วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567

"มจร" พร้อมแล้วสำหรับพิธีประสาทปริญญาบัณฑิต 4,600 รูป/คน 7-8 ธันวาคม นี้


เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 พระเทพวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ประธานกรรมการฝ่ายเลขานุการพิธีประสาทปริญญา ประจำปี พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในวันที่ 7-8 ธันวาคม นี้ ณ อาคารหอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยจะได้จัดพิธีประสาทปริญญาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โทและปริญญาเอกทั้งหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรภาษาอังกฤษ ผู้สำเร็จการศึกษามีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่จบจากส่วนกลางที่สำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 55 ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จากวิทยาเขต 11 แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ 28 แห่ง หน่วยวิทยบริการ 5 แห่งทั่วประเทศ และสถาบันสมทบในต่างประเทศอีก 5 แห่ง รวมผู้เข้ารับปริญญาทั้งสิ้น 4,600 รูป/คน 

นอกจากนี้แล้วมหาวิทยาลัยยังได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับพระมหาเถระทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสถาบันชาติ พระศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย นอกเหนือจากถวายพระเถระด้วยแล้วนั้นมหาวิทยาลัยยังยกย่องเชิดชูด้วยการมอบปริญญากิตติมศักดิ์ และเข็มเกียรติคุณให้กับคฤหัสถ์อีกจำนวนหนึ่งด้วย สำหรับพิธีประสาทปริญญาในปีนี้นั้นได้กำหนดสองวันเนื่องจากมีพระสงฆ์สามเณร แม่ชีและประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมากจากสถิติที่ผ่านมามีจำนวนผู้มาร่วมเกินกว่าวันละ 30,000 หมื่นรูป/คน พระที่สำเร็จการศึกษารูปหนึ่ง หรือพระเถระที่มารับปริญญากิตติมศักดิ์แต่ละรูปก็จะมีญาติโยมติดตามมาเป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ 300 กว่าไร่ของมหาวิทยาลัยคราคร่ำไปด้วยพระสงฆ์ สามเณร และญาติโยมผู้มาร่วมงาน 

ดังนั้นในแต่ละวันก็จะมีการอำนวยความสะดวกต่างๆทั้งที่พัก การจราจร ห้องสุขา ที่ทานอาหารและอื่นๆอีกมากมาย สำหรับพระสงฆ์ สามเณรทั้งฝ่ายเถรวาท มหายาน แม่ชีก็จะมีการถวายภัตตาหารเช้า ภัตตาหารเพลให้ทุกรูปที่มาร่วมในงานโดยจัดถวายที่บริเวณอาคารหอฉันของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นแล้วยังมีการออกโรงทานมีอาหารหลากหลายชนิดจากผู้มีจิตศรัทธามาตั้งโรงทานเพื่อบริการให้กับญาติโยมทุกท่านรวมทั้งจะมีพิธีถวายผ้าไตรจีวรชุดใหม่ จำนวน 4,600 ไตรให้กับบัณฑิตใหม่ทุกรูป 

สำหรับงานวิชาการนั้นก็จะมีการออกบูธแสดงนิทรรศการ การจัดพิมพ์หนังสือผลงานของอาจารย์ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และการแสดงมุทิตาจิตในเชิงพุทธอีกด้วย และในการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่นั้น ในวันนี้ในภาคเข้าก็มีกิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยใจ คณะจิตอาสาซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยนำโดยรศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป ได้ร่วมกันทำความสะอาดภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ภาคบ่ายมีบิ๊กคลีนนิ่งโดยพระเทพวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนฯ พระอุดมสิทธินายก คณบดีคณะสังคมศาสตร์ พระครูโอภาสนนทกิตตื์ ที่ปรึกษาคณบดี พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี คณบดีคณะครุฯ พระมหาขัวญชัย ปุตฺตวิเสโส ผอ.กองสิชาการเป็นต้น ประชาคมชาว มจร ได้ออกมาช่วยกันล้าง ช่วยกันเช็ดถูทำคว่ามสะอาดโดยรอบมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับพิธีประสาทปริญา

"7-8 ธันวาคม นี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระพรหมวชิราธิบดี นายกสภา พระพรหมบัณฑิต อุปนายกสภา พระพรหมวัชรธีราจารย์ อธิการบดี พร้อมประชาคมชาว มจร ทุกภาคส่วนทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ หน่วยวิทยบริการและสถาบันสมทบในต่างประเทศ พร้อมแล้วสำหรับพิธีประสาทปริญญาในครั้งนี้"  พระเทพวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย

 วิเคราะห์บทบาท มจร กับการสร้างศาสนทายาทยุคเอไอ 

ทั้งนี้ท่ามกลางวิกฤติศรัทธาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ยังคงยืนหยัดเป็นศูนย์กลางของการสร้าง "ศาสนทายาท" ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย แม้จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์และการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่ มจร ยังคงมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และกิจกรรมเพื่อสังคม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บทความนี้มุ่งวิเคราะห์บทบาทของ มจร ในการสร้างศาสนทายาทในยุคเอไอ โดยพิจารณาจากหลักการ อุดมการณ์ วิธีการ วิสัยทัศน์ แผนยุทธศาสตร์ โครงการ และอิทธิพลต่อสังคมไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

1. หลักการและอุดมการณ์ของ มจร

มจร มีพื้นฐานทางหลักการที่ยึดถือคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแกนกลาง และมุ่งสร้างความสมดุลระหว่างโลกุตระและโลกียะในกระบวนการศึกษา อุดมการณ์สำคัญของ มจร คือการผลิตบุคลากรที่มีคุณธรรม จริยธรรม และปัญญา พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาสังคมผ่านพระพุทธศาสนา

2. วิธีการสร้างศาสนทายาทในยุคเอไอ

การบูรณาการเทคโนโลยี: มจร ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน เช่น การนำ AI มาช่วยในด้านการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลทางศาสนา และการเผยแพร่คำสอนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

การปรับหลักสูตร: มีการเพิ่มหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของยุคสมัย เช่น วิชาเกี่ยวกับการจัดการชุมชนในยุคดิจิทัล และการใช้ AI เพื่อการสื่อสารเชิงศาสนา

การพัฒนาครูบาอาจารย์: เน้นการอบรมครูให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีควบคู่กับความรู้เชิงลึกในพระพุทธศาสนา

3. วิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์

มจร มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแนวหน้าของโลก โดยมุ่งเน้นการพัฒนานิสิตให้เป็นศาสนทายาทที่มีความรู้และคุณธรรม แผนยุทธศาสตร์ของ มจร ประกอบด้วย:

การสนับสนุนการศึกษาที่เสมอภาคและยั่งยืน

การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนา

การสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในระดับสากล

4. โครงการสำคัญ

โครงการศาสนทายาทดิจิทัล: เน้นการใช้เทคโนโลยีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

โครงการพัฒนาผู้นำชุมชน: ฝึกอบรมผู้นำชุมชนในเรื่องการจัดการปัญหาสังคมและการใช้หลักธรรมเพื่อแก้ไขปัญหา

โครงการวิจัยเพื่อชุมชน: สนับสนุนงานวิจัยที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในด้านศาสนาและวัฒนธรรม

5. อิทธิพลต่อสังคมไทย

มจร มีบทบาทสำคัญในด้านการสร้างผู้นำทางศาสนาและชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่มีสันติสุข และสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของพระพุทธศาสนา ทั้งยังมีส่วนช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ผ่านการศึกษาและการเผยแผ่ธรรม

6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

สนับสนุนงบประมาณ: รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาใน มจร

เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ: ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาในต่างประเทศ

ส่งเสริมการบวชเรียน: ควรมีกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนสนใจบวชเรียน เช่น การให้ทุนการศึกษา

พัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์: เพิ่มหลักสูตรที่เกี่ยวกับ AI และเทคโนโลยี เพื่อสร้างศาสนทายาทที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

บทสรุป

มจร มีบทบาทสำคัญในการสร้างศาสนทายาทที่ตอบสนองความต้องการของสังคมในยุคเอไอ ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีกับหลักธรรมคำสอน พร้อมทั้งพัฒนาวิธีการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงเป็นทั้งผู้นำทางศาสนาและปัญญา ที่สร้างคุณูปการต่อสังคมไทยในทุกมิติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: สู้เด้อนาง

ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) สู้เด้อนาง อย่าท้อใจ ชีวิตนี้ แม้สิยากไร้ ฝันยังใหญ่ จงสร้างสร...