วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565

มหาดไทยลุยแก้จน! พช.ศรีสะเกษพุ่งเป้า จับมือทีมปฏิบัติการฯทีมตำบล สาธิตอาชีพมุ่งลดรายจ่ายสร้างรายได้

 


วันที่ 17มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น.  ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดศรีสะเกษ (ศจพ.จ.) ภายใต้การอำนวยการของ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธาน คจพ.จ. มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โครงการขยายผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาคุณภาพคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนรายได้ต่ำกว่าเกณ์ จปฐ. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2565 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย TPMAP ที่ตกเกณฑ์มิติด้านรายได้ (รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ปี 2564 จำนวน 367 ครัวเรือน) ได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนทุกช่วงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ ตามประกาศ “วาระจังหวัดศรีสะเกษขจัดความยากจนพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน” และตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

             

ในการนี้ มอบหมายให้ นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นางธีรดา ศิริบูรณ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ นายปวรปรัชญ์ บุตรศรี นักพัฒนาชุมชน (ติดตามสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมาย อำเภออกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอเบญจลักษณ์) พร้อมด้วย นางธีรดา ศิริบูรณ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ นายปวรปรัชญ์ บุตรศรี นักพัฒนาชุมชน มอบวัสดุสนับสนุนการสาธิตอาชีพครัวเรือนยากจนเป้าหมาย TPMAP มิติรายได้ จำนวน 56 ครัวเรือน จากอำเภอกันทรลักษ์ 30ครัวเรือน อำเภอศรีรัตนะ 10 ครัวเรือน อำเภอขุนหาญ ๒ ครัวเรือน และอำเภอเบญจลักษณ์ 14 ครัวเรือน ณ ศูนย์หอประชุมอำเอกันทรีลักษ์ เพื่อให้ครัวเรือนเข้าถึงโอกาสในการทดสอบ สาธิตอาชีพ และต่อยอดสู่อาชีพที่มั่นคง ลดรายจ่ายในภาคครัวเรือนได้เป็นเบื้องต้น ต่อยอดและพัฒนาสู่การสร้างรายได้ตามแผนครัวเรือนต่อไป


พร้อมนี้ นายสุกิจ เหลืองสกุลไทย นายอำเภอกันทรลักษ์ นำทีมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ประกอบด้วย นางประณีวรรณ ซาซุม พัฒนาการอำเภอกันทรลักษ์ นายอมร ธุษาวัน พัฒนาการอำเภอขุนหาญ ตลอดจนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอเบญจลักษณ์ ร่วมให้กำลังใจ และให้นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ครัวเรือน และส่งมอบวัสดุมอบวัสดุสาธิตอาชีพให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย พร้อมทั้งได้กำหนดการติดตามสนับสนุนระดับครัวเรือน ในระหว่างวันที่ 21-31 มีนาคม 2565 ถึงครัวเรือนอีกครั้ง ด้วยหวังให้ครัวเรือนดำเนินชีวิตตามแผนชีวิตที่ตั้งใจมั่น ให้มีความมั่นคงทางอาหาร และรอดพ้นวิกฤติการณ์ต่างที่ถาโถมในปัจจุบันทั้งจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 2019 (COVID-19) และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงคราม

      

จะเห็นได้ว่า จังหวัดศรีสะเกษ ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับพี่น้องประชาชน เพราะประเทศของเรายังมีคนที่อ่อนด้อยในสังคม ที่เราอาจเรียกว่ากลุ่มอ่อนด้อย กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งไม่ได้หมายถึงเพียงแค่มิติด้านเศรษฐกิจ แต่หมายความรวมถึงความเดือดร้อนด้านต่าง ๆ ที่ประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นที่มาของการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) มีเป้าหมายสำคัญ คือ “การแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน” หรือ “การตัดเสื้อให้พอดีตัว” โดยกลไกการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ ระดับจังหวัด ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ ผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ (ศจพ.อ.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติการฯ ในระดับพื้นที่ (ทีมตำบล) โดยมี “ทีมพี่เลี้ยง” เข้าไปรับทราบปัญหา หาทางแก้ไข จัดทำแผนร่วมกับทุกครัวเรือนยากจนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน และสนับสนุนให้ครัวเรือนมีการวางแผน/แก้ปัญหาตรงตามสภาพปัญหาที่กำลังเผชิญ เมื่อทราบปัญหาครบแล้ว จะรายงาน ศจพ.อำเภอ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือ โดยหน้าที่ในการแก้ปัญหาเป็นของทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงาน ให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ตามแนวทางการแก้ไขปัญหารวม6 มิติ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “6 เมนูแก้จน” ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) ความเป็นอยู่ 3) การศึกษา 4) ด้านรายได้ และ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ 6)ด้านอื่นๆ โดยหากเป็นปัญหานอกเหนือจากแนวทางดังกล่าว ให้ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขตามอำนาจหน้าที่


“กระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระบวนการ ศจพ. โดย “ทุกกระทรวง/ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง” คือผู้เดินหน้าแก้ไขปัญหาแบบพุ่งเป้าตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานร่วมกับภาคประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนเป้าหมายได้รับการแก้ไขได้อย่างตรงจุดและเป็นการแก้ไขด้วยเป้าเดียวกัน ทั้งนี้ “ความสำเร็จหรือล้มเหลวทั้งหมดอยู่ที่กลไกในพื้นที่ทั้งหมด” โดยเฉพาะแม่ทัพของพื้นที่ ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ทีมปฏิบัติการตำบล และ “ทีมพี่เลี้ยง” ต้องวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข ตามหลัก 4 ท คือ ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากร และทางออก ด้วยการลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องในลักษณะ Intensive care โดยที่ครัวเรือนต้องมีส่วนร่วมและไม่เป็นการบังคับให้ทำ ซึ่งพัฒนากรต้องสร้างความเข้าใจให้ทีมพี่เลี้ยงไปสำรวจให้รู้ปัญหา รู้แนวทางการทำงาน และวิเคราะห์ปัญหาออกมา พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ดูแลอย่างใกล้ชิด และบันทึกในระบบ Logbook ทุกครั้งที่ได้ให้ความช่วยเหลือ โดยนายอำเภอเป็นขุนศึกสำคัญที่ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหา ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 65 และหากปัญหาที่พบนอกเหนือจากเมนู ให้ประสานหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หากไม่สามารถแก้ไขในระดับอำเภอได้ให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บูรณาการหาช่องทางแก้ปัญหาให้ได้ และหากเป็นสภาพปัญหาที่ต้องแก้ไขในระดับนโยบายให้รายงานกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการต่อไป นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้กับประชาชน ด้วยช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบ ทั้ง Online Onsite Onground ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย หลาย ๆ ช่อง หลาย ๆ เวลา ทำซ้ำ ๆ ทำบ่อย ๆ เพื่อปลายทาง คือ “พี่น้องประชาชนมีความสุข”


ที่มา - กรมการพัฒนาชุมชน Fanpage


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...