วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559



สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ มีบัญชาเปิดสอบปริยัติธรรม นวกภูมิ ที่วัดไทยพุทธคยา อินเดีย หวังเรียนรู้ให้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน 

วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่อาคารสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  มีบัญชาให้นำข้อสอบ พร้อมเฉลยจากประเทศไทยมาเปิดสอบพระปริยัติธรรม ชั้นนวกภูมิ พร้อมประทานโอวาทเจ้าสำนักเรียนวัดปากน้ำ โดยการดำเนินการของ พระปิฎกเมธี ผู้ช่วยเจ้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รองเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง พระครูปลัดมงกร ปญฺญาวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดน้ำปรก พระมหาไพรัช วิรโธ ป.ธ.๙ วัดปากน้ำ พระมหาฉลอง ธมฺมฉนฺโท ป.ธ.๘ วัดปากน้ำ และพระมหาเรืองสันต์ สนฺตมโน ป.ธ.๗ วัดนาคปรก



เวลา ๐๗.๓๐ น. พระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ประธานจุดธูปเทียน นำบูชาพระรัตนตรัย และให้โอวาทแก่คณะกรรมการ ผู้เข้าสอบฯ   พระปิฎกเมธี ผู้ช่วยเจ้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รองเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง ประธานผู้นำข้อสอบ และสักขีพยานนำข้อสอบมาเปิด ถวายสักการะ พระเทพโพธิวิเทศ พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (วิเชียร) ถวายสักการะ พระเทพโพธิวิเทศ ตัวแทนเจ้าอาวาสวัดไทยในแดนพุทธภูมิ ถวายสักการะ พระปิฎกเมธี ท่านปรีชา แก่นสา กงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตต้า ถวายเครื่องการะ พระปิฎกเมธี




จากนั้นพระศรีโพธิวิเทศ (สุพจน์) ปฏิบัติหน้าที่ประธานสงฆ์วัดไทยลุมพินี กล่าวถวายรายงานพิธีเปิดสอบพระปริยัติธรรม ชั้นนวกภูมิ ประจำปี ๒๕๕๙ มีใจความว่า ด้วยพระเดชพระคุณ พระเทพโพธิวิเทศ ในฐานะหัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศ อินเดีย-เนปาล ได้ดำเนินงานจัดการศึกษา "ตามโครงการส่งเสริมพระปริยัติธรรมระหว่างพรรษา" เพื่อให้งานพระธรรมทูตไทยมีการพัฒนา และมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์


๑.เพื่อส่งเสริมการศึกษา ของคณะสงฆ์ไทย ในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม
๒.เพื่อเสริมทักษะเบื้องต้น ให้คณะสงฆ์ สามเณร แมีชี อุบาสก อุบาสิกา ที่จำพรรษาในประเทศอินเดีย-เนปาล
๓.เพื่อเปิดโอกาสให้สามเณรอินเดีย-เนปาล ได้ศึกษาเรียนรู้พุทธประวัติ ธรรม วินัย และทักษะชีวิต
๔.เพื่อเสริมความรู้ สติปัญญา และการเรียนรู้ให้ทันในเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน



ซึ่งในปีนี้มีสำนักเรียนวัดต่างๆ จำนวน  ๒๒ วัด ได้ส่งพระภิกษุ-สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา เข้าสอบประกอบด้วย
๑.วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์   จำนวน ๒๙ รูป/คน
๒.วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล  จำนวน ๑๔ รูป/คน
๓.วัดนวมินธัมมิกราชฯ  จำนวน ๑๑ รูป
๔.วัดไทยเชตวันมหาวิหาร จำนวน ๕ รูป/คน
๕.วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา  จำนวน ๒๒ รูป/คน
๖.วัดไทยนาลันทา  จำนวน ๑๑ รูป
๗.วัดไทยนวราชรัตนาราม ๙๖๐  จำนวน ๒ รูป
๘.วัดป่ามุจลินท์  จำนวน ๑๘ รูป/คน
๙.วัดไทยไวสาลี  จำนวน ๑ รูป
๑๐.วัดไทยสิริราชคฤห์ จำนวน ๑ รูป
๑๑.วัดบรมธาตุราชสักการ   จำนวน ๒ รูป/คน
๑๒.วัดพุทธภูมิ   จำนวน ๑ รูป
๑๓.วัดพุทธสาวิกา   จำนวน ๔ รูป
๑๔.วัดไทยสาวัตถีพุทธวิปัสสนา   จำนวน ๒ รูป
๑๕.วัดอโศกมหาราชพุทธคยา   จำนวน ๑ รูป
๑๖.วัดอโยธยาราชธานี   จำนวน ๒ รูป
๑๗.วัดไทยราชทูต   จำนวน ๓ คน
๑๘.วัดสิทธารถราชมณเฑียร   จำนวน ๑ รูป
๑๙.ศูนย์ปฏิบัติธรรมภูริปาโล   จำนวน ๔ รูป/คน
๒๐.วัดลาวพุทธคยา   จำนวน ๑ รูป
๒๑.Internation Medition Center
๒๒.วัดไทยพุทธคยา   จำนวน ๑๔ รูป/คน ซึ่งรวามทั้งสิ้น ๑๕๐ รูป/คน



ในปีนี้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  ประทานโอวาทเจ้าสำนักเรียนในการเปิดสอบธรรม ชั้นนวกภูมิ วัดไทยพุทธคยา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ ดังนี้ เจ้าคุณพระเทพโพธิวิเทศ หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล คณะกรรมการ นักเรียนผู้เข้าสอบทั้งหลาย

การศึกษาพระปริยัติธรรม ชั้นนวกภูมิ สำหรับคณะสงฆ์ไทย มีเป้าหมายเฉพาะสำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่ในระหว่างพรรษา แต่สำหรับคณะสงฆ์ไทย ในประเทศอินเดีย-เนปาลนั้น จุดมุ่งหมายเพื่อขยายควบคลุมไปถึงพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา และชาวต่างประเทศ นับเป็นความมีเอกภาพทางด้านนโยบาย แต่มีความหลากหลายในด้านการปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทย ในประเทศอินเดีย-เนปาล ซึ่งมีท่านเจ้าคุณพระเทพโพธิวิเทศ เป็นประธาน ที่มองเหตุความสำคัญของการศึกษาสำหรับพัฒนาบุคคลากร โดยนำหลักสูตรพระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่ มาประยุทต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่พุทธบริษัทได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเรื่องที่ควรแก่อนุโมทนาสาธุการ


ท่านทั้งหลาย การสอบเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งในระบบการจัดการศึกษาทุกสาขา ทุกแขนง ทั้งนี้เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาวิชาตามกฎเกณฑ์ เกียรติบัตรเป็นใบรับรองผลสำเร็จของการศึกษา อาจกล่าวได้ว่า เป็นเพียงใบรับรองวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาในสาขานั้นๆ หาได้เป็นหลักประกันคุณภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก็หาไม่ ทั้งนี้ เพราะผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นได้ ภายใต้หลักการที่ว่า ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้รับการศึกษาเรียนรู้นั้น ไปประยุทธใช้ให้เกิดประโยชน์โสตถิผลแก่สังคมประเทศชาติ และพระศาสนา ตลอดถึงการพัฒนาในด้าน "ครองตน ครองคน ครองงาน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...