วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565

"สันติศึกษา มจร" เล็งเปิดหลักสูตร ระดับปริญญาโทสาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท



วันที่ ๒๓  มีนาคม ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน  มจร  เปิดเผยว่า  ได้รับมอบหมายเตรียมยกร่างหลักสูตรสาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อยกระดับสู่เรียนรู้ในระดับปริญญาโท ซึ่งในปัจจุบันหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้พัฒนาและฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ กพยช รับรอง สำหรับการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยที่มีกฎหมายรับรอง ซึ่งมีการขับเคลื่อนโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งในขณะนี้หลักสูตรสันติศึกษา มจร และเครือข่ายได้พัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยตามกฎหมายมาครบ ๖ รุ่น โดยมีผู้ผ่านและขึ้นทะเบียนและเตรียมทะเบียนถึง ๓๐๐ รูปคนทั่วประเทศที่พัฒนาฝึกอบรมโดย มจร ซึ่งปัจจุบันกำลังจะจัดรุ่นที่ ๗ จะจัดขึ้นระหว่าง ๒๗ เมษายน ถึง ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โดยล่าสุดมีการขับเคลื่อนจัดพัฒนาฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยในชุมชนรุ่นที่ ๕ มีพระสงฆ์ทั่วจังหวัดศรีสะเกษ-สุรินทร์และผู้นำชุมชน ผู้นำหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ารับการฝึกอบรม ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนครั้งแรกในเขตอีสานใต้ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับงบสนับสนุนจากหลักสูตรสันติศึกษา มจร และมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) โดยได้รับการตอบรับจากคณะสงฆ์ศรีสะเกษและบุคคลทั่วไปอย่างดียิ่ง


จึงทำให้พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้วางแนวทางการขับเคลื่อนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครบวงจรทั่วประเทศ โดยเตรียมเปิดหลักสูตร "สาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพาท” ในระดับปริญญาโท ซึ่งจำเป็นในการออกแบบหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย พระสงฆ์ทั่วประเทศ ผู้ประนีประนอมประจำศาล ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน บุคลากรเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ผู้นำชุมชนในการทำงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้นำองค์กร บุคลากรต่างๆ เป็นการเรียนรู้เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งตามแนวทางของอริยสัจ ๔ เป็นการวิเคราะห์ความขัดแย้ง พัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวภาวนา ๔  พร้อมทั้งเดินทางตามของปธาน ๔ ในการป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้ง เยียวยาความขัดแย้ง และรักษาสันติภาพ จึงถือว่าเป็นการพุทธบูรณาการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งมีงานวิจัยรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธีรองรับด้วย โดยมองว่าวิชาที่เรียนประกอบด้วย 


วิชา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายใน

วิชา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพระไตรปิฎก 

วิชา กระบวนการยุติธรรมทางเลือก 

วิชา การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 

วิชา แนวคิดทฤษฎีสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

วิชา กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา

วิชา กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง 

วิชา กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพุทธสันติวิธี 

วิชา ปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเสริมสร้างสังคมสันติสุข

วิชา สัมมนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในสังคมไทย 

วิชา วิทยานิพนธ์ 


ถือว่าเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ต้องการเครื่องมือในการไกล่เกลี่ยอย่างมืออาชีพแบบบูรณาการ ยกระดับสู่การเป็นนักไกล่เกลี่ยหรือผู้ประนีประนอมมืออาชีพ โดยเข้าใจกระบวนการขั้นตอนการไกล่เกลี่ยแบบสากลและการไกล่เกลี่ยแบบพุทธสันติวิธี ต้องการเชิงลึกเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยมองถึง “หลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รวมถึงขั้นตอนทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” โดยมุ่งพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยให้มีสติภายใน  ขันติภายใน และสันติภายใน นึกถึงผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนึกถึงมหาจุฬา โดยเฉพาะการใช้ฐานทางพระพุทธศาสนาเป็นฐาน ทำให้ท่านพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร. จึงเตรียมยกร่างหลักสูตรยกระดับสู่ปริญญาโท ในสาขาวิชาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พัฒนาเครื่องมือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี โดยมีงานวิจัยรองรับรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี โดยมอบหมายให้พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร  และพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร ออกแบบหลักสูตร ท่านใดสนใจเตรียมลงเรียนร่วมกัน  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...