วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บุตรพนักงานและลูกจ้าง'กสทช.'เข้าค่ายปฏิบัติธรรมสร้างสันติภาพภายในที่'มจร'

ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ ตุลาคม พ.ศ.2559 บุตรพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีกิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นหลัก ซึ่งการปฏิบัติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้นับได้ว่าเป็นการสร้างสันติภาพภายใน และถือว่าเป็นการปฏิบัติบูชา

มจร ได้ส่งเสริมการปฏิบัติบูชา การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต่างๆของ มจร นั้นนอกจากจะมีภาคทฤษฎีแล้วยังจะต้องมีการภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยระดับปริญญาตรี-โทต้องปฏิบัติธรรม ๓๐ วันและระดับปริญญาเอก ๔๕ วัน พร้อมกันนี้ได้เปิดหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงระดับปริญญาโทซึ่งต้องไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศเมียนมาร์ ๗ เดือน และมีนโยบายเป็นหลักสูตรปริญญาเอกดังรายงานเรื่อง “ทึ่ง!ปฏิบัติธรรมก็เป็นดอกเตอร์ได้”  ซึ่งบริหารงานของศูนย์พุทธวิปัสสนานานาชาติ มจร สร้าง “อาคารวิปัสสนาธุระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร)”  ขึ้นมารองรับ

นอกจากจะมีการจัดการเรียนการสอบตามหลักสูตรแล้วยังได้มีการจัดให้พระนิสิตได้ปฏิบัติธรรมตามสถานที่ต่างๆ ช่วงก่อนปิดภาคเรียนทุกช่วงชั้นได้มีประชาชนมีจิตศรัทธาเดินทางไปทำบุญตักบาตรอย่างเช่น “เข็มอัปสร สิริสุขะ”  “พัชราภา ไชยเชื้อ”  พร้อมด้วย “บุษกร วงษ์พัวพัน”  นอกจากนี้ยังได้เปิดโอกาสให้กับประชาชนและพนักงานหน่วยงานทั่วๆไปได้เข้ามาปฏิบัติธรรม อย่างเช่น  “เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง” ได้นำลูกสาว ๓  คนบวชศีลจาริณี

อย่างไรก็ตามปัจจุบันชาวพุทธจะนิยมปฏิบัติธรรมมากขึ้นแต่แนวทางการปฏิบัติยังมีการแยกส่วนเป็นเอกเทศไปตามสำนักต่างๆไม่มีนโยบายบริหารงานที่ชัดเจนดังนั้นจึงมีข้อเสนอตั้ง “แม่กองวิปัสสนากรรมฐาน”  พร้อมกันนี้มีข้อเสนอให้นำหลักการวิปัสสนากรรมฐานบูรณาการรองรับประเทศไทยมีประชากรเข้าสู่ผู้สูงวัยจัดสถานที่ให้สัปปายะรูปแบบรีสอร์ทบริหารแบบโรงแรมและนำวิชาพยาบาลและการเกษตรอินทรีย์เข้ามาประกอบด้วย

'ไพบูลย์ คุ้มฉายา'กราบพระตรวจหมู่บ้านศีล5ขอนแก่น

12ต.ค.2559 เฟซบุ๊ก เปรียญธรรม เก้า ประโยค ได้เผยแพร่ภาพข้อความภารกิจของพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางไปตรวจราชการที่วัดชัยศรี บ้านเสียว อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบรักษาศีล 5 ของจังหวัดที่รับสนองพระบัญชาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชอย่างแข็งขัน โดยได้กราบและขอคำแนะนำจากเจ้าอาวาสอย่างนอบน้อม

รูปแบบการสื่อสารสันติภาพสร้างความร่วมมือและความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
พระพรหมบัณฑิต เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคมเข้าร่วมประชุมพิจารณามาตรการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาต่างๆในประเทศไทยตามคำสั่ง คสช.มาตรา ๔๔ เรื่อง"มาตรการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในประเทศไทย" ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี
วันพฤหัสบดีที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๒ เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้แทนมหาเถรสมาคมอีก ๒ รูป คือพระพรหมมุนีและพระพรหมโมลี เข้าร่วมประชุมพิจารณามาตรการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาต่างๆในประเทศไทยตามคำสั่ง คสช.มาตรา ๔๔ เรื่อง"มาตรการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในประเทศไทย" ร่วมกับผู้นำศาสนาอีก ๔ ศาสนาและผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
ที่ประชุมพิจารณาแนวทางยุทธศาสตร์ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ คือ
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาศาสนา
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแผ่หลักธรรมที่ถูกต้อง
๓. อุปถัมภ์ศาสนา
๔. คุ้มครองป้องกันการบ่อนทำลายศาสนา
๕. การสร้างความร่วมมือและความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๖. การสร้างการรับรู้และความเข้าใจในกิจการศาสนา
พร้อมทั้งกลยุทธ์ วิธีการ กิจกรรม/โครงการ แหล่งงบประมาณ และกลไกผู้รับผิดชอบ ตามยุทธศาสตร์ทั้ง ๖ ข้อเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข่าวจาก MCU TV

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559



หัวหน้าศูนย์ประสานงานสนง.จุฬาราชมนตรีภาคใต้ชี้ควรยุติสร้างมัสยิดหากมีกระแสต้าน


           11ต.ค.2559 ดร.วิสุทธิ์ บินล่าเต๊ะ หัวหน้าศูนย์ประสานงาน สำนักงานจุฬาราชมนตรี ประจำภาคใต้ ได้ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia (ตอนที่ 2 ) กรณีกระแสต่อต้านการสร้างมัสยิดในบางจังหวัดภาคอีสานและภาคเหนือซึ่งมีนายจอม เพชรประดับเป็นผู้ดำเนินรายการ ความว่า รู้สึกกังวลกับกระแสการต่อต้าน เนื่องจากต่อต้านนั้นจะตัดเอาข้อความสั้นไปเผยแพร่ทางสังคมออนไลน์ อาจส่งผลให้เกิดความแตกแยกได้

           "ด้วยเหตุนี้ทางสำนักงานจุฬาราชมนตรีจึงได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งได้ข้อสรุปว่า จะต้องวางยุทธศาสตร์ 3 ระดับคือ 1.การสร้างความรู้ให้กับชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างวัฒนธรรมโดยไม่มองผู้ต่างความเชื่อเป็นศัตรู  โดยการเผยแพร่ความจริงของหลักศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสันติภาพ 2. สร้างความสัมพันธ์ความผู้ต่างความเชื่อให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น และ 3 ณรงค์ทำกิจกรรมร่วมกันฉันท์มิตรอย่างเช่นไปเยี่ยมพระผู้ใหญ่หารือปัญหาต่างๆ"  ดร.วิสุทธิ์  กล่าวและว่า

           พร้อมกันนี้จะเข้าพบคณะกรรมาธิการศาสนา สนช.ในวันที่ 13 ต.ค.นี้เป็นนัดแรกถึงเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตามแม้ว่าการสร้างมัสยิดเป็นสิทธิ์ที่กระทำได้ แต่หากมีการต่อต้านก็ไม่จำเป็นต้องสร้าง  ไม่ใช่ว่ามุสลิมจะเดินหน้าที่จะสร้างโดยไม่ฟังเสียงชาวพุทธ

           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า Thaivoicemedia ได้การเผยแพร่คลิปการสัมภาษณ์ผ่านทางยูทูป jom voice และมีการเกาะติดและนำเสนอกรณีนี้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งคลิปครั้งได้พาดหัวข้อความว่า "หน.สำนักจุฬาฯ วอนชาวพุทธอย่ามโน"อิสลาม"ยึดไทย ควรรวมพลังลดความระแวง"


ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง"มานัส"ลูกหม้อ"มจร"นั่งอธิบดีกรมการศาสนา 

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วธ.ได้เสนอแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงเพื่อทดแทนตำแหน่งว่างเนื่องจากมีผู้บริหารระดับสูงของ วธ. เกษียณอายุราชการเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งทั้งหมด 4ตำแหน่ง ดังนี้ นายชาย นครชัย ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) แต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายมานัส ทารัตน์ใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นอธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) และนางสาววิมลลักษณ์ ชูชาติ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)




วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559


สภาทนายความแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่สอบข้อเขียนภาคปฏิบัติรุ่นที่45

            11ต.ค.2559 ว่าที่พันตรีสมบัติ วงศ์กำแหง ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า  ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดจัดทดสอบข้อเขียนภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 45 และรักษาสถานภาพ ในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) นั้น  สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่สอบข้อเขียนภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 45 และรักษาสถานภาพ  เป็นอาคารกงไกรลาศ (KLB) และอาคารเวียงผา (VPB) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) กรุงเทพมหานคร อนึ่ง ผู้เข้ารับการทดสอบภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 45 และรักษาสถานภาพ สามารถนำรถยนต์ส่วนตัวไปจอดได้ที่ลานจอดรถของการกีฬาแห่งประเทศไทย (อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก) ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น.

'ยันตระ'กลับไทยอีกพักที่สำนักป่าสุญญตารามกาญจนบุรี

๑๑ต.ค.๒๕๕๙ เฟซบุ๊ก Sunnataram California Monastery PhraAjahn Yantra Amaro ได้โพสต์ข้อความและภาพความว่า

ขอเชิญร่วมงานมุทิตาจิตอายุวัฒนมงคล ๖๕ ปี
พระอาจารย์ยันตระ อมโร
วันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙
ณ สำนักป่าสุญญตาราม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ประเทศไทย
แสงแห่งปัญญา..วันแห่งความเมตตา... กรุณา... มุทิตา... อุเบกขา...๒๕๕๙
@ ถวายเทียน ๓,๐๐๐ เล่ม และดอกบัวสีชมพู เพื่อเป็นเครื่องสักการบูชาแด่ องค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระธรรมและพระสงฆ์..ผู้ชี้นำทางให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง @
​​​​​กำหนดการ
๐๔.๓๐ น.​สัญญาณระฆัง
๐๕.๓๐ น.​สวดมนต์ - เจริญสมาธิภาวนา
๐๗.๓๐ น.​ถวายภัตตาหารเช้า
๐๙.๐๐ น.​พระภิกษุสงฆ์ - สามเณร บิณฑบาต
๑๐.๐๐ น.​เจริญพุทธมนต์
๑๑.๐๐ น.​ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ – สามเณร
๑๒.๓๐ น.​พระธรรมกวีแสดงพระธรรมเทศนา
๑๓.๓๐ น.​ถวายผ้าป่าโรงทาน
๑๔.๐๐ น.​การแสดงศิลปะพื้นบ้าน
๑๕.๐๐ น.​พิธีขอขมา - สรงน้ำ
๑๘.๐๐ น.​สวดมนต์ – เจริญสมาธิภาวนา
๑๙.๑๕ น.​พระอาจารย์ยันตระ อมโร แสดงธรรม
๑๙.๓๐ น.​พระอาจารย์ยันตระ อมโรและพระภิกษุสงฆ์จุดเทียน
๑๙.๔๕ น.​คณะแม่ชีจุดเทียน
๒๐.๐๐ น.​น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณของประเทศไทย กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อกันมากว่า ๗๐๐ ปี และประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข..น้อมรำลึกถึงครูอาจารย์ บรรพบุรุษ บิดามารดา ญาติมิตร เพื่อนผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
๒๐.๐๕ น.​นั่งสมาธิ
๒๑.๐๐ น. ​ปิดงาน คุณเจิน เจิน บุญสูงเนิน ขับร้องเพลง “ต้องสู้” และแจกของที่ระลึก ( เทียน – น้ำ – ดอกบัว )



แถลง๕พ.ย.๒๕๖๐สลายสรีรสังขารหลวงพ่อปัญญาสานปณิธานแม่ทัพธรรมป้องพุทธศาสนา

            วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จ.นนทบุรี พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พร้อมกับพระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์ ร่วมกันแถลงข่าวพิธีพระราชทานเพลิงสรีรธาตุพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์ ตามที่ได้กำหนดไว้คือวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐ น. ที่เมรุวัดชลประทานรังสฤษดิ์ หลังจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุได้มรณภาพเมื่อปี ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบันนี้ ๙ ปี

            พระพรหมบัณฑิต  กล่าวว่า บัดนี้การปรับภูมิทัศน์ภายในวัด รวมทั้งการดำเนินงานก่อสร้างอาคารปัญญานันทานุสรณ์ใกล้จะแล้วเสร็จ คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์เห็นสมควรแก่เวลาจัดงานสลายสรีรธาตุประกาศสัจธรรมหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ในปี ๒๕๖๐ ภายใต้แนวคิด “ถวายดอกไม้ใจแทนดอกไม้จันทน์” จึงได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นองค์ประธานพระราชทานเพลิงสรีรธาตุหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐ น. เพื่อแสดงปูยชนียกตัญญุตาต่อหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ



             พระพรหมบัณฑิต  กล่าวต่อว่า การจัดพิธีพระราชทานเพลิงสรีรธาตุหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุในครั้งนี้สอดคล้องกับสมัยที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานและก่อนจะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระศพนั้นก็คำนึงถึงความพร้อมเป็นสำคัญคือรอพระมหากัสสปเถระเดินทางมาถึงก่อน

            "หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุนับได้ว่านับได้ว่าแม่ทัพธรรม แม่ทัพโลก ที่ได้ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธองค์ก่อนที่จะปลงสังขารเข้าสู่ปรินิพพานโดยทรงพิจารณาองค์ประกอบ ๔ ประการคือ พุทธบริษัทได้ศึกษาพระธรรมวิจัยได้จนแตกฉาน ปฏิบัติ ประกาศเผยแผ่ และปกป้องพระธรรมวินัยและชี้แจงต่อผู้ที่ว่าร้ายได้นั้น  ได้ครบทั้ง ๔ ประการนี้น้อยนักที่จะหาพระสงฆ์ที่จะปฏิบัติได้ครบเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสุดท้ายคือการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา"  พระพรหมบัณฑิต  กล่าวและว่า

            พร้อมกันนี้ก็จะต้องแบ่งงานกันทำตามหลักการเจดี ๔ ประการคือ ธาตุเจดีย์อัฐิธาตุ บริโภคเจดีของใช้ที่เกี่ยวข้อง ธรรมเจดีย์หรือผลงาน และการสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ให้กับหลวงพ่อนั้นจะมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มจร ก็จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อแสดงกตเวทีต่อหลวงพ่อที่มีคุณูปการต่อมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมากที่สำคัญคือมีแนวคิดและดำเนินการสร้างโบสถ์กลางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกบรรจุพระสงฆ์ได้กว่า ๔ พันรูป พร้อมกันนี้จะจัดสัมมนาวิชาการที่เกี่ยวกับผลงานของหลวงพ่อ



            พระปัญญานันทมุนี กล่าวว่า ตลอด ๑ ปี ก่อนถึงวันพระราชทานเพลิงสรีรธาตุ ทางวัดชลประทานรังสฤษดิ์จะจัดกิจกรรมพิเศษเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โครงการดังกล่าว แบ่งออกเป็น ๔ ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ - วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การสลายสรีรธาตุ ประกาศสัจจธรรม หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ” เป็นอาจาริยบูชา ตามกรอบแนวคิด “สุโข ปุญญสส อุจโจโย การสั่งสมความดี (บุญ) นำความสุขมาให้” เพื่อให้ทุกคนตระหนักว่า ความดี (บุญ) เป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ และทำทุกวัน

            ระยะที่ ๒ ตั้งแต่ วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ - วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ภายใต้โครงการ “หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ แม่ทัพธรรม แม่ทัพโลก” ตามปณิธาน เรียบง่าย ประหยัด ประโยชน์ ถูกต้องตามธรรมวินัย ตามกรอบแนวคิด “เข้าวัดวันอาทิตย์ชีวิตเป็นสุข” หรือ “เข้าวัดวันอาทิตย์ใกล้ชิดพระศาสนา” ซึ่งหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุได้เปิดวัดวันอาทิตย์ เพิ่มวันดีให้กับชาวพุทธ มาตั้งแต่ปิ ๒๔๙๒ โดยแต่ละสัปดาห์จะมีพระเถระชื่อดังผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเป็นวิทยากรบรรยายธรรม รวมทั้งมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อีกมากมาย

            ระยะที่ ๓ ตั้งแต่ วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ - วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ภายใต้โครงการ “หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุกับธรรมทายาท” ตามกรอบแนวคิดให้ประพฤติธรรม “ตัดส่วนเกิน เจริญส่วนขาด” และเดินตามพุทธโอวาทในธรรมทายาทสูตรว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นพระธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาทเลย”

            ระยะสุดท้าย ตั้งแต่ วันที่ ๔ - ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ภายใต้โครงการ “ถวายดอกไม้ใจแทนดอกไม้จันทน์ สลายสรีรธาตุ ประกาศสัจจธรรม หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ปี ๒๕๖๐” ตามกรอบแนวคิด “ดอกไม้จันทน์ส่งสู่สวรรคาลัย ดอกไม้ใจสู่มรรคผลนิพพาน” โดยวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จะเคลื่อนสรีรธาตุหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสู่จิตกาธาน (เชิงตะกอน) หลังจากนั้นตลอด ๒ วัน ๒ คืน คณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนศรัทธาสาธุชนทั้งหลาย ร่วมใจปฏิบัติบูชาตามหลัก “เนสัชชิกังคะ” คือ ธุดงค์ เว้นอามิสบูชา พร้อมทั้งสวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา และหลังจากพระราชทานเพลิงสรีรธาตุแล้ว จะนำอัฐิไปบรรจุไว้ใต้ฐานเจดีย์ “แม่ทัพธรรม แม่ทัพโลก” ที่อาคารปัญญานันทานุสรณ์




            อย่างไรก็ตามก่อนจะมีการแถลงว่าพระปัญญานันทมุนีได้นำพุทธศาสนิกชน เจริญสมาธิและฟังเสียงธรรมหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุและเสียงพระธรรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ)ที่ส่งเทปเสียงอวยพรวันเกิดครบรอบ ๘๐ ปี

.............................
(หมายเหตุ ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://www.watprayoon.com/main.php?url=news_view&id=836&cat=B&table=news)



แจ็ค หม่าบอกโลกได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาจากประเทศไทย
นายแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งเว็ปไซด์อลีบาบา รายงานผลการประชุมภาคเอกชนของประเทศในกรอบเอซีดี ต่อที่ประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย เพื่อเสนอไอเดียของต่อกาพัฒนาการเอเชีย ว่า  เมื่อไรก็ตามที่พูดถึงเศรษฐกิจโลก ทุกคนก็จะให้ความสำคัญกับกระแสโลกาภิวัตน์มากกว่าการให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่  ควรสร้าง  e-road เชื่อมต่อธุรกิจ
ข้อมูลข่าวสาร (DATA) จะกลายทรัพยากรใหม่ที่สำคัญ  ทวีปเอเชียมีโทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 4,000 ล้านเครื่อง แนะให้รัฐบาลทุกประเทศมีนโยบายส่งเสริมประชาชนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีและบริษัทที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 30 คน ผ่านการใช้เทคโนโลยีและการศึกษาส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โลกได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาจากประเทศไทย
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 59 ณ กระทรวงการต่างประเทศ ที่นั่น “แจ็ค หม่า” ได้ปรากฏตัว และมีคนไทยราว 300 ชีวิตได้เข้าร่วมรับฟัง “Talk by Mr. Jack Ma on “Global Trade Revolution:  Building a New e-Trade Platform for SMEs” ระยะเวลาราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง เขาได้ส่งมอบทั้งประโยคทรงพลังมากมาย ทีมงาน Techsauce ขอสรุปเนื้อหา โดยแบ่งประเภทไว้ดังนี้

แนวคิดของ Alibaba
การศึกษาสำหรับคนรุ่นใหม่
คือการหา Knowledge และ Wisdom ให้กับตัวเอง
Knowledge คือสิ่งที่คุณเรียนรู้
ส่วน Wisdom คือสิ่งที่คุณสั่งสมประสบการณ์มา
จงพูดเฉพาะในสิ่งที่ผมเชื่อเท่านั้น
จงใช้สมองของคุณคิดเสมอ อย่ารีบทำตามสิ่งที่คนเขาบอกให้ทำ
จงมองโลกในแง่ดี
จงมองหาพาร์ทเนอร์ดีๆ คุณไม่มีทางทำทุกอย่างให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว

สร้างอาณาจักร(อนิจจัง) Ecosystem(นิจจัง)
วิสัยทัศน์เรื่องเทคโนโลยี machine     embrace machine   Imaginative’ และ ‘Innovative ปรับตัวและคุ้นเคย
Marketing  และ Sales ทีม Service
โมเดลธุรกิจ B2C คือขายให้คนทั่วไป C2B กันในอนาคต ก็คือเกษตรกรหรือคนทั่วไป สามารถขายของให้กับภาคธุรกิจได้
Power และ Money   Experience
ถ้ามีเงินนะ ฉันจะสร้าง… ฉันไม่มีเงินหรอก แต่ฉันจะสร้าง…ให้ได้!

 บัญญัติ 10 ประการสู่ความสำเร็จโดย แจ็ค หม่า แห่ง Alibaba
5 บทเรียนธุรกิจจาก Alibaba ที่ Startup ต้องรู้
 5 บทเรียนธุรกิจจาก Alibaba ที่ Startup ต้องรู้ เวอร์ชั่นภาพกราฟฟิก

Thailand 4.0
E-Commerce
SMEs

 Dhamma Innovation & Dhamma Imagination
นวัตกรรมธัมมะ และ จินตนาการธัมมะ

แตกตัว - เติบโต - แตกต่าง - ตัวตน

คำว่า นวัตกรรม Innovation
คำว่า จินตนาการ Imagination

กล้าที่จะใช้

ทฤษฎี ๔ ต ๕ ก อิงหลักธรรมะ
แตกตัว - เติบโต - แตกต่าง - ตัวตน
แตกตัว: ไม่ "ตีบตัน" และ "ตกต่ำ" ในวังวนเดิมๆ
เติบโต : ไป อเมริกา พบ IOT: Internet of Things อินเทอร์เน็ต
บน "เงินทุน" ที่มีจำกัด คือ "ตั้งต้น" จาก "ศูนย์" และกล้าที่จะ "นับหนึ่ง" ใหม่
แตกต่าง : นวัตกรรมและจินตนาการ ทำให้เขา "กล้า" คิดต่าง กล้าฝันต่าง กล้านำต่าง กล้าทำต่าง กล้าเปลี่ยนแปลง

ตัวตน: ตัวตนของแจ็คหม่า โลกยุคใหม่ ความมั่งคั่งร่ำรวย จะกระจายไปถึงมือทุกผู้ทุกคน ด้วยพลัง IOT : Internet of Everything

สมาร์ทโฟน บวกนวัตกรรม เสริม "พลังความคิด พลังความฝัน พลังแห่งจินตนาการ" เฟ้นหา "ทีมเก่ง ภาษาอังกฤษ

สุดท้าย ด้วย "พุทธปรัชญา" ก็ทำให้เขา "ตั้งตัว" กลายเป็น "เจ้าสัว"  แต่ "พุทธ" ฉาบฉวย ว่า พุทธสอนให้ "ลด - ละ - เลิก - ปล่อยวาง"

ทำไมคนพุทธส่วนใหญ่ยากจน? จริงหรือ?
"เฮียเม้ง" ประธานร่วมโครงการเสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และนักเขียนขายดีระดับนานาชาติของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ เป็น "ผู้บุกเบิกกูเกิ้ล" ยุคแรกๆ และ

"วิศวกร" ผู้ได้รับรางวัลดีเด่นต่างๆ

ลี กา ชิง ชายที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย ก็เป็นชาวพุทธ
แจ็คหม่า ที่อาศัยอยู่ที่จีนแผ่นดินใหญ่ ก็เป็นชาวพุทธเช่นกัน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งร่ำรวยที่สุดในอินเดียก็เป็นชาวพุทธ


เพราะ "คำสอนพุทธ" เป็นนวัตกรรมทันสมัย และสอนให้ "คน" จินตนาการ ปรับ "นิสัย" เปลี่ยน "บุคลิก" ด้วยหลักการ "๓อ่อน"
๑. เป็นผู้ใหญ่ก็อ่อนโยน  "มือไม้อ่อน" เท่านั้น
๒. เป็นเด็กก็อ่อนน้อม มีทิฐิมาก มีมานะระดับ "อติมานะ" คือ "ฉลาดเกิน" ระวังตัว ระวังความคิด อย่าให้ "ล้นแก้ว" "ล้นเกิน"
๓. เป็นสตรีก็อ่อนหวาน มือไม้อ่อน นิสัยดี คำพูดคำจาดี มารยาทดี บุคลิกดี ดูดี มีเสน่ห์
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้คนเรา ๒ อ่อน
๑. อ่อนไหว
๒. อ่อนแอ
-ทุกข์ : มุมมองจากลัทธิดาร์วิน
-กิน : มุมมองของพุทธศาสนา


วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559


วช.ไม่หวั่นม.44บอร์ดถูกยุบรวมเดินหน้าปั้นนักวิจัยตอบโจทย์ประเทศ : พระปราโมทย์   วาทโกวิโท นายสำราญ สมพงษ์ ผู้เข้าอบรมนักวิจัยรุ่นใหม่(ลูกไก่)รุ่นที่ ๒ รายงาน

            ตลอดระยะเวลา ๕ วัน ๕ คืน ระหว่างวันที่ ๓-๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ของการอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ ๒ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ที่โรงแรมน่านตรึงใจ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมีนักวิจัยเข้าร่วมประมาณ ๗๐รูป/คน จากหลากหลายสังกัด

            ได้เรียนรู้จากซุปเปอร์แม่ไก่ และแม่ไก่ ถึงเทคนิควิธีของการหาเหยื่อ เพื่อลูกไก่จะได้เจริญพันธุ์เป็นอาหารชั้นเลิศของมวลมนุษย์ชาติ เพื่อที่มนุษย์ชาติจะได้เจริญพันธุ์ทำตัวเป็นประโยชน์ในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ แบบมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้คู่คุณธรรม หากจะนำความรู้ไปใช้ต้องตั้งอยู่บนหลักพอเพียง สมเหตุสมผล และประเมินถึงความเสี่ยง สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลทั้งหลักนิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส่ มีส่วนร่วม ประเมินคุณค่าเป็นค้น โดยต้องใช้ต้นทุนน้อยแต่รายได้มากประหยัดเวลา เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ



            แต่แล้วอยู่ ๆ ฟ้าก็ผ่ามากลางเล้าไก่ ด้วยมาตรา ๔๔ คำสั่งตั้งสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (นวนช.) ขึ้นมาใหม่มีนายกฯเป็นประธาน และให้เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เป็นเลขานุการร่วม และให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยา แขนงต่าง ๆ ให้เกิดความรู้และการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อสนับสนุนให้การดําเนินการ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ตรงตาม ความต้องการและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อน และสามารถผลักดันให้มีการนําไปใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ในการนี้ สมควรกําหนดให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อทําหน้าที่ในการกําหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนกํากับและติดตามการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ และประเมินผลการดําเนินการ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีเอกภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาการวิจัยของประเทศ และปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

            ทำให้ลูกไก่ขวัญกระเจิงด้วยคำถามตามมาต่างๆนานาว่า วช.ถูกยุบแล้วหรือ การอบรมครั้งนี้เป็นยุคสุดท้ายแล้วหรือ แล้วอนาคตนักวิจัยจะเป็นอย่างไร ทำให้ซุปเปอร์แม่ลูกต้องออกมาปลอมขวัญว่า  "วช.ยังอยู่เหมือนเดิม แต่จะมีการปรับการทำงานบทบาทให้ชัดเจนเพื่อตอบโจทย์ประเทศให้ชัดเจนในการทำร่วมกัน"

            พร้อมกับได้รับทราบการชี้แจงของ ดร.พิเชฐ    ดุรงคเวโรจน์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่า    การประกาศใช้มาตรา 44  ในครั้งนี้     ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของวงการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของประเทศไทย  ที่จะมีการสร้างเอกภาพ  บูรณาการ  ลดความซ้ำซ้อน และสามารถกำหนดทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ  แทนที่จะเป็นการทำเพื่อตอบสนองการอยากรู้อย่างเดียว

            "การจัดตั้ง นวนช. โดยเป็นหน่วยงานระดับนโยบาย  เพื่อให้เกิดการสั่งการอย่างชัดเจน   มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  เพื่อวางนโยบายและขับเคลื่อนทำให้เกิดการบูรณาการได้จริง   ซึ่งคำสั่งนี้   มีการยุบเฉพาะคณะกรรมการใน 3 ชุดหลัก  ไม่ใช่การยุบสำนักงาน"  ดร.พิเชฐ กล่าว

            ขณะที่ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร   จิตต์มิตรภาพ รองประธานอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย เพื่อนวัตกรรม   อดีตประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ   เปิดเผยว่า   ถือเป็นเรื่องที่ดีและถือเป็นความสำเร็จของเครือข่ายองค์กรการบริหารงานวิจัยแห่งชาติหรือ คอบช.  และป็นเพียงบันไดขั้นแรกในการปฎิรูปการวิจัยในเรื่องนโยบายที่เป็นเอกภาพ   ส่วนบันไดขั้นต่อไปคือการจัดระเบียบหน่วยงานวิจัยที่ซ้ำซ้อน  การบริหารทุนวิจัยที่เป็นระบบ การทำวิจัยร่วมระหว่างรัฐกับเอกชนและมีการพัฒนากำลังคน

            เมื่อได้รับทราบเหตุผลเช่นนี้บรรดาลูกไก่ที่เข้ารับการอบรมทั้ง ๕ วันก็สบายใจหายความกังวลและมีความสุขกับการที่จะได้ทำหน้าที่ตามความรู้ที่ได้รับการอบรมมา

            ดังนั้นการอบรมครั้งนี้จบลงเต็มเปรี่ยมด้วยความรู้และความสุขจากพิธีมอบวุฒิบัตร โดยมีพระราชคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดน่านเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยพระราชวรมุนี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พระชยานันทมุนี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์นครน่าน รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน พระมหาบุญเลิศ  อินฺทปญฺโญ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มจร นายนรินทร์   เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ร่วมในพิธี

            พระราชวรมุนี  กล่าวว่า  ขอบคุณ วช.เป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือในครั้งนี้  มหาจุฬาฯมีภารกิจสำคัญ  คือ จัดการเรียนการเรียน  มีการทำวิจัย โดยมีการตั้งสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์  พอทำวิจัยจึงทำให้สังคมภายนอกมาร่วมเป็นภาคีเครือข่ายมากขึ้น   จึงมีความโดดเด่นทางสังคมศาสตร์และงานวิจัย  จึงมีการฝึกนักวิจัยตามมา

            พระชยานันทมุนี  กล่าวว่า  เรามีนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อจะมาพัฒนาเมืองน่านและสังคมประเทศ เพื่อสอดคล้องกับไทย ๔.๐  ได้รับความร่วมมือฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร  ทำให้เมืองน่านมีงานวิจัยระดับเอเชียเกิดขึ้น   เราจะทำงานร่วมกันทุกภาคีเครือข่าย

            นายนรินทร์   กล่าวว่า ผมในนามฝ่ายบ้านเมืองและในนามพุทธสมาคมนครน่าน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ เรามาเรียนรู้การวิจัย  ซึ่งเราไม่ค่อยจะวิจัย มักจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ส่วนตะวันตกจะมีการวิจัยก่อนจะพัฒนาอะไรบางอย่าง อย่าลืมว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์  คือ ถ้าปฏิบัติถึงอภิญญา ๖ จะทราบเรื่องราวต่างๆ  เราจึงเหมาะมากที่งานวิจัยจะมาตอบโจทย์งานพระพุทธศาสนา เราต้องผ่านการวิจัยก่อนจะไปสอน ไปทำการฝึกอบรม   เรื่องง่ายๆ ของพระพุทธศาสนาบางครั้งเราเข้าไม่ถึง เพราะเด็กรุ่นใหม่เป็นเด็กที่ชอบการทดลอง ชอบสงสัย ต้องผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนพระพุทธศาสนาให้น่าสนใจมากขึ้น เพราะยุคสมัยใหม่เป็นของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ย้ำว่าพระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์  

            "ผมลงพื้นที่กับชาวบ้านถือว่าเป็นการวิจัย ชาวบ้านมีความสงสัย ความสงสัยจึงทำให้เกิดงานวิจัย  สิ่งที่ตอบโจทย์ คือ ทางโลกและทางธรรมช่วยกันสนับสนุนกัน  เรื่องต่างๆ เป็นปัญหา หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมีงานวิจัยยอมรับ ผ่านการวิจัย มีเหตุมีผล  เราต้องทำงานวิจัย เพราะงานวิจัยคือ สิ่งทั่วโลกยอมรับ  เราจึงเอาเรื่องวิจัยในการแก้ปัญหาสังคม  สิ่งแรกที่จะแก้ปัญหาของน่าน เป็นปัญหาที่ดิน ฉะนั้น งานวิจัย ต้องสามารถตอบโจทย์ได้  ผมพยายามส่งเสริมให้บุคลากรทำวิจัย  เราจึงต้องทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์  ศาสนาพุทธดูเหมือนยากแต่ง่าย  ดูเหมือนง่ายแต่ก็ยาก  ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนา  งานวิจัยต้องตอบโจทย์ของชุมชน  สังคม ประเทศชาติต่อไป"  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน กล่าว

            การจัดการอบรมอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ ๒  โดย วช. และนโยบายตั้งนวนช.ครั้งนี้  ก็สมดังพุทธพจน์ที่ว่า "จิตเต สังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา" ความว่า "คิดดีก็มีแต่ความเจริญ"

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

 


วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน"มจร"ต่อยอดงานวิจัยเตรียมเปิดคณะแพทย์ จับมือวช.อบรมลูกไก่เพิ่มจำนวนนักวิจัยไทยให้มากขึ้น

ระหว่างวันที่ ๓-๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ มีการอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ ๒  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ที่โรงแรมน่านตรึงใจ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมีนักวิจัยเข้าร่วมประมาณ ๗๐รูป/คน หลากหลายสังกัด


พระพุทธเจ้าคือนักวิจัย

ศ.ดร.พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ฝ่ายวิชาการ เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมให้คำแนะนำว่า การวิจัยคือการกลับไปดูหรือทบทวนอีกครั้งในสิ่งที่ได้รับรู้มาจนสามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ ๕๐% เป็นมายาคติว่า อะไรจริงอะไรเท็จ  เพื่อเป็นฐานคิด ความจริงแล้วการวิจัยนั้นเป็นไปตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาคือ "ธรรมวิจัย" ในโพชฌงค์ ๗ หนทางแห่งการรู้ใหม่ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงใช้ตั้งแต่ออกผนวช เริ่มตั้งแต่ศึกษาหาความรู้ในสำนักต่างๆ จากดาบสทั้ง ๒ คน รวมถึงการบำเพ็ญทุกกรกิริยา (ทบทวนวรรณกรรม) จนกระทั้งตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์พุทธคยา



"การวิจัยมี ๒ แบบ คือ การหาความรู้ภาคสนามและการศึกษาในตำราเอกสาร การวิจัยถือว่าเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือระหว่างการวิจัยกับสอนแต่ควรเริ่มต้นจากสอนก่อน แต่ปัจจุบันต้องควบคู่กันไป การวิจัยมีส่วนสำคัญทั้งทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ รวมถึง มจร ก็ควรจะสร้างประชาคมนักวิจัยให้ได้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ชอบการวิจัยเนื่องจากไม่มีความอดทน การอบรมลูกไก่ครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มจำนวนนักวิจัยไทยให้มากขึ้น



พระมหาบุญเลิศ  อินฺทปญฺโญ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มจร กล่าวว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วมีตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญมาก คือ นักวิจัยเป็นจำนวนประชากรต่อนักวิจัย ผู้ที่เข้ารับการมาอบรมครั้งนี้สิ่งที่ได้รับ ๓ ประการ คือ ๑)  ต้องกลับไปพัฒนาประเทศได้ ๒) ได้เครือข่ายที่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียว ๓) ต้องเป็นคนในของ วช. สามารถรับรู้ข้อมูลจาก วช. และมีสิทธิ์จะขอทุนได้ เนื่องจากการจัดอบรมนักวิจัยรุ่นใหม่ในครั้งนี้ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยเป็นการพัฒนาประเทศ เพื่อสามารถจัดทำข้อเสนอการวิจัยได้ เพื่อบูรณาการเครือข่ายนักวิจัยจากหน่วยราชการ องค์กรการวิจัยต่างๆ ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป นำสู่เป้าหมาย ต้องพัฒนาสมอง ๒ ซีกทั้งซ้ายและขวา ให้เกิดความสมดุล ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ทักษะ สิ่งสำคัญคือ สละคราบคนเดิมที่ติด ตำแหน่ง ยศทำตัวเหมือนฟองน้ำแห้งพร้อมที่จะดูดซับความรู้และประสบการณ์ เทคนิคต่างๆ อย่าได้แค่วุฒิบัตรกลับไป แต่ต้องได้หัวข้อวิจัยเพื่อไปพัฒนาต่อยอด




วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน"มจร"เตรียมเปิดคณะแพทย์

ผศ.ดร.พระชยานันทมุนี รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน ได้บรรยายให้ความรู้เรื่อง "ปรัชญาการวิจัยและจรรยาบรรณการวิจัย" ว่า  จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีความงดงามด้านศิลปวัฒนธรรมทางศาสนา จังหวัดน่านมีการเปลี่ยนแปลงโครงการต่างๆ และส่วนข้าราชการมีการเปลี่ยนย้ายบ่อยๆ จึงทำให้โครงการต่างๆ ไม่ต่อเนื่อง  แต่เมื่อนักวิจัยทั้งหลายมาลงพื้นที่จังหวัดน่านครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดน่านเป็นอย่างดียิ่ง



"ปรัชญาการวิจัย" นั้นมาจากคำ ๒ คำ คือปรัชญา และวิจัย  ปรัชญา คือ ความรักในผู้อื่น หรือความฉลาด เป็นความรู้อันประเสริฐ  ขณะที่ วิจัยคือการสืบค้น ค้นหา ดังนั้นปรัชญาการวิจัยคือการค้นหาความรู้เพื่อผู้อื่น ชุมชน และประเทศชาติ

วิทยาลัยสงฆ์นครน่านพัฒนาการศึกษาผ่านการวิจัยทั้งด้านภาษาล้านนาและสมุนไพร โดยปริวรรตจากคัมภีร์โบราณที่มีมากกว่า ๓๐๐ คัมภีร์ซึ่งในจำนวนมากนั้นมีตำรายาอยู่เป็นจำนวนมากผ่านมา ๕ ปี  ส่งผลให้วิทยาลัยสงฆ์นครน่านมีนโยบายที่จะเปิดการเรียนการสอนคณะอักษรล้านนาและคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เพื่อสอดรับจังหวัดน่านที่เป็นเมืองการศึกษา เมืองวัฒนธรรม

ขณะที่ ผศ.ดร.พระราชวชิรเมธี รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตกำแพงเพชร กล่าวว่า  มจร วิทยาเขตกำแพงเพชรก็มีความสนใจที่จะเกิดคณะแพทย์ะคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อสอดรับกับนโยบายของ มจร ที่เปิดโรงพยาบาล มจร เปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป ซึ่ง มจร วิทยาเขตกำแพงเพชรก็เห็นความสำคัญของการวิจัยและนำไปประยุกต์ใช้อย่างเช่น  "การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีในจังหวัดกำแพงเพชร"  โดยนำไปบูรณาการทำให้เกิดยุวชนอนุรักษ์ ยุววิจัย และยุวมัคคุเทศก์  ทำให้เด็กได้การรักษาอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี


















............................
(หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพจากเฟซบุ๊กจาก Pramote Od) 

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559



สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ มีบัญชาเปิดสอบปริยัติธรรม นวกภูมิ ที่วัดไทยพุทธคยา อินเดีย หวังเรียนรู้ให้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน 

วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่อาคารสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  มีบัญชาให้นำข้อสอบ พร้อมเฉลยจากประเทศไทยมาเปิดสอบพระปริยัติธรรม ชั้นนวกภูมิ พร้อมประทานโอวาทเจ้าสำนักเรียนวัดปากน้ำ โดยการดำเนินการของ พระปิฎกเมธี ผู้ช่วยเจ้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รองเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง พระครูปลัดมงกร ปญฺญาวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดน้ำปรก พระมหาไพรัช วิรโธ ป.ธ.๙ วัดปากน้ำ พระมหาฉลอง ธมฺมฉนฺโท ป.ธ.๘ วัดปากน้ำ และพระมหาเรืองสันต์ สนฺตมโน ป.ธ.๗ วัดนาคปรก



เวลา ๐๗.๓๐ น. พระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ประธานจุดธูปเทียน นำบูชาพระรัตนตรัย และให้โอวาทแก่คณะกรรมการ ผู้เข้าสอบฯ   พระปิฎกเมธี ผู้ช่วยเจ้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รองเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง ประธานผู้นำข้อสอบ และสักขีพยานนำข้อสอบมาเปิด ถวายสักการะ พระเทพโพธิวิเทศ พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (วิเชียร) ถวายสักการะ พระเทพโพธิวิเทศ ตัวแทนเจ้าอาวาสวัดไทยในแดนพุทธภูมิ ถวายสักการะ พระปิฎกเมธี ท่านปรีชา แก่นสา กงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตต้า ถวายเครื่องการะ พระปิฎกเมธี




จากนั้นพระศรีโพธิวิเทศ (สุพจน์) ปฏิบัติหน้าที่ประธานสงฆ์วัดไทยลุมพินี กล่าวถวายรายงานพิธีเปิดสอบพระปริยัติธรรม ชั้นนวกภูมิ ประจำปี ๒๕๕๙ มีใจความว่า ด้วยพระเดชพระคุณ พระเทพโพธิวิเทศ ในฐานะหัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศ อินเดีย-เนปาล ได้ดำเนินงานจัดการศึกษา "ตามโครงการส่งเสริมพระปริยัติธรรมระหว่างพรรษา" เพื่อให้งานพระธรรมทูตไทยมีการพัฒนา และมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์


๑.เพื่อส่งเสริมการศึกษา ของคณะสงฆ์ไทย ในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม
๒.เพื่อเสริมทักษะเบื้องต้น ให้คณะสงฆ์ สามเณร แมีชี อุบาสก อุบาสิกา ที่จำพรรษาในประเทศอินเดีย-เนปาล
๓.เพื่อเปิดโอกาสให้สามเณรอินเดีย-เนปาล ได้ศึกษาเรียนรู้พุทธประวัติ ธรรม วินัย และทักษะชีวิต
๔.เพื่อเสริมความรู้ สติปัญญา และการเรียนรู้ให้ทันในเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน



ซึ่งในปีนี้มีสำนักเรียนวัดต่างๆ จำนวน  ๒๒ วัด ได้ส่งพระภิกษุ-สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา เข้าสอบประกอบด้วย
๑.วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์   จำนวน ๒๙ รูป/คน
๒.วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล  จำนวน ๑๔ รูป/คน
๓.วัดนวมินธัมมิกราชฯ  จำนวน ๑๑ รูป
๔.วัดไทยเชตวันมหาวิหาร จำนวน ๕ รูป/คน
๕.วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา  จำนวน ๒๒ รูป/คน
๖.วัดไทยนาลันทา  จำนวน ๑๑ รูป
๗.วัดไทยนวราชรัตนาราม ๙๖๐  จำนวน ๒ รูป
๘.วัดป่ามุจลินท์  จำนวน ๑๘ รูป/คน
๙.วัดไทยไวสาลี  จำนวน ๑ รูป
๑๐.วัดไทยสิริราชคฤห์ จำนวน ๑ รูป
๑๑.วัดบรมธาตุราชสักการ   จำนวน ๒ รูป/คน
๑๒.วัดพุทธภูมิ   จำนวน ๑ รูป
๑๓.วัดพุทธสาวิกา   จำนวน ๔ รูป
๑๔.วัดไทยสาวัตถีพุทธวิปัสสนา   จำนวน ๒ รูป
๑๕.วัดอโศกมหาราชพุทธคยา   จำนวน ๑ รูป
๑๖.วัดอโยธยาราชธานี   จำนวน ๒ รูป
๑๗.วัดไทยราชทูต   จำนวน ๓ คน
๑๘.วัดสิทธารถราชมณเฑียร   จำนวน ๑ รูป
๑๙.ศูนย์ปฏิบัติธรรมภูริปาโล   จำนวน ๔ รูป/คน
๒๐.วัดลาวพุทธคยา   จำนวน ๑ รูป
๒๑.Internation Medition Center
๒๒.วัดไทยพุทธคยา   จำนวน ๑๔ รูป/คน ซึ่งรวามทั้งสิ้น ๑๕๐ รูป/คน



ในปีนี้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  ประทานโอวาทเจ้าสำนักเรียนในการเปิดสอบธรรม ชั้นนวกภูมิ วัดไทยพุทธคยา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ ดังนี้ เจ้าคุณพระเทพโพธิวิเทศ หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล คณะกรรมการ นักเรียนผู้เข้าสอบทั้งหลาย

การศึกษาพระปริยัติธรรม ชั้นนวกภูมิ สำหรับคณะสงฆ์ไทย มีเป้าหมายเฉพาะสำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่ในระหว่างพรรษา แต่สำหรับคณะสงฆ์ไทย ในประเทศอินเดีย-เนปาลนั้น จุดมุ่งหมายเพื่อขยายควบคลุมไปถึงพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา และชาวต่างประเทศ นับเป็นความมีเอกภาพทางด้านนโยบาย แต่มีความหลากหลายในด้านการปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทย ในประเทศอินเดีย-เนปาล ซึ่งมีท่านเจ้าคุณพระเทพโพธิวิเทศ เป็นประธาน ที่มองเหตุความสำคัญของการศึกษาสำหรับพัฒนาบุคคลากร โดยนำหลักสูตรพระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่ มาประยุทต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่พุทธบริษัทได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเรื่องที่ควรแก่อนุโมทนาสาธุการ


ท่านทั้งหลาย การสอบเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งในระบบการจัดการศึกษาทุกสาขา ทุกแขนง ทั้งนี้เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาวิชาตามกฎเกณฑ์ เกียรติบัตรเป็นใบรับรองผลสำเร็จของการศึกษา อาจกล่าวได้ว่า เป็นเพียงใบรับรองวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาในสาขานั้นๆ หาได้เป็นหลักประกันคุณภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก็หาไม่ ทั้งนี้ เพราะผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นได้ ภายใต้หลักการที่ว่า ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้รับการศึกษาเรียนรู้นั้น ไปประยุทธใช้ให้เกิดประโยชน์โสตถิผลแก่สังคมประเทศชาติ และพระศาสนา ตลอดถึงการพัฒนาในด้าน "ครองตน ครองคน ครองงาน"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...