เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ตามที่มหาเถรสมาคมเห็นชอบให้พระเถระทั้ง 10 รูป 1 พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส 2 พระพรหมเสนาบดี วัดปทุมคงคา 3 พระพรหมวัชรเมธี วัดอรุณราชวราราม 4 พระพรหมวชิรวิมลมุนี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ 5 พระพรหมวชิรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร 6 พระธรรมวชิรนายก วัดราชบุรณะราชวรวิหาร 7 พระเทพปวรเมธี วัดประยุรวงศาวาส 8 พระเทพวชิรโสภณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 9 พระราชปัญญาวชิรากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 10 พระมงคลสุตาคม วัดสุทัศน์เทพวราราม เดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่ออัญเชิญพระเขี้นวแก้วมาประดิษฐาน ณ มลฑลท้องสนามหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมีพระชนมายุ ครบ 72 พรรษา และเพื่อให้พี่น้องชาวไทยได้กราบสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล ตค่งอต่ 4 ธันวาคม 2567 ถึง14 กุมภาพันธ์ 2568 ตรงกับมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ขณะที่ผู้แทนรัฐบาลไทยคือรศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดร.นิยม เวชกามา ผู้ช่วยรัฐมนตรีนั้น
ขณะนี้คณะได้เดินทางถึงกรุงปักกิ่งแล้ว เพื่อร่วมลงนามความตกลงกับตัวแทนรัฐบาลจีน นำโดย เหยี่ยนเจวี่ย ประธานพุทธสมาคมจีน และอัญเชิญพระเขี้นวแก้วมาประดิษฐาน ณ มลฑลท้องสนามหลวง
โดยวันที่ 4 ธันวาคม 2567 พระเขี้ยวแก้วจะถูกอัญเชิญจากวัดหลิงกวง โดยคณะสงฆ์จีนและตัวแทนรัฐบาล ขึ้นเครื่องบินมาถึงประเทศไทยในเวลา 13.00 น. ต่อด้วยพิธีรับพระเขี้ยวแก้ว ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง ก่อนอัญเชิญขึ้นรถบุษบกไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวงในช่วงเย็น
พิธีเปิดอย่างเป็นทางการจะจัดขึ้นในเวลา 17.00 น. โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และสมเด็จพระราชาคณะเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ โดยประชาชนสามารถเข้ากราบสักการะได้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2567 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07.00 - 20.00 น.
โครงการนี้ไม่เพียงเป็นการแสดงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ไทย แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและจีน ที่ยาวนานถึง 50 ปี ทั้งนี้พระเขี้ยวแก้วจะถูกอัญเชิญกลับจีนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น