วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

แม่เมืองสกลนครประกาศแล้ว ขจัดความยากจน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565  นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ในฐานะประธานกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสกลนคร (ศจพ.จ.) ประกาศและแสดงเจตนารมณ์ ในอันที่จะมุ่งมั่นขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เป็นวาระของจังหวัดที่ทุภาคส่วนจะร่วมขับเคลื่อนและพัฒนากลุ่มดังกล่าว ให้มีความพร้อมและสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

โดยการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน และมีภาครัฐที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัล เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุตาม วิสัยทัศน์ "ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

ผู้ว่าฯ ตรัง เดินหน้าแก้ไขปัญหาความยากจน ยันช่วยปชช. "อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน" 

ขณะที่ นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า จังหวัดตรัง เดินหน้าแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยใช้ ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือในการชี้เป้า ซึ่งจังหวัดตรัง มีฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP เป็นจำนวนครัวเรือนยากจนจำแนกตามมิติของปัญหา จำนวน 8,574 ครัวเรือน จำแนกคนยากจน ตามมิติของปัญหาจำนวน 13,448 คน

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เร่งให้ทุกอำเภอได้จัดส่งทีมพี่เลี้ยงลงพื้นที่ ทำการตรวจสอบข้อมูลบุคคลและครัวเรือน เพื่อจะได้รับรองข้อมูลบุคคลและครัวเรือน เพื่อทำการสังเคราะห์และจำแนกประเภท จำแนกกลุ่มเป้าหมายตามศักยภาพ (ควรสงเคราะห์ / พัฒนาตนเองได้) รวมถึงสร้างความตระหนักและยอมรับสาเหตุของปัญหาความยากจนของกลุ่มเป้าหมาย โดยจะได้ร่วมกับครัวเรือน จัดทำแผน โดยใช้หลัก 4 ประกอบด้วย ทักษะ ทัศนคติ ทรัพยากร และทางออก เพื่อจะได้นำข้อมูล ที่ได้จัดทำเป็นแผนงาน/โครงการ ที่จะให้การช่วยเหลือ ครัวเรือนและ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคน จะต้องพิจารณาทุกมิติของความขัดสน เนื่องจากทุกมิติมีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทั้งมิติด้านสุขภาพ มิติด้านความเป็นอยู่ มิติด้านรายได้ มิติด้านการศึกษาและมิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้สามารถอยู่รอด พอเพียงและยั่งยืน 

ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญเปิดรับบริจาคร่วมแก้จน 

นายทวีป บุตรโพธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธียกเสาเอก บ้านหลังใหม่ของนางพัฒนา เชื้อทอง อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 บ้านโต่งโต้น หมู่ที่ 4 ต.รัตนวารี อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งมีฐานะยากจนสภาพบ้านหลังเก่าทรุดโทรม ลักษณะบ้านเป็นเพิงไม้มุงสังกะสีไม่มีความแข็งแรง ซึ่งได้มีการร้องขอในการให้ความช่วยเหลือสร้างบ้านหลังใหม่ให้นางพัฒนา เชื้อทอง ในคราวที่มีจัดเวทีเสวนารับฟังปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ของโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชนที่ผ่านมาให้ถูกสุขลักษณะและคงทนถาวร ในพื้นที่ของตนเอง

ทางจังหวัดอำนาจเจริญ จึงได้เปิดรับบริจาค จากส่วนราชการ ประชาชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินในการก่อสร้างบ้าน จำนวนเงิน 107,000 บาท จากสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ 50,000 บาท ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ 20,000 บาท สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอำนาจเจริญ 5,000 บาท สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ 2,000 บาท เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ 30,000 บาท และ นายประวัติ หน่อแก้ว ประธานชมรมฅนเมืองป่า 4?4 อำนาจเจริญ ร่วมสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างบ้านหลังนี้จนแล้วเสร็จ และชุดทหารช่างจากกองกำลังสุรนารี จะดำเนินการก่อสร้างบ้านหลังนี้ให้จนแล้วเสร็จ

 

ที่มา- https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220326131835318,https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220326130423316,https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220326122655309


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...