วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

ดอกมะเขือสำคัญอย่างไรวันไหว้ครูไทอาหมมีคำตอบ


ดอกมะเขือเป็นส่วนหนึ่งใช้ประกอบในวันไหว้ครูแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนส่วนที่มาเป็นอย่างไรนั้น เอกสารวันไหว้ครูร.ร.บ้านม่วงป็อกได้อ้างอิงว่า ในตำราดวงดาวไทอาหม--เอกสารสะเดาะเคราะห์ 3 สำนวน (Tai Ahoms and the Stars, Three Ritual Texts to Ward off Danger โดย B.J. Terwiel และ Ranoo Wichasin, 1992: 44-45) มีบันทึกการใช้ดอกมะเขือในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ ไว้ว่า"…จอกเงิน จอกคำ ดอกไม้เงิน ดอกไม้คำ ดอกหญ้าดอกมะเขือของที่เป็นคู่กันอย่างใดก็ดี ให้ที่ผีฟ้าในเรือน ให้ตั้งไว้ทิศเหนือ…"


และจากข้อความที่ Wanglit เขียนลงในเว็บไซต์ http://learningpune.com/ เดือนตุลาคม พ.ศ.2553 ที่ว่า " เพื่อนของผม เคยบอกกับผมว่า เขาจะทำปริญญาเอกในหัวข้อ ภาษาไทอาหม ครับ เพราะเขาบอกว่าอยู่ใกล้บ้าน เขาและการทำงานไม่น่าจะเป้นปัญหาเพราะ เขาสามารถพูดฮินดีได้ หัวข้อนี้เมื่อก่อนมีคนไทยเคยเสนอไว้ แต่ตอนนี้ยกเลิกไม่ทำเสียแล้ว

ในภาษาไทยอาหม ก็มีหลายๆ คำ ที่ตรงกับภาษาไทย อย่างคำว่า “คำ” ก็เหมือนในภาษาไทย ที่แปลว่าทองเช่นกัน เรื่องวัฒนธรรมของเขา ก็คล้ายของไทย เช่น ระบำลาวกระทบไม้ ของเขาก็มี เรื่องผ้าทอ เสื้อผ้าเขาก็คล้ายของไทย แต่จะเอียงไปทางพม่าและไทยทางเหนือมากกว่า

พวกคนแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย นั้น ต้องบอกเลยรัฐบาลอินเดียไม่ค่อยสนใจเพราะเขาถือว่าไม่ใช่คนอินเดีย การจะทำอะไรในแต่ละอย่าง รัฐบาลอินเดียค่อนข้างกั๊ก ไม่ให้เขาทำ และไม่อำนวยความสะดวกในเรื่องการคมนาคมให้เขา แม้แต่รถไฟเองก็เข้าไม่ถึงบ้านเขา

การจะไปอยู่รัฐแถบนั้นได้คนไทยก็คงไม่ค่อยอยากจะไปมากนัก เพราะไม่ค่อยเจริญ แต่เมืองแถบนั้นน่าอยู่และสงบกว่าแถบฝั่งอินเดียมาก เมืองใหญ่ๆ เช่น มณีปุระ ก็น่าไปเยี่ยมชม เพราะ x-game ของไทยก็ชอบไปจัดกันที่นั่น และอีกอย่างก็มีคนญี่ปุ่นเข้าออกตลอด

มณีปุระเองก็ค่อนข้างมีศักยภาพในเชิงท่องเที่ยว แต่รัฐบาลอินเดียไม่สนับสนุนให้เขามีสนามบินนานาชาติ จีนพยายามเข้ามาดึงออกไป และหนังสือพิมพ์ของอินเดียก็ชอบเสนอข่าวปลอบใจตัวเองว่า ชาวอรุณาจัล เลือกอินเดีย ทั้งๆ ที่เขาอยากจะออกจากอินเดียมานานแล้ว

ในความเห็นส่วนตัว อีกหน่อย เขาจะต้องแยกตัวออกจากอินเดียแน่" ทำให้เกิดความคิดว่า วัฒนธรรมไทมีดีอยู่มากที่คิดค้นด้วยตนเอง ไม่ใช่ลอกเลียนขอมอย่างที่เขมรคอยที่เคลมเป็นของตัวในโลกอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...