วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

"สันติศึกษา มจร" เล็งสร้างพระสงฆ์นักไกล่เกลี่ยครอบคลุมทั่วประเทศ 300 รูปภายในปี 2566



เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า  ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2565 มีการพัฒนาพระสงฆ์ช่อสะอาดโดยมุ่งภาคปฏิบัติการเทคนิคการขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในระดับชุมชนสำหรับพระสงฆ์ช่อสะอาด ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มาจากชุมชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ปทุมธานี  สระบุรี  นครศรีธรรมราช  เลย  เชียงใหม่ และกรุงเทพมหานครเพื่อ เรียนรู้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคนในชุมชน ณ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เพราะเมื่อชุมชนมีความขัดแย้งมักจะใช้รุนแรงแก้ปัญา หรือ ใช้กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักคือ การฟ้องร้องทำให้เกิดคดีในศาล แต่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นยุติธรรมทางเลือกทางรอด ซึ่งมีพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562  โดยพระสงฆ์ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน ถือว่าเป็นคนกลางที่มีทุนทางสังคมอย่างดียิ่ง  เป็นที่ยอมรับในชุมชนสามารถยกระดับเป็นพระสงฆ์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อระงับข้อพิพาทชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน      


จึงมีการพัฒนาสงฆ์ช่อสะอาดที่มุ่งพฤติกรรมสะอาด คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ป้องกันความรุนแรงในชุมชนสังคม พระสงฆ์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีเครื่องมือการระงับข้อพิพาทในชุมชน โดยพระสงฆ์ต้องระวังไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับชุมชน ถ้าเป็นคู่ขัดแย้งควรหาออกด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงเพราะพระพุทธเจ้าใช้แนวทางของพุทธสันติวิธี ซึ่งใช้บันไดเก้าขึ้นของการวิจัย โดยเริ่มจากการมีสติ ดับอารมณ์ รับฟังอย่างลึกซึ้ง และเป้าหมายสุดท้ายของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคือ รักษาความสัมพันธ์ สามารถกลับไปอยู่ร่สมกันได้อย่างสันติสุข จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การค้นหาความต้องการที่แท้จริง ผ่านเครื่องมือการขอโทษอย่างแท้จริง A true apology has the following elements การขอโทษอย่างจริงจังประกอบด้วย 1) ฉันเสียใจ 2)ที่ฉันได้ทำลงไป ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม 3)มันทำให้คุณเจ็บปวด 4)ฉันขอรับผิดชอบ พร้อมให้อภัยซึ่งกันและกัน 


"ในปี 2566  หลักสูตรสันติศึกษา  มจร เตรียมขับเคลื่อนพัฒนาพระสงฆ์นักไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562  ให้ครบ 5 ภูมิภาค 5   รุ่น ประกอบ ภาคเหนือ  ภาคใต้  ภาคกลาง  ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งครอบคลุมทั่วประเทศ ๓๐๐ รูป"   พระปราโมทย์ ระบุ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...