วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

 


วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน"มจร"ต่อยอดงานวิจัยเตรียมเปิดคณะแพทย์ จับมือวช.อบรมลูกไก่เพิ่มจำนวนนักวิจัยไทยให้มากขึ้น

ระหว่างวันที่ ๓-๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ มีการอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ ๒  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ที่โรงแรมน่านตรึงใจ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมีนักวิจัยเข้าร่วมประมาณ ๗๐รูป/คน หลากหลายสังกัด


พระพุทธเจ้าคือนักวิจัย

ศ.ดร.พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ฝ่ายวิชาการ เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมให้คำแนะนำว่า การวิจัยคือการกลับไปดูหรือทบทวนอีกครั้งในสิ่งที่ได้รับรู้มาจนสามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ ๕๐% เป็นมายาคติว่า อะไรจริงอะไรเท็จ  เพื่อเป็นฐานคิด ความจริงแล้วการวิจัยนั้นเป็นไปตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาคือ "ธรรมวิจัย" ในโพชฌงค์ ๗ หนทางแห่งการรู้ใหม่ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงใช้ตั้งแต่ออกผนวช เริ่มตั้งแต่ศึกษาหาความรู้ในสำนักต่างๆ จากดาบสทั้ง ๒ คน รวมถึงการบำเพ็ญทุกกรกิริยา (ทบทวนวรรณกรรม) จนกระทั้งตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์พุทธคยา



"การวิจัยมี ๒ แบบ คือ การหาความรู้ภาคสนามและการศึกษาในตำราเอกสาร การวิจัยถือว่าเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือระหว่างการวิจัยกับสอนแต่ควรเริ่มต้นจากสอนก่อน แต่ปัจจุบันต้องควบคู่กันไป การวิจัยมีส่วนสำคัญทั้งทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ รวมถึง มจร ก็ควรจะสร้างประชาคมนักวิจัยให้ได้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ชอบการวิจัยเนื่องจากไม่มีความอดทน การอบรมลูกไก่ครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มจำนวนนักวิจัยไทยให้มากขึ้น



พระมหาบุญเลิศ  อินฺทปญฺโญ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มจร กล่าวว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วมีตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญมาก คือ นักวิจัยเป็นจำนวนประชากรต่อนักวิจัย ผู้ที่เข้ารับการมาอบรมครั้งนี้สิ่งที่ได้รับ ๓ ประการ คือ ๑)  ต้องกลับไปพัฒนาประเทศได้ ๒) ได้เครือข่ายที่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียว ๓) ต้องเป็นคนในของ วช. สามารถรับรู้ข้อมูลจาก วช. และมีสิทธิ์จะขอทุนได้ เนื่องจากการจัดอบรมนักวิจัยรุ่นใหม่ในครั้งนี้ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยเป็นการพัฒนาประเทศ เพื่อสามารถจัดทำข้อเสนอการวิจัยได้ เพื่อบูรณาการเครือข่ายนักวิจัยจากหน่วยราชการ องค์กรการวิจัยต่างๆ ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป นำสู่เป้าหมาย ต้องพัฒนาสมอง ๒ ซีกทั้งซ้ายและขวา ให้เกิดความสมดุล ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ทักษะ สิ่งสำคัญคือ สละคราบคนเดิมที่ติด ตำแหน่ง ยศทำตัวเหมือนฟองน้ำแห้งพร้อมที่จะดูดซับความรู้และประสบการณ์ เทคนิคต่างๆ อย่าได้แค่วุฒิบัตรกลับไป แต่ต้องได้หัวข้อวิจัยเพื่อไปพัฒนาต่อยอด




วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน"มจร"เตรียมเปิดคณะแพทย์

ผศ.ดร.พระชยานันทมุนี รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน ได้บรรยายให้ความรู้เรื่อง "ปรัชญาการวิจัยและจรรยาบรรณการวิจัย" ว่า  จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีความงดงามด้านศิลปวัฒนธรรมทางศาสนา จังหวัดน่านมีการเปลี่ยนแปลงโครงการต่างๆ และส่วนข้าราชการมีการเปลี่ยนย้ายบ่อยๆ จึงทำให้โครงการต่างๆ ไม่ต่อเนื่อง  แต่เมื่อนักวิจัยทั้งหลายมาลงพื้นที่จังหวัดน่านครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดน่านเป็นอย่างดียิ่ง



"ปรัชญาการวิจัย" นั้นมาจากคำ ๒ คำ คือปรัชญา และวิจัย  ปรัชญา คือ ความรักในผู้อื่น หรือความฉลาด เป็นความรู้อันประเสริฐ  ขณะที่ วิจัยคือการสืบค้น ค้นหา ดังนั้นปรัชญาการวิจัยคือการค้นหาความรู้เพื่อผู้อื่น ชุมชน และประเทศชาติ

วิทยาลัยสงฆ์นครน่านพัฒนาการศึกษาผ่านการวิจัยทั้งด้านภาษาล้านนาและสมุนไพร โดยปริวรรตจากคัมภีร์โบราณที่มีมากกว่า ๓๐๐ คัมภีร์ซึ่งในจำนวนมากนั้นมีตำรายาอยู่เป็นจำนวนมากผ่านมา ๕ ปี  ส่งผลให้วิทยาลัยสงฆ์นครน่านมีนโยบายที่จะเปิดการเรียนการสอนคณะอักษรล้านนาและคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เพื่อสอดรับจังหวัดน่านที่เป็นเมืองการศึกษา เมืองวัฒนธรรม

ขณะที่ ผศ.ดร.พระราชวชิรเมธี รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตกำแพงเพชร กล่าวว่า  มจร วิทยาเขตกำแพงเพชรก็มีความสนใจที่จะเกิดคณะแพทย์ะคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อสอดรับกับนโยบายของ มจร ที่เปิดโรงพยาบาล มจร เปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป ซึ่ง มจร วิทยาเขตกำแพงเพชรก็เห็นความสำคัญของการวิจัยและนำไปประยุกต์ใช้อย่างเช่น  "การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีในจังหวัดกำแพงเพชร"  โดยนำไปบูรณาการทำให้เกิดยุวชนอนุรักษ์ ยุววิจัย และยุวมัคคุเทศก์  ทำให้เด็กได้การรักษาอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี


















............................
(หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพจากเฟซบุ๊กจาก Pramote Od) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. ทีฆจาริกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. ทีฆจาริกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทน...