามหรือประชาชนไม่พอใจแล้วอยู่ต่อไปไม่ได้เลย และจากเดิมที่เป็น "ราชะ" ก็เหลือเพียง "รา" เท่านั้น ดังนั้นคำว่า "ความพอใจ" กับ "ราชะ" จึงมีความหมายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลัทธิศาสนาใดก็มีความพยายามทำให้นักปกครองปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ตามตรงกันโดยไม่ได้นัดหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทำให้ผู้ตามหรือประชาชนอยู่อย่างมีความสุข
ในการปกครองของไทยนั้น คติ "ธรรมราชา" ปรากฏชัดในยุคสุโขทัย แต่มาในยุคกรุงศรีอยุทธยานิยมของนอกคือ "ขอม" จึงมีคติ "รามาธิบดี" แม้นจะรู้ว่าแบบสุโขทัยมีของดีก็ตามและทำให้คตินี้ตกมาถึงไทยในปัจจุบัน คติธรรมราชาพื้นกลับมาในยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยุครัตนโกสินทร์ก็ถือคตินี้ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา
"คำว่า "ธรรมราชา" นี้ ทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการ หรือแม้กระทั้งลุงกำนันจะต้องมี แต่ที่แปลกก็คือว่า สังคมไทยมักเลือกปฏิบัติที่่จะนำหลักธรรมบ้างข้อมาใช้ เช่น พรหมวิหาร 4 ชอบที่จะนำ เมตตา กรุณา มาใช้แต่ละเลย มุทิตา และอุเปกขา หรือแม้นแต่การให้ทาน ก็นิยมการให้วัตถุทาน ไม่นิยมที่จะให้ "อภัยทาน" หรือ "ธรรมทาน" เป็นต้น จึงทำให้คุณธรรมบกพร่องในสังคมไทย" นายวิษณุ กล่าวและว่า
ถ้าจะฟื้นให้สังคมไทยมีความสงบสุขกลับคืนมา จะต้องนำ "ธรรมราชา" มาใช้ในปริบทใหม่ และเมื่อสหประชาชาติยกย่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นบุคคลสำคัญของโลก ก็ต้องมาดูว่าเขายกย่องเพราะอะไร อย่างเช่น ในช่วงการเปลียนแปลงการปกครองพระองค์มี 2 ทางเลือกคือ สู้กับหนีแต่พระองค์ทรงใช้ทางเลือกที่ 3 คือ "ยอมแพ้" ทำให้พระองค์เป็นบุรุษผู้ใฝ่สันติโดยแท้ จึงควรที่จะนำพระจริยาวัตรของพระองค์มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์บ้านเมืองไทยปัจจุบันนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร
"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร - เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร - รูปีอัตตาสูตร - อรูปีอัตตาสูตร -รูปีจอร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น