วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

แห่ชมพระเมรุ'เจ้าฟ้า'ตะลึ่ง'สัตว์หิมพานต์'รายล้อม






ตามที่ได้มีการเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ตั้งแต่วันที่ 11-25 เม.ย.2555 ได้มีประชาชนเข้าชมเป็นจำนวนมาก บวกกับเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์

นอกจากจะได้ชมความงามอันวิจิตรด้วยลายกนกที่ผ่านกระบวนการพัฒนามาจากอดีตจนถึงปัจจุบันในองค์พระเมรุ รวมถึงส่วนประดับต่างๆรอบพระเมรุ


นอกจากองค์พระเมรุที่ได้รับความสนใจถูกถ่ายภาพแล้ว มีอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจยิ่งไม่แพ้กันนั้นก็คือสัตว์หิมพานต์ประดับพระเมรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆต่างตื่นเต้นที่ได้พบเห็นสอบถามผู้ปกครองว่านั้นสัตว์อะไรหัวเป็นพญานาคหางเป็นปลาเป็นต้น ผู้ปกครองก็ไม่ยากที่จะตอบคำถามเพราะว่าผู้ที่ไปชมได้ลงทะเบียบเข้าชมจะได้รับเอกสารอธิบายประกอบ

ตามเอกสารดังกล่าวได้ระบุว่าพลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น และคณะช่างจากสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบการจัดภูมิทัศน์รอบพระเมรุ ให้จำลองป่าหิมพานต์รวมทั้งให้มีสัตว์ป่าหิมพานต์นานาชนิด โดยกรมศิลปากรได้ช่างปูนปั้นสดจากจังหวัดเพชรบุรีมาออกแบบและปั้นสัตว์หิมพานต์กว่า 80 ชนิดประมาณ 160 ตัว ทั้งนี้เพื่อสื่อความหมายคติความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลในไตรภูมิพระร่วงโดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว เช่น การนำรูปคนมาปนรูปสิงห์ หรือการนำรูปยักษ์มาปนกับมังกรและลิงเป็นต้น


เท่ากับไปการนำสัตว์หิมพานต์ในตำรามานำเสนอให้เด็กและประชาชนทั่วไปได้ชมอย่างน่าทึ่ง ส่วนอนาคตต่อไปจะพัฒนาความคิดเป็นสื่อรูปแบบต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทยที่สะสมมาเป็นเวลานาน แทนที่จะจมติดอยู่กับการ์ตูนญี่ปุ่นเกาหลี นอกจากนั้นยังเป็นการปลูกฝั่งให้เด็กและเยาวชนได้ฝึกหัดการถ่ายภาพและวิดีโออีกทางหนึ่ง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...