วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

ยลปลูกผักลงเรือถั่วฝักยาวไต่เชือก

สวัสดีครับพี่น้องชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องชาวตระกูลสมพงษ์ สำบายดีพี่น้องชาวลาว หาวคั้นหล่อกั้ว พี่น้องไทดำ แดง ขาว อยู่เวียดนาม อยู่หลีกินหวานพี่น้องไทลือสิบสองปันนาเมืองจีน ใหม่สูงครับพี่น้องไทใหญ่รัฐฉานพม่า พี่ไทคำตี ไทอาหม รัฐอัสสัม อินเดีย

มาพบกันอีกครั้งครับสำหรับรายการ"มหาทำกินวิถีพอเพียง" ตอนนี้ก็จะมาลงรายละเอียดในแปลงผักที่ผมปลูกผ่านมาประมาณ 2 เดือนกว่าแล้ว   ก็ได้ความคิดครับว่าสิ่งสำคัญในการปลูกพืชผักนั้นอยู่ที่การวางแผนวางแปลนก่อน เพราะว่าเรามีเนื้อที่ในการปลูกน้อย ตอนแรกๆก็ไม่เข้าใจหรอกครับก็ค่อยๆคิดค่อยๆทำไป โดยจะใช้สิ่งของที่มีอยู่มาเป็นอุปกรณ์ในการปลูกให้ได้มากที่สุด จะใช้เงินซื้อในสิ่งที่มีความจำเป็นจริงๆ

อย่างเช่นเรือนี้ครับ ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากกระทรวงวัฒนธรรมภายใต้การแนะนำของนายสุรศักดิ์ เตชะทัศน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเพื่อนๆ  เมื่อน้ำลดแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปเก็บไว้ที่ไหนครับ ตอนแรกนำมาวางแล้วก็เอาน้ำใส่ ก็เกิดประชามติครับคือเพื่อนบ้านก็งงครับว่ามหาสำราญจะทำอะไรจะเลี้ยงปลาหรือจะปลูกบัวดี

ก็เกิดความคิดที่จะทำเป็นแปลงปลูกผักครับ โดยได้แนวความคิดมาจากหนังสือสวนผักคนเมืองสวนผักดาดฟ้า ตอนสวนครัวกลางน้ำครับที่นำต้นธูปฤาษีมากองทับกันในคลองและสามารถทำเป็นแปลงปลูกผักได้ ผมก็เอาเศษอิฐิจากอิฐิบล็อกที่นำมาก่อป้องกันน้ำท่วมบ้านแต่ไม่ได้ผลนั้นแหละครับมาลองพื้นก่อน แล้วก็นำเคลื้อบานบุรีที่มีคนนำมาทิ้งมาวางแล้วก็เอาดินปุ๋ยชีวภาพมาเททับก็ได้แปลงปลูกผักอีก 1 แปลง ก็คงจะเรียกว่าเป็นผักลงเรือได้นะครับ

ส่วนถั่วฝักยาวไต่เชือกนี้ก็ได้แนวความคิดมาจากน้องชายแฟนที่มาจากต่างจังหวัดมาช่วยปรับปรุงบ้านให้ฝีมือก็อยู่ระดับช่างก่อสร้างหละครับ ว่าสามารถนำเชือกฟางมาผูกให้ถั่วฝักยาวไต่แทนไม้รวกได้ก็อย่างที่เห็นนี่หละครับ ประกอบกับได้ข้อมูลจากหนังสือว่าชาวออสเตรเลียก็ใช้เชือกในโรงเรือนปลูกผักเหมือนกัน ก็ถือว่าเป็นความรู้ใหม่หละครับ นี้ก็ต้องเรียกว่าฝักยาวไต่เชือกได้เช่นเดียวกันครับ


นอกจากนี้ยังได้นำเชืือกที่เก็บมาจากคนทิ้งเพราะน้ำท่วม มาทำตาข่ายให้ผักพันธุ์ไม้เลื้อยได้ไต่ก็อย่างที่เห็นนี้หละครับ ... สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...